Filmsick wrote in Thai about his ideas on THE NEW CINEMA, OF WHICH THE CHAMPIONS ARE KEREN CYTTER, NICOLAS PROVOST, AND RAYA MARTIN. I copied his comments from Bioscope webboard:
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=1462.90
ตอบ มาดาม MdS
จริงๆเราก็ไม่แน่ใจว่าเราจะพิสูจน์สิ่งที่เราพูดเกี่ยวกับNEW CINEMA ได้มากแค่ไหน เพราะบางทีมันอาจเป็นเพียงความรู้สึกของการเลาะตะเข็บจากหนังหลายๆเรื่องที่ได้ดูแล้วรู้สึกว่ามันนำพาไปสู่สิ่งใหม่
ลองมาไล่เรียงความคิดตัวเองดูอีกที เราลองตั้งเส้นว่าเริ่มจากเรามีหนังเกิดขึ้นมา จากภาพสั้นๆของพี่น้องลูมิแยร์ แล้วมันก็พัฒนาการเล่าเรื่องของมันไป เราอาจจะบอกว่าหนังเล่นกับหนังเรื่องแรกๆ อาจเป็นSHERLOCK Jr.ขอคีตัน ที่มีการเดินเข้าไปในหนัง ซึ่งทำให้เรายอมรับว่าหนังเป็นอีกพรมแดนหนึ่งที่มีตัวตนจริงๆ จากนั้นหนังมันก็พัฒนาตัวเองมา (เราเดาว่าต้องมีการพัฒนาเกี่ยวกับรูปแบบของมันมากมายในยุคอวองการ์ด หรือในหนังของแบรคเคจ แต่พอมันมาถึงจุดแตกหักในยุคหกสิบ (อันนี้เราคิดเองเพราะโดยแท้มันก็คือการสะสมขุมกำลังจากหนังรุ่นก่อนหน้าที่ค่อยๆขยายขอบเขตจากสิ่งที่เรียกว่า GENRE (สำหรับเราการมีอยู่ของGENRE คือการทำให้หนังกลายเป็นหนัง โดยแยกขาดออกจากความจริงโดยสัมบูรณ์)
แต่คนอย่างโกดาร์ด(ที่เอาGENRE มาสับเปลี่ยนทำใหม่ ชี้ให้เห็นว่ามันมีช่องโหว่ หรือมีความเป็นหนังขนาดไหน เราก็เลยอดคิดไม่ได้ว่าประโยค 'หนังยังเล่นหนังไม่เป็น'เป็นประโยคที่เข้าท่ามาก ซึ่งในอีกทางหนึ่งเราว่าหนังโกดาร์ด คือตัวแทนของหนังอิงหนัง ) แล้วก็มี รอบบ์ กรีเยต์ หรือ ดูราส์ ที่ทำลายขนบของการเล่าเรื่องโดยย้อนทวนเล่าใหม่หลายเวอร์ชั่น เป็นการแสดงให้เห็นว่าหนังนั้นนั้นเป็นพรมแดนหลายมิติ และมีฟังก์ชั่นมากกว่าการเป็นหนังเล่าเรื่อง
ลองอธิบายความเป็น 'หนังอิงหนัง'ดู เราว่าหนังอิงหนังคือหนังที่ตัวมันเองจะไม่มีอยู่เลยถ้าไม่มีหนังเรื่องก่อนหน้า หน้าที่หลักของมันเป็นไปเพื่อยั่วล้อ ตั้งคำถาม คารวะหนังที่มีอยู่ก่อน ความหมายของมันจะสมบูรณ์เมื่อเราเทียบมันกับหนังที่มีอยู่มาก่อนไม่อย่างนั้นมันจะไม่สมบูรณ์ หนังอิงหนัง ก็อาจจะรวมถึงหนังบูชาหนัง หนังล้อ ทั้งหลายทั้งปวง
ทีนี้ก็มาถึงGRINDHOUSE เราเดาว่า มันต้องมีหนังแบบนี้มาก่อนแต่เราไม่เคยดูหรือถ้าเคยดูก็ไม่ได้กระตุ้นจิตใจเราเท่าGRINDHOUSE เพราะGRINDHOUSE ไม่ได้เป็นแค่หนังอิงหนังแล้ว แต่มัน อิงกับวัฒนธรรมการดูหนังด้วย การขูดฟิล์มให้เป็นรอย หรือการทำฟิล์มขาด การมี missing reel มันไม่ได้เกิดจากตัวหนังโดยตรง มันเกิดจากวัฒนธรรมการดูหนังในโรงหนังไดรฟ์อิน อีกที อย่าเราจะบอกว่า ฟ้าทะลายโจรเป็นหนังในกลุ่มนี้ก็ได้ เพราะการย้อมสีมันอิงอยู่กับวัฒนธรรมการดูหนังของคนยุคหลังที่ต้องดูหนังผ่านฟิล์มที่เสื่อมสภาพ ซึ่งหนังที่อิงวัฒนธรรมการดูหนังพวกนี้มันทำให้เห็นว่าหนังได้สถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง (เรียกว่าสถาบันได้ไหม?) และมันพิสูจน์ว่าการดูหนังไม่ได้เป็นเรื่องบันเทิง มันยืนระยะจนเป็นวัฒนธรรมและมีความแตกกิ่งสาขาออกไปต่างกันในแต่ละพื้นที่
แต่พอมาถึงหนังอย่างของKEREN CYTTER / NICHOLAS PROVOST หรือ RAYA MARTIN หนังเริ่มขยับฐานะจากการเป็นหนังอิงหนัง หรือหนังอิงวัฒนธรรมการดูหยังอีกต่อไป จริงๆเราก็ไม่รู้ว่าเราจะแยกหนังพวกนี้ออกจากวิธีการของเบรคตช์ได้ไหม แต่เรารู้สึกเอาเองว่า วิธีการของเบรคตช์ มันเน้นกระตุ้นเตือน'คนดู' ให้รู้ว่านี่เป็นหนัง แต่หนังเหล่านี้ทำหน้าที่กระตุ้เตือนมากกว่าบอกให้รู้ว่าเป็นหนัง แต่ยังบอกด้วยว่า สิ่งที่เรารู้สึกกับหนังมทั้งหมดนั้นสามารถเสกสร้างขึ้นมาได้ (เหมือน ในPLOTPOINT) หนังพวกนี้ได้วิจารร์วิธีการของหนังโดยรับเอามาเป็นวิธีการอีกทีหนึ่ง ลองดูในNOW SHOWING เรารู้สึกว่า การเปลี่ยนฟอร์แมตการถ่ายหนังจะไม่มีความหมายเลยถ้าเราไม่รู้ว่าแต่ละฟอร์แมตมันผูกโยงอยู่กับประวัติศาสตร์ภาพยนจร์ตรงไหน( แต่เราอาจมองอีกทางหนึ่งได้ว่ามันเป็นแค่การเลือกคุณภาพของภาพมาตอบรับเรื่องเล่าก็ได้) แต่สมมติเราเข้าใจเอาว่าการเปลี่ยนฟอร์แมตมีความหมายเชิงสัญลักษณ์แสดงไปถึงภาพยนตร์ตามช่วงเวลา (เราคิดว่าช่วงเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก) NOW SHOWING ก็ทำหน้าที่ในการวิพากษ์ความเป็นภาพยนตร์โดยเทียบมันเข้ากับชีวิตของคนสามัญ ไม่ได้ผ่านทางบท แต่ผ่านทางเครื่องมือที่ใช้ถ่ายเธอ
NOW SHOWING อาจดีไม่เท่าตัวอย่างในหนังของCYTTER นะ
เราไม่รู้ว่าเราอธิบายได้เคลียร์ หรือำให้งงมากขึ้นพูดตามจริงเราเองก็ไม่เคีลยร์กับประเด็นนี้มากพอจนจะเอามาเขียนเหมือนที่บิ๊กชวนได้
ตอนนี้สิ่งที่เราสนใจคือสิ่งที่เราคุยกับโดบ๊ตตอนเทศกาลหนังสั้น เรากำลังสงสัยว่า หนังทดลอง ในยุค ดิจิตอล ด้วยกระบวนการเดียวกับแบรคเคจ มีนจะเป็นยังไง เพราะเครื่องมือมันเปลี่ยนไปแล้ว
ดีจังที่ทำให้เราได้ลองครุ่นคิดถึงมัน ถ้าใครอยากคุยต่อแลกเปลี่ยนก็เชิญนะครับ
Friday, October 03, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment