หนึ่งในหนังที่นึกถึงโดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างที่ดู
FLAT GIRLS (2025, Jirassaya Wongsutin, A+30) ก็คือ THE
BLOSSOMING OF MAXIMO OLIVEROS (2005, Auraeus Solito, Philippines, A+30) เพราะว่าเป็นหนัง queer วัยรุ่น ที่มี
“ตำรวจหนุ่มหล่อ” เป็น object of desire เหมือนกัน โดยใน THE
BLOSSOMING นั้น ตัวละครตำรวจหนุ่มหล่อเป็น “เป้าหมาย”
ของตัวละครกะเทยวัยรุ่นในเรื่องอย่างชัดเจน ส่วนใน FLAT GIRLS นั้น ตัวละครตำรวจหนุ่มหล่อเป็น object of desire ของดิฉันค่ะ
55555 เพราะฉะนั้นดิฉันก็เลยขำมากที่ตัวละครใน FLAT GIRLS ชอบปีนเข้าห้องตำรวจหนุ่มหล่อโดยไม่ได้รับอนุญาต
หรือแอบสะเดาะกลอนประตูห้องตำรวจหนุ่มหล่อโดยไม่ได้รับอนุญาต คือ “จุดประสงค์”
ของตัวละครใน FLAT GIRLS แตกต่างจากดิฉัน
แต่สิ่งที่ตัวละครทำก็คือสิ่งที่ดิฉันอยากทำ ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างออกไป 55555
การที่ตัวละครใน FLAT GIRLS ชอบบุกรุกห้องของตำรวจหนุ่มหล่อโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ทำให้เรานึกถึง CHUNGKING
EXPRESS (1994, Wong Kar-wai, Hong Kong, A+30) โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย
แต่ยังดีที่พฤติกรรมของตัวละครนางเอกทั้งสองของ FLAT GIRLS ไม่ได้มีความ
creepy มากเท่ากับตัวละครของ Faye Wong ใน CHUNGKING EXPRESS
อีกจุดนึงที่ FLAT GIRLS ทำให้นึกถึง
CHUNGKING EXPRESS โดยไม่ได้ตั้งใจก็คือว่า ตัวละครของ Faye
Wong ทิ้งตำรวจหนุ่มหล่อเพื่อไปเป็น “แอร์โฮสเตส” และเดินทางไปยัง
“รัฐแคลิฟอร์เนีย”
+++++
รายงานผลประกอบการประจำวันเสาร์ที่ 8 ก.พ. 2025
1. GOOD MORNING (1959, Yasujiro Ozu,
Japan, A+30)
ดูที่ HOUSE รอบ 14.30 น.
2. HAPPYEND (2024, Neo Sora, Japan, 113min,
A+30)
ดูที่ HOUSE รอบ 16.15 น.
3. LET’S GO KARAOKE! (2023, Nobuhiro
Yamashita, Japan, A+30)
ดูที่ HOUSE รอบ 19.00 น.
สรุปว่าวันนี้ก็ชอบหนังในระดับ A+30 ทั้งสามเรื่องเลย โดยชอบ HAPPYEND มากเป็นอันดับหนึ่ง,
LET’S GO KARAOKE! มากเป็นอันดับสอง และ GOOD MORNING
มากเป็นอันดับสาม
ก็เลยรู้สึกว่าคนเลือกหนัง JAPANESE FILM
FESTIVAL ปีนี้เก่งมาก ๆ
สามารถเลือกหนังที่สามารถทำให้เราชอบหนังของ Ozu เป็นอันดับต่ำสุดของวันได้
555555 ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อย่างแน่นอนที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้
ซึ่งจริง ๆ แล้วเราก็ชอบ GOOD MORNING อย่างรุนแรงมาก เพียงแต่ว่าพอมันมีชื่อของ Ozu แปะไว้
เราก็เลยคาดหวังไว้ก่อนดูหนังอยู่แล้วว่า “หนังมันจะต้องดีมาก”
และพอหนังมันออกมาดีมากจริง ๆ มันก็เลยไม่ surprise อะไรเรา
55555 ซึ่งแตกต่างจาก HAPPYEND และ LET’S GO KARAOKE! ที่เราไม่ได้ตั้งความหวังอะไรไว้เลยก่อนเข้าไปดูหนัง
LET’S GO KARAOKE! นี่ตอบสนอง fantasy ของเราอย่างรุนแรงมาก ๆ โดยเฉพาะฉากหลัง ending credits ที่มันสามารถกระตุ้นให้ผู้ชมจินตนาการได้อย่างรุนแรงว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น
เมื่อตัวละครใกล้จะบรรลุนิติภาวะแล้ว 55555 ซึ่งผู้ชมแต่ละคนก็สามารถจินตนาการต่อได้ตามใจชอบ
ว่าอยากให้เกิดอะไรขึ้นต่อจากฉากนั้น
ฉากหลัง ENDING CREDITS ของ
LET’S GO KARAOKE! นี่จริง ๆ แล้วมันเข้ากับ concept หนึ่งในงาน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL มาก
ๆ นั่นก็คือ concept ทำนองที่ว่า “สิ่งที่สำคัญในภาพยนตร์
คือสิ่งที่ไม่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ สิ่งที่ภาพยนตร์ละไว้ ไม่พูดถึงมันโดยตรง” 55555
ส่วน HAPPYEND นั้น
เรายกให้เป็นอันดับหนึ่งของวัน หรืออาจจะอันดับหนึ่งนับตั้งแต่ต้นปีนี้
เพราะดูแล้วร้องห่มร้องไห้หนักมาก นึกว่าเป็น Political version ของละครโทรทัศน์เรื่อง “อดีตฝันวันวาน” (HAKUSEN NAGASHI) (1996)
ชอบการใช้ดนตรีประกอบในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ด้วย
ส่วนอันดับหนึ่งของเราในสาขาหนังสารคดีประจำปีนี้คือ
THE UNSTABLE OBJECT II (2022, Daniel Eisenberg, 203min) เพราะฉะนั้นเราก็เลยถือว่า
THE UNSTABLE OBJECT II กับ HAPPYEND ครองอันดับหนึ่งร่วมกัน
เพราะอยู่คนละสาขากัน 55555
HAPPYEND เป็นหนังเรื่องที่สามของ Neo
Sora ที่เราได้ดู ต่อจาก THE CHICKEN (2020, A+30) และ RYUICHI SAKAMOTO: OPUS (2023)
ส่วน LETS GO KARAOKE! เป็นหนังเรื่องที่สามของ
Nobuhiro Yamashita ที่เราได้ดู ต่อจาก NO ONE’S ARK
(2003) และ GHOST CAT ANZU (2024, animation)
ส่วน GOOD MORNING นั้น
เป็นหนังของ Ozu เรื่องที่ 8 ที่เราได้ดู
ซึ่งถ้าหากจัดตามลำดับความชอบตอนนี้ อาจจะจัดได้ดังนี้
1.EARLY SPRING (1956)
2.TOKYO CHORUS (1931)
3. TOKYO STORY (1953)
4. GOOD MORNING (1959)
อันดับ 5 ถึง 8
I WAS BORN, BUT... (1932), LATE SPRING (1949), LATE
AUTUMN (1960) และ AN AUTUMN AFTERNOON (1962)
4 เรื่องนี้เราชอบน้อยพอ ๆ กัน ตามที่เราเคยเขียนถึงไปแล้ว
ฉันรักเขา Yukito Hidaka from HAPPYEND
(2024, Neo Sora, Japan, 113min, A+30)
HAPPYEND (2024, Neo Sora, Japan, 113min, A+30)
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1. เรายกให้เป็นอันดับหนึ่งนับตั้งแต่ต้นปีนี้
เพราะดูแล้วร้องห่มร้องไห้หนักมาก นึกว่าเป็น Political version ของละครโทรทัศน์เรื่อง “อดีตฝันวันวาน” (HAKUSEN NAGASHI) (1996)
ชอบการใช้ดนตรีประกอบในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ด้วย
ส่วนอันดับหนึ่งของเราในสาขาหนังสารคดีประจำปีนี้คือ
THE UNSTABLE OBJECT II (2022, Daniel Eisenberg, 203min) เพราะฉะนั้นเราก็เลยถือว่า
THE UNSTABLE OBJECT II กับ HAPPYEND ครองอันดับหนึ่งร่วมกัน
เพราะอยู่คนละสาขากัน 55555
HAPPYEND เป็นหนังเรื่องที่สามของ Neo
Sora ที่เราได้ดู ต่อจาก THE CHICKEN (2020, A+30) และ RYUICHI SAKAMOTO: OPUS (2023)
2.อันนี้เป็นสิ่งที่เราเขียนตอบเพื่อนใน facebook
คนนึง ก็เลย copy มาแปะไว้ในนี้ด้วย
ผมชอบหนังเรื่อง HAPPYEND อย่างสุดขีด
เพราะมันตรงกับ “ปมสำคัญในใจผม” หรือ “ประวัติชีวิตของผม” ครับ ผมมักจะอินกับเรื่องราวของ
“ความสุขที่ได้ใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ สมัยมัธยม” ครับ และผมรู้สึกว่า HAPPYEND
มันนำเสนอจุดนี้ได้ตรงใจผมมาก ๆ ผมก็เลยร้องไห้หนักมากครับ
คือตอนนี้ปี 2025 แล้ว แต่ผมยังคงคิดถึง “ความสุขในปี
1989” อยู่ทุก ๆ วัน อยากตื่นนอนขึ้นมาแล้วพบว่า ตอนนี้เป็นปี 1989 อยู่
และช่วงเวลาในปี 1990-2025 เป็นเพียงแค่ฝันไป อยากให้ช่วงเวลา 35
ปีที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่ความฝัน ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
คือปี 1989 เป็นปีที่ผมเรียนม.5 เป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่ผมได้ใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อน
ๆ มัธยม ก่อนที่แต่ละคนจะเริ่มห่างกันไปเมื่อแยกย้ายกันไปเข้ามหาลัย
“ความสุขอย่างสุดขีดในปีสุดท้ายของช่วงมัธยม”
มันนำมาซึ่ง “ความเศร้า” เมื่อช่วงเวลานั้นจบสิ้นลง เราทำได้เพียงแค่รำลึกถึงความสุขในอดีต
และเมื่อรำลึกถึงความสุขในอดีต มันก็นำมาซึ่งความเศร้าที่มันจบสิ้นลงไปแล้วด้วย
ผมก็เลยรู้สึกว่า HAPPYEND มันนำเสนอจุดนี้ได้ดีมาก ๆ ทั้งความสุขของการได้ใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ
ไฮสกูลในปีสุดท้าย ก่อนที่แต่ละคนