Sunday, July 28, 2024

MAKO IDEMITSU

 

บันทึกการติดโควิดรอบสอง วันที่ 7 (27/07/2024)

 

วันนี้ลองตรวจด้วย FLOWFLEX ก็ยังเป็นสองขีดจาง ๆ อยู่

 

แต่วันนี้ลองตรวจด้วย GICA สองแบบด้วย โดยอันบนเป็นใช้ไม้แยงเข้าปาก ซึ่งเราก็รู้สึกว่าผลมันออกมาเป็นสองขีดจาง ๆ

 

ส่วนอันล่างเป็น GICA แบบใช้ไม้แยงจมูก ซึ่งผลออกมาเป็นขีดเดียว

 

เราก็เลยเดาเอาว่า ชุดตรวจของ FLOWFLEX น่าจะ sensitive กว่า GICA นะในกรณีของเรา แต่ตอนนี้เราก็คงยึดเอาของ FLOWFLEX เป็นหลักไปก่อน วันนี้เราก็เลยยังไม่ได้ออกไปดูหนังในโรงภาพยนตร์

 

ซึ่งพอดูสถานที่ผลิตแล้ว ทั้ง FLOWFLEX และ GICA ก็ผลิตมาจากแคว้นหางโจวในประเทศจีนเหมือนกันเลย แต่เป็นคนละบริษัท

 

ปีที่แล้วเราใช้ของ ABBOTT ตรวจนะ แต่ตอนนี้เราหาซื้อชุดตรวจของ ABBOTT ไม่ได้มานานหลายเดือนแล้ว ก็เลยเน้นใช้ของ FLOWFLEX

 

วัดออกซิเจนได้ 96 วัดชีพจรได้ 65

++++

 

เห็น Facebook บอกว่า วันนี้วันเกิดของ Viriyaporn Quanni หรือ Viriyaporn Boonprasert 55555

 

เราได้ดูหนังของ Viriyaporn ครั้งแรกในวันที่ 5 ก.ค. 2012 หรือเมื่อ 12 ปีก่อน เมื่อหนังชุด “เจริญพรมหาธรรมใน 3 โลก” ที่ประกอบด้วยหนังสั้น 6 เรื่องของเธอได้ฉายในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนในวันนั้น

 

Viriyaporn เหมือนหายสาบสูญไปแล้ว แต่เธอยังคงทิ้ง legacy ไว้ให้ผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นต่อมาได้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากหนังที่ออกฉายในปีที่แล้วอย่างเช่น “ลักชาติด้วยความรวบรัด” (2023, Warat Bureephakdee, A+)  และ COME FROM AWAY กลับบ้าน (2023, Piyanat Lamor, 21min, A+30) ที่มีการ tribute ให้ Viriyaporn อย่างชัดเจน ก็เลยเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ ๆ ได้รับแรงบันดาลใจจาก Viriyaporn

+++

131. LOOSE THREADS (2022, Chayanid Siripaiboolpong ชญานิศ สิริไพบูลย์พงศ์, Jessieca Junesha เจสซิก้า จูนเนช่า / 1.41 นาที, animation, A+25)

 

หนังเกี่ยวกับหญิงชราที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และหนังถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างงดงาม เหมาะฉายควบกับ LATE AFTERNOON (2017, Louise Bagnall, Ireland, animation, A+30) และ STILL THE SAME ประกายแสงในเงา (2021, Thanadol Choothong, 18min, A+30) มาก ๆ

 

 

132. LOST AND FOUND (2023, Natarn Eiandkliang ณาธาร เอียดเกลี้ยง / 27.25 นาที, A+15)

 

เป็นหนังไม่กี่เรื่องที่เราได้ดูที่มาจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ

 

133. THE LOST BARRIERS (2023, Tanawat Phongpisantham ธนาวัฒน์ พงศ์พิศาลธรรม / 11.54 นาที, A-)

 

134. LOST LEGATO (2023, Achita Pongam อชิตะ โพธิ์งาม / 16.44 นาที, A-)

 

ปี 2023 นี่เป็นปีของคุณอชิตะจริง ๆ เพราะเขากำกับหนังเรื่อง KAMPUN (2023, Achita Pongam อชิตะ โพธิ์งาม / 20.20 นาที, A+30) และ PHOTO ME BY YOUR EYES (2023,  อชิตะ โพธิ์งาม / 9.04 นาที, queer film, A+30) ด้วย แต่ LOST LEGATO เป็นหนังที่เราชอบน้อยที่สุดของเขาในบรรดา 3 เรื่องนี้

 

อย่างไรก็ดี ชอบที่มี teddy bears หลายตัวในซีนนี้ 55555

 

135. LOTTOHEAD (2022, Kmonvish Lawan กมลวิช ลาวัลย์, Tanadon Morya ธนดล หมอยา / 5.58 นาที, animation, A+25)

 

136. THE LOVE 2: GRANDMA LUAN [EXTENDED CUT] (2023, Supakit Seksuwan, 6min, documentary, A+)

THE LOVE 2: คุณย่าล้วน [Extended Cut]  / ศุภกิติ์ เสกสุวรรณ / 6 นาที

 

เป็นหนังภาคสองที่ออกฉายห่างจากภาคแรกนานถึง 15 ปี เพราะ THE LOVE (2007, Supakit Seksuwan, 8min, A+30) ออกฉายในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนในวันที่ 12 ก.ค. 2008 ส่วน THE LOVE 2 ออกฉายในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนในวันที่ 11 พ.ย. 2023

 

สอบถามค่ะ ในบรรดาหนังไทยนั้น มีหนังภาคสองเรื่องไหนที่ออกฉายห่างจากภาคแรกเป็นเวลานานมาก ๆ บ้างคะ เพราะพอดีเราเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่า ภาพยนตร์เรื่อง THE LOVE (2007, Supakit Seksuwan, 8min, A+30) กับ THE LOVE 2: GRANDMA LUAN [EXTENDED CUT] (2023, Supakit Seksuwan, 6min, documentary, A+) ออกฉายห่างจากกันนาน 15 ปี โดย THE LOVE ออกฉายในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนในวันที่ 12 ก.ค. 2008 ส่วน THE LOVE 2 ออกฉายในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนในวันที่ 11 พ.ย. 2023

 

 เราก็เลยสงสัยว่า มีหนังไทยเรื่องอื่น ๆ อีกไหมที่ภาคหนึ่งกับภาคสองออกฉายห่างจากกันนานกว่านี้ หรือว่าผู้ทำสถิติสูงสุดในด้านนี้ตอนนี้คือใคร

 

แต่ในบรรดาหนังต่างประเทศนั้น อย่างน้อย ๆ ก็มี

 

1. FARREBIQUE (1946, Georges Rouquier, France) กับ BIQUEFARRE (1983, Georges Rouquier, France) ที่ภาคสองออกฉายห่างจากภาคแรกนานถึง 37 ปี

 

2.หนังไตรภาคของ Claude Lelouch ที่ออกฉายห่างจากกันนานมาก A MAN AND A WOMAN (1966), A MAN AND A WOMAN: 20 YEARS LATER (1986) และ THE BEST YEARS OF A LIFE (2019) ที่ออกฉายห่างจากภาคสองนานถึง 33 ปี

 

137. LOVE COLOUR (2023, Anyaporn Tangsakulamporn  อัญญาภรณ์ ตั้งสกุลอำพร / 21.17 นาที, queer film, A+30)

 

138.  A LOVE LETTER TO MY SISTER (2023, Napasin Samkaewcham  นภสินธุ์ สามแก้วแจ่ม / 11.20 นาที, documentary, A+30)

 

หนักที่สุด สามารถฉายควบกับหนังชุด MENTAL-VERSE ของคุณ Wattanapume Laisuwanchai ได้เลย และสามารถฉายควบกับหนังเรื่อง CRY IN SILENCE (2006, J. G. Biggs, France, A+30) ได้ด้วย เพราะ CRY IN SILENCE ก็พูดถึง domestic violence ได้อย่างทรงพลังสุดขีดเหมือนกัน

 

139. LOVE TRIP ทริปนี้ฉันหลงรัก  (2023, Marisa Sonsena มาริสา ศรเสนา / 29.58 นาที, A+25)

 

เหมือนเป็นหนังที่ใช้ aesthetics เดียวกับหนังตลก mainstream ของไทย พวกหนังของหม่ำ จ๊กมก อะไรทำนองนี้ ซึ่งถ้าหากหนังเรื่องนี้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ เมเจอร์ สำโรง หรือ บิ๊กซี บางพลี เราก็คงจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่อง ปกติ แต่พอหนังเรื่องนี้มันมาฉายในเทศกาลหนังสั้นมาราธอน หนังเรื่องนี้มันก็เลย โดดเด่น ขึ้นมาเฉยเลย 555555 เพราะหนังส่วนใหญ่ที่ฉายในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนไม่ได้ใช้ aesthetics เดียวกับหนังของหม่ำ จ๊กมก

 

140. LUCID DREAM (2023, Narinrat Intasamakul นรินรัตน์ อินทะสะมะกุล / 7.11 นาที, political film, A+25)

 

หนังการเมืองที่พูดถึงการถูกบังคับสูญหาย หรือการอุ้มฆ่านักกิจกรรม

 

ดูแล้วนึกว่าสามารถฉายควบกับ JACOB’S LADDER (1990, Adrian Lyne) ได้ด้วย

****

 

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ เพิ่งสังเกตว่าหนังสองชุดนี้มีการสร้างภาคต่อที่ห่างจากกันนานหลายปีมาก

 

ลองดูใน Wikipedia แล้ว

 

อนึ่งคิดถึงพอสังเขป (1992), อนึ่งคิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 (1996) และ อนึ่ง คิดถึงเป็นอย่างยิ่ง (2010)  แสดงว่าภาคสามออกฉายห่างจากภาคสองนานราว 14 ปีค่ะ ซึ่งดิฉันยังไม่ได้ดูภาคสองเลย

 

ส่วนบุญชู 8 เพื่อเธอ (1995) กับ บุญชู 9 (2008) ออกฉายห่างจากกันนาน 13 ปีค่ะ

+++

 

YOJI, WHAT’S WRONG WITH YOU? (1987, Mako Idemitsu, Japan, 17min, A+30)

 

1.กราบตีนมาก ๆ ฉากที่คุณแม่แอบดูลูกชายวัยฉกรรจ์เปลือยกายอาบน้ำนี่คือรุนแรงที่สุด (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิดนะ)

 

2.ฉากคุณแม่ลูบคลำกางเกงในของลูกชายนี่ก็หนักที่สุด

 

3. ชอบไอเดียการใช้จอทีวีมาก ๆ ในแง่นึงเราก็รู้สึกราวกับว่ามันคือการบูชา Nam June Paik ผู้บุกเบิกวงการ VIDEO ART ที่ชอบทำอะไรเกี่ยวกับตัวเครื่องทีวี

 

4. การใช้จอทีวีมันทำให้เกิดผลคล้าย ๆ  split screen ด้วย แต่ไม่ใช่ split screen ที่เป็นแต่ละ frame ถูกแยกต่างหากจากกันอย่างเด็ดขาด แบบ TIMECODE (2000, Mike Figgis, A+30) แต่เป็นแบบ frame within frame ซึ่งมันก็เหมือนให้ผลทางจิตวิทยาหรืออารมณ์ที่แตกต่างจาก split screen แบบอื่น ๆ

 

ในแง่นึงก็ดูแล้วนึกถึงการใช้ split screen ในหนังบางเรื่องของ Peter Greenaway พวกหนังอย่าง PROSPERO’S BOOKS (1991, UK, A+30) ด้วย

 

5.แต่ที่เราชอบสุดขีดก็คือว่า ในขณะที่เรื่องนอกจอทีวีดูเหมือนจะเดินไปข้างหน้า เรื่องในจอทีวีกลับดูเหมือนจะเดินถอยหลังไปเรื่อย ๆ แบบเรื่องราวใน 5X2 (2004, François Ozon, France, A+30)

 

เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนหนักกว่า 5x2 เสียอีก เพราะเหมือนการเล่าเรื่องถอยหลังแบบ 5x2 เป็นแค่ครึ่งนึงของหนังเรื่องนี้เท่านั้น หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องแบบ “เดินหน้า” ไปด้วย และ “ถอยหลัง” ไปด้วยในเวลาเดียวกัน และทั้งสองส่วนนี้ก็ดูเหมือนสัมพันธ์กัน ส่งผลกระทบต่อกันและกันในทางจิตวิทยา

 

และเราก็คิดว่าประสบการณ์ชีวิตในอดีตของคนแต่ละคน มักจะหล่อหลอมตัวตนของคน และส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของคนแต่ละคนในปัจจุบัน เราก็เลยชอบการเชื่อมโยงอดีตและปัจจุบันด้วยวิธีการแบบในหนังเรื่องนี้มาก ๆ

 

6.ก็เลยกราบตีนวิธีการเล่าเรื่องของ Mako Idemitsu มาก ๆ ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง สุดขีดจริง ๆ

 

7.ดูแล้วนึกว่าเป็น antidote หนังของ Yasujiro Ozu ที่ “พ่อกับลูกสาว” มักจะมีความสัมพันธ์ทางใจกันแบบแปลก ๆ 555555

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ถึงวันที่ 31 ก.ค.

https://www.e-flux.com/film/616264/yoji-what-s-wrong-with-you/

 

 

 

 

 

 

No comments: