REFLECTIONS (2016)
1.DEAD HORSE (Brillante Mendoza, Philippines, งดแสดงความเห็น
เพราะหนังฉายเร็วไปสิบนาที + หลับ)
2.PIGEON (Isao Yukisada, Japan/Malaysia, C+)
3.BEYOND THE BRIDGE (Kulikar Sotho, Cambodia, A+30)
เราเป็นคนเดียวหรือเปล่าที่อินกับหนังส่วนนี้อย่างสุดๆ 555 เหมือน wavelength ของเราจะจูนติดกับผู้กำกับคนนี้อย่างรุนแรงมากๆ
ตั้งแต่หนังเรื่อง THE LAST REEL (2014) แล้ว
เพราะหนังของเขาชอบพูดถึง “corrosive power of memory” ซึ่งเป็นประเด็นที่เราอินมากๆ
และเป็นประเด็นที่มักพบในหนังของ Alain Resnais เหมือนกัน
เราอินตั้งแต่ฉาก “ผู้หญิงร่ายรำใส่ผู้ชาย” แล้ว 555
คือเป็นฉากที่ตอบสนองแฟนตาซีของเรามากๆ คือเราอยาก “ร่ายรำ” ใส่ผู้ชายแบบนี้บ้าง
ชอบการใช้ฟุตเตจข่าวเก่ามากๆด้วย เราว่ามันทรงพลังมากและเจ็บปวดมากกว่าการ
recreate ซีนเหล่านี้ขึ้นมาใหม่เองน่ะ
และเราว่ามันประหยัดงบในการถ่ายทำได้ดีมากด้วยแหละ
ชอบเรื่องการนำเสนอ “รอยแตกร้าว” มากๆเลยด้วย คือตัวละครในหนังเล่าว่ามันมีงานหัตถกรรมบางอย่างของญี่ปุ่นที่
“เน้นทำรอยแตกร้าวให้เด่นชัด” แทนที่จะพยายามปกปิดรอยแตกร้าวแบบแนวคิดทั่วไป คือคนทั่วไปชอบมองว่ารอยแตกร้าวเป็นสิ่งไม่ดี
ต้องปกปิด ต้องทำให้มันเลือนหายไป แต่งานหัตถกรรมนี้กลับทำรอยแตกร้าวให้มันเด่นชัดไปเลย
ซึ่งเราชอบแนวคิดแบบนี้มากๆ
แต่ก็รู้สึกว่าหนังถ่ายทอด corrosive power of memory ออกมาได้ไม่เต็มที่นะ
คือเราว่าถ้าหากมันทำออกมาได้เต็มที่ มันจะไต่ไปได้ถึงหนังสองเรื่องที่เราชอบสุดๆน่ะ
ซึ่งก็คือเรื่อง ROZA (1999, Ramon
Swaab, Netherlands) ที่เล่าเรื่องของชายแก่คนนึงที่นั่งรออะไรสักอย่างอยู่ที่สถานีรถไฟทุกวัน
และหนังก็เล่าว่า ที่ชายแก่คนนี้ทำแบบนี้ เป็นเพราะว่าเมื่อ 60 ปีก่อน
ตอนที่เขายังเป็นเด็กหนุ่มนั้น
เขาเคยเห็นเด็กสาวคนรักของเขาถูกจับตัวขึ้นรถไฟไปเข้าค่ายกักกันชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ดังนั้นเขาก็เลยมานั่งรอคนรักของเขาที่สถานีแห่งนี้เป็นประจำ ถึงแม้เวลาจะผ่านมา
60 ปีแล้ว และถึงแม้เขาจะรู้ดีว่า คนรักของเขาน่าจะถูกฆ่าตายไปนานแล้วก็ตาม
คือเราว่า BEYOND THE BRIDGE มีบางจุดที่พ้องกับ ROZA มากๆ แต่เหมือนมันยังนำเสนอความเจ็บปวดตรงนี้ได้ไม่มากพอ
ส่วนหนังอีกเรื่องที่เรานึกถึงคือ HIROSHIMA MON AMOUR (Alain
Resnais) ที่เล่าเรื่องความสัมพันธ์ของหนุ่มญี่ปุ่นกับสาวฝรั่งเศส
และประเด็นที่ว่า “All one can do is to speak of the impossibility of
speaking of Hiroshima.” เพราะเราว่าประเด็นเรื่องความเจ็บปวดจากสงครามโลกครั้งที่สองที่
“ไม่มีทางที่จะพูดถึงได้อย่างเพียงพอ” นั้น
มันสามารถนำมาใช้กับความเจ็บปวดจากเขมรแดงได้ด้วย คือถ้าหากหนังเรื่องนี้ทำดีๆ
มันก็จะเป็น HIROSHIMA MON AMOUR เวอร์ชั่นเขมรแดงได้
คือในขณะที่ Rithy Panh ทำหน้าที่เหมือนเป็น Claude
Lanzmann ของกัมพูชาไปแล้ว เราก็อยากให้มีใครสักคนเป็น Alain
Resnais ของกัมพูชาเหมือนกัน
แต่ถ้าเทียบกันแล้ว เราว่า BEYOND THE BRIDGE มันยังเป็นได้แค่
“ร้อยแก้ว” น่ะ ในขณะที่ HIROSHIMA MON AMOUR มันเป็นกวีมากๆ
No comments:
Post a Comment