Thursday, August 31, 2017

OUR HOME SAYS ALL ABOUT US

Films seen for the first time on Wednesday, August 30, 2017

ช่วงนี้อาจจะยังไม่มีเวลาเขียนถึงหนังเรื่องไหนนะ แต่ขอจดชื่อหนังที่ได้ดูเอาไว้ก่อน

1.OUR HOME SAYS ALL ABOUT US (2017, Pasit Tandaechanurat, A+30)
เราพูดถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่นี่

2.OPENING CLIP FOR SHORT 21 (2017, Jakrawal Nilthamrong, A+30)

3.BEHIND THE SCENE (2017, Narasate Lucksameepong, 55min, A+25)

4.EN ROUTE ระหว่างทาง (2017, Krit Pilunthanadilok, Norrawat Sukkasem, A+15)

Films seen for the first time on Thursday, August 31, 2017

1.YELLOW LIGHT (2017, Preechaya Rattanadilokchai, A+30)
ไฟเหลือง (ปรีชญญ์ รัตนดิลกชัย)

2.ทนจนกลายเป็นท.ทหารอดทน (2017, Sawanya Jumchart, A+30)

3.A NEW LIFE (2017, Rujipas Boonprakong, 44min, A+25)
จนกว่าจะถึง...วันนั้น (รุจิภาส บุญประคอง)

4.สศาล (2017, Pattaraporn Ratchatakittisuntorn, A+25)

5.DONG KANUENG (2017, Kantapon Duangdee, A+25)
ดองคะนึง (กันตพล ดวงดี)

6.I WATCHED YOUR SHORT FILM AGAIN (2017, Tritos Termarbsri, 36min, A+25)
ฉันเอาหนังสั้นของเธอกลับมาดูอีกครั้ง (ไตรทศ เติมอาบศรี)

7.OUR SONG เพลงของเรา (2017, Michael Armstrong, A+25)

8.จำ ศรี แดง (2016, Tattaporn Deethaworn, A+15)

9.STILL (2017, Jompol Phuasuwan, A+5)

10.ANATTA (2017, Yoryod Youngyuen, A+)

11.THE ASSASSIN (2017, Nidvadee Udomchainitiyos, A+)
มือปืน (นิษฐ์วดี อุดมชัยนิธิยศ)


12.DIFFERENT WORLD (2016, Thanapon Arunsiri, A)

Tuesday, August 29, 2017

UK EXPERIMENTAL

BRITISH FILMS SEEN AT READING ROOM ON JUNE 20, 2017

1.THE TURBULENCE OF SEA AND BLOOD (2017, Sarah Abu Abdallah, A+30)
ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป รู้แต่ว่ากูเกิดมาเพื่อดูหนังแบบนี้นี่แหละ

2.JANUS COLLAPSE (2016, Adham Faramawy, A+30)

3.RUNAWAY (2017, Ginte Regina, A+30)
จำเรื่องย่อของหนังเรื่องนี้ไม่ได้แล้ว ใครจำได้บ้าง

4.MY BODIES (2014, Hannah Black, A+20)

5.THE FALL AND THE BRITISH MUSEUM (2017, Rosie Carr, A+20)

6.SHIP, SEA, WOMAN, WHAT ELSE (2017, Sofia Albina Novikoff Unger, A+15)


7.BREAKDOWN (2014, Evan Ifekoya, A+10)

ICT 2017

FILMS SEEN IN ICT SILPAKORN THESIS FESTIVAL 2017

1.ถ้า A ไม่เป็นสับเซตของ B (ชุติมันต์ คงถิ่นฐาน, A+30)
2.TRIAMO (Pathompong Praesomboon, A+30)
3.เราโอเค YEAH I’M FINE (กิ่งกาญจน์ สุวรรณจินดา, A+30)
4.กิโลเมตรที่สูญ (ทอฝัน ชุมอักษร, A+30)
5.KNOCKBOARD (ศุจินันท์ จิรวัฒนรัตน์, A+30)
6.HOME (กนกภรณ์ บุญรักชาติ, A+30)
7.ลานนา (ปิยมณฑ์ ค้าสม, A+30)
8.SON OF MAFIA (สิบประภาส เอื้อพิทักษ์, A+30)
9.DON’T WORRY ABOUT IT (ภาษิตา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, A+30)
10.ORANGE JUICE (เขมรุจิ ทีรฆวงศ์, A+25)
11.ปรากฏการณ์ ดาวเคียงเดือน (ปัญญา พุฒวิเชียร, A+25)
12.CTRL+N (ธนัชพร ลัดดาวัลย์ ณ อยุธยา, A+25)
13.ETHEREAL CREATURE (ทินฉาย มงคลมนต์, A+20)
14.SALMON (ภทรวรรณ หันชะนา, A+20)
15.MISSED (ณัฐนนท์ เจตนากานต์, A+20)
16.GLOOMY WEDNESDAY (ปนัดดา ชุ่มชื่น, A+20)
17.2017 (Napat Meepaitoon, A+15)
18.หมอก (สุดารัตน์ วงศ์ขจรเกียรติ, A+15)
19.I MISS WHO (ธัญวรัตน์ พุมรัตนสัจจา, A+15)
20.INEFFABLE (อินทิวร ตรีมงคลสิริรุ่ง, A+15)
21.MY HOUSE, MY RULES (ภานุชา อุดมธนทรัพย์, A+15)
22.ภาพยนตร์สั้นของคุณอัครเดช (พรลภัส เอกรังษี, A+15)
23.JUDAS’S KISS (ธัญเทพ เกียรติโอภาส, A+15)
24.บอย (มินตรา คงโพธิ์ทอง, A+15)
25.WELCOME (ทิพย์สุดา จันทะพรม, A+10)
26.สัญญาของนาข้าว (สุดฤทธิ์ สุดประเสริฐ, A+10)
27.HOLY (SHIT) ROOMMATE (ชาญณรงค์ เอื้ออุดมโชติ, A+10)
28.YOU’LL NEVER WALK ALONE (อรรถกร กมลรัตน์, A+10)
29.DO YOU REMEMBER OUR GOOD TIME? (ณัฐนันท์ จันทร์ขวาง, A+5)
30.ประโยคสุดท้าย (วสวัตติ์ รัตนสุวรรณ, A+5)
31.LAST CHANCE (ณัฐชา เผ่าพลทอง, A+5)
32.CITY OF VILLAINS (ภานุภัทร เลี้ยงพาณิชย์, A+5)
33.เรื่องเล่าของนิน (คีตาลักษณ์ โตมานิตย์, A+)
34.ไปดูผีที่แม่วะ (เทอดธรรม เสนาะจิตต์, A+)

35.TRUTH OR LIES (คณิน ทิวงค์วรกุล, A)

CINEMORE 2

FILMS SEEN IN THE PROGRAM “CINEMORE 2” on April 8, 2017
ผลงานนักศึกษา สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ครั้งที่ 2

1.A TRIP TO THE MOON (2016, อลิน พรพนม, A+20)
2.รุ่นใหญ่ไปทะเล (2016, ชวัลวิทย์ เอมศรีกุล, สันติ อุทัยพิบูลย์, A+20)
3.UNFRIENDLY (2016, สลิลรัตน์ สงวนศรี, A+20)
4.THE DISPLACE (2016, ชีวิน คล้ายมี, A+20)
5.เหลียง (2016, กฤตภาส ธาราภันธ์, A+15)
6.MAI (SOD-248) (2016, ศิวพันธ์ บุณยรัตพันธุ์, A+15)
7.ฆาตกร (2017, อภิชาติ พันธุพัฒน์, A+15)
8.ปีติสุก (2017, อลิน พรพนม, A+15)
9.แรงเทียน (2017,  ศจิรุทน์ กิตติอุดมเดช, A+15)
10.ตาม (2016, จักรพงษ์ วิวัฒนศิลป์, A+15)
11.WEDDING DRESS (2016, นิทิรา ฉายอรุณ, A+15)
12.ฉันขอออกมาจากตรงนั้น (2016, ศิวพันธ์ บุณยรัตพันธุ์, A+10)
13.UNFRIEND (2017, กษิดิ์เดช หลิวทวีสีประกาย, A+)

FILMS SEEN IN THE PROGRAM “DON’T BE FOOLED BY ALCOHOLIC DRINKS”

FILMS SEEN IN THE PROGRAM “DON’T BE FOOLED BY ALCOHOLIC DRINKS” on April 8, 2017
ภาพยนตร์ที่ได้ดูในโปรแกรม “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”

1.ดองฮัก (2017, ชัยพร จำรัสแนว, A+30)

2.FATHER คำสารภาพ (2017, วัชรากร ทวีทรัพย์, A+25)
3.มิตรภาพ (2017, พีรพล ธงภักดิ์, A+25)
4.TURNING POINT จุดเปลี่ยน (2017, Nonzee Nimibutr, A+15)
5.ค่าประสบการณ์ (2017, ทีมห่าง ห่าง ฟิล์ม จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, A+10)
6.รุ่งอรุณ กู๊ดมอนิ่ง (2017, นิติวัฒน์ ชลวณิชสิริ, A+)
7.บทเรียนที่ถูกส่งต่อ (2017, ศักดิ์ชัย แสงดี, A+)

8.อ้วน ตุ๋ย (อังคนา วิสาโรจน์, A)

Sunday, August 27, 2017

SILENCE (2016, Martin Scorsese, A+30)

SILENCE (2016, Martin Scorsese, A+30)

1.พอดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยเพิ่งตระหนักว่า Martin Scorsese เป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่เราชื่นชอบมากๆ ทั้งๆที่เราแทบไม่เคย “อิน” หรือ identify กับตัวละครหลักในหนังของเขาเลย คือตัวละครหลักในหนังของเขามักจะมีความเป็น “ผู้ชายมากเกินไป” จนเราไม่อินด้วย หรือมีความอะไรบางอย่างทางศีลธรรมหรือแนวคิดที่ทำให้เราไม่อินด้วย คือตัวละครมันมักจะสีเทาเข้มเกินไปหรือไม่ก็ดีเกินไปจนเราไม่อินด้วย ทั้งตัวละครหลักใน TAXI DRIVER (1976), RAGING BULL (1980), AFTER HOURS (1985), THE COLOR OF MONEY (1986), THE LAST TEMPTATION OF CHRIST (1988), GOODFELLAS (1990), THE AGE OF INNOCENCE (1993), CASINO (1995), GANGS OF NEW YORK (2002), THE AVIATOR (2004), THE WOLF OF WALL STREET (2013) แต่เราก็ชอบหนังพวกนี้มากๆอยู่ดี เพราะมันมีองค์ประกอบอื่นๆที่ทำให้เรา enjoy มัน บางทีอาจจะเป็นเพราะมันมีความ cinematic ก็ได้มั้ง เราก็เลย enjoy หนังของเขามาก ถึงแม้เราจะรู้สึกมีระยะห่างจากตัวละครของเขามากกว่าหนังแนว drama ของผู้กำกับคนอื่นๆที่เราชื่นชอบสุดๆก็ตาม

เราว่า SILENCE ก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน คือเราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ทั้งๆที่เราก็ไม่ได้อินหรือ identify กับตัวละครหลักของเรื่องแต่อย่างใด เราว่าหนังมันมีความ cinematic บางอย่าง หรือมันสามารถสร้าง imagery ที่น่าจดจำมากๆในหลายๆฉาก โดยเฉพาะฉากการตายของตัวละครบางตัว ที่มันกลายเป็นภาพที่ออกมางดงามมากๆ เราก็เลยประทับใจกับหนังเรื่องนี้มากๆ

แต่ถ้าหากพูดถึงตัวละครที่เราพอจะรู้สึกอินอยู่บ้างในหนังของ Scorsese แล้ว ก็จะมี
1.1 Masha (Sandra Bernhardt) ใน THE KING OF COMEDY (1982)
1.2 Alice Hyatt (Ellen Burstyn) ใน ALICE DOESN’T LIVE HERE ANYMORE (1974)
1.3 Leigh Bowden (Jessican Lange) ใน CAPE FEAR (1991)

2.เราว่า SILENCE มันประทับใจเรามากๆ เพราะมันเป็นหนังที่ทำให้เรารู้สึก “ก้ำกึ่ง” กับตัวละครพระเอกตลอดเวลาน่ะ คือเราจะไม่รู้สึกเทิดทูนบูชาเขาเป็น hero แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเขาเป็นมนุษย์ที่น่ารังเกียจมากๆ ซึ่งความรู้สึกก้ำกึ่งแบบนี้มันเป็นสิ่งที่เรามักจะรู้สึกกับตัวละครพระเอกในหนังของ Scorsese อีกหลายๆเรื่องเช่นกัน และสิ่งนี้มันแตกต่างเป็นอย่างมากจากหนังเกี่ยวกับบาทหลวงในหนังเรื่องอื่นๆที่เราเคยดูมาด้วย

คือหนังเกี่ยวกับบาทหลวง/แม่ชีเรื่องอื่นๆที่เราเคยดูมา มักจะทำให้เราเข้าข้างตัวละครอย่างสุดๆไปเลย หรือเกลียดตัวละครอย่างสุดๆไปเลยน่ะ อย่างเช่น CHOICES OF THE HEART (1983, Joseph Sargent), THE MISSION (1986, Roland Joffe), FIGHT FOR US (1989, Lino Brocka), PRIEST (1994, Antonia Bird) ที่เราจะเข้าข้างตัวละครบาทหลวง/แม่ชีอย่างสุดๆไปเลย แต่ถ้าหากเป็นหนังเกี่ยวกับ “การล่าแม่มด” หรือสถาบันศาสนาในอดีตที่กดขี่ประชาชน, หรือกดขี่คนในประเทศอาณานิคม อย่างเช่น THE DEVILS (1971, Ken Russell หรือ A SHORT FILM ABOUT THE INDIO NACIONAL (2005, Raya Martin, Philippines) หรือหนังวิพากษ์ศาสนาอย่าง THE MILKY WAY (1969, Luis Buñuel) เราก็อาจจะเกลียดตัวละครบาทหลวงบางตัวอย่างสุดๆไปเลย หรือไม่ก็มอง “สถาบันศาสนา” ในแง่ลบอย่างรุนแรงมาก

เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบ SILENCE มากๆ ในแง่ที่มันทำให้เรารู้สึกก้ำกึ่งกับตัวละครพระเอกตลอดเวลา คือเราชอบที่หนังมันไม่ได้ glorify พระเอกมากเกินไปน่ะ หนังมันทำให้เราเห็นศรัทธาอย่างแรงกล้า และความอดทนอย่างถึงที่สุดของพระเอก แต่ในขณะเดียวกัน หนังมันก็ “เปิดโอกาสให้เราตั้งข้อสงสัย” ต่อความคิด, คำพูด และการกระทำของพระเอกตลอดเวลาด้วย และเราว่าสิ่งนี้นี่แหละคือความงดงามที่แท้จริงของหนังเรื่องนี้ในสายตาของเรา

อย่างเช่นในฉากที่พระเอกดูเหมือนจะพูดกับพระเจ้า หรือตั้งคำถามต่อพระเจ้า และมีเสียงของผู้ชายที่คล้ายๆเสียงของ Liam Neeson พูดตอบกลับมาน่ะ คือหนังมันเปิดโอกาสมากๆให้เราคิดกับเสียงนี้ยังไงก็ได้ จะมองว่ามันเป็นเสียงของพระเจ้าก็ได้ หรือมองว่ามันเป็นเสียงของพระเอกพูดคุยกับตัวเองก็ได้

3.คิดเหมือนเพื่อนๆหลายๆคนเลยว่า ดูแล้ว นึกถึง “ไผ่ ดาวดิน” มากๆ และคิดถึงประเทศไทยในปัจจุบันด้วย เพราะคนไทยในปัจจุบันก็ถูกกดขี่ด้วยกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมอย่างรุนแรงที่สุด และขาดเสรีภาพในการแสดงออกในแบบที่คล้ายกับในญี่ปุ่นยุคนั้นเหมือนกัน
              

ประเด็นเรื่อง “ทางเลือกในการเอาชีวิตรอดภายใต้ระบอบเผด็จการ” ใน SILENCE ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE FAREWELL -- BERTOLT BRECHT’S LAST SUMMER (2000, Jan Schütte, Germany) ด้วย รู้สึกว่าตัวละครในหนังสองเรื่องนี้เผชิญกับ dilemma ที่นำมาเทียบเคียงกันได้ นั่นก็คือ เราจะยอมก้มหัวให้เผด็จการหรือไม่ และตัวละครในหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็ดูเหมือนจะยอมทำตามที่เผด็จการบีบบังคับมา “ด้วยความไม่เต็มใจ” และหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็ไม่ได้ประณามตัวละครที่ตัดสินใจแบบนั้นด้วย แต่มองตัวละครด้วยความเห็นอกเห็นใจที่ต้องทำในสิ่งที่ดูเหมือน “ผิด” แต่เป็นความผิดที่ทำเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอด และมันเจ็บมากๆที่ได้เห็นตัวละครจำเป็นต้องทำในสิ่งที่ดูเหมือนผิดแบบนั้น

4.อีกจุดนึงที่ชอบในหนังเรื่องนี้ คือมันทำให้เรานึกถึง “spiritual crisis” แบบในหนังเรื่อง FOREIGN BODY (2014, Krzysztof Zanussi, Poland) น่ะ และเราชอบอะไรแบบนี้มากๆ

คือในหนังเรื่อง FOREIGN BODY มันจะมีการพูดถึงความเชื่อเรื่อง “dark night of the soul” หรือ spiritual crisis ในทำนองที่ว่า มนุษย์บางคนที่มีความศรัทธาในความดีงามอะไรบางอย่าง บางทีในบางช่วงของชีวิตมันจะต้องเผชิญกับวิกฤติหนักในแบบที่มันมาสั่นคลอนความศรัทธาของตนเองน่ะ คือเป็นวิกฤติชีวิตหรือมรสุมชีวิตประเภทที่ทำให้ตัวละครต้องตั้งคำถามว่า “ทำไมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือถึงนิ่งเงียบ ไม่ยอมช่วยเหลือเรา”,  “ทำไมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถึงปล่อยให้เราต้องเผชิญชะตากรรมแบบนี้ ทั้งๆที่เราทำดีมาโดยตลอด” หรือ “ทำดีแล้วจะได้ดีจริงหรือ ทำไมเราทำดีแล้วต้องติดคุก ถ้าหากเราทำชั่ว เราก็ไม่ต้องติดคุกโหดในรัสเซียไปแล้ว” (ในกรณีของ FOREIGN BODY)

คือพอดูตัวละครใน FOREIGN BODY เผชิญกับ dark night of the soul แล้วมันทำให้เรานึกถึงมรสุมชีวิตของตัวเองในปี 2016 มากๆน่ะ เราก็เลยชอบหนังเรื่อง FOREIGN BODY อย่างรุนแรงมาก คือมันเป็นวิกฤติที่นอกจากจะสร้างความทุกข์ทรมานทางกายและทางใจแล้ว มันยังสั่นคลอนความศรัทธาของตนเองด้วย คือถ้าเป็นคนในบางศาสนาก็อาจจะตั้งคำถามว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองศรัทธามันมีจริงหรือเปล่า หรือถ้าหากเป็นคนในศาสนาพุทธก็อาจจะตั้งคำถามว่า กฎแห่งกรรมมีจริงหรือเปล่า เราจะทำดีต่อไปเพื่ออะไรกัน ถ้าหากทำดีแล้วต้องติดคุก หรือเผชิญกับชะตากรรมที่เลวร้าย

เพราะฉะนั้นพอดู SILENCE เราก็เลยชอบตรงจุดนี้ด้วย เพราะเราว่าตัวละครก็เผชิญกับ spiritual crisis คล้ายกับใน FOREIGN BODY เพียงแต่ว่ามันอาจจะเป็น spiritual crisis ที่ทั้ง “โหดร้ายกว่า” และ “กินเวลายาวนานกว่า” ใน FOREIGN BODY

แต่เราชอบ FOREIGN BODY มากกว่า SILENCE นะ เพราะเรา identify กับตัวละครใน FOREIGN BODY ได้มากกว่า คือตัวละครใน FOREIGN BODY มันเหมือน “คนธรรมดา” ที่เผชิญกับ spiritual crisis หรือ dark night of the soul ที่กินเวลาแค่หลายเดือนหรือปีนึงน่ะ ในขณะที่ตัวละครพระเอกใน SILENCE มันเหมือนต้องเป็นคนระดับไผ่ ดาวดินน่ะ ในขณะที่คนธรรมดาอย่างเราอาจจะใกล้เคียงกับตัวละครประเภท Kichijiro (Yosuke Kubozuka) มากกว่า

5.ถ้าพูดถึงในแง่เนื้อหาแล้ว SILENCE ใช้ฉากหลังที่ใกล้เคียงกับหนังเรื่อง LOVE AND FAITH (1978, Kei Kumai) และ THE EYES OF ASIA (1991, João Mário Grilo, Portugal) ที่พูดถึงญี่ปุ่นในยุคของการกวาดล้างชาวคริสต์เหมือนกัน


แต่ถ้าหากพูดถึงในแง่พลังทางภาพยนตร์แล้ว เราว่า SILENCE เหนือชั้นกว่า LOVE AND FAITH และ THE EYES OF ASIA เยอะเลยนะ และเราว่าถ้าหากจะฉาย SILENCE ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็คงเลือกฉายควบกับ NAZARIN (1959, Luis Buñuel) น่ะ เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ cinematic ในระดับทัดเทียมกัน และนำเสนอตัวละครบาทหลวงได้อย่างทรงพลังสุดๆเหมือนกัน และเราว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้ไม่ได้เชิดชู “ศาสนา” แต่เชิดชู “มนุษย์ที่มีศรัทธาในศาสนา” พร้อมกับตั้งคำถามต่อตัวละครมนุษย์ที่มีศรัทธาในศาสนาไปด้วยพร้อมๆกัน โดยเฉพาะคำถามที่ว่าความศรัทธาในศาสนาของตัวละครตัวนั้นให้ประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ได้จริงหรือไม่ เราก็เลยชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้อย่างสุดๆ เพราะมันทั้งเชิดชูความศรัทธาของตัวละคร และตั้งคำถามต่อความศรัทธาของตัวละครไปด้วยพร้อมๆกันนี่แหละ 

JEAN RENOIR

หนังของ Jean Renoir ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ

1.THE RULES OF THE GAME (1939)
2.THE HUMAN BEAST (1938)
3.FRENCH CANCAN (1955)
4.BOUDU SAVED FROM DROWNING (1932)
5.THE GRAND ILLUSION (1937)
6.TONI (1935)


ถ้าจำไม่ผิด เราเคยได้ยินว่า Jean Renoir เคยให้สัมภาษณ์ด้วยนะว่า Grand Illusion ที่หนักที่สุด คือ illusion ของตัวเขาเอง เพราะเขาสร้างหนังเรื่องนี้ด้วย ความเชื่อที่ว่า หนังเรื่องนี้อาจจะช่วยยับยั้งสงครามได้ แต่ปรากฏว่าความเชื่อของเขาเป็นเพียงแค่ illusion เท่านั้น เพราะหลังจากนั้นก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สองตามมา

Tuesday, August 15, 2017

TALKING ABOUT GHOSTS AND DEVILS IN FILMS

--อ่านที่สองคนคุยกันแล้วได้ความรู้ดีมาก :-)

--ส่วนเรานั้น เราเดาว่าเราคงอินและกลัวซาตาน/ปีศาจเหมือนกันนะ เพราะส่วนใหญ่หนังผีฝรั่งที่เราดูแล้วรู้สึกไม่อินและไม่สนุก มันเกิดจากฝีมือของผู้กำกับหรือเนื้อเรื่องไม่เข้าทางเราน่ะ แต่เราไม่เคยสังเกตว่ามันเป็นเพราะเรื่องของซาตานแล้วเราเลยไม่อิน เราเดาว่าอาจจะเป็นเพราะเนื้อแท้แล้วเราเป็นคน “ไม่มีศาสนา” หรือเปล่า เพราะฉะนั้นเราเลยกลัวภูตผีปีศาจของทุกศาสนา 555 คือเหมือนกับว่าคนพุทธไม่กลัวปีศาจของคริสต์ คนคริสต์ไม่กลัววิญญาณคนตายแบบคนเอเชีย แต่กูไม่มีศาสนา กูเลยกลัวหมดทุกอย่างเลย 555

คือจริงๆแล้วเราว่าเรากลัวปีศาจของฝรั่งมากกว่าวิญญาณคนตายอีกนะ คือเราเข้าใจเหมือนอย่างที่คุณจักรพงษ์เขียนว่า มันมี 1.“วิญญาณคนตาย”  2.มันมีปีศาจ (เราเข้าใจว่าเหมือนอยู่กลุ่มเดียวกับซาตาน หรือเป็นลูกสมุนซาตาน)  ที่ไม่ใช่วิญญาณคนตาย แต่เป็นเหมือนอำนาจชั่วร้ายที่คอยยุยงให้คนทำชั่วหรือจิตใจเศร้าหมอง คือปีศาจพวกนี้เป็นพวกยุยงให้เกิดฆาตกรโรคจิตอะไรทำนองนี้น่ะ แล้วยิ่งมันคอยยุยงให้คนทำชั่วได้มากเท่าไหร่ หรือจิตใจเศร้าหมองมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งมีความสุข หรือยิ่งทรงพลังอำนาจมากเท่านั้น
แล้วเราเข้าใจว่า “ปีศาจ” พวกนี้มันปราบยากกว่าวิญญาณคนตายอีกน่ะ เราก็เลยกลัวมันมากกว่าวิญญาณคนตาย

คือเหมือนกับว่า concept เรื่องปีศาจข้างต้น มันผูกโยงกับเรื่องที่เราสนใจน่ะ นั่นก็คือเรื่องการต่อสู้กันระหว่างความดีความชั่วในใจมนุษย์, temptation, การที่คนจิตใจเศร้าหมองแล้วนำไปสู่การฆ่าตัวตายหรือทำร้ายคนรอบข้าง แล้วเราก็กลัวฆาตกรโรคจิตมากๆด้วย เพราะฉะนั้นพอเราอินกับ concept เรื่องปีศาจ มันก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เราอินกับหนังที่พูดเรื่องซาตานด้วยมั้ง

--แต่เราว่า ANNABELLE: CREATION เอาปีศาจมาใช้ได้อย่างไม่ทรงพลังน่ะ คือเรารู้สึกว่าตัวเด็กที่ถูกสิง มันไม่ได้ทำอะไรผิดจนถึงขั้นที่จะให้ปีศาจมาสิงมันได้น่ะ คือการที่ปีศาจเข้าสิงเด็กหญิงคนนั้นได้มันไม่เข้ากับ concept ปีศาจที่มีอยู่ในใจเรา เราก็เลยเหมือนไม่อินตรงจุดนี้

แต่เราจะกลัว “ตัวละครที่ต่อต้านพระเจ้า” แบบตัวผู้ร้ายใน PRISONERS (2013, Denis Villeneuve) มากๆ คืออันนี้ไม่ต้องมีปีศาจ, ซาตาน หรืออะไรเหนือธรรมชาติเลย แต่มันคือปีศาจในร่างมนุษย์จริงๆ คือในแง่นึงเรารู้สึกว่าตัวละครผู้ร้ายใน PRISONERS นี่แหละ คืออะไรที่เรากลัวที่สุด เพราะมันคือมนุษย์เดินดินที่มีจิตใจเข้าใกล้ความเป็นปีศาจหรือซาตานมากที่สุด แล้วมันไม่ใช่มนุษย์ที่เกิดมาแล้วเลวโดยกำเนิดด้วย แต่มันเป็นมนุษย์ที่รู้สึกว่าโดนโชคชะตาหรือพระเจ้ากลั่นแกล้ง แล้วมันเลยหันมาต่อต้านพระเจ้า

--ส่วนหนังที่เรากลัวหรืออินนั้น ส่วนใหญ่เราไม่แยกแยะระหว่างผีกับปีศาจน่ะ คือถ้าผู้กำกับมันเก่ง เราก็กลัวหรืออินหมด โดยเฉพาะผู้กำกับที่สามารถสร้างบรรยากาศได้ “ขลัง” จริง  อย่างเช่น FEBRUARY (2015, Oz Perkins) ที่เป็นเรื่องของเด็กสาวบูชาปีศาจนั้น เราดูแล้วอินที่สุด หรือหนังเกี่ยวกับซาตาน/ปีศาจอย่าง ANGEL HEART (1987, Alan Parker) เราก็ชอบสุดๆ (คือไม่รู้สึกว่ามันน่ากลัว แต่รู้สึกว่ามันเป็นหนังที่สวยมากๆ) แต่ในขณะเดียวกัน หนังอย่าง FROM A HOUSE ON WILLOW STREET (2016, Alaistair Orr, South Africa) หรือ THE FAITH OF ANNA WATERS (2016, Kelvin Tong, Singapore) ที่เป็นเรื่องของการบูชาซาตานเหมือนกันนั้น เรากลับดูแล้วรู้สึกว่าน่าเบื่อสุดๆ คือหนัง 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องของตัวละครที่บูชาปีศาจเหมือนกัน แต่ความอินหรือไม่อินในแต่ละเรื่องมันขึ้นอยู่กับฝีมือการกำกับมากกว่า

--ชอบหนังเกือบทุกเรื่องที่น้องปราปต์ยกรายชื่อมา โดยในรายชื่อที่ยกมานั้น เราชอบ IT FOLLOWS มากที่สุด เราว่ามันกำกับดีมาก และมันเหมือนการ “เล่นเกม” ที่มีกติกาในการเล่น มันเลยสนุกมากสำหรับเรา และก็ชอบ THE BABADOOK มากเป็นอันดับสอง เพราะตัวละครมันมีปมทางจิตที่รุนแรงมากๆ ส่วนอันดับสามคงเป็น BEFORE I WAKE เพราะเราว่าตัวละครมันมีพลังพิเศษที่น่าสนใจดี

THE SIXTH SENSE เราว่ามันก็ดี แต่มันเหมือนหนังที่เน้น twist มากเกินไปน่ะ, BYE BYE MAN เราชอบแต่ไม่สุดๆ, THE SHINING เราได้ดูตอนเด็กมากๆ เราเลยยังไม่เข้าใจมันเท่าไหร่ ส่วน IT เวอร์ชั่นมินิซีรีส์ปี 1990 นั้น เราชอบสุดๆ เพราะมันสนุกดี และก็กลัวมันในระดับปานกลาง ส่วน CRIMSON PEAK นั้นเราว่าเป็นหนังที่สวยดี ส่วน DON’T BE AFRAID OF DARKNESS นั้น เป็นหนังที่สนุกดี แต่เราจะไม่กลัวทั้ง CRIMSON PEAK และ DON’T BE AFRAID OF DARKNESS คือชอบ CRIMSON PEAK เพราะ production desigh ส่วน DON’T BE AFRAID OF DARKNESS นั้น ชอบเนื้อเรื่อง แต่เหมือนผี+สัตว์ประหลาดในสองเรื่องนี้ไม่ทำให้เรากลัว

--แต่เราก็เห็นด้วยกับน้องปราปต์ในด้านนึงนะ คืออยากให้มีการสร้างภูตผีปีศาจแบบใหม่ๆน่ะ คือมันอาจจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับซาตานหรือไม่ก็ได้ แต่อยากให้มันเป็นปีศาจร้ายที่มีลักษณะเด่นจำเพาะของตัวเองอะไรทำนองนี้ แบบ Freddy Kruger ไม่ใช่ซาตานที่มีอิทธิฤทธิ์ล้นฟ้า

คือนึกถึงหนังผี/สยองขวัญแบบ BOOGEYMAN (2005, Stephen Kay), THE CURSE (1988, Ralf Huettner, Germany), HOTEL (2004, Jessica Hausner, Austria), THE LOCALS (2003, Greg Page, New Zealand), IN THE MOUTH OF MADNESS (1994, John Carpenter) อะไรพวกนี้น่ะ เราว่าหนังพวกนี้มันก็น่ากลัวมากๆสำหรับเราเหมือนกัน แต่ความน่ากลัวของมันส่วนใหญ่มันมาจาก “บรรยากาศ” ในหนังน่ะ ในขณะที่ผู้ร้ายในหนัง เราไม่สนใจจะแยกแยะมันด้วยซ้ำว่ามันเป็นผีหรือปีศาจ

--แต่จริงๆแล้วเวลาดูหนังผีเราไม่ค่อยกลัวนะ ไม่เหมือนหนังฆาตกรโรคจิต เพราะในชีวิตจริงเราจะกลัวฆาตกรโรคจิตมากกว่ากลัวผี

เราว่าสิ่งที่ทำให้เรากลัวมากที่สุด คือเวลาอ่านคอลัมน์ “ประสบการณ์ปีศาจ” ในนิตยสารต่วยตูนพิเศษ, คอลัมน์เรื่องผีในนิตยสารลลนา หรือในนิตยสารประเภท “โลกทิพย์” อะไรทำนองนี้น่ะ เพราะมันเขียนแบบ “เรื่องจริง” เวลาอ่านเราก็มักจะเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริง เราเลยกลัวมันมากๆ แล้วก็เลยพาลกลัวเวลาอาบน้ำ หรือเวลานอนคนเดียวด้วย


ปัจจุบันนี้คงเป็นเรื่องผีใน Pantip นี่แหละมั้งที่ทำให้เรากลัว เพราะมันเขียนแบบ “เรื่องจริง” เหมือนกัน สรุปว่าการอ่านเรื่องผีใน Pantip ทำให้เรากลัวมากกว่าการดูหนังผีหลายเท่า แต่เราก็ดูหนังผีเพราะมัน “สนุก” มากกว่าเพราะมันทำให้เรากลัวน่ะ

Monday, August 14, 2017

THE COVER OF THE LAND (2016, Prapt, novel, A+30)

ห่มแดน (2016, ปราปต์, novel, A+30)

1.พอเทียบกับนิยายอีกสองเรื่องของปราปต์ที่เราได้อ่าน ซึ่งก็คือ กาหลมหรทึก (2014) กับนิราศมหรรณพ (2015)  ก็เห็นได้ชัดเลยว่า ปราปต์ยังคงรักษาความสามารถในการสร้างความสนุกตื่นเต้นลุ้นระทึกเอาไว้ได้ดีมากๆอยู่ เขาเป็นคนที่เชี่ยวชาญจริงๆเรื่องการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของผู้อ่าน มีการสร้างปมปริศนาลับใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ ในระหว่างที่เนื้อเรื่องดำเนินไป เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านอยากพลิกอ่านหน้าต่อๆไป มีการค่อยๆหยอดข้อมูลให้ผู้อ่านทีละเล็กทีละน้อย เพื่อควบคุมความคิดและการคาดเดาของผู้อ่านที่มีต่อเนื้อเรื่องหรือปริศนาต่างๆในเรื่อง คือความสามารถในการ “เร้าอารมณ์ผู้อ่าน” นี่ต้องยกให้ปราปต์จริงๆ

2.แต่สิ่งที่เราว่ามันพัฒนาขึ้นมาจาก กาหลมหรทึก และ นิราศมหรรณพ ก็คือการลงลึกในจิตใจของตัวละครพระเอกน่ะ ซึ่งอันนี้เป็นอะไรที่เข้าทางเรามากๆ คือเราว่าพระเอกในกาหลมหรทึก กับนิราศมหรรณพ เป็นพระเอกแบบขนบนิยมมากๆน่ะ พระเอกในสองเรื่องนั้นเป็นตำรวจหนุ่มหล่อ เข้มแข็ง นิสัยดี เฉลียวฉลาด คือเป็น “object” of desire มากๆ และเป็นมนุษย์ที่ดีกว่ามนุษย์ทั่วไปมากๆ

แต่แดนเลฑฑุ์ พระเอกของ ห่มแดน นี่เป็นอะไรที่หนักมากๆ คือพระเอกของเรื่องนี้เริ่มเป็น human มากกว่า object แล้ว และเป็น human ที่มีรัก/โกรธ/หลง (แต่ไม่โลภ) อยู่ในตัวอย่างเต็มเปี่ยม มีความปรารถนาทางเพศที่น่าสนใจ มี flaws ในตัวเอง และมีปมทางจิตที่หนักมากๆ คือมีปมทางจิตที่รุนแรงอย่างน้อย 3 ปมอยู่ในตัว

คือตัวละครพระเอกตัวนี้ในแง่นึงก็เหมือน Russian Doll หรือ Matryoshka doll น่ะ หรือตุ๊กตาที่ซ้อนกันอยู่หลายๆชั้น คือเราได้รู้จักเขาครั้งแรกตอนเป็นหนุ่มอายุ 38 ปี แต่พอเนื้อเรื่องดำเนินไป เราจะค่อยๆรู้จักประวัติของเขามากขึ้นเรื่อยๆ และเราก็พบว่าเขามีปมทางจิตในวัยหนุ่ม ซึ่งนั่นก็หนักพอแล้ว แต่พอเนื้อเรื่องดำเนินไปอีก เราก็พบว่าเขายังมีปมทางจิตในวัยเด็กอีก และสำหรับเราแล้ว เขาเหมือนตุ๊กตา Russian Doll ที่ซ้อนกันอยู่ 4 ชั้นน่ะ

