Sunday, January 25, 2015

Myanmar Films seen on Saturday, January 24, 2015

Myanmar Films seen on Saturday, January 24, 2015

1.TENDER ARE THE FEET (1972, Muang Wunna, A+30)

--ชอบฉากช่วงท้ายที่เป็นฉากระลึกความทรงจำของนางเอกมากๆ เพราะการตัดต่อในฉากนั้นมันรุนแรงมาก มันเหมือนเป็นความพยายามจำลอง stream of consciousness ของมนุษย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏออกมาในฉากนั้นก็เลยดูมีลักษณะคล้ายหนังทดลอง มันเป็นการนำห้วงเวลาที่อยู่ในความทรงจำของเรามาเรียงร้อยเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็ว

คือหนัง narrative โดยทั่วไป หรือส่วนที่เป็น narrative ในหนังเรื่องนี้ ฉากต่างๆมันจะถูกเรียงร้อยเข้าด้วยกันโดยมีตัวละคร, เส้นเรื่อง, เวลา, ความเป็นเหตุเป็นผลมากำหนดการร้อยเรียงกัน ว่าอะไรต้องมาก่อน ต้องมาหลัง อะไรต้องอยู่ต่อๆกันเป็นลำดับเท่าไร

แต่ในหนังทดลองบางเรื่อง และในฉาก “ระลึกความหลัง” ในหนังเรื่องนี้ สิ่งที่สำคัญไม่ใช่เส้นเรื่อง, ลำดับเวลา, ความเป็นเหตุเป็นผล แต่เป็น “ความประทับใจของตัวละคร” คือตัวละครตัวนั้นประทับใจในห้วงเวลาไหนในชีวิต เราก็จะได้เห็นห้วงเวลานั้น และการเรียงลำดับฉากก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับลำดับเวลาว่าเหตุการณ์อะไรเกิดก่อน อะไรเกิดหลัง ฉาก a กับฉาก b ไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงกันโดยตรงก็ได้ ขอเพียงแค่ฉาก a กับฉาก b เป็นสิ่งที่ประทับอยู่ในความทรงจำของตัวละครตัวเดียวกันก็พอ

เราชอบการตัดต่อในฉากแบบนี้และความพยายามจำลอง consciousness ของมนุษย์แบบนี้มากๆ ซึ่งจริงๆแล้วมันแสดงให้เห็นว่าผู้กำกับหนัง narrative หลายๆเรื่อง อาจจะมีความสามารถในการทำหนังทดลองที่ดีก็ได้ แต่เขาคงไม่ทำหนังทดลอง เพราะมันไม่ได้ตังค์ ทำหนัง narrative แบบนี้นี่แหละ ถึงจะได้ตังค์ แต่มันก็เป็นการดีมากที่เหมือนมี part ของหนังทดลองซ่อนอยู่ในหนัง narrative แบบนี้

จุดนี้ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง VERDUN, VISIONS OF HISTORY (1928, Léon Poirier, France, A+30) ด้วย เพราะหนังเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรื่องนี้ เล่าเรื่องเหมือนหนัง narrative โดยทั่วไปประมาณ 75% และมี 20% ที่เป็นเหมือนหนังสารคดี แสดงแผนผังการวางกองกำลังต่างๆของฝรั่งเศสและเยอรมนีในบริเวณสมรภูมิ (ซึ่งส่วนนี้ก็น่าสนใจสุดๆ เพราะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นในหนังเรื่องอื่นๆ) ส่วนอีก 5% ที่เหลือเรามองว่ามันเหมือนหนังทดลอง คือมันมีฉากหนึ่งที่ผู้หญิงคนหนึ่งในเรื่องได้ข่าวว่า เมืองที่เธอเคยอาศัยอยู่ได้ถูกสงครามทำลายจนโลบังพังพินาศไปหมดแล้ว แล้วอยู่ดีๆหนังก็เหมือนถลำลึกเข้าไปใน stream of consciousness ของผู้หญิงคนนั้น เราเห็นภาพกิจวัตรประจำวันต่างๆของผู้คนในเมืองนั้นในช่วงที่เมืองนั้นยังเป็นปกติอยู่ ภาพกิจวัตรประจำวันของผู้คนในเมืองนั้นถูกเรียงร้อยเข้าด้วยกันและถูกตัดต่ออย่างรวดเร็วมาก เหมือนกับฉากความทรงจำของนางเอก TENDER ARE THE FEET และฉากนี้ก็จบลงในแบบที่คล้ายๆกัน คือจบลงด้วยใบหน้าของผู้หญิงคนนั้นที่ต้องยอมรับความจริงที่ว่า “ความสุขในอดีตของเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีทางหวนคืนมาได้อีก” ส่วนใน TENDER ARE THE FEET นั้น ฉากนี้ก็จบลงด้วยใบหน้าที่เศร้าสร้อยของนางเอกเช่นกัน

--สำหรับเราแล้ว ฉากไคลแมกซ์ของ TENDER ARE THE FEET คือฉาก “ใบไม้ไหว พัดปลิวไปตามสายลม” คือเราว่าฉากใบไม้ปลิวนี่มันอาจจะมีสาเหตุมาจากการเซ็นเซอร์น่ะ คือตามเนื้อเรื่องแล้ว ฉากนั้นตัวละครสองตัวคงจะมีเซ็กส์กัน แต่หนังคงถ่ายทอดออกมาไม่ได้ ก็เลยถ่ายฉากใบไม้ปลิวไป แล้วก็ปลิวมา ปลิวไป แล้วก็ปลิวมาแทน มันก็เลยกลายเป็นฉากที่ unique สุดๆ เราไม่เคยเห็นฉากแบบนี้ถูกใช้ใน function แบบนี้มาก่อน ฉากใบไม้ปลิวก็เลยกลายเป็นฉากที่ก่อให้เกิดอารมณ์รัญจวน+ลุ้นระทึกมากๆว่าตกลงตัวละครมันจะได้มีเซ็กส์กันหรือเปล่า

--ชอบการฝึกร่ายรำในบางฉากมากๆ เห็นแล้วอยากลุกขึ้นมาฝึกร่ายรำตามไปด้วย

--ชอบฉากที่เป็นการบันทึกสภาพบ้านเมืองในช่วงนั้นเอาไว้ด้วย เห็นเขาบอกว่าเป็นอิทธิพลจากหนัง social realism ของอินเดียในทศวรรษนั้น ซึ่งเราดูแล้วก็นึกถึงหนังเรื่อง THE TRIP (1970, Pramod Pati)


--ฉากที่เป็นมิวสิควิดีโอในหนังเรื่องนี้ก็ดีมาก

--ดนตรีในหนังเรื่องนี้ก็ดีมาก เห็นเขาบอกว่ามันมีบางส่วนที่คงได้รับอิทธิพลจากดนตรีตะวันตกในทศวรรษ 1960-1970 ซึ่งเราว่ามันเพราะดี

2.THE CLINIC (2012, Ko Jeu, Aung Min, The Maw Naing, documentary, A+30)
ดูแล้วนึกถึง THE ISTHMUS ที่คลินิกของหมอกลายเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน และนึกถึง LA MALADIE DE SACHS (1999, Michel Deville) ด้วย

3.HOMEWORK (2014, La Min Oo, documentary, A+25)

4.SOCIAL GAME (2012, Seng Mai, documentary, A+30)

5.KINGS N QUEENS (2013, Khun Minn Ohn, documentary,A+25)

6.TAKE ME HOME (2013, Shin Daewe, documentary, A+20)

7.FLOWERLESS GARDEN (2012, Zaw Naing Oo, documentary, A+15)




No comments: