NOT DEAD YET (2020, Aniello de Angelis & Eli Hayes, 11min,
A+30)
ดูใน slow film festival
https://slowfilmfestival.com/ancient-cottage
A FLORIDA MELANCHOLY (2019, Eli Hayes, 95min, A+30)
หนังบรรยากาศที่แบ่งออกเป็น chapter ต่างๆ เราชอบช่วง THE
DARKENING SKY สุดๆ โดยช่วงนี้เป็นช่วงที่ถ่ายท้องฟ้ามืดครึ้มไปเรื่อยๆ
จนท้องฟ้ามืดหมด เห็นแต่สีดำเป็นเวลานานมากๆ จนกระทั่งมีฟ้าแลบฟ้าร้องขึ้นมา 1
วินาที แล้วก็กลับไปมืดสนิทใหม่ ต้องรอฟ้าแลบที ถึงจะเห็นแสงสว่าง 1 วินาทีสักที
นึกว่าช่วง THE DARKENING SKY นี้มาเพื่อตบกับ SLEEP HAS
HER HOUSE (2017, Scott Barley)
ดูใน slow film festival
https://slowfilmfestival.com/ancient-cottage
FATHERLAND (2020, Panya Zhu, 25min, A+30)
1.งดงาม ชอบรายละเอียดต่างๆในหนัง
โดยเฉพาะรายละเอียดของสิ่งต่างๆในบ้าน โดยเฉพาะร่องรอยความเสื่อมโทรมที่ปรากฏอยู่ตามจุดต่างๆของบ้าน
รู้สึกว่าหนังเลือกสถานที่ถ่ายทำได้ดีมากๆ และใช้ประโยชน์จากความเก่า
ความเสื่อมโทรมของบ้านได้อย่างทรงพลังสุดๆ
จุดนี้ของหนังทำให้นึกถึงหนังไทยอีก 2
เรื่องที่ใช้ประโยชน์จากความเสื่อมโทรมของบ้านได้ดีมากๆเหมือนกัน ซึ่งก็คือ ตลอดไป
ENDLESSLY (2013, Sivaroj
Kongsakul) กับ “เชื้อราในร่มบ้าน” (2015, Pasit
Tandaechanurat) เราก็เลยหัวเราะออกมา ตอนที่ ending credit ของหนังขึ้นมา แล้วเราก็พบว่าตากล้องของหนังก็คือ Pasit
Tandaechanurat นี่เอง 55555
2.ชอบรายละเอียดปลีกย่อยทางบทด้วย อย่างเช่น การให้แม่ชอบเล่นหวย
และการที่แม่รีบเอาสร้อยพระไปสวมคอชายชราตอนที่ชายชราชักกระตุก
ในขณะที่ตัวพระเอกพยายามหายามาช่วยชายชรา
(เราไม่แน่ใจว่าเขาคือตาหรือปู่ของพระเอก) จุดนี้มันสะท้อนความเชื่อที่แตกต่างกันของคนสองรุ่นเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
เหมือนจุดเล็กๆจุดนี้มันสอดคล้องกับความขัดแย้งสำคัญระหว่างความเชื่อของแม่กับลูกด้วย
ที่ลูกปฏิเสธที่จะนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แบบเดียวกับแม่อีกต่อไป
3.ชอบการให้ความสำคัญกับภาพป่าคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมากๆ
และชอบการถ่ายภาพคอนโดมิเนียมผ่านเงาสะท้อนในน้ำด้วย
มันเหมือนตอกย้ำความจริงที่ว่า สำหรับคนจนๆนั้น คอนโดมิเนียมก็อาจเป็นได้แค่ “ความฝัน”
เหมือนเงาบนแอ่งน้ำ
จุดนี้มันสะเทือนใจเราเป็นการส่วนตัวด้วยแหละ
เพราะเราเองก็อยู่อพาร์ทเมนท์มานาน 25 ปีแล้ว และเคยเก็บเงินจะซื้อคอนโดอยู่
แต่พอดีเกิดอุบัติเหตุในชีวิตในปี 2016 ที่ทำให้เราสูญเงินเก็บไปเกือบหมด
เราก็เลยต้องอยู่อพาร์ทเมนท์ต่อไป เพราะฉะนั้น “ความใฝ่ฝัน”
ของพระเอกในหนังเรื่องนี้ ที่คาบเกี่ยวกับ “คอนโดมิเนียม” มันก็เลยสะเทือนใจเราเป็นการส่วนตัว
4.อีกจุดที่ชอบก็คือ sound design ที่ค่อนข้างละเอียด
โดยเฉพาะการใส่เสียง “การก่อสร้างตึก” แทรกเข้ามาเบาๆในช่วงแรก
ก่อนจะถูกใช้อย่างสำคัญในช่วงต่อมา
5.การถ่ายตรอกซอกซอยในย่านที่อยู่อาศัยของพระเอก และการถ่าย “ตลาดสด”
ก็ทำออกมาได้ดีมากๆ
6.จุดที่เรารู้สึกพีคเป็นการส่วนตัว ไม่ใช่ฉากชายชราชักกระตุก
หรือฉากลูกทะเลาะกับแม่ แต่เป็นฉากที่พระเอกได้รับโทรศัพท์เรื่องลูกค้าโกง แล้ว “น่ำเสียง”
ของเขาเปลี่ยนไปในขณะที่เขายืนแจกโบรชัวร์ เขาเปลี่ยนจากน้ำเสียงร่าเริง
กลายเป็นน้ำเสียงของความขุ่นขึ้งโกรธแค้น เกลียดชังโลก เกลียดชังสังคม
เกลียดชังชีวิต คือเราชอบที่พระเอกไม่ได้ทำอะไรรุนแรงไปมากกว่านั้น แต่แค่ “น้ำเสียง”
ของเขาเปลี่ยนไป เราก็รู้สึกว่ามันรุนแรงสุดๆแล้ว
7. ชอบหนังมากๆนะ
แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่ได้สะเทือนใจเราอย่างรุนแรงสุดๆ
บางทีอาจจะเป็นเพราะหนังมันสั้น แล้วมันต้อง balance ระหว่างอะไรหลายๆอย่างมั้ง
ทั้ง “ปัญหาทางการเงินของครอบครัว” และ “ประเด็นการเมือง” แล้วพอมันต้อง balance ทั้งสองอย่าง มันก็เลยยากที่มันจะทำอารมณ์ให้พีคได้
เมื่อเทียบกับหนังที่เน้นหนักกับอะไรเพียงอย่างเดียว หรือเมื่อเทียบกับหนังที่มีขนาดยาวกว่านี้
คือเรารู้สึกว่า ตัวละครใน FATHERLAND มันพยายามจะเป็นทั้ง “มนุษย์ธรรมดาคนนึงที่มีเลือดเนื้อชีวิตจิตวิญญาณจริงๆ”
กับ “ตัวละครที่เป็นภาพแทนของปัญหาสังคมการเมืองไทย” น่ะ
แล้วพอตัวละครมันต้องแบกรับทั้งสองหน้าที่ในเวลาเดียวกันภายในเวลาอันสั้น มันก็เลยยากที่จะไปให้สุดในทั้งสองหน้าที่ได้
คือถ้าหากพูดถึงหนังเกี่ยวกับ “ปัญหาทางการเงินของครอบครัว” แล้ว เราจะนึกถึงหนังอย่าง
WHERE THE SUN NEVER SHINES (2017,
Watcharapol Saisongkroh) กับ ETERNAL DROWNING (2020,
Napasin Samkaewcham) น่ะ ซึ่งเหมือนหนังสองเรื่องนี้จะให้น้ำหนักกับการเมืองไม่มากเท่าเรื่องนี้
มันก็เลยอาจจะเปิดโอกาสให้หนังทั้งสองเรื่องนี้สามารถนำเสนอตัวละครในฐานะมนุษย์ธรรมดาที่มีเลือดเนื้อชีวิตจิตวิญญาณจริงๆ
และทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดกับตัวละครอย่างรุนแรงใน function นี้ได้
หรือถ้าหากพูดถึงหนังที่นำเสนอตัวละครในฐานะภาพสะท้อนอะไรบางอย่างทางการเมืองแล้ว
เราก็จะนึกถึงหนังอย่าง THE GIRL (2018, Jittrapa Bumroongchai), THE VOID OF WEIGHT การเคลื่อนที่ผ่านกัน (2019, วรรวิมล ตั้งสายัณห์) และ
PRAYOON (2016, Somchai Tidsanawoot) น่ะ
ซึ่งตัวละครในหนังเหล่านี้อาจจะดูไม่เหมือนมนุษย์จริงๆมากเท่าหนังกลุ่มแรก
แต่มันก็ถูกใช้เพื่อนำเสนอประเด็นทางการเมืองได้อย่างรุนแรงเต็มที่
หรือนำเสนอได้อย่างหลอนเต็มที่ในกรณีของ PRAYOON
คือตอนที่เราดู FATHERLAND เราจะนึกถึง PRAYOON
มากๆ เพราะ PRAYOON ก็นำเสนอตัวละคร “สมาชิกครอบครัว
3 รุ่น” เหมือนกัน ทั้งรุ่นปู่, รุ่นพ่อแม่, รุ่นลูกชาย และเน้น “บรรยากาศหลอกหลอนอย่างรุนแรง”
เหมือน FATHERLAND แต่พอ PRAYOON มันเป็นหนังยาว
มันก็เลยสามารถบิ๊วอารมณ์หลอกหลอนในทางของมันได้อย่างต่อเนื่อง, อย่างทรงพลัง
และอย่างเต็มที่
สรุปว่าเราก็ชอบ FATHERLAND มากๆแหละ
และเราคิดว่ามันมีทั้งส่วนที่ทำให้นึกถึงหนัง “ครอบครัวจนๆที่ร้าวราน” แบบ WHERE
THE SUN NEVER SHINES และมีส่วนที่ทำให้นึกถึงหนัง “ครอบครัวหลอนๆทางการเมือง”
แบบ PRAYOON และเราก็ชอบที่ FATHERLAND พยายามผสมทั้งสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน
เพียงแต่เราคิดว่ามันยังขาดอะไรอีกนิดนึงถึงจะทำให้ FATHERLAND สะเทือนใจอย่างสุดๆได้
แต่ก็มีหนังบางเรืองนะที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดกับตัวละครทั้งในฐานะ “คนจริงๆ”
และในฐานะ “ประเด็นทางการเมือง” ได้ แต่มันเป็นหนังสารคดีน่ะ อย่างเช่น “หมายเลขคดีแดง”
ซึ่งพอมันเป็นหนังสารคดี เราก็เลยรู้สึกกับ subject ของหนังในฐานะ “คนจริงๆ”
ได้ในทันทีอยู่แล้ว ซึ่งหนัง fiction อาจจะประสบความยากลำบากกว่าหนังสารคดีเป็นอย่างมากในการที่จะทำจุดนี้ให้สำเร็จได้
ซึ่งจุดที่ว่านี้ก็คือการสร้างตัวละคร fiction ที่ดูเป็นคนจริงๆด้วย
และสะท้อนประเด็นทางการเมืองได้ดีด้วย
8.รู้สึกว่า FATHERLAND เป็นภาคต่อโดยไม่ได้ตั้งใจของหนังเรื่อง นครอัศจรรย์
MIGHT (2011, Wachara Kanha, 30min) ด้วย 55555
เพราะนครอัศจรรย์ MIGHT เป็นหนังที่ประกอบด้วยภาพและเสียงที่ดูเหมือนไม่สัมพันธ์กัน
โดยเสียงในหนังเรื่องนี้เป็นการสัมภาษณ์ทนายความหญิงคนนึงที่พูดไปเรื่อยๆ
ถึงความอยุติธรรมที่คนเสื้อแดงได้รับในปี 2010 ส่วนภาพในหนังเรื่องนี้เป็นภาพการก่อสร้างอาคารต่างๆในกรุงเทพไปเรื่อยๆตลอด
30 นาที
พอดู FATHERLAND เราก็เลยนึกถึง นครอัศจรรย์ MIGHT มากๆ เพราะ FATHERLAND ก็เน้นการก่อสร้างอาคารสวยๆ
คอนโดสวยๆในกรุงเทพ และหนังก็พูดถึงความอยุติธรรมที่คนเสื้อแดงได้รับในปี 2010 เหมือนกัน
คือพอ FATHERLAND มันพยายามจะโยงสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน
เราก็เลยรู้สึกว่า FATHERLAND เหมือนเป็นภาคต่อของ “นครอัศจรรย์
MIGHT” โดยไม่ได้ตั้งใจ 55555
-----------------------------
เมื่อวานนี้ดูหนังจีนเรื่อง WILD GRASS (2019, Xu Zhanxiong, China, A+15) แล้วแทบร้องไห้ ไม่ใช่เพราะหนังดี เพราะหนังก็ไม่ได้ดีมากนัก
แต่เป็นเพราะว่าหนังใช้เพลงธีมเป็นเพลงญี่ปุ่น LOVE STORY WA TOTSUZEN NI ของ Kazumasa Oda ที่เคยใช้ประกอบละครทีวีญี่ปุ่นเรื่อง
TOKYO LOVE STORY (1991) ที่เคยมาฉายทางช่อง 3
เพราะฉะนั้นพอเราได้ยินเพลงนี้ เราก็เลยหวนคิดถึง “วันชื่นคืนสุข” เมื่อ 30 ปีก่อน
แล้วก็เลยรู้สึกอยากร้องไห้ออกมา
No comments:
Post a Comment