DO YOU LOVE ME? (2020, Phuwanate Seechompoo,A+30)
รักหนูมั้ย (ภูวเนตร สีชมพู)
1.งดงามที่สุด ชอบมากๆที่หนังเลือกนำเสนอภาพครอบครัวทางเลือกที่แตกต่างจากหนังไทยทั่วไปอย่างรุนแรง ชอบมากๆที่นางเอกเป็นกะหรี่ที่มีผัวสามคน
2. รู้สึกเหมือนหนังเป็นแฟนตาซีของผู้ชาย มากกว่าที่จะเป็นแฟนตาซีของผู้หญิงหรือเกย์ โดยดูได้จากการสร้างตัวละครนางเอกที่ดู passive มากๆ และเป็น fantasy object มากๆ (สวย อ่อนหวาน น่ารัก เรียบร้อย เป็นกะหรี่เพราะความจำเป็น ไม่เงี่ยนผู้ชาย) ในขณะที่ตัวละครฝ่ายชายดูติดดินกว่าเยอะ
แต่ก็ไม่รู้สึกว่าจุดนี้เป็นข้อเสียของหนัง เพราะเรารู้สึกว่าการสร้างหนังที่ตอบสนองแฟนตาซีทางเพศไปด้วย และท้าทายค่านิยมของสังคมไปด้วย เป็นเรื่องธรรมดา เพียงแต่ว่าความรู้สึกอินของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้ ก็ย่อมต้องน้อยกว่าหนังที่สร้างขึ้นโดยเน้นตอบสนองรสนิยมทางเพศของเกย์เป็นหลัก ซึ่งรวมถึงหนังที่ "ท้าทายค่านิยมของสังคม" อย่าง "ช่างมันฉันไม่แคร์" (1986, M.L. Bhandevanop Devakul) ที่พระเอกมีอาชีพขายตัว และ FATHERS (2016, Palatpol Mingpornpichit) ที่พยายามโน้มน้าวสังคมให้เปิดใจกว้างรับ "ครอบครัวทางเลือก" คล้ายๆกับ "รักหนูมั้ย"
จริงๆแล้วรู้สึกว่า "ช่างมันฉันไม่แคร์" เป็นชื่อหนังที่อาจจะนำมาใช้กับหนังเรื่อง "รักหนูมั้ย" ได้ด้วย เพราะตัวละครในหนังทั้งสองเรื่องก็เลือกเส้นทางรักที่ไม่แคร์สังคมเช่นกัน แต่การใช้ชื่อเรื่องแบบ "ช่างมันฉันไม่แคร์" อาจจะเป็นการตอกย้ำ "ความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวของนางเอก" และ "ความเกลียดชังค่านิยมโบราณของสังคม" ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่หนังเรื่อง "รักหนูมั้ย" ต้องการขับเน้น การใช้ชื่อเรื่องที่แตกต่างกันของหนังสองเรื่องนี้ ก็เลยสะท้อนความแตกต่างกันอย่างรุนแรงของนางเอกหนังสองเรื่องนี้ด้วย ถึงแม้ตัวละครนางเอกทั้งสองยืนหยัดต่อต้านค่านิยมของสังคมเหมือนๆกัน
3. อยากให้มีคนฉาย รักหนูมั้ย ควบกับ หนังต่อไปนี้ หรือวิเคราะห์ "รักหนูมั้ย" โดยเปรียบเทียบกับหนังต่อไปนี้
3.1 HOTEL ANGEL เทพธิดาโรงแรม (1974, Prince Chatrichaloem Yukol) เพราะตัวละครนางเอกเป็นกะหรี่เหมือนกัน
3.2 DECEMBER BRIDE (1991, Thaddeus O'Sullivan) ที่นางเอกอยู่กินกับผัวหนุ่มสองคนในเวลาเดียวกัน
3.3 VANZ (2018, Krisada Pengboon) ที่นางเอกชอบมีเซ็กส์กับหนุ่มๆหลายคน
4.นึกว่า "รักหนูมั้ย" สร้างขึ้นมาเพื่อตบหน้า "จำเนียร วิเวียน โตมร" I LOVE YOU TWO (2016, Rergchai Puongpetch) ที่ไม่ยอมให้นางเอกมีผัวสองคน
THE PAINTED BIRD (2019, Vaclav Marhoul, Czech, A+30)
1.ถ้าเทียบกับหนัง holocaust เรื่องอื่นๆแล้ว หนังเรื่องนี้ก็แหวกแนวมาก เพราะหนัง holocaust โดยทั่วไปมักจะนำเสนอความโหดร้ายเลวทรามของนาซีเป็นหลัก เหมือนนาซีในหนังเหล่านี้มักจะถูกนำเสนอในแบบดำจัด ส่วนเหยื่อก็จะเป็นสีขาวหรือสีเทาๆบ้าง
หนังที่นำเสนอความเลวร้ายของทั้งสองฝ่ายในสงคราม มีแค่ไม่กี่เรื่อง เท่าที่เราเคยดูก็อาจจะมีแค่ LIBERATORS TAKE LIBERTIES (1992, Helke Sander, Germany, documentary, 192min) ที่พูดถึงการที่ทหารสัมพันธมิตรข่มขืนผู้หญิงเยอรมัน หลังจากทหารนาซีเคยข่มขืนผู้หญิงโซเวียตมาแล้ว, GASTON'S WAR (1997, Robbe de Hert, Belgium) ที่พูดถึงการที่ฝ่ายสัมพันธมิตรฆ่าคนบริสุทธิ์บางคนเพื่อแลกกับการชนะสงคราม และ KATYN (2007, Andrzej Wajda, Poland) ที่พูดถึงการที่ทหาร soviet สังหารหมู่ชาวโปแลนด์จำนวนมาก
ตอนดู THE PAINTED BIRD ก็เลยรู้สึกว่ามันแตกต่างจากหนัง WWII อื่นๆในแง่นี้ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครที่ชั่วร้ายในทุกๆฝ่าย ทั้งฝ่ายนาซี, ฝ่ายโซเวียต และชาวบ้านธรรมดา คือชาวบ้านธรรมดาในหนังเรื่องนี้นี่ไม่ได้ดีไปกว่าพวกนาซีเลย แถมหนังเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ "ธรรมชาติ" เองก็โหดร้ายมากๆด้วย
2.ทำไมดูแล้วนึกถึงความโหดร้ายใน "นิทานพื้นบ้าน" ของไทย 555 อย่างเช่น
2.1 นึกถึงปลาบู่ทอง ที่ตัวละครเอกเจอแต่ความโหดร้ายไม่ได้หยุดได้หย่อน
2.2 การควักลูกตา ก็นึกถึง นางสิบสอง
2.3 การที่กลุ่มหญิงชาวบ้านรุมทำร้ายหญิงบ้า ก็นึกถึงเรื่องของ นางอมิตตดา ที่ถูกกลุ่มเมียพราหมณ์รุมทำร้าย
พอดูหนังเรื่องนี้ แล้วเลยทำให้จินตนาการว่า อยากให้มีคนสร้างหนังไทยแนว "จักรๆวงศ์ๆ" ที่แต่งเรื่องขึ้นมาใหม่หมด แต่ให้ sense ของหนังออกมาคล้ายๆ THE PAINTED BIRD
3.ฉากที่สะเทือนใจเรามากสุด คือฉากที่ทหารโซเวียตยิงเด็กในหมู่บ้านตาย เหมือนหนังเปิดโอกาสให้เราลุ้นว่าเด็กคนนั้นจะหาวิธีหลบกระสุนได้ตลอดรอดฝั่งหรือเปล่า แต่เด็กก็ไม่รอด
4.แต่หนังเรืองนี้ก็ไม่ "ทำร้ายจิตใจ" เรามากเท่า "หนังเด็กในสงคราม" แบบ COME AND SEE (1985, Elem Klimov) และ BEASTS OF NO NATION (2015, Cary Joji Fukunaga) นะ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่า THE PAINTED BIRD มันมี sense แบบนิทานพื้นบ้านนี่แหละ มันก็เลยไม่ทำร้ายจิตใจเรามากเท่า "หนังสมจริง"
THE GOOD DAUGHTER (2019, Yu Ying Wu, Taiwan, documentary, A+30)
THE MOVING TENT (2018, Singing Chen, Taiwan, documentary, A+25)
THE PRICE OF DEMOCRACY (2019, Liao Jian-hua, Taiwan, documentary, A+30)
1. ทำไมดูแล้วนึกถึง THE TRUTH BE TOLD (Pimpaka Towira)
2.สะเทือนใจมากๆกับการที่ activist หญิงในหนังเรื่องนี้โดนแม่ผัวกลั่นแกล้ง โดยแม่ผัวหอบหลานไปอยู่ด้วยที่อเมริกา แล้วห้าม activist หญิงจากการพบเจอลูกของตัวเอง ตัว activist หญิงก็เลยแทบไม่เคยได้เจอลูกอีกเลยตลอดชีวิตของเธอ
จุดนี้ทำให้นึกถึงมินิซีรีส์เรื่อง BERYL MARKHAM: IN THE SHADOW OF THE SUN (1988, Tony Richardson) มากๆ เพราะ IN THE SHADOW OF THE SUN สร้างจากเรื่องจริงของ Beryl ซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกที่ขับเครื่องบินแบบ solo , non-stop ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้สำเร็จ แต่ครอบครัวของสามีเกลียด Beryl มาก เหมือนครอบครัวนี้เป็นตระกูลผู้ดี แล้วกีดกันไม่ให้ BERYL ได้เจอหน้าลูกชายอีกเลยหลังจากเธอหย่ากับสามีแล้ว
เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่า หรือว่านี่คือชะตากรรมของหญิงแกร่ง เพราะ Beryl ก็กล้าหาญชาญชัยมากๆ กล้าขับเครื่องบินข้ามมหาสมุทร ส่วน subject ของ THE PRICE OF DEMOCRACY ก็เป็นหญิงแกร่งเช่นกัน แต่ทั้งสองต่างก็ถูกกลั่นแกล้งอย่างรุนแรงจากครอบครัวสามีเหมือนกัน ราวกับว่าสถาบันครอบครัวต้องการเพียงแค่ "แม่พันธุ์โง่ๆที่ว่านอนสอนง่าย" เข้ามาเป็นสมาชิก
หรือว่านี่คือ THE PRICE OF BEING A STRONG WOMAN
VOICES IN THE WIND (2020, Nobuhiro Suwa, Japan, A+30)
ตายคาโรง ร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง
WANING MOON คน ทรง ผี (2020, Arthit Arriyawongsa, Theerakahatep Arriyawongsa, A+)
1.ที่ให้ A+ เพราะความหล่อน่ารักของพระเอก 555
2. แต่เนื้อเรื่อง เราว่า ไม่สนุก และไม่เข้มข้นเท่าที่ควร คือไม่ต้องเทียบกับ "แสงกระสือ" คือแค่เทียบกับ "หลวงพี่กะอีปอบ" หนังเรื่องนี้ก็พ่ายแพ้หลุดลุ่ยแล้ว
3.บรรยากาศในหนัง ก็ "ไม่ขลัง" มากๆ เพราะทุกฉากมันดูสว่างเรืองรองมลังเมลืองตลอดเวลา คือบรรยากาศในหนังมันไม่ใช่หนัง horror แบบ IMPETIGORE ที่มันดูขลังจริงๆน่ะ
MISS LONELY (1985, Nobuhiko Obayashi, Japan, A+30)
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1. ยกให้ Nobuhiko Obayashi เป็น one of my most favorite directors of all time ไปเลย ชอบ "เรื่องมหัศจรรย์" ในหนังของเขามากๆ ทั้งเปียโนกินคน (HOUSE), การย้อนเวลา (THE LITTE GIRL WHO CONQUERED TIME), การสลับร่าง (I ARE YOU, YOU AM ME), การที่กลุ่มคนตายกลับมาร่ำลาคนเป็น (GOODBYE FOR TOMORROW) และ "การที่จิตวิญญาณของตัวเราในรูปถ่ายขณะอายุ 16 ปี" หลุดออกมาจากรูป แล้วมาปะทะกับตัวเราตอนอายุ 42 ปีในหนังเรื่องนี้
2.ถึงแม้หนังจะเล่าเรื่องผ่านทางตัวลูกชาย แต่พอดูจบแล้วรู้สึกว่าเรื่องของแม่มันซึ้งสุดๆคือเราเข้าใจว่า ตัวคุณแม่ (Tatsuko) ตอนอายุ 16 ปี คงหลงรักชายหนุ่มคนนึงอย่างหัวปักหัวปำ เขาเล่นเปียโนเก่ง แต่เขาไม่รักเธอ เธอก็เลยหาแฟนหนุ่มคนใหม่ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนรักแรกของเธอ แล้วเธอก็เลยได้ลูกชายที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนรักแรก, ตั้งชื่อลูกชายให้เหมือนรักแรก แล้วพยายามให้ลูกชายเล่นเปียโนให้เก่งเหมือนรักแรกของเธอ
แล้วนั่นก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้ "จิตวิญญาณของเธอในวัย 16 ปี" ที่หลุดออกมาจากรูปถ่าย ตกหลุมรักลูกชายของตัวเองอย่างรุนแรง
3.ชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า I ARE YOU, YOU AM ME อีก แต่เหมือนหนังเรื่องนี้ไม่เคยถูก REMAKE เลยมั้ง ในขณะที่ I ARE YOU, YOU AM ME ถูกรีเมคเป็น "หวานมันส์ฉันคือเธอ" มาแล้วหลายรอบมากๆ
บางทีอาจจะเป็นเพราะ MISS LONELY มันมีความ incest ก็ได้มั้ง คนก็เลยไม่กล้าเอาหนังเรื่องนี้มารีเมค 555
LEAP (2020, Peter Chan, China, A+30)
1.ชอบที่หนังดูไม่ได้มีความคลั่งชาติมากนัก 555 คือก่อนเข้าไปดู เราจะกลัวว่าหนังมันจะออกมาอวยจีนแบบต่ำๆอย่าง VANGUARD (2020, Stanley Tong) และ WOLF WARRIOR 2 (2017, Jing Wu) แต่พอดูแล้ว ก็พบว่าหนังมันไม่ได้เป็นแบบที่เรากลัวแต่อย่างใด คือหนังทำให้เรารู้สึกว่า ทีมจีนก็ชนะและแพ้ได้มากพอๆกับทีมของชาติอื่นๆ และคนจีนก็เป็นเหมือนกับมนุษย์ทุกชาติ นั่นก็คือ ถ้าหากอยากจะประสบความสำเร็จ ก็ต้องตั้งใจจริง, ฝีกหนักมาก, ทุ่มสุดตัว, ใช้หัวสมองและความฉลาดในการวางกลยุทธ์ และเปิดใจกว้างยอมรับการปฏิรูปเพื่อตอบรับต่อความเปลี่ยนแปลง
รู้สึกว่าหนัง treat ความสำเร็จของ Lang Ping และนักกีฬาหลายๆคน ว่าเกิดจากความมุมานะตั้งใจจริงของ "แต่ละคน" น่ะ และไม่ได้ treat ว่า พวกเขาประสบความสำเร็จเพียงเพราะพวกเขาเป็นคนจีน เราก็เลยโอเคกับหนังมากๆ
2. นึกถึง MONEYBALL (2011, Bennett Miller) มากๆ เพราะหนังทั้งสองเรื่องสร้างจากเรื่องจริงในวงการกีฬาเหมือนกัน และเน้นการวางกลยุทธ์ในการฟอร์มทีมและการแข่งขันเหมือนกัน
3.ประหลาดดีที่ฉาก climax ของหนังไม่ใช่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ เราเดาว่าบางทีอาจจะเป็นเพราะว่าหนังสร้างจาก "เรื่องจริง" และการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศอาจไม่ลุ้นมากเท่ากับรอบอื่นๆ หนังก็เลยต้องเลือกฉาก climax ที่ไม่ใช่รอบชิงชนะเลิศ
4.เหมือนเราแทบไม่เคยดูหนังกีฬาแนวนี้จากจีนมาก่อน เหมือนญี่ปุ่นคือแชมป์ในการสร้างหนัง/ละครทีวีแนวนี้ในช่วงทศวรรษ 1970-1980 แล้วเราก็ได้ดูหนังแนวนี้จากอินเดียเยอะมากในทศวรรษ 2010
GONE WEDNESDAY (2020, Kohei Yoshino, Japan, A+30)
ชอบที่พระเอกมี 7 บุคลิก แล้วบุคลิกของวันจันทร์เป็น bisexual ที่มี sex กับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย 555
No comments:
Post a Comment