Friday, March 22, 2019

LANDFILL HARMONIC (2015, Brad Allgood, Graham Townsley, Juliana Peñaranda-Loftus, Paraguay, documentary, A+30)


LANDFILL HARMONIC (2015, Brad Allgood, Graham Townsley, Juliana Peñaranda-Loftus, Paraguay, documentary, A+30)

1.นับถือ subjects ในหนังเรื่องนี้มากๆ ทั้งคนเก็บขยะที่เอาขยะมาทำเป็นเครื่องดนตรี, ครูสอนดนตรีคลาสสิคให้เด็กยากจน และเด็กๆในชุมชนเก็บขยะ เรารู้สึกเหมือนกับว่าคนทำเครื่องดนตรีกับคุณครูในหนังเรื่องนี้เป็นคนที่มีพลังความสว่างอยู่ในตัวน่ะ และพลังความสว่างในตัวของเขาก็เลยช่วยให้เด็กๆในชุมชนของเขามีชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย คือดูแล้วเราก็จะนับถือคนแบบนี้มากๆ

2.ดูแล้วทำให้มองวงดนตรีแนว heavy metal เปลี่ยนไปเลย เพราะเราเกลียดเพลง heavy metal และก็ไม่ชอบบุคลิกของนักดนตรีแนวนี้ แต่ปรากฏว่าหนังเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นว่า สมาชิกวง Megadeth นั้นจริงๆแล้วจิตใจดีงามเพียงใด

3.รู้สึกว่าโครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้น่าสนใจดี เพราะตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ในช่วงแรกๆ เราจะเดาว่า หนังมันน่าจะเล่าถึงความยากลำบากของเด็กๆในชุมชนเก็บขยะ ซึ่งเป็นนักดนตรีในวงดนตรีนี้ไปเรื่อยๆ และจบลงด้วย “ความสำเร็จ” ของวงดนตรีนี้

แต่ปรากฏว่า พอเข้าสู่องก์สองของหนัง หรือพอหนังเล่าเรื่องไปได้แค่ 30 นาที หนังก็เล่าถึงช่วงที่วงดนตรีนี้โด่งดังขึ้นมาเลย เราก็เลยสงสัยว่า เอ๊ะ แล้วเวลา 1 ชั่วโมงที่เหลือ หนังจะเล่าอะไร หนังจะเล่าถึงความสำเร็จของวงนี้ไปเรื่อยๆตลอด 1 ชั่วโมงที่เหลือเหรอ ทำไมวงดนตรีจากกองขยะวงนี้ถึงประสบความสำเร็จเร็วจัง แล้วมันจะเล่าอะไรได้อีกเหรอ

คือพอเราเข้าสู่องก์สองของหนัง เราก็จะเริ่มหวั่นใจแล้วว่า ในเมื่อ “ความสำเร็จของ subjects” มันมาเยือนในองก์สองแบบนี้ เพราะฉะนั้นมันต้องมีอะไรเหี้ยๆชิบหายๆ ดักรอทำร้าย subjects อยู่ในองก์สามแน่ๆ

แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ คือพอหนังเล่าถึงความสำเร็จของวงนี้ที่ได้ออกทัวร์ไปรอบโลกแล้ว หนังก็เล่าถึงอุทกภัยครั้งใหญ่ในปารากวัย ที่ทำให้ชีวิต subjects หลายคนในเรื่องต้องเผชิญกับความยากลำบากครั้งใหญ่

มันเหมือนกับว่า พอเป็นหนังสารคดีแล้ว “พระเจ้า” หรือ “ชะตากรรม” มันเป็นคนเขียนบทจริงๆน่ะ คือถ้าหากเป็นหนัง fiction ผู้สร้างหนังหลายๆคนก็คงจะเลือกสร้างหนัง fiction ที่เล่าเรื่องตามสูตรสำเร็จ ตัวละครยากจน ต่อสู้ฟันฝ่าไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ ได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก จบ

แต่พอเป็นหนังสารคดี กราฟชีวิตของ subjects มันเลยไม่ยอมทำตาม “สูตรสำเร็จของการเล่าเรื่อง” เพราะในหนังเรื่องนี้ ตัวละครยากจน ต่อสู้ฟันฝ่าจนประสบความสำเร็จ โด่งดังไปทั่วโลก แล้วชีวิตตัวละครก็ชิบหายเพราะภัยธรรมชาติ จบ

ชีวิตมนุษย์มันโหดร้ายจริงๆ

4. ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเกี่ยวกับ “การเปล่งประกายของชีวิตคนจน” อย่าง WASTE LAND (2010, Lucy Walker, Brazil)  ที่เล่าถึงชีวิตคนเก็บขยะในบราซิล และการที่ “ศิลปะ” เข้าไปในชีวิตของคนกลุ่มนี้ กับหนังเรื่อง GUIDO MODELS (2015, Julieta Sans, Argentina/Bolivia) ที่เล่าถึงชีวิตชาวสลัมในอาร์เจนตินา ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนางแบบ

แต่หนังสารคดีเกี่ยวกับชีวิตชาวสลัมในอเมริกาใต้ที่สะเทือนใจเราที่สุด น่าจะเป็น BECAUSE WE WERE BORN (2008, Jean-Pierre Duret, Andrea Santana, Brazil/France) ที่เล่าถึงชีวิตเด็กสลัมในบราซิล เพราะใน BECAUSE WE WERE BORN นั้น มันเหมือนไม่มี “แสงสว่าง” จากพ่อพระ, แม่พระ และศิลปินรายใดๆฉายส่องเข้าไปในชีวิตของ subjects ในหนังเรื่องนี้น่ะ (ถ้าจำไม่ผิด) ชีวิตของ subjects ใน BECAUSE WE WERE BORN ก็เลยโหดสุด, รันทดสุด เมื่อเทียบกับหนังที่ใกล้เคียงกัน

คือถึงแม้ชีวิตชาวสลัม/ชุมชนเก็บขยะใน WASTE LAND, GUIDO MODELS และ LANDFILL HARMONIC จะโหดร้าย หนัง 3 เรื่องนี้ก็ focus ไปยังศิลปิน, ครูสอนดนตรี และเจ้าของเอเจนซี่นางแบบ ที่หยิบยื่นโอกาสและแสงสว่างให้กับบรรดาชาวสลัมในหนังน่ะ มันก็เลยเหมือนได้เห็น “แสงเทียน” ท่ามกลางความมืดมนของชีวิตอยู่บ้าง

แต่ใน BECAUSE WE WERE BORN นั้น มันเหมือนไม่มีแสงเทียนใดๆเหลืออยู่อีกแล้วน่ะ มันก็เลยกลายเป็นหนังที่หดหู่ที่สุดในกลุ่มนี้


No comments: