Monday, February 26, 2018

FAVORITE THAI FILMS 2017

FAVORITE THAI FILMS 2017
(This list includes Thai “fiction” films which are longer than 30 minutes, and which I saw in 22 Dec 2016-31 Dec 2017. The list excludes Thai short films and Thai documentaries.)

1.ON THE FRINGE OF SOCIETY [ประชาชนนอก] (1981, Manop Udomdej)

2.GAEW [แก้ว] (1980, Piak Poster)

3.PLAYBOY (AND THE GANG OF CHERRY) (2017, Oompon Kitikamara)

4.UPSIDE, DOWN (2017, Natchanon Vana, Suwanchart Suwanjaroen, 37min)

5.CHTHONIA (2017, Sasipa Songsermsakuldee, 60min)

6.SIAM SQUARE (2017, Pairach Khumwan)

7.THE GIFT: RAINCLOUDS ON THE MOUNTAINS (2017, Chookiat Sakveerakul)

8.LIVE LIKE MISSING (2015, Karnchanit Posawat, 60min)

9.DIE TOMORROW (2017, Nawapol Thamrongrattanarit)

10.HOTEL ANGEL [เทพธิดาโรงแรม] (1974, Chatrichalerm Yukol)

11.#BKKY (2016, Nontawat Numbenchapol)

12.BAD GENIUS [ฉลาดเกมส์โกง] (2017, Nattawut Poonpiriya)

13.BANK-ROBBERS [ต้องปล้น] (1990, Choochai Ong-ardchai)     

14.THE CUPID LAUGHS [กามเทพหัวเราะ] (1978, Sompong Treebuppa)      

15.IF YOU STILL LOVE [ถ้าเธอยังมีรัก] (1981, Chatrichalerm Yukol)

16.THE BOAT HOUSE [เรือนแพ] (1961, Prince Bhanubandhu Yugala + Neramit  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล และเนรมิต)

17.SONG FROM PHATTHALUNG [มหาลัยวัวชน] (2017, Boonsong Nakphoo)

18.MEMOIR ฮัลโหล จำเราได้ไหม (2017, Rapeepimol Chaiyasena)

19.THAIBAN THE SERIES [ไทบ้าน เดอะซีรีส์] (2017, Surasak Pongson)

20.HELLO COUNTRYSIDE [สวัสดีบ้านนอก] (1999, Tanit Jitnukul)

21.SEA OF LOVE [ทะเลรัก] (1953, Khun Vijitmatra ขุนวิจิตรมาตรา)

22.SCHOOL TALES [เรื่องผีมีอยู่ว่า] (2017, Pass Patthanakumjon)

23.THE DEVIL [ปีศาจ] (1980, Supan Buranapim)

24.UNSOUND (2017, Nathan Homsup, 34min)

25.MAH [มาห์] (1991, Lertrit Jansanjai เลิศฤทธิ์ จั่นสัญจัย)

26.A LOVE SONG FOR YOU [เพลงรักเพื่อเธอ] (1978, Rerngsiri Limaksorn)

27.A NEW LIFE [จนกว่าจะถึง...วันนั้น] (2017, Rujipas Boonprakong, 44min)

28.DRIVER [คนขับรถ] (2017, Thitipan Raksasat)

29.IN THE FLESH (2017, Kong Pahurak)


30.35 KARAT (1979, Rerngsiri Limaksorn)

FAVOURITE DOCUMENTARIES 2017

FAVOURITE DOCUMENTARIES 2017

The list is long, becaue it includes both old and new documentaries, both short ones and long ones, and both Thai and foreign ones.
                    
1.THE WAR SHOW (2016, Andreas Dalsgaard, Obaidah Zytoon, Syria/Denmark/Germany/Finland)

2.SELF AND OTHERS (2000, Makoto Sato, Japan)

3.DEPTH TWO (2016, Ognjen Glanovic, Serbia)

4.SEVEN UP! (1964, Paul Almond, UK) + 7 PLUS SEVEN (1970, Michael Apted) + 21 UP (1977) + 28 UP (1984) + 49 UP (2005) + 56 UP (2012)

5.RAILWAY SLEEPERS (2016, Sompot Chidgasornpongse)

6.WORD IS OUT (1977, Nancy Adair, Rob Epstein, Andrew Brown, 124min)


7.THE SOCIOLOGIST AND THE BEAR CUB (2016, Etienne Chaillou, Mathias Théry, France)

8.A157 (2015, Behrouz Nouranipour, Iran/Syria)

9.PIGS IN PIGSTY [หมูในเล้า] (2017, Kongphob Chairattanangkul, 16min)

10.LUMIÈRE! (2016, Thierry Frémaux, France)

11.MANUFACTURING CONSENT: NOAM CHOMSKY AND THE MEDIA (1992, Mark Achbar + Peter Wintonick, Australia/Canada/Finland/Norway, 167min)

12.THE RETURN TO HOMS (2013, Talal Derki, Syria/Germany)

13.FIRE AT SEA (2016, Gianfranco Rosi, Italy)

14.ABSENT WITHOUT LEAVE (2016, Lau Kek-huat, Malaysia)

15.A CREMATION DAY [กาลนาน] (2017, Napasin Samkaewcham, 15min)

16.SAWANKHALAI [สวรรคาลัย] (2017, Abhichon Rattanabhayon, 15min)

17.PHANTOM OF ILLUMINATION (2017, Wattanapume Laisuwanchai)    

18.DUM SPIRO SPERO (2016, Pero Kvesic, Croatia)       

19.LITTLE SONS (2016, Sai Whira Linn Khant, Yu Par Mo Mo, Nay Chi Myat Noe Wint, Myanmar, 24min)                                             

20.I AM NOT YOUR NEGRO (2016, Raoul Peck)

21.THE GRADUATION (2016, Claire Simon, France)

22.HUMAN FLOW (2017, Ai Weiwei, 140min)

23.14/10/2016 – THE DAY AFTER (2017, Teeraphan Ngowjeenanan, 127min)

