Friday, December 08, 2006

ALTMAN WITTGENSTEIN MULVEY

ตอบคุณ FILMSICK เรื่อง FEAR OF FEAR
http://filmsick.exteen.com/20061202/fear-of-fear

ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้เลย แต่คุณ FILMSICK บรรยาย IRM HERMANN ได้เห็นภาพมากๆ

เห็นบอกว่านางเอกหนังเรื่องนี้มักเห็นภาพหลอนราวกับสรรพสิ่งรอบข้างปรากฏอยู่ใต้น้ำ ก็เลยทำให้นึกถึงหนังเรื่อง BREAKFAST OF CHAMPIONS (1999, ALAN RUDOLPH, B+/B) ที่พระเอกมักเห็นภาพหลอนเหมือนกัน นอกจากนั้น พระเอก BREAKFAST OF CHAMPIONS ยังมีลักษณะคล้ายนางเอก FEAR OF FEAR นิดนึงด้วย นั่นก็คือเขาน่าจะเป็นคนที่มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไปและชีวิตครอบครัว แต่จริงๆแล้วเขากำลังจะกลายเป็นบ้า

BREAKFAST OF CHAMPIONS ไม่ใช่หนังดีเท่าไหร่ แต่ก็แปลกกว่าหนังฮอลลีวู้ดโดยทั่วไป หนังไม่สนุก แต่แปลกดี



--เห็นคุณ OLIVER เขียนถึง ROBERT ALTMAN ไว้ใน BLOG นี้
http://riverdale-dreams.blogspot.com/2006/11/in-memoriam-robert-altman.html

ก็เลยขอจัดอันดับหนังของ ROBERT ALTMAN (1925-2006) ตามความชอบของตัวเองบ้าง
http://www.imdb.com/name/nm0000265/

1.STREAMERS (1983, A+)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับทหารเกย์ และมีความเป็นละครเวทีสูงมาก เนื้อหาเกือบทั้งเรื่องเกิดขึ้นในห้องนอนรวมของทหาร และให้ทหารพูดคุยกันไปเรื่อยๆ ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างเพื่อนทหารค่อยๆทวีสูงขึ้นเรื่อยๆจนมาถึงจุดระเบิดในที่สุด

ได้ดูหนังเรื่องนี้ทางช่อง 7


2.READY TO WEAR (1994, A+)
ปัจจัยที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มากอาจจะเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้มันดู “แร่ด” มากๆ หนังเต็มไปด้วยตัวละครแร่ดๆมากมาย และตัวละครในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนจะมีอิทธิฤทธิ์สูงยิ่งกว่าตัวละครใน THE DEVIL WEARS PRADA (2006, DAVID FRANKEL, A) เสียอีก แต่นั่นเป็นเพราะว่า THE DEVILS WEARS PRADA นำเสนอตัวละครในแบบที่ค่อนข้างสมจริง ในขณะที่ตัวละครใน READY TO WEAR ดูโอเวอร์จนฮามากๆ

READY TO WEAR คือการรวมดาวสาวแรงครั้งสำคัญที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์การดูหนังของดิฉัน ดาราที่มาประชันบทบาทกันในหนังเรื่องนี้มีตั้งแต่ SOPHIA LOREN, KIM BASINGER, CHIARA MASTROIANNI, ANOUK AIMEE (สง่ามาก), ROSSY DE PALMA, LILI TAYLOR, JULIA ROBERTS, LAUREN BACALL, TRACEY ULLMAN, SALLY KELLERMAN, LINDA HUNT, TERI GARR และฉากที่ดิฉันชอบที่สุดในเรื่องนี้คือฉากที่ SALLY KELLERMAN, TRACEY ULLMAN กับ LINDA HUNT ตบตีกันเพื่อแย่งชิง STEPHEN REA


3.THE PLAYER (1992, A+)
ได้ดูทางช่อง 7 เหมือนกัน ชอบการล้อตัวเองของจูเลีย โรเบิร์ตส์ กับบรูซ วิลลิสในหนังเรื่องนี้มากๆ

4.GOSFORD PARK (2002, A+)

5.THE COMPANY (2003, A)

6.KANSAS CITY (1996, A)
การประชันบทบาทครั้งสำคัญระหว่าง MIRANDA RICHARDSON กับ JENNIFER JASON LEIGH นอกจากนี้ โครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้ก็ให้ความรู้สึกน่าฉงนไม่แพ้ดนตรีแจซในหนังด้วย

7.COOKIE’S FORTUNE (1999, A-/B+)

8.DR. T AND THE WOMEN (2000, B+)
ชอบตอนจบของเรื่องนี้มาก และหนังเรื่องนี้ก็เปิดโอกาสให้ฟาราห์ ฟอว์เซ็ตต์ ได้แสดงบทบาทอันน่าประทับใจอีกครั้งในรอบสิบกว่าปี

9.ARIA: LES BOREADES (1987, B+/B)



--เห็นคุณ homogenic บอกว่า BJORK มาร่วมงานในเพลง ROSES AND TEETH FOR LUDWIG WITTGENSTEIN ในอัลบัมของ MATMOS ด้วย
http://celinejulie.blogspot.com/2006/12/i-die-therefore-i-am.html#comments

ลองไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับเพลงนี้ดู พบว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับอัลบัมชุด THE ROSE HAS TEETH IN THE MOUTH OF A BEAST ของ MATMOS อยู่ในเว็บไซท์นี้ด้วย
http://brainwashed.com/matmos/discog/ole677.html

ลุดวิก วิทท์เกนสไตน์ (1889 - 1951) ที่อยู่ในเพลงของ MATMOS FEATURING BJORK เป็นเกย์และเป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่สำคัญที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดในด้านภาษาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 หนังสือเล่มแรกๆของเขาที่มีชื่อว่า "Tractatus Logico-Philosophicus" ได้กลายเป็นหลักการสำคัญของกลุ่มนักปรัชญาสาย LOGICAL POSITIVISM ในกรุงเวียนนา โดยผลงานชิ้นนี้มีคำประกาศชิ้นสำคัญในช่วงท้ายที่ระบุว่า "That of which we cannot speak we must pass over in silence"

วิทท์เกนสไตน์ปรับเปลี่ยนแนวคิดของตัวเองในเรื่องภาษาในเวลาต่อมา และคำสอนของเขาในช่วงหลังๆ อย่างเช่นในหนังสือ ON CERTAINTY และ PHILOSOPHICAL INVESTIGATIONS ได้กลายเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับหลักปรัชญาแนว ORDINARY LANGUAGE PHILOSOPHY

วง MATMOS ตัดสินใจสร้างบทเพลงเกี่ยวกับวิทท์เกนสไตน์ โดยเน้นการใช้เสียงฟันกระทบกัน โดยทางวงได้ไอเดียมาจากคำพูดของวิทท์เกนสไตน์ที่อยู่ในหนังสือ CULTURE AND VALUE ที่ว่า

“เมื่อผมจินตนาการถึงงานดนตรีชิ้นหนึ่ง เหมือนที่ผมทำเป็นประจำในทุกๆวัน ผมก็มักจะนำฟันบนกับฟันล่างของผมมาเสียดสีกันเป็นจังหวะเพลง ผมสังเกตว่าผมมักจะทำเป็นเช่นนี้เป็นประจำโดยไม่รู้ตัว และสิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือว่า ดูเหมือนว่าตัวโน้ตเพลงในจินตนาการของผมนั้นมีต้นกำเนิดมาจากความเคลื่อนไหวนี้ ผมเชื่อว่านี่อาจจะเป็นแนวทางที่ธรรมดามากๆแนวทางหนึ่งในการจินตนาการถึงเสียงดนตรีข้างในใจเรา แน่นอนว่าผมสามารถจินตนาการถึงดนตรีได้โดยไม่ต้องขยับฟันของตัวเองเช่นกัน แต่ถ้าหากผมทำเช่นนั้นตัวโน้ตมันก็จะล่องลอยจนจับต้องไม่ได้เป็นอย่างมาก เสียงของมันจะเบลอมาก และจะเปล่งเป็นเสียงออกมาได้ยากกว่ามาก”

ทางวง MATMOS ขอขอบคุณ ERIKA CLOWES ผู้ให้ยืมฟันคุดของเธอที่ถูกถอนออกมาเพื่อนำมาใช้ในการทำเพลงนี้ และทางวงยังขอขอบคุณเกษตรกรในเซบาสโตโพลที่อนุญาตให้ทางวงมาบันทึกเสียงวัวขณะกินอาหารด้วย

รูปของ WITTGENSTEIN นักปรัชญาเกย์ชื่อดัง
http://www.sbg.ac.at/phs/alws/pics/wittgenstein2-big.jpg

ปกวิดีโอ WITTGENSTEIN (1993, DEREK JARMAN, A-)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00004CNHH.02._SS500_SCLZZZZZZZ_V1131634979_.jpg

รูปของ TILDA SWINTON ในภาพยนตร์เรื่อง WITTGENSTEIN
http://www.filmmakermagazine.com/fall1993/images/Wittgenstein2.jpg

บทความเกี่ยวกับหนังเรื่อง WITTGENSTEIN
http://www.filmmakermagazine.com/fall1993/company_saints.php

ปก TRACTACUS LOGICO-PHILOSOPHICUS ของ WITTGENSTEIN
http://ec2.images-amazon.com/images/P/2070707733.08._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056542231_.jpg


ปก PHILOSOPHICAL INVESTIGATIONS ของ WITTGENSTEIN
http://ec3.images-amazon.com/images/P/0631231277.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1137437954_.jpg

The last product of intensive work by Wittgenstein during the period 1929-49, Philosophical Investigations explores the concept of meaning; of understanding; of propositions; of logic; of states of consciousness; and of many other topics. The fundamental ideas of the Tractatus are both expounded and criticized.


ปก ON CERTAINTY ของ WITTGENSTEIN
http://ec1.images-amazon.com/images/P/0061316865.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1128585542_.gif

หนังสือ ON CERTAINTY นี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สุดในการศึกษาปรัชญาสาย EPISTEMOLOGY นับตั้งแต่ CRITIQUE OF PURE REASON ของ IMMANUEL KANT เป็นต้นมา

ปกหนังสือ CRITIQUE OF PURE REASON
http://ec1.images-amazon.com/images/P/0312450109.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1122533777_.gif

http://www.amazon.com/gp/product/customer-reviews/0312450109

Kant does deserve a central place in modern Philosophy alongside Hume, Berkeley, Liebnitz, and Spinoza. The Critique of Pure Reason is Kant's central work and essential to comprehending Kant's overall goal of reconciling philosophical idealism and empiricism while at the same time retaining adequate grounds for the three great questions which confront all rational beings: 1) What should I do? 2) What can I know? 3) What can I hope for? Kant gives the answers to these questions as freedom, immortality, and knowledge, however in Kant's view all the metaphysical systems of philosophy and their pretentions to provide 'certain' knowledge about these things had all failed, and failed decisively.


อันนี้เป็นปกหนังสือ READINGS OF WITTGENSTEIN’S ON CERTAINTY ซึ่งช่วยอธิบายถึงคุณค่าของหนังสือ ON CERTAINTY
http://ec2.images-amazon.com/images/P/1403944490.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1109907271_.jpg

This is the first collection of papers devoted to Ludwig Wittgenstein's cryptic but brilliant, On Certainty. The essays have been grouped under four headings, reflecting current approaches to the work: the Framework, Transcendental, Epistemic, and Therapeutic readings.


อันนี้เป็นรูปของ BERTRAND RUSSELL นักปรัชญาชื่อดังที่เป็นอาจารย์ของ WITTGENSTEIN
http://www.todayinliterature.com/assets/photos/r/russell-bertrand-190x237.jpg
http://www.luanaart.net/Bertrand_Russell.jpg


เห็นชื่อหนังสือ ON CERTAINTY แล้ว ทำให้นึกถึงหนังสือดังสองเล่มในช่วงนี้ ซึ่งก็คือหนังสือ

1.ON BULLSHIT ของ HARRY G. FRANKFURT
http://www.smu.edu/cte/images/reading_circle_pics/On%20Bullshit.jpg

http://www.amazon.co.uk/Bullshit-Harry-G-Frankfurt/dp/0691122946/sr=1-1/qid=1165508961/ref=sr_1_1/026-2198429-8760468?ie=UTF8&s=books

Most people are rather confident of their ability to recognize bullshit and to avoid being taken in by it. So the phenomenon has not aroused much deliberate concern. We have no clear understanding of what bullshit is, why there is so much of it, or what functions it serves. And we lack a conscientiously developed appreciation of what it means to us.


2.ON TRUTH ของ HARRY G. FRANKFURT
http://ec1.images-amazon.com/images/P/030726422X.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V62525096_.jpg



ตอบคุณ DR. SYNTAX

คิดว่าถ้ามีโอกาสคงจะไปซื้ออัลบัมของ KATSUE กับ SPIRITUALIZED มาฟังค่ะ ตอนนี้มีอัลบัมที่อยากซื้อหลายชุดมาก ดีใจมากค่ะที่คุณ DR. SYNTAX ชอบเพลง BROKEN HEART เหมือนกัน



ตอบคุณ pc

พูดถึง JOHN LENNON แล้ว ดิฉันก็นึกถึงหนึ่งในภาพยนตร์ที่อยากดูที่สุดแต่ยังไม่ได้ดูค่ะ นั่นก็คือภาพยนตร์ความยาว 77 นาทีเรื่อง RAPE (1969) ที่กำกับโดย YOKO ONO และ JOHN LENNON ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องอย่างมากจากนักวิจารณ์บางคนว่าเป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซชิ้นเอกที่ควรได้รับการจดบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
http://hosting.zkm.de/ctrlspace/e/texts/40
http://www.imdb.com/title/tt0256305/

RAPE เป็นภาพยนตร์ที่แทบไม่มีเนื้อเรื่องหรือบทสนทนาเลยตลอดทั้งเรื่อง โดยในเรื่องนี้เราจะเห็นตากล้องชายกลุ่มหนึ่งเล็งหาหญิงสาวสวยๆสักคนตามท้องถนน ก่อนที่จะไล่ตามถ่ายภาพหญิงสาวคนนั้น และสะกดรอยตามหญิงสาวสวยคนนั้นไปจนถึงข้างในอพาร์ทเมนท์ของเธอ ขณะที่หญิงสาวสวยคนนั้นเริ่มมีอาการหวาดกลัวมากขึ้นเรื่อยๆ

นักวิจารณ์ให้ความเห็นว่า RAPE มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง อย่างเช่น การสะท้อนภาพของจอห์น เลนน่อนและโยโกะ โอโนะที่ตกเป็นเหยื่ออันน่าสงสารของสื่อมวลชนในยุคนั้น และการบังคับให้ผู้ชมต้อง IDENTIFY ตัวเองกับสายตาของเพศชายที่จับจ้องมองสาวสวย และทำให้ผู้ชมรู้สึกทั้งสนุกตื่นเต้นและรู้สึกไม่สบายใจที่ตัวเองต้อง IDENTIFY กับคนไม่ดีในเวลาเดียวกัน

ภาพยนตร์เรื่อง RAPE สอดคล้องเป็นอย่างมากกับทฤษฎีของ LAURA MULVEY ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์และนักคิดชื่อดัง ที่เคยเขียนเรียงความ VISUAL PLEASURE AND NARRATIVE CINEMA (1975) ที่พูดถึงการที่ภาพยนตร์ถูกใช้แทนสายตาของผู้ชาย

Laura Mulvey argued that the cinematic apparatus of classical Hollywood cinema inevitably put the spectator in a masculine subject position, with the figure of the woman on screen as the object of desire. In the era of classical Hollywood cinema, viewers were encouraged to identify with the protagonist of the film, who tended to be a man. Meanwhile, Hollwood female characters of the 1950s and 60s were, according to Mulvey, coded with "to-be-looked-at-ness." Mulvey suggests that there were two distinct modes of the male gaze of this era: "voyeuristic" (i.e. seeing women as 'madonnas') and "fetishistic" (i.e. seeing women as 'whores').
http://en.wikipedia.org/wiki/Laura_Mulvey

JONAS MEKAS ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่อง RAPE ว่า
»Two things are interesting to watch as the film progresses - one is the girl… and the other is the audience.«



ตอบน้อง merveillesxx

--ได้เข้าไปดูมิวสิควิดีโอ PRIDE ของ AYUMI HAMASAKI แล้ว รู้สึกชอบช่วงแรกๆของ MV นี้มากๆ ที่แทบไม่มีการตัดภาพเลย รู้สึกว่าตั้งแต่นาทีที่ 00:24 จนถึง 02:00 กล้องจะไม่ตัดภาพ แต่ฉายให้เห็นหน้าอายูมิขณะแต่งหน้าทำผมอยู่ใต้สะพาน (หรือเปล่า) จนกระทั่งเธอค่อยๆเดิน

แต่หลังจากนั้นกล้องก็ตัดสลับภาพไปมาระหว่างฉากเธออยู่ใต้สะพานกับฉากเธอเล่นน้ำครำ รู้สึกว่า MV ช่วงนี้ไม่ค่อยมีพลังเท่าไหร่ สู้ช่วงแรกๆไม่ได้

เห็นหน้าของอายูมิแล้ว อยากให้มีมิวสิควิดีโอที่จับภาพเธอขณะแต่งหน้าทำผมไปเรื่อยๆตลอด 4 นาทีเต็มโดยไม่ตัดภาพเลย โดยให้อายูมิทำหน้าเย่อหยิ่งจองหองหรือทำหน้าตอแหลไปเรื่อยๆตลอด 4 นาทีเต็ม คิดว่าใบหน้าของอายูมิเพียงอย่างเดียวก็สามารถเอาผู้ชมได้อยู่หมัดตลอด 4 นาทีเต็มแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการตัดภาพเข้าช่วยแต่อย่างใด (หรือว่าเด็กรุ่นใหม่สมาธิสั้น มิวสิควิดีโอก็เลยต้องตัดภาพบ่อยๆ อันนี้ก็ไม่รู้เหมือนกัน)

--ได้ลองเข้าไปดูมิวสิควิดีโอ JUST ของ RADIOHEAD แล้ว ชอบมากๆเหมือนกันค่ะ จัดเป็นหนังสั้นที่สมบูรณ์แบบได้เรื่องนึงเลย ดูแล้วนึกไปถึงละครทีวีชุด TWILIGHT ZONE ตอนนึงทีมีชื่อว่า NEED TO KNOW (1986, PAUL LYNCH, A+++++) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายคนนึงที่เพิ่งกลับมาจากอินเดีย (ถ้าจำไม่ผิด) เขากลับมาเยี่ยมหมู่บ้านแห่งหนึ่งในชนบท และบอกสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากอินเดียให้แก่คนที่เขาพบในหมู่บ้าน แต่ใครก็ตามที่ได้ฟัง “สิ่งนั้น” จะกลายเป็นบ้าไปในทันที และคนที่ได้รับรู้ “สิ่งนั้น” ก็จะไปบอกคนอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ และจำนวนคนบ้าในหมู่บ้านก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดเหตุการณ์ก็ถึงขั้นวิกฤติ เมื่อดีเจวิทยุคนนึงได้รับฟัง “สิ่งนั้น” และถ้าหากดีเจวิทยุพูดสิ่งนั้นออกอากาศไป จำนวนคนบ้าก็อาจจะเพิ่มขึ้นจากร้อยคนเป็นหลายหมื่นคนได้ในทันที

หลังจากดู NEED TO KNOW จบลง ผู้ชมก็จะไม่ได้รู้ว่า “สิ่งนั้น” คืออะไร บางทีมันอาจจะเป็นสัจธรรมอันสูงสุดของชีวิต หรือเป็นคำตอบของคำถามที่ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไรก็เป็นได้
http://tzone.the-croc.com/ntzeplist/need.html

No comments: