Sunday, December 04, 2022

SHANGRI-LA

 สิ่งแรกที่ทำหลังจากดู KAMOME DINER (2006, Naoko Ogigami, Japan, A+30) ในวันศุกร์ ก็คือการเข้าร้านอาหารญี่ปุ่น 555


THE LAUNDRY CLUB (2022, Monthiya Sae-Ueng, 40min, A+30)

1.ชอบมากที่เหมือนหน้าหนังมันเป็นหนัง romantic comedy แต่ตัวเนื้อหาจริง ๆ แล้วมันพูดถึงปัญหาของนางเอกในฐานะนักประพันธ์มากกว่า

2.ชอบที่หนังมันเหมือนนำเสนออารมณ์ที่ "รื่นรมย์" คือไม่ได้จริงจัง และก็ไม่ได้เน้นตลกเพียงอย่างเดียว คือเหมือนหนังสร้าง tone บางอย่างที่เฉพาะตัวขึ้นมา และเราก็ชอบตรงจุดนี้มากน่ะ

เหมือนตัวอย่างที่เห็นชัดคือการที่ตัวละครแก้ไขปัญหา writer's block ด้วยการจัดงานแข่งขันเกมขึ้นมา (ถ้าจำไม่ผิด)  คือเหมือนถ้าหากมันเป็นหนังซีเรียส ตัวละครก็อาจจะไม่ทำอะไรแบบนี้ หรือถ้าหากมันเป็นหนังตลก หนังก็จะพยายามรีดเค้นความตลกออกมาอย่างเต็มที่จากฉากนี้ แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำแบบนั้น เหมือนฉากการแข่งขันเกมนี้ไม่ได้ดำรงอยู่เพียงเพื่อความตลกของผู้ชม แต่เป็นสิ่งที่ตัวละครอยากทำจริง ๆ ซึ่งเราว่ามันน่าสนใจดี

3.ฉากที่ฝังใจเรามากที่สุดจากหนังเรื่องนี้มีอยู่ 2  ฉาก  ซึ่งก็คือ

3.1 ฉากที่ถ่ายจากมุมสูง ที่พระเอกนางเอกวิ่งมาเจอกัน

3.2 ฉากที่พระเอกหอบหนังสือเป็นตั้ง ๆ มาให้นางเอกอ่านในห้องสมุด

MEMORIES OF BURGER (2022, เดือนมีนา หนานเจียง, 33min,  A+30)

1.ยอมรับว่า พอเวลาผ่านไปนานราว 2 เดือนหลังจากเราได้ดูหนังเรื่องนี้ เราก็เริ่มจำสับสนระหว่างหนังเรื่องนี้กับ THE SAND CASTLE (2022, Monapsorn Saritapirak) ที่ฉายในงานเดียวกัน เพราะหนังทั้งสองเรื่องเหมือนจะเล่าเรื่องพี่สาวที่พยายามจะ  reconnect กับน้องสาวเหมือนกัน 555 แต่เราเหมือนจำได้ลาง ๆ ว่า THE SAND CASTLE ให้รสชาติเหมือนกินแกงจืดลูกชิ้นปลากราย  เพราะหนังมันราบเรียบกว่า ส่วน MEMORIES OF BURGER เหมือนกินแกงเผ็ด เพราะความสัมพันธ์ในหนังมันจัดจ้านกว่า ถ้าจำไม่ผิด 555

2.กลายเป็นว่า สิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือปฏิกิริยาเคมีระหว่างนางเอกกับช่างซ่อมรถ ชอบอะไรแบบนี้มาก ๆ คือผู้ชายดูซื่อ ๆ ดี และดูเหมือนไม่ได้คิดอะไรกับนางเอก แต่นางเอกเองที่เป็นฝ่ายที่ดีใจที่ได้เจอเขาอีก

เราชอบดื่มน้ำมังคุดมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ช่วงหลัง ๆ พอจะดื่มทีไร ก็ต้องนึกถึง MANGOSTEEN (2022, Tulapop Saenjaroen, video iinstallation) 555

CHANCE SEIZER สลากบอย (2022, Jiraporn Yomkerd, 15min, A+30)

SHANGRI-LA (2022, Saharat Ungkitphaiboon, 51min, A+30)

1.ช่วงแรก ๆ เรารู้สึกประดักประเดิดนิดหน่อยกับหนังเรื่องนี้ เพราะเรารู้สึกว่า dialogue มันยังไงไม่รู้ 5555 คล้าย ๆ กับ dialogue ใน POLARIS ที่อาจจะเป็นการระบายความในใจของผู้สร้างหนังอย่างตรงไปตรงมา แต่พอมันอยู่ในหนังทั้งสองเรื่องนี้มันดูแปลก ๆ ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะมันตรงไปตรงมาเกินไป หรือเป็นเพราะ dialogue มันไม่ค่อยเป็นธรรมชาติมากพอสำหรับเรา

2.โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่าน้อง Poon Mitpakdee เล่นเก่งมาก ๆ เพราะเราว่า dialogue มันดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติมากนัก แต่เขาสามารถพูดให้มันดูเข้าปาก ไหลลื่น เป็นธรรมชาติมากขึ้นได้ รู้สึกว่าอะไรแบบนี้มันยากมาก ๆ ความยากของนักแสดงในการจัดการกับ dialogue แบบนี้ทำให้นึกถึงภาพยนตร์ไทยในทศวรรษ 1970 แบบที่สรพงศ์ ชาตรี, พิศมัย วิไลศักดิ์ เล่น ที่ monologue +  dialogue มันเป็นภาษาเขียนหรือภาษาวรรณกรรมมาก ๆ แต่นักแสดงสามารถพูดออกมาได้ไหลลื่น และดูไม่ขัดเขิน คือ dialogue ใน SHANGRI-LA  มันไม่ได้ดูเป็นภาษาวรรณกรรมขนาดนั้นนะ แต่เราว่ามันไม่ใช่ dialogue ที่ง่ายต่อการพูดให้เข้าปากแบบในหนังทั่วไปน่ะ มันเลยต้องอาศัยความสามารถของนักแสดงในการพูดออกมาแล้วดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

3.ชอบมาก ๆ ที่หนังนำเสนอทั้ง "ความใฝ่ฝัน" (ambition) ที่ตัวละครไม่รู้ว่าจะทำให้มันเป็นจริงได้หรือเปล่า และ "ความฝัน" (dream)  ในวัยเด็กที่ดูเหมือนไร้เหตุผล ไร้คำอธิบาย แต่กลายเป็นความจริงในเวลาต่อมา

4.น้อง Poon  ในหนังเรื่องนี้คือหล่อแบบสุดขีดมาก ๆ โดยเฉพาะตอนที่หนังถ่ายหน้าเขาแบบตรง ๆ เหมือนให้เขาพูดกับคนดูในทางอ้อม ฉากนั้นคือตายคาโรงไปเลย

5.ช่วงกลาง ๆของหนัง ที่เป็นเรื่องของสองหนุ่มพบกัน ดูพิศวงดี แต่ช่วงท้ายของหนังคือสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้พุ่งขึ้นมาเป็น one of my most favorite films I saw in 2022

คือเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่การที่หนังตั้งกล้องนิ่ง ถ่ายตัวละครจัดบ้านไปเรื่อย ๆ เป็นเวลายาวนานในตอนท้ายของหนังเรื่องนี้ มันส่งผลกระทบต่อเราในแบบที่พิศวง ไร้คำอธิบายมาก ๆ คือเรารู้สึกราวกับว่า เราได้รับการ "ชำระล้างจิตใจ" หลังดูหนังเรื่องนี้จบน่ะ มันเป็นความรู้สึกที่พิสุทธิ์พิเศษสุกใสมาก ๆ 555 ราวกับว่าหนังเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อจิตใต้สำนึกของเราอย่างรุนแรงในแบบที่เราไม่สามารถเข้าใจได้

เหมือนเราเคยรู้สึกแบบนี้กับหนังแค่ไม่กี่เรื่องนะ เราเคยรู้สึกแบบนี้กับหนังเรื่อง PISCINE (2002, Jean-Baptiste Bruant + Maria Spangaro) ที่ถ่ายกลุ่มคนเดินไปเดินมาในสระว่ายน้ำราว 1 ชั่วโมง PISCINE เคยมาฉายที่สวนลุมพินีในปี 2005 และพอเราดูหนังเรื่องนั้นจบ เราก็รู้สึกเหมือนได้รับการชำระล้างจิตใจอย่างไม่มีคำอธิบายเหมือนกัน

6.พอหนังเรื่องนี้ฉายจบในโรง LIDO ผู้หญิงที่นั่งข้าง ๆ เราก็อุทานขึ้นมาว่า "OH MY GOD" ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเธออุทานแบบนั้นเพราะอะไร แต่ชอบเหตุการณ์การอุทานนี้มาก ๆ

7.ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าชอบหนังเรื่องนี้มากที่สุดในงานกางจอหรือเปล่า เพราะหนังแต่ละเรื่องก็ส่งผลกระทบต่อตัวเราในแบบที่แตกต่างกันไป อย่าง "นางอาย" ก็รู้สึกว่าเป็นหนังที่ดูสมบูรณ์ที่สุด ส่วน "US, BEING AND TIME" ก็เป็นหนังที่ทำให้เรารู้สึกงดงามที่สุด ส่วน SHANGRI-LA ก็เป็นหนังที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจเรามากที่สุด โดยเฉพาะต่อจิตใต้สำนึกของเรา

---
สรุปว่า การซื้อตั๋วหนังใน WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK ทำให้เราได้ตั๋วหนังฟรีในระบบ SF+ มาทั้งหมด 6 ใบ วันนี้เราเลยใช้สิทธิตั๋วฟรีเพื่อหนีมาฝังตัวที่ SF เพราะเรากลัวคนแน่นโรงเมเจอร์วันนี้ แล้วมันจะมีปัญหาด้าน FACILITY ตามมา อย่างเช่น ส้วมระเบิด 555
----

รายงานผลประกอบการประจำวันเสาร์ที่ 26 พ.ย. 2022

1. SICK OF MYSELF (2022, Kristoffer Borgli, Norway/Sweden, A+30)

ดูที่ HOUSE รอบ 10.30 hrs

สุดฤทธิ์ นึกว่า "เพลิงพ่าย" หนักมาก ๆ ชอบตัวละครนางเอกโรคจิตแบบนี้มาก ๆ นึกว่าต้องฉายควบกับ FAME WHORE (1997, Jon Moritsugu)

2. BONES AND ALL (2022, Luca Guadagnino, Italy/USA, A+30)

ดูที่ House รอบ 12.20 hrs

รุนแรงมาก นึกว่าปอบ

3.A GIRL RETURNED (2021, Guiseppe Bonito, Italy, A+30)

ดูที่ SF CENTRAL WORLD รอบ 16.00

4.THE INNER CAGE (2021, Leonardo Di Costanzo, Italy, A+30)

ดูที่ CENTRAL WORLD รอบ 19.00

5. JEEPERS CREEPERS: REBORN (2022  Timo Vuorensola, C- )

ดูที่ Central World รอบ 21.30

ต่ำมาก 555 แต่พอดีก่อนหน้านี้เราซื้อตั๋ว WORLD FILM ไปเยอะมาก SF เลยแถมตั๋วฟรีให้ และเราก็เลยใช้สิทธิตั๋วฟรีในการซื้อตั๋วหนังเรื่องนี้

เตโช (2022, Usicha Udomsak, 35min, A+20)

ชอบมาก ๆ แต่เหมือนพอมันเป็นหนัง fantasy แบบนี้เราก็เลยอยากได้อะไรที่มันรุนแรงกว่านี้หน่อย 555

ดูแล้วนึกถึง THE VILLAGE (2004, M. Night Shyamalan) ด้วย

FRIDAY SATURDAY SUNDAY (2022, Pobmek Junlakarin, 45min, A+30)

1.ชอบการแบ่งโครงสร้างหนังมาก ๆ ที่เหมือนแบ่งออกเป็น 3 ช่วง friday, saturday กับ  sunday และหนังเล่าปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนางเอกกับแฟนหนุ่ม, เพื่อนหญิง และครอบครัว

2.ชอบการเล่นกับความลังเลของนางเอกในการใส่ชื่อบุคคลที่ติดต่อได้มาก ๆ เพราะเราจะอินกับจุดนี้อย่างรุนแรงมากเป็นพิเศษ เพราะเราก็ไม่สนิทกับครอบครัว หรือเพื่อนคนใดในแบบที่จะฝากผีฝากไข้ได้ เหมือนทั้งชีวิตก็มีแค่ตุ๊กตาหมีเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งทางใจได้ เพราะฉะนั้นเอาเข้าจริงเราก็ไม่รู้ว่าควรจะใส่ชื่อใครเหมือนกัน คือจริง ๆ ก็อยากใส่ชื่อผัว แต่ยังหาผัวไม่ได้ จบ 555

BIG TRASH SMALL TOWN (2022, Supavit Sirisawadwattana, documentary, A+30)

ไม่เคยรู้มาก่อนว่าการนำเข้าขยะจะสร้างปัญหาร้ายแรงแก่ประเทศไทยได้มากขนาดนี้

หนังที่อยากดู แต่ไม่สามารถหาเวลาไปดูได้

12.  GOOD MORNING, SLEEPING LION (2022, Koichi Sakamoto, Japan)

หนังที่อยากดู แต่ไม่สามารถหาเวลาไปดูได้

11. CONFESSION (2022, Yoon Jong-seok, South Korea)

แต่เราเคยดู BADLA (2019, Sujoy Ghosh, India) แล้ว ที่ดัดแปลงมาจากหนังเรื่อง THE INVISIBLE GUEST ของ Spain เหมือนกัน

ปกติในช่วง WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK พอหนังเรื่องสุดท้ายของแต่ละวันจบตอนราว 23.00 น. พวกเราที่หิวโฮกก็จะไปสุมหัวแดกและเมาท์มอยกันที่แมคโดนัลด์ในห้าง SOGO เพราะมันเปิดดึก

แต่ตอนนี้ร้านไม่อยู่แล้ว แล้ว WORLD FILM ปีนี้พวกเราจะไปฝากท้องฝากครรภ์ที่ไหนหลัง 5 ทุ่มคะ 555

HOMELAND หากแต่แค่ระลึกถึงและรำพึง (2022, Chayanon Wongsomsri, Hybrid-documentary, A+30)


1.เหมือนเป็น sub-sub genre ของหนังไทย 555 คือในขณะที่ genre  หนึ่งของภาพยนตร์คือ documentary เราก็พบว่าผู้สร้างหนังอิสระของไทยจำนวนมากในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา สร้าง "หนังสารคดีเกี่ยวกับครอบครัวของตัวเอง" จนเรียกได้ว่าเป็น  sub genre หลักอันหนึ่งที่พบได้ทุกปีในงานฉายหนังสั้นของไทยในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า เด็กไทยรักครอบครัวมากกว่าเด็กชาติอื่น ๆ 555 แต่ส่วนใหญ่ก็ทำหนังแนวนี้ออกมาได้ดีมากนะ

และในบรรดาหนังกลุ่มนี้ ก็เหมือนจะมี  sub-sub genre แยกย่อยออกไปอีก เพราะมันมีทั้งหนังสารคดีจริง ๆ กับหนังสารคดีลูกผสมแบบหนังเรื่องนี้ ที่มีความเป็น fiction และความเป็นหนังทดลองรวมอยู่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็ทำออกมาได้อย่างงดงามสุด ๆ รวมถึงหนังเรื่องนี้ด้วย

2. คือเหมือนเราอาจจะได้ดูหนังไทยแนว family hybrid documentary นี้ราว 5 เรื่องต่อปีได้มั้ง อันนี้เป็นการประมาณคร่าว ๆ นะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราในฐานะคนดูค้นพบก็คือว่า เราจะต้องหาจุดที่ unique ในหนังแต่ละเรื่องให้ได้ ไม่งั้นเราจะจำหนังแต่ละเรื่องในกลุ่มนี้สลับกันไปหมด เพราะหนังหลาย ๆ เรื่องในกลุ่มนี้ชอบเป็นการไปเยี่ยม "ปู่ย่าตายาย" ใน "ชนบท" และชอบมีฉากหลังเป็นป่าละเมาะ ลำธาร และน้ำตก เราก็เลยต้องพยายามหาจุด unique ของหนังแต่ละเรื่องให้ได้ ไม่งั้นเราจะจำสลับกัน เพราะเอาเข้าจริงแล้วหนังแต่ละเรื่องในกลุ่มนี้มันงดงามมาก ๆ มันกินกันไม่ลงในแง่ระดับความชอบหรือความงดงาม

3. เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้มีจุดเด่นให้จดจำ เพราะเราเข้าใจว่าส่วนที่เป็นสารคดีคือส่วนที่เป็นหลานชายไปเยี่ยม grandmother และส่วนที่เป็น fiction คือส่วนที่เป็นหลานสาวไปเยี่ยม grandmother เราว่าการสลับเพศกันตรงจุดนี้เป็นสิ่งที่น่าจดจำสุด ๆ สำหรับเรา แทบไม่เคยเจอในหนังเรื่องอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน

ฉากที่ตัวละครจากพาร์ท fiction กับ documentary มาอยู่ในฉากเดียวกัน เราก็เลยใช้มันเป็น "ฉากจำ" สำหรับเราในหนังเรื่องนี้ เพื่อใช้แยกหนังเรื่องนี้ออกจากหนังเรื่องอื่น ๆ ในความทรงจำของเรา ถือว่าเป็นซีนที่ออกแบบมาได้ดีมาก ๆ


ONCE IN A DREAM ห้วงฝัน (2022, Karnsupong Siriluck, musical, 52min, A+5)

1.เราไม่ค่อยอินกับหนังเพลง ก็เลยอาจจะชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่าหนังเรื่องอื่น ๆ ในงานกางจอ แต่ก็ดีใจที่ได้ดูหนังเพลงของไทยในปีนี้ เพราะในแต่ละปีเราก็จะได้ดูหนังเพลงของไทยแค่ปีละ 1-2 เรื่องจากผลงานของนักศึกษานี่แหละ

2.ชื่นชมความพยายามในการผลิตหนังเพลงออกมา เพราะมันต้องแต่งเนื้อร้อง, ทำนอง, ออกแบบท่าเต้น และต้อง cast นักร้องและนักเต้นด้วย ก็เลยทำให้การสร้างหนังแบบนี้อาจจะยากกว่าหนังทั่วไป

3.ชอบตัวไอเดียของเนื้อเรื่องนะ เพราะมันไม่ใช่เรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ แต่เป็นเรื่องของนักศึกษาที่ออกแบบชุดโดยพึ่งพาการเข้าฝัน ซึ่งเป็นไอเดียที่แปลกประหลาดดีมาก

4. แต่เรารู้สึกว่า หนังไม่ค่อยสนุกสำหรับเรา ฉากเต้นก็ไม่ทำให้เราว้าว ซึ่งความผิดอาจจะเป็นเพราะจริง ๆ แล้วเราแทบไม่ได้ดูหนังเพลงเลย เราดูแต่หนังอินเดียที่ฉากเต้นมันจะเป็นอีกสไตล์นึง เราก็เลยเหมือนชินกับฉากเต้นในหนังอินเดีย แล้วพอมาดูฉากเต้นแบบหนังเพลงในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกเหมือนมันจืดไปหน่อยสำหรับลิ้นของเรา 555

หนึ่งเสี้ยวทรงจำ STILL ON OUR MIND (2022, Worraluk Monsaksit, 30min, A+15)

เราอาจจะไม่ได้อินกับหนังเรื่องนี้มากนัก เพราะเราไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมกับตัวละครในหนังเรื่องนี้ แต่เราก็ชอบที่หนังเหมือนไม่มีความดราม่าฟูมฟายแบบหนังความสัมพันธ์พ่อลูกโดยทั่วไป และเราว่าตัวพ่อในหนังเรื่องนี้ดูจริงมาก ๆ

No comments: