PUNJAB 1984 (2014, Anurag Singh, India, A+25)
หลายคนอาจจะไม่ชอบหนังเรื่องนี้ก็ได้นะ เพราะมันค่อนข้างฟูมฟายและเป็นการนำเอาโศกนาฏกรรมจริงในประวัติศาสตร์มา
exploit ทางอารมณ์ในบางฉากน่ะ
(ในแง่นี้มันสามารถนำมาเทียบได้กับหนังอย่าง SCHINDLER’S LIST หรือเปล่า)และถ้าหากเอาหนังเรื่องนี้ไปเทียบกับหนังอินเดียที่สะท้อนปัญหาสังคมแบบตัวจริงเสียงจริงอย่างหนังของ
Prakash Jha และหนังของ Rakesh Sharma แล้ว
หนังเรื่องนี้ก็จะดูเบาโหวงกว่ามากๆ
แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มากพอสมควรนะ เพราะมันดูแล้วสะใจดี 555 และถึงแม้มันจะกระตุ้นอารมณ์จนเกินงามในบางครั้ง
แต่มันก็กระตุ้นเราได้สำเร็จ และเราก็ให้อภัยมันได้ในระดับนึง
เพราะเรามองว่ามันเหมือนเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างหนังบันเทิงกับหนังสะท้อนปัญหาสังคมน่ะ
คือเราไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้วผู้สร้างหนังเรื่องนี้ต้องการอะไร แต่เราเดาว่าเขาคงพยายามตอบสนองตลาดผู้ชมกระแสหลักในระดับนึง
เพราะฉะนั้นหนังก็เลยมีความเป็นสูตรสำเร็จ, มีความเดาง่าย
เหมือนหนังกระแสหลักอยู่ด้วย
คือการกระตุ้นอารมณ์ใน PUNJAB 1984 มันทำให้เรานึกเปรียบเทียบกับหนังสารคดีเรื่อง
REEL TIME: BANISHED KIDS (2013, Eleazar L. Del
Rosario, B+ ) ที่เราเพิ่งได้ดูน่ะ
เพราะสิ่งที่เราชอบและไม่ชอบในหนังสองเรื่องนี้มันตรงกัน
เราชอบหนังสองเรื่องนี้เพราะมันสะท้อนปัญหาสังคมที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อน
ซึ่งก็คือปัญหาการฆาตกรรมชาวซิกข์และชาวฮินดูในรัฐปัญจาบ
กับปัญหาผู้อพยพชาวฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียในรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย
แต่เราไม่ชอบหนังสองเรื่องนี้ในแง่ที่มันพยายามเร้าอารมณ์
และพยายามบีบคั้นให้เราสงสาร subject ของเรื่องมากเกินไป
อย่างไรก็ดี เรายอมรับการเร้าอารมณ์ใน PUNJAB 1984 ได้ในระดับนึง
เพราะมันเร้าอารมณ์เราได้ค่อนข้างสำเร็จ
และเราคุ้นชินกับหนังอินเดียกระแสหลักที่มันเร้าอารมณ์อยู่แล้ว แต่เราไม่ชอบการเร้าอารมณ์ใน
BANISHED KIDS อย่างมากๆ เพราะมันทำให้เราเบื่อมาก และเราไม่ชินกับหนังสารคดีที่เร้าอารมณ์สงสารเห็นใจแบบนี้
เราชอบครึ่งหลังของ PUNJAB 1984 มากกว่าครึ่งแรกอย่างมากๆนะ
คือฝีมือการกำกับมันดีใช้ได้ตลอดทั้งเรื่องน่ะ
แต่เราว่าเนื้อหาของครึ่งหลังมันน่าสนใจกว่าครึ่งแรก
เพราะครึ่งแรกมันเน้นไปที่ความน่าสงสารของตัวละครแม่ ซึ่งเราไม่อินกับตัวละครนี้
และเราว่าครึ่งแรกของเรื่องตัวละครมันขาวจัดดำจัดน่ะ โดยตัวผู้ร้ายก็ดูเป็นผู้ร้ายแบบออกนอกหน้าอย่างมากๆ
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
แต่ครึ่งหลังของเรื่องมันน่าสนใจขึ้นมาก มันมี moral dilemma ขึ้นมาบ้าง
และมันก็มีตัวละครผู้ร้ายบางตัวในแบบที่เราชอบ
นั่นก็คือตัวละครผู้ร้ายที่ดูเหมือนเป็นคนดีอย่างมากๆ น่านับถือบูชามากๆ
แต่จริงๆแล้วเหี้ยห่าจัญไรมากๆ
No comments:
Post a Comment