Thursday, December 15, 2022

ANTI-THRILLER VS. ARTHOUSE THRILLER

 เรายังไม่ได้ดู SCALA นะ แต่พอเห็นเพื่อน ๆ คุยกันถึงหนังเรื่องนี้ เราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เราชอบภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “โรงหนังชั้นสอง” (2005, Norachai Kajchapanont) มาก ๆ เหมือนเป็นสารคดีที่ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ เราก็ยิ่งชอบมันมากยิ่งขึ้น เพราะสิ่งที่อยู่ในหนังเรื่องนี้มันยิ่งเสื่อมสลายหรือห่างไกลจากเรามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป


THREE THOUSAND YEARS OF LONGING (2022, George Miller, Australia, A+30)

NAKED LUNCH (1991, David Cronenberg, Canada, Second viewing, A+30)

WHISPER OF THE HEART (2022, Yuichiro Hirakawa, Japan, A+30)

แก้อาการ Hangover จาก WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK ด้วยการดูหนังเรื่องนี้ เราไม่เคยดูต้นฉบับ นึกว่าหนังพาฝันสำหรับเด็กวัยก่อนมีประจำเดือน แต่หนังก็มีจุดโดนใจสำหรับผู้ชมวัยหมดประจำเดือนอย่างดิฉัน 

Tori Matsuzaka จาก WANDERING เล่นเป็นพระเอกในหนังเรื่องนี้ด้วย

ใช้สิทธิตั๋วฟรี ที่ได้จาก WORLD FILM ในการซื้อที่นั่งโซฟาฟรีในการดูครั้งนี้
WHISPER OF THE HEART (2022, Yuichiro Hirakawa, Japan, A+30)

แก้อาการ Hangover จาก WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK ด้วยการดูหนังเรื่องนี้ เราไม่เคยดูต้นฉบับ นึกว่าหนังพาฝันสำหรับเด็กวัยก่อนมีประจำเดือน แต่หนังก็มีจุดโดนใจสำหรับผู้ชมวัยหมดประจำเดือนอย่างดิฉัน 

Tori Matsuzaka จาก WANDERING เล่นเป็นพระเอกในหนังเรื่องนี้ด้วย

ใช้สิทธิตั๋วฟรี ที่ได้จาก WORLD FILM ในการซื้อที่นั่งโซฟาฟรีในการดูครั้งนี้

ONODA: 10,000 NIGHTS IN THE JUNGLE (2021, Arthur Harari, France/Japan, 173min, A+30)

ชอบที่หนังเรื่องนี้, COMPLIANCE (2012, Craig Zobel), CREEPY (2016, Kiyoshi Kurosawa) และ SPEAK NO EVIL (2022, Christian Tafdrup) ทำให้เราสำรวจตัวเองว่า เรา "เชื่อฟัง" หรือ "คล้อยตาม" คนอื่น ๆ มากน้อยแค่ไหน หรือเรายึดอะไรเป็นสรณะทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นจริงหรือเปล่า

ANTI-COSMOS (2022, Takashi Makino, Japan, 16min, A+30)

หนังของ Takashi Makino ยังคง "สร้างประสบการณ์ทางจิต" ต่อตัวเราในแบบที่หนังของผู้กำกับคนอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่ทำไม่ได้

TONALLI (2022, Colectivo Los Ingravidos, Mexico, 17min, A+30)

หนังสวยดีและขลังมาก ๆ แต่อาจจะไม่ได้สร้างความ surprise อะไร

เป็นลมสลบตายคาโรงกับความหล่อน่ารักของ Worrapon Srisai  ใน THE HOTEL (2022, Wang Xiaoshuai, Hong Kong, A+30) ค่ะ พอหนังจบเลยมาแดกสลัดกุ้งทอดเพื่อเรียกสติสัมปชัญญะกลับคืนมา

วันนี้เราไม่ได้ดู THE MOTHER AND THE WHORE นะคะ เพราะเราเคยดูแล้ว แต่อยากให้มีคนจัดการแข่งขันประกวดคลิป TIKTOK ROLE PLAY ฉากนี้ของ Francoise Lebrun ค่ะ ถือเป็น one of my most favorite scenes of all time

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย:

1.ใน ending credit ของ UNREST (2022, Cyril Schaublin, Switzerland, A+30) มีการขึ้นขอบคุณ Joao Pedro Rodrigues ส่วนใน ending credit ของ LEONOR WILL NEVER DIE (2022, Martika Ramirez Escobar, Philippines, A+30) มีการขึ้นขอบคุณ Mohsen Makhmalbaf

2.ดีใจที่เห็นชื่อ "ANNA SANDERS FILMS"  ใน ending credit ของ DE HUMANI CORPORIS FABRICA (2022, Verena Paravel, Lucien
Castaing-Taylor, France,  documentary, A+30) เหมือนชื่อ ANNA SANDERS FILMS เป็นชื่อที่เคยเห็นหลายครั้งในหนังดี ๆ ที่เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2000 แต่เราไม่ค่อยได้เห็นชื่อนี้อีกในยุคหลัง ๆ

BIRD IN THE PENINSULA (2022, Atsushi Wada, Japan, animation, A+30)

1.กลายเป็นว่า ชอบหนังเรื่องนี้มากสุดใน WINDOWS โปรแกรม 1 ชนะหนังของเจ้ยและ Takashi Makino ไปอย่างไม่คาดฝัน ชอบความไม่รู้หีรู้แตดอะไรอีกต่อไปแบบนี้มาก ๆ นึกว่ามีฉากคลาสสิคทุก 5 วินาที 5555

2.จริง ๆ แล้วก็ไม่เข้าใจอะไรในหนังเรื่องนี้ แต่เดาว่านางเอกมีความ penis envy อยากทำอะไรต่าง ๆ ที่เด็กผู้ชายในสังคมญี่ปุ่นได้ทำกัน

ไม่แน่ใจว่าการที่กลุ่มเด็กผู้ชายถูกกินคืออะไร คือการถูกส่งไปตายใน WWII หรือเปล่า 555

3.ชอบฉากโยนหมามาก ๆ

4. ก่อนหน้านี้เราเคยดู THE MECHANISM OF SPRING (2012, Atsushi Wada) ตอนมันมาฉายที่ Esplanade Ratchada ชอบสุด ๆ เหมือนกัน

5.ยกให้ Atsushi Wada เป็นหนึ่งใน Japanese animators ที่เราชอบมากที่สุด เหมือน Koji Yamamura และคิดว่า Atsushi Wada นี่เหมาะปะทะกับ Naoyuki Tsuji มาก ๆ

ON BLUE (2022, Apichatpong Weerasethakul, 17min, A+30)

งดงามมาก ๆ เหมือนเป็นการต่อสู้กันระหว่าง "ฉากหลังรูปท้องพระโรงบนเวทีลิเก" กับ "ฉากหลังแบบที่เรามักพบในร้านถ่ายรูป" สำหรับคนจนที่ไม่มีโอกาสไปเที่ยวตามสถานที่ไกล ๆ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด โดยมี "ผ้ากระสอบพลาสติก" เป็นผู้เฝ้าดูการต่อสู้นี้

ช่วงหลังของหนังมัน magic มาก ๆ

ดูแล้วนึกถึง A MINOR HISTORY (Apichatong Weerasethakul) ด้วย ในแง่การใช้ฉากหลังแบบเวทีลิเก และนึกถึง A CONVERSATION WITH THE SUN (2022, Apichatpong Weerasethakul) ในแง่การเล่นกับกลไกในการขยับวัตถุไปมา

เรามักจะเห็นตัวละครในหนังหลาย ๆ เรื่องของ Apichatpong หลับฝัน โดยเฉพาะตั้งแต่ใน NIMIT (2007) เป็นต้นมา แต่ใน MEMORIA นั้น ตัวละครใน Colombia ตื่นนอนแล้ว และใน ON BLUE นั้น ตัวละครในไทยก็เหมือนใกล้จะได้เวลาตื่นนอนเช่นกัน
SUBTRACTION (2022, Mani Haghihi, Iran, A+30)

Spoilers alert
--
--
--
--
--
1.ดูแล้วรู้สึกว่ามันอยู่กึ่งกลางระหว่าง "หนังที่เกิดเหตุประหลาดในชีวิตรักที่หาคำอธิบายไม่ได้" แบบหนังอย่าง POSSESSION (1981, Andrzej Zulawski),  RECONSTRUCTION (2003, Christoffer Boe, Denmark) และ ENEMY (2013, Denis Villeneuve, Canada)  กับ "หนังที่เกิดเหตุประหลาดที่หาคำอธิบายได้" แบบ TULLY (2018, Jason Reitman) หรือ LONELY HEART (1985, Nobuhiko Obayashi)

ซึ่งความก้ำกึ่งนี้ทำให้หนังมันประหลาดดี และเหมือนไปไม่สุดในทางใดทางหนึ่ง เพราะเนื้อหาของมันเหมือนเกิดในโลกแห่งความเป็นจริง ตัวละครไม่ได้บ้าไปเอง แต่พอหนังมันไม่ได้ให้คำอธิบายว่า doppelgangers เหล่านี้เกิดขึ้นได้ยังไง มันก็เลยงง ๆ เล็กน้อย

2.เรามองว่าหนังมันทำให้นึกถึงปมทางจิตวิทยาของมนุษย์ เราก็เลยชอบสุด ๆ ตรงจุดนี้น่ะ คือเราว่ามนย์แต่ละคนมันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ทั้งความเสื่อมของสังขาร, ความเสื่อมทางสภาพจิต, อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นเมื่อเรารักใครสักคนในยามหนุ่มสาว ครองรักกัน แล้วสภาพร่างกายหรือจิตใจของเขาเปลี่ยนแปลงไปในทางเลวร้ายลง เราจะยังรักเขาอยู่หรือไม่ และเขาจะยังรักเราอยู่หรือไม่

และถ้าหากเราได้เจอ a younger version of one's husband/wife หรือ a better version of one's husband/wife เราจะห้ามใจตัวเองไม่ให้ตกหลุมรักคนคนนั้นได้หรือไม่ และเราจะยังรัก husband/wife คนเดิมของเราที่สภาพร่างกายและจิตใจเสื่อมถอยไปจากช่วงที่เราตกหลุมรักเขาครั้งแรกอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า

เหมือน SUBTRACTION  ทำให้เรานึกถึงประเด็นนี้น่ะ เราก็เลยชอบสุด ๆ

3. ดูแล้วนึกถึงคอลัมน์ตอบจดหมายปัญหาชีวิต DEAR ABBY ทางนิตยสาร/นสพ. อะไรทำนองนี้มาก ๆ (จำได้ว่า กฤษณา อโศกสิน เคยบอกว่า พล็อตนิยายหลาย ๆ เรื่องของเธอ ก็มาจากคอลัมน์ตอบจม. พวกนี้)

ตอนเด็ก ๆ จำได้ว่า เรากับเพื่อน ๆ ประทับใจจม.ฉบับนึงที่เขียนมาหา  DEAR ABBY หรืออะไรทำนองนี้มาก ๆ จม.นั้นบอกว่า ผู้เขียนจม.เป็นหญิงวัยกลางคนที่คลั่งรัก "ลูกเขย" ของตัวเองอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่เธอร่วมรักกับผัวของเธอ เธอก็จะจินตนาการว่าเธอกำลังร่วมรักกับลูกเขยวัยหนุ่มฉกรรจ์ ไม่ใช่กับผัววัยกลางคนของเธอ

แล้ว ABBY  ก็ให้คำแนะนำในทำนองที่ว่า ให้หญิงวัยกลางคนเลิก obsession อะไรแบบนี้ซะ

ซึ่งเราว่าคำแนะนำของ  Abby ก็คล้าย ๆ กับบทลงเอยของหนังเรื่องนี้ ตัวละครต้อง "ฆ่าความโหยหาที่มีต่อ a younger and/or a better version of one's spouse" ซะ เพื่อจะได้ดำรงชีวิตสมรสที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมของสังคมต่อไป

