I, TONYA (2017, Craig Gillespie, A+30)
คิดแบบตลกๆฮาๆว่า ถ้าหากเราเป็นครูสอนวิชาพุทธศาสนา
เราจะฉายหนังเรื่อง I, TONYA ควบกับ TO DIE FOR (1995, Gus Van
Sant) และ THE POSITIVELY TRUE ADVENTURES OF THE ALLEGED
TEXAS CHEERLEADER-MURDERING MOM (1993, Michael Ritchie) เพื่อสอนเรื่อง
“ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ชีวิตเราก็เท่านี้” 555
ดู I, TONYA แล้วคิดถึง TO DIE FOR กับ
CHEERLEADER-MURDERING MOM มากๆ
เพราะหนังทั้งสามเรื่องสร้างจากคดีอาชญากรรมจริงเหมือนกัน
และเกี่ยวกับหญิงสาวที่มี ambition สูงเหมือนกัน โดย TO
DIE FOR สร้างจากเรื่องจริงของ Pamela Smart ผู้หญิงที่มีสามีแล้ว
และมีชู้เป็นชายหนุ่มอายุ 15 ปี และเธอบอกกับชายหนุ่มอายุ 15
ปีว่าเขาจะต้องไปฆ่าสามีของเธอ ไม่งั้นเธอจะไม่ยอมมีเซ็กส์กับเขาอีก (Smart was later accused of seducing
15-year-old Flynn and threatening to stop having sex with him unless he killed
her husband.) ส่วนหนังของ Holly Hunter
นั้นสร้างจากคดีจริงของแม่ที่มีลูกสาวเป็นเชียร์ลีดเดอร์ในโรงเรียนไฮสกูล
และแม่คนนี้วางแผนจะฆ่าเชียร์ลีดเดอร์ที่เป็นคู่แข่งของลูกสาว
และฆ่าแม่ของเชียร์ลีดเดอร์คนนั้นด้วย โดยโครงสร้างของ MURDERING MOM นั้นคล้ายกับ I, TONYA มากๆ
เพราะมีฉากตัวละครมาให้สัมภาษณ์เป็นระยะๆ เหมือนกัน แต่มันสนุกว่า I, TONYA
ตรงที่ MURDERING MOM มีตัวละครฝ่ายเหยื่อมาให้สัมภาษณ์อย่างน่าตบด้วย
(ถ้าเราจำไม่ผิด
เรารู้สึกว่าทั้งฝ่ายอาชญากรและเหยื่อในหนังเรื่องนี้น่าตบทั้งคู่)
ถ้าเทียบกันแล้ว เราชอบ I, TONYA น้อยกว่าอีกสองเรื่องนี้นะ
แต่ไม่ใช่เป็นเพราะหนังไม่ดี หรือผู้กำกับมีฝีมือด้อยกว่านะ แต่เป็นเพราะ “ข้อจำกัดในการสร้าง”
น่ะ คือ I, TONYA มันสร้างจากคดีที่เราไม่รู้ว่าทอนย่าเป็นคนบงการจริงหรือเปล่า
เพราะฉะนั้นหนังก็เลยไม่สามารถสร้างตัวละคร “ทอนย่า จอมบงการผู้ชั่วร้าย”
ขึ้นมาได้ และหนังก็เลยต้องสร้างจากปากคำของผู้เกี่ยวข้องในคดี
และปล่อยให้คนดูตัดสินใจเอาเองว่า ใครบ้างที่พูดจริง หรือความจริงเป็นยังไง
ทอนย่าอาจจะไม่ใช่คนบงการจริงๆอย่างที่ตัวเองบอกก็ได้ คือเราว่าหนังเรื่องนี้ทำออกมาดีมากแล้วน่ะ
แต่เราจะ “ไม่กล้ารู้สึกอะไรมากนัก” กับตัวละครแต่ละตัว
เพราะเราไม่รู้ว่าความจริงเป็นยังไง เราไม่รู้ว่าแม่ทอนย่าเลวจริงหรือเปล่า
เราไม่รู้ว่าทอนย่าเป็นคนบงการหรือไม่ใช่คนบงการ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มาก
แต่ไม่กล้าลงความเห็นอะไรใดๆกับตัวละครแต่ละตัวในหนัง ซึ่งมันจะต่างจาก TO
DIE FOR ที่มันลงลึกถึงด้านมืดในใจนางเอกจริงๆ
เพราะนางเอกมันเป็นจอมบงการจริง ๆ
ถ้าหากไม่นับคดีที่เราไม่รู้ว่าความจริงเป็นยังไงแล้ว I, TONYA ก็มีจุดที่สะเทือนใจเรามากๆอยู่นะ
นั่นก็คือการที่ทอนย่าได้ที่ 4 ในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรก เสร็จแล้วก็ต้องกลับมาทำงานเป็นสาวเสิร์ฟน่ะ
คือเรานึกไม่ถึงมาก่อนว่า นักกีฬาอเมริกันที่ได้ถึงที่ 4 ในโอลิมปิก
พอกลับมาถึงบ้านแล้วก็ต้องทำงานเป็นสาวเสิร์ฟในร้านอาหารธรรมดาแบบนี้ ชีวิตคนเรานี่มันหนักมากจริงๆ
แต่ถ้าหากทอนย่าไม่ใช่คนบงการอย่างที่เธอกล่าวอ้างจริงๆ
หนังเรื่องนี้ก็เหมาะเป็นหนังที่คนโสดอย่างเราจะดูในวันวาเลนไทน์มากๆเลยนะ
เพราะหนังเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “มีผัวผิดแล้วมันซวยแค่ไหน” คือถ้าหากทอนย่าหาผัวไม่ได้
และไม่ได้พัวพันกับผู้ชายโง่ๆกลุ่มนี้ คดีนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น และป่านนี้เธออาจจะเป็นแชมป์โอลิมปิก
เป็นดาวค้างฟ้าไปแล้วก็ได้ 555
No comments:
Post a Comment