Saturday, September 24, 2022

THE RED CLOTH (2022, Abdulloh Kholoh, 20min, A+30)

 

THE RED CLOTH (2022, Abdulloh Kholoh, 20min, A+30)

ข้าวต้มผ้าแดง

SERIOUS SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1.ชอบสุดขีด หนัง supernatural horror จากภาคใต้ สามารถปะทะกับหนัง horror ดี ๆ ของมาเลเซียและอินโดนีเซียได้สบายเลย รู้สึกว่าหนัง horror จากภูมิภาคนี้มันมีบรรยากาศบางอย่างที่น่ากลัวมากและขลังมาก ๆ ทั้งหนังอย่าง WESTBOUND (2007, Kubhaer T. Jethwani, Malaysia), TRESPASSED (2016, Ho Yuhang, Malaysia), IT’S EASIER TO RAISE CATTLE (2017, Amanda Nell Eu, Malaysia)  และหนังสยองขวัญของ Joko Anwar

 

2. ชอบตั้งแต่ฉากเปิดแล้ว เพราะก่อนเราเข้าไปดู เราไม่รู้ว่ามันเป็นหนังเกี่ยวกับอะไร นึกว่ามันอาจจะเป็นหนังนำเสนอวัฒนธรรมอาหารภาคใต้ 5555 แต่พอชื่อหนังปรากฏขึ้นบนจอ แล้วเห็น font เราก็รู้ได้ทันทีว่ามันเป็นหนังสยองขวัญ ผ่านทาง font ตัวอักษรที่ใช้

 

3. ฉากคลาสสิคคือฉากไล่ผี exorcism ที่ผู้ชมไม่เห็นการไล่ผีเลย ได้ยินแต่เสียง เพราะหนังถ่ายตัวละครลูกสาวที่นั่งอยู่ห้องข้าง ๆ และฝาผนังห้องนั้นมีรอยอะไรแดง ๆ อยู่ เราก็เลยเพ่งมองว่ารอยแดง ๆ นั้นมันมีความเคลื่อนไหวหรือมีความเปลี่ยนแปลงอะไรหรือเปล่า แต่ปรากฏว่าตั้งแต่ต้นจนจบฉาก รอยแดง ๆ นั้นก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง 55555’

 

คือผู้กำกับอาจจะไม่ได้ตั้งใจหลอกให้เราดูรอยแดง ๆ นั้นหรอก แต่มันก็เป็นประสบการณ์ที่ประทับใจเราสุด ๆ อยู่ดี เพราะในฉากนั้นเราไม่ได้เห็นภาพอะไรรุนแรงเลย ทุกสิ่งที่รุนแรงเกิดขึ้น offscreen หมด แล้วเราก็ไปเพ่งมองอะไรก็ไม่รู้ตลอดทั้งฉาก 55555

 

4.เหมือนถ้ามองมันเป็นแค่หนัง horror เฉย ๆ เราก็ชอบสุด ๆ แล้ว แต่พออาจารย์ดองตั้งข้อสังเกตว่า ปีศาจที่เข้าสิงตัวละครในหนังเรื่องนี้ใช้ภาษากลาง จุดนี้ของหนังก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้สามารถมองเป็นหนังการเมืองได้ด้วย ซึ่งก็แล้วแต่แต่ละคนจะตีความกันไป

 

ซึ่งพอเรามองว่ามันอาจจะเป็นหนังการเมือง เราก็ชอบมันอย่างสุด ๆ เช่นกัน เพราะปีศาจที่ใช้ภาษากลางในหนังเรื่องนี้เหมือนจะพูดย้ำว่า กูไม่ออก กูไม่ออก, ความร่ำรวยของพระเอก ก็ทำให้เรานึกถึงความร่ำรวยทางทรัพยากรของภาคใต้ ที่อาจจะทำให้คนจากส่วนกลางหมายปอง และการที่ผู้ก่อปัญหากับผู้แก้ปัญหาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ ด้วย

 

RIP M.L. BHANDEVANOP DEVAKULA

 RIP Gil Alkabetz


เพิ่งรู้ว่าเขาฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 15 ก.ย.

ชอบหนัง animation เรื่อง RUBICON (1997) ของเขาอย่างสุด ๆ เป็นหนังที่มีให้ดูในยูทูบ ทางสถาบันเกอเธ่หรือหน่วยงานของเยอรมนีชอบเอาหนังเรื่องนี้มาฉายในกรุงเทพบ่อยมาก

ตอนปี 2010 มีหนัง animation ของ Gil Alkabetz อีกเรื่องมาฉายที่ BACC ด้วย

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์อะไรกัน ทั้ง Alain Tanner, William Klein, Jean-Luc Godard, Irene Papas, M.L. Bhandevanop Devakula แล้วก็มา Gil Alkabetz

HIJAB (2022, Wanasree Kasor, 19min, A+30)

1.ชอบนักแสดงที่เล่นเป็นนางเอกมาก ๆ

2.ชอบที่มันสะท้อนหลายปัญหาในเวลาเดียวกัน ทั้งโควิด, แรงงานข้ามชาติ, การศึกษา, ความยากจน, หลักปฏิบัติทางศาสนา และการที่นายจ้างหนุ่มตามตื๊อลูกจ้างสาวเพื่อขอแต่งงาน

3.ชอบโทนของหนังด้วย ที่มันเป็น drama ที่ไม่เร้าอารมณ์มากเกินไป

WOLF (2022, Abdulhady Chemreh, 19min, A+30)

ทรงพลังมาก ๆ นึกว่าต้องปะทะกับหนังแบบ HOW TO DISAPPEAR COMPLETELY (2015, Raya Martin, Philippines), BIRDSHOT (2016, Mikhail Red, Philippines) อะไรทำนองนี้ เพราะมันดูเป็นหนังการเมืองที่มีบรรยากาศความหลอนที่ทรงพลังสุด ๆ เหมือนกัน

MORI, THE ARTIST'S HABITAT (2018, Shuichi Okita, Japan, A+30)

1.ชอบมาก ๆ ที่ในบาง moment ตัวละครก็โพสท่าแบบการ์ตูนขึ้นมาอย่างกะทันหัน ชอบหนังที่ไม่แคร์ความสมจริง แต่ทำออกมาแล้วดูดีและลงตัวแบบนี้

2. Ayumu Nakajima (ANITA, WHEEL OF FORTUNE AND FANTASY) สามีของดิฉัน ร่วมแสดงหนังเรื่องนี้ในบทของบุรุษไปรษณีย์ด้วยนะ

3. เป็นหนังเรื่องที่ 5 ของ Shuichi Okita ที่ได้ดู ชอบมาก ๆ ทุกเรื่องเลย เขากลายเป็นผู้กำกับคนโปรดคนนึงของเรา แต่ไม่รู้เหมือนกันนะว่า ลายเซ็นของเขาคืออะไร บางทีเขาอาจจะคล้ายกับ Louis Malle ที่ทำหนังเล่าเรื่องที่ดีมาก ๆ หลาย ๆ เรื่อง แต่บอกไม่ถูกว่าลายเซ็นของเขาคืออะไร

หนังอีก 4 เรื่องของเขาที่เคยดู ก็คือ THE CHEF OF SOUTH POLAR (2009), A STORY OF YONOSUKE (2012), THE MOHICAN COMES HOME (2016) และ ONE SUMMER STORY (2020)

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนมันจัดฉายที่ BACC
---
เห็นด้วยกับพี่สนธยามาก ๆ ที่บอกว่า การใช้หุ่นใน SIX CHARACTERS ของหม่อมน้อย ทำให้นึกถึง THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT

RIP M.L. PUNDHEVANOP DHEWAKUL
ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย)

เนื่องจากเรายังไม่ได้ดู SIX CHARACTERS เราก็จะยังไม่ขอจัดอันดับหนังและละครทีวีของหม่อมน้อยที่เราเคยดูนะ เดี๋ยวพอเราดู SIX CHARACTERS ก่อนแล้วเราค่อยมาจัดอันดับ

แต่ถ้าหากวัดจากความรู้สึกในตอนนี้ ผลงานของหม่อมน้อยที่เราชอบที่สุดก็คือละครทีวี “ซอยปรารถนา 2500” (1998) นี่แหละ แน่นอนว่าชอบมากกว่า A STREETCAR NAMED DESIRE (1951, Elia Kazan) และ A STREETCAR NAMED DESIRE (1995, Glenn Jordan) เสียอีก เพราะปัจจัยส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะมันเป็นละครทีวีด้วย มันเลยใส่อะไรที่เราชอบเข้ามาได้มากกว่าภาพยนตร์

คือหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราชอบ “ซอยปรารถนา 2500” ก็คือตัวละครคุณป้าสองตัวในเรื่องนี่แหละ มันเป็นตัวละครคุณป้าสองตัวที่รุนแรงที่สุด หนักที่สุด เราไม่แน่ใจว่านักแสดงท่านใดเล่นเป็นคุณป้าสองคนนี้ ไม่แน่ใจว่าเป็นคุณ รจิตร ภิญโญวนิช กับคุณมาเรียม คำเมืองหรือเปล่า

คือเราเคยอ่านบทละครเวที A STREETCAR NAMED DESIRE ของ Tennesse Williams มาก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งมันไม่มีตัวละครคุณป้าที่หนักที่สุดในชีวิตสองตัวนี้ เราก็เลยไม่รู้ว่าหม่อมน้อยได้แรงบันดาลใจมาจากไหนในการจินตนาการตัวละครคุณป้าสองตัวนี้ขึ้นมา

ตอนแรกเรานึกว่าหม่อมน้อยอาจจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากพวกหนังของ Pedro Almodovar เพราะเรารู้สึกว่าผลงานบางเรื่องของหม่อมน้อยกับหนังของ Almodovar มีจุดหนึ่งที่เราชอบสุด ๆ ที่เหมือนกัน นั่นก็คือ “การมีตัวละครประกอบชิบหาย ๆ” คือตัวละครประกอบในหนังของ Almodovar มักจะมีอิทธิฤทธิ์แรงมาก ๆ มีความเฮี้ยนมาก ๆ และมีความชิบหายสูงมาก เหมือนกับว่าลีน่า จัง เป็นหนึ่งในตัวประกอบของหนัง อะไรทำนองนี้ ตอนแรกเราก็เลยนึกว่าหม่อมน้อยได้รับแรงบันดาลใจมาจากอะไรแบบนี้

แต่หลังจากนั้นอีก 10 กว่าปีต่อมา เราได้ดูละครเวทีของคุณ Grisana Punpeng ในปี 2014 ที่ดัดแปลงมาจากบทละครเวทีเรื่อง VIEUX CARRE ของ Tennessee Williams เราก็เลยได้ทราบความจริงว่า อ๋อ ตัวละครคุณป้าที่แรงที่สุดในชีวิตสองตัวใน “ซอยปรารถนา 2500” มันมาจาก VIEUX CARRE นี่เอง แสดงว่าหม่อมน้อยไม่ได้สร้าง “ซอยปรารถนา 2500” โดยดัดแปลงมาจาก A STREETCAR NAMED DESIRE เพียงอย่างเดียว แต่เอา VIEUX CARRE ของ Tennesse Williams มาผสมด้วย เราก็เลยทึ่งในความรอบรู้ของหม่อมน้อยอย่างมาก ๆ กราบมาก ๆ

ชอบ "นางนวล" ของหม่อมน้อยอย่างสุด ๆ แต่ถ้าหากเทียบกับหนังเรื่องอื่น ๆ ที่สร้างจากบทประพันธ์เดียวกันของ Anton Chekhov แล้ว เราก็ชอบ "นางนวล" น้อยกว่า AFTERNOON (2007, Angela Schanelec, Germany)  แต่ชอบ "นางนวล" มากกว่า LA PETITE LILI (2003, Claude Miller, France)

อยากดู CHINESE ROULETTE (1976, Rainer Werner Fassbinder) มาก ๆ เพราะหนังของหม่อมน้อยอย่างเช่น "ฉันผู้ชายนะยะ" และ "มหัศจรรย์แห่งรัก" มีตัวละครหลายตัวมาอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน และเล่นเกมทางจิตวิทยากัน พอเราอ่านเรื่องย่อของ CHINESE ROULETTE เราก็เลยนึกถึงหนังของหม่อมน้อย


---
RIP IRENE PAPAS ชอบเธออย่างสุด ๆ ใน Z (1968, Costa-Gavras)  และ A TALKING PICTURE (2003, Manoel de Oliveira)
--

CINEMA, MON AMOUR (2015, Alexandru Belc, Romania, documentary, A+30)

พอดูหนังเรื่องนี้แล้วถึงเพิ่งรู้ว่า แม้แต่ในยุคปัจจุบันนี้ คน Romania ก็ยังรู้สึกว่า Germany เจริญกว่าประเทศตนเองเป็นอย่างมาก ทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน รู้สึกว่าความรู้สึกของคน Romania ที่มีต่อ Germany อาจจะคล้าย ๆ ความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อญี่ปุ่น
--
LA STRADA (1954, Federico Fellini, Italy, A+30)

1. เนื้อเรื่องนึกว่า พิศาล อัครเศรณี 555

2.ชอบน้อยกว่าหนังบางเรื่องของ Fellini นะ เพราะนางเอกดู passive เกินไปน่ะ เราก็เลยไม่ค่อยอินกับตัวละครนางเอก

3.เห็น Richard Basehart ในหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึง Jesse Eisenberg

4.เหมือนเป็นหนังที่สร้าง prequel ได้สบายมาก เพราะตัวละครมักพูดพาดพิงถึง "พี่สาวของนางเอก" ที่ตายไปแล้วหลายครั้งมาก แต่เราจะไม่เห็นฉาก flashback ไปถึงพี่สาวนางเอกในหนังเรื่องนี้เลย เหมือนเธอเป็นตัวละครที่สำคัญมาก แต่ไม่ปรากฏตัวเลยตลอดทั้งเรื่อง  เรื่องราวของเธอก็เลยเหมาะจะสร้างเป็น prequel

OPERATION MINCEMEAT (2021, John Madden UK/USA, A+30)

1.ชอบหนังสุดขีด เพราะมันมีความเป็นหนังกระบวนการ เล่าถึงขั้นตอนต่าง ๆ และรายละเอียดต่าง ๆ ในการทำงาน ซึ่งนี่คือหนังแนวที่เราชอบ แต่คนที่อยากดูหนัง spy thriller แบบเน้นความตื่นเต้นลุ้นระทึกอาจจะผิดหวัง 555

2.ชอบสุดขีดด้วยที่ตัวละครตั้งอกตั้งใจทำงานมาก ๆ ตัวละครพยายามคิดแบบละเอียดรอบคอบ พยายามคิดถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต และหาทางอุดช่องโหว่ ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น คือไม่ใช่คนทำงานแบบชุ่ย ๆ หรือสะเพร่าน่ะ ซึ่งเราชอบคนแบบนี้ในชีวิตจริง เราก็เลยรักตัวละครแบบนี้ตามไปด้วย

Wednesday, September 21, 2022

THE ROTI (2022, Nada Al-idrizie, 21min, A+30)

 

THE ROTI (2022, Nada Al-idrizie, 21min, A+30)

 

ยอมรับว่าช่วงแรกไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนี้เลย เพราะตัวละครมันดูเหมือนเป็นตัวละครในหนังตลกโง่ ๆ 5555 แต่พอเนื้อเรื่องดำเนินไปสู่ช่วงครึ่งหลัง และตัวละครเอกแผลงฤทธิ์ออกมา ระดับความชอบของเราก็พุ่งขึ้นถึงขีดสุดทันที

 

เหมือนเราจะอินกับประเด็นนี้มากเป็นพิเศษด้วยแหละ เรื่องของกลุ่มเพื่อนที่แตกกัน เข้ากันไม่ติดอีกต่อไป เรื่องของ “พิษร้าย” ที่อยู่ในใจมนุษย์บางคน เหมือนมนุษย์บางคนมีพิษร้ายบางอย่างอยู่ในตัว แต่ทั้งมนุษย์คนนั้นและคนรอบข้างต่างก็ไม่รู้หรอกว่าเขามีพิษร้ายหลบซ่อนอยู่ข้างใน จนกระทั่งสถานการณ์บางอย่างปลุกพิษร้ายในตัวเขาขึ้นมา

 

ชอบตัวละครเอกมาก ๆ คือเราไม่ได้ชอบเธอในฐานะคนจริง ๆ นะ เพราะเราก็ไม่อยากได้เพื่อนแบบนี้ในชีวิตจริง แต่เราชอบที่หนังสร้างตัวละครแบบนี้ออกมา คือเธอดูเป็นคนธรรมดาคนนึง คนที่คิดว่าตัวเองรักเพื่อน คนที่น้อยใจที่เพื่อน ๆ ไม่ค่อยฟังเสียงของเธอ คนที่ตัดสินใจทำในสิ่งที่คิดว่ามันดีแล้ว โดยไม่แคร์ความรู้สึกของคนอื่น ๆ คือเราว่าเธอเป็นตัวละครที่มีข้อเสียร้ายแรงในตัวเองในแบบที่สมจริงมาก ๆ น่ะ

 

ชอบช่วงท้ายของหนังด้วย เราว่าหนังมันจบได้จริงดี และเจ็บปวดดี

 

DOWNSTAIRS (2022, Sitikhodiyo Hawo, 19min, A+30)

ส่วนต่าง

 

1.จริง ๆ แล้วเราหลับไปบางช่วงของหนังนะ 5555 แต่เท่าที่ได้ดูก็ชอบสุด ๆ อยู่ดี เพราะหนังมันนำเสนอปัญหาที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เกี่ยวกับปัญหาในการขอเงินเยียวยาจากรัฐบาลไทย

 

2.ชอบตอนจบของหนังอย่างสุด ๆ เหมือนมัน balance ได้อย่างน่าสนใจระหว่างจบเศร้ากับจบแบบสุข ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด เพราะพระเอกเหมือนเริ่มทำงานใหม่เป็นคนขายลูกชิ้น แต่ลูกของเขาเองกลับไม่อยากกินลูกชิ้นของเขาเพราะถ้วยมันไม่สวย

 

คือเหมือนกับว่าถ้าหากเป็นหนังเรื่องอื่น ๆ หนังอาจจะจบแบบค่อนข้าง happy กว่านี้ แบบพระเอกเริ่มตั้งต้นชีวิตใหม่อย่างมีความหวัง อะไรทำนองนี้

 

แต่พอหนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าแม้แต่ลูกของเขาเองก็ยังไม่อยากกินลูกชิ้นที่เขาขาย หนังมันเลยบ่งชี้เป็นนัย ๆ ว่า กิจการใหม่ของเขาเริ่มต้นอย่างมีปัญหา และมีแนวโน้มว่าเขาคงจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคอะไรต่าง ๆ ต่อไปในการทำงานนี้

 

ซึ่งเราว่าตอนจบแบบนี้มันเจือปนความเศร้า ความทุกข์ยากของชีวิตมนุษย์จริง ๆ เข้ามาได้ดีมาก ๆ น่ะ คือมันไม่ได้จบแบบเศร้านะ มันเหมือนจะจบแบบมีความหวังด้วยซ้ำ แต่เราก็ไม่ได้รู้สึกมีความหวังมากนัก เรารู้สึกเหมือนกับตอนจบของหนังเรื่องนี้สอดคล้องกับความคิดของเราที่ว่า “การดำรงชีวิตอยู่มันลำบากเหี้ย ๆ แต่ถ้าชีวิตยังไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นรนสู้ชีวิตกันต่อไป” อะไรทำนองนี้มากกว่า

 

แต่เนื่องจากเราหลับไปในบางช่วงของหนัง ก็เลยไม่รู้ว่าเราเข้าใจอะไรผิดไปบ้างหรือเปล่านะ 55555

Tuesday, September 20, 2022

M.L. BHANDEVANOP DEVAKULA

 

รายงานผลประกอบการประจำวันที่ 16-18 ก.ย. 2022

 

1.13 LIVES (2022, Ron Howard, UK, A+30)

ดูที่ CENTRAL WORLD วันศุกร์ที่ 16 ก.ย. รอบ 20.10

 

2.NOTHING LIKE A DAME (2018, Roger Michell, UK, documentary, A+30)

ดูที่ HOUSE SAMYAN วันเสาร์ที่ 17 ก.ย. รอบ 10.00

 

3.DEEP SOUTH YOUNG FILMMAKER II

โปรแกรมหนังสั้น 11 เรื่อง ชอบสุด ๆ หลาย ๆ เรื่อง

ดูที่ CENTRAL WORLD วันเสาร์ที่ 17 ก.ย. รอบ 13.00

 

4.SIX CHARACTERS มายาพิศวง (2022, M.L. Bhandevanop Devakula, A+30)

ดูที่ PARAGON วันเสาร์ที่ 17 ก.ย. รอบ 18.00

 

5.WHERE THE CRAWDADS SING (2022, Olivia Newman, A+30)

ดูที่ PARAGON วันเสาร์ที่ 17 ก.ย. รอบ 21.00

 

6.THE SLEEPING CAR MURDERS (1965, Costa-Gavras, France, A+30)

ดูที่หอภาพยนตร์ ศาลายา วันอาทิตย์ที่ 18 ก.ย. รอบ 13.00

 

ถือเป็นสุดสัปดาห์ที่มีความสุขมาก ๆ เพราะเราได้ดูแต่หนังที่เราชอบสุดๆ ทั้งนั้นเลย ตลกดีที่มีฉากบางฉากใน SIX CHARACTERS กับ THE SLEEPING CAR MURDERS ที่มีอะไรบางอย่างคล้ายกันโดยบังเอิญด้วย จนเราแอบสงสัยว่าหม่อมน้อยได้รับแรงบันดาลใจในฉากนั้นมาจาก THE SLEEPING CAR MURDERS หรือเปล่า แต่อาจจะไม่ก็ได้นะ น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า (ไม่บอกว่าฉากไหน เพราะเดี๋ยวเป็นการ spoil THE SLEEPING CAR MURDERS ซึ่งเป็นหนังปริศนาฆาตกรรม)

 

 

 สรุปว่าวันเสาร์ที่ 8 ต.ค.นี้มีทั้ง

 

1.งานกางจอ

https://www.facebook.com/kangjor.nitade

 

2.งานฉายหนังของมศว ประสานมิตร
https://www.facebook.com/cosciswunews/posts/pfbid02qMyCsvxEF3RkKK292rFMK6hx5DGJvSYFd4WMqkRhApWUvjBvv1NggxNQfW6iYdkkl

3.EVANGELION 4 ภาค

https://www.sfcinemacity.com/movies/event/0000000019

 

4.เฟื่อน แบบ UNCUT VERSION
https://www.facebook.com/HitHxyFilm/posts/pfbid02emLP25fXYK9RgnxCH43Fq3B5XDfzPEE9pEc2dtqTmcoEveP9geHeoX9jX82yoezjl

 

อยากแยกร่างจริง ๆ  55555

 

สรุปผลงานของ M.L. Bhandevanop Devakula ที่เราเคยดู เรียงตามลำดับความชอบ

 

1.ซอยปรารถนา 2500 (1998, TV series)

 

2.ช่างมันฉันไม่แคร์ (1986)

 

3.ฉันผู้ชายนะยะ (1987)

 

4.SIX CHARACTERS มายาพิศวง (2022)

 

5.นางนวล (1987)

 

6.มหัศจรรย์แห่งรัก (1995)

 

7.อุโมงค์ผาเมือง (2011)

 

8.ช่างมันฉันไม่แคร์ (1993, TV series)

 

9.ชั่วฟ้าดินสลาย (2010)

 

10.มหัศจรรย์แห่งรัก (2003, MINI SERIES)

https://www.youtube.com/watch?v=QZsY-Xl1poo

 

11.จันดารา ปฐมบท + จันดารา ปัจฉิมบท (2012-2013)

 

12.แผลเก่า (2014)

 

13.แม่เบี้ย (2015)

 

แล้วก็มีละครทีวีของหม่อมน้อยอีกหลายเรื่องที่เราชอบมาก แต่เราเคยดูเพียงแค่ไม่กี่ตอน ก็เลยไม่สามารถนำมาจัดอันดับด้วยได้ ทั้ง เริงมายา (1999), ปีกทอง (1999), ลูกทาส (2001) และทะเลฤาอิ่ม (2003) ส่วนซอยปรารถนา 2500 กับช่างมันฉันไม่แคร์ เราก็ไม่ได้ดูครบทุกตอนนะ แต่ก็ถือว่าเคยดูหลายตอนอยู่เหมือนกัน ก็เลยใส่ไปในอันดับด้วย

 

ปัจจัยที่ทำให้ชอบซอยปรารถนา 2500 มากที่สุด ก็เป็นเพราะว่าเราชอบตัวละครคุณป้าสองตัวมาก ๆ อย่างที่เคยเขียนไปแล้ว และเป็นเพราะว่าเราเคยอ่านตัวบทละครเวทีกับเคยดูเวอร์ชั่นภาพยนตร์อีก 2 เวอร์ชั่นมาก่อน เราก็เลยรู้สึกว่าหม่อมน้อยดัดแปลงบทประพันธ์ออกมาได้ตรงใจเราสุด ๆ คือเหมือนหม่อมน้อยต้องเติมอะไรเข้าไปอีกเยอะมาก  ๆ เลยน่ะ เพราะถ้าทำตามบทละครเวทีมันก็ไม่น่าจะยาวเกิน 3 ชั่วโมงเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นการดัดแปลงจากบทละครเวทีมาเป็นละครโทรทัศน์ที่ยาวหลายตอนนี่ มันก็ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของตัวคนดัดแปลงบทมากพอสมควร

 

และเราก็ชอบการแสดงของจริยา แอนโฟเน่ใน ซอยปรารถนา 2500 อย่างสุด ๆ เลยด้วย เป็นการแสดงที่หนักสุดขีดจริง ๆ น่าจะเป็นหนึ่งในการแสดงของดาราไทยที่เราชอบมากที่สุดอันนึงในชีวิต เทียบได้กับการแสดงของสินจัย เปล่งพานิช ใน “ล่า” และ จินตหรา สุขพัฒน์ใน “ผ้าทอง” ที่ติดอันดับการแสดงของดาราไทยที่เราชอบมากที่สุดในชีวิตเหมือนกัน

ช่างมันฉันไม่แคร์เวอร์ชั่นภาพยนตร์นี่ก็ชอบสุด ๆ แม้แต่ตุ้มหูของสินจัยในโปสเตอร์หนังเรื่องนี้เราก็ชอบมาก ๆ เป็นตุ้มหูที่ประทับใจเรามาก ๆ แม้เวลาผ่านมานาน 30 ปีแล้ว

 

แต่ช่างมันฉันไม่แคร์เวอร์ชั่นละครทีวีนี่เราชอบไม่มากนัก สาเหตุหลักเป็นเพราะว่าสามารถ พยัคฆ์อรุณไม่ใช่ดาราชายที่ตรงสเปคเราน่ะ เราก็เลยดูแล้วไม่อิน แต่ถ้าหากเราจำไม่ผิด บทของมณฑานี ตันติสุขในละครเรื่องนี้แรงพอสมควร เพราะเพื่อนกะเทยของเราดูแล้วก็มา role play ให้เพื่อนคนอื่น ๆ ดูว่ามณฑานีแสดงอะไรไปบ้างในละครเรื่องนี้ 55555

 

ฉันผู้ชายนะยะ นี่เป็นหนึ่งในหนังที่สำคัญต่อชีวิตเรามาก ๆ เพราะเราเป็นเกย์/กะเทยที่เรียนอยู่ม.2 ในตอนนั้นน  และในช่วงปี 1987 อะไรแบบนี้ มันแทบไม่มีหนังเกย์เข้ามาฉายโรงในไทยเลย ทั้งหนังไทยและหนังต่างประเทศ หนังอย่าง “ฉันผู้ชายนะยะ” ก็เลยเหมือนเป็น oasis ท่ามกลางทะเลทราย สำหรับกะเทยอย่างเราในยุคสมัยนั้น เหมือนเป็นหนังที่ช่วยให้เราได้รับรู้ว่า เกย์กะเทยคนอื่น ๆ ในไทยในยุคนั้นใช้ชีวิตกันอย่างไรบ้าง

 

คือคิดดูสิคะ กะเทยม.2 อย่างดิฉัน ต้องดูหนังอย่าง ฉันผู้ชายนะยะ เพื่อเรียนรู้โลกของเกย์ เพราะมันเป็นหนังเกย์เรื่องเดียวในยุคนั้นที่ดิฉันเข้าถึงได้ และนำเสนอเกย์อย่างจริงจังในแง่ดี (ตรงข้ามกับหนังเรื่องพิศวาส ในปี 1987 ที่นำแสดงโดยอรพรรณ พานทอง กับเพ็ญพักตร์ ศิริกุล ที่นำเสนอเลสเบียนในทางลบ) ในขณะที่เกย์/กะเทยในยุคปัจจุบัน ได้ดูหนัง/ละครอย่าง CALL ME BY YOUR NAME, LOVE SIMON, คุณหมีปาฏิหาริย์, คาธ, ETC. เฮ้อ อิจฉาเกย์ยุคนี้จริง ๆ

 

นอกจาก “ฉันผู้ชายนะยะ” จะมีความสำคัญต่อชีวิตเรามาก ๆ ในฐานะหนังเกย์ดี ๆ เพียงเรื่องเดียวที่เราเข้าถึงได้ในยุคนั้นแล้ว มันน่าจะเป็นหนี่งในหนังเรื่องแรก ๆ ที่ทำให้เราได้สัมผัสกับความเซอร์เรียล เหนือจริงนะ เพราะในฉากแฟลชแบ็คที่เชียงใหม่นั้น ถ้าหากเราจำไม่ผิด มันมีตัวละครกลุ่มกะเทยเดินไปเดินมาในแบบเหนือจริง หรือปรากฏตัวในแบบเหนือจริงอยู่หลาย ๆ ฉาก ซึ่งตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ในปี 1987 เราก็ไม่เคยดูหนังเซอร์เรียลมาก่อน เราก็เลยประทับใจกับการปรากฏตัวของเหล่าตัวละครแบบเหนือจริงในฉากพวกนี้มาก ๆ เราไม่เคยพบเคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนในยุคนั้น พอมานึกย้อนหลังดูอีกทีก็สงสัยว่า หม่อมน้อยได้รับแรงบันดาลใจจาก Werner Schroeter หรือเปล่าในการใส่ความเหนือจริงแบบนี้เข้าไปในหนัง 55555

 

อันนี้คือสิ่งที่เราเคยเขียนไว้ในปี 2010 ว่าอยากฉายหนังของหม่อมน้อยควบกับหนังของ Fassbinder โดยจับคู่ดังนี้

https://celinejulie.blogspot.com/2010/10/film-battle-rainer-werner-fassbinder-vs.html

 

1.NORA HELMER (1974, Rainer Werner Fassbinder) together with ETERNITY (2010, M.L. Bhandevanop Devakul);

 

2.THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN (1979, Fassbinder) with KON REUNG MUANG (2002, Devakul);

 

3.ALI: FEAR EATS THE SOUL (1974, Fassbinder) with CHANG MUN CHUN MAI CARE (1986, Devakul);

4. CHINESE ROULETTE (1976, Fassbinder) with MIRACLE OF LOVE (1995, Devakul).

 

5. THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT (1972, Fassbinder) should be screened with CHUN POOCHAY NAYA (1987, Devakul).

Monday, September 19, 2022

LA CHINOISE

 

มีเพื่อนคนหนึ่งใน facebook ถามว่า “ถ้าอยากดู LA CHINOISE (1967, Jean-Luc Godard) ให้เข้าใจควรไปศึกษาประวัติศาสตร์เหตุการณ์ไหนก่อนมาดูมั่งฮะ

 

เราก็เลยขอตอบสั้น ๆ ก่อนว่า “ก็ควรศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองยุคนั้นนะ หรือประวัติศาสตร์ของแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ต้นเรื่อยมาจนถึงทศวรรษ 1960 โดยเน้นหนักไปที่การตบตีจิกหัวด่าทอกันอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่ม Marxist ที่นิยมโซเวียต กับกลุ่ม Marxist ที่นิยมจีนในยุคทศวรรษ 1960 คือเราเดาเอาเองว่าถ้าหากใครมีพื้นฐานความรู้ด้านนี้แน่นพอ ก็น่าจะเข้าใจหนังเรื่อง LA CHINOISE ได้มากในระดับนึง แต่เราเองก็ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยจ้า 55555”

 

ส่วนอันนี้เป็นการจดบันทึกความรู้สึกของเราแบบยาว ๆ แต่ขอตอบสั้น ๆ แบบด้านบนไว้ก่อน เผื่อบางคนอาจจะขี้เกียจอ่านความรู้สึกของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้แบบยาว ๆ

 

1.เราได้ดู LA CHINOISE ครั้งสุดท้ายน่าจะเมื่อ 20 ปีก่อนนะ ตอนนี้เราก็ลืมรายละเอียดต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้ไปหมดแล้ว 55555

 

2.เราว่าเราเองก็น่าจะเข้าใจเนื้อหาใน LA CHINOISE ได้ไม่เกิน 10% นะ แต่มันก็เป็นหนังที่เราชอบมากที่สุดของ Godard อยู่ดี เพราะเราชอบตัวละครกลุ่มเพื่อนที่มาอยู่ในบ้านเดียวกันและสร้างโลกจินตนาการขึ้นมาร่วมกันน่ะ เพราะช่วงเวลาที่เรามีความสุขที่สุดในชีวิต ก็คือตอนช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่เรากับเพื่อน ๆ ได้มาเจอกันที่บ้านหลังนึงเป็นประจำ และทำกิจกรรมฮี้ห่า ฮี้ห่าต่าง ๆ ที่มันเกิดจากการที่เรากับเพื่อน ๆ แชร์โลกจินตนาการเดียวกัน สรุปได้ว่าปัจจัยที่ทำให้เราชอบ LA CHINOISE มากที่สุด เป็นเพราะหนังเรื่องนี้มันมีบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงช่วงเวลาที่เรามีความสุขที่สุดในชีวิต

 

3.นอกจากประสบการณ์ส่วนตัวในชีวิตเราเองแล้ว อีกจุดนึงที่เราประทับใจใน LA CHINOISE มาก ๆ ก็คือมันเป็นหนังเรื่องแรกที่เราได้ดูที่พูดถึงการตบกันอย่างรุนแรงระหว่างโซเวียตกับจีนน่ะ

 

คือเราได้ดู LA CHINOISE ครั้งแรกในช่วงปลายทศวรรษ 1990 และขอบอกเลยว่าหนังมัน “เปิดกะโหลก” เรามาก ๆ เพราะก่อนหน้านั้นกูก็ดูแต่หนังฮอลลีวู้ดเป็นส่วนใหญ่น่ะค่ะ แล้วหนังฮอลลีวู้ดมันนำเสนออะไรคะ หนังฮอลลีวู้ดหลายเรื่องมันก็พูดถึงแต่สงครามเวียดนามนั่นแหละ และเราซึ่งเกิดในปี 1973 และดูหนังฮอลลีวู้ดเป็นหลักในทศวรรษ 1980 ก็เลยรับรู้เพียงแค่ว่า อ๋อ เราอยู่ในช่วงสงครามเย็น เป็นคอมมิวนิสต์ตบกับโลกเสรี มีสงครามเวียดนาม โลกเสรีเป็นฝ่ายดี คอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายผู้ร้าย  อะไรทำนองนี้

 

คือเหมือนเรามองโลกแบบ simple โง่ ๆ แบบนั้นมาก ๆ ในทศวรรษ 1980 น่ะ จนมาช่วงต้นทศวรรษ 1990 เราได้ดูหนังอย่าง GUILTY BY SUSPICION (1991, Irvin Winkler) เราถึงเพิ่งรู้ว่าโลกเสรีอย่างอเมริกานี่มันก็มีความเหี้ยมาก ๆ อยู่ด้วย และคอมมิวนิสต์ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้ร้ายที่น่ากลัวเสมอไป

 

แต่เราก็ยังไม่เคยรู้เรื่องที่โซเวียตเองก็ตบกับจีนอย่างรุนแรงมาก่อน จนกระทั่งได้มาดูหนังเรื่อง LA CHINOISE นี่แหละ ที่มันเปิดกะโหลกเรามาก ๆ และช่วยให้เราตระหนักว่ามันมีความซับซ้อนมากมายที่เราไม่เคยรู้มาก่อนทั้งในทางประวัติศาสตร์และการเมือง และแน่นอนว่าอะไรแบบนี้หาไม่ได้ในหนังฮอลลีวู้ด

 

4.วิธีที่อาจจะเหมาะใช้ในการดูหนังของ Godard บางเรื่อง (เผื่อคนอื่น ๆ อยากเอาไปปฏิบัติตาม)

 

4.1 ดูรอบแรก

4.2 ดูรอบสอง แล้ว pause หนังเป็นระยะ ๆ เพื่อคอยจดชื่อบุคคล, เหตุการณ์, องค์การ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจเอาไว้ หรือถ้าหากการดูรอบสองเป็นการดูในโรงหนัง ก็เอาสมุดเข้าไปในโรงหนังแล้วจดชื่อต่าง ๆ ที่น่าสนใจในหนังเอาไว้ เราเคยทำแบบนี้ตอนดู LE PETIL SOLDAT ในโรงหนังที่ Alliance แล้วก็จดชื่อต่าง ๆ ในหนังลงสมุดได้หลายสิบชื่อ

 

เสร็จแล้วก็เอาชื่อต่าง ๆ เหล่านั้นไป google หาข้อมูลเพิ่มเติม

 

4.3 พอเรารู้แล้วว่าแต่ละชื่อที่ถูกเอ่ยถึงในหนังมันมีประวัติความเป็นมาอย่างไร บุคคลคนนี้เป็นใคร มาจากไหน องค์การนี้คือองค์การเหี้ยอะไร เคยทำเลวระยำตำบอนอะไรไว้บ้าง เคยตบกับองค์การอะไรมาก่อน, etc. คือพอเราคิดว่าเราหาความรู้เพิ่มเติมได้มากพอแล้ว เราก็อาจจะดูหนังเรื่องนั้นเป็นรอบที่ 3 ก็ได้

 

5.ถ้าไม่รู้ว่าควรจะอ่านหนังสือเล่มไหนดีก่อนดู LA CHINOISE เราก็ขอแนะให้ศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านการดูหนังเหล่านี้แทนก็ได้นะ เราคิดว่าการดูหนังเหล่านี้เป็นพื้นฐานไว้ก่อน น่าจะช่วยให้ดู LA CHINOISE ได้สนุกขึ้น เพราะเนื้อหาของหนังเหล่านี้มันช่วยปูพื้นฐานให้ผู้ชมเข้าใจได้มากขึ้นว่า เกิดอะไรบ้างก่อนจะถึงปี 1967

 

5.1 THE YOUNG KARL MARX (2017, Raoul Peck, Germany) เนื่องจาก LA CHINOISE เป็นหนังที่พูดถึงการตบตีจิกหัวด่าทอกันเองในกลุ่ม Marxists เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเริ่มด้วยจุดกำเนิดของ Marxists ในหนังเรื่อง THE YOUNG KARL MARX

 

5.2 กลุ่มหนังที่สะท้อนแนวคิดของโซเวียตในยุคเริ่มแรก อย่างเช่น

 

5.2.1 BATTLESHIP POTEMKIN (1925, Sergei Eisenstein)

5.2.2 STORM OVER ASIA (1928, Vsevolod Pudovkin)

5.2.3 EARTH (1930, Alexander Dovzhenko)

 

5.3 STAVISKY (1974, Alain Resnais, France)

 

หนึ่งในตัวละครสำคัญในประวัติศาสตร์ Marxist ก็คือ Leon Trotsky และหนังเรื่องนี้ก็นำเสนอเรื่องราวบางส่วนของ Trotsky

 

5.4 FRIDA (2002, Julie Taymor)

 

ดูเรื่องราวชีวิตของ Trotsky ต่อได้ในหนังเรื่องนี้ 55555

 

5.5 THE SOONG SISTERS (1997, Mabel Cheung)

 

ในส่วนของจีนนั้น เราอาจจะเริ่มด้วยซุนยัดเซ็น ในหนังเรื่องนี้ 555

 

5.6 THE FOUNDING OF A REPUBLIC (2009, Han Sanping, Huang Jianxin, China)

 

ดูประวัติศาสตร์การก่อตั้งประเทศจีนคอมมิวนิสต์ได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.7 TO LIVE (1997, Zhang Yimou)

 

ดูความชิบหายของจีนในทศวรรษ 1940-1970 ได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.8 THE IDEAL LANDSCAPE (1980, Peeter Simm, Estonia)

 

ดูความหีที่โซเวียตทำกับเอสโตเนียในทศวรรษ 1940-1950 ได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.9 AN ORDINARY EXECUTION (2010, Marc Dugain, France)

 

ดูความเหี้ยของ Stalin ในปี 1952 ได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.10 CHILDREN OF THE REVOLUTION (1996, Peter Duncan, Australia)

ดูกระแสนิยมสตาลินในทศวรรษ 1950 ได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.11 SILENT WEDDING (2008, Horatiu Malaele, Romania)

ดูความเหี้ยที่โซเวียตทำกับโรมาเนียในปี 1953 ได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.12 CHILDREN OF GLORY (2006, Krisztina Goda, Hungary)

ดูความเหี้ยที่โซเวียตทำกับฮังการีในปี 1956 ได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.13 PUSKAS HUNGARY (2009, Tamas Almasi, Hungary, documentary)

ดูความเหี้ยที่โซเวียตทำกับฮังการีได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.14 THE MOTORCYCLE DIARIES (2004, Walter Salles)

ในส่วนของอเมริกาใต้นั้น เราดูชีวิตเช เกวาราในวัยหนุ่มได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.15 I AM CUBA (1964, Mikhail Kalatozov)

ดูจุดกำเนิดของคิวบาในฐานะประเทศคอมมิวนิสต์ได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.16 THE WILD FIELD (1979, Nguyen Hong Sen, Vietnam)

ดูสงครามเวียดนามได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.17 THE INEXTINGUISHABLE FIRE (1969, Harun Farocki)

ดูผลกระทบจากสงครามเวียดนามได้ในหนังเรื่องนี้

 

5.18 GIE (2005, Riri Riza, Indonesia)

 

ไม่ใช่แค่ในฝรั่งเศสเท่านั้นที่หนุ่มสาวตื่นตัวเรื่องการเมืองเป็นอย่างมากในทศวรรษ 1960 แต่มันเป็นกระแสที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในอินโดนีเซีย และเราก็ศึกษามันได้จากหนังเรื่องนี้ พระเอกหล่อมาก น่ากินมาก ๆ

 

5.19 14 ตุลา สงครามประชาชน (2001, Bhandit Rittakol)

หนังเรื่องนี้ก็พูดถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนิยมโซเวียตกับกลุ่มนิยมจีนในบรรดานักศึกษาที่เข้าป่า

 

5.20 A GRIN WITHOUT A CAT (1977, Chris Marker)

เป็นหนังที่สรุปความเหี้ยทั้งของโลกเสรีและของโลกคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็นได้อย่างดีสุด ๆ แนะนำชมเป็นอย่างยิ่ง

 

5.21 THE DREAMERS (2003, Bernardo Bertolucci)

วัยรุ่นยุคเดียวกับ LA CHINOISE

 

5.22 REGULAR LOVERS (2005, Philippe Garrel)

 วัยรุ่นยุคเดียวกับ LA CHINOISE

 

ใครมีหนังเรื่องไหนแนะนำอีก ก็บอกมาได้นะคะ

 

6.สิ่งที่น่าสนใจใน LA CHINOISE ไม่ได้มีเพียงแค่ “เนื้อหา” ของหนังนะ มันยังมีอะไรอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย อย่างเช่นปฏิสัมพันธ์ระหว่าง WORDS กับ IMAGES ในหนัง ซึ่ง Jacques Ranciere เคยเขียนถึงประเด็นนี้ไว้แล้วที่นี่

https://www.diagonalthoughts.com/?p=1610

 

7.ส่วนภาพนี้เป็นภาพจาก LA CHINOISE ที่เราประทับใจมาก ๆ คือ pause แค่ภาพนี้ภาพเดียวก็ได้ชื่อให้ไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกเป็นสิบชื่อแล้ว

 

จริง ๆ แล้วพอเราดูฉากนี้ใน LA CHINOISE แล้วเราก็อยากให้มีคนสร้างหนังไทยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากฉากนี้มากเลยนะ โดยในหนังไทยเรื่องนี้จะมีฉากที่ตัวละครเพื่อนกลุ่มนึงเขียนชื่อนักเขียนชื่อดังของไทยบนกระดาน อย่างเช่น ทมยันตี, คึกฤทธิ์, ปราปต์, ภาณุ ตรัยเวช, อุทิศ เหมะมูล, วินทร์ และนักเขียนซีไรต์ต่าง ๆ และนักเขียนชื่อดังต่าง ๆ จนเต็มกระดาน เสร็จแล้วเพื่อน ๆ กลุ่มนี้ก็นินทาด่าทอนักเขียนที่เป็นสลิ่ม แล้วค่อย ๆ ลบรายชื่อนักเขียนที่เป็นสลิ่มออกจากกระดานไปเรื่อย ๆ 555555 เห็นไหมล่ะว่า LA CHINOISE เป็นหนังที่กระตุ้นจินตนาการเราอย่างรุนแรงมาก ๆ