Monday, May 17, 2021

COMRADES, ALMOST A LOVE STORY

 

HAUNTED TALES (2021, Supakorn Riansuwan, A+)

เรื่องผีเล่า (ศุภกร เหรียญสุวรรณ)

 

--ตอนของเป้ อารักษ์น่าเบื่อมาก

 

--ชอบตอนสองมากสุด ชอบที่มันไม่ใช่เรื่องของ “คนกลัวผี” แต่เป็นเรื่องของหญิงสาวที่มีพลังพิเศษ

 

--หมาก ปริญในตอนสาม หล่อมาก เราว่าตอนสามมันมีไอเดียดี ๆ ที่น่าสนใจ แต่พอไอเดียพวกนี้มันมารวม ๆ กันแล้วมันงงไปหมด

 

รูปประกอบเป็นรูปของขุนแผน ศุภโชค ทวีโชติ นักแสดงที่เล่นเป็น “ผู้จัดการโรงแรมที่เป็นชู้กับเมียเจ้าของโรงแรม” ในตอนสอง

THE TROUBLE WITH BEING BORN (2020, Sandra Wollner, Austria/Germany, A+30)

 

ดูแล้วงง ๆ แต่ก็ชอบมาก ๆ อยู่ดี เสียดายที่หนังมันฉายในงานกลางแจ้งที่เกอเธ่ แล้วหนังมันมืดมาก ซึ่งพอฉายในงานกลางแจ้ง (แทนที่จะฉายในโรงภาพยนตร์มืด ๆ ) แล้วมันเลยเห็นรายละเอียดในภาพได้ไม่ชัด

 

THE MAGIC SHOES (1992, Prachya Pinkaew, A+15)

รองต๊ะแล่บแปล๊บ

 

1.ทำไมพอมาดูตอนนี้แล้วรู้สึกว่า ทัช ณ ตะกั่วทุ่งในหนังเรื่องนี้หล่อน่ารักมาก แต่สมัยโน้นเราเฉย ๆ กับเขามาก 55555 รู้สึกว่าแก๊งเพื่อน ๆ ของพระเอกนี่น่ากินทุกคนเลย หนังแคสต์กลุ่มนักแสดงชายมาได้ดีมากค่ะ

 

2.เหมือนพระเอกจริง ๆ ของหนังเรื่องนี้คือ special effects ที่ทำให้รองเท้ามีชีวิตขึ้นมาได้

 

3.จริง ๆ แล้วพล็อตของหนังเรื่องนี้มันคือพล็อตเดียวกับหนังชุด STEP UP (2006) เลยนะ แสดงว่าหนังเรื่องนี้มาก่อนกาลเวลาราว 14 ปี 55555

 

4.เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่หอภาพยนตร์ ศาลายาเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน แต่เราพลาดช่วง 20 นาทีแรกไป เราก็เลยมาดูต่อในยูทูบ แล้วก็เลยพบว่าหนังเรื่องนี้เวอร์ชั่นที่ลงในยูทูบ มันดูดเสียงเพลงต่างประเทศไปหมดเลย เราก็เลยได้ดูทัชเต้นรำไปเรื่อย ๆ ในช่วงต้นเรื่อง โดยไม่ได้ยินเสียงเพลงแต่อย่างใด

 

แล้วเราก็เลยเข้าใจว่า หนังเรื่องนี้มันคงจะเป็นหนึ่งในช่วง “รอยต่อ” ของความเปลี่ยนแปลงทางลิขสิทธิ์ในไทยมั้ง เพราะก่อนหน้านี้หนังไทยและละครทีวีไทยน่าจะใช้เพลงจากต่างประเทศกันได้ตามใจชอบ โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่หลังจากนั้นพอมันเกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ (หรือเปล่า) หนังและละครไทยที่เป็น commercial ก็จำเป็นต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ถ้าหากจะใช้เพลงจากต่างประเทศ

 

นึกถึงช่วงทศวรรษ 1980 ที่เราเหมือนได้ยินเพลงจาก SOMEWHERE IN TIME ถูกใช้ประกอบในหนังและละครทีวีไทยราว ๆ 500 เรื่อง 55555

 

IT’S ME (1990, Jazzsiam, A+30)

“...คือฉัน”

 

คลาสสิคจริง ๆ

 

COMRADES, ALMOST A LOVE STORY (1996, Peter Chan, Hong Kong, A+30)

 

1.งดงามตามคำร่ำลือจริง ๆ ในแง่ความดีงามของหนังเรื่องนี้ เราก็เห็นด้วยกับเพื่อนหลาย ๆ คนว่ามันดีงามมาก ๆ

 

2.แต่ถ้าหากถามเรื่อง “ความอิน” กับหนังแล้ว เราก็พบว่า เราอินกับ THE LOVE LETTER (1999, Peter Chan) มากกว่านะ ถ้าหากเปรียบเทียบกับหนังของ Peter Chan ด้วยกัน เพราะ THE LOVE LETTER มันตอบสนองแฟนตาซีทางเพศของเราได้ตรงกว่ามาก ๆ 55555

 

3.พอดู COMRADES แล้วก็เลยนึกถึงหนังอีกสองเรื่องด้วย ซึ่งก็คือ อีหล่าเอ๋ย (2020, อาทิตย์ ศรีภูมิ, เอกชัย ศรีวิชัย) กับ YARN (2020, Takahisa Zeze) ซึ่งเราชอบสุด ๆ ทั้ง 3 เรื่อง

 

สาเหตุที่นึกถึงหนังอีกสองเรื่องนี้เป็นเพราะว่า

 

3.1 ปัจจัยนึงที่ทำให้เราชอบหนังทั้ง 3 เรื่อง อย่างสุดๆ เป็นเพราะว่าหนังทั้งสามเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับ “ความยากลำบากในการทำมาหากินของทั้งพระเอกและนางเอก” คือพระเอกและนางเอกในหนังทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นคนจนที่พยายามดิ้นรนเพื่อหาเงินมายังชีพน่ะ (ยกเว้นพระเอกของ YARN ที่ดูเป็นชนชั้นกลางระดับล่าง)  เราก็เลยอินกับสถานการณ์ของพระเอกนางเอกในหนังทั้งสามเรื่องอย่างมาก ๆ เพราะเรารู้สึกว่าสิ่งสำคัญในชีวิตเราก็คือ “การหาเงินมายังชีพ” มากกว่า “ความรัก” 55555 เราก็เลยชอบหนังโรแมนติกที่โฟกัสไปที่ความจนของตัวละคร มากกว่าหนังโรแมนติกที่ตัวละครไม่มีปัญหาในจุดนี้

 

3.2 หนังทั้งสามเรื่องมี “ฉากไคลแมกซ์” ช่วงท้ายที่คล้ายกันอย่างสุดๆ  นั่นก็คือฉากไคลแมกซ์ที่พยายามให้คนดูลุ้นอย่างสุดใจขาดดิ้นว่า พระเอกกับนางเอกที่พลัดพรากจากกันมานานหลายปี จะตามหากันจนเจอหรือไม่ 5555 ทั้งการวิ่งเตลิดลงจากรถยนต์ของจางม่านอี้เพื่อไล่ตามจักรยานของผู้ชายใน COMRADES, การตามหานางเอกกลางท่าเรือที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คนจำนวนมากใน YARN และร้านทำผมใน “อีหล่าเอ๋ย” ที่พอพระเอกหลับตา นางเอกก็มาสระผมให้ แต่พอจังหวะที่พระเอกลืมตาปุ๊บ นางเอกก็ดันเปลี่ยนไปให้พนักงานอีกคนมาสระผมพระเอกแทนพอดี (ถ้าจำไม่ผิดนะ)

 

คือเหมือนหนังทั้ง 3 เรื่องนี้ใช้สูตรเดียวกันเด๊ะ ๆ เลยในฉากไคลแมกซ์ จนเราอยากให้มีคนทำหนัง found footage ที่เอาฉากไคลแมกซ์ของหนังทั้งสามเรื่องมาเรียงร้อยต่อกันมาก ๆ

 

3.3 ชีวิตของตัวละครใน COMRADES กับ YARN นี่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนกันเลย เหมือนมีขึ้นมีลงอย่างรุนแรงพอ ๆ กันทั้งสองเรื่อง

 

3.4 ทั้ง COMRADES กับ YARN ต่างก็สะท้อน “ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม” ในช่วงเวลานานหลายปีเหมือนกันด้วย  โดยเฉพาะ “การล่มสลายของตลาดหุ้น” ในปี 1987 ใน COMRADES และ FINANCIAL CRISIS ในปี 2008 ใน YARN โดยเหตุการณ์ทั้งสองต่างก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตของตัวละครในทั้งสองเรื่องอย่างรุนแรง โดยใน YARN มีเรื่องของแผ่นดินไหวที่ Fukushima ที่ทำให้ตัวละครประกอบเป็นบ้าด้วย

 

4.พอเปรียบเทียบหนังทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกันแล้ว เราก็พบว่า “อีหล่าเอ๋ย” ดีน้อยสุดในบรรดาหนังสามเรื่องนี้ แต่เราชอบอีหล่าเอ๋ยมากสุด เพราะเราอินกับหนังเป็นการส่วนตัว โดยเฉพาะเรื่องของพระเอกที่อยู่ดี  ๆ ก็สูญเสียเงินที่เก็บออมไว้ไปเกือบหมด

 

คือเราว่า จุดที่ด้อยที่สุดในอีหล่าเอ๋ย เมื่อเทียบกับอีก 2 เรื่องที่เหลือ คือตัวละคร “คนรวยที่มาชอบนางเอก” น่ะ ซึ่งในหนังทั้งสามเรื่องมีตัวละครแบบนี้เหมือนกันหมดเลย แต่ตัวละครของ Eric Tsang ใน COMRADES ดูสมจริงมากที่สุด เป็นมนุษย์ปุถุชน มีเลือดมีเนื้อมากที่สุด ส่วนตัวละคร “เจ้าของบริษัทหนุ่มหล่อ” ที่มาชอบนางเอกใน YARN ดูเป็น “แฟนตาซีทางเพศ” ที่ดี  55555 ในขณะที่ตัวละคร “เจ้าของโรงงานหนุ่มหล่อ” ที่มาชอบนางเอกใน อีหล่าเอ๋ย ดูแบนราบมาก ๆ ดูไร้มิติ ไม่เป็นมนุษย์มาก ๆ หรือดูไม่สมจริงมาก ๆ น่ะ ก็เลยเสียดายสุด ๆ ที่อีหล่าเอ๋ยพลาดมาก ๆ ตรงจุดนี้

No comments: