SANTI-VINA (1954, Marut, A+30)
1.ตัวเนื้อเรื่องไม่มีอะไรน่าสนใจสำหรับเรา แต่ที่ชอบถึงระดับ A+30
เป็นเพราะองค์ประกอบอื่นๆของหนังที่ไม่ใช่ตัวเนื้อเรื่อง คือเราดูหนังเรื่องนี้ด้วยความรู้สึกเพลิดเพลินมาก
และคิดว่าสาเหตุส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะมันมีความละเมียดละไมในการถ่ายทำในทุกฉากทุกซีน
ความรู้สึกแบบนี้ทำให้เรานึกถึงหนังเก่าอย่างเรื่อง GOLDEN MARIE (1952, Jacques
Becker) และ THE PRINCESS OF CLEVES (1961, Jean Delannoy) น่ะ เพราะหนังเก่าสองเรื่องนี้ก็เป็นหนังรักโรแมนติกที่ “เนื้อเรื่อง”
ไม่น่าสนใจสำหรับเราเหมือนกัน แต่สาเหตุที่เราชอบหนังสองเรื่องนี้มากๆเป็นเพราะ “องค์ประกอบมันลงตัว”
หรือมันมีอารมณ์ละเมียดละไมอะไรบางอย่าง
2.ชอบสีของ SANTI-VINA มากๆ เรารู้สึกเหมือนกับว่าหนังยุคทศวรรษ
1950 กับหนังยุค 1960 บางเรื่องมันมีสีบางสีที่เราแทบไม่เห็นในหนังยุคปัจจุบันแล้วน่ะ
โดยหนังที่เราว่าสีสวยสุดๆในยุคนั้นเหมือน SANTI-VINA ก็มีอย่างเช่นเรื่อง
GATE OF HELL (1953, Teinosuke Kinugasa), UNE VIE (1958, Alexandre
Astruc) และ JULIET OF THE SPIRITS (1965, Federico Fellini)
เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า การที่เรารู้สึกว่าสีในหนังยุค 1950 มันหายไปในหนังยุคปัจจุบันมันเป็นเพราะ
2.1 เราอุปาทานไปเอง
2.2 รสนิยมคนดู+ผู้กำกับหนังเปลี่ยนไป สีที่คนเห็นว่าสวยในทศวรรษ 1950
ไม่ได้รับความนิยมอีก มันเลยหายไปจากหนังยุคปัจจุบั
2.3 หรือว่ายุค 1950 คนนิยมสีแช้ดๆ แร่ดๆ
เพื่อจะได้แตกต่างจากหนังขาวดำ แต่ต่อมาคนดูนิยมสีที่ realistic มากขึ้น
สีที่มันระเบิดเถิดเทิงมากๆก็เลยหายไป
2.4 หรือเป็นเรื่องของสารเคมีที่ใช้ในการผลิตฟิล์ม หรือล้างฟิล์ม
มันเปลี่ยนแปลงไป สีที่เคยสร้างได้จากสารเคมีในทศวรรษ 1950 มันเลยสร้างไม่ได้อีก
3.ตัวละครนางเอกแสดงออกถึงความ want ผู้ชายได้ดีมากๆ
และจุดนี้คล้ายกับนางเอกหนังเรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย (1955, มารุต) ที่แสดงความ want
ผู้ชายได้อย่างรุนแรงมากเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่นางเอกของ สันติ-วีณา
แสดงออกถึง “ความรัก” ส่วนนางเอกของ “ชั่วฟ้าดินสลาย”
ดูเหมือนจะเป็นการแสดงออกถึงความใคร่มากกว่า
4.เพื่อนคนนึงบอกว่าชอบฉากแม่นางเอกด่ากับแม่ผู้ร้ายในวัดมากๆ
และตั้งข้อสังเกตว่าละครทีวีไทยในยุคปัจจุบันก็ยังคงมีฉากประเภทนี้
ถึงแม้มันจะผ่านมานาน 60 ปีแล้ว
เราก็เลยสงสัยว่า มันมีฉากแบบนี้ในหนังประเทศอื่นๆบ้างหรือเปล่า
เพราะเท่าที่เรานึกออก เราเคยเห็นฉากแบบนี้แต่ในหนังแอฟริกาเท่านั้น
ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่อง WORK (1978, Souleymane Cissé, Mali) หรือเปล่า
ที่มีฉากแม่ค้าในตลาดทะเลาะตบตีกันอย่างรุนแรงมากๆ แต่เหมือนเรานึกฉากแบบนี้ไม่ออกในหนังประเทศอื่นๆ
แม้แต่หนังอินเดีย, หนังจีน หรือหนังลาตินอเมริกาเราก็ไม่เจอ เท่าที่นึกออกก็มี “งูเก็งกอง”
THE SNAKE MAN (1970, Tea Lim Koun, Cambodia) ที่มีฉากตัวละครหญิงด่ากันอย่างไร้สาระเหมือนหนังไทย
5.ชอบฉากลอยกระทงมากๆ
No comments:
Post a Comment