Thursday, February 27, 2020

LOW SEASON

UNTIL I MEET SEPTEMBER'S LOVE (2019, Toru Yamamoto, Japan, A)

เหมือนมันเหมาะเป็นหนังสั้น 30 นาที มากกว่าจะเป็นหนังยาวน่ะ

NE QUAN (2015, Su Hui-yu, Taiwan, video installation,  A+30)

วิดีโอสองจอที่ชั้น 7 BACC ทรงพลังมากๆ เป็นการเอาคดี "ฆ่ายัดกระเป๋า" มาทำเป็น video art ได้อย่างหลอกหลอนมากๆ

 LOW SEASON (2020, Nareubadee Wetchakam, A+30)
สุขสันต์วันโสด

1.ชอบสุดๆ เพราะเรามองว่าในแง่นึงมันคือด้านกลับของ WOLF CREEK (2005, Greg McLean, Australia)  555 คือเรารู้สึกว่า WOLF CREEK มันเหมือนนำ “ตัวละครจากหนังโรแมนติก” ไปใช้ชีวิตใน “หนังสยองขวัญ” ส่วน LOW SEASON เป็นการนำ “ตัวละครจากหนังสยองขวัญ” ไปใช้ชีวิตใน “หนังโรแมนติก” และเรามองว่าการข้าม genre แบบนี้มันช่วยลดความซ้ำซาก และช่วยให้ตัวละครดูกลมขึ้น ใกล้เคียงกับมนุษย์จริงๆมากขึ้น ถ้าหากเทียบกับหนังโรแมนติกหรือหนังสยองขวัญโดยทั่วไป

คือในหนังหลายๆเรื่องที่สร้างขึ้นตาม genre ต่างๆ นั้น บางทีตัวละครมันถูกสร้างขึ้นเพื่อรับใช้ genre นั้นๆจนมันเป็นการลดทอนมิติความซับซ้อนของมนุษย์มากเกินไปน่ะ อย่างตัวละครที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ชีวิตในหนังโรแมนติก ก็อาจจะถูกลดทอนบางแง่มุมของชีวิตออกไป ถ้าหากผู้สร้างมองว่าแง่มุมนั้นไม่ได้ช่วยสร้างอารมณ์โรแมนติกให้แก่ผู้ชม ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว มนุษย์แต่ละคนไม่ได้ดำรงอยู่เพื่อสร้างอารมณ์โรแมนติกหรืออารมณ์สยองขวัญให้แก่ผู้ชม แต่ดำรงอยู่เพื่อตัวของเขาเอง ไม่ใช่เพื่อการสร้างอารมณ์ใดๆให้แก่ผู้ชม

และในความเป็นจริงนั้น เราก็มีเพื่อนเกย์คนนึง ที่ร่านมาก และเธอก็เคยประสบปัญหามักจะเห็นผีบ่อยๆด้วย (แต่เธอแก้ปัญหานี้ตอนอายุราว 30 ปีด้วยการตั้งจิตอธิษฐานว่า จะไม่ขอเห็นอะไรแบบนี้อีก และเธอก็สัมฤทธิ์ผล ไม่เห็นผีอีก) ซึ่งมันก็เลยทำให้เราคิดขึ้นมาได้ว่า ถ้าหากเราจะนำเรื่องราวของเธอไปสร้างเป็นหนังสยองขวัญ เราก็อาจจะต้องตัด “แง่มุมความร่าน” ในชีวิตของเธอออกไป แต่ถ้าหากเราจะเอาชีวิตของเธอไปสร้างเป็นหนังโรแมนติก เราก็อาจจะต้องตัด “ประสบการณ์ปีศาจ” ในชีวิตของเธอออกไป แต่ทำไมเราต้องทำแบบนั้นด้วยล่ะ ทำไมเราไม่ซื่อตรงกับชีวิตเธอ ด้วยการยึดหลากหลายแง่มุมในชีวิตของเธอเป็นหลัก แทนที่จะพยายามทำตามสูตรสำเร็จของ genre หนังแบบต่างๆ และหนังเรื่อง LOW SEASON ก็คือตัวอย่างที่ดีของ “หนังในฝัน” ของเรา

2.แต่การผสม genre แบบนี้ ถ้าหากไม่เก่งจริง มันก็ออกมาแย่ได้นะ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆก็คือ THE GRUDGE (2020, Nicolas Pesce, A+) ที่เหมือนเป็นการเอา “ตัวละครจากหนังชีวิตดราม่า” ไปใส่ใน “หนังสยองขวัญ” แล้วออกมาดูไม่สนุก ดูอิหลักอิเหลื่อมากๆ ซึ่งตรงข้ามกับ DARK WATER (2005, Walter Salles) ที่เป็นการนำตัวละครจาก “หนังชีวิตต้องสู้” ไปใส่ในหนังสยองขวัญคล้ายๆกัน แต่ทำออกมาได้ทรงพลังมากๆ ดีเยี่ยมมากๆ

Tuesday, February 25, 2020

EXTRA CAREFUL OF MARRIAGE

EXTRA CAREFUL OF MARRIAGE (SHUBH MANGAL ZYADA SAAVDHAN) (2020, Hitesh Kewalya, India, A+30)

1.หนังบอลลีวูด romantic comedy เกี่ยวกับคู่รักเกย์หนุ่มที่พ่อแม่ไม่ยอมรับ ชอบ "หนังตลก" แบบนี้มากๆ นั่นก็คือ หนังตลกที่ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง

2.ชอบการ treat ตัวประกอบแต่ละตัวมากๆ คือคู่พระเอก 2 คนนี่ก็ปัญหาชีวิตหนักมากแล้ว แต่หนังยังมีตัวประกอบอีก 5 ตัวที่ต่างก็มี "ความคับแค้นใจ" เป็นของตนเอง

3.โชคดีที่เราเลือกที่นั่งที่ไกลผู้ชมคนอื่น พวกเขาจะได้ไม่เห็นว่าเราร้องห่มร้องไห้

ANNIE HALL (1977, Woody Allen, A+30)

1.ดีงามมาก ไม่รู้เหมือนกันว่ามันได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตจริงของ Woody มากน้อยแค่ไหน แต่ดูแล้วนึกถึงทั้ง 8 1/2 และ PAIN AND GLORY ในแง่ที่ว่า หนังทั้ง 3 เรื่องนี้เล่าถึง "คนรักที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของชายคนนึง"  และใช้การตัดสลับเวลาไปมาเหมือนๆกัน แต่ด้วยลีลาเฉพาะตัวของผู้กำกับแต่ละคนที่แตกต่างจากกันอย่างสิ้นเชิง

2. ชอบหนังเรื่องนี้มากก็จริง แต่พอหนังมันเล่าจากมุมมองของผู้ชาย เราก็เลยไม่ได้อินกับมันมากเท่ากับกลุ่มหนังของ Woody ที่เราชอบมากที่สุด นั่นก็คือกลุ่ม INTERIORS (1978), SEPTEMBER (1987) และ ANOTHER WOMAN (1988)

Monday, February 24, 2020

THE FABLE

THE KING'S AVATAR: FOR THE GLORY (2019, Zhiwei Deng + Juansheng Shi, China, animation, A+10)

 เป็น subculture ที่เราไม่มีความรู้เลย (วงการเกมคอมพิวเตอร์)

A video installation by Jeff Gompertz

ชอบมากๆที่เอาคลิปนางงามจักรวาลมาทำเป็นงาน video art

A video installation by Augustine  Abreu & Ignacio Platas

ดูแล้วงง รู้แต่ว่ามีพูดถึงนาซี

APOPHENIAC 3:32 (Cedric Arnold, video installation, A+30)

งดงามมากๆ

THE FABLE (2019, Kan Eguchi, Japan, A+30)

นี่สินะ หนัง JOHN WICK ในแบบที่เราต้องการ นั่นก็คือหนังที่ตัวพระเอก (ซึ่งเป็นนักบู๊ผู้เก่งกาจ มีความเป็นเครื่องจักรสังหาร) กลายเป็น sex object ของเราอย่างเต็มที่ เขาทั้งหล่อ เซ็กซี่ เท่ ไม่เจ้าชู้ และหาเรื่องแก้ผ้าตลอดเวลา 55555

THE ROOM (2019, Christian Volckman, France/Luxembourg/Belgium, A+25)

เหมือนเป็นตอนหนึ่งในละครทีวีชุด TWILIGHT ZONE ที่สนุกดี

ถ้าเราได้ห้องแบบนี้ เราคงเสกหนุ่มหล่อล่ำบึ้กขึ้นมาเป็นผัวเราสัก 30 คน 5555


KING RAMA VII VISITING NORTHERN PROVINCES B.E. 2469 (1926, King Rama VII, documentary)
+ OUTTAKES OF ROYAL TOUR IN NOTHERN SIAM (1927, Royal Train Department, documentary, about 50min)

พระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวเสดจฯ เลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2469 (1926)
+ OUTTAKES OF ROYAL TOUR IN NORTHERN SIAM (1927, กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง)

ดูแล้วได้ความรู้ดีมากๆ วิทยากรทั้งสองท่านให้ความรู้ได้ดีมากๆ

Friday, February 21, 2020

I AM NOT ALLOWED TO LIVE IN YOUR REALITY

THE INTERESTS ARE AT STAKE (2020, Kreuser/Cailleau, video installation, A+30)

วิดีโอนี้จัดแสดงอยู่ที่ชั้น 4 BACC นะ ดูแล้วนึกว่าเป็น prequel ของงาน NEITHER GREATER THAN NOR EQUAL TO. NEITHER LESS THAN NOR EQUAL TO ของ Latthapon Korkiatrakul เพราะว่า วิดีโอนี้แสดงให้เห็นว่า “แผ่นกระดาษ” กลายมาเป็น “เงินตรา” ได้อย่างไร ในขณะที่งานของ Latthapon ทำให้ “เงินตรา” กลายกลับมาเป็น “แผ่นกระดาษ” อีกครั้ง 55555

I AM NOT ALLOWED TO LIVE IN YOUR REALITY (2020, Jirawut Ueasungkomsate, virtual reality, A+30)

 ถือเป็นงาน moving image แบบ virtual reality งานแรกที่เราได้ดู เพราะก่อนหน้านี้เราไม่กล้าดูงาน VR เพราะเรากลัวว่าเวลาสวมอุปกรณ์ VR ทับแว่นของเราแล้วมันจะทำให้แว่นเราเบี้ยว 555 แต่งาน I AM NOT ALLOWED นี้มันน่าดึงดูดมากๆ เราก็เลยยอมเสี่ยงดูเป็นครั้งแรก และพบว่ามันไม่ทำให้แว่นเราเบี้ยวแต่อย่างใด

ดูแล้วก็หลอนมากๆ เราเดาว่าในอนาคตมันต้องมีคนทำหนังผีแบบ VR ออกมาแน่ๆ  ลองนึกภาพผู้ชมเดินไปในย่านราชประสงค์ สวมแว่น VR แล้วเห็นการจำลองภาพเหตุการณ์ในปี 2010 ดูสิ

Thursday, February 20, 2020

THE ROOM

NOWHERE (2020, Chakhrit Buranarom, video installation, 4min)

 --นึกว่าฉากในหนังแนว fantasy, dystopia ที่ทรงพลังมากๆ

--เหมือน statement ของมันจะพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่เราชอบมากๆที่เราไม่จำเป็นต้องคิดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมตอนดู video นี้ก็ได้ เพราะเราอยากจะดูภาพในวิดีโอนี้ แล้วจินตนาการเรื่องราวต่างๆขึ้นมาในแบบของตัวเองมากกว่า

--นึกถึงภาพวาดของ Hieronymus Bosch บวกกับงาน production design ในหนังอย่าง RE-CYCLE (2006, Oxide Pang + Danny Pang) และ   INCEPTION (2010, Christopher Nolan)

THE ROOM (2019, Thanawat Numcharoen, video installation, 6min, A+30)

ปลื้มปริ่ม น้ำตาไหล ทิงนองนอยมากๆ นึกว่าถ้าหาก Andrei Tarkovsky หรือ Lav Diaz มากำกับ PARANORMAL ACTIVITY มันก็อาจจะออกมาใกล้เคียงกับวิดีโอนี้ 555

SEE NO EVIL (2019, Tharathon Phaibueng, video installation, 3min)

เห็นแว่นตาใน video  นี้แล้วนึกถึง THE LOOK OF SILENCE (2014, Joshua Oppenheimer, Indonesia, documentary) ที่แสดงให้เห็นว่า คนในสังคมเดียวกัน treat เหตุการณ์สังหารหมู่ในแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แอบสงสัยว่า video นี้ตั้งใจพาดพิงถึง   THE LOOK OF SILENCE หรือเปล่า 555

Wednesday, February 19, 2020

OUTSIDE IN


OUTSIDE IN (2019, Vacharanont Sinvaravatn, video installation, 8min)

พิศวงมาก เราว่าเป็นวิดีโอที่ดูยากที่สุดในงาน REFRACTIVE ERROR เหมาะจะดูสองรอบขึ้นไป เพราะดูรอบเดียวแล้วงงมาก 555

ตอนก่อนดู video นี้ เราอ่าน statement ก่อน ซึ่งก็พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจดี เรื่องข้างนอกกับข้างใน เพราะฉะนั้นตอนดูวิดีโอนี้ในช่วงแรก เราก็เลยดูมันโดยพยายามตีความมันให้เข้ากับ statement ที่เขียนไว้ แล้วเราก็พบว่าวิธีการดูแบบนี้ไม่ทำให้เรา enjoy กับมันเลย 555

เพราะฉะนั้นตอนหลังเราเลยไม่สนใจ statement มันแล้ว เราดู video นี้โดยปล่อยจินตนาการของตัวเองให้เป็นอิสระเต็มที่ ไม่ต้องพยายามตีความอะไรมันให้เข้ากับ statement ใดๆทั้งสิ้น แล้วก็พบว่าวิธีการดูวิดีโอ/หนังแบบนี้นี่แหละ ที่เข้าทางเรามากที่สุด ดูแล้ว enjoy กับมันมากขึ้นเยอะเลย 555

เราเดาว่า เหมือนพอมันถูก treat เป็นงานศิลปะ โดยเฉพาะงานศิลปะที่อาจจะต้องทำส่งอาจารย์ มันก็เลยต้องมี statement กำกับน่ะ เหมือน statementพยายามทำให้อะไรที่มันดูเป็นนามธรรมมากๆกลายเป็นประเด็นที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ตัวเราเองนั้นเติบโตมากับการดู “หนังที่ผู้กำกับไม่ต้องการจะสื่อสารกับผู้ชม แต่แค่ต้องการจะแสดงออก” จะไม่ค่อยคุ้นชินกับการดูงานศิลปะแบบนี้น่ะ เพราะฉะนั้นในตอนหลังพอเราเลือกจะ approach วิดีโอนี้ในฐานะของ “หนังทดลอง” เรื่องนึงที่ไม่จำเป็นจะต้องมีความหมายเฉพาะเจาะจงอะไรใดๆก็ได้  เราก็เลย enjoy กับมันมากขึ้น 555

LOOKING THROUGH THE WALL (2020, Kem Sriwichaimool, video installation)
                       
ตกใจกับฝูงผึ้งปีศาจในวิดีโอนี้ 555 ตอนแรกเห้นเงาดำๆบินไปบินมา ก็นึกว่านก แต่ดูๆไปแล้วเราว่าน่าจะเป็นผึ้งมากกว่า แต่ทำไมมันดูมีความน่ากลัวอะไรบางอย่าง เหมือนผึ้งโดยปกติแล้วจะเป็นตัวแทนของธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่การปรากฏของฝูงเงาดำในวิดีโอนี้ เป็นสิ่งที่อยู่ก้ำกึ้งระหว่างธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์กับอะไรที่ไม่น่าไว้วางใจ 555

UNTITLED (2020, Siwawet Thongbaiyai, video installation)

งดงามมากๆ รู้สึกว่าถ้าหากเรามีเวลาพอ เราสามารถนั่งดูวิดีโอนี้ไปเรื่อยๆได้ 30 นาทีเลย เหมือนเรา enjoy กับอะไรแบบนี้ได้ง่ายมากๆ นั่งดูความสวยงามของสีสันไปเรื่อยๆ

เป็นวิดีโอที่ “ไม่สามารถบรรยายความงดงามออกมาเป็นตัวอักษร” ได้จริงๆ

“ความงดงามของสีสัน” ในวิดีโอนี้ ทำให้นึกถึงความรู้สึกของเราเวลาดูหนังทดลองอย่าง THE DANTE QUARTET (1987, Stan Brakhage) ด้วย แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า THE DANTE QUARTET มันเร็วมาก มันก็เลยไม่มี “พลังของการสะกดจิต” แบบวิดีโอนี้น่ะ คือตอนที่เราดูวิดีโอ UNTITLED นี้ มันให้ความรู้สึกคล้ายๆการ “นั่งสมาธิ” เพ่งดูจิต ดูการเคลื่อนของจิต ของประสาทสัมผัส การรับรู้ การปรุงแต่งอารมณ์ อะไรแบบนี้น่ะ 555 ในขณะที่การดูหนังอย่าง THE DANTE QUARTET มันไม่ได้อารมณ์ของการนั่งสมาธิแบบนี้

THE DANTE QUARTET


การใช้ดอกทานตะวันทำให้นึกถึง Van Gogh และตัวภาพในวิดีโอก็ทำให้นึกถึงภาพวาด impressionist ด้วย

LITTLE LOVE SONG

LITTLE LOVE SONG (2019, Kojiro Hashimoto, Japan, A+15)

 หนังใช้ setting เป็นเขตฐานทัพทหารอเมริกันใน okinawa และชาวบ้านญี่ปุ่นในบริเวณนั้น ซึ่งมันเป็น setting เดียวกับ  MAKING A PERFECT DONUT (2018, Kyunchome) ซึ่งเป็นหนังสารคดีที่เราชอบที่สุดในปี 2018 แต่น่าเสียดายที่ LITTLE LOVE SONG มันออกมาเมนสตรีมมากๆ ดูมีอะไรหลายอย่างที่ cliche มากๆ หรือแบนมากๆ

แต่ก็เพลิดเพลินกับหนังมากพอสมควรนะ ชอบจังหวะของหนังที่ไม่เร่งรีบดี

Monday, February 17, 2020

I GO GAGA, MY DEAR


12 SUICIDAL TEENS (2019, Yukihiko Tsutsumi, Japan, A+25)

1.จริงๆแล้วหนังไม่ดีเท่าไหร่ เหมือนมีการ “แถ” เยอะมาก คือเหมือนมีอะไรที่อาจจะไม่สมเหตุสมผลเยอะมาก แต่เป็นสิ่งที่ใส่เข้ามาในหนังเพื่อหวังผลทางอารมณ์เป็นหลัก แต่เราก็ชอบหนังมากในระดับนึงอยู่ดี 555

อย่างแรกเลยที่เรารู้สึกว่า มันดูแถ ก็คือการที่ตัวละครหลายตัวหมกมุ่นกับการคลี่คลายปริศนาลับอย่างมากๆน่ะ คือตัวละครทั้ง 12 คนในหนังเรื่องนี้ นัดกันมาเพื่อฆ่าตัวตาย โดยที่พวกเขาไม่รู้จักกันมาก่อน แต่พอพวกเขามาเจอปริศนาลับอะไรบางอย่างในสถานที่ฆ่าตัวตาย พวกเขาก็ตั้งอกตั้งใจไขปริศนาลับนี้อย่างมากๆ

คือเรารู้สึกว่า ถ้าหากเราจะฆ่าตัวตายจริงๆ เราก็คงไม่สนใจจะไขปริศนาลับห่าเหวอะไรนี่น่ะ คือถ้าหากคนอื่นๆไม่ร่วมมือกับเรา เราก็อาจจะวิ่งไปกระโดดตึกตายไปเลยคนเดียวอะไรทำนองนี้ กูไม่รอพวกมึงหรอก กูฆ่าตัวตายคนเดียวก็ได้

แต่เราก็ยอมรับความ “แถ” ของหนังตรงจุดนี้ได้ เพราะการที่ตัวละครพยายามจะไขปริศนาลับกันอย่างเอาเป็นเอาตายในหนังเรื่องนี้ มันทำให้หนังเรื่องนี้มีลักษณะเป็นหนัง whodunit น่ะ ซึ่งเป็นหนังแนวที่เราชอบสุดๆ เรามักจะอินกับเรื่องราวทำนองนี้ เราว่ามันสนุกดี และตัวละครแต่ละตัว โดยเฉพาะผู้หญิงแต่ละคนในหนังเรื่องนี้ ก็ดูมีบุคลิกแรงๆ เหมาะจะฟาดฟันตบตีกันมากๆ เราก็เลยรู้สึกว่า ถึงหนังมันจะแถ หรือมันจะไม่สมเหตุสมผล แต่การแถของมันก็เป็นไปเพื่อ “สร้างอารมณ์แบบหนัง whodunit”  ขึ้นมาน่ะ ซึ่งเป็นอารมณ์แบบที่เราชอบ เราก็เลยยอมรับหนังเรื่องนี้ได้

2.ชอบไอเดียอันนึงของหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะหนังเรื่องนี้มีลักษณะคล้ายหนัง thriller และหนังปริศนาฆาตกรรม ที่ตัวละครกลุ่มนึงมาอยู่รวมกันในสถานที่นึง เจอปริศนาลับ และต้องร่วมมือกันไขปริศนานั้น ซึ่งสถานการณ์แบบนี้อาจจะทำให้นึกถึงหนังอย่าง AND THEN THERE WERE NONE (1945, Rene Clair),หนังชุด SAW หรือหนังอย่าง INCITE MILL (2010, Hideo Nakata) ด้วย

แต่ 12 SUICIDAL TEENS กลับหัวกลับหางสถานการณ์ข้างต้นได้อย่างน่าสนใจมาก เพราะปกติแล้วในสถานการณ์ข้างต้นนั้น ตัวละครที่มาอยู่รวมกัน “ต้องต่อสู้เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอด” น่ะ พวกเขาต้องไขปริศนาลับ ปริศนาฆาตกรรม หาตัวฆาตกรให้ได้ เพื่อที่ตัวเองจะได้มีชีวิตรอด

แต่ใน 12 SUICIDAL TEENS นั้น ตัวละครทุกตัวอยากฆ่าตัวตาย พวกเขาก็เลยดูเหมือนไม่ได้ “หวาดกลัว” อะไรกับการที่มี “บุคคลลึกลับ” มาทิ้งศพแปลกหน้าไว้ในสถานที่นั้น พวกเขาแค่ต้องการไขปริศนาให้ได้ เพื่อที่การฆ่าตัวตายของพวกเขาจะได้ไม่สร้างปัญหาต่อกรมธรรม์ประกันชีวิต หรืออะไรทำนองนี้แค่นั้นเอง

หนังเรื่องนี้ก็เลยไม่ได้ดำเนินไปด้วยการทำให้ผู้ชมหวาดกลัวการฆาตกรรมอะไรเลย เราก็เลยชอบไอเดียนี้มากๆ มันเหมือนเป็นการหยิบเอาสูตรหนัง whodunit มาใช้ แต่ถอด “ความลุ้นระทึกว่าตัวละครตัวไหนจะถูกฆ่าเป็นรายต่อไป” ออกไป เพราะทุกตัวละครแม่งอยากฆ่าตัวตายอยู่แล้ว เราว่าการเอาสูตรหนังแบบเก่ามาดัดแปลงใหม่แบบนี้ เป็นอะไรที่เราชอบมากๆ

3.ชอบไอเดียในช่วงท้ายๆของหนังด้วย คือพอหนังเฉลยอะไรเกือบหมดแล้ว เราก็ชอบหนังมากขึ้น เพราะเราว่าไอเดียของตัวละครตัวนึงมันเข้าท่าดี


I GO GAGA, MY DEAR (2018, Naoko Nobutomo, Japan, documentary, A+30)

1.ดูแล้วเข้าใจเลยว่า ทำไมบางคนอยาก “นิพพาน” ไม่อยากกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป 555 เพราะปกติแล้วเรามักจะอวยพรให้คนอื่นๆ “อายุยืน” แต่มันแทบเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนที่อายุยืน จะสุขภาพแข็งแรงขณะอายุ 80, 90, 100 ปี ยกเว้นมึงเป็นคุณยายวรนาถ คนหลายคนที่อายุยืน ต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ความร่วงโรยของสังขารด้วยกันทั้งนั้น

และหนังเรื่องนี้ก็ทำให้เราตระหนักถึงความจริงข้อนี้ของชีวิตมนุษย์ได้ดีมากๆ คือในแง่นึง ตัวละครในหนังเรื่องนี้ดูน่าอิจฉามากๆ พวกเขาเป็นคู่รักที่ครองรักกันมานาน 60 ปี เราเองตอนเด็กๆก็เคยใฝ่ฝันอย่างนี้เหมือนกัน ตอนเด็กๆเราก็ใฝ่ฝันอยากมีสามีที่รักกัน ดูแลกันไปตลอดชีวิตเหมือนกัน

แต่ถ้าเราได้แบบที่เราเคยใฝ่ฝันตอนเด็กๆจริงๆ แล้วต้องมีชีวิตอยู่กับ “ความร่วงโรยของสังขาร” ในตอนแก่แบบนี้ เราก็เข้าใจแล้วล่ะว่า ทำไมมนุษย์บางคนไม่อยากกลับมาเกิดอีกต่อไป ขอตายแล้วนิพพานไปเลยดีกว่า เพราะสังสารวัฏ การเกิดแก่เจ็บตายนี่แม่งเป็นทุกข์จริงๆ

2.ดูแล้วนึกถึง AMOUR (2012, Michael Haneke) มากๆ แต่พอ AMOUR มันเป็น fiction หนังเรื่องนั้นก็เลยไม่ได้ทำให้เรารู้สึก “หวาดกลัวกับความจริงของชีวิต” มากเท่าหนังสารคดีเรื่องนี้ คือตอนที่เราดู AMOUR เรารู้สึกว่า “เรื่องราวแบบในหนังมันคงเกิดขึ้นกับชีวิตของคนอื่นๆ” น่ะ แต่ตอนที่เราดู I GO GAGA, MY DEAR เรากลับรู้สึกว่า นี่แหละความจริงของชีวิตมนุษย์ ไม่มีผัวก็ทุกข์, มีผัวก็ทุกข์, อายุสั้นก็น่าเสียดาย, อายุยืนยาว ก็ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยของสังขาร กูไม่อยากเกิดมาแล้ว

3.ฉากแม่ของผู้กำกับจะซักผ้า แล้วหมดแรง แล้วเลยล้มลงนอนพังพาบบนกองผ้า นี่เป็นอะไรที่หนักมากๆ

4.ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง GRANDMOTHER (2010, Yuki Kawamura, Japan) ที่เคยมาฉายที่ PARAGON มากๆ โดย GRANDMOTHER เป็นการบันทึกภาพคุณยายของผู้กำกับขณะกำลังจะสิ้นลม นอนหายใจรวยรินต่อหน้ากล้องไปเรื่อยๆ

ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว เราก็ชอบ GRANDMOTHER มากกว่า I GO GAGA, MY DEAR นะ เพราะ GRANDMOTHER มันดูนิ่งสงบกว่าน่ะ มันก็เลยเข้ากับโทนอารมณ์เรามากกว่า ในขณะที่ I GO GAGA, MY DEAR มันดูตัดต่อเร็วเกินไปสำหรับเรา เราอยากให้แต่ละฉากในหนังเรื่องนี้มันทิ้งช่วงเวลานานกว่านี้

Sunday, February 16, 2020

MASQUERADE HOTEL (2019, Masayuki Suzuki, Japan, A+30)


MASQUERADE HOTEL (2019, Masayuki Suzuki, Japan, A+30)

1.ชอบสุดๆพอๆกับ KNIVES OUT เลย เพราะเราชอบหนัง/นิยายแนวปริศนาฆาตกรรม Agatha Christie อยู่แล้ว แต่ปัญหาก็คือว่า เรื่องราวแนวปริศนาฆาตกรรมส่วนใหญ่ มันขาดมิติความซับซ้อน ความลึกของชีวิตมนุษย์ไปน่ะ เหมือนรายละเอียดต่างๆที่ใส่เข้ามาในหนังแนวนี้ บางทีมันใส่เข้ามาเพียงเพื่อให้ผู้ชมสงสัยว่า ตัวละครตัวนี้เป็นฆาตกรหรือเปล่า เท่านั้น มันก็เลยทำให้ตัวละครแต่ละตัวในหนังแนวนี้ มีความสำคัญเพียงแค่เป็น ผู้ต้องสงสัย มากกว่าจะเป็น "มนุษย์ที่มีอะไรน่าสนใจใจในหลายๆด้านของชีวิต" นอกเหนือจากการเป็นผู้ต้องสงสัย

เราก็เลยชอบหนังของ Claude Chabrol และหนังที่สร้างจากนิยายของ Patricia Highsmith + Ruth Rendell+ Geoeges Simenon มากๆ เพราะมันพูดถึงการฆาตกรรม แต่มันไม่ได้สนใจว่าใครเป็นฆาตกร มันสนใจจิตวิญญาณของตัวละครแต่ละตัวมากกว่า

และก็เลยทำให้เราชอบ GOSFORD PARK (2001, Robert Altman), KNIVES OUT, MASQUERADE HOTEL และแม้แต่ 12 SUICIDAL TEENS ด้วย เพราะหนังกลุ่มนี้มันเหมือนเอา หนัง genre Whodunit ไปผสมกับ genre อื่นๆ แล้วมันเลยช่วยทลายข้อจำกัดของหนัง genre  whodunit ไปได้

2.ชอบมากๆที่ MASQUERADE HOTEL มันผสม whodunit กับหนังแนว "ความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพ" ของญี่ปุ่นน่ะ และมันทำออกมาได้เข้าทางเราสุดๆ คือหนังเรื่องนี้มันเหมือนให้ความสำคัญกับประเด็นที่ว่า “ใครเป็นฆาตกร” มากพอๆกับประเด็นที่ว่า “การจะเป็นพนักงานโรงแรมที่ดี ต้องทำอย่างไรบ้าง” แล้วมันก็เลยเข้าทางเรามากๆ

คือเหมือนเราเติบโตมากับละครทีวีญี่ปุ่น/การ์ตูนญี่ปุ่นแนว “การประกอบอาชีพ” น่ะ ทั้งอาชีพพิธีกร, ตากล้อง, ช่างตัดผม, ดีไซเนอร์, ตำรวจ, แอร์โฮสเตส ฯลฯ อะไรทำนองนี้ เราก็เลยชอบเรื่องเล่าทำนองนี้ของญี่ปุ่นมากๆ ที่มันพยายามสอนคนดูว่า การจะประกอบอาชีพนี้ๆ ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างไรบ้าง ผู้จะประกอบอาชีพนี้ ต้องเรียนรู้พัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง ต้องระวังอะไรบ้าง

ซึ่ง MASQUERADE HOTEL ก็ทำหน้าที่ของเรื่องเล่าทำนองนี้ได้ดีมาก แต่สิ่งที่เหนือชั้นมากๆก็คือว่า เมื่อเรา identify กับตัวละครในหนังเรื่องนี้ เราจะรู้สึกร่วมไปกับตัวละครด้วยความรู้สึกสองแบบพร้อมๆกัน นั่นก็คือความรู้สึกที่ว่า “ฉันจะต้องตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด รับมือกับแขกของโรงแรมให้ดีที่สุด” และความรู้สึกที่ว่า “ฉันจะต้องจับตาดูแขกทุกคนในโรงแรมตลอดเวลา ว่าใครคือฆาตกร” ซึ่งการที่หนังทำให้เรารู้สึกสองอย่างพร้อมๆกันในเวลาเดียวกันแบบนี้ มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้เหนือชั้นกว่าหนัง genre whodunit โดยทั่วไป และเหนือชั้นกว่าหนังแนว “ความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพ” โดยทั่วไปด้วย

เราก็เลยรักหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เพราะมันสามารถผสม genre หนังที่เราชอบมากๆสอง genre เข้าด้วยกัน และให้ความรู้สึกที่สุดยอดมากๆสำหรับเรา

Saturday, February 15, 2020

10 FILMS TO KNOW ABOUT ME


10 FILMS TO KNOW ABOUT ME

เห็นคนอื่นๆเขาทำกัน เราก็เลยขอทำบ้าง แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ 10 หนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต แต่เป็น 10 หนังที่ถ้าหากจัดฉายรวมกัน มันก็สามารถทำหน้าที่แทน “หนังสืองานศพ” ของเราได้ 555

1.คลิป “อาม่าตบเด็ก”
A CLIP SHOWING A MIDDLE-AGED WOMAN SLAPPED THE FACE OF A YOUNG SCHOOLBOY, AND HE FOUGHT BACK (2019, Anonymous, Thailand)

2.L’ARGENT (1983, Robert Bresson, France)

3. BAISE-MOI (2000, Virginie Despentes, Coralie Trinh-Thi, France)

4.THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY (2007, Prap Boonpan)
ความลักลั่นของงานรื่นเริง

5.BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder, West Germany)

6.BUNNY (2000, Mia Trachinger, USA)

7.LA CEREMONIE (1995, Claude Chabrol, France)

8. DYING AT A HOSPITAL (1993, Jun Ichikawa, Japan)

9.PLOENG PAI (1990, Thai TV series)
เพลิงพ่าย

10. VALERIE FLAKE (1999, John Putch, USA)

CLASSIC AGAIN

A BANANA? AT THIS TIME OF NIGHT? (2018, Tetsu Maeda, Japan, A+30)

1.นับถือ volunteers ในหนังเรื่องนี้มากๆ

2.กราบพลังใจของ ผู้ป่วยในหนังเรื่องนี้มากๆ

3.อยากได้ Haruma Miura มากๆ

4.ชอบคลิปของผู้ปวยตัวจริงที่ใส่มาในช่วงท้ายของ end credit มากๆ

CLASSIC AGAIN (2020, Touchapong Supasri, A+)
จดหมาย สายฝน ร่มวิเศษ (ธัชพงศ์ ศุภศรี)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--

1.จริงๆแล้วเราเกลียด THE CLASSIC (2003, Kwak Jae-young, South Korea, C-) มากๆ 555 ซึ่งนั่นไม่เกี่ยวกับคุณภาพของหนัง แต่เป็นเพียงเพราะเราไม่ใช่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของหนังน่ะ เพราะเราไม่อินกับหนัง romantic โดยทั่วไป และยิ่งเป็นหนัง romantic ที่พยายามนำเสนอว่า นางเอก "สวย น่ารัก อ่อนหวาน เรียบร้อย น่าทะนุถนอม" อะไรแบบนี้ด้วยแล้ว เราก็จะยิ่งรู้สึกเหินห่างจากหนังเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น เพราะเราจะรู้สึกว่าเราไม่สามารถ identify อะไรกับตัวนางเอกได้เลย เพราะฉะนั้น  THE CLASSIC ก็เลยเป็นหนังที่เราดูด้วยความทุกข์ ความเบื่อหน่ายมากๆ ถึงแม้มันอาจจะไม่ใช่หนังเลวก็ตาม มันแค่เป็นหนังที่สร้างสำหรับผู้ชมกลุ่มอื่นๆที่ไม่ใช่เราน่ะ

2.แต่พอดู CLASSIC AGAIN  เราก็ค่อนข้างโอเคกับหนังนะ โดยเฉพาะใน PART รุ่นอดีต ซึ่งก็คงเป็นเพราะเรารู้ล่วงหน้าแล้วว่า เราจะเจอกับเนื้อเรื่องแบบไหนน่ะ เหมือนเตรียมตัวเตรียมใจไว้ล่วงหน้าแล้วว่า เราจะกินบอระเพ็ด เราก็เลยไม่แปลกใจกับรสชาติของมัน

3.ฐิติภูมิ เตชะอภัยคุณ ที่รับบท ขจร น่ารักสุดๆ

4.จุดที่ชอบที่สุดในหนัง ก็คือวิธีการที่ขจรใช้ในการแก้ปัญหารักสามเส้า และวิธีที่หนัง treat ตัวละครเพื่อนของขจรน่ะ

เราชอบสุดๆที่ขจรแก้ปัญหารักสามเส้า ด้วยการพูดกับเพื่อนตรงๆว่า กูรักผู้หญิงคนเดียวกับมึงนะ อะไรทำนองนี้ เราชอบการแก้ปัญหาด้วยการพูดความจริงอย่างตรงไปตรงมาแบบนี้มากๆ

และเราก็ชอบสุดๆที่หนังไม่ได้ทำให้ตัวละครเพื่อนของขจรกลายเป็นผู้ร้ายน่ะ คือเขาเป็นหนุ่มหล่อ รวย แต่เขาไม่ได้เลว ไม่ได้อิจฉาขจร แต่กลับยอมหลีกทางให้ขจร เราชอบจุดนี้ของหนังมากที่สุด

MY DAD IS A HEEL WRESTLER (2018, Kyohei Fujimura, Japan, A+25)

1.หนุ่มญี่ปุ่นในหนังเรื่องนี้ ล่ำบึ้ก น่ากินสุดๆ

2.ชอบที่หนังพยายามสอนเด็กๆไม่ให้ยึดติดกับ ชัยชนะและความพ่ายแพ้มากเกินไป

รูปของ Kazuchika Okada หนึ่งในนักแสดงในหนังเรื่องนี้

Friday, February 14, 2020

KILL ME, COP

1917 (2019, Sam Mendes, A+30)

1.ยอมรับเลยว่าเก่งสุดๆ กราบมากๆ แต่ถ้าหากเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆที่ชิงออสการ์หนังยอดเยี่ยม เราก็ชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่า PARASITE และ ONCE UPON A TIME…IN HOLLYWOOD นะ แต่อาจจะชอบมากกว่า JOKER, LITTLE WOMEN และ FORD V FERRARI ส่วน JOJO RABBIT, MARRIAGE STORY กับ THE IRISHMAN นั้น เรายังไม่ได้ดู

2.ชอบที่การใช้ลองเทคในหนังเรื่องนี้ ทำให้เรารู้สึกมีอารมณ์ร่วมกับตัวละครเป็นอย่างมากน่ะ เหมือนเราได้เข้าไปอยู่ในสถานที่และเวลานั้นๆด้วยตัวเอง

3.ช่วงที่เป็นลานกว้างๆนี่นึกถึงหนังของ Miklós Jancsó มากๆ โดยเฉพาะ RED PSALM (1972) กับ ELECTRA, MY LOVE (1974) เพราะ Jancsó ก็ชอบถ่ายลองเทคในลานกว้างๆเหมือนกัน

4.แต่นอกจาก “ความรู้สึกร่วมกับสถานการณ์อย่างรุนแรง” และ “ความตื่นตาตื่นใจในการถ่ายทำหนัง” แล้ว ตัวเนื้อเรื่องในหนังก็อาจจะไม่ได้สะเทือนใจเราอย่างรุนแรงมากเท่ากับหนังบางเรื่องน่ะ คือถ้าหากเทียบกับหนังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เราก็อาจจะอินกับ LIFE AND NOTHING BUT (1989, Bertrand Tavernier) และ A VERY LONG ENGAGEMENT (2004, Jean-Pierre Jeunet) มากกว่า เพราะหนังสองเรื่องนี้เล่าจากมุมมองของ “เมียที่ตามหาผัวที่สูญหายไปในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง” เราก็เลยอินกับหนังสองเรื่องนี้มากกว่า

หรือถ้าหากเทียบกับหนังสงครามด้วยกัน เราก็อาจจะอินกับ THE THIN RED LINE (1998, Terrence Malick) มากกว่า แต่เราอาจจะชอบ 1917 มากกว่า DUNKIRK (2017, Christopher Nolan) และ SAVING PRIVATE RYAN

ในแง่นึง เราชอบ 1917 มากพอๆกับ LA FRANCE (2007, Serge Bozon) น่ะ เพราะเราชอบหนังสงครามทั้งสองเรื่องไม่ใช่ในแง่ของ “ความสะเทือนใจจากเนื้อเรื่อง” แต่เป็นในแง่ขององค์ประกอบอื่นๆ เพราะเราชอบ LA FRANCE ในแง่ที่มันทำออกมาเป็น “หนังเพลง” ซึ่งมันดูขัดกับเนื้อหาของหนังที่เป็นสงครามโลกมากๆ

5.แอบรู้สึกว่า ถ้าหากเรากับเพื่อนๆได้ดู 1917 ก่อนไปฝึกรด.ที่เขาชนไก่ พวกเราคงฝึกรด.อย่างสนุกมากขึ้น มีอะไรให้ role play มากขึ้น 555

คือตอนที่ดู 1917 เราก็แอบนึกถึงตอนไปเขาชนไก่น่ะ จำได้ว่ามีอยู่ฐานนึงที่ต้องวิ่งๆหมอบๆ ทำเป็นหลบระเบิดจำลองอะไรทำนองนี้ ตอนนั้นจำได้ว่า เรากับเพื่อนๆแอบร้องเพลง RESCUE ME ของMadonna ไปด้วย ขณะวิ่งๆหมอบๆไปเรื่อยๆในสนามรบจำลอง

 KILL ME, COP (1988, Jacek Bromski, Poland, A+30)

1.เป็นหนังตำรวจจับผู้ร้ายที่เราว่าดูแล้ว “ไม่สนุก” เพราะมันไม่ได้เน้นความ thriller ลุ้นระทึกตื่นเต้นแบบหนังฮอลลีวู้ด และมันก็ไม่ใช่หนัง stylish แบบหนังของ Jean-Pierre Melville ด้วย คือจะว่ามันบันเทิงก็ไม่ใช่ จะว่ามันเป็นหนังอาร์ตก็ไม่ใช่ แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มากๆอยู่ดี เพราะเราว่า wavelength มันประหลาดดี เหมือนกับการได้กินอาหารพื้นบ้านของท้องถิ่นบางแห่งที่อาจจะอร่อยถูกปากมากๆสำหรับชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น และเป็นอาหารที่ไม่ได้พยายามทำรสชาติให้เข้าปาก “นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก” แต่อย่างใด 555

2.เหมือนหนังไม่ได้พยายามให้ผู้ชม identify ตัวเองกับทั้งฝ่ายตำรวจและอาชญากรเลยด้วย ซึ่งเราว่ามันประหลาดดี

3.ตัวละครสาวนักจิตวิทยานี่รุนแรงมากๆ ดูแล้วนึกถึงประสบการณ์จริงของเพื่อนคนนึงมากๆ ตัวละครในหนังเรื่องนี้เเป็นสาววัยกลางคนที่ขึ้นรถไฟ แล้วได้นั่งตรงข้ามกับชายหนุ่มคนนึง เธอใช้ความรู้ทางจิตวิทยาของเธอในการลอบสังเกตอากัปกิริยาของชายหนุ่มคนนี้ แล้วก็ประเมินได้ว่า เขาน่าจะเป็นผู้ร้ายที่กำลังหลบหนีตำรวจอยู่ เธอก็เลยเสนอตัวที่จะช่วยเหลือเขาในการหลบหนีตำรวจ เพราะเธอต้องการเขามากๆ และเธอก็ได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าเมื่อเขายอมมีอะไรกับเธอ

ส่วนเรื่องของเพื่อนเรานั้นไม่เหมือนกับเหตุการณ์ในหนังเสียทีเดียว เพราะเพื่อนของเราเคยไปจิกผู้ชายมาได้จากสนามหลวง และก็มีอะไรกัน แต่เธอไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร มารู้ทีหลังว่าเขาเป็นมือปืนจากราชบุรีที่ตำรวจกำลังตามล่าตัวอยู่

 RAFIKI (2018, Wanuri Kahiu, Kenya, A+30)

1.น่าจะเป็นหนังยาวของเคนยาเรื่องที่สองที่เราได้ดู ต่อจาก VEVE (2014, Simon Mukali) เราว่าในแง่ filmmaking หนังเรื่อง RAFIKI อาจจะไม่มีอะไรโดดเด่นมากนัก แต่เราก็ชอบหนังมากๆอยู่ดี รู้สึกว่าหนังมันเล่าเรื่องของมันเองได้ดีพอใช้ และเป็นหนังที่อาจจะไม่ได้ทะเยอทะยานอะไรมาก

2.สิ่งที่ประทับใจสุดๆในหนังรวมไปถึงสภาพบ้านเมืองของเคนยา ชอบที่หนังถ่ายทอดสภาพอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยของตัวละครในเคนยาออกมา มันดูได้อารมณ์มากๆ และมันดูใกล้เคียงกับไทยด้วย โดยเฉพาะพวกเพิงขายของข้างทาง

3.ฉากที่ตัวละครเกย์กับเลสเบียนมานั่งอยู่ด้วยกันนี่ซึ้งมากๆ

4.นึกถึง DAKAN (1997, Muhammad Camara, Guinea) ซึ่งเป็นหนังเกย์จากทวีปแอฟริกาเรื่องแรกที่เราได้ดู จำได้ว่าตอนนั้นมันมาฉายที่ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ ถนนสาทร
https://www.imdb.com/title/tt0118917/?ref_=nv_sr_srsg_0

SAMURAI SHIFTERS

SAMURAI SHIFTERS (2019, Isshin Inudo, Japan, A+30)

1.ติดอันดับประจำปีแน่นอน ชอบหนังแบบนี้มากๆ นั่นก็คือหนังกระบวนการที่แสดงให้เห็นกระบวนการทำงานอะไรสักอย่าง โดยหนังเรื่องนี้พูดถึง “ขั้นตอนในการเตรียมการสำหรับการโยกย้ายถิ่นฐาน” ในอดีตในญี่ปุ่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน

2.ดูแล้วนึกถึง THE MAGNIFICENT NINE (2016, Yoshihiro Nakamura) ที่เหมือนขยายขอบเขตของ “หนังพีเรียด” ออกไป เพราะปกติแล้วหนังพีเรียดในแต่ละประเทศมักจะผูกติดอยู่กับประเด็นอะไรเดิมๆ โดยหนังพีเรียดของญี่ปุ่นมักจะผูกติดอยู่กับ genre หนังซามูไรเป็นหลัก

แต่ THE MAGNIFICENT NINE นำเสนอให้เห็นถึง “การรับมือกับปัญหาการเงินการคลัง” ของประชาชนและรัฐบาลท้องถิ่นในญี่ปุ่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งเป็นประเด็นที่เราชอบสุดๆ

ส่วน SAMURAI SHIFTERS ก็แสดงให้เห็นถึงปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน และปัญหาการเงินการคลังของรัฐบาลท้องถิ่นในญี่ปุ่นเมื่อหลายร้อยปีก่อนเหมือนกัน

3.เข้าใจว่า บทประพันธ์และตัวหนังเรื่องนี้ คงต้องการจะเปรียบเปรยถึงญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันด้วย โดยเราเดาว่า หนังอาจจะต้องการพูดถึง การที่บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งโยกย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยและประเทศอื่นๆในเอเชียในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นประสบภาวะเงินฝืดหรือเศรษฐกิจเติบโตต่ำมากมานานราว 30 ปีแล้ว

4.นึกไม่ออกเหมือนกันว่า มีหนังพีเรียดของประเทศอื่นๆเรื่องไหน ที่นำเสนอมุมมองที่แปลกใหม่แบบนี้บ้าง อย่างหนังบอลลีวู้ดที่เราได้ดู ถ้าหากเป็นหนังพีเรียด ก็มีแต่หนังเกี่ยวกับการรบพุ่งกันของกษัตริย์และแคว้นต่างๆในอดีต แต่ไม่มีหนังที่พูดถึงการบริหารกิจการของรัฐบาลท้องถิ่นในอดีต หรือปัญหาการเงินของประชาชนในอดีต

 BOMBSHELL (2019, Jay Roach, A+30)

1.ชอบที่หนังมันแสดงให้เห็นความซับซ้อนของปัญหา เพราะผู้ร้ายในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่นักข่มขืนที่มีแค่ด้านเลวเพียงด้านเดียว แต่เป็นทั้งคนเก่งและ “ผู้มีพระคุณ” สำหรับคนหลายๆคน โดยเฉพาะต่อตัวเหยื่อหลายๆคนด้วย เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องที่ว่า “ฉันถูกคนแปลกหน้าลวนลาม ฉันจึงสามารถลุกขึ้นมาจัดการเอาเรื่องมันได้โดยไม่ลังเล” แต่เป็นเรื่องที่ว่า ฉันควรทำอย่างไรดี ฉันควรประกาศเรื่องนี้ หรือว่าควรจะเงียบๆไว้ หรือว่าควรจะเข้าข้างผู้กระทำผิด 

2.เราว่าผู้กำกับเก่งมากในการ “สร้างรังสี” หรือ “สร้าง aura” ให้กับตัวละครหญิงไม่ต่ำกว่า 10 ตัวในหนังเรื่องนี้น่ะ คือถึงแม้ว่าหน้าฉากของหนังเรื่องนี้มันจะเป็นหนังสะท้อนปัญหาสังคม แต่เราว่า “รสชาติ” ของหนังเรื่องนี้ จริงๆแล้วมันมีส่วนผสมของละครน้ำเน่าแบบ MELROSE PLACE อยู่ด้วย เพราะละครน้ำเน่าแบบ MELROSE PLACE มันมีเสน่ห์ที่การสร้าง “ตัวละครหญิงสาว” ที่ “สวย เก่ง ฉลาด เข้มแข็ง สู้แหลก ตบแหลก” มาประชันกันหลายๆตัว และเรารักละคร/ภาพยนตร์ที่สร้างตัวละครหญิงที่มี aura แบบนี้มาประชันกันน่ะ

ซึ่ง BOMBSHELL ทำตรงนี้ได้ดีสุดๆ เพราะตัวละครหญิงในหนังเรื่องนี้มี aura ทุกตัวเลย ทั้งตัวละครนำสามตัว, สาวเลสเบียน, เลขาหน้าห้อง, สาวผมดำวัยกลางคนที่พยายามหว่านล้อมให้คนอื่นๆเข้าข้าง Roger, สาวพิธีกรที่ใส่เสื้อ TEAM ROGER, สมุนสาวสองคนของ Megyn Kelly (Charlize Theron), เมีย Roger และ ทนายความของ Roger (Allison Janney)

3.อยากได้ Lachlan Murdoch

Thursday, February 13, 2020

FROM MIYAMOTO TO YOU

FROM MIYAMOTO TO YOU (2019, Tetsuya Mariko, Japan, A+15)

1.Sosuke Ikematsu น่ารักสุดๆ แต่เสียดายที่เราไม่ชอบตัวละครที่เขาแสดง คือเราไม่ชอบผู้ชายแบบนี้น่ะ คือถ้าหากเขาคิดจะแก้แค้น เขาก็ควรจะตั้งสติ และใช้ปัญญาในการวางแผนการแก้แค้นอย่างแยบยล ไม่ใช่ทำอะไรแบบในหนังเรื่องนี้

2.แต่จริงๆหนังก็ไม่ได้เลวร้ายนะ แต่เราแค่ไม่ชอบตัวละครพระเอกน่ะ ก็เลยรู้สึกว่าการดูหนังเรื่องนี้เหมือนเป็นการสำรวจดู “ชีวิต อารมณ์ ความรู้สึกของ คนอื่น” ไปเรื่อยๆ

3. ตอนดูหนังเรื่องนี้จะนึกถึง HIMIZU (2011, Sion Sono) ด้วย เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้เหมือนจะนำเสนอคู่รักที่มีอาการฮิสทีเรีย โหวกเหวกโวยวาย อารมณ์พลุ่งพล่านตลอดเวลาเหมือนๆกัน แต่เราชอบ HIMIZU มากกว่าหนังเรื่องนี้ประมาณ 100 เท่า เพราะเรารู้สึกว่า HIMIZU “เข้าใจจิตใจเรา” อย่างแท้จริงน่ะ ในขณะที่ FROM MIYAMOTO TO YOU เป็นเหมือนการดูชีวิตคนอื่นๆ

 ANGEL SIGN (2019, A+)

--Prologue/Epilogue (Tsukasa Hojo, Japan, A+10)
--BEGINNING AND FAREWELL (Ken Ochiai, Japan, A+20)
--SKY SKY (Nonzee Nimibutr, Thailand, หลับ)
--30 MINUTES 30 SECONDS ( Ham Tran, Vietnam, A+20)
--A FATHER'S GIFT (Masatsugu Asahi, Japan, A+)
--BACK HOME (Kamila Andini, Indonesia, A+30)

1.เสียดายที่หลับๆตื่นๆตอนดูส่วนของไทย

2.รู้สึกว่าหนังฟูมฟายมากๆ และโดยรวมๆแล้วไม่ใช่หนังที่เข้าทางเรา แต่ชอบไอเดียตรงส่วน epilogue มากๆที่เอาตัวละครจากทุกตอนมาอยู่รวมกัน เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่า คนเกือบทุกคนบนโลกนี้ต่างก็เคย “พลัดพรากจากคนที่ตัวเองรัก” มาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพลัดพรากจากสามี, ภรรยา, พ่อ, แม่ จากสาเหตุต่างๆ ทั้งโรคร้ายที่มาแบบฉับพลัน หรือแบบที่กินเวลาระยะหนึ่ง หรือจาก “ความอยุติธรรมในสังคม” แบบในตอนของอินโดนีเซีย

เราก็เลยชอบไอเดียของฉากจบ เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่า ความทุกข์ความโศกเศร้าของตัวละครแต่ละตัว จริงๆแล้วมันหนักหนาสาหัสมากๆ แต่มันไม่ได้ทำให้ตัวละครแต่ละตัวกลายเป็น “คนที่พิเศษกว่าคนอื่นๆในโลก” แต่มันทำให้ตัวละครแต่ละตัว “เป็นเพียงคนธรรมดาเหมือนคนอื่นๆในโลก”

มันเหมือนกับว่า ฉากจบของหนังเรื่องนี้ ทำให้เรามองใบหน้าของผู้คนแต่ละคนบนท้องถนน แล้วก็ตระหนักว่า คนเกือบทุกคน ต่างก็เคยสูญเสียคนที่ตัวเองรักสุดๆมาแล้วทั้งนั้น ชีวิตของคนธรรมดาแต่ละคน ต่างก็ล้วนต้องเคยประสบพบเจอกับความทุกข์ปิ้มว่าจะขาดใจแบบนี้มาแล้วทั้งนั้น

ตอนจบของหนังเรื่องนี้ ก็เลยทำให้นึกถึงตำนานธรรมะ เรื่องของนางกีสาโคตมี กับนางปฏาจารา ด้วย

Monday, February 10, 2020

DANCE WITH ME (2019, Shinobu Yaguchi, Japan, A+30)


DANCE WITH ME (2019, Shinobu Yaguchi, Japan, A+30)

1.ชอบมากๆที่หนังมันเล่นกับองค์ประกอบของหนังเพลง เพราะในหนังเพลงโดยทั่วไปนั้น ฉากร้องเพลงเต้นรำคือฉากที่ผู้ชมต้องยอมรับโดยปริยายว่า “มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นแบบนั้นจริงๆในชีวิตของตัวละคร” คือตัวละครอาจจะรู้สึกมีความสุข นั่งยิ้มอยู่เฉยๆ และฉากร้องเพลงเต้นรำที่เราเห็นเป็นเพียงแค่การดัดแปลงอารมณ์ความรู้สึกหรือบางอย่างในชีวิตของตัวละครให้ออกมาเป็นฉากร้องเพลงเต้นรำ

เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้มันเหมือนหยิบเอาองค์ประกอบตรงนี้ของหนังเพลงมาตั้งคำถามว่า ถ้าหากตัวละครลุกขึ้นมาร้องเพลงเต้นรำแบบนั้นจริงๆ มันจะสร้างความเสียหายให้กับข้าวของเครื่องใช้และผู้คนรอบข้างมากน้อยแค่ไหน และหนังเรื่องนี้ก็เล่นกับตรงนี้ได้ดีสุดๆ

2.ชอบตัวละครสาวอ้วนมากๆ อินกับเธอมากๆ ฉากเธอแดกบะหมี่หน้าร้านสะดวกซื้อแล้วโดนพนักงานด่า เป็นฉากที่สะเทือนใจมากๆ

3.ชอบเรื่องราวของการสะกดจิตมากๆ

4.อยากได้แก๊งหนุ่มนักเต้นบ้านนอก

5.สรุปว่าเคยดูหนังของ Shinobu Yaguchi มาแค่ 6 เรื่อง ซึ่งได้แก่ DANCE WITH ME, HAPPY FLIGHT (2008), SWING GIRLS (2004), WATERBOYS (2001), ADRENALINE DRIVE (1999), MY SECRET CACHE (1997) เราชอบ DANCE WITH ME กับ HAPPY FLIGHT อย่างสุดๆ แต่อีก 4 เรื่องที่เหลือเราชอบแค่ในระดับประมาณ A+10 ถึง A+15

MEKONG 2030

SOLO SUNNY (1980, Konrad Wolf, Wolfgang Kohlhaase, East Germany, A+30)

หวีดร้อง ชอบหนังมากๆ หนังเล่าเรื่องของนักร้องสาวหัวแข็งในเยอรมันตะวันออก มีหนุ่มๆมาชอบเธอมากมาย แต่เธอก็ไม่อยากแต่งงานกับพวกเขา เธอดันไปหลงรัก "หนุ่มนักปรัชญา" เพราะชอบความคิดความอ่านของเขา แต่เขาก็ชอบ open relationship และไม่อยากจะแต่งงานผูกมัดกับเธอ

เราพยายามนึกว่า มีหนังเรื่องไหนอีกบ้าง ที่พระเอกมีเสน่ห์ดึงดูดนางเอก เพราะเขาเป็นนักปรัชญา นอกจากหนังเรื่องนี้ มันมีหนังของ Woody Allen บางเรื่องใช่ไหมที่มีพระเอกแบบนี้

ส่วนหนังไทยกับหนังเอเชียนั้น นึกไม่ค่อยออก ใครนึกออกก็บอกด้วยนะ

MEKONG 2030 (2020, A+15)

--SOUL RIVER (Kulikar Sotho, Cambodia, A+5)

--THE CHE BROTHER (Anysay Keola, Laos, A+15)

--THE FORGOTTEN VOICES OF THE MEKONG (Sai Naw Kham, Myanmar, A+25)

--THE LINE (Anocha Suwichakornpong, Thailand, A+30)

--THE UNSEEN RIVER (Pham Ngoc Lan, Vietnam, A+30)

1. ดู THE CHE BROTHER แล้วนึกถึงหนังไทยค่ายพระนครฟิล์มมากๆ 555 หนังเล่าเรื่องของหญิงชราที่เลือดของเธอสามารถใช้รักษาคนทั่วโลกได้ แต่ถ้าหากหญิงชราคนนั้นเป็นแม่ของเราเอง เราจะยอมเสียสละแม่ของเรามากน้อยแค่ไหนเพื่อช่วยคนทั้งโลก

รู้สึกว่าถ้าหากหนังมันปั้นประเด็นดีๆ มันจะเป็น dilemma ที่น่าสนใจมากๆ ดูแล้วนึกถึง WEATHERING WITH YOU (2019, Makoto Shinkai) ที่พูดถึง dilemma ระหว่างการเลือกระหว่างคนที่เรารักกับชาวโลกคล้ายๆกัน

2. ดู FORGOTTEN VOICES แล้วนึกถึงหนังกลุ่มเกี่ยวก้อยของไทยที่นำเสนอปัญหาสังคมได้ดีมากๆ แต่หนังเมียนมาร์เรื่องนี้เหมือนติดฟูมฟายไปหน่อยในช่วงท้าย

3.หนังเวียดนาม cinematic สุดๆ ชอบผู้กำกับคนนี้มากๆ เคยดูหนังเรื่อง ANOTHER CITY (2016, Pham Ngoc Lan) ของเขาแล้วก็กราบตีนเหมือนกัน

4. หนังของ Anocha ดูแล้วไม่เข้าใจอะไรเลย แต่ก็ชอบสุดๆ เหมือนมันช่วย balance หนังเรื่องอื่นๆในกลุ่มที่พูดถึงชาวบ้านในชนบท ส่วนหนังของ Anocha  พูดถึงคนกรุงเทพที่เหมือนไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาการสร้างเขื่อนในชนบท คนกรุงเพียงแค่พูดคุยกันเล็กน้อยถึงปัญหาการเกือบจะสูญพันธุ์ของสัตว์, ปัญหาในการ represent แม่น้ำโขงในงานศิลปะ, การมีลูกหรือไม่มีลูก

แต่ THE LINE ช่วยกระตุ้นให้เราคิดถึงอะไรหลายๆอย่างโดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ อย่างเช่น

4.1 กรุงเทพเป็นเจ้าอาณานิคมชนบทหรือไม่ เพราะกรุงเทพนำทรัพยากรจากชนบทมาใช้ปรนเปรอตนเอง

4.2 การมีชีวิตอยู่ตามปกติของเรา ในแง่นึงมันคือต้นเหตุของการสร้างเขื่อน, ปัญหาสิ่งแวดล้อม, ทรัพยากรหรือเปล่าเพราะทุกสิ่งที่เราซื้อ, กิน, ดื่ม, ใช้ ซึ่งรวมถึงไฟฟ้าและน้ำประปา มันคือต้นเหตุของปัญหาในชนบทหรือเปล่า

TO KILL A MOCKINGBIRD (1962, Robert Mulligan, A+30)

ทรงพลังมากๆ

NUMBERED (2012, Dana Doron, Uriel Sinai, Israel, documentary, A+30)

หนังสารคดีที่ตามสัมภาษณ์ชาวยิวที่รอดชีวิตจากค่ายกักกัน Auschwitz หนังเต็มไปด้วยเรื่องเล่าที่น่าสะเทือนใจมากมายเหมือนอย่างที่เคยคาดไว้ก่อนได้ดู

แต่สิ่งที่กระทบใจเรามากที่สุดคือจินตนาการของเราเองเกี่ยวกับชีวิตของผู้ชายคนนึงที่หนังไม่ได้เล่าตรงๆ

หนึ่งใน subject ของหนังเรื่องนี้คือหญิงวัยกลางคนคนนึงที่มีพ่อเป็นผู้รอดชีวิตจากค่ายกักกัน เธอสักตัวเลขประจำตัวพ่อ (ที่เสียชีวิตไปแล้ว) ไว้ที่ข้อเท้าตัวเอง แต่ต่อมาเธอก็พบว่าตัวเลขที่เธอสักไว้นั้นมันผิด เธอก็เลยไปสักตัวเลขใหม่ให้มันตรงกับของพ่อเธอ แล้วก็ลบตัวเลขเก่าทิ้งไปด้วยการสักลายลูกกลมดำๆทับตัวเลขเก่า

แล้วเธอก็สงสัยว่าตัวเลขเก่าที่เธอลบไปนั้นเป็นตัวเลขของชาวยิวคนไหนในค่ายกักกัน เธอก็เลยไปค้นคว้าข้อมูลจนพบ เขาเป็นผู้ชายที่เสียชีวิตในค่ายในปี 1942 แล้วผู้ชมก็ได้เห็นภาพถ่ายของชายหนุ่มคนนึงที่น่าจะถ่ายก่อนเขาตายราว 10 ปี เป็นภาพถ่ายของชายหนุ่มที่ยิ้มแย้มอย่างมีความสุขมากๆ

หนังไม่ได้เล่าข้อมูลอะไรของชายหนุ่มคนนี้ แต่จุดนี้กลายเป็นจุดที่เราสะเทือนใจมากที่สุดในหนัง เพราะพอหนังไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับเขา เราก็เลยเอาจินตนาการของเราใส่เข้าไปได้เต็มที่  identify ตัวเองกับเขาได้เต็มที่

เพราะรอยยิ้มของเขามันดูเหมือนกับว่า เขามีความสุข ความพึงพอใจกับชีวิตของเขาในตอนนั้นมากๆน่ะ และมันไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากรอยยิ้มของเราตอนถ่ายรูปต่างๆเลย

เขาจะรู้บ้างไหมนะ ว่าตอนที่เขายิ้ม ตอนที่เขามีความสุขสุดๆตอนที่ถ่ายรูปนั้น อีก 10 ปีต่อมา เขาจะตายอย่างทนทุกข์ทรมานในค่ายกักกันชาวยิว เขาคงไม่รู้ หรือนึกไม่ถึงว่าจะมีความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส รอคอยเขาและครอบครัวอยู่ในอนาคต

พวกเราเองก็เหมือนกัน ทุกครั้งที่เรายิ้มให้กล้องถ่ายรูป รู้สึกมีความสุขอย่างยิ่งยวดกับชีวิตของตัวเอง เราจะรู้ไหมนะว่า มันมีอะไรรอเราอยู่ในชีวิตข้างหน้าบ้าง

PANGA

PANGA (2020, Ashwiny Iyer Tiwari, India, A+30)

Spoilers alert
--
--
--
--
--

1.นึกว่าสร้างขึ้นเพื่อประชันกับ KIM JI-YOUNG: BORN 1982 (2019, Kim Do-young) จริงๆ  โดยเฉพาะช่วงครึ่งแรกของหนัง ถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะสู้ KIM JI-YOUNG ไม่ได้ก็ตาม เพราะหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของพนักงานขายตั๋วรถไฟหญิงชาวอินเดีย เธอมีสามีแสนดี และมีลูกชายที่ร่างกายอ่อนแอ เธอดูเหมือนจะมีชีวิตที่มีความสุข ยกเว้นแต่ว่า เธอละเมอใช้ตีนถึบสามีของตัวเองอย่างรุนแรงทุกคืน จนสามีแทบทนการละเมอใช้ตีนถึบของเธอแทบไม่ได้

อะไรทำให้เธอเป็นแบบนั้น หนังค่อยๆ flasback ไปเล่าว่า ก่อนแต่งงาน เธอเคยเป็นนักกีฬา  kabaddi ระดับทีมชาติมาก่อน แต่พอเธอท้องแก่ คลอดลูก เธอก็เลยล้มเลิกความฝันที่จะเล่นกีฬานี้ต่อไป

ตอนนี้ลูกชายเธอเข้าโรงเรียนประถมแล้ว เธออายุ 30 กว่าปีแล้ว คำถามก็คือว่า ได้เวลาที่เธอจะกลับไปไล่ตามความฝันที่เธอเคยทิ้งไปหรือไม่

2.ชอบบางประโยคในหนังมากๆ โดยเฉพาะประโยคที่ว่า "ฉันมองดูลูกชาย ฉันมีความสุข ฉันมองดูสามี ฉันมีความสุข แต่พอเวลาฉันมองดูตัวเองในกระจก ฉันไม่มีความสุข"

3. สามีในหนังเรื่องนี้ดีเลิศประเสริฐศรีมากๆพอๆกับสามีใน KIM JI-YOUNG เขายอมให้เธอทิ้งบ้าน ทิ้งครอบครัว เพื่อไปไล่ตามความฝันที่จะกลับไปเล่นกีฬา เขาต้องเลี้ยงดูลูกชายตามลำพังเพียงคนเดียว แต่เขาก็ทำได้ เพื่อภรรยาที่เขารัก

4.แต่หนังเรื่องนี้ไปไกลกว่า KIM JI-YOUNG และ "หนังกีฬา"โดยทั่วไปในช่วงครึ่งหลัง เพราะความฝันของนางเอกหนังเรื่องนี้คือการกลับไปเป็นนักกีฬา ไม่ใช่นักเขียนหรือพนักงานบริษัทเหมือนคิม จี-ยอง และ "อายุ" มันเป็นอุปสรรคน่ะ เพราะ "อายุ= ความเหนื่อยล้าของสังขาร" สำหรับ "นักกีฬา" ในขณะที่ "อายุ = ประสบการณ์ชีวิตที่มากขึ้น" สำหรับ "นักเขียน"

5.เพราะฉะนั้นช่วงครึ่งหลังของหนังเรื่องนี้เลยน่าสนใจมากๆสำหรับเรา เพราะถึงแม้นางเอกจะสามารถทิ้งสามีและลูกให้ดูแลกันเอง เพื่อมาทำตามความฝันของตัวเองได้แล้ว เธอกลับเจออุปสรรคสำคัญ ซึ่งก็คือสังขารของตัวเอง

และนั่นก็เลยทำให้ หนังเรื่องนี้กลายเป็นหนึ่งในหนังกีฬาไม่กี่เรื่อง ที่ตัวละครเอก เป็น "ตัวสำรอง" ที่นั่งดูตัวละครอื่นๆแข่งกีฬากันอย่างดุเด็ดเผ็ดมันจนเกือบจบเรื่อง

การที่นางเอก มาได้ไกลแค่เป็น "ตัวสำรองของทีมชาติ" จนเกือบจบเรื่องนี่ ถือเป็นอะไรที่เจ็บปวดสุดๆ และจริงสุดๆสำหรับเรา และเราก็ชอบมากๆที่หนังนำเสนอความจริงอันเจ็บปวดของชีวิตอันนี้ออกมา

THE KILLER SNAKES (1974, Kuei Chih-hung, Hong Kong, A+30)

หนังสยองขวัญที่โหดมาก แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะผู้กำกับเขาสามารถทำหนังดราม่าที่เราชอบสุดๆอย่าง THE TEAHOUSE ได้ด้วยหรือเปล่า (เขาน่าจะมีความสามารถในการทำหนังดราม่า) เราถึงชอบ "รายละเอียดเล็กๆน้อยๆของตัวละครประกอบ" ที่เขาใส่เข้ามาในหนังมากๆ อย่างในหนังเรื่องนี้ ฉากที่เราชอบสุดๆคือฉากที่กะหรี่สาววิ่งหนี "พระเอก/ฆาตกรโรคจิต" แล้วชนคนตาบอดล้ม แต่แทนที่เธอจะวิ่งหนีต่อไป เธอกลับหันมาช่วยคนตาบอด แต่ในที่สุดเธอก็ถูกพระเอกจับไปฆ่า

รู้สึกว่าการช่วยคนตาบอดนี่เป็นสิ่งที่ไม่มีความสำคัญต่อ PLOT หนังเรื่องนี้เลยแม้แต่นิดเดียว เราก็เลยชอบสุดๆที่หนังใส่ฉากนี้เข้ามา เหมือนหนังมันแคร์ตัวละครประกอบมากกว่าหนังสยองขวัญโง่ๆทั่วไป

GHOST EYES (1974, Kuei Chih-hung, Hong Kong, A+30)

หนังสยองขวัญผีดูดเลือด ชอบที่หนังใส่ใจกับตัวละครประกอบ ด้วยการสร้างเรื่องให้ "เพื่อนนางเอก" มีปัญหาตบตีกับแม่ผัว

Sunday, February 09, 2020

DRIVING MISS DAISY

DRIVING MISS DAISY (1989, Bruce Beresford, A+30)

1.ตอนแรกนึกว่ามันจะเน้นประเด็นสีผิว แต่ปรากฏว่าประเด็นนี้ในหนังมันไม่เด่นชัดมากเท่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังในยุคเดียวกันอย่าง  MISSISSPPI BURNING (1988, Alan Parker) และ LOVE FIELD (1992, Jonathan Kaplan) หนังเรื่องนี้ดูเป็นหนังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง “มนุษย์” กับ “มนุษย์” ที่ประเด็นเรื่องเชื้อชาติเป็น “แง่มุมหนึ่ง” ในหลายๆแง่มุมของชีวิตมนุษย์ แทนที่จะเป็นหนัง message ที่เน้นส่งสารทางสังคมแบบที่เราเคยเดาไว้ก่อนได้ดูหนัง

ดูแล้วนึกถึง PLACES IN THE HEART (1984, Robert Benton) ด้วย ที่สอดแทรกประเด็นเรื่องสีผิวเข้ามาในชีวิตของตัวละครหญิงผิวขาวคล้ายๆกัน

2.ชอบตอนจบของหนัง คือแทนที่ตอนจบมันจะพยายามสอนคนดูว่า “เราควรเปลี่ยนแปลงสังคมอะไรยังไง” แบบที่เราเคยเดาไว้ก่อนได้ดู ตอนจบของหนังเรื่องนี้กลับทำให้เรารู้สึกว่า “ชีวิตเราก็เท่านี้”

3.ไม่แน่ใจว่าหนังอย่าง THE HELP (2011, Tate Taylor) และ GREEN BOOK (2018, Peter Farrelly) ได้รับแรงบันดาลใจในเชิงต่อต้านจากหนังเรื่องนี้หรือเปล่า 555เพราะตัวละครพระเอกใน DRIVING MISS DAISY ดูเป็นชายผิวดำยากจนที่สงบเสงี่ยมเจียมตัว รับใช้คนยิวด้วยความจงรักภักดีมากๆ หนังอย่าง THE HELP และ GREEN BOOK ก็เลยอาจจะต้องการนำเสนอตัวละครคนดำที่มีบุคลิกแตกต่างจากแบบนั้น

4.ชอบฉากจับผิดการขโมยอาหารกระป๋องมากๆ

Friday, February 07, 2020

WANG JUN-JIEH

PASSION (2017, Wang Jun-Jieh, Taiwan, video installation, A+30)

 หนังเกย์ที่ถ่ายออกมาได้สวยสดงดงามสุดๆ

BAUHAUS IMAGINISTA: COLLECTED RECORDINGS (2019, Silke Briel,video installations, A+30)

วิดีโอที่บันทึกนิทรรศการ Bauhaus ขณะตระเวนไปจัดแสดงทั่วโลก

THE FIRST CONVERSATION BETWEEN FRANK AND I (2019, Ohm Phanphiroj, video installation, A+15)

ฟังเสียงคุยใน video แทบไม่ออกเลย เพราะลำโพงมันไม่ดี อยากให้ video นี้มี subtitles เราจะได้รู้ว่าตัวละครคุยอะไรกัน

FOREVER YOGHURT (2017, Parinot Kunakornwong, video installation, A+15)

Wednesday, February 05, 2020

THE BODY’S LEGACIES (2018, Kader Attia, video installation, about 1 hour, A+30)


THE BODY’S LEGACIES (2018, Kader Attia, video installation, about 1 hour, A+30)

1.หนังสารคดีที่สัมภาษณ์ผู้คนหลายคนเกี่ยวกับประเด็นเรื่องงานศิลปะของแอฟริกาที่กระจัดกระจายไปอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ของชาติตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นผลพวงมาจากยุคอาณานิคม โดยที่หนังตั้งคำถามหลักว่า พิพิธภัณฑ์ของชาติตะวันตกควรจะคืนผลงานเหล่านี้ไปให้กับแต่ละประเทศในแอฟริกาหรือไม่ ซึ่งคนส่วนใหญ่ในหนังเรื่องนี้ก็เห็นด้วย

2.ชอบที่หนังนำเสนอเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์หรืออะไรทำนองนี้จาก Ivory Coast และ Malawi ด้วย คือเหมือนเราไม่เคยดูหนังที่พูดถึงประเทศ Malawi มาก่อนเลย เราก็เลยชอบมากๆที่หนังเรื่องนี้พูดถึงประเทศนี้

3.ชอบประเด็นเรื่องการก่อตั้งประเทศ Liberia ด้วย

4.ชอบประเด็นเรื่องคนดำกับคนอินเดียนแดงในแคนาดาด้วย เพราะผู้ให้สัมภาษณ์คนนึงให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เป็นหลัก โดยคนดำในแคนาดานั้นมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เพราะแคนาดายกเลิกระบบทาสก่อนสหรัฐ เพราะฉะนั้นมันก็เลยมีช่วงเวลาราว 30 กว่าปีที่มีคนดำจำนวนมากหนีจากสหรัฐเข้าไปอยู่แคนาดา เพื่อจะได้หนีระบอบทาส

คนดำกับคนอินเดียนแดงในแคนาดาเหมือนมีประวัติศาสตร์คล้ายคลึงกันในแง่นึง เพราะทั้งสองชาติพันธุ์นี้เคยถูกกดขี่จากคนขาวเหมือนๆกัน แต่ปรากฏว่าในปัจจุบันนี้ทั้งสองชาติพันธุ์นี้แทบไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กันเลย เพราะคนดำในแคนาดาอาศัยอยู่แต่ในเมืองใหญ่เท่านั้น ในขณะที่คน Native ของแคนาดาอาศัยอยู่ในเขตสงวนเป็นส่วนใหญ่

5.อีกประเด็นที่เราว่าน่าสนใจสุดๆก็คือว่า ในขณะที่หลายคนในหนังเห็นพ้องต้องกันว่า ชาติตะวันตกควรจะคืนผลงานศิลปะให้กับแอฟริกา แต่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ในแอฟริกาต่างก็เห็นตรงกันว่า อย่ารีบคืนมาในทันที ให้รอราว 10-20 ปีก่อนแล้วค่อยคืนผลงานศิลปะมาให้ เพราะตอนนี้ชาวแอฟริกายังไม่เห็นคุณค่าของงานศิลปะเหล่านี้ และยังไม่เห็นคุณค่าของการมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นจะต้องใช้เวลาระยะนึงก่อนในการปลูกฝังจิตสำนึกนี้ให้แก่ชาวแอฟริกา ซึ่งเราว่ามุมมองนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจมากๆ เราเองก็นึกไม่ถึงว่าเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ชาวแอฟริกาจะมีมุมมองแบบนี้

O HORIZON

TWO STONES (2019, Wendelien van Oldenborgh, Netherlands, video installation, , 56min, A+30)

ชอบเรื่องของ "อาคาร feminist ที่ผิดพลาดมากๆ" เหมือนหนังเรื่องนี้เล่าว่า เคยมีคนสร้างอาคาร feminist ในโซเวียตในทศวรรษ 1920-1930 มั้ง ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด เป็นอาคารที่พักที่ไม่มี "ห้องครัว" เพื่อที่ผู้หญิงจะได้ไม่ถูกใช้งานให้ทำครัว และผู้พักอาศัยจะต้องไปกินอาหารใน canteen หรือตามร้านอาหารแทน แต่อาคารแบบนี้ก็สร้างปัญหาให้กับผู้หญิงที่มีลูกเล็ก และเกิดปัญหาเมื่อ canteen ทำอาหารเหี้ยๆ

หนังมีความเป็นกวีสูงมาก และพูดถึงอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจมากๆ อย่างเช่นกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ในทศวรรษ 1970 ที่ห้ามอาคารบางแห่งมีชาวสุรินัมเข้าพักเกิน 5%

 O HORIZON (2018, The Otolith Group, India, video installation, 81min, A+30)

นึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อปะทะกับ Chalermkiat Saeyong จริงๆ 555 คือหนังเรื่องนี้ต้องการนำเสนอวิทยาลัย Visva-Bharati ในอินเดียที่ก่อตั้งโดยรพินทรนาถ ฐากูรเมื่อราว 100 ปีก่อน ซึ่งตอนแรกเราก็นึกว่า หนังเรื่องนี้จะสัมภาษณ์คณาจารย์, นักศึกษา และนำเสนอจุดเด่นของวิทยาลัยแห่งนี้อย่างเป็นรูปธรรม แบบเดียวกับหนังอย่าง THE SYMPHONY OF UNCERTAINTY (2018, Claudia Lehmann, Germany, documentary) ที่นำเสนอภาพสถาบันวิจัย DESY ในเมืองฮัมบวร์กของเยอรมนี

แต่ปรากฏว่าพอเราดู O HORIZON ไปเรื่อยๆ เราก็พบว่าหนังเรื่องนี้พิศวงมาก ท้าทายประสบการณ์การดูหนังของเรามากๆ เพราะหนังเหมือนจะเน้นถ่ายทอดการร่ายรำของผู้คนต่างๆ โดยตัดสลับกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง, ประติมากรรม และต้นไม้ใบหญ้า บรรยากาศต่างๆในมหาลัย โดยมีเสียง voiceover ที่พูดถึงอะไรก็ไม่รู้ แต่เราเดาว่ามันคง quote มาจากงานเขียนของรพินทรนาถ ฐากูร ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยเลย

พอดูหนังจบเราก็เลยรู้สึกงงมากๆ แต่ก็ชอบความประหลาดพิสดารของหนัง เราก็เลยไปอ่านบทสัมภาษณ์ของ The Otolith Group ใน Artforum แล้วเราก็เข้าใจว่า ทางผู้กำกับเขาคงต้องการถ่ายทอดบรรยากาศของวิทยาลัยแห่งนี้เป็นหลักนั่นแหละ เพราะเขามองว่า “บรรยากาศ” ของมหาลัยแห่งนี้นี่แหละที่บรรจุจิตวิญญาณของรพินทรนาถ ฐากูรเอาไว้

ลองนึกภาพว่า มีใครทำหนังเกี่ยวกับมหาลัยในไทยแบบนี้ดูบ้างสิ คือไม่มีการสัมภาษณ์อาจารย์, นักศึกษา และเกียรติประวัติต่างๆของศิษย์เก่า+อาจารย์ในมหาลัยเลย แต่เน้นถ่ายทอดต้นไม้ใบหญ้าในมหาลัยแห่งนั้นเป็นหลัก เราว่าไอเดียอะไรแบบนี้มันน่าสนใจอย่างสุดๆ

ดูแล้วนึกถึงหนังของ Chaloemkiat Saeyong มากๆ โดยเฉพาะ “บุคคลที่ติดค้างอยู่ภายในความทรงจำ” HISTORY IN THE AIR (2009, 58MIN) ที่เน้นถ่ายทอดบรรยากาศของสนามบินดอนเมือง โดยเฉพาะช่วง 20 นาทีสุดท้ายของหนังที่เน้นถ่ายภาพส่วนประกอบของอาคารอะไรไม่รู้ในสนามบินดอนเมืองไปเรื่อยๆ

 THE MOST BEAUTIFUL CAMPUS IN AFRICA (2019, Zvi Efrat, video installation, A+30)

ภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดความงดงามของอาคารมหาลัย Obafemi Awolowo ในไนจีเรีย ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ มันเป็นหนังที่ดูง่ายที่สุดในงาน BAUHAUS IMAGINISTA แต่เนื่องจากเราไม่มีความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมเลย หนังที่ดูง่ายที่สุดในงานนี้ก็เลยอาจจะเป็นหนังที่เหมาะกับเราที่สุด เพราะหนังอธิบายอย่างตรงไปตรงมาเรื่องประวัติของอาคารมหาลัยนี้ และชี้ให้เห็นว่าอาคารในมหาลัยนี้มีข้อดีอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะการเปิดให้อากาศไหลผ่าน, การเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาจับกลุ่มนั่งติวกันได้อย่างสบาย, การปรับตัวให้เข้ากับภูมิอากาศของไนจีเรีย, การนำวัฒนธรรม Yoruba เข้ามาผสมผสาน และหนังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า อาคารมหาลัยนี้ได้รับการออกแบบเพื่อแข่งขันกับอาคารมหาลัยชั้นนำอีกแห่งหนึ่งในไนจีเรีย ซึ่งเป็นอาคารที่ออกแบบโดยชาวอังกฤษ ดังนั้นอาคารมหาลัยนี้ซึ่งตั้งขึ้นในยุค “หลังอาณานิคม” จึงต้องออกแบบให้ดีกว่าหรือทัดเทียมกว่าผลงานสถาปัตยกรรมของชาวอังกฤษให้ได้

ดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่าชายหนุ่มนักศึกษาชาวไนจีเรีย รูปร่างสูงโปร่งดีด้วย 555 ไม่รู้เราคิดไปเองหรือเปล่า เพราะเราไม่เชี่ยวชาญเรื่องชายชาวแอฟริกา ไม่รู้ว่าชายชาวแอฟริกาในแต่ละเชื้อชาติมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง มีใครมีข้อสังเกตอะไรในเรื่องนี้บ้างไหมคะ

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

https://vimeo.com/338514395

Monday, February 03, 2020

QUOTE FROM STRAUB

Favorite quote from Jean-Marie Straub, talking about his film EYES DO NOT WANT TO CLOSE AT ALL TIMES, OR, PERHAPS ONE DAY ROME WILL ALLOW HERSELF TO CHOOSE IN HER TURN (1970) in Cahiers du Cinema -- "I believe we have to make films that have no meaning because otherwise one creates garbage. I am convinced that a film like...Z for example means something, and for that reason, it is a film which can only be garbage, because it confirms people's cliches."

from the book THE ART OF SEEING, THE ART OF LISTENING: THE POLITICS OF REPRESENTATION IN THE WORK OF JEAN-MARIE STRAUB AND DANIELE HUILLET  by Ursula Boser ในห้องสมุดมหาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

จริงๆแล้วเราชอบทั้งหนังของ Jean-Marie Straub และ Costa-Gavras นะ แต่ก็คิดว่า quote นี้ของ Straub น่าสนใจดี เพราะโดยปกติแล้ว เรามักจะชอบหนังที่ " have no meaning" หรือ "ตีความอะไรไม่ได้" อย่างมากๆ 555 มันเหมือนกับหนังการเมืองของ Costa-Gavras มัน "สอดคล้องกับสิ่งที่เราคิดไว้แล้ว" หรือ "ช่วยเราระบายอารมณ์" แต่หนังของ Straub มัน "ช่วยกระตุ้นความคิดเรา" มากกว่าหนังของ Gavras เพราะหนังของ Straub มันเหมือนไม่มีความหมายที่ตายตัว มันก็เลยเป็นสิ่งที่ "ไม่มีที่สิ้นสุด" หรือมี "พลังที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการอธิบาย" สำหรับเรา

ชอบ quote ของ Martin Walsh ในหนังสือเล่มนี้มากๆด้วย ที่บอกว่า หนังของ Straub เป็น "Investgations of language which are aimed at the elimination of meaning" (Martin Walsh)

Sunday, February 02, 2020

SECRET ZOO

SECRET ZOO (2020, Son Jae-gon, South Korea, A+15)

1.ชอบที่หนังสะท้อนโลกยุคปัจจุบัน ที่บริษัทหลายแห่งหันมาทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อ "ชื่อเสียง" เพราะชื่อเสียง ย่อมหมายถึงผลกำไรตามมา

2.จริงๆแล้วหนังมัน dilemma มาก เพราะดูแล้วไม่รู้ว่า ควรจะเชียร์ให้สวนสัตว์ได้เปิดต่อ เพื่อที่คนหลายคนจะได้มีงานทำ หรือควรจะเชียร์ให้ปิดสวนสัตว์ เพื่อที่หมีขาวที่ "กลายเป็นโรคจิตเพราะถูกขัง" จะได้ถูกย้ายไปที่อื่นที่มีอิสระกว่า

3.มันเหมือนความรักหมีขาวของนางเอก คือสิ่งที่ล่ามโซ่หมีขาวไว้ไม่ให้เป็นอิสระ

4.ข่าวยีราฟตายในไทยในช่วงนี้ เป็นข่าวที่เข้ามารบกวนจิตใจขณะดูหนังเรื่องนี้มากๆ

5.ควรมีการเปิดสถานที่สักแห่ง เป็นกึ่งๆสวนสาธารณะ/ป่าละเมาะ/ซาฟารี/น้ำตกจำลอง เพื่อให้ลูกค้าเช่าชุดสัตว์อันหลากหลายใส่เดินไปเดินมา เพราะเราอยากใส่ชุดหมีเดินไปเดินมามากๆ และคิดว่าคงมีหลายคนอยากใส่ชุดตัวเหี้ยเพื่อ post รูปตัวเองลง instagram

 

Saturday, February 01, 2020

THIBAAN X BNK48

ไทบ้าน × BNK 48 จากใจผู้สาวคนนี้ (2020,  Surasak Pongsorn, Thiti Srinual, C- )

1.ดูแล้วเบื่อมากๆ กลุ้มใจมาก 555 รู้สึกว่าหนังมันล้มเหลวตั้งแต่ต้นเรื่องแล้ว คือถ้าหากจะให้สมาชิก BNK ไปเรียนรู้ชีวิตความเป็นอีสาน แต่ต้องปิดเป็นความลับในเวลาเดียวกัน แล้วมึงจะทำได้ยังไง เพราะถ้ามึงอยากเรียนรู้จริงๆ มึงต้องไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้าน พูดคุยกับชาวบ้านให้มากๆ และจริงใจต่อกัน เพราะฉะนั้นมันไม่มีทางที่จะทำภารกิจนี้ให้สำเร็จได้ หรือทำให้มันดีได้ โดยปิดเป็นความลับ

2.ไม่เข้าใจอุปสรรคต่างๆในหนังเรื่องนี้ 555 อย่างเช่น ทำไมคนเห็นคลิปอันแรก แล้วต้องรุมด่า และทำไมการตัดสินใจอะไรต่างๆของ " ต้นสังกัด" ในหนังเรื่องนี้ ถึงไม่มีเหตุผลอะไรรองรับเลย นอกจากต้องการสร้าง conflicts ขึ้นมาแบบโง่ๆ เพราะกลัวหนังขาด conflicts

3.จริงๆแล้วเราชอบหนังที่ให้คนจริงๆ "play the fictional versions of themselves" มากๆ แบบ WES CRAVEN'S NEW NIGHTMARE (1994, Wes Craven), THE KIDNAPPING OF MICHEL HOUELLEBECQ (2014, Guillaume Nicloux) และ I WANT TO SEE (2008, Joana Hadjithomas, Khalil Joreige, Lebanon) ที่ให้ Catherine Deneuve รับบทเป็น "ดาราดัง" ที่เดินทางไปเรียนรู้เรื่องสงครามกลางเมืองในเลบานอน ซึ่งโดยตัว concept ของหนังไทยเรื่อง BNK48 ×  ไทบ้านนี่ มันเอื้อให้ออกมาเป็นหนังคลาสสิคแบบ I WANT TO SEE ได้ แต่มันกลับทำออกมาเป็นอะไรที่น่าเบื่อมากๆ

UNDERWATER (2020, William Eubank, A+30)

รู้สึกว่าหนังมันไม่มีอะไรใหม่เลย (เราว่า THE ABYSS ของ James  Cameron มีไอเดียที่น่าสนใจกว่า) แต่ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็รู้สึกสนุกมากๆอยู่ดี นึกถึงความสนุกตอนดู ALIEN ภาคแรก


IN THE BASEMENT (2014, Ulrich Seidl, Austria, documentary, A+30)


IN THE BASEMENT (2014, Ulrich Seidl, Austria, documentary, A+30)

1.จำได้ว่า เคยอ่านนิตยสาร Film Comment ในช่วงปี 2001 หรือ 2002 ตอนที่หนังเรื่อง DOG DAYS (2001, Ulrich Seidl) โด่งดังขึ้นมา แล้วบทความใน Film Comment ก็บอกว่า Ulrich Seidl เคยกำกับหนังสารคดีมาแล้วหลายเรื่องก่อนจะทำหนัง fiction อย่าง DOG DAYS ซึ่งหนังสารคดีหลายๆเรื่องของ Ulrich Seidl เป็นการ “จ้องมองไปในนรกแบบไม่กะพริบตา”

พอเราได้ดู IN THE BASEMENT เราก็รู้สึกอยากกราบนักวิจารณ์ที่เขียนบทความนั้นใน Film Comment เมื่อเกือบ 20 ปีก่อนจริงๆ เพราะเขาบรรยายถึงหนังสารคดีของ Ulrich Seidl ได้ดีมากๆ มันเป็นอย่างที่เขาเขียนไว้จริงๆ

2.เราเคยดูหนัง fiction ของ Ulrich Seidl มาแล้วรวมกัน 5 เรื่อง ส่วนอันนี้เป็นหนังสารคดีเรื่องแรกของเขาที่เราได้ดู ปรากฏว่าพฤติกรรมของคนในหนังสารคดีของเขา เอาชนะพฤติกรรมของ fictional characters ของเขาได้อย่างขาดลอย คือเรานึกว่าตัวละครในหนังของเขามันเฮี้ยนมากๆแล้ว ปรากฏว่าคนจริงๆในหนังสารคดีของเขาแรงกว่าหลายเท่า

3.เหมือนเห็น “ตัวเราเอง” ในหนังเรื่องนี้ เพราะในหนังสารคดีเรื่องนี้ มันมีหญิงวัยกลางคนคนนึงที่ชอบเล่นตุ๊กตาที่เหมือนทารกจริง และเธอก็ชอบร้องเพลงกล่อมตุ๊กตา อุ้มตุ๊กตาเดินไปไหนมาไหนในบ้าน พูดคุยกับตุ๊กตาไปเรื่อยๆ

ซึ่งสิ่งต่างๆที่ผู้หญิงคนนี้ทำ มันเหมือนกับสิ่งที่เราทำกับตุ๊กตาหมีของเราเด๊ะๆเลย ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยรู้สึกดีใจมากๆ ที่มีคนที่มีพฤติกรรมคล้ายๆเราแบบนี้อยู่ด้วย

4.ตัดสินไม่ได้จริงๆว่าใครในหนังเรื่องนี้แรงกว่ากัน ทั้งกลุ่มนักแม่นปืนที่เกลียดชังคนต่างศาสนา, วงดนตรีชายชราที่คลั่งไคล้นาซี และคู่รักซาดิสท์มาโซคิสท์คู่ต่างๆ คือดูแล้วก็แอบดีใจแทน subjects คู่รักต่างๆในหนังเรื่องนี้นะ ที่พวกเขามีรสนิยมทางเพศไม่เหมือนคนทั่วไป แต่พวกเขาก็สามารถหาคู่ที่เหมาะสมกับเขาได้ และมีความสุขกับพฤติกรรมทางเพศอันแปลกประหลาดของตนเองได้โดยที่ทุกฝ่าย “ยินยอมพร้อมใจ เต็มใจ มีความสุข” อยู่ด้วยกัน

5.ชอบผู้หญิง  3 คนในภาพนี้มากๆ คือในขณะที่คนอื่นๆทำพฤติกรรมที่รุนแรงมากๆในห้องใต้ดินของตัวเอง กระทำกามกิจต่างๆที่พิลึกพิสดารมากมายในห้องใต้ดินของตัวเอง ผู้หญิง 3 คนนี้กลับยืนเฉยๆอยู่ข้างๆเครื่องซักผ้าในห้องใต้ดินของตัวเอง และหนังเรื่อง IN THE BASEMENT นี้ไม่บอกผู้ชมเลยว่า พวกเธอทำอะไรบ้างในห้องใต้ดิน นอกจากซักผ้า


คือถ้าหากเราเอาหนังเรื่องนี้มาดัดแปลงเป็นหนัง fiction แบบว่าทุกคนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันแล้วล่ะก็ แน่นอนว่าพวกนักแม่นปืน, กลุ่มนาซี, กะหรี่, คู่ sadist masochist ต่างๆ จะไม่ใช่ “ตัวละครที่มีพลังรุนแรงที่สุดในหนัง” เพราะตัวละครที่จะมี “พลังรุนแรงที่สุดในหนังของเรา” ก็ต้องเป็นแบบผู้หญิง 3 คนในภาพนี้นั่นแหละ คือถ้าหากมีใครผ่านเข้ามาในหมู่บ้านนี้โดยบังเอิญ พวกเขาก็จะนึกว่า ผู้หญิง 3 คนนี้เป็นแม่บ้านธรรมดาที่ซักผ้าในห้องใต้ดิน แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่า จริงๆแล้วผู้หญิง 3 คนนี้คือ Mater Suspiriorum, Mater Tenebrarum และ Mater Lachrymarum 55555

BETTER DAYS (2019, Derek Tsang, China, A+30)

1.อู๊ยยยยย อีฝันเปียก อีเงี่ยนแต่ทำเป็นไม่แสดงออก นี่คือสิ่งที่คิดด่าอีนางเอกในใจตลอดเวลาที่ดูหนังเรื่องนี้ 55555

คือเราขำความ “แฟนตาซีทางเพศ” ของหนังเรื่องนี้มากๆน่ะ คือในแง่นึงหนังมันทำตัวเหมือนมีสาระ มีคุณธรรม ต่อต้านการ bully แต่ในอีกทางนึงมันก็ตอบสนองแฟนตาซีทางเพศของผู้ชมแบบสุดลิ่มทิ่มประตูมากๆ แบบว่านางเอกดูมีความเป็น  “สาวธรรมดา” อ่อนแอ แต่ “ถูกบังคับให้จูบ” กับจิ๊กโก๋หนุ่มหล่อ ปรากฏว่าเขาไม่ใช่แค่หล่อเท่านั้น แต่ยังสนใจเธอด้วย และเขายังอยากปกป้องเธออีกด้วย โดยที่ไม่คิดจะเรียกร้องเงินหรือ sex จากเธอเลย โอ๊ย ตายแล้ว ทำไมเขาช่างมีคุณสมบัติเหมือนกับพระเอกการ์ตูนญี่ปุ่นสำหรับสาววัยเพิ่งมีเมนส์เป็นครั้งแรกแบบนี้มากๆคะ 55555

คือเราขำที่ว่า แทนที่นางเอกจะเห็นผู้ชายหนุ่มแล้วอยากจูบ แต่เธอก็ต้อง “ถูกบังคับให้จูบ” น่ะ แล้วก็มีฉากเธอแอบดูพระเอกถอดเสื้อ แต่ก็ไม่ได้แอบดูเพราะเธอเงี่ยน และเธอก็ไปคลุกคลี นอนห้องเดียวกับเขาตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้มีอะไรกัน คือมันเป็น แฟนตาซีทางเพศ” ที่ดูน่าขำสำหรับเรามากๆน่ะ แบบว่าฉันเจอผู้ชายหนุ่มหล่อนิสัยดี แต่ฉันไม่เงี่ยน ฉันไม่บ้ากาม ฉันเป็นนางเอก ฉันไม่คัน he

2.แน่นอนว่า แฟนตาซีทางเพศแบบในหนังเรื่องนี้ ไม่สอดคล้องกับเราอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากเป็นเรา เราก็เสย he ใส่พระเอกตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปห้องเขาแล้ว 555 แต่เราก็โอเคกับหนังนะ เหมือนเราทำใจไว้แล้วตั้งแต่ต้นเรื่องว่า ถ้าหากจะดูหนังเรื่องนี้อย่างมีความสุข เราต้องพยายามมองข้ามประเด็นที่ว่า  “นางเอกหนังเรื่องนี้ คิดแตกต่างจากเรา” น่ะ

คือเหมือนในการดูหนังทั่วๆไป ผู้ชมต้องมี suspension of disbelief น่ะ แล้วถึงจะดูหนังได้สนุก ซึ่งเรามีคุณสมบัติข้อนี้สูงมากอยู่แล้ว เราก็เลยชอบดูหนังมากๆ 555 แต่นอกจากผู้ชมจะต้องมี suspension of disbelief แล้ว ในการดูหนังแต่ละ genre ให้สนุก ผู้ชมก็จะต้องมองข้ามอะไรบางอย่างที่แตกต่างกันไปในหนังแต่ละ genre ด้วย อย่างเช่น เวลาจะดูหนังยุทธจักรกำลังภายใน ผู้ชมก็ต้องมองข้ามประเด็นที่ว่า “ตัวละครหาเลี้ยงชีพด้วยอะไร” หรือเวลาจะดูหนังแบบ “องค์บาก 2” หรือหนังชุด IP MAN เราก็จะ focus ไปที่ “ลีลาการต่อสู้” และมองข้าม “ความชาตินิยม และสาเหตุต่างๆที่นำไปสู่ฉากต่อสู้แต่ละฉาก” อะไรทำนองนี้ 5555

ส่วนใน BETTER DAYS นั้น คือตั้งแต่ต้นเรื่อง เราก็รู้เลยว่า นางเอกหนังเรื่องนี้ คิดแตกต่างจากเรามากๆน่ะ เราก็เลยทำใจไว้เลยว่า เราจะต้องไม่ “ขัดอกขัดใจ” กับการตัดสินใจของนางเอกในหนังเรื่องนี้ เพราะอีนี่จะต้องตัดสินใจอะไรที่แตกต่างจากเราไปเรื่อยๆแน่ๆ และพอเราจูนตัวเองไว้แบบนั้นในช่วงต้นเรื่อง เราก็เลยพอจะดูหนังไปอย่างเพลิดเพลินได้

3.คือถ้าหากเป็น “นางเอกในหนังของเรา” มีสิทธิ BETTER DAYS จบตั้งแต่ 10 นาทีแรกน่ะ เพราะ “นางเอกที่เราชอบที่สุดในชีวิต” ก็คือ Manu จาก BAISE-MOI (2000, Virginie Despentes, Coralie Trinh Thi) น่ะ และถ้าหาก Manu จาก BAISE-MOI เจออีห่าสามตัวมา bully ในโรงเรียนแบบในฉากต้นของหนังเรื่องนี้ เราว่าอีห่าสามตัวนี่มีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 10 นาทีน่ะ

แต่ก็เข้าใจนางเอกของ BETTER DAYS นะ ว่าทำไมเธอคิดแตกต่างจากเรา หรือแตกต่างจาก Manu เพราะนางเอกของ BETTER DAYS เชื่อว่า “มีชีวิตที่ดีรออยู่ข้างหน้า” น่ะ เธอก็เลยพยายามอดทน เพื่อที่จะได้มีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต เธอรักชีวิตของตัวเอง แต่เราไม่ใช่คนแบบนั้น

4.ตอนจบของหนังทำให้นึกถึง THE CROSSING (2018, Bai Xue, China) มากๆ ในแง่ที่ว่า มันต้องจบแบบนี้ เพื่อจะได้ผ่านเซ็นเซอร์ของรัฐบาลจีน แต่ถ้าหากผู้กำกับ THE CROSSING กับ BETTER DAYS มาทำหนังในยุโรป เราว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้อาจจจะไม่จบแบบนี้ก็ได้

5.นึกว่า BETTER DAYS เป็นภาคสองของ ANATOMY OF HER (2016, Waranyaa Punamsap)