KRASUE: INHUMAN KISS (2019, Sittisiri Mongkolsiri,
A+30)
แสงกระสือ
แสงกระสือ
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.รู้สึกเหมือนตอนดู ROMA ในแง่ที่ว่า ดูแล้วชื่นชม แสงกระสือ มากๆ
และตามทฤษฎีแล้วมันน่าจะเป็นหนังที่เข้าทางเรามากๆ เพราะหนังมันตั้งใจทำมาก
และหนัง treat ตัวละครดีมากๆ ตัวละครถูก treat เป็นมนุษย์ที่เจ็บปวด มีหัวจิตหัวใจ องค์ประกอบทุกอย่างงดงาม
แต่ดูแล้วเราไม่ได้รู้สึก " อิน " หรือ "สะเทือนใจ"
เป็นการส่วนตัว ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่เรารู้สึกกับ ROMA แต่ก็ไม่ใช่ความผิดของหนังสองเรื่องนี้แต่อย่างใด
2. เดาว่า สาเหตุหลักที่ไม่อิน
อาจจะเป็นเพราะบุคลิกนางเอกมั้ง 555 เพราะนางเอก แสงกระสือ
มันดูมีความน่ารัก อ่อนหวาน เป็นแฟนตาซีในฝันของผู้ชาย ซึ่งเราจะไม่ค่อย identify
ตัวเองกับตัวละครประเภทนี้ ในขณะที่เราจะอินอย่างรุนแรงกับ
"หนังรักระหว่างอมนุษย์สาวกับมนุษย์หนุ่ม" อย่าง PAINTED SKIN
(2008, Gordon Chan) มากกว่า เหมือนตัวละครนางเอกอมนุษย์ใน PAINTED
SKIN มันดูมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราอินได้
ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเธอมีจิตใจอำมหิตหรือเปล่า 555
พอคิดถึงกรณีของ ROMA แล้วก็คล้ายๆกัน
เพราะหนังชีวิตสาวใช้ที่เราอินสุดๆคือ LA CEREMONIE (Claude Chabrol) ที่นางเอกเป็นสาวใช้ที่มีจิตใจแตกต่างจากนางเอก ROMA มากๆ
แต่เราก็ไม่ได้อินกับนางเอกใจโหดแบบนี้เสมอไปนะ
เพราะจริงๆแล้วตอนที่ดู แสงกระสือ เราจะนึกถึง TROUBLE EVERY DAY (Claire Denis) มากๆ ในแง่ที่ว่า
หนังสองเรื่องนี้นำเสนอนางเอกที่ "กระหายเลือด"
ทั้งๆที่ไม่ได้อยากจะเป็นแบบนั้นเหมือนกัน อย่างไรก็ดีนางเอก TROUBLE EVERY
DAY ดูอำมหิตแบบ LA CEREMONIE และ PAINTED
SKIN แต่เราก็ไม่ได้อินกับเธอ กลายเป็นว่าในแง่นึงเราก็ชอบ
"แสงกระสือ" ในแบบที่ชอบ TROUBLE EVERY DAY คือรู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้มันดีสุดๆ
แต่ก็จะรู้สึกห่างๆจากหนังทั้งสองเรื่องในระดับนึง
3.ชอบที่เพื่อนๆหลายๆคน
ตีความแสงกระสือมากๆ
เพราะเราไม่ได้คิดถึงประเด็นสังคม/การเมืองเลยตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ 555 ชอบที่หนังมันดูได้ดีทั้งสอง LAYERS คือจะดูแบบบันเทิงก็ได้
หรือจะดูแบบตีความก็ได้
ตอนดูแสงกระสือ
เราจะนึกถึง THE WOMAN IN UNIT 23B (2016, Prime Cruz, Philippines)
ด้วย เพราะ THE WOMAN IN UNIT 23B เล่าเรื่องของกระสือสาวชาวฟิลิปปินส์
ที่พบรักกับชายหนุ่ม โดยหนังมีทั้งความสยองขวัญและความโรแมนติกปนอยู่ด้วยกัน
และหนังก็ค่อนข้างเทิดทูนความรักของพระเอกกับนางเอกในหนังมากๆเหมือนกัน อย่างไรก็ดี
THE WOMAN IN UNIT 23B มันจะสื่อชัดๆตรงๆเลยว่า
หนังมันต้องการพูดถึง “สงครามต่อต้านยาเสพติด” ของประธานาธิบดีดูเตอร์เต
เราก็เลยดูด้วยอาการตระหนักรู้ตลอดเวลาว่า นี่ไม่ใช่หนังสยองขวัญชั้นเดียวนะ
มันเป็นหนังการเมืองด้วย แต่ตอนที่เราดูแสงกระสือนั้น
เราไม่ได้ดูด้วยอาการตระหนักรู้แบบนั้น 555
พอได้อ่านที่เพื่อนๆเขียนถึงแสงกระสือ
เราก็เลยนึกถึง “บ้านผีปอบ (2010,
Ukrit Sanguanhai) ขึ้นมา เพราะเหมือนประเด็นของหนังสองเรื่องนี้มันน่านำมาเปรียบเทียบกัน
และมันน่าสนใจดีที่เรื่องนึงใช้ “ปอบ” ส่วนอีกเรื่องนึงใช้ “กระสือ”
4.สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังก็คือการมอบหัวจิตหัวใจให้ตัวละครนำทั้งสามตัวน่ะ
ซึ่งถึงแม้เราจะไม่อินกับทั้งสามตัว แต่ก็ยอมรับว่าหนังเรื่องนี้ treat ตัวละครนำทั้งสามตัวได้ดีเกินคาดมากๆ
โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังไทยเมนสตรีมด้วยกัน
ชอบ “ทางเลือก” ของน้อยกับเจิดมากๆ
เหมือนน้อยต้องเลือกว่าจะทำอย่างไรตอนที่รู้ว่าสายเป็นกระสือ
แล้วเขาก็เลือกที่จะหาทางช่วยสาย และยอมเจ็บปวดร่างกายด้วยการจูบสาย ส่วนเจิดนั้นกลายเป็นตัวละครที่
classic ไปพร้อมกับหนังเรื่องนี้เลย
เพราะเขาดูเหมือนยินดีที่จะตายแทนสายทั้งที่สายไม่รักเขา
ตอนดู “เจิด” เราจะนึกถึงหนึ่งในตัวละครที่เรารักที่สุดในชีวิต
นั่นก็คือตัวละคร “นางรอง” ใน VERONIKA VOSS (1982, Rainer Werner Fassbinder,
West Germany) คือ VERONIKA VOSS เล่าเรื่องของดาราสาว
Veronika Voss ที่เข้าไปพัวพันกับคลินิกนรกแห่งหนึ่ง และตัว
Veronika เองนั้นก็ได้ผูกสัมพันธ์กับพระเอกที่เป็นนักข่าว
และพระเอกก็เลยพยายามจะช่วย Veronika ให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของแก๊งคลินิกนรก
แต่ปรากฏว่าไปๆมาๆ ตัวละครที่ได้ใจเราไปจากหนังเรื่องนี้ กลับกลายเป็นตัวละคร “แฟนสาวของพระเอก”
คือแทนที่แฟนสาวของพระเอกจะหึงหวงพระเอกกับนางเอก (Veronika) แฟนสาวของพระเอกกลับพยายามจะช่วยเหลือ Veronika ไปด้วย
คือเรารู้สึกว่าการเสียสละตนเองของเจิดในแสงกระสือ
มันหนักหน่วงและรุนแรงมากๆน่ะ
มันก็เลยทำให้เรานึกถึงการเสียสละตนเองของตัวละครนางรองใน VERONIKA VOSS ซึ่งเป็นหนังที่เราเคยดูรอบเดียวเมื่อราว
20 ปีก่อน แต่ก็ยังคงสะเทือนใจกับ “การเสียสละตนเองของตัวละครประกอบในหนัง”
มาจนถึงทุกวันนี้
5.ชอบการ design กระสือในหนังเรื่องนี้ด้วย เพราะกระสือในหนังเรื่องนี้ไม่เหมือนกับที่เราเคยดูตอนเป็นละครโทรทัศน์ในวัยเด็กน่ะ
เราชอบที่มัน design ให้กระสือดูมี “ความสามารถในการต่อสู้”
ได้ ผ่านทางระยางค์มากมายของมัน
6.ไอเดียเรื่องการผสมวิทยาศาสตร์กับไสยาศาสตร์ในหนังเรื่องนี้ก็น่าสนใจดี
7.สรุปว่า admire “แสงกระสือ” มากๆ รู้สึกว่ามันกลายเป็น “หนังไทยที่เข้าขั้น
classic” เรื่องนึงไปเลย
ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้อินอะไรกับมันเป็นการส่วนตัวก็ตาม
ส่วนหนังที่เราอินเป็นการส่วนตัว อาจจะเป็นหนังแบบ “สมิง” (2014, Pan Visitsak) น่ะ เพราะสมิงมันจะคล้ายกับ “โลกจินตนาการ” ของเราในแง่ที่ว่า ถ้าในโลกนั้นมันมีเสือสมิงแล้ว
มันต้องมีตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์พิสดารพอๆกับเสือสมิงอีกราว 10 ตัวด้วย
อะไรทำนองนี้ 555
No comments:
Post a Comment