เราว่าสิ่งนี้แตกต่างจากนิยายอีก 2 เรื่องของปราปต์ที่เราได้อ่าน การสร้างปมทางจิตและประวัติของตัวละครแบบนี้ ทำให้ตัวละครพระเอกตัวนี้ทั้งดูเป็น “มนุษย์” มากขึ้น และดู “น่าปรารถนา” มากขึ้นด้วย สำหรับเรา 555 คือเรารู้สึกว่าการที่พระเอกของเรื่องนี้มีปมทางจิต มีบาดแผลทางใจ มันทำให้เรารู้สึก “รัก” และอยากดูแล อยากปลอบโยนเขา มากกว่าพระเอกของกาหลกับนิราศมหรรณพอีกน่ะ มันเหมือนกับว่า การที่พระเอกของสองเรื่องนั้นเป็น object of desire มันกลับดึงดูดเราได้แค่ทาง “กายภาพ” แต่พอพระเอกของห่มแดน มันไม่ได้เป็น object of desire แต่เป็นมนุษย์ปุถุชน มันกลับดึงดูดเราได้ทั้งทาง physical และ mental ด้วย

สรุปว่าจุดนี้แหละ คือจุดที่เราชอบมากที่สุดใน ห่มแดน เราชอบการสร้างตัวละครเอกที่ “มีความลึก” แบบนี้มากๆ และเราว่ามันเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับกาหลและนิราศมหรรณพ คือจริงๆแล้วทั้งกาหล, นิราศมหรรณพ และห่มแดน ต่างก็เป็นนิยายประเภท plot-driven เหมือนกันนั่นแหละ ไม่ใช่นิยายแบบ character-driven แต่ด้วยรสนิยมส่วนตัวแล้ว จริงๆเราชอบอะไรแบบ character-driven มากกว่า เพราะฉะนั้นพอได้อ่านนิยายแบบ plot-driven ที่มันมีการลงลึกด้านชีวิตจิตใจของตัวละครด้วย เราก็เลยชอบจุดนี้มากๆ

3.ตัวละคร “กูรข่า” นี่ก็เป็นตัวละครที่น่าจดจำมากๆ เพราะเธอแหวกขนบนางเอกนิยายไทย/หนังไทย เท่าที่เราเคยอ่านหรือดูมามากพอสมควร แต่เราก็ไม่ได้ชอบเธอแบบ personally นะ คือจริงๆเราไม่ได้เกลียดเธอ แต่เราไม่ได้ identify กับเธอ และเราอิจฉาเธอน่ะ เราอยากแย่งผัวเธอ

แต่การที่เราไม่ได้ชอบเธอมากนัก ไม่ได้หมายความว่าตัวละครตัวนี้ “ไม่ดี” นะ เราว่าที่เราไม่ชอบเธอ เป็นเพราะตัวละครตัวนี้มันได้รับการนำเสนออย่างดีมากนั่นแหละ คือตัวละครตัวนี้ไม่ได้มีแต่ด้านดี คิดดี พูดดี ทำดี แบบนางเอกหนังไทยทั่วไป แต่มันมี “ความน่าหมั่นไส้” อยู่สูงมากในตัวละครตัวนี้ด้วย หรือมันมีอุปนิสัยหรือรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในตัวละครตัวนี้ ที่ทำให้เรารู้สึกไม่สนิทใจกับตัวละครตัวนี้ด้วย

คือความรู้สึกของเราที่มีต่อ “กูรข่า” คล้ายๆกับความรู้สึกของเราที่มีต่อ “อึ้งย้ง” ในมังกรหยกน่ะ คือมันเป็นตัวละครหญิงที่น่าสนใจมากๆ, กลมมากๆ, เป็นคนดีที่มีข้อบกพร่องในตัวเอง และทั้งอึ้งย้งและกูรข่าเป็นคนดีประเภทที่เราไม่สนิทใจด้วย หรือไม่ identify ด้วยมากนัก คือเหมือนเป็นคนดีที่มีพิษสงสูง อะไรทำนองนี้

สรุปว่า ชอบ “กูรข่า” มากในฐานะ “ตัวละคร” เหมือนกับที่เราชอบ “อึ้งย้ง” ในฐานะตัวละครน่ะ แต่ถ้าหากเจอคนแบบกูรข่าในชีวิตจริง เราก็คงไม่สนิทใจด้วย

4.แต่จริงๆแล้วก็เห็นด้วยกับความคิดของกูรข่าในหลายๆเรื่องนะ แต่พอมันออกมาจากหัวของกูรข่า เราก็เลยรู้สึกแปลกๆหน่อย อย่างเช่น ทัศนคติเรื่องความรักของกูรข่า ที่เราเคยเห็นคนอ่านคนอื่นๆ quote มาแล้วน่ะ คือมันเป็นทัศนคติที่ดีมากจริงๆ ที่ว่า

“รักเพราะมีความสุขที่จะรัก ทำเพราะมีความสุขที่จะทำ และทำเพราะจะได้เห็นเขามีความสุข ไม่ได้ทำหรือรักเพื่อจะมีความสุขหลังจากเขามารักตอบ เธอรักตัวเองมากพอแล้วจึงเผื่อแผ่เขา ไม่ใช่ทำให้เขารักเพื่อเอามาเติมเต็มตน”

เราว่า quote นี้คลาสสิคจริงๆ และมันประหลาดดีด้วยที่มาอยู่ในนิยายปริศนาฆาตกรรมแบบนี้ คือแนวคิดเรื่องความรักอะไรแบบนี้ มันสามารถไปอยู่ในนิยายแนวดราม่าชีวิต หรืออยู่ในหนังที่ปอกเปลือกจิตวิญญาณมนุษย์แบบหนังฝรั่งเศสได้เลย

5.ในส่วนของประเด็นของนิยายนั้น เราชอบมากที่นิยายเรื่องนี้พยายามนำเสนอแนวคิดแบบว่า “อย่าด่วนตัดสินใครง่ายๆ”, “อย่ามองคนด้านเดียว”, “อย่าตัดสินคนด้วยอคติหรือฉันทาคติ” อะไรแบบนี้น่ะ และมันนำเสนอประเด็นนี้ผ่านทางหลากหลายวิธี อย่างเช่น

5.1 การสร้างความลึกให้ตัวละครพระเอก เหมือนที่เราเขียนไปแล้วในข้อ 2

5.2 การที่ผู้อ่านจะเปลี่ยนความรู้สึกต่อตัวละครบางตัว เมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไป และโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปพร้อมๆกับพระเอก อย่างเช่นตอนแรกเราจะเกลียดกูรข่ามากๆ แต่เมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไป เราจะค่อยๆได้เห็นหลายๆด้านของกูรข่ามากขึ้น และเราจะเริ่มเปลี่ยนความรู้สึกที่มีต่อตัวละครตัวนี้ คือเหมือนกับว่า แดนเลฑฑุ์เป็นตัวละครที่ “ลึก” ส่วนกูรข่าเป็นตัวละครที่มีหลายแง่มุม

5.3 ความซับซ้อนของคดีต่างๆในเรื่อง คือความซับซ้อนของคดีต่างๆในเรื่องนี้ มันทำให้เรามองย้อนกลับมาในโลกแห่งความเป็นจริง แล้วก็พบว่า เราไม่สามารถด่วนตัดสินอะไรได้ง่ายๆเสมอไป และยิ่งต้องระวังมากเป็นพิเศษ ในโลกยุคปัจจุบันที่กระแสความเห็นทาง social media มันรุนแรงมากแบบนี้

5.4 แต่กลวิธีที่เราชอบมากๆในนิยายเรื่องนี้ คือกลวิธีเล่าเหตุการณ์เดียวกัน แต่เล่าซ้ำ 3 ครั้งจากมุมมองของคน 3 คนที่มองเหตุการณ์ไม่เหมือนกันน่ะ คือพยานคนแรกเห็นตัวละคร A ทำพฤติกรรม ก แล้วเขาก็จินตนาการว่า A คงทำพฤติกรรม ข ต่อไป แต่พยานคนที่สองเห็นเหตุการณ์เดียวกัน เห็น A ทำพฤติกรรม ก เหมือนกัน แต่เขาจินตนาการว่า A คงทำพฤติกรรม ค ต่อไป แต่ทั้ง ข และ ค มันก็เป็นแค่จินตนาการของพยานเท่านั้น มันอาจจะไม่ใช่ความจริงก็ได้

เราว่ากลวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้สนุกมากๆ ดูแล้วนึกถึงหนังกลุ่ม RASHOMON มากๆ และเราว่ามันสะท้อนปัญหาในชีวิตมนุษย์ได้ดีมากๆด้วย นั่นก็คือปัญหาของการจินตนาการเสริมเติมแต่งเหตุการณ์ต่างๆเอาเอง แล้วดันไปมองว่านั่นคือความจริง

6.ส่วนโครงสร้างของนิยายเรื่องนี้ ที่มีการโยงถึงสถานที่ต่างๆทั่วประเทศไทยนั้น เรามองว่ามันเก๋มากๆ และมันน่าสนใจดี เพราะมันแตกต่างจากโครงสร้างของนิยายเรื่องอื่นๆที่เราเคยอ่านมา

6.1 จุดแรกเลยก็คือว่า เราว่ามันให้ความรู้ดีด้วย เพราะสถานที่ต่างๆในนิยายเรื่องนี้เป็นอะไรที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน การอ่านนิยายเรื่องนี้ก็เลยเหมือนได้ความรู้แบบการอ่าน “สารคดีท่องเที่ยว” ไปด้วย แต่มันสนุกกว่าการอ่าน “สารคดีท่องเที่ยว” น่ะ

คือแน่นอนว่าในแง่ “ความรู้” นิยายเรื่องนี้คงสู้สารคดีท่องเที่ยวไม่ได้อยู่แล้วนะ มันไม่สามารถแทนที่กันได้ แต่เราเป็นคนที่ชอบการผสมกันระหว่าง genre ต่างๆน่ะ เราก็เลยชอบที่นิยายแนวลึกลับตื่นเต้นแบบนี้ มีองค์ประกอบของสารคดีท่องเที่ยวแทรกเข้ามาด้วย มันเป็นการผสมกันของสอง genre ที่น่าสนใจดี

6.2 เราชอบที่บางครั้งการโยงสถานที่ต่างๆในไทย กับเนื้อหาในเรื่อง มันไม่ได้เป็นแค่การที่ตัวละครเดินทางไปยังสถานที่นั้นแบบ road movie น่ะ แต่เป็นการโยงกันผ่านทางพื้นเพของชนชั้นแรงงาน หรือตัวละครประกอบที่เป็นคนจากพื้นที่ต่างๆในชนบททั่วไทย ที่เดินทางออกจากบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อมาทำงานในอีกเมืองนึง

เราว่าการโยงแบบนี้ มันแตกต่างจากการสร้างภูมิหลังให้ตัวละครประกอบในนิยายทั่วๆไปน่ะ คือในนิยายทั่วไปเวลาตัวละครประกอบมีภูมิหลัง เราก็จะได้รับรู้ “อดีต” ของเขาว่าเขาเคยเป็นใครทำอะไรมาบ้าง คือเราจะได้รับรู้เรื่องราวของตัวละครตัวนั้นใน “มิติเชิงเวลา” เป็นหลักน่ะ

แต่ตัวละครประกอบในนิยายเรื่องนี้ มันมี “มิติเชิงสถานที่” ด้วย มันมีการระบุชัดว่าตัวละครประกอบตัวนี้ มาจากอำเภอไหนในจังหวัดไหนของไทย แทนที่จะบอกแค่ว่า เธอมาจากชนบทแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เพราะฉะนั้นการอ่านนิยายเรื่องนี้ มันก็เลยเหมือนมีการเพิ่มมิติหรือมุมมองที่แตกต่างจากนิยายเรื่องอื่นๆด้วย

สาเหตุที่เราชอบจุดนี้มากๆ คือมันทำให้เรามองคนในชีวิตจริงเปลี่ยนไปด้วยแหละ คือเหมือนก่อนหน้านี้ เวลาเราเดินในซอย แล้วเห็นพ่อค้าหนุ่มหล่อขายปลาหมึกย่าง, คนงานหนุ่มหล่อเข็นรถเข็น, แม่ค้าขายน้ำเต้าหู้, พ่อค้าขายเครป เราอาจจะแค่จินตนาการว่า “ชีวิตพวกเขาเป็นยังไงในปัจจุบัน พวกเขายากลำบากขนาดไหน หรือมีความสุขมากน้อยแค่ไหน” แต่พอเราอ่านนิยายเรื่องนี้ เราจะแอบสงสัยขึ้นมาว่า แต่ละคนมาจากจุดไหนของไทยด้วย คือเป็นไปได้ที่เราแค่เดินผ่านคนต่างๆ 50 คน ในซอยเราในเวลา 5 นาที คน 50 คนนั้นอาจจะมาจากจังหวัดที่ต่างกันไม่ต่ำกว่า 20 จังหวัดก็ได้ (ซอยเรามีอพาร์ทเมนท์อยู่เยอะ และเราว่าคนที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนมหาลัยในกรุงเทพ)

เราก็เลยชอบจุดนี้ของนิยายเรื่องนี้มากๆ คือมันเหมือนเพิ่ม “มิติเรื่องสถานที่” ให้แก่เราเวลาเรามองคนต่างๆน่ะ ซึ่งเป็นจุดที่เราไม่เคยมองมาก่อน

6.3 แต่เราว่าการโยงสถานที่บางอันก็แถมากๆจนฮานะ โดยเฉพาะตอน “สามพันโบก” นี่ เรางงมากๆ คืออ่านรอบแรกแล้วจับไม่ได้เลยว่าเนื้อหาในตอนนั้นมันโยงกับ “สามพันโบก” ตรงไหนฟะ ต้องอ่านรอบสองแล้วถึงจะพอเห็นจุดที่เชื่อมโยงกันได้ 555

7.ทั้ง “ห่มแดน” และ “นิราศมหรรณพ” นี่เราต้องอ่านสองรอบ แล้วถึงจะรู้สึกเข้าใจชัดเจนว่า ตกลงใครทำอะไรที่ไหนเพราะคำสั่งของใคร คือมันซับซ้อนมาก

คือในกาหลมหรทึกนี่ เราอ่านรอบเดียวแล้วเคลียร์เลย อาจจะเป็นเพราะมันมีตัวละครที่อธิบายเรื่องราวต่างๆได้เคลียร์ในตอนท้ายมั้ง

ส่วนใน “ห่มแดน” นี่ มันมีตัวละครผู้ร้ายหลายตัวมาก แล้วมันไม่ใช่ “ผู้ร้ายกลุ่มเดียว” ด้วยไง มันเลยเหมือนมีผู้ร้ายหลายตัวที่ไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกัน แล้วบางตัวก็ซ้อนแผนกัน แล้วยังมีตัวละครประเภท “นกสองหัว” หลายตัวมากๆ คืออ่านแล้วจะงง คือเรารู้ว่า A ก่อเหตุ ก แต่เราไม่รู้ว่า A ก่อเหตุ ก เพราะ A รับคำสั่งมาจาก B หรือ A รับคำสั่งมาจาก C หรืออี A คิดจะทำเอง โดยไม่ได้รับคำสั่งจากใคร

คือเหตุการณ์ปริศนาบางอันในห่มแดนนี่มันมีการบงการกันหลายชั้นมากน่ะ คือพออ่านรอบสองแล้วถึงเข้าใจได้ว่า มันมีการยุยง+บงการต่อกันเป็นทอดๆถึง 5 ชั้น อะไรทำนองนี้

แต่เราก็ชอบนะที่มันมีตัวร้ายหลายตัวแบบนี้ แต่บางทีอาจต้องมีภาคผนวกในตอนท้ายไปเลย เพื่อสรุปว่า ตกลงใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่ 555

คือตอนอ่านจบรอบแรก เราจะนึกถึงหนังเรื่อง THE BIG SLEEP (1946, Howard Hawks) ที่สร้างจากเรื่องสั้นของ Raymond Chandler น่ะ คือ THE BIG SLEEP มันจะคล้ายกับ ห่มแดน ในแง่ของการสร้างปริศนาลับอย่างไม่หยุดหย่อน ยิ่งตัวละครสืบลึกเข้าไปเท่าใด ก็ยิ่งเจอปริศนาพาสนุกต่อไปเรื่อยๆ แต่พอดูจนจบ เรื่องคลี่คลายแล้ว เรากลับสงสัยว่า “เอ๊ะ แล้วตกลงฆาตกรคนแรกคือใคร” อะไรทำนองนี้ 555 คือเหมือนมันสร้างปริศนา 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ไปเรื่อยๆ แล้วก็ทยอยเฉลยปริศนา 8 9 5 6 4 7 3 2 แล้วก็จบเรื่อง แต่มันไม่ได้เฉลยปริศนาอันที่หนึ่ง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมด

แต่พออ่าน ห่มแดน รอบสอง เราก็รู้สึกว่าเรื่องเฉลยเคลียร์หมดนะ เพียงแต่มันซับซ้อนกว่านิยายทั่วไปเท่านั้นเอง

8.ถึงแม้เรารู้สึกว่า “ห่มแดน” มีการลงลึกทางจิตใจตัวละครในแบบที่เข้าทางเราสุดๆ แต่เราก็อาจจะชอบนิยายเรื่องนี้น้อยกว่ากาหลมหรทึก กับนิราศมหรรณพ หน่อยนึงนะ

คือเราว่า “ห่มแดน” มันอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงมากที่สุด เมื่อเทียบกับนิยายอีกสองเรื่องน่ะ คือตัวละครฝ่ายผู้ร้ายในเรื่องนี้ ไม่ได้มีความบ้าแบบในเรื่องอื่นๆ ตัวละครผู้ร้ายในเรื่องนี้ มีแรงจูงใจที่สมเหตุสมผลมากกว่าผู้ร้ายในเรื่องอื่นๆ แต่เราอาจจะรู้สึกว่า “ฆาตกรต่อเนื่อง” แบบในกาหลมหรทึก มัน “ระทึก” กว่าผู้ร้ายสติดีแบบใน ห่มแดนน่ะ

และเราก็ชอบ “โลกแฟนตาซี” แบบในนิราศมหรรณพมากกว่าด้วยน่ะ 555 เราว่าการที่ห่มแดนเลือกที่จะอยู่ใน “โลกแห่งความเป็นจริง” มันก็เป็นข้อดีในตัวมันเอง เพราะมันไม่ซ้ำกับในนิราศมหรรณพ และมันก็อาจจะสร้างความพึงพอใจให้ผู้อ่านบางกลุ่มด้วย

แต่ด้วยรสนิยมส่วนตัวของเรานั้น เราชอบ “โลกแฟนตาซี” แบบนิราศมหรรณพมากกว่าน่ะ มันรู้สึก “อิสระ” ดี คือการได้เข้าไปผจญภัยในโลกแฟนตาซีแบบนิราศมหรรณพ มันรู้สึกไม่มีขีดจำกัดดีน่ะ ขีดจำกัดคือ “จินตนาการของเรา” เองเท่านั้น

ใน “ห่มแดน” นั้น เรารู้สึกอึดอัดกับโลกแห่งความเป็นจริงน่ะ คือมันไม่ใช่ข้อเสียอะไรหรอก เราแค่จะบอกว่า รสนิยมส่วนตัวของเรา ชอบโลกแฟนตาซีเพราะมันทำให้เรารู้สึกอิสระ และโลกแห่งความเป็นจริงทำให้เรารู้สึกอึดอัด เท่านั้นเอง

9.ถ้าเทียบสไตล์ของนิยาย 3 เรื่องนี้แล้ว กาหลมหรทึก จะทำให้เรารู้สึกสนุกเหมือนอ่าน Agatha Christie นะ, ส่วนนิราศมหรรณพทำให้เรารู้สึกสนุกเหมือนอ่าน Dean Koontz ส่วนห่มแดนทำให้เรารู้สึกสนุกเหมือนอ่าน Sidney Sheldon

10.อ้อ อีกเทคนิคที่ชอบมากในนิยายเรื่องนี้ คือการ Flashback เราว่าการ Flashback หลายๆครั้งทำได้นุ่มนวลมากๆ เหมือนการ flashback ในหนังดีๆบางเรื่องเลย

11.ฉากที่ชอบที่สุดในนิยายเรื่องนี้ คือฉากบู๊ของกูรข่า 555 คือถ้าเรากำกับฉากนี้ในละครทีวี เราจะยืดการต่อสู้ให้นานราว 5 นาทีแบบในหนังเรื่อง SO CLOSE (2002, Corey Yuen) 555

12.ปกสวยมาก

13.สรุปว่า รัก “แดนเลฑฑุ์” กับ “โรทัน” มากๆ อาจจะรักตัวละครสองตัวนี้มากกว่าเนื้อเรื่องด้วยซ้ำ 555 คือเราชอบมากๆนะที่นิยาย 3 เรื่องที่เราอ่าน มันสนุกลุ้นระทึกสุดๆเหมือนๆกัน แต่มันมีข้อดีข้อด้อยไม่ซ้ำกัน ในส่วนของกาหลมหรทึกนั้น เราชอบ “ปริศนาพาสนุก” ในนิยายมากๆ และชอบการโยงกับกลบทของไทยมากๆ แต่เราอาจจะไม่ได้รักตัวละครตัวใดมากเป็นพิเศษ

ในส่วนของนิราศมหรรณพนั้น เราชอบโลกแฟนตาซีของมันมากๆ, ชอบที่มันโยงกับวัดเก่าๆในกรุงเทพ และวรรณกรรมเก่าของไทย และชอบการสร้างตัวละครหญิงที่น่าจดจำหลายตัว ยกเว้นตัวนางเอก 555 คือเราไม่ได้รักตัวละครหญิงเหล่านี้นะ แต่เราว่าตัวละครหญิงเหล่านี้มีอิทธิฤทธิ์สูง น่าจดจำมากๆ

ในส่วนของห่มแดนนั้น นิยายเรื่องนี้ดูสมเหตุสมผลมากที่สุด ผู้ร้ายทำในสิ่งที่มีเหตุผลกว่าในกาหลมหรทึก เนื้อเรื่องก็เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง แต่เรากลับพบว่า มันทำให้เราอึดอัด อย่างไรก็ดี นิยายเรื่องนี้ลงลึกด้านตัวละครมากยิ่งขึ้น ทั้งตัวของแดนเลฑฑุ์และกูรข่า และมันทำให้เรา “หลงรัก” ตัวละครแดนเลฑฑุ์และโรทันด้วย นอกจากนี้ ความรักระหว่างพระเอก-นางเอกใน “ห่มแดน” ก็ดูชัดเจนมากขึ้น ไม่ลอยๆแบบในกาหลและนิราศมหรรณพ


สรุปว่า ดีมากที่นิยายแต่ละเรื่องมีความแตกต่างกัน มันทำให้เราอยากอ่านผลงานเรื่องอื่นๆของปราปต์ต่อไปจ้ะ