Monday, February 05, 2018

JOSHIKO (2016, Koki Yamamoto, Japan, A+25)

JOSHIKO (2016, Koki Yamamoto, Japan, A+25)

1.ต่ำมากกกกกกกก แต่ชอบมาก คือดูจบแล้วรู้สึกว่า ถ้าหากเราเป็นผู้อำนวยการสร้างหนังเรื่องนี้ เราจะสั่งให้เพิ่มฉากใหม่เข้าไปในตอนจบของหนัง คือตอนจบที่ถูกต้องของหนัง ควรจะเป็นฉากกะเทยสาวนางหนึ่งตื่นขึ้นมา แล้วพบว่าเรื่องทุกอย่างก่อนหน้านี้คือความฝันของกะเทยคนนึงหลังจากอ่านนิยายของ Agatha Christie และดูหนังเรื่อง
THE REUNION (2013, Anna Odell, Sweden)

คือเราว่าหนังเรื่องนี้เลือก genre ผิดน่ะ คือมันเลือก genre หนังแนว murder mystery ซึ่งมันเป็น genre ที่ต้องอาศัยเหตุผลและความน่าเชื่อถือพอสมควร แต่พอดูไปดูมาแล้วเราว่าหลายอย่างในหนังเรื่องนี้มันไม่น่าเชื่อถือมากๆ คือหลายๆฉากมันให้ “อารมณ์” หรือ “รสชาติ” ที่เราต้องการ แต่พอเอาฉากเหล่านี้มาร้อยเรียงเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน แล้วมันเหี้ยมากน่ะ และเราว่าวิธีการเดียวที่สามารถจะเอาฉากเหล่านี้มาร้อยเรียงเข้าด้วยกันได้ก็คือต้องอธิบายว่า “ทุกอย่างคือตัวละครฝันไป” โดยได้รับแรงบันดาลใจจากอะไรบางอย่างน่ะ 555 คือถ้าตอนจบเป็นตัวละครฝันไปนี่ อะไรทุกอย่างที่ไม่สมเหตุสมผลในหนังจะอธิบายได้ในทันที เพราะทุกอย่างเป็นความฝัน 555

2.ปัญหาที่เรามีกับหนังเรื่องนี้คือปัญหาเดียวกับที่เรามีกับหนังไทยเรื่อง “อย่าบอกใครว่าเราเขียน” (Chanatip Thongaoy and friends, 47min, A+) และหนังสั้นไทยบางเรื่องที่เป็นแนว murder mystery น่ะ คือถ้าจะทำหนัง genre นี้จริงๆ มันต้องอาศัยตรรกะ, เหตุผล และความน่าเชื่อถือพอสมควร ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังแนวอื่นๆที่ไม่ต้องพึ่งพาอะไรพวกนี้มากนักก็ได้ โดยเฉพาะหนังแนวกวีหรือหนังทดลองที่ไม่ต้องพึ่งพาเหตุผลมากนัก

คือเราคิดว่า หนังแนว murder mystery ในแง่นึง มันเหมือนกับโจทย์คณิตศาสตร์น่ะ มันเหมือนกับว่าคุณให้โจทย์มา แล้วให้เราหาค่า x หรือหาว่าใครคือฆาตกร ซึ่งหนังแนวนี้ที่ดี พอคุณเฉลย ค่า x แล้ว สมการที่คุณให้มาตั้งแต่แรกมันจะเป๊ะ ถูกต้องลงตัว แต่ถ้าเป็นหนังที่ไม่ดี พอคุณเฉลยแล้ว สมการมันจะไม่ลงตัว หรือหลายอย่างในสมการมันกลายเป็นอะไรที่แถมากๆ ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังแนวอื่นๆ คือหนังแนวอื่นๆมันไม่ใช่สมการคณิตศาสตร์น่ะ หนังบางเรื่องอาจจะเหมือนกับประโยคแบบ “หัวเราะ 5 ที หีห้าระบบ” อะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นประโยคที่เพื่อนเราเคยพูดออกมา แล้วเราชอบมาก ทั้งๆที่มันไม่สามารถเชื่อมกันได้ด้วยเหตุผล เพราะความไม่มีเหตุผลอาจจะเป็นคุณค่าที่แท้จริงของประโยคแบบนี้

3.คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้ว เราคิดว่าเราชอบอารมณ์หลายๆอย่างมากน่ะ ทั้งอารมณ์ความผูกพันกับเพื่อนมัธยม, ความ nostalgia ถึงความสนุกของชีวิตสมัยมัธยม, อารมณ์เชือดเฉือนกันระหว่างผู้หญิง การตบตี ด่าทอกัน เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ในระดับเกือบสุดๆน่ะ ทั้งๆที่หนังมันแย่มาก คือจริงๆแล้วเราว่าผู้กำกับควรหันไปทำหนังแนว Alain Robbe-Grillet จะดีกว่า เพราะหนังแนว Alain Robbe-Grillet จะเต็มไปด้วย “ฉากที่น่าประทับใจ” เรียงร้อยต่อกันไป แต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมกันด้วยเหตุผล เพราะเกือบทุกฉากในหนังของ Alain Robbe-Grillet มันบอกเรากลายๆว่า “สิ่งที่คุณเห็นอาจจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ได้” คือในหนังทดลองแบบนี้ เราสามารถใส่ซีนที่เราต้องการ และนำเสนออารมณ์ที่เราต้องการได้อย่างเป็นอิสระกว่าเยอะ เพราะมันไม่ใช่โลกแห่งความจริง

4.จริงๆแล้วช่วง 30 นาทีแรกของ JOSHIKO นี่ เรานึกว่าหนังเรื่องนี้จะติดอันดับหนึ่งประจำปีของเราเลยนะ เพราะมันเข้าทางเราอย่างสุดๆ เรื่องของสาวๆที่มีบุคลิกแตกต่างกันไปมาปะทะกันในโรงเรียนมัธยม คือถ้าหากเราจะแต่งนิยาย เราก็อยากใช้ setting แบบนี้นี่แหละ

แต่พอผ่าน 30 นาทีแรกไป เราก็เริ่มเห็นแววเหี้ยของหนัง 555 คือมันเป็นหนังแนว murder mystery ไง เพราะฉะนั้นหนังก็เลยพยายามทำให้ตัวละครหลายๆตัวกลายเป็นผู้ต้องสงสัย แล้วหนังใช้วิธีการยังไงเหรอคะ หนังก็เลยอธิบายว่าในอดีตนั้น “เหยื่อฆาตกรรม” เคยทำเหี้ยกับมิสเอ, มิสบี, มิสซี, มิสดี ยังไงบ้าง เพื่อที่มิสต่างๆเหล่านี้จะได้ตกเป็น “ผู้ต้องสงสัย” ในสายตาคนดู ซึ่งพอเราดูไปเรื่อยๆแล้ว เราก็รู้สึกว่า อีเหยื่อฆาตกรรมนี่มันไม่ใช่มนุษย์จริงๆแล้วน่ะ หรือมันเป็นมนุษย์ที่ผิดปกติจากคนธรรมดามากน่ะ มันถึงได้ทำเหี้ยกับคนอื่นๆได้แบบนี้ คือพอดูถึงจุดนี้ เราก็รู้สึกว่าตัวละครในหนังมันห่างไกลจากคนจริงๆมากแล้วน่ะ และทุกอย่างที่มันทำไปก็เพื่อรับใช้องค์ประกอบของ genre หนังแบบนี้เท่านั้น เราก็เลยเสียใจที่หนังมันแย่มากในแง่นี้

อีกจุดที่แย่มาก คือตัวละครชื่อ Yazawa ซึ่งเป็นสาวที่ชั่วช้าสารเลว ทำเหี้ยกับตัวละครมากมายในเรื่อง แต่ไม่เคยต้องรับผลอะไรจากที่ตัวเองทำเลย มันก็เลยเหมือนกับว่า ตัวละครตัวนี้ก็ไม่ใช่คนจริงๆเช่นกัน แต่เป็น “เครื่องมือทางบท” แบบแถมากๆ

คือถ้าทำเป็นหนังแนว Alain Robbe-Grillet อะไรที่ว่ามานี้จะหมดปัญหาไปในทันที เพราะในหนังของ Robbe-Grillet มันก็ “ไม่มีมนุษย์จริงๆ” มันมีแต่นางแบบนายแบบโพสท่าไปเรื่อยๆตลอดทั้งเรื่อง แต่มันทรงพลังมากๆ เพราะมันไม่ถูกถ่วงด้วยเนื้อเรื่องและตรรกะแบบหนังเรื่องนี้น่ะ

5.สรุปว่า ชอบ “รสชาติ” ของหนังเรื่องนี้มากๆ แต่ผู้กำกับทำหนังผิด genre ค่ะ



No comments: