IN
MY HOMETOWN ฮักมั่น (2017, Worrawut Lakchai, A+25)
1.ในขณะที่
ไทบ้านเดอะซีรีส์อาจจะตอบสนองแฟนตาซีของผู้ชายบางคน ฮักมั่นก็ตอบสนองแฟนตาซีของเรา
ในส่วนของเส้นเรื่องเด็กมัธยม เราก็เลยชอบหนังตรงจุดนี้มากๆ
เพราะเราอยากได้ทั้งหนุ่มลาวและหนุ่มไทยในหนังเรื่องนี้ 555
เราชอบมากๆด้วยที่นางเอกวัยมัธยมมีหนุ่มๆมาชอบ3 คน คือหนุ่มลาว, หนุ่มไทยเมือง
และหนุ่มไทยชนบท และไม่มีใครเป็นคนเลวเลย คือทั้งสามคนเป็นคนดีหมด
คือเราว่าถ้าหนังเลือกเส้นทางแบบโง่ๆ หนังก็คงจะปั้นให้
“หนุ่มไทยในตัวเมือง” เป็นคนเลว หรือเป็นนายอิจฉา อะไรแบบนี้น่ะ
แต่พอหนังไม่เลือกเส้นทางโง่ๆแบบนี้ และปล่อยให้ตัวเลือกผู้ชายทั้งสามคนดูมีเสน่ห์หรือความน่าสนใจในแบบของตัวเอง
หนังก็เลยเหมือนก้าวข้ามกับดักความต่ำตมตรงจุดนี้มาได้
2.เส้นเรื่องในชนบท เราก็ชอบมากนะ เราชอบมากๆที่ “พระเอก”
ของหนัง กลายเป็นฝรั่งจนๆในอีสาน คือในขณะที่หนังอีสานหลายเรื่อง
ตัวละครฝรั่งจะมีหน้าที่เป็นตัวประกอบ หรือเป็น “คู่แข่งของพระเอก”
หนังเรื่องนี้กลับพลิกสถานะของฝรั่งให้แตกต่างออกไป เราว่าในแง่นึง
ตัวละครพระเอกของหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงฝรั่งสแกนดิเนเวียในหนังสารคดีเรื่อง THE
LAND OF SMILES (2015, Heikki Häkkinen) ซึ่งเล่าเรื่องจริงของฝรั่งหนุ่มสแกนดิเนเวีย
ที่กลายมาเป็นขี้เหล้าเมายาจนๆในชนบทของไทย
เราชอบมากๆด้วยที่ตัวละคร “เพ็ญ” ที่ฝรั่งหลงรัก ดูเป็นคนธรรมดามากๆ
3.แต่เราก็ไม่ได้ชอบหนังแบบสุดๆถึงขั้น A+30 นะ
คือสำหรับเราแล้ว เรารู้สึกว่า ฮักมั่นเป็นหนังที่ “ละเว้นความชั่ว” ได้หมดแล้ว
แต่ยังไม่ได้ “ทำความดีมากพอ” น่ะ 555 คือเรารู้สึกว่า ฮักมั่น “หลีกเลี่ยงกับดักหลุมพรางความต่ำตม”
ได้หมดแล้ว หรือสามารถหลีกเลี่ยงพล็อตเรื่องหรือเส้นเรื่องแบบที่เราเกลียดได้หมดแล้ว
(ตัวอย่างของหนังที่สอบตกในจุดนี้ ก็มีเช่น สมภัคเสี่ยน และ อ้อมกอดเขมราฐ) แต่หนังยังไม่สามารถสร้างความสะเทือนใจหรือประทับใจได้มากพอน่ะ
เหมือนหนังไม่เก่งในการ “ขยี้อารมณ์” หรือลง details รายละเอียดทางอารมณ์
ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า “ฮักมั่น”
เป็นเหมือนภาพวาดที่มีลายเส้นสวยดีในสายตาของเราน่ะ แต่ยัง “ลงสี”
ได้ไม่สวยสะใจเรา เหมือนหนังคุมตัวเองไม่ให้หลงทางผิดได้ดีแล้ว ร่างเค้าโครงของสิ่งต่างๆในภาพได้ดีแล้ว
แต่พอถึงขั้นตอนการระบายสี หนังยังเลือกสีได้ไม่สวยถูกใจเราเท่าไหร่
ในแง่นึง เรารู้สึกว่า “ฮักมั่น”
มันเหมือนยังหาที่ทางที่ลงตัวของตัวเองไม่ได้ด้วยแหละ คือมันไม่สามารถสร้าง “ความบันเทิง”
ให้ผู้ชมได้มากเท่ากับหนังอย่าง “ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้” หรือ “ไทบ้านเดอะซีรีส์”
และมันก็ไม่สามารถสร้างความประทับใจในแบบหนังอาร์ตเหมือนอย่าง “วังพิกุล” ได้ด้วย
หนังเรื่องนี้ก็เลยเป็นหนังที่ “น่ารักดี” ในสายตาของเรา
แต่ไม่ใช่หนังที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรงอะไรกับมัน
MEMORY OF THE BLIND ELEPHANT (2016, Phuong Linh Nguyen, Vietnam,
video installation, A+25)
ดูที่ชั้น 4 BACC
ดูแล้วสงสัยว่า
ถ้าหากคนเวียดนามมาดูแล้วจะเข้าใจอะไรมากกว่าเราเยอะหรือเปล่า
คือวิดีโอนี้ประกอบไปด้วยฉากวิวทิวทัศน์อะไรต่างๆมากมาย ซึ่งไม่ได้มีอะไรกระทบความรู้สึกเรามากเป็นพิเศษ
แต่ตัวนิทรรศการนี้มันเหมือนจะพูดถึง blind spots ในประวัติศาสตร์เวียดนาม
เราก็เลยสงสัยว่า ฉากแต่ละฉากที่ดูเหมือนไม่มีอะไรในสายตาของเรานี้
จริงๆแล้วมันมีความหมายพิเศษสำหรับคนเวียดนามหรือเปล่า
ENDLESS, SIGHTLESS (2018, Phuong Linh Nguyen, Vietnam, video
installation, A+30)
ดูที่ชั้น 4 BACC สุดฤทธิ์มากๆ เราชอบที่ในวิดีโอนี้เราจะเห็นสิ่งต่างๆเพียงรางๆเท่านั้นท่ามกลางแสงสีขาว
คือมันตรงข้ามกับหนังของ Scott Barley, Enzo Cillo, Teeranit
Siangsanoh, Chaloemkiat Saeyong, Tanatchai Bandasak ที่สิ่งต่างๆจะปรากฏเพียงรางๆท่ามกลางความมืดมนอนธการน่ะ
คือหนังหลายเรื่องที่เราชอบมาก มันจะเน้น “ถ่ายอะไรมืดๆ” แต่วิดีโอนี้ทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม
คือ “ถ่ายฉากสีขาวสว่างจ้า” แต่มันก็ทำให้เห็นอะไรได้เพียงรางๆเหมือนกัน
และสร้างอารมณ์ที่พิศวงหลอกหลอนได้ถึงขีดสุดเหมือนๆกัน
หนังที่ได้ดูครั้งแรกในงาน BANGKOK DESIGN WEEK
1.AS FAR AS
I CAN TELL (Jirat Sompakdee, 30min, A+25)
หนังเลือกโลเกชั่นได้น่าสนใจมากๆ
อยากรู้จังเลยว่าถ่ายที่ไหน ไม่เคยเห็นมาก่อน
มันเป็นทางเดินยกระดับที่ทอดออกไปเหนือท้องทุ่งน่ะ
การที่หนังถ่ายแต่ “ด้านหลัง”
ของตัวละครตลอดทั้งเรื่อง ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจดี ในแง่นึงมันช่วยให้ไม่ต้องใช้ “นักแสดงที่เก่งจริง”
มาแสดงก็ได้ และเราก็พบว่าเราไม่เบื่อเลยนะ
ถึงแม้เราจะไม่เห็นหน้าตัวละครตลอดทั้งเรื่องก็ตาม
ดูแล้วแอบตีความว่า
ทางเดินในหนังเรื่องนี้ มันก็คล้ายกับความสัมพันธ์ของคู่รักในเรื่องน่ะ
มันเป็นทางเดินที่ทอดไปยัง “ที่พักผ่อนหย่อนใจเพียงชั่วครู่ชั่วยาม” เท่านั้น
มันไม่ได้นำไปสู่ “บ้าน” หรือสถานที่อะไรที่เราจะอยู่ได้ถาวร
ความสัมพันธ์ของคู่รักในเรื่องก็เลยเหมือนการเดินไปยังสถานที่รื่นรมย์ที่เราจะอยู่ได้อย่างมากก็เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
แล้วก็ต้องเดินกลับออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง
แก้วน้ำที่ทิ้งลงไปในท้องทุ่งในหนังเรื่องนี้
ก็ทำให้เรานึกถึง “รอยด่างพร้อย” ในความทรงจำด้วย คือเรารู้สึกว่าเมื่อเวลาผ่านไป
เวลาตัวละครในหนังย้อนนึกไปถึงความสัมพันธ์ในอดีต พวกเขาก็จะไม่ได้นึกถึงแต่ “ความรื่นรมย์”
เท่านั้น แต่เหมือนมีรอยด่างพร้อยอยู่ในความรื่นรมย์นั้นด้วย
สรุปว่าเป็นหนังที่ “ออกแบบ”
มาดีมากนะ เราอาจจะไม่ได้รู้สึกสุดขีดกับมัน แต่ก็ enjoy มันมากพอสมควร
2.BANGKOK FAIRIES (2017, Khaohom Charoenchai, A-)
เดาว่าเป็นหนังที่นิสิตทำส่งวิชา production design หรือเปล่า
ไม่แน่ใจในจุดยืนทางการเมืองของหนัง คือหนังนำเสนอแต่ตัวละครที่ “เรียกร้องประชาธิปไตย
เพื่อสร้างคะแนนนิยมให้ตัวเอง” น่ะ เราก็เลยรู้สึกว่า เราและความเจ็บปวดของเราไม่ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้
No comments:
Post a Comment