RIP YOSHISHIGE YOSHIDA

เคยดูหนังของเขาแค่ 3 เรื่อง แต่ชอบหนังทั้ง 3 เรื่องที่ได้ดูมาก ๆ ซึ่งก็คือ

1. A PROMISE (1986) ที่เคยมาฉายบ่อย ๆ ที่ JAPAN FOUNDATION ถนนอโศก

2.CINEMA DREAM, TOKYO DREAM (1995) ที่ FILMVIRUS เคยนำมาฉายที่หอศิลป์จามจุรี

3. WOMEN IN THE MIRROR (2002) ที่เคยมาฉายที่ BIG C ราชดำริ

IN VIAGGIO (2022, Gianfranco Rosi, Italy, documentary, A+25)

1.ชอบที่มันเหมือนมา balance หนังที่นำเสนอโบสถ์/บาทหลวง ในด้านลบในเทศกาลนี้ อย่างเช่น R.M.N. และ MARIUPOLIS 2 คือพอดูแล้วก็ได้ความรู้สึกว่า ศาสนจักรก็มีอะไรดี ๆ อยู่ด้วยนะ ไม่ได้มีแต่ความหน้าไหว้หลังหลอกแบบที่เจอในหนังเรื่องอื่น ๆ 555

2.เหมือน Pope ชอบพูดถึงตำนาน Cain and Abel  หลายครั้งมาก ๆ น่าสนใจดี

3.ในหลาย ๆฉาก Pope ดูเหมือน superstar มาก ๆ 5555

4.ดูหนังเรื่องนี้เแล้วก็ทำให้เรามอง Pope Francis ในทางบวกมาก ๆ เลยนะ ทั้งเรื่องผู้อพยพ, การพบกับประมุข Christ Orthodox, การไปเยือนเรือนจำ,  Mexico, Cuba และ Iraq, การยอมรับผิดเรื่อง sexual abuse ของบาทหลวง, การยอมรับผิดเรื่องความเลวร้ายที่ศาสนจักรกระทำต่อชนพื้นเมืองในแคนาดา,  etc.

5.แต่ก็ไม่ได้ชอบหนังถึงขั้น A+30 นะ เพราะสำหรับเราแล้ว "พลังของภาพยนตร์" มันมักจะแปรผันตรงกับ  "ความชั่วร้าย" ที่หนัง depict น่ะ คือหนังที่ลงลึกในความชั่วร้ายของจิตมนุษย์ มักจะเป็นหนังที่ทรงพลังสำหรับเรา

เพราะฉะนั้นหนังที่นำเสนอ subject ที่เป็นคนดีงามมาก ๆ แบบนี้ ก็เลยเหมือนขาดพลังอะไรบางอย่างสำหรับเรา คล้าย ๆ กับหนังเรื่อง WHEEL OF TIME (2003, Werner Herzog, documentary) ที่พูดถึง Dalai Lama  ที่นำเสนอ subject ในแง่บวกมาก ๆเช่นกัน

IN VIAGGIO (2022, Gianfranco Rosi, Italy, documentary, A+25)

1.ชอบที่มันเหมือนมา balance หนังที่นำเสนอโบสถ์/บาทหลวง ในด้านลบในเทศกาลนี้ อย่างเช่น R.M.N. และ MARIUPOLIS 2 คือพอดูแล้วก็ได้ความรู้สึกว่า ศาสนจักรก็มีอะไรดี ๆ อยู่ด้วยนะ ไม่ได้มีแต่ความหน้าไหว้หลังหลอกแบบที่เจอในหนังเรื่องอื่น ๆ 555

2.เหมือน Pope ชอบพูดถึงตำนาน Cain and Abel  หลายครั้งมาก ๆ น่าสนใจดี

3.ในหลาย ๆฉาก Pope ดูเหมือน superstar มาก ๆ 5555

4.ดูหนังเรื่องนี้เแล้วก็ทำให้เรามอง Pope Francis ในทางบวกมาก ๆ เลยนะ ทั้งเรื่องผู้อพยพ, การพบกับประมุข Christ Orthodox, การไปเยือนเรือนจำ,  Mexico, Cuba และ Iraq, การยอมรับผิดเรื่อง sexual abuse ของบาทหลวง, การยอมรับผิดเรื่องความเลวร้ายที่ศาสนจักรกระทำต่อชนพื้นเมืองในแคนาดา,  etc.

5.แต่ก็ไม่ได้ชอบหนังถึงขั้น A+30 นะ เพราะสำหรับเราแล้ว "พลังของภาพยนตร์" มันมักจะแปรผันตรงกับ  "ความชั่วร้าย" ที่หนัง depict น่ะ คือหนังที่ลงลึกในความชั่วร้ายของจิตมนุษย์ มักจะเป็นหนังที่ทรงพลังสำหรับเรา

เพราะฉะนั้นหนังที่นำเสนอ subject ที่เป็นคนดีงามมาก ๆ แบบนี้ ก็เลยเหมือนขาดพลังอะไรบางอย่างสำหรับเรา คล้าย ๆ กับหนังเรื่อง WHEEL OF TIME (2003, Werner Herzog, documentary) ที่พูดถึง Dalai Lama  ที่นำเสนอ subject ในแง่บวกมาก ๆเช่นกัน

ถ้าใครชอบความรู้สึก "ไม่รู้ว่าตัวกูกำลังดูอะไรอยู่" แบบตอนที่ดู PACIFICTION ก็ขอแนะนำให้รีบดู THE BRIDEGROOM, THE ACTRESS AND THE PIMP (1968, Jean-Marie Straub, West Germany, 23min, A+30) ที่กำลังฉายออนไลน์ทาง lecinemaclub.com จนถึงเที่ยงวันศุกร์ที่ 9 DEC นะคะ

อันนี้เป็นหนังเรื่องที่ 7 ของ Straub ที่เราได้ดู ปรากฏว่าดูแล้วก็ช็อคสุดขีดอยู่ดี หนังของเขามันสร้างความรู้สึกแบบ  limitless cinema ให้กับเราอย่างรุนแรงมาก เหมทอนมันทำลายกฎคร่ำครึทางภาพยนตร์ได้อย่างสาแก่ใจเรามาก ๆ

ปกติเราจะชินกับหนังทดลองที่ "ไม่เล่าเรื่อง" อยู่แล้ว แต่หนังเรื่องนี้ของ STRAUB กับ PACIFICTION นี่มันเหมือนเป็น "หนังเล่าเรื่อง" แต่วิธีการของมันก็เหมือนช่วยขยายขอบเขตผัสสะทางภาพยนตร์ของเราออกไปอย่างรุนแรงมาก ๆ อยู่ดี

ยกให้ตอนจบของ THE BRIDEGROOM... เป็น ONE OF MY MOST FAVORITE FILM ENDINGS OF ALL TIME

LOVE LIFE (2022, Koji Fukada, Japan, A+30)

SPOILERS ALERT
-'
--
--
--
--

1.ชอบสุด ๆ รู้สึกว่ามันเป็นหนังของคู่รักที่ "ศีลเสมอกัน" คือเรามองว่าพระเอกสุดหล่อมีปมทางจิตคือ "อยากเป็นพ่อพระ" ส่วนนางเอกก็มีปมทางจิตคือ "อยากเป็นแม่พระ" ทั้งสองก็เลยเหมือนมีความคล้ายกัน แต่สถานการณ์บางอย่างก็อาจทำให้ทั้งสองผลักไสออกจากกันได้ โดยเฉพาะเมื่อนางเอกสูญเสียลูกที่ "พึ่งพาเธอ" และได้เจอกับผัวเก่าที่ช่วยตอบสนอง "ความอยากจะเป็นแม่พระ" ของเธอได้ดีกว่าผัวใหม่

คือจุดที่ชอบมากคือการที่ปกติแล้วเราไม่ค่อยเจอหนังคู่รักศีลเสมอกันที่มีปมทางจิตแบบนี้น่ะ เพราะปกติแล้วเรามักจะเจอหนังแบบ "หญิงร้ายชายเลว" มากกว่า  อย่างเช่น HYSTERIC (2000, Takahisa Zeze), CRUEL STORY OF YOUTH (1960, Nagisa Oshima), NATURAL BORN KILLERS (1994, Oliver Stone), BADLANDS (973, Terrence Malick),LOVE RAMPAGE (2022,นภัส มณีพงษ์), etc. หรืออย่างล่าสุดก็คือ SICK OF MYSELF (2022, Kristoffer Borgli, Norway) เราก็เลยรู้สึกว่าการนำเสนอคู่รักที่ดูเหมือนมีปมทางจิตอยากเป็นพ่อพระ-แม่พระแบบนี้มันสวนทางกับหนังคู่รักแบบ "หญิงร้ายชายเลว" ที่เราเจอได้บ่อยกว่ามาก ๆ

2.ชอบมากที่หนังเหมือนนำเสนอปมความอยากเป็นแม่พระของนางเอกตั้งแต่ต้นเรื่อง ที่เธอไปช่วยไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท และตอนหลังเราก็เห็นจุดนี้จากงานที่เธอทำ และมันมาปรากฏชัดตรงความหมกมุ่นของเธอที่มีต่อผัวเก่าที่ทั้งเป็นใบ้, เป็นคนต่างด้าว และตกงาน

3.เรารู้สึกว่าพระเอกก็มีปมอยากเป็นพ่อพระเหมือนกัน ผ่านทางคำบอกเล่าของเขาที่เหมือนมีความสุขที่ "ได้ช่วยนางเอกตามหาผัวเก่า" ในช่วงที่พระเอกนางเอกเพิ่งรู้จักกัน, งานที่เขาทำ, การที่เขาทิ้งแฟนสาวแสนสวย ที่พ่อของเขายอมรับ และไปแต่งงานกับแม่ม่ายลูกติด และแม้แต่การที่เขาข่วยตามหาแมวของผัวเก่านางเอก

4.ตัวละครผัวเก่านางเอก  ก็เป็นตัวละครที่ออกแบบมาดีมาก เพราะเขามีลูกชายหล่อ แต่ก็ทิ้งลูกทิ้งเมียที่เป็นใบ้, มีลูกชายฉลาด แต่ก็ทิ้งลูกทิ้งเมียอีก เสร็จแล้วเขาก็ทิ้งแมวให้พระเอกเลี้ยงอีก 555

5.ชอบสุด ๆ ที่หนังเหมือนจะหัวเราะเยาะปมความอยากเป็น
แม่พระของนางเอก แทนที่จะเชิดชูนางเอกที่เป็นแม่พระ แบบหนังทั่ว ๆ ไป อย่างเช่น  HER LOVE BOILS BATHWATER (2016, Ryota Nakano)

แต่หนังก็ไม่ได้ลงโทษตัวละครที่อยากเป็นแม่พระอย่างรุนแรง แบบ VIRIDIANA (1961, Luis Bunuel) นะ 555

6.รู้สึกว่าตัวละครนางเอกของ LOVE LIFE เหมาะปะทะกับนางเอกของ MON HOMME (1996, Bertrand Blier, France) มาก ๆ เพราะมีปมทางจิตคล้าย ๆ กัน

7.ถึงเราชอบ LOVE LIFE มาก ๆ เราก็ไม่ได้อินกับหนังเป็นการส่วนตัวมากนักนะ เพราะเราไม่ได้มีปมอยากเป็นแม่พระแบบนี้ค่ะ กูอยากเป็นกะหรี่ค่ะ เพราะฉะนั้นหนังเรื่อง MUTZENBACHER (2022, Ruth Beckermann) ก็ยังคงครองอันดับหนึ่งของดิฉันอยู่เหมือนเดิมค่ะ 555

STONEWALLING (2022, Huang Ji, Ryuji Otsuka, China, A+30)

เหมือนหนังมันรักษาระยะห่างระหว่างตัวละครกับผู้ชมได้น่าสนใจมาก คือมันไม่ได้ใกล้มากแบบหนัง melodrama ที่จะให้เรารู้สึกรุนแรงไปกับตัวละคร แต่ก็ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกไกลจากตัวละครมากเกินไป

เหมือนหนังมัน balance ได้ดีสำหรับเราในการเป็นหนังสะท้อนชีวิต individual กับการเป็นหนังสะท้อนสังคมจีนน่ะ เราก็เลยชอบมาก เพราะเรารู้สึกว่าเราได้ดูชีวิตคนที่เหมือนคนจริง ๆ ที่พยายามรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตไปเรื่อย ๆ ดิ้นรนหางานทำไปเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ชีวิตของเธอก็เหมือนจะสะท้อน "บางส่วน" ของสังคมจีนไปด้วย คือหนังไม่ได้พยายามทำให้ตัวละครนางเอกเป็น representation ของสังคมจีนในภาพกว้างจนตัวละครตัวนี้สูญเสียความเป็นมนุษย์ไป แต่เหมือนเธอใช้ชีวิตของตัวเองไปเรื่อย ๆ แล้วมันสะท้อนบางส่วนของสังคมออกมาเองโดยเหมือนไม่ได้ตั้งใจ

ซึ่งจะแตกต่างจากหนังของ Jia Zhangke ที่เรารู้สึกว่าตัวละครมันเหมือนมีความเป็น "สัญลักษณ์" อยู่ด้วย แต่ตัวละครใน STONEWALLING มันดูมีเลือดมีเนื้อจริง ๆมากกว่า แต่หนังของ Jia  ก็ดีในแบบของมันเองนะ

หนึ่งในสิ่งที่ชอบใน PACIFICTION (2022, Albert Serra, France, 165min, A+30) ก็คือเรารู้สึกว่ามันมีความเป็น anti-thriller คือเหมือนตัวเนื้อเรื่องมันเอื้อให้เป็นหนัง thriller ได้สบายมาก ทั้งเรื่องของผู้มีอิทธิพลบนเกาะ, นักการเมือง, สปายสายลับ, ไนท์คลับ, การโต้คลื่น, โสเภณี, ระเบิดนิวเคลียร์, etc.  แต่ผู้กำกับไม่เลือกที่จะเร้าอารมณ์แบบ thriller แต่เลือกที่จะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ในสไตล์อื่น ๆ ในบางช่วงก็เหมือนดูชีวิตประจำวันและกลไกการทำงานของของนักการเมือง และในบางช่วงก็ดูเหมือนดูภาพวาดแบบ abstract (แต่อันนี้เป็นเนื้อเรื่องที่ถูกทำให้เป็น abstract)

ชอบหนังกลุ่ม anti-thriller แบบนี้มาก ๆ นึกถึงหนังของ F.J. Ossang, Claire Denis, THE LIMITS OF CONTROL (2009, Jim Jarmusch), TAKE SHELTER (2011, Jeff Nichols), etc. อะไรพวกนี้ ที่เรารู้สึกว่ามันมีความ  anti-thriller เหมือนกัน

ส่วนกลุ่มหนังที่ดูเหมือนตรงข้ามกับกลุ่มนี้ เราก็ชอบมากนะ นั่นก็คือหนังกลุ่ม arthouse thriller (ไม่รู้ว่ามันมีหนังกลุ่มนี้จริง ๆ หรือเปล่านะ แต่เราขอจัดกลุ่มมันขึ้นมาเอง 555) ซึ่งหนังที่เราคิดว่าจัดอยู่ในกลุ่ม arthouse thriller/horror นั้นก็รวมถึงหนังของ Jordan Peele, หนังอย่าง FACES OF ANNE, PARASITE, DECISION TO LEAVE, TORI AND LOKITA (2022, Jean-Pierre Dardenne, Luc Dardenne, Belgium, A+30), HOLY SPIDER (2022, Ali Abbasi), SUBTRACTION  (2022, Mani Haghihi, France/Iran, A+30) , ENEMY (2013, Denis Villeneuve), etc.

อีกไม่นานเราจะกลับมา (2022, เดชบดินทร์ โพธิ์ศรี, documentary, 38min, A+30)

หนักหน่วงมาก ๆ หนังสารคดีที่บันทึกชีวิตพ่อของผู้กำกับ โดยเฉพาะในช่วงหลังจากที่พ่อมีอาการความจำเสื่อม (แต่ไม่ใช่อัลไซเมอร์นะ)

พอเราดูหนังแบบนี้ เราก็ไม่รู้ว่าจะบรรยายความรู้สึกรุนแรงหลังจากดูออกมาเป็นถ้อยคำได้อย่างไร นอกจากบอกได้แค่ว่า "นี่แหละ ชีวิตมนุษย์" ซึ่งหนังที่ทรงพลังหลาย ๆ เรื่องก็เป็นเพราะว่ามันสามารถถ่ายทอดแก่นแกนบางอย่างของชีวิตมนุษย์ออกมาได้อย่างยากจะบรรยายแบบนี้นี่แหละ

SAFE PLACE (2022, Juraj Lerotic, Croatia, A+30)

ชอบการจัดเฟรมภาพในหนังเรื่องนี้มาก ๆ

นึกว่าต้องฉายควบกับ MELANCHOLIA (2021, ปรินทร์ สุขวาทยานนท์)

THE BLURRY BRAIDS (เปียของยายเบ๊อะ) (2022, Kanda Chansakornsamut, 24min, A+30)

ชอบสุดขีด ชอบที่มันเหมือนเอาทั้งหนังสารคดีเกี่ยวกับครอบครัวตัวเอง + ความพยายามจะถ่ายทอด moment ฝังใจของตัวเองในวัยเด็ก มาถ่ายทอดออกมาในรูปแบบหนัง cult บ้า ๆ บอ ๆ คือการผสมกันระหว่างความเสียสติแบบหนัง cult กับความเป็นหนังครอบครัวซึ้ง ๆ ของมันช่วยกลบข้อด้อยของแต่ละฝ่ายได้ดีมาก ๆ เพราะว่าหนัง cult ส่วนใหญ่มันขายความเหวอ ๆ เพี้ยน ๆ แปลกประหลาดหลุดโลก แต่มันอาจจะขาดความสะเทือนใจ เพราะมันไม่ได้ยึดโยงกับความเป็นมนุษย์จริง ๆ และอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ในชีวิตจริง เพราะฉะนั้นการที่มันใส่ความเป็น personal documentary มาด้วย เลยทำให้มันแตกต่างจากหนัง cult ทั่วไป

ส่วนหนัง personal documentary ที่บันทึกเรื่องราวครอบครัวของผู้กำกับนั้น ข้อด้อยของมันก็คือว่า มีผู้กำกับหนังไทยทำหนังแนวนี้ออกมาเยอะมาก และแต่ละคนก็ทำออกมาได้ดีมาก ๆ ซาบซึ้งสะเทือนใจมาก ๆ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้กำกับหนังไทยจะทำหนังแนวนี้ออกมาเป็น documentary หรือไม่ก็ผสมความเป็น fiction และหนังทดลองเข้าไปด้วย แต่แทบไม่เจอใครที่ผสมความเป็นหนัง cult เข้าไปด้วย เพราะฉะนั้นการใส่ความเป็นหนัง cult เข้าไปเลยช่วยสร้างความโดดเด่นให้หนังเรื่องนี้ยืนโดดเด่นแตกต่างจากหนัง personal documentary เรื่องอื่น ๆ ของไทยได้ดีมาก ๆ

ฉาก ENDING CREDIT ทำออกมาได้ซาบซึ้งมาก ๆ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย: ใน WILL-O'-THE-WISP (2022, Joao Pedro Rodrigues, Portugal, A+30) มีขึ้นขอบคุณ James Bidgood ผู้กำกับ PINK NARCISSUS (1971) ใน ending credits ด้วย

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย: ใน ANHELL69 (2022, Theo Montoya, Colombia, A+30) มีฉากนึงที่ tribute ให้หนังเรื่อง THE ROSE SELLER (1998, Victor Gaviria, Colombia) ด้วยนะ ถ้าเข้าใจไม่ผิด

No comments: