Monday, May 21, 2018

DAVID LYNCH


หนัง/ละครของ David Lynch ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ

1.MULHOLLAND DR. (2001)
2.TWIN PEAKS (1990-1991, TV Series)
3.LOST HIGHWAY (1997)
4.ERASERHEAD (1977)
5.WILD AT HEART (1990)
6.THE GRANDMOTHER (1970, 34min)                     
7.DUNE (1984)
8.BLUE VELVET (1986)
9.THE ELEPHANT MAN (1980)
10.TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME (1992)
11.HOTEL ROOM (1993)

Sunday, May 20, 2018

2012 3D (2013, Takashi Makino, Japan, A+30)


2012 3D (2013, Takashi Makino, Japan, A+30)

One of my most favorite films of all time. ดูแล้วก็ตายห่าไปเลย อิจฉาคนที่เคยดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายที่ BACC ในปี 2014 มากๆ เพราะขนาดเราดูผ่านจอคอมพิวเตอร์เล็กๆ เรายังตายห่าคาจอคอมไปเลย ถ้าใครบอกว่าหนังเรื่องนี้สร้างขึ้นโดยใช้ “พลังจิต” เราก็เชื่อ หรือถ้าหากใครบอกว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วจะติดต่อกับโลกวิญญาณได้ เราก็เชื่อ หรือถ้าใครบอกว่าฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายหนังเรื่องนี้ เป็นฟิล์มที่ถูกพรมด้วยน้ำมนต์จากวัดลึกลับ, ฟิล์มที่ถูกขูดขีดด้วยทรายใต้โลงของคนที่ตายโหง, ฟิล์มที่ถูกขูดขีดด้วยตะปูโลงศพของศพไร้ญาติ, ฟิล์มที่ถูกเอาไปตากแสงจันทร์ตอนตีสามในคืนวันโกน, ฟิล์มที่ผ่านการบริกรรมคาถาจากตำหนักเจ้าแม่มาณวิกา, ฟิล์มที่ตั้งไว้ต่อหน้าคนที่ท่องพาหุงย้อนหลัง 3 รอบ, ฟิล์มที่ให้คนเอาวนซ้ายรอบโบสถ์สามรอบ, ฟิล์มที่ถูกเอาไปวางไว้ที่ทางสามแพร่ง แล้วเคาะเรียกวิญญาณให้มาเข้าฟิล์ม, ฟิล์มที่ถูกเสกควายธนูเข้าฟิล์ม เราก็เชื่อ

เป็นประสบการณ์ทางจิตที่รุนแรงที่สุดครั้งนึงในชีวิตในการได้ดูหนังเรื่องนี้ รู้สึกว่ามีแค่ David Lynch กับ Philippe Grandrieux เท่านั้นที่เคยพาจิตเราไปถึงขั้นนี้ได้

Saturday, May 19, 2018

CRYING


แอบด่าหนังเรื่องนึงไว้ในใจ ปรากฏว่าเข้าตัวเองค่ะ 555

เมื่อวานนี้ไปดูหนังเรื่อง 102 NOT OUT (2018, Umesh Shukla, India, A+20) ในหนังมันจะมีฉากที่ตัวละครชายวัย 70 กว่าปีชื่อ Baabu ไปที่โบสถ์เพื่อฟังเสียงระฆังโบสถ์ แล้วก็หวนนึกถึงความสุขเมื่อ 30 กว่าปีก่อนตอนที่เขากับลูกชายชอบมาที่โบสถ์แห่งนี้ เพราะลูกชายชอบฟังเสียงระฆัง แล้ว Baabu ก็ร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง เพราะมันเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่หวนคืนมาไม่ได้แล้ว เพราะเขากับลูกชายห่างเหินกันไป 30 กว่าปีแล้ว แล้วหลังจากนั้น Baabu ก็ทำกิจกรรมอื่นๆอีกที่ทำให้หวนนึกถึงความสุขต่างๆในอดีตที่ไม่มีวันหวนคืนมาได้อีกเหมือนกัน

ตอนดู 102 NOT OUT เราจะรู้สึกว่าฉากพวกนี้มันฟูมฟายและทื่อมะลื่อเกินไปน่ะ เหมือนหนังมัน execution ไม่ดี และหลายอย่างดูเป็นความพยายามสร้างความซาบซึ้งแบบทื่อๆ ตรงไปตรงมา และฟูมฟายมากพอสมควร (แต่ก็มีส่วนอื่นๆในหนังที่ดีมากๆนะ)

หลังจากที่เราแอบปรามาสหนังเรื่องนี้และการกระทำของตัวละคร Baabu ไว้ในใจ ปรากฏว่าวันนี้กูโดนเข้ากับตัวเองเลยค่ะ 555

ไม่รู้วันนี้เกิดอะไร หรือเกิดอาการจิตแตก หรือเป็นเพราะ 102 NOT OUT ส่งผลกระทบต่อจิตใต้สำนึกโดยเราไม่รู้ตัว คือพอสายๆวันนี้ ฝนตกหนัก พอเราทำงานบ้านเสร็จ เราก็เลยตัดสินใจนอนต่อ ขณะจะนอนต่อ เราก็หวนคิดถึงอดีตเมื่อ 20 กว่าปีก่อนตอนที่พึ่งเข้าพักในอพาร์ทเมนท์นี้ในปี 1995 นึกถึงความสุขในตอนนั้น ตอนที่เพื่อนๆมัธยมกับเพื่อนๆมหาลัยแวะมาที่อพาร์ทเมนท์นี้เป็นประจำ แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าหากเราหลับไป แล้วตื่นขึ้นมาเป็นวันฝนตกวันหนึ่งในปี 1995 เราจะเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองใหม่อย่างไรบ้าง

พอหลับไปแล้วตื่นนอนขึ้นมา เราก็หยิบเทปเพลงรวมฮิตในทศวรรษ 1990 มาฟัง ยิ่งฟังก็ยิ่งนึกถึงความสุขในทศวรรษ 1990 นึกถึงความสุขสุดๆสมัยเรียนมหาลัย ความสุขสุดๆช่วงที่เพิ่งเรียนจบใหม่ๆ แล้วไปเที่ยว DJ STATION ประมาณ 15 คืนต่อเดือน พอฟังไปได้ 7-8 เพลง จนถึงเพลง THE DAY YOU WENT AWAY ของ Wendy Matthews เราก็รู้สึกอยากร้องไห้อย่างรุนแรง แล้วก็ปล่อยให้ตัวเองร้องไห้อย่างเต็มที่ไปเลยราว 10-15 นาที

เหมือนเราแทบไม่เคยทำแบบนี้มาก่อนนะ มันคงเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของคนวัยชราล่ะมั้ง แบบที่ตัวละครวัย 70 กว่าปีใน 102 NOT OUT ทำ ที่เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง ไม่ใช่เพราะเนื้อเพลงของเพลง THE DAY YOU WENT AWAY นะ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไรเหมือนกัน มันเป็นความเศร้าที่หมักหมมบ่มทับอยู่ในใจเราจากไหนก็ไม่รู้ คือเราเศร้ามากๆที่ “ความสุขต่างๆอันมากมายล้นเหลือตอนที่เราอายุ 18-25 ปี” มันไม่มีวันหวนคืนมาอีกแล้ว แต่เราก็นึกไม่ถึงว่ามันจะทำให้เราร้องห่มร้องไห้ได้อย่างรุนแรงขนาดนี้ ประหลาดดีเหมือนกัน

เราก็ปล่อยให้ตัวเองร้องไห้ไปเรื่อยๆอย่างเต็มที่นะ เพราะวันนี้ไม่ต้องรีบไปไหน ระบายมันออกมาอย่างเต็มที่เลย แต่ก็งงๆว่ากูจะเศร้าไปทำไม ร้องไห้ไป เราก็ย้อนอดีตไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อนไม่ได้อยู่ดี เราก็คงทำได้แค่หวนระลึกถึงความสุขในตอนนั้นเพื่อปลอบประโลมจิตใจไปเรื่อยๆเท่านั้นเอง

สรุปว่า ในตัวเราเอง ก็มีอะไรบางอย่างลึกๆที่เราไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน อย่างความเศร้ามากมายที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงในวันนี้ เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามันมาจากไหนมากมายนัก มันเหมือนกับเราทำงานไปวันๆ พยายามทำทุกอย่างอย่างมีสติ มีเหตุผล ควบคุมอารมณ์ความคิดความรู้สึกตัวเองไปเรื่อยๆ แต่มันเหมือนในใจเรามันแอบกลั่นสารความเศร้าบางอย่างเอาไว้ แล้วค่อยๆหยดสารความเศร้านั้นทีละหยด ทีละหยดลงบ่อกักเก็บในจิตใต้สำนึกของเราไปเรื่อยๆ แล้วพอวันนึง พอเราได้ดูหนังเรื่อง 102 NOT OUT, พอฝนตกหนัก, พอเรามีเวลาว่าง, พอเราได้ฟังเพลงจากทศวรรษ 1990 บ่อกักเก็บความเศร้าในใจเราก็แตกทะลักออกมา น้ำตามากมายมันหลั่งไหลออกมา โดยที่เราก็ไม่รู้ว่ามันมาจากไหนกันแน่ หรือเราไปกักเก็บมันไว้จากเหตุการณ์อะไรบ้างในชีวิต

คิดถึงหนังเรื่อง BUNNY (2000, Mia Trachinger) มากๆ มันเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต มันเป็นหนังที่เหมือนจะพูดถึงอะไรบางอย่างที่คล้ายๆกับที่เราเขียนมาข้างต้น พูดถึงความเศร้ามากมายในใจมนุษย์ที่บางทีก็ไม่รู้ว่ามันมาจากไหนกันแน่

สรุป กูเป็นบ้า จบ

Sunday, May 13, 2018

SOUTHERN FOLKTALE (2018, Supawit Buaket, A+25)


SOUTHERN FOLKTALE (2018, Supawit Buaket, A+25)

1.รู้สึกชอบเจตนาของหนังหรือความตั้งใจของผู้สร้างหนังมากกว่าตัวผลลัพธ์ที่ออกมา 555 คือถ้าเทียบกับหนังนักศึกษาด้วยกันเองแล้ว เราว่านี่เป็นหนังที่น่าสนใจในแง่ ambition น่ะ ทั้งการจับประเด็นเรื่องถังแดงที่ดูเหมือนไม่มีหนังนักศึกษาเรื่องไหนเคยทำมาก่อน และการใช้ setting เป็นป่าแบบนี้ คือเราว่าหนังมี ambition ที่ดีมาก แต่ตัวผลลัพธ์ที่ออกมามันดูเหมือนขาดอะไรสักอย่าง เราก็เลยไม่ได้ชอบมันแบบสุดๆ

2.นอกจากชอบ ambition แล้ว เรายังชอบความ cinematic หรือ visual ในบางฉากด้วยนะ อย่างฉากตอนพระเอกขี่มอเตอร์ไซค์เข้าป่าตอนกลางคืน หรือฉากพระจันทร์เต็มดวงช่วงท้ายๆเรื่อง เราว่ามันเป็น visual ที่สวยติดตามากๆ คือพอดูหนังเรื่องนี้และ DIASPORA UTOPIA (2017, Supawit Buaket) แล้ว เราก็รู้สึกว่าชัตเตอร์คิดซีนในหนังออกมาได้ cinematic หรือน่าจดจำในแง่ “ภาพ” ได้ดีกว่านักศึกษาอีกหลายๆคน คือคิดออกมาเป็น “ภาพ” ได้น่าประทับใจในหลายฉากแล้วล่ะ แต่อาจจะยังมีปัญหาเรื่องอื่นๆอยู่บ้าง

3.เราเองก็บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าหนังขาดอะไรไป บางทีอาจจะเป็นมิติทางจิตวิญญาณ, ความหลอน, ความ smooth ทางอารมณ์ในการเล่าเรื่อง หรือการเลือก genre หนังให้ชัดเจนกว่านี้แล้วจับอารมณ์ตาม genre นั้นออกมาให้ได้

คือตอนดูเราจะนึกเปรียบเทียบกับหนังอีกเรื่องและละครเวทีอีกเรื่องที่พูดถึง “ถังแดง” นั่นก็คือละครเวทีของคุณคาเงะในปี 2014 และหนังเรื่อง “ปราสาทเสือ” (2016, Patana Chirawong) คือเราว่าละครเวที RED TANK มันนำเสนอเหตุการณ์นี้ในแบบที่ ART มากๆ ส่วนหนังสั้นเรื่อง “ปราสาทเสือ” ก็พูดถึงเหตุการณ์ถังแดงในแบบที่จริงจังและหลอนมาก เพราะฉะนั้นการจะทำหนังที่พูดถึงประเด็นเดียวกัน แล้วออกมาดูไม่ซ้ำซากกับหนังที่ออกมาก่อนหน้านี้ มันก็ทำได้ด้วยการฉีกออกไปอีกสไตล์นึง นั่นก็คือทำเป็นหนัง horror suspense แบบ mainstream ไปเลย ซึ่งก็ดูเหมือน SOUTHERN FOLKTALE จะออกมาเป็นแบบนั้นในช่วงแรก

แต่พอดูๆไปแล้ว เราว่าหนังมันก็ไม่สามารถสร้างอารมณ์สนุกตื่นเต้นแบบ horror suspense แต่อย่างใด ตัวประหลาดในหนังก็ดูเป็น “สัญลักษณ์” จริงๆ มากกว่าจะเป็นสัตว์ประหลาดที่น่ากลัว และเราก็เลยรู้สึกว่าหนังมันไปไม่สุดในสักทางน่ะ คือจะว่ามันอาร์ต มันก็ไม่ได้อาร์ตสุดๆ จะว่ามันสนุกตื่นเต้น มันก็ไม่สนุก จะว่ามันจริงจัง มันก็สู้ปราสาทเสือไม่ได้ หรือจะให้มันจริงจังกว่านี้ มันก็ทำได้ยาก เพราะมันเสี่ยงภัยเกินไป 555 จะว่ามันหลอน เราก็ว่ามันหลอนแค่ “ปานกลาง” เท่านั้น เราอยากให้มันหลอนกว่านี้อีก

เราก็เลยแอบรู้สึกว่า มันเหมือน SOUTHERN FOLKTALE ยังหา genre ที่ลงตัวกับตัวเองไม่ได้น่ะ หรือเหมือนกับว่ามันยังจับไม่ถูกว่ามันจะนำเสนออารมณ์อะไรเป็นแกนหลักกันแน่ หรือเหมือนมันยัง “ขาดๆเกินๆ”ด้านอารมณ์ยังไงไม่รู้ คือมันต้องการนำเสนอ “ประเด็น” ที่ดีมากแล้วล่ะ และผู้กำกับก็มีความสามารถด้าน visual ในระดับนึง แต่เหมือนมันยังแปลงประเด็นนั้นออกมาเป็นเนื้อเรื่องที่ทรงพลังสุดๆไม่ได้

4.แอบผิดหวังที่หนังไม่หลอนมากนัก หรือเป็นเพราะเราดูจอเล็กก็ไม่รู้ ถ้าได้ดูทางจอใหญ่+ระบบเสียงที่ดี หนังอาจจะหลอนมากขึ้น

แต่ก็อาจจะเป็นความตั้งใจของผู้กำกับก็ได้นะ ที่ป่าในหนังเรื่องนี้ดูไม่หลอนมากนัก เพราะตัวร้ายของหนังน่าจะเป็น “คน” มากกว่าภูตผีลี้ลับในป่าน่ะ เพราะฉะนั้นป่าก็เลยไม่จำเป็นต้องหลอนมากนักก็ได้

ที่เราคิดว่าป่าไม่ค่อยหลอน อาจจะเป็นเพราะมันจัดแสงสวยเกินไป, เห็นชัดเกินไป หรือส่วนใหญ่เป็นถ่ายระยะ medium shot ด้วยมั้ง ถ้าหากมันมีถ่ายฉากป่ามืดๆแบบ long shot มากกว่านี้ ป่ามันอาจจะดูหลอนกว่านี้ ถ้าเทียบง่ายๆก็คือป่าแบบใน TWIN PEAKS ของ David Lynch และ SLEEP HAS HER HOUSE (2017, Scott Barley) น่ะ ที่เราคิดว่าหลอนเต็มที่ หรือพวกหนังไทยอย่าง TROPICAL MALADAY, MALILA หรือหนังสั้นบางเรื่องของเอกลักษณ์ มาลีทิพย์วรรณ ก็ดึงศักยภาพความหลอนของป่าออกมาได้เต็มที่เช่นกัน แต่ในส่วนของ SOUTHERN FOLKTALE นั้น เรารู้สึกว่า ป่าในหนังจัดแสงสวยจังเลย จัดหมอกควันสวยจังเลย มันต้องมีทีมงานกองถ่ายอยู่แถวนั้นหลายคนตอนถ่ายฉากนี้แน่ๆ เพราะฉะนั้นอารมณ์หลอนมันก็เลยหายไป 555

5.ชอบการใช้ภาษาใต้ในหนังแล้วต้องขึ้น subtitle ภาษาไทยเอาไว้ด้วยมากๆ เพราะเราฟังภาษาใต้ไม่ออก แต่เราก็ต้องการให้มีการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นต่างๆหรือการนำเสนอภาษาท้องถิ่นต่างๆในหนัง

6.มีจุดนึงที่น่าสนใจดี ไม่รู้ว่าเป็นความผิดพลาดหรือความตั้งใจ 555 เพราะมันมีฉากที่พระเอกใส่เสื้อยืดสีเหลือง+เสื้อเชิ้ตสีแดงออกไปสืบความจริงในป่า แต่พอเขากลับเข้าบ้านมา เขาใส่เสื้อยืดสีแดง เราก็เลยไม่รู้ว่ามันเป็นเหตุการณ์คนละวันกัน, พระเอกเปลี่ยนเสื้อระหว่างทาง, หรือเกิดความไม่ continue หรือเป็นความจงใจใช้สัญลักษณ์ทางเสื้อยืด เพราะในฉากนั้นคุณลุงก็ใส่เสื้อยืดคำว่า THAILAND ด้วย คือมันเหมือนกับว่าเสื้อยืดที่คุณลุงใส่นี่เป็น symbol แน่ๆ แต่การที่สีเสื้อยืดตัวละครเปลี่ยนไปอย่างฉับพลันนี่เราไม่รู้ว่าใช่ symbol หรือเปล่า 555

7.สรุปว่าชอบ ประเด็น ที่หนังต้องการนำเสนอมากๆ แต่เหมือนหนังยังขาดๆเกินๆในทางอารมณ์ยังไงไม่รู้


HALF PART OF YOU, HALF PART OF ME (2018, Nattapon Jomjun, A+30)

HALF PART OF YOU, HALF PART OF ME (2018, Nattapon Jomjun, A+30)

ดูหนังแล้ว ชอบมากๆเลยครับ ดูแล้วมีความเห็นดังต่อไปนี้

1.นึกว่าเป็น Robert Bresson + Andrei Tarkovsky 555 ชอบมากๆที่หนังเหมือนเล่าเรื่องด้วยวิธีการที่ mimimal + ellipsis มากๆ ซึ่งจุดนี้ทำให้นึกถึง Robert Bresson และมันมีความหลอนๆ spiritual ที่ทำให้นึกถึง Tarkovsky ด้วย

2.ดูแล้วก็ไม่เข้าใจอะไรมากนัก แต่ถ้าให้จินตนาการเนื้อเรื่องเอาเองจากที่ได้ดูมา พี่ก็เข้าใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในหนังก็คือ มันเป็นเรื่องของครอบครัวแม่กับลูกสาวลูกชาย ครอบครัวนี้ยังอยู่ด้วยกันในช่วงปี 2010 เพราะพี่เดาว่าเสียงผู้นำการชุมนุมสั่งยุติการชุมนุมน่าจะเป็นเสียงจากปี 2010 หลังจากนั้นพี่สาวก็หนีไป และน่าจะมีสามีที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดีประมาณนึง (สังเกตได้จากบ้านของแม่สามี) และสามีอาจจะทำงานอะไรบางอย่างที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ อย่างเช่นงานประเภท graphic designer แต่ต่อมาสามีก็เสียชีวิตกะทันหัน นางเอกก็เลยไปงานศพ เอาอัฐิไปปล่อย พูดคุยกับแม่สามี เธอตากเสื้อยืดของสามี คิดถึงเขา หลับฝันถึงเขา วิญญาณของเขาเหมือนจะมาอำลาเธอ เธอต้องทำงานเป็นคนล้างจานในโรงอาหารหรือร้านอาหารอะไรสักอย่าง ชีวิตเธอคงยากลำบาก เธอก็เลยทำแท้ง และอาจจะตัดสินใจกลับบ้าน โดยเหตุการณ์ช่วงงานศพสามีนี้เกิดขึ้นในช่วงราวเดือนต.ค. 2016 ส่วนตัวน้องชายนั้นก็คิดถึงพี่สาวเหมือนกัน โดยเฉพาะตอนที่เขาตากเสื้อยืดที่พี่สาวเคยใส่ในวันที่บอกให้น้องชายดูสิวที่ด้านหลังให้

3.ดูแล้วก็ไม่รู้ว่าเข้าใจเนื้อเรื่องถูกต้องหรือเปล่า เพราะหนังเล่าเรื่องแบบ Robert Bresson มากๆ ซึ่งถือว่าดี เพราะแทบไม่เคยเจอหนังไทยเรื่องไหนใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบนี้มาก่อน และคิดว่าน้องคงตั้งใจให้หนังออกมาพิศวงแบบนี้อยู่แล้ว

คือถ้าน้องตั้งใจให้คนดู “รู้เรื่อง” มากกว่านี้ มันก็ทำได้นะ แต่คิดว่าคงไม่ใช่จุดประสงค์ของน้อง 555

อย่างตอนแรกที่ดู จะนึกว่านางเอกไปงานศพของพ่อ และพูดคุยกับแม่ของตัวเอง เพราะในหนังเราแทบไม่ได้ยินเสียงพูดคุยของนางเอกกับผู้หญิงวัยกลางคนเลย เราก็เลยไม่รู้ว่าจริงๆแล้วความสัมพันธ์ของสองคนนั้นเป็นอะไรกัน และหนังก็ไม่บอกเลยว่านางเอกตั้งท้อง แต่อยู่ดีๆก็มีฉากนอนถ่างขาเลย เราก็เลยต้องจินตนาการเอาเองว่านางเอกคงท้องแล้วไปทำแท้งเพราะผัวตาย+ชีวิตยากลำบาก 555

ช่วงที่เป็นชีวิตน้องชายกับแม่ก็พิศวงมาก เพราะหนังตัดสลับไปมาระหว่างอดีต,ปัจจุบัน, ความจริง, ความฝัน อย่างฉากที่เหมือนมีนางเอกใส่ชุดดำมายืนที่ระเบียง ก็ไม่รู้ว่าคืออะไร คือเห็นแว่บแรกนึกว่าความจริง แต่พอดูหมดทั้งเรื่องแล้วก็เดาว่ามันอาจจะเป็นความฝันหรืออะไรก็ได้ 555

4. setting ช่วงครึ่งหลังดูแปลกมาก ที่เป็นห้องที่มีแต่กระดาษหนังสือพิมพ์ปูไว้ และมีเก้าอี้สำหรับลูกค้าตัดผม และใช้เป็นสถานที่ตากผ้า เราว่ามันดู surreal ดี

5.ชอบความคล้องจองกันเรื่องการตากเสื้อยืดแล้วคิดถึงคนที่จากไปแล้ว ที่เกิดขึ้นทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง

6.รู้สึกว่ามีอยู่สองช็อตที่ดูสวยแบบประดิษฐ์เกินไป ซึ่งได้แก่ช็อตที่เหมือนโรยข้าวตอกหรืออะไรสักอย่างลงบนกระจาดในช่วงต้นเรื่องด้วยจังหวะ slow motion กับช็อตโปรยอัฐิลงแม่น้ำ แต่ไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่อะไร

7.ชอบการที่หนังเน้น “บรรยากาศ” อย่างเช่นฉากนางเอกคุยกับแม่ผัว ที่หนังไปเน้นที่ตัวบ้าน โดยที่เราแทบไม่ได้ยินเสียงสนทนาเลย, ฉากแรกของช่วงครึ่งหลัง ที่ถ่ายให้เราเห็นหมู่ตึกอาคารโทรมๆกลุ่มหนึ่ง และฉากหวดนึ่งข้าวเหนียวที่ส่งควันตลบอบอวล (เราว่าฉากนี้ดู Tarkovsky มากที่สุด)

8.การเชื่อมโยงกับประเด็นการเมืองดูน่าสนใจดี เหมือนน้องชายเป็นเสื้อแดง แล้วพี่สาวเป็นอีกฝ่าย 555 แต่ถ้าดูแบบไม่ตีความ การใส่ voice เหตุการณ์ทางการเมืองเข้ามาในหนัง ก็ช่วยในการ “บอกเวลา” ว่าเหตุการณ์ไหนเกิดก่อนเกิดหลัง เพราะหนังเล่าเรื่องแบบไม่เรียงตามลำดับเวลา

9.สรุปว่าชอบสุดๆ และไม่รู้เหมือนกันว่าควรจะต้องแก้ไขอะไรดี แนะนำว่าควรส่งมางาน Filmvirus Wildtype และส่งงานเทศกาลหนังสั้นด้วย แต่ถ้าจะส่งเทศกาลต่างประเทศอาจจะติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์หนังจีนเก่าที่ปรากฏอยู่ในหนัง คือจริงๆพี่คิดว่าหนังเรื่องนี้ดีพอที่จะลองส่งเทศกาลต่างประเทศได้ แต่คงต้องเปลี่ยนหนังที่ฉายจากหนังจีนเก่าเป็นหนังไทยเรื่องอะไรก็ได้ที่เราสามารถขอลิขสิทธิ์ได้ 555 แต่ถ้าหากน้องไม่ได้คิดจะส่งเทศกาลหนังต่างประเทศ ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรตรงจุดนี้

Sunday, May 06, 2018

THE EARTH (Thanet Awsinsiri, video installation, A+30)


THE EARTH (Thanet Awsinsiri, video installation, A+30)

ชอบการที่เอาสองอย่างที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันมาเรียงร้อยต่อกัน ซึ่งได้แก่ฉากหญิงเปลือยให้นมลูกท่ามกลางพื้นดินแตกระแหง กับฉากน้ำท่วมประเทศไทย คือมันดูไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่ดูแล้วก็ชอบสุดๆ คือเราว่าสองฉากนี้ถ้าหากอยู่โดดๆ มันก็อาจจะดูน่าสนใจในระดับนึง แต่พอมันเอามาเรียงร้อยต่อกัน ความน่าสนใจก็เลยทวีคูณขึ้นอีกหลายเท่า เพราะการที่มันดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันทำให้มันเกิดพลังอะไรบางอย่างขึ้นมา แบบที่มักพบได้บ่อยๆในหนังของ Alexander Kluge

เราก็ไม่เข้าใจหรอกว่าวิดีโอนี้มันสื่อถึงอะไร แต่มันทำให้เรานึกถึง “พระแม่ธรณี” และหนังเรื่อง MOTHER! (2017, Darren Aronofsky) โดยไม่ได้ตั้งใจ 555 คือการเอาฉากแม่ให้นมลูกกับฉากน้ำท่วมมาเรียงร้อยต่อกัน ก็เลยทำให้นึกถึง Jennifer Lawrence ที่เหมือนจะรับบทเป็นกึ่งๆพระแม่ธรณีในหนังเรื่องนั้น และพอมนุษย์มาทำเหี้ยๆในโลก (หรือบ้านของตัวละคร) ก็เลยเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม (หรือท่อน้ำระเบิดในบ้านหลังนั้น) 555

PARIS -- WHEN IT SIZZLES (1964, Richard Quine, A-)

หนังมีไอเดียตั้งต้นที่น่าสนใจนะ นั่นก็คือการยั่วล้อโครงสร้างบทภาพยนตร์เมนสตรีม หนังเล่าเรื่องนักเขียนบทภาพยนตร์ที่พยายามเขียนบทภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่องใหม่ เพราะฉะนั้นตัวละครก็จะมีการวิพากษ์องค์ประกอบต่างๆทางบทภาพยนตร์ไปด้วยตลอดเวลา

แต่ทำไมดูแล้วมันน่าเบื่อก็ไม่รู้ 555 คือจริงๆแล้วเราว่าองค์ประกอบบางอย่างในหนังเรื่องนี้มันทำให้นึกถึง CONTEMPT (1963, Jean-Luc Godard) และ TRANS-EUROP-EXPRESS (1966, Alain Robbe-Grillet) นะ เพราะหนังฝรั่งเศสสองเรื่องนี้ก็ยั่วล้อองค์ประกอบต่างๆทางภาพยนตร์เหมือนกัน

ถ้าเปรียบเทียบเป็นอาหาร มันก็เหมือนกับว่า PARIS – WHEN IT SIZZLES ใช้วัสดุในการทำอาหารหลายอย่างเหมือนกับหนังเรื่อง CONTEMPT และ TRANS-EUROP-EXPRESS น่ะ แต่ถึงแม้ว่าวัสดุหรือส่วนผสมในการทำอาหารจะคล้ายคลึงกัน แต่ PARIS กลับออกมาเป็นอาหารที่ไม่อร่อยถูกปากเราเท่าไหร่ ในขณะที่ TRANS-EUROP-EXPRESS กลายเป็นอาหารที่อร่อยที่สุดจานหนึ่งที่เราเคยกินมา



Saturday, May 05, 2018

PHANTOM ISLANDS (2018, Rouzbeh Rashidi, Ireland, A+30)


PHANTOM ISLANDS (2018, Rouzbeh Rashidi, Ireland, A+30)

1. Though the film’s synopsis seems to focus on the boundary between documentary and fiction, that is not what I paid attention to at all when I watched this film.  As for me, the film seems very fictional, due to the acting scenes of the couple which are interspersed throughout the film, and due to the haunting soundtrack. These factors make the film seem very different from traditional documentaries, which aim to give some useful information to the viewers. So when I watched this film, I paid no attention to the purpose of the filmmaker. I don’t care what the filmmaker was trying to say or to explore while making this film. I only care about how the film affects me. And this film makes me feel as if it is an adventure film which invites each viewer to create his/her own narrative or story.

2. So when I was watching this film, I created my own story while watching it. In my imagination, the film can be used to tell an adventure story like in Dan Brown’s novels or like THE WEIRDSTONE OF BRISINGAMEN (1960, Alan Garner). The film can be used to tell a story of a couple who try to search for the lost treasure of the kingdom of Cantre’r Gwaelod, or the treasure of Atlantis, or some magical things, or the door to Twilight Zone, or a magical island which has something they are looking for, such as a cure for their sleeping sickness, or a weapon which can be used to fight a witch who once put a sleeping spell on them and put some strange poison in the man’s blood (That’s why the man seems to be in agony from time to time. Hahaha).

In order to find the treasure/magical things/magical island, the couple must search for hidden clues and puzzles lying in castles’ ruins and many other places in Ireland. That’s why the couple are always wandering around, and lead us to experience the beauty of Ireland, including beautiful forests, meadows, and seashores. There is also a man who secretly pursues the couple, in order to get hold of the treasure/magical thing before them. The woman is armed by a magical polaroid camera, which can show us things which are invisible to human eyes. The woman can also talk to animals. Horses, white birds, sheep, and cows provide the couple some useful information. But the most important information/clues about the treasure of Cantre’r Gwaelod/Atlantis or the door to magical island comes from the animals in the aquarium—lizards, turtles, fish, sharks, etc. And the clues sometimes appear in the couple’s dreams. Later, the woman has to make some kind of blood sacrifice with the help of some other people, in order to find the next clue to the treasure/island. The door to the magical island will only appear at the right spot, at the right time when some stars are aligned and the tide is right, and at twilight.

That is how I experienced or enjoyed this film. This film is not made for this purpose. It may be made to explore the boundary between fiction and documentary or explore the nature of images or whatever. But I don’t care. Hahaha. I enjoyed it as one of very few films which inspire me to create my own story while watching them.

3.It is interesting to see that this film is dedicated to Jean Epstein, Marguerite Duras, and Andrzej Zulawski. Unfortunately, I haven’t yet seen any films by Jean Epstein. But I can see how the film is related to Duras and Zulawski. I think the scenes of the couple may be inspired by Zulawski, because these scenes are full of exaggerated gestures. The love of the couple and the quarrels between them are expressed with exaggerated emotions like in Zulawski’s films, I guess.

Some nature scenes may be inspired by Duras, or at least these scenes remind me of such films as AGATHA AND THE LIMITLESS READINGS (1981, Marguerite Duras) or HER VENETIAN NAME IN CALCUTTA DESERT (1976, Marguerite Duras), which tell stories via scenes of empty landscapes.

The difference from Zulawski and Duras is that the films of Zulawski and Duras tell stories, but PHANTOM ISLANDS doesn’t tell any stories, though some viewers like I can create a story by themselves.

4. While I was watching PHANTOM ISLANDS, it unintentionally reminds me of two films by Christelle Lheureux, which are:

4.1 I FORGOT THE TITLE (2008), because I FORGOT THE TITLE also shows us a couple in a misty, mysterious island. It is also an experimental film which tells no exact story. I FORGOT THE TITLE is also very Durasian.

4.2 L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE (2003, 80min), because L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE presents us images of some Japanese people standing or sitting in a house throughout the film. The original film tells no story, like PHANTOM ISLANDS. But in a way L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE tells so many different stories. When the film was shown in Japan, someone was asked to create a story to accompany the film. When the film was shown in France, a French writer created another story for the film. When the film was shown in Bangkok, Prabda Yoon, a famous Thai writer, created a very interesting story about the war in Iraq and its affects on Japanese people for the film. And the film was adapted into so many different stories when it was shown in China, South Korea, Canada, Vietnam, Netherlands, and Switzerland.

So in a way PHANTOM ISLANDS affects me in a similar way to L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE. Both films inspire me to create a story by myself, though in the case of L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE it is intentional, while in the case of PHANTOM ISLANDS it is unintentional.

5.Because I created my own story while watching PHANTOM ISLANDS, I found that my experience for this film can be compared to my experience for some films of Alain Robbe-Grillet, Jacques Rivette, Teeranit Siangsanoh and Wachara Kanha.

5.1 It reminds me of Alain Robbe-Grillet, because in films such as EDEN AND AFTER (1970, Alain Robbe-Grillet), the focus seems to be on the images of character postures. EDEN AND AFTER is full of strong images. We see characters posing beautifully or strikingly all the time. The relationship between “images” and “story” in Robbe-Grillet’s films is distorted or is very unusual compared to ordinary narrative films. I find that some images and editing in PHANTOM ISLANDS give me the same kind of impressions.

5.2 PHANTOM ISLANDS unintentionally reminds me of Jacques Rivette, because the story that I created by myself somehow can be compared to such films as DUELLE (UNE QUARANTAINE) (1976, Jacques Rivette), which tells a magical story in contemporary settings without special effects or CG. Jacques Rivette is one of my most favorite directors, because he used “everyday settings” or “ordinary places” and created an adventure or an exciting story out of these ordinary places, such as PARIS BELONGS TO US (1961), OUT 1, NOLI ME TANGERE (1971), CELINE AND JULIE GO BOATING (1974), LE PONT DU NORD (1981), GANG OF FOUR (1989), UP DOWN FRAGILE (1995), and VA SAVOIR (2001). Jacques Rivette could turn “ordinary places” into something mysterious or magical. It seems like he saw magic in everyday life. And that’s why PHANTOM ISLANDS reminds me of Rivette, because this film turns images of “ordinary places” into something magical, too, by blurring the edges of the images, and by accompanying the images with haunting soundtrack or sound of invisible things.

5.3 PHANTOM ISLANDS unintentionally reminds me very much of the films by Teeranit Siangsanoh and Wachara Kanha, because these Thai filmmakers made fictional films by using “documentary images” or “images captured from everyday life”. Teeranit and Wachara are zero-budget filmmakers, but they like to make many fictional films. They have no budget to create sets or to hire actors, so they just films many things in their everyday life—views of the roads, views of some deserted houses in Bangkok, views of some wastelands—and also films some landscapes when they travel upcountry, and use these documentary images or “everyday images” to create some fictional stories in their films. In THE LIGHT HOUSE (2011, Teeranit Siangsanoh, 43min), Teeranit can tells us a story of the apocalypse by filming a deserted house. In LOSE (2011, Wachara Kanha, 70min), Wachara tells a fictional story by using some images he filmed while traveling to a seashore. In INVADER (2011, Wachara Kanha, 90min), Wachara tells a sci-fi story about aliens by using images he filmed while walking and playing with friends in a forest. In THE COLD-SKULLED MAN (2013, Teeranit Siangsanoh, 33min), Teeranit tells a sci-fi story by filming images of a farmer living his everyday life. In THE NYMPH or NANG PRAI (2016, Teeranit Siangsanoh, 19min), Teeranit tells a story about the love of a female half-crocodile, half-human, by using mostly documentary images of a tourist spot.

PHANTOM ISLANDS reminds me very much of NANG PRAI, because both films can be divided into two main parts—documentary images of tourist spots and images of actors/actresses doing something. Another similar thing between these two films is that both films show us how “images of something which seems so ordinary” can be turned into something mysteriously powerful or indescribable by the gaze of great directors. In PHANTOM ISLANDS, we see an old man’s face at the beginning of the film. The camera seems to linger on the man’s face longer than usual. And that may be the boundary between documentary and fiction. The scene of a man’s face seems to stop being a documentary and starts to inspire some imagination in the minds of some viewers. In NANG PRAI, we see the heroine combing her hair in an ordinary room for about 5 minutes. There is nothing else happening in the scene. We just see a woman combing her hair while listening to a beautiful old Thai song. In this scene, we see an ordinary woman doing an ordinary thing for a long time. But somehow the gaze of Teeranit can turn images of these ordinary things into one of the most magical scenes of all time in Thai films.

6.In conclusion, I like PHANTOM ISLANDS very much, because it unintentionally inspires me to create some adventure stories inside my head. And I think in some cases the boundary between documentary and fiction doesn’t only depend on the images themselves, but also depends on each director and each viewer. Images or scenes of a tourist spot may be documentary images/scenes in themselves, but when they are devoid of information, and when they are juxtaposed with fictional scenes, they can easily become a part of fictional stories, intentionally as in the case of Teeranit Siangsanoh’s fims, possibly unintentionally as in the case of PHANTOM ISLANDS. Documentary scenes such as the scenes in which the crew of PHANTOM ISLANDS appear in front of the camera or appear in the polaroid photo, or the scene in which a flock of sheep seem to be disturbed by the presence of the filmmaker, may be documentary scenes in themselves, judging by the purpose of the filmmakers, but they can be turned into fictional scenes in my imagination, because the will and imagination of each viewer can play an important part, too.

Wednesday, May 02, 2018

PLEASE GIVE ME SOME LOVE (1992, Apichart Popairoj, A+30)


PLEASE GIVE ME SOME LOVE (1992, Apichart Popairoj, A+30)
ขอความรักบ้างได้ไหม (อภิชาติ โพธิไพโรจน์)

1.ชอบความ “ฤดูใบไม้ร่วง” ของหนังเรื่องนี้มากๆ เหมือนเป็นหนังไทยเรื่องเดียวที่เรานึกออกในตอนนี้ที่เน้นบรรยากาศของความเป็นฤดูใบไม้ร่วงในไทย

คือฤดูใบไม้ร่วงในไทยมันเหมือนไม่มีอยู่จริง แต่เราจำได้ว่าตอนเด็กๆมันเหมือนจะมีช่วงเวลาสัก 1-2 สัปดาห์ในเดือนพฤศจิกายนที่เราจะเห็นใบไม้ร่วงหนักมาก ก่อนจะเข้าสู่ฤดูหนาว แต่เราไม่รู้ว่าพอเราโตขึ้นมา หรือตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา มันยังมีช่วงเวลาแบบนี้ในกรุงเทพอยู่หรือเปล่า คือมันอาจจะยังมีอยู่ก็ได้ แต่เราไม่ทันสังเกตเอง

อย่างไรก็ดี ไม่ว่า “ช่วงเวลาใบไม้ร่วง” ในไทยจะยังมีอยู่หรือไม่ เราก็รู้สึกว่าการที่หนังเรื่องนี้เน้นอะไรแบบนี้อย่างรุนแรง มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังไทยเรื่องอื่นๆ

2.ชอบความ “ไม่เป็นโล้เป็นพาย” ของหนุ่มสาวในหนังเรื่องนี้มากๆ ทำให้นึกถึงหนังอย่าง REGULAR LOVERS (1992, Philippe Garrel) คือหนุ่มสาวในหนังเรื่องนี้เหมือนจะมีพลังอะไรบางอย่าง แต่ในที่สุดก็ไปไม่ถึงไหน

3.เราว่าหนังค่อนข้างประณีตเรื่อง mise en scene, การถ่ายภาพ, การจัดแสง แต่เสียดายที่คงหาฟิล์มต้นฉบับไม่ได้แล้ว เราก็เลยได้แต่ “จินตนาการ” เอาเองว่าภาพที่สมบูรณ์ของหนังเรื่องนี้มันจะเป็นอย่างไร

4.ความไม่สมบูรณ์ของหนังที่มีอยู่ในตอนนี้ทำให้หนังเรื่องนี้กลายเป็น “หนังทดลอง” โดยไม่ได้ตั้งใจ 555 คือ mise en scene ของหนังเรื่องนี้จงใจเน้น “ธรรมชาติ” เพราะฉะนั้นในหลายๆช็อต หลายๆซีน ตัวละครมักจะปรากฏตัวอยู่ทางมุมขวาล่างของจอ ในขณะที่พื้นที่ 90% ของจอจะเป็นภาพธรรมชาติอันกว้างใหญ่ไพศาล แต่พอหนังเรื่องนี้ไม่มี original film ที่สมบูรณ์ แต่เหมือนเป็นภาพที่แค็ปมาจากวิดีโอหรือวีซีดีที่เกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะฉะนั้นในหลายๆซีนตัวละครจะตกขอบจอไป 555 เราจะเห็นแต่ภาพธรรมชาติทั้งจอ และเห็นอวัยวะบางส่วนของตัวละครแทรกเข้ามาที่มุมขวาล่างของจอ และได้ยินเสียงตัวละครคุยกัน เพราะฉะนั้นในหลายๆช็อต คนดูต้องจินตนาการเอาเองถึงสิ่งที่อยู่ offscreen นั่นก็คือ “ภาพตัวละคร” เพราะตัวละครตกขอบจอไปเกือบหมดแล้ว 555

5.สรุปว่าชอบอภิชาติ โพธิไพโรจน์มากพอสมควร เพราะเคยดู “ถามหาความรัก” (1984) และ “เพื่อน” (1986) ที่เขากำกับ และรู้สึกว่าเขาเป็นผู้กำกับที่ทำหนังโอเคคนนึง

Tuesday, May 01, 2018

SAMPAWESEE


สัมภเวสีเป็นนิยายเรื่องแรกของตรี อภิรุมที่ได้อ่าน พออ่านแล้วก็ตกตะลึงพรึงเพริดไปเลย เพราะรู้สึกถูกโฉลกกับจักรวาลของตรี อภิรุมอย่างมากๆ คือก่อนหน้านั้นเราชอบ “นิยายผีๆ” หรือนิยาย horror อยู่แล้ว ประเภทนิยายของจินตวีร์ วิวัธน์ และ แก้วเก้า น่ะ แต่นิยายประเภทนี้มันมักจะมีตัวเอกเป็นคนธรรมดา และต้องเผชิญหน้ากับผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์กลุ่มนึง คือมันเหมือนเป็นเรื่องระหว่างพระเอก-นางเอก ปะทะกับภูตผีปีศาจที่เฉพาะเจาะจงตัวนึงหรือกลุ่มนึงน่ะ มันเลยเหมือนเป็นอะไรที่ “แคบๆ”

แต่สัมภเวสีมันเป็นเรื่องของนางเอกที่มีพลังจิต และต้องปะทะกับภูตผีปีศาจอะไรก็ไม่รู้มากมายเต็มไปหมด โดยมีกฎ, กติกา หรือมีหลักเกณฑ์อะไรต่างๆมากมายในการปะทะกัน คือมันเป็น “จักรวาล” ที่น่าเข้าไปเล่น หรือมีพื้นที่ต่างๆมากมายให้เราจินตนาการอะไรเพิ่มเติมได้น่ะ คือ “จักรวาล” ของตรี อภิรุม มันเหมือนเปิดพื้นที่ให้เราจินตนาการถึง “เวมาณิกเปรต”, “สามเณรีเปรต”, เทพชั้นจาตุมหาราชิกาที่เป็นอันธพาล, เครื่องรางของขลังต่างๆที่มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆกันไป, คุณไสยต่างๆที่มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆกันไป, อีเป๋อ, การเจิมหัว, รักยม, อาฏาฏิยปริตร, ขันธปริตร ฯลฯ คือนิยายของตรี อภิรุมมันตั้งอยู่บนโลกไสยศาสตร์ที่มีอะไรต่างๆนานาน่าสนใจ, น่าเล่น, น่าจินตนาการถึงมากมายเต็มไปหมด ในขณะที่นิยายของจินตวีร์ วิวัธน์ กับแก้วเก้ามันเป็นเรื่องของ “พระเอก-นางเอก ปะทะกับภูตผีปีศาจร้าย” แต่มันไม่ได้เชื่อมโยงกับโลกไสยศาสตร์ที่มีอะไรน่าสนใจมากมายแบบนิยายของตรี อภิรุม

FAVORITE BOOKS


ได้รับ tag จาก Nongmod Chintragoonvattana ให้โพสท์หนังสือที่ชอบ 7 เล่ม #IReadThereforeIAm777

เราก็เลยโพสท์รายชื่อนี้รวมกันไปเลยในคราวเดียวนะ 555 แล้วก็คงไม่ tag คนอื่นต่อ

1.ABSENCE – Peter Handke
2.FILMVIRUS 2 (2001)
3.GODARD ON GODARD (1968)
4.RECOLLECTIONS OF THE GOLDEN TRIANGLE (1978)Alain Robbe-Grillet
5.นิราศมหรรณพ (2015) ของ ปราปต์
6.สมมุติว่า เขารักฉัน กฤษณา อโศกสิน
7.สัมภเวสี – ตรี อภิรุม