24.ARKONG [อากง] (2016, Anuwat Amnajkasem, 23min)

25.SOUND OF TORTURE (2013, Keren Shayo, Israel, 58min)

26.YELLOWING (2016, Tze Woon Chan, Hong Kong)

27.FIVE BROKEN CAMERAS (2011, Emad Burnat, Guy Davidi, Palestine)

28.A.K.A. SERIAL KILLER (1969, Masao Adachi, Japan)

29.TALADNOI STORY (2017, Jiraporn Saelee, 39min)

30.SONG OF LAHORE (2015, Sharmeen Obaid-Chinoy, Andy Schocken, USA/Pakistan)

31.I’M YOUNG? I’M SILLY? I’M AMAZED! [ฉันเยาว์? ฉันเขลา? ฉันทึ่ง!] (2017, Thunska Pansittivorakul, 79min)

32.READY IN 5 MINUTES (2016, Swam Yaund Ni, Myanmar)

33.ALONG THE ONE WAY (2016, Bani Nasution, Indonesia)

34.JACKSON (2016, Maisie Crow)

35.SO FAR REAL (2016, Miriam Bajtala, Austria, 30min)

36.TWO WAY JESUS (2016, Jet Leyco, Philippines)

37.HOW FAR A BETTER LIFE [เรื่องเล่าจากดอนโจด] (2017, Chantana Tiprachart ฉันทนา ทิพย์ประชาติ, 20min)

38.SAMANERA (2016, Tay Zar Win Htun, Zaw Win Htwe, Myanmar, 45min)

39.THE SOIL OF DREAMS (2016, Jeffrie Po, Philippines, 53min)

40.HOMME LESS (2014, Thomas Wirthensohn, Austria)

41.MOTION OF LIFE (2013, Vilayphong Phongsavanh, Laos, 17min)

42.THE END OF THE SPECIAL TIME WE WERE ALLOWED (2013, Shingo Ohta, Japan)

43.ONE SHOT – AN IMAGE & AN ATTITUDE (2015, Darren McCagh, Australia)

44.THE AMNESTY FOR THE DEFENDANTS IN THE CASE OF 6 OCTOBER [นิรโทษกรรมจำเลยคดี 6 ตุลา] (1978, 54min)

45.CITY OF JADE (2016, Midi Z, Myanmar)

46.SASIWIMOL [ศศิวิมล] (2017, Rewadee Ngamloon เรวดี งามลุน)

47.LIFE, ANIMATED (2016, Roger Ross Williams)

48.“PAI” YOU KNOW ME  A LITTLE GO (2017, Jamon Sonpednarin จามร ศรเพชรนรินทร์, 12min)

49.KING COBRA BATTALION [กองพันจงอางศึก] (1967, Thai Ministry of Defence กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม, 14min)

50.A ROYAL CREMATION FOR KING RAMA VI [พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว] (1926, News Bureau in Department of Royal Train กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง, 10min)

51.THE FORGER (2016, Pamela Druckerman, Samantha Stark, Alexandra Garcia)

52.LIFE IS A ROCK ‘N’ ROLL [LA VIDA ES UN ROCANROL] (2014, Inés Morales, Mexico, 10min)   

53.THE HORN (2016, Frederik Jan Depickere, Belgium/Canada, 50min)

54.FAKE (2016, Tatsuya Mori, Japan)

55.HOUSE OF Z (2016, Sandy Chronopoulos, USA/Canada)

56.WE ARE X (2016, Stephen Kijak, UK/USA/Japan)

57.MY BUDDHA IS PUNK (2015, Andreas Hartmann, Germany/Myanmar)

58.A WORLD NOT OURS (2012, Mahdi Fleifel, UK/Lebanon/Denmark/UAE)

59.THE LAST INSURRECTION (2016, Liao Jian-hua, Taiwan)


60.AR-YING SAEJANG [อาญิง แซ่จาง] (2016, Kiattisak Kingkaew เกียรติศักดิ์ กิ่งแก้ว, 28min)

Sunday, February 18, 2018

PADMAAVAT

PADMAAVAT (2018, Sanjay Leela Bhansali, India, 164min, A+25)

หนังถ่ายสวย ตระการตาตลอดทั้งเรื่อง เหมือนหนังเรื่องอื่นๆของผู้กำกับคนนี้ แต่พอดูไปนานๆแล้วก็เบื่อได้เหมือนกันนะ ถ้าหากมันมีแต่การถ่ายสวยอย่างเดียว

ประเด็นที่สนใจในหนังเรื่องนี้

1.อยากรู้ว่า Alauddin เอาชนะกองทัพมองโกลได้ยังไง คือหนังไม่ได้ “บอก” เลยว่าเขาใช้วิธีการไหนในการเอาชนะ

2.ขำที่ Alauddin พยายามจะตั้งตัวเป็น “อเล็กซานเดอร์มหาราช” คนที่สอง เพราะ Alexander เป็น bisexual และ Alauddin ก็ถูก portray ในหนังเรื่องนี้ว่าเหมือนจะเป็น bisexual ด้วย เพราะนักฆ่าคู่ใจของ Alauddin ดูเหมือนจะเป็นเกย์ และพูดจาตัดพ้อว่าตัวเองคงสู้ราชินีปัทมาวตีไม่ได้

3.หนังขึ้นคำเตือนไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องเลยว่า “หนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการจะสนับสนุนพิธีสตี” และพอดูจบแล้วก็เข้าใจเลยว่า ทำไมมันต้องขึ้นคำเตือนอย่างนี้ เพราะไม่งั้นเราต้องเข้าใจผิดแน่ๆ

MONSTER HUNT 2 (2018, Raman Hui, China, A+10)


หนังไม่มีอะไรเลย เป็นหนังน่ารักๆ ผู้ชายหล่อๆ ดูเพลินๆ จบ

MALILA: THE FAREWELL FLOWER (2017, Anucha Boonyawatana, A+30)

MALILA: THE FAREWELL FLOWER (2017, Anucha Boonyawatana, A+30)

1.ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆนะ แต่ชอบ “อนธการ” มากกว่า 555 ซึ่งอันนี้ไม่เกี่ยวกับว่าหนังเรื่องไหนดีกว่ากัน แต่เราว่าน่าจะเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตและสภาพจิตของตัวเราเองมากกว่า คือเราว่าสาเหตุที่เราชอบอนธการมากกว่ามะลิลา อาจจะเป็นสาเหตุเดียวกับที่เราชอบ MOONLIGHT (2016, Barry Jenkins) มากกว่า CALL ME BY YOUR NAME ก็ได้ นั่นก็คือดวงจิตของเรามี “ความโกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชัง” เป็นเจ้าเรือน ดวงจิตของเราไม่ได้มี “ความรัก ถวิลหา อาลัย” เป็นเจ้าเรือนน่ะ และเมื่อดวงจิตของเราเป็นแบบนี้ เราก็ย่อมอินและถูกดึงดูดเข้าสู่อารมณ์ในหนังแบบอนธการและ MOONLIGHT มากกว่ามะลิลาและ CALL ME BY YOUR NAME

2. MALILA นี่ต้องเป็นหนึ่งในหนังไทยที่เราชอบที่สุดในปีนี้อย่างแน่นอน แต่เราก็ยอมรับแหละว่า wavelength ของมันยังไม่ตรงกับเราแบบ 100% เต็มน่ะ คือถ้ามันจะตรงกับเราแบบ 100% เต็ม มันต้องผสมกับหนังเรื่อง SLEEP HAS HER HOUSE (2017, Scott Barley) แล้วออกมายาวสัก 3 ชั่วโมง แล้วมันอาจจะกลายเป็นหนังที่เราชอบมากกว่าอนธการ และอาจจะเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบที่สุดตลอดกาลไปเลย

แต่อันนี้ไม่ใช่จะบอกว่า MALILA มันมีข้อบกพร่องนะ เราแค่จะเขียนว่า “รสนิยมของเรา” เป็นแบบไหนเท่านั้น คือมันมีหลายๆฉากใน MALILA ที่ทำให้นึกถึง SLEEP HAS HER HOUSE น่ะ โดยเฉพาะในครึ่งหลังของ MALILA นั่นก็คือฉากท้องฟ้าและป่า ที่โผล่มาในหนังประมาณครั้งละ 5-10 วินาที และพอเราเห็นฉากแบบนี้ เราก็เลยจินตนาการว่า ถ้าหากฉากแบบนี้มันยาว 5-10 นาทีแบบใน SLEEP HAS HER HOUSE มันคงจะตรงกับรสนิยมของเราแบบสุดๆไปเลย คือเราอยากจ้องพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า 30 นาทีรวดไปเลย หรือจ้องฟ้าร้องฟ้าผ่า 15 นาทีรวดไปเลย แบบใน SLEEP HAS HER HOUSE อะไรแบบนี้

3.คือเรายอมรับเลยว่า เรา “มีอารมณ์” กับครึ่งแรกของ MALILA มากกว่าครึ่งหลังน่ะ 555 เราชอบเลิฟซีนในหนังมากๆ อันนี้แหละที่ตรงกับรสนิยมของเราที่สุด มากกว่าที่ผู้กำกับคนใดเคยทำได้มาก่อน คือถ้าหากให้เลือกเลิฟซีนในหนังที่เราชอบที่สุดในชีวิต เราว่าเลิฟซีนใน MALILA น่าจะติดอยู่ใน 10 อันดับแรกที่เราชอบที่สุดในชีวิต

ส่วนครึ่งหลังของหนังนั้น เราก็ชอบมากนะ แต่ถ้าถามว่าเรารู้สึก spiritual กับมันแบบสุดๆมั้ย เราก็ไม่ได้รู้สึกกับมันถึงขั้นนั้นนะ เหมือนถ้าหากเทียบกับหนังทั้งหมดที่เราเคยดูมาในชีวิต เราก็รู้สึกกับพลัง spiritual ใน MALILA ประมาณ 9/10 มั้ง ไม่ถึง 10/10 แต่นั่นเป็นเพราะตัวเราเองนะ มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่าจะพ้องกับหนังเรื่องไหนน่ะ และเราซึ่งไม่เคยมีแฟนมาก่อน ก็ย่อมไม่อินสุดๆกับหนังในแง่นี้อย่างแน่นอน และเราก็ไม่เคยรู้สึกอาลัยอาวรณ์อย่างรุนแรงกับการเสียชีวิตของใครมาก่อนด้วยมั้ง ไม่รู้เป็นเพราะว่าในอดีตเราเคยคิดจะฆ่าตัวตายด้วยหรือเปล่า เราก็เลย relate กับ “ความตาย” ในอีกแบบนึงน่ะ คือประเด็นที่ว่า “สังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง” มันไม่ใช่ประเด็นที่ resonate กับเรามากนักน่ะ

 ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังอย่าง DIARY OF A COUNTRY PRIEST (1951, Robert Bresson) ที่เราอาจจะรู้สึก spiritual กับมันอย่างรุนแรงสุดๆ คือ DIARY OF A COUNTRY PRIEST มันก็พูดถึง “นักบวช” เหมือนกัน แต่นักบวชหนุ่มคนนี้ไม่ได้มีปมอดีตเกี่ยวกับคนรักหรือการฆ่าคนอะไรแต่อย่างใด แต่เหมือนเขามี “ความอ้างว้างทางจิตวิญญาณ” ที่เราอธิบายไม่ถูกน่ะ มันไม่เกี่ยวกับคนรักหรือความรัก แต่มันเกี่ยวกับ “ความเศร้าของโลกที่เราไม่อาจเยียวยาได้” เราก็เลยอินกับตัวละครในแง่นี้มั้ง

4.นอกจาก “ประสบการณ์ชีวิตของตัวเราเอง” แล้ว อีกสาเหตุที่เราไม่ได้รู้สึก spiritual กับ MALILA แบบสุดๆ คือเรื่องของรสนิยมส่วนตัวด้วยแหละ คือพอดู MALILA เราก็พบว่า “การจ้องธรรมชาติ” นี่แหละ มักจะทำให้เรารู้สึก spiritual

คือนอกจากเลิฟซีนแล้ว มันก็มีอีกสองซีนใน MALILA ที่เราชอบอย่างสุดๆน่ะ นั่นก็คือ

4.1 ซีนในภาพประกอบนี้ ซึ่งเป็นซีนที่ถ่ายคู่รัก แต่กล้องตั้งอยู่หลังใบหญ้า และเราจะเห็นใบหญ้าแกว่งไกวไปมาในฉากนี้

คือกราบฉากนี้มาก คือเรารู้สึกรุนแรงมากกับสายลมที่ทำให้ใบหญ้าแกว่งไกวในฉากนี้ ซึ่งจริงๆแล้วฉากนี้ไม่ต้องถ่ายแบบนี้ก็ได้ คือถ้าตั้งกล้องอีกแบบนึง มันก็จะถ่ายเห็นคู่รัก เล่าเนื้อหาในฉากนี้ได้ครบถ้วนเหมือนเดิม ใบหญ้าและสายลมไม่ได้มีความจำเป็นต่อ “การเล่าเรื่อง” ในฉากนี้แม้แต่น้อย แต่ปรากฏว่าใบหญ้าและสายลมนี่แหละที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรงกับฉากนี้มากๆ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไร แต่คงเป็นรสนิยมส่วนตัวที่อธิบายไม่ได้ของเรานี่แหละมั้ง ที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรง หรือรู้สึก spiritual หรือ sublime อะไรบางอย่างเมื่อเห็นอะไรแบบนี้

4.2 ฉากถ่ายพระเคี้ยวอาหาร แล้วแสงแดดมีการเปลี่ยนแปลง ระดับความสว่างความมืดเปลี่ยนไปในขณะที่พระเคี้ยวอาหาร

คือเราชอบ “ความเปลี่ยนแปลงของแสงแดด” ในฉากนี้มากน่ะ และถ้าตาเราไม่ฝาด มันก็มีฉากอื่นๆอีกเหมือนกันที่ระดับความสว่างของแสงแดดมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในระหว่างที่ฉากดำเนินไป แต่อาจจะไม่ชัดเจนเหมือนฉากพระเคี้ยวอาหาร

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า “ความเปลี่ยนแปลงของแสงแดด” ในฉากพระเคี้ยวอาหารและฉากอื่นๆ เกิดจาก “ความจงใจ” ของผู้กำกับมากน้อยแค่ไหน หรือเกิดจากการปล่อยไหลไปตามธรรมชาติ แต่ไม่ว่ามันจะเกิดจากธรรมชาติหรือความจงใจ เราก็พบว่าอะไรแบบนี้นี่แหละที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรงสุดๆ

คือพอเราพบว่า เรารู้สึกรุนแรงสุดๆกับ “สายลม” และ “แสงแดด” ในสองฉากข้างต้นนี้แล้ว แต่เราไม่ได้รู้สึก spiritual แบบสิบเต็มกับตัวละคร, ปมในใจของตัวละคร หรือเนื้อเรื่อง เราก็เลยจินตนาการต่อได้เลยว่า หนังเรื่องนี้มันจะกลายเป็นหนังที่เข้าทางเราแบบ 100% เต็ม ถ้ามันถ่ายธรรมชาติแบบเนิ่นนานอย่าง SLEEP HAS HER HOUSE น่ะ

คือจริงๆแล้วเราก็ชอบ SLEEP HAS HER HOUSE ในระดับพอๆกับ MALILA นะ นั่นก็คือชอบในระดับ ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF THE YEAR แต่ไม่ได้ชอบในระดับ ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME น่ะ แต่เราจินตนาการว่า ถ้าหากเอาหนังสองเรื่องนี้มาผสมเข้าด้วยกัน มันจะเกิด ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME ขึ้นมา เหมือนกับหนังของ Marguerite Duras และ Chantal Akerman น่ะ คือเราว่า SLEEP HAS HER HOUSE มันเป็น “นามธรรม” เกินไปหน่อยสำหรับเรา มันเป็นการจ้องลมฟ้าอากาศแบบเนิ่นนาน และไม่มีเนื้อเรื่องเป็นก้อนแข็งๆอะไรให้เรายึดจับได้เลย มันมีแต่ลมฟ้าอากาศตลอดทั้งเรื่องจริงๆ ซึ่งเราก็รู้สึก spiritual กับมันมากๆ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้น “ที่สุดในชีวิต” อะไรแบบนั้น ส่วน MALILA นั้น มันมีเนื้อเรื่องเป็นก้อนแข็งๆให้เรายึดจับได้สบาย แต่เราดันไม่ fit in กับเนื้อเรื่องของมันแบบเต็มที่ (เพราะประสบการณ์ชีวิตและรสนิยมส่วนตัวของเรา) แต่เนื้อเรื่องครึ่งหลังของมันใช้ setting หรือ environment ที่ทำให้นึกถึง SLEEP HAS HER HOUSE มากๆ เราก็เลยจินตนาการว่า ถ้าหากเอาสองเรื่องนี้มาผสมเข้าด้วยกัน มันจะเกิดอะไรที่เข้ากับรสนิยมของเราพอดี เหมือนกับว่า SLEEP HAS HER HOUSE มี “น้ำ” เยอะไป ส่วน MALILA ก็ “แห้ง” เกินไป แต่ถ้าหากเอามาผสมเข้าด้วยกัน มันจะเกิดเป็น “แกงขลุกขลิก” ที่เราต้องการ เหมือนหนังของ Duras และ Akerman ที่มีเนื้อเรื่องบางๆให้ยึดเกาะ แต่ก็ให้ความสำคัญกับ “บรรยากาศ” อย่างรุนแรงมากๆ

เรื่องรสนิยมส่วนตัวของเราเองนี้ ในแง่นึงมันก็ทำให้นึกถึงตัวละครในเรื่องด้วยแหละ คือเราว่าคนแต่ละคนจะมีวิธีการที่เฉพาะและเหมาะกับตัวเองในการ “ยกระดับสภาพจิตใจ” ของตัวเองน่ะ คือพิชใช้ “การทำบายศรี” เพื่อสร้างความสุขทางใจให้แก่ตัวเอง ส่วน “หลวงพี่ผู้พัน” ก็ใช้การทำอสุภกรรมฐาน ในการยกระดับจิตใจตัวเอง คือคนแต่ละคนจะมีวิธีการที่เหมาะกับตัวเองแตกต่างกันไปน่ะ และเราก็ค้นพบว่า การจ้องธรรมชาติหรือ “บรรยากาศ” แบบใน SLEEP HAS HER HOUSE หรือหนังของ Teeranit Siangsanoh นี่แหละ คือการทำกรรมฐานที่เหมาะกับตัวเราเอง นี่แหละคือวิธีการสร้างความรู้สึก spiritual ของเรา เพราะฉะนั้นการที่เราไม่ได้รู้สึก spiritiual สุดๆกับหนังเรื่องนี้จึงไม่ใช่ข้อบกพร่องของหนังแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องของประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกันของแต่ละคน และต่อม spiritual ของแต่ละคนที่จะถูกกระตุ้นได้ด้วยอะไรที่แตกต่างกัน

5.เหมือนจะพูดถึงแต่ประเด็นที่ว่า “ทำไมหนังเรื่องนี้ถึงไม่ตรงกับรสนิยมของเราแบบสุดๆ” นะ 555 เพราะเราต้องการบันทึกความรู้สึกของเราเป็นหลักน่ะ และถ้าเราไม่บันทึกสิ่งนี้ไว้ ก็จะไม่มีคนอื่นมาเขียนแทนเราได้ แล้วเราก็กลัวว่าเราจะลืมมันไปในอนาคต เราก็เลยต้องรีบบันทึกไว้เอง ส่วนความดีความงามของหนังเรื่องนี้นั้น เพื่อนๆหลายคนได้เขียนถึงไปแล้ว และเราก็เห็นด้วยอย่างสุดๆ และเราก็แชร์มาหน้าวอลล์เราเยอะแล้ว เพราะเราขี้เกียจเขียนเอง 555

ลิสต์ของสิ่งที่เราชอบในหนังเรื่องนี้ แบบคร่าวๆ

5.1  ชอบที่ตัวละครนำทั้งสามตัวมีอดีตที่เจ็บปวด ทั้งพิชที่มีแม่ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอบ และเขาก็เคยผิดหวังจากเชนที่ไม่ยอมหนีตามเขาไป, เชนเองก็ติดเหล้า, ลูกตาย, เมียทิ้ง ส่วนหลวงพี่ผู้พันก็มีอดีตบางอย่างคอยหลอกหลอน

ชอบที่พิชกับหลวงพี่ผู้พัน “ป่วยทั้งกายและมีบาดแผลทางใจ” ด้วย คือนอกจากตัวละครสองตัวนี้จะมีอดีตที่เจ็บปวดแล้ว พิชก็ป่วยเป็นมะเร็ง ส่วนหลวงพี่ผู้พันก็ดูเหมือนจะมีสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวยให้เขาสามารถทำตามใจต้องการได้

5.2 ชอบที่หนังเจาะลึกเข้าไปใน “อารมณ์ความรู้สึก” ของตัวละครเลยตั้งแต่ครึ่งแรก คือเราว่าถ้าหากเป็นหนังทั่วไป มันจะเน้น “เล่าเรื่อง” น่ะ มันจะเน้นแสดงให้เห็นว่า “ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร” แต่เราว่าหนังเรื่องนี้เน้นสะท้อน “อารมณ์ความรู้สึก” ของตัวละคร มากกว่า “เหตุการณ์” ตั้งแต่ครึ่งเรื่องแรกเลยน่ะ ซึ่งมันเป็นอะไรที่ยาก แต่หนังเรื่องนี้ทำได้สำเร็จอย่างงดงาม

5.3 การจัดแสงของหนังเรื่องนี้หนักมาก เราว่ามันจัดแสงงามมากทุกฉาก ซึ่งต้องชมทั้งผู้กำกับ, ตากล้อง และคนทำ post production ด้วยมั้ง

การจัดแสงที่ติดตาเรามากที่สุด คือ “แสงอาทิตย์ที่ตกกระทบขนรักแร้ของเวียร์” 555 คือมันมีฉากที่เวียร์นอนอยู่ในบ้าน หลังจากได้รับพวงมาลัยจากพิชน่ะ แล้วมันมีฉากที่แสงอาทิตย์ตกกระทบขนรักแร้ของเขาแล้วเกิดเป็นอะไรที่งดงามติดตาตรึงใจมากๆ 555 ไม่รู้ฉากนั้นจัดแสงกันได้ยังไง มันถึงตกกระทบขนรักแร้ได้งามแบบนี้ หรือเป็นฝีมือของ colorist ที่ทำให้มันออกมาเป็นแบบนี้

5.4 เราชอบที่หนังใส่ใจในรายละเอียดดีมากด้วยแหละ อย่างเช่นฉากทำอสุภกรรมฐาน แล้วเราจะเห็นว่าจีวรพระทั้งสองรูปมี “รอยเหงื่อ” อยู่กลางหลังน่ะ ซึ่งเราว่ามันจริงดี คือพระที่อยู่ในป่าแบบนี้ ก็คงต้องมีเหงื่อออกแบบนี้นี่แหละ

5.5 ชอบมากๆที่หนังพูดถึงศิลปะการทำบายศรี ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อน และชอบมากๆที่หนังพูดถึง “บายศรี” ในฐานะสิ่งประดิษฐ์อันงดงามที่มีอายุอันแสนสั้น คือจุดนี้ทำให้นึกถึงหนังสารคดีเรื่อง WHEEL OF TIME (2003, Werner Herzog) มากๆ เพราะ WHEEL OF TIME เล่าถึงประเพณีของวัดทิเบต ที่ต้องสร้างศิลปะที่งดงามมากๆจากทราย แล้วพอสร้างเสร็จ ชื่นชมมันได้แป๊บนึง ก็ต้องทำลายมันไป เพื่อสอนเรื่อง “อนิจจัง”

5.6 ชอบมากๆที่หนังพูดถึงกิจวัตรบางอย่างของพระด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราแทบไม่เคยเห็นในหนังเรื่องอื่นๆมาก่อนเช่นกัน อย่างเช่นการมองเส้นลายมือในตอนเช้ามืด เพื่อใช้ตัดสินใจว่าควรเริ่มออกบิณฑบาตหรือยัง, การปักกลดธุดงค์, การนับคำเคี้ยวอาหาร, และที่ชอบสุดๆก็คือการทำอสุภกรรมฐานนี่แหละ เป็นอะไรที่หนักมากๆ และน่าสนใจมากๆ ชอบมากๆที่หนังหยิบเรื่องนี้มานำเสนอ

6. ชอบความคล้องจองกันของครึ่งแรกกับครึ่งหลังด้วย อย่างเช่น

6.1 มีฉากกอดศพลูกในครึ่งแรก และครึ่งหลังก็มีตัวละครกอดศพเหมือนกัน
6.2 มีการพูดถึง “ความรุนแรงในสังคม” ทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง โดยครึ่งแรกเป็นเรื่องการทรมานผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอบ ส่วนครึ่งหลังคือการสู้รบกันในป่า
6.3 มีฉากตัวละครอ้วกทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง
6.4 มีฉากตัวละครช่วยเหลือคนป่วยทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง
6.5 ตัวละครแสวงหา “สถานที่แห่งความสุข” สำหรับตัวเอง ทั้งความสุขทางโลกย์ในครึ่งแรกและความสุขทางธรรมในครึ่งหลัง โดยสถานที่นั้นในครึ่งแรกเป็นเหมือนเพิงกลางทุ่งสำหรับคู่รัก ส่วนสถานที่นั้นในครึ่งหลังคือป่าที่มีศพ
6.6 มีการลอยน้ำทั้งในครึ่งแรกและครึ่งหลัง                                          

7.สรุปว่าเป็นหนังที่ชอบสุดๆน่ะแหละ แต่ยอมรับว่าเราติดใจ “รสกาม” มากกว่า “รสพระธรรม” ในหนังเรื่องนี้ 555 คือผู้กำกับคนนี้มี taste เรื่องผู้ชายใกล้เคียงกับเรามั้ง รสกาม” ที่ได้จากหนังเรื่องนี้หรือหนังอย่าง EROTIC FRAGMENT NO. 1, 2, 3 (2011, Anucha Boonyawatana) ก็เลยเข้าปากเราอย่างสุดๆ แทบไม่มีผู้กำกับคนไหนจะแซงหน้าในด้านนี้ได้ ส่วนรสพระธรรมในหนังเรื่องนี้นั้น เราก็ “admire” มันอย่างสุดๆนะ ชอบที่มันเป็นตัวของตัวเองมากๆ ทั้งลึกซึ้งมากๆและแตกต่างจากหนังหลายๆเรื่องที่เราเคยดูมา เพียงแต่ว่าต่อม spiritual ของเราอาจจะไม่ตรงกับหนังเรื่องนี้ซะทีเดียวน่ะ 555

                                                                                  

Wednesday, February 14, 2018

I, TONYA (2017, Craig Gillespie, A+30)

I, TONYA (2017, Craig Gillespie, A+30)

คิดแบบตลกๆฮาๆว่า ถ้าหากเราเป็นครูสอนวิชาพุทธศาสนา เราจะฉายหนังเรื่อง I, TONYA ควบกับ TO DIE FOR (1995, Gus Van Sant) และ THE POSITIVELY TRUE ADVENTURES OF THE ALLEGED TEXAS CHEERLEADER-MURDERING MOM (1993, Michael Ritchie) เพื่อสอนเรื่อง “ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ชีวิตเราก็เท่านี้” 555

ดู I, TONYA แล้วคิดถึง TO DIE FOR กับ CHEERLEADER-MURDERING MOM มากๆ เพราะหนังทั้งสามเรื่องสร้างจากคดีอาชญากรรมจริงเหมือนกัน และเกี่ยวกับหญิงสาวที่มี ambition สูงเหมือนกัน โดย TO DIE FOR สร้างจากเรื่องจริงของ Pamela Smart ผู้หญิงที่มีสามีแล้ว และมีชู้เป็นชายหนุ่มอายุ 15 ปี และเธอบอกกับชายหนุ่มอายุ 15 ปีว่าเขาจะต้องไปฆ่าสามีของเธอ ไม่งั้นเธอจะไม่ยอมมีเซ็กส์กับเขาอีก (Smart was later accused of seducing 15-year-old Flynn and threatening to stop having sex with him unless he killed her husband.) ส่วนหนังของ Holly Hunter นั้นสร้างจากคดีจริงของแม่ที่มีลูกสาวเป็นเชียร์ลีดเดอร์ในโรงเรียนไฮสกูล และแม่คนนี้วางแผนจะฆ่าเชียร์ลีดเดอร์ที่เป็นคู่แข่งของลูกสาว และฆ่าแม่ของเชียร์ลีดเดอร์คนนั้นด้วย โดยโครงสร้างของ MURDERING MOM นั้นคล้ายกับ I, TONYA มากๆ เพราะมีฉากตัวละครมาให้สัมภาษณ์เป็นระยะๆ เหมือนกัน แต่มันสนุกว่า I, TONYA ตรงที่ MURDERING MOM มีตัวละครฝ่ายเหยื่อมาให้สัมภาษณ์อย่างน่าตบด้วย (ถ้าเราจำไม่ผิด เรารู้สึกว่าทั้งฝ่ายอาชญากรและเหยื่อในหนังเรื่องนี้น่าตบทั้งคู่)

ถ้าเทียบกันแล้ว เราชอบ I, TONYA น้อยกว่าอีกสองเรื่องนี้นะ แต่ไม่ใช่เป็นเพราะหนังไม่ดี หรือผู้กำกับมีฝีมือด้อยกว่านะ แต่เป็นเพราะ “ข้อจำกัดในการสร้าง” น่ะ คือ I, TONYA มันสร้างจากคดีที่เราไม่รู้ว่าทอนย่าเป็นคนบงการจริงหรือเปล่า เพราะฉะนั้นหนังก็เลยไม่สามารถสร้างตัวละคร “ทอนย่า จอมบงการผู้ชั่วร้าย” ขึ้นมาได้ และหนังก็เลยต้องสร้างจากปากคำของผู้เกี่ยวข้องในคดี และปล่อยให้คนดูตัดสินใจเอาเองว่า ใครบ้างที่พูดจริง หรือความจริงเป็นยังไง ทอนย่าอาจจะไม่ใช่คนบงการจริงๆอย่างที่ตัวเองบอกก็ได้ คือเราว่าหนังเรื่องนี้ทำออกมาดีมากแล้วน่ะ แต่เราจะ “ไม่กล้ารู้สึกอะไรมากนัก” กับตัวละครแต่ละตัว เพราะเราไม่รู้ว่าความจริงเป็นยังไง เราไม่รู้ว่าแม่ทอนย่าเลวจริงหรือเปล่า เราไม่รู้ว่าทอนย่าเป็นคนบงการหรือไม่ใช่คนบงการ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มาก แต่ไม่กล้าลงความเห็นอะไรใดๆกับตัวละครแต่ละตัวในหนัง ซึ่งมันจะต่างจาก TO DIE FOR ที่มันลงลึกถึงด้านมืดในใจนางเอกจริงๆ เพราะนางเอกมันเป็นจอมบงการจริง  ๆ

ถ้าหากไม่นับคดีที่เราไม่รู้ว่าความจริงเป็นยังไงแล้ว I, TONYA ก็มีจุดที่สะเทือนใจเรามากๆอยู่นะ นั่นก็คือการที่ทอนย่าได้ที่ 4 ในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรก เสร็จแล้วก็ต้องกลับมาทำงานเป็นสาวเสิร์ฟน่ะ คือเรานึกไม่ถึงมาก่อนว่า นักกีฬาอเมริกันที่ได้ถึงที่ 4 ในโอลิมปิก พอกลับมาถึงบ้านแล้วก็ต้องทำงานเป็นสาวเสิร์ฟในร้านอาหารธรรมดาแบบนี้ ชีวิตคนเรานี่มันหนักมากจริงๆ


แต่ถ้าหากทอนย่าไม่ใช่คนบงการอย่างที่เธอกล่าวอ้างจริงๆ หนังเรื่องนี้ก็เหมาะเป็นหนังที่คนโสดอย่างเราจะดูในวันวาเลนไทน์มากๆเลยนะ เพราะหนังเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า “มีผัวผิดแล้วมันซวยแค่ไหน” คือถ้าหากทอนย่าหาผัวไม่ได้ และไม่ได้พัวพันกับผู้ชายโง่ๆกลุ่มนี้ คดีนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น และป่านนี้เธออาจจะเป็นแชมป์โอลิมปิก เป็นดาวค้างฟ้าไปแล้วก็ได้ 555

Monday, February 12, 2018

SAD BEAUTY

SAD BEAUTY เพื่อนฉัน ฝันสลาย (2018, Bongkoch Bencharongkul, A+30)

ชอบองก์สองของหนังอย่างสุดๆ แต่เหมือนองก์สามของหนังมันหาโทนหรืออารมณ์ที่เหมาะสมไม่เจอ พอดูจบแล้วก็เลยงงๆเล็กน้อย คือไม่ใช่งงว่าเกิดอะไรขึ้นในหนัง แต่เหมือนงงว่าเราจูนอารมณ์ไม่ถูกในองก์สามของหนัง เหมือนหนังเล่าเรื่องได้หมด แต่เรางงว่าเราควรทำอารมณ์อะไรยังไงตอนดูองก์สาม 555

แต่ก็ชอบหนังมากอยู่ดีนะ ชอบตัวละครนางเอกสองคนแบบนี้มากๆ คือถ้าหนังหาวิธีลงได้ดีกว่านี้ มันก็คงจะกลายเป็น “หนังสองสาวระดับคลาสสิค” แบบ THE DREAMLIFE OF ANGELS (1998, Erick Zonca), BAISE-MOI, TO BE TWENTY (1978, Fernando Di Leo, Italy), MESSIDOR (1979, Alain Tanner, Switzerland), etc. ได้เลย


สรุปว่าเราชอบ “การถ่ายภาพ” และ “การแสดง” มากๆ แต่เราว่าบทภาพยนตร์มีปัญหาในองก์สามน่ะ ก็เลยเสียดายนิดนึง มันเหมือนกับว่าองก์แรกของหนังมันงดงาม, องก์สองของหนังมันมหัศจรรย์ แต่องก์สามของหนังมันได้แค่ “เล่าว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง” น่ะ แต่มันไม่สามารถสร้าง magic moment ได้มากไปกว่าการให้ข้อมูลว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับชีวิตตัวละคร

Sunday, February 11, 2018

BANGKOK DWELLERS

BANGKOK DWELLERS (2009, Jarurat Theslamyai, Kissada Kamyoung, Alisa Santasombat, 25min, second viewing, A+30)

ดีใจมากๆที่ได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสอง

1.ชอบมากๆที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้พูดทั้งภาษาสเปน, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, ญี่ปุ่น และไทย เรานึกไม่ออกว่ามีหนังไทยเรื่องอื่นๆที่ตัวละครพูดคุยกันด้วยภาษามากมายเท่าหนังเรื่องนี้หรือเปล่า

2.ส่วนแรกของหนังพิศวงมาก ถ้าเราจำไม่ผิด มันเป็นเรื่องของชายหนุ่มที่น่าจะเป็นคนไทย ที่อยู่ดีๆก็สูญเสียความทรงจำเกี่ยวกับภาษาไทย และพูดได้แต่ภาษาสเปน เขาไปเดินเที่ยวกับสาวญี่ปุ่น (หรือญี่ปุ่น-บราซิล เราจำไม่ได้เหมือนกัน) ที่บอกว่าเขาเคยมีบุญคุณกับคุณตาของเธอมาก่อน หรืออะไรทำนองนี้ และชายหนุ่มคนนี้ก็รู้สึกเหมือนเขาไม่มีตัวตนในสายตาของคนอื่นๆ หรือในเมืองนี้

คือส่วนนี้พิศวงมาก เราไม่สามารถตีความอะไรได้เลย แต่ก็ชอบมากๆอยู่ดี

3.ส่วนที่สองของหนังเป็นส่วนที่เราชอบที่สุด และดูเหมือนจะสื่อสารกับคนดูอย่างตรงไปตรงมาที่สุด มันเป็นเรื่องของชายหนุ่มคนไทยกับคนฝรั่งเศสเล่นหมากกระดานอะไรสักอย่างด้วยกัน และพูดคุยกันเกี่ยวกับกรุงเทพ โดยหนุ่มฝรั่งเศสพูดว่าเขามาอยู่กรุงเทพเพราะเขาชอบ “ความไร้ระเบียบ” ของกรุงเทพ ซึ่งจุดนี้ทำให้เรานึกถึงเพื่อนคนไทยของเราที่เคยไปใช้ชีวิตอยู่เยอรมนีแล้วด่า “ความไร้ระเบียบ” ของกรุงเทพ/เมืองไทยให้เราฟัง คือเราชอบเรื่องแบบนี้มากๆ เพราะเราไม่เคยไปเมืองนอกน่ะ เราเลยไม่เคยมีประสบการณ์ตรงในจุดนี้ และไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่า เมืองไทยกับประเทศที่เจริญแล้ว มันต่างกันยังไงบ้าง เราก็เลยชอบหนังตรงจุดนี้ เพราะมันนำเสนอมุมมองของชายฝรั่งเศสคนหนึ่งที่มีต่อเมืองไทย เหมือนอย่างหนัง BANGKOK NITES (2016, Katsuya Tomita, 183min) ที่นำเสนอมุมมองของชายญี่ปุ่นที่มีต่อเมืองไทย เพราะมุมมองของคนต่างชาติมันช่วยให้เราเห็นสิ่งที่เราไม่เห็นหรือไม่ทันได้คิดถึงมาก่อน เพราะเราคุ้นชินกับมันมากเกินไป เรามองว่าหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตของเราเป็น “เรื่องปกติ” แต่ถ้าหากหนุ่มต่างชาติบางคนมามอง เขาอาจจะมองว่า “สิ่งปกติ” ต่างๆเหล่านี้ในชีวิตประจำวันของเรา มันอาจจะเป็น “ความไร้ระเบียบ” อย่างรุนแรงก็ได้

เราไม่มีปัญหากับการนำเสนอทัศนคติของชายฝรั่งเศสในหนังเรื่องนี้นะ เพราะมันอาจจะไม่ใช่ “ทัศนคติของหนัง” คือถึงแม้ตัวละครในหนังเรื่องนี้จะเชิดชูความไร้ระเบียบ หนังก็ไม่ได้บอกว่าหนังเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับตัวละครตัวนี้ คือจริงๆแล้วเราว่าหนังอาจจะต้องการ “เสียดสี” หรือ “ด่าความไร้ระเบียบในทางอ้อม” ก็ได้

4.ส่วนที่สามของหนังเราก็ชอบมาก เพราะเราไม่สามารถลงความเห็นอะไรได้เลย 555 คือส่วนที่สามของหนังนำเสนอเพียงแค่หญิงสาวคนหนึ่งเดินไปเรื่อยๆในกรุงเทพ โดยมีการเดินชนคนตรงจุดนึง แล้วก็นั่งพักตรงจุดนึงเท่านั้นเอง

คือดูจบแล้วเราก็ไม่สามารถบอกได้ว่า

4.1 หญิงสาวคนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ หรือเป็นคนกรุงเทพที่เดินเที่ยวเล่นชมเมืองไปเรื่อยๆในวันนึง

4.2 หญิงสาวคนนี้เป็นคนเชื้อชาติอะไร

4.3 เราไม่รู้ว่าหนังต้องการจะชมหรือด่ากรุงเทพ คือถ้าหากจะบอกว่าหนังด่ากรุงเทพ เราก็ไม่แน่ใจ คือตัวละครมีการเดินชนคน และมีการนั่งพักในจุดที่น่าจะนั่งไม่สบายนัก แต่เราก็รู้สึกว่าตัวละครไม่ได้แสดงอาการ “ไม่สบาย” หรือร้อนใจ หรืออึดอัดอะไรออกมา

การที่เราหาข้อสรุปอะไรไม่ได้เลยจากหนังส่วนที่สาม เป็นสิ่งที่เราชอบมาก เพราะเราว่านี่แหละคือประสบการณ์จริงๆของมนุษย์ที่มีต่อโลกล่ะมั้ง คือประสบการณ์จริงบางทีมันสรุปออกมาเป็นข้อคิดอะไรง่ายๆไม่ได้หรอก (นึกถึงในหนัง BLADE RUNNER 2049 ที่บอกว่า เราสามารถแยกแยะระหว่าง memory จริงกับ memory เทียม ได้ ด้วยการดูว่า memory นั้นมัน messy มั้ย คือถ้า memory นั้นมัน messy มันก็คือ memory จริง)


จริงๆหนังส่วนนี้อาจจะมีสารที่ต้องการสื่อก็ได้นะ แต่เราอาจจะตีความไม่ออกเองก็ได้ แต่เราก็ชอบหนังส่วนนี้มากๆอยู่ดี