Sunday, June 24, 2018

TAKE ME HOME, COUNTRY ROAD GENRE


แนะนำหนังกลุ่ม ORDINARY LIVES, ORDINARY PEOPLE หรือหนังที่นำเสนอชีวิตคนธรรมดาในแบบที่เราชอบสุดๆ

7.AT THE BACK OF BEYOND (2018, ปวริศร คุณวรผาติ, 30min, A+30)
8.NO PLACE LIKE HOME (2018, ไอศวรรนยา ภูมิเลิศ, 24min, A+30)
9.SMALL WORLD โลกใบเล็ก (2008, Wasunan Hutavej, 17min)
10.กาลนิรันดร์ (2008, Issara Bonprasit, 30min)
11.TAKE HOME (2014, Thapanee Loosuwan, documentary, 28min)
12.GRANDMOTHER (2015, Parnkamol Parnchareon, 24min)

พอได้ดูเทศกาลหนัง THESIS ของ ICT ศิลปากรปีนี้แล้ว ก็พบว่ามีหนังสองเรื่องที่เข้าข่าย “หนังชีวิตคนธรรมดาที่งดงามมากๆ”  ซึ่งได้แก่ AT THE BACK OF BEYOND และ NO PLACE LIKE HOME ซึ่งมีส่วนคล้ายกัน  เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอเรื่องของตัวละครหนุ่มสาวที่เรียนในกรุงเทพ แล้วกลับไปเยี่ยมบ้านช่วงต่างจังหวัดเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ AT THE BACK OF BEYOND เน้นไปที่ตัวละครคนชรา ในขณะที่ตัวละครหนุ่มสาวเป็นตัวประกอบ ส่วน NO PLACE LIKE HOME นั้น ตัวละคร “หญิงสาว” เป็นแกนกลางของเรื่อง ส่วนพ่อแม่เป็นตัวประกอบ

ถ้าเทียบกันระหว่างสองเรื่องนี้ เราก็ชอบ AT THE BACK OF BEYOND มากกว่า เพราะการที่ตัวละคร “ชายชรา” กลายเป็นศูนย์กลางของเรื่อง มันทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังสั้นไทยอีกราวร้อยเรื่องที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน เพราะหนังสั้นไทยกลุ่มนี้มักจะใช้ตัวละครหนุ่มสาวเป็นแกนกลาง แล้วให้ตัวละคร “ญาติผู้ใหญ่” เป็นตัวประกอบ มันเหมือนกับว่าก่อนหน้านี้ตัวละครญาติผู้ใหญ่ exist เพื่อมีปฏิกิริยากับตัวละคร “พระเอก” หรือ “นางเอก” แต่การที่ AT THE BACK OF BEYOND เปลี่ยนจุดสนใจไปยังตัวละครชายชรา มันเลยทำให้ตัวละครชายชรา exist อยู่ได้ด้วยตัวมันเอง มีชีวิตเป็นตัวของตัวเองจริงๆ ตัวละครชายชราไม่ได้ exist อยู่เพียงเพื่อแค่ให้ตัวละครพระเอกนางเอกกลับไปหาเท่านั้น ตัวละครชายชรามันมีชีวิตของมันอยู่แล้ว ไม่ว่าตัวละคร “ชายหนุ่มหญิงสาว” จะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม หรือจะกลับไปหาหรือไม่ก็ตาม

การที่ AT THE BACK OF BEYOND ลากยาวไปเรื่อยๆเพื่อแสดงให้เห็นว่า ชีวิตชายชราขณะอยู่ตามลำพังนั้นเป็นอย่างไรบ้าง กิจวัตรประจำวันของเขาเป็นอย่างไร มันทำให้หนังเรื่องนี้งดงามอย่างสุดๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่เราชอบมากทั้งใน AT THE BACK OF BEYOND และ NO PLACE LIKE HOME ก็คือการที่หนัง “มีความดราม่า” น้อยมาก เมื่อเทียบกับหนังสั้นไทยโดยทั่วไปที่อยู่ใน genre เดียวกัน เพราะหนังสั้นไทยเรื่องอื่นๆในกลุ่มนี้มักจะให้ตัวละครหนุ่มสาวที่กลับบ้านในต่างจังหวัดเผชิญเหตุการณ์ดราม่าบางอย่าง ซึ่งระดับความดราม่าก็มีตั้งแต่ระดับ “เล็กน้อย” อย่างเช่นใน
--A NEW LIFE (2017, Rujipas Boonprakong)
--OUR HOME SAYS ALL ABOUT US (2017, Pasit Tandaechanurat)

ดราม่าระดับ “ปานกลาง” อย่างเช่นใน NEW RECORDING (2018, จิตราพร กาญจนศุภศักดิ์)

หรือดราม่าระดับ “หนักมาก” อย่างเช่นใน
--BLUE HOUSE EFFECT (2017, Boonyarat Muangsombat)
--COME BACK รักเก่าที่บ้านเกิด (2012, Watcharapong Pattama)

เราก็เลยชอบสุดๆที่ AT THE BACK OF BEYOND และ NO PLACE LIKE HOME กล้าที่จะลดทอนความเป็นดราม่าลงไปจนเกือบหมดเลย และนำเสนอ “ความธรรมดา” ของชีวิตตัวละครออกมา โดยที่นำเสนอมันออกมาได้อย่างงดงามสุดๆเลยด้วย

แต่ก่อนหน้านี้ก็มีหนังสั้นไทยบางเรื่องที่อยู่ใน genre เดียวกัน (genre หนุ่มสาวกลับไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัด หรือคิดถึงบ้านที่ต่างจังหวัด)  และนำเสนอชีวิตธรรมดาของตัวละครออกมาได้อย่างงดงามสุดๆเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น SMALL WORLD โลกใบเล็ก (2008, Wasunan Hutavej, 17min), กาลนิรันดร์ (2008, Issara Bonprasit, 30min), TAKE HOME (2014, Thapanee Loosuwan, documentary, 28min) และ GRANDMOTHER (2015, Parnkamol Parnchareon, 24min)




No comments: