หนังที่ได้ดูในระยะนี้
1.มื้อค่ำ (ศิวโรจน์ คงสกุล, A+)
2.นักดนตรี (อุรุพงศ์ รักษาสัตย์, A+)
ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังเกี่ยวกับนักดนตรีอีกเรื่องนึงที่ชอบมากๆๆ นั่นก็คือเรื่อง THE CHRONICLE OF ANNA MAGDALENA BACH (1968, DANIELE HUILLET + JEAN-MARIE STRAUB, A)
3.THE AUDIENCE (ทศพล บุญสินสุข, A+)
4.วันที่ยาวนาน (อุรุพงศ์ รักษาสัตย์, A+)
“วันที่ยาวนาน” มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงชราคนหนึ่ง ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้นึกถึงดีวีดีหนังสารคดีเรื่องหนึ่งที่อยากดูอย่างสุดขีด นั่นก็คือเรื่อง SUNSET STORY (2003, LAURA GABBERT) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงชราสองคนที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราของกลุ่มนักปฏิวัติหัวรุนแรง!!!!
http://popmatters.com/film/reviews/s/sunset-story-dvd.shtml
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B0007M01N2/104-2378889-2775158
ส่วนหนังเกี่ยวกับคนแก่ชายที่อยากดูอย่างสุดขีดก็คือหนังสารคดีเรื่อง FIGHTER (2001, AMIR BAR-LEV) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายชราชาวเชคสองคนที่รอดชีวิตมาจากสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ทั้งสองต่างก็ต้องสูญเสียสมาชิกในครอบครัวไปในสงคราม แต่สิ่งที่ทำให้ทั้งสองมีเรื่องทะเลาะขัดแย้งกันก็คือผู้ชายคนหนึ่งถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเชคโกสโลวาเกียจับขังคุกในช่วงหลังสงคราม แต่อีกคนหนึ่งเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
AMY TAUBIN เคยเขียนถึงหนังเรื่อง FIGHTER ไว้อย่างดีมากๆในเว็บไซท์ VILLAGE VOICE ค่ะ อ่านบทวิจารณ์ของเธอได้ที่
http://www.villagevoice.com/film/0134,taubin,27439,20.html
GERALD PEARY เคยเขียนถึง FIGHTER ด้วยเช่นกัน อ่านงานเขียนของเขาได้ที่
http://www.geraldpeary.com/reviews/def/fighter.html
5.เสือร้องไห้ (2005, สันติ แต้พานิช, A+)
6.ท่วงท่าพระจันทร์ (ภัทรศรันย์ เจนการ, A+/A)
7.Echo (วีรชาติ งามศิลป์, A+/A)
8.Box (มานุสส วรสิงห์, A+/A)
9.Stray dog (ศศิธร สกุลชัยสิริวิช, A)
10.ย้อนกลับ (ดิษพงศ์ วงศ์อร่าม, A)
11.THE ISLAND (2005, MICHAEL BAY, B+)
DESIRABLE ACTOR
เนตร อินทรีเหล็ก—เสือร้องไห้
FAVORITE SUPPORTING ACTOR/ACTRESS
ทัตเทพ ทองทาบ—รักไม่รู้จบ + สิ่งสุดท้าย
ลุค เมบลี พระเอก THE PRINCE AND ME น่ารักดี แต่ดิฉันก็ไม่ได้ติดใจมากเหมือนกัน เขาเกิดปี 1976 และเคยแสดงภาพยนตร์กับละครโทรทัศน์เรื่อง 28 Days Later, Uprising, In the Begining, Dream Team และ Holby City
http://www.agirlsworld.com/rachel/hangin-with/pix/princeluke.jpg
เอารูปของเจ้าชายตัวจริงมาให้ดูเปรียบเทียบค่ะ อันนี้เป็นรูปของเจ้าชาย FREDERIK แห่งเดนมาร์กที่เคยเสด็จมาเที่ยวเมืองไทยเมื่อหลายปีก่อน
http://worldroots.com/brigitte/gifs2/frederikdenmark2.jpg
อันนี้เป็นรูปของเจ้าชาย JOACHIM ที่เป็นพระอนุชาของเจ้าชาย FREDERIK
http://worldroots.com/brigitte/gifs2/joachimdenmark.jpg
คิดว่า MARTHA COOLIDGE ผู้กำกับ THE PRINCE AND ME (B-) น่าสนใจดีเหมือนกันค่ะ ดิฉันเคยประทับใจกับหนังเรื่อง RAMBLING ROSE (1991, A) ที่เธอกำกับ ลอรา เดิร์น แสดงได้ดีมากในหนังเรื่องนั้น
http://www.imdb.com/name/nm0004838/
มาร์ธา คูลิดจ์เคยกำกับหนังอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ นั่นก็คือหนังเรื่อง NOT A PRETTY PICTURE (1975) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตจริงของมาร์ธา คูลิดจ์เองที่เคยถูกข่มขืนขณะอายุ 16 ปี นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังผสมผสานหนังสารคดีกับหนังเรื่องแต่งเข้าด้วยกัน โดยนักแสดงหญิงที่มารับบทเป็น “มาร์ธา คูลิดจ์” ในหนังเรื่องนี้ ก็เคยถูกข่มขืนในชีวิตจริงด้วยเช่นกัน
(หนังอีกเรื่องหนึ่งที่มีความใกล้เคียงกับ NOT A PRETTY PICTURE ก็คือหนังเรื่อง THINGS BEHIND THE SUN (2001) ที่กำกับโดยแอลลิสัน แอนเดอร์ส และมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตจริงของแอลลิสัน แอนเดอร์สที่เคยถูกรุมข่มขืน)
http://www.imdb.com/title/tt0245501/
เห็นหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเคยลงข้อมูลเกี่ยวกับมาร์ธา คูลิดจ์ไว้ด้วยค่ะ ก็เลยก็อปปี้ข้อมูลจากนสพ.กรุงเทพธุรกิจมาให้อ่าน
ผลงานกำกับเรื่องอื่นๆของคูลิดจ์ได้แก่ The Ponder Heart, The Flamingo Rising, If These Walls Could Talk 2, Out to Sea, Three Wishes, Angie, Lost in Yonkers, Crazy in Love (1992), Bare Essentials, Trenchcoat in Paradise, Plain Clothes, Real Genius, Joy of Sex และ City Girl
Valley Girl (1983) ที่กำกับโดยคูลิดจ์ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มและหญิงสาวที่มาจากพื้นเพที่แตกต่างกันเช่นกัน โดยนางเอกของเรื่องนี้คือจูลี (เดบอราห์ โฟร์แมน) เธอมีแฟนหนุ่มอยู่แล้วชื่อทอมมี (ไมเคิล โบเวน) แต่ทอมมีเป็นคนที่โง่มาก ดังนั้นจูลีจึงเปลี่ยนใจไปคบหากับแรนดี (นิโคลัส เคจ) หนุ่มพังค์จากฮอลลีวู้ดที่อัธยาศัยดีและรักการผจญภัย
อย่างไรก็ดี เพื่อนๆของจูลีคิดว่าจูลีควรคบหากับชายหนุ่มที่มาจากละแวกเดียวกัน และในเวลาไม่นานจูลีก็ต้องตัดสินใจว่าเธอควรทำตามสิ่งที่หัวใจของตัวเองเรียกร้อง หรือทำตามสิ่งที่เพื่อนๆต้องการเพื่อที่ว่าตัวเองจะได้เป็นหนึ่งในหญิงสาวที่ป็อปปูลาร์ที่สุดในโรงเรียนต่อไป
Valley Girl ใช้ทุนสร้างเพียง 35,000 ดอลลาร์ และมีพล็อตเรื่องบางส่วนคล้ายกับโรมีโอและจูเลียต อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์ให้ความเห็นว่า Valley Girl โดดเด่นกว่าภาพยนตร์ในทศวรรษ 1980 เรื่องอื่นๆที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้พูดถึงคนสองคนที่ต้องการจะอยู่ด้วยกัน ถึงแม้คนรอบข้างพร่ำบอกว่าพวกเขาไม่สามารถทำเช่นนั้น และพูดถึงความเจ็บปวดที่ทั้งสองได้รับจากคนรอบข้าง
โรเจอร์ อีเบิร์ต นักวิจารณ์ชื่อดังของชิคาโก ซัน-ไทม์ส ระบุว่า Valley Girl เป็นหนึ่งในภาพยนตร์เกี่ยวกับวัยรุ่นที่ยอดเยี่ยมที่สุดและเข้าใจวัยรุ่นมากที่สุดในยุคนั้น เนื่องจากคูลิดจ์ปล่อยให้ตัวละครในภาพยนตร์ของเธอมีอิสระมากพอที่จะเป็นตัวของตัวเอง แทนที่จะเป็นตัวละครวัยรุ่นที่พบเห็นได้อย่างดาษดื่นทั่วไป
นักวิจารณ์ยังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า Valley Girl มีอิทธิพลในการทำให้คำสแลงบางคำในยุคนั้นกลายเป็นคำฮิตที่คนใช้กันทั่วไปจนกระทั่งคนไม่คิดว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่แปลกหูอีกต่อไปในปัจจุบัน และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังใช้ดนตรีนิวเวฟหลายเพลงมาเป็นเพลงประกอบ ซึ่งส่งผลให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีคุณค่าอย่างมากต่อผู้ชมที่ต้องการหวนรำลึกถึงบรรยากาศยุคต้นทศวรรษ 1980
เพลงประกอบ Valley Girl รวมถึงเพลงของวงโมเดิร์น อิงลิช, สปาร์คส์, เดอะ ไซคีดีลิค เฟอร์ส และเมน แอท เวิร์ค
นอกจาก Valley Girl แล้ว ภาพยนตร์ดังอีกเรื่องของคูลิดจ์คือ Real Genius (1985) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมิทช์ (เกบ จาร์เรท) นักเรียนไฮสกูลที่ฉลาดปราดเปรื่องมาก โดยเขานำทฤษฎีเทคโนโลยีลำแสงเลเซอร์มาวิเคราะห์ใหม่และนำผลงานของเขาไปแสดงในงานโชว์ทางวิทยาศาสตร์
ศาสตราจารย์แฮธาเวย์ (วิลเลียม แอเธอร์ทัน) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนฟิสิกส์ชื่อดังต้องการเด็กมาช่วยงานในห้องทดลองส่วนตัว และเขาชวนให้มิทช์มาทำงานให้กับเขา และเมื่อมิทช์ได้เข้าไปในมหาวิทยาลัย เขาก็ได้รู้จักกับคริส ไนท์ (วาล คิลเมอร์) หนึ่งในนักศึกษาปี 1 ที่ฉลาดที่สุด โดยเขากับไนท์ได้พักอยู่ในห้องเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่ามีบุคคลที่ 3 อยู่ในห้องนั้นด้วย โดยคนนี้ไว้เครา, ทำตัวแปลกประหลาด และชอบปรากฏตัวในลักษณะที่คล้ายกับผี อีกทั้งยังชอบหายตัวด้วยการเดินเข้าไปในตู้เสื้อผ้า
ไนท์และมิทช์ไม่รู้ความจริงที่ว่าแฮธาเวย์ทำสัญญาลับกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐเพื่อพัฒนาอุปกรณ์เลเซอร์ที่สามารถยิงจากอวกาศลงมายังพื้นโลกเพื่อเผาร่างมนุษย์บนโลกได้อย่างแม่นยำ และแฮธาเวย์ใช้นักศึกษาของเขาทำงานในโครงการนี้ ส่วนตัวเองก็นำเงินที่ได้จากรัฐบาลไปสร้างบ้านใหม่
Real Genius ได้รับรางวัลกรังด์ปรีซ์และรางวัลดารานำชายยอดเยี่ยม (จาร์เรท) จากเทศกาลภาพยนนตร์ปารีส
SENSES OF CINEMA ลงบทความใหม่ๆที่น่าสนใจไว้ด้วยค่ะ ซึ่งรวมถึง
1.MICHAEL BRYNNTRUP
http://www.imdb.com/name/nm0117428/
http://www.brynntrup.de/
ไมเคิล บรินน์ทรุปเป็นผู้กำกับหนังเกย์ชาวเยอรมันที่เคยมาเยือนกรุงเทพในช่วงราวเดือนธ.ค.ปี 2001 เพราะมีการจัดงาน RETROSPECTIVE หนังของเขาที่กรุงเทพในตอนนั้น
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับไมเคิล บรินน์ทรุปก็คือว่า เขามักได้ทุนในการกำกับหนังเกย์จาก “รัฐบาล” ของรัฐต่างๆในเยอรมนี
เมื่อปีที่แล้วก็ได้ข่าวว่าโรซ่า วอน เพราน์ไฮม์ ได้ทุนในการกำกับ “หนังเกี่ยวกับเกย์ที่เป็นฆาตกรโรคจิต” จากรัฐบาลของบางรัฐในเยอรมนีเหมือนกัน
อ่านบทความเกี่ยวกับไมเคิล บรินน์ทรุปได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/05/36/michael_brynntrup.html
หนังของไมเคิล บรินน์ทรุปที่เคยมาฉายในกรุงเทพ (ถ้าจำไม่ผิด)
1.1 THE HIERONYMUS – DEATH DANCE 6 (1989, A+)
1.2 AIDE MEMOIRE – GAY DOCUMENT FOR REMEMBERING (1995, A)
1.3 THE STATICS – ENGINEERING MEMORY BRIDGES (1990, A)
1.4 ACHTUNG (2001, A)
1.5 ALL YOU CAN EAT (1993, A)
1.6 NY ‘NY ‘N WHY NOT (1999, B+)
1.7 LOVE, JEALOUSY AND REVENGE (1991, B+)
2.THE INTRUDER ของ CLAIRE DENIS
http://www.sensesofcinema.com/contents/05/36/intrus.html
3.บทวิจารณ์หนังสือ ANDY WARHOL’S BLOW JOB ที่เขียนโดย ROY GRUNDMANN
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/1566399726/qid=1122066861/sr=8-1/ref=sr_8_xs_ap_i1_xgl14/104-2378889-2775158?v=glance&s=books&n=507846
http://www.sensesofcinema.com/contents/books/05/36/blow_job.html
4.A CANTERBURY TALE (1944, MICHAEL POWELL + EMERIC PRESSBURGER, A+)
http://www.sensesofcinema.com/contents/cteq/05/36/canterbury_tale.html
Saturday, July 23, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment