Sunday, August 06, 2017

15 IQ

15+ IQ กระฉูด (2017, Napat Jitweerapat, Asawanai Klineiam, A+)

1.ตอนดูหนังเรื่องนี้จะแอบสงสัยว่า เวลาที่ straight male audience ดูหนังที่ตอบสนอง sex fantasy ของเกย์อย่างเต็มที่ แบบหนังที่กำกับโดยแมลงปีศาจ เขาจะรู้สึกแบบที่เรารู้สึกกับหนังเรื่องนี้หรือเปล่า 555 นั่นก็คือความรู้สึกที่ว่า sexual orientation ของตัวผู้ชมบางคนทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าตัวเองถูก exclude ออกไปจากหนังอย่างสมบูรณ์

คือเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เป็น male gaze ขั้นรุนแรงมากๆน่ะ จนเราถูก exclude ออกไปจากหนังเลย แต่อันนี้ไม่ใช่ “ความผิด” ของหนังนะ อันนี้แค่จะบอกว่าเราไม่ใช่ “ผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย” ของหนังน่ะ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เลยเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เราไม่ได้ enjoy หนังเรื่องนี้มากนัก แต่เราไม่คิดว่าหนังเรื่องนี้ทำผิดแม้แต่นิดเดียวที่ exclude เราออกไปจากหนัง เพราะจริงๆแล้วเราสนับสนุนการสร้างหนังที่ตอบสนอง sex fantasy ของผู้ชมแต่ละกลุ่มอย่างเต็มที่ เราสนับสนุนการสร้างหนังที่ตอบสนอง gay sex fantasy, male sex fantasy, female sex fantasy เพราะฉะนั้นเราจึงไม่รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้หรือหนังเรื่องอื่นๆทำผิดอะไรที่ exclude เราออกไปจากหนัง เหมือนกับที่เรารู้สึกว่าหนังเกย์บางเรื่องก็ไม่ได้ทำผิดอะไรเช่นกันที่ exclude ผู้ชมกลุ่ม heterosexual ออกไป (คือไม่ตอบสนองความต้องการทางเพศของผู้ชมกลุ่ม heterosexual เลย)

แต่ถึงแม้เราจะมองว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำผิดในจุดนี้ แต่จุดนี้ก็คือสาเหตุหลักนั่นแหละที่ทำให้เราไม่ได้ enjoy หนังเรื่องนี้มากนัก 555

เราว่าหนังเรื่องนี้มันแปลกดีด้วยแหละที่มัน exclude เราออกไปเลย คือมันแตกต่างจากหนังไทยหลายๆเรื่องที่เราได้ดูในยุคหลังน่ะ คือหนังวัยรุ่นหลายๆเรื่องของไทยในยุคหลังมันยังมีการนำเสนอหนุ่มหล่อในหนังในฐานะวัตถุทางเพศอยู่บ้างนะ โดยเฉพาะหนัง GTH หรือ GDH นี่ตัวละครชายถือเป็น “วัตถุของการถูกจ้องมอง” อย่างรุนแรงมาก และโดยเฉพาะหนังสั้นของไทยในยุคหลังนี่ยิ่งตรงกันข้ามกับหนังเรื่องนี้เลย คืออย่างที่เพื่อนบางคนเคยบอกว่า หนังสั้นของไทยในยุคหลังมันมีลักษณะของการ feminization หรืออะไรทำนองนี้สูงมาก คือหนังสั้นของไทยในยุคหลังมันมี “ความปรารถนาทางเพศของผู้หญิง” และ “ความปรารถนาทางเพศของเกย์” อยู่สูงมาก เพราะฉะนั้นในแง่นึง เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันเหมือนมา “ถ่วงดุล” trend หนังสั้นของไทยในยุคหลัง เพราะ trend หนังสั้นของไทยในยุคหลังมันจะเน้นนำเสนอ “เพื่อนต่างเพศที่สนิทกันแต่ไม่เงี่ยนกัน” คือเหมือนพื้นที่ในการระบายความใคร่ของ straight male ในหนังสั้นของไทยมันครองสัดส่วนน้อยลงเมื่อเทียบกับสมัยก่อนน่ะ เพราะฉะนั้นพอมาได้ดูหนังเรื่องนี้ มันก็เลยเหมือนได้ดูการสวิงกลับไปอีกด้านนึง มันเหมือนกับว่า ช่วงหลังๆไทยมีการผลิตหนังเกย์เยอะมากแล้ว, มีการผลิตหนังสั้นไทยที่นำเสนอมุมมองของผู้หญิงเยอะมากแล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยมีหนังแบบนี้ผุดขึ้นมาเพื่อตอบสนองผู้ชมอีกกลุ่มด้วย

2.คือเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีความ “ตั้งใจทำ” ดีมากๆน่ะ แต่สาเหตุที่เราอาจจะไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้แบบสุดๆเป็นเพราะสาเหตุหลักๆสองประการ นั่นก็คือ การที่เราไม่ได้เป็นผู้ชมกลุ่มเป้าหมายหลักของหนัง และทัศนคติที่ไม่ตรงกันในบางเรื่อง คือเป็นเรื่องของ “target group” กับ attitude น่ะ ซึ่งอันนี้มันเกิดมาจาก concept ในการสร้างหนังเรื่องนี้และตัวบทภาพยนตร์เลย เราไม่ได้มีปัญหากับ “ฝีมือการกำกับ” และองค์ประกอบอื่นๆในหนัง

3.แต่เราก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกันนะ ว่าทำไมฉากที่เราชอบที่สุดในเรื่องคือฉาก VR ทั้งๆที่เรามีปัญหากับ male gaze ของหนัง คือเราว่าฉาก VR มันก็เป็น male gaze อย่างรุนแรงมากๆเหมือนกัน แต่เรารู้สึกว่าเรารับฉากแบบนี้ ได้ เราชอบฉากแบบนี้ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าเรามัก identify ตัวเองกับ”กะหรี่” หรือ “ดาวยั่ว” มากกว่า “สาวแว่น” ก็ได้มั้ง 555

คือฉาก VR ในหนังเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงหนังสั้นม.กรุงเทพเรื่อง “ไซเบอร์ฉิมพลี” (2011, Pakawat Panmanee) น่ะ ที่เป็นผู้หญิงมาเต้นยั่วๆเป็นเวลานานมาก คือ “ไซเบอร์ฉิมพลี” มันก็เป็น male gaze ที่รุนแรงมากๆเหมือนกัน แต่เรากลับชอบ “ไซเบอร์ฉิมพลี” มากๆ มันเหมือนกับว่าเราไม่มีปัญหาอะไรกับการแสดงความต้องการทางเพศของผู้ชายในฉาก VR ของหนังเรื่องนี้ และในหนังสั้นเรื่อง “ไซเบอร์ฉิมพลี” แต่เราจะรู้สึกไม่ enjoy กับ sexual fantasy ส่วนอื่นๆในหนังเรื่องนี้ ซึ่งอันนี้เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร

4.ส่วนปัญหาเรื่อง attitude นั้น มันก็คือส่วนท้ายของหนังนั่นแหละ คือเรารู้สึกว่าถ้าหากตัวละครตัดสินใจแบบนั้นในช่วงท้ายของเรื่องแล้ว หนังก็ควรจะแสดงให้เห็น “ความยากลำบาก” ที่เกิดจากการตัดสินใจนั้นด้วย

5.ถ้าพูดถึงกราฟความรู้สึกของเราขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ มันจะเป็น A+20, A+, A+30, A+

คือช่วงแรกๆของหนังเราจะชอบในระดับ A+20 น่ะ เราจะรู้สึกว่าหนังน่ารักดี แต่พอตัวพระเอกเริ่มมี “ภารกิจ” โครงการวิทย์อะไรพวกนี้ เราจะเริ่มรู้สึกว่าหนังน่าเบื่อ ทุกอย่างดูเหมือนจะเดาได้ และเราไม่อินกับหนังแล้ว ตัวละครนางเอกที่เหมือนจะ “แสดงความต้องการทางเพศ” ออกมาบ้าง ไปๆมาๆก็ไม่ได้แสดงความต้องการทางเพศในแบบที่เราจะ identify ด้วยได้จริงๆ ระดับความชอบของเราก็เลยลดเหลือ A+


แต่อยู่ดีๆกราฟความชอบของเราก็พุ่งขึ้นถึง A+30 เมื่อเรารู้สึกว่า “หนังไปไกลกว่าที่เราคาดไว้มาก” ในช่วงหลังของหนัง แต่ต่อมาหนังก็ม้วนตัวจบในแบบที่เรารู้สึกไม่ค่อยพอใจ เพราะมันไม่ได้แสดงให้เห็นปัญหาหรือความยากลำบากที่เกิดจากการตัดสินใจของตัวละคร ระดับความชอบของเราก็เลยดิ่งกลับลงมาสู่ A+ ในที่สุด

No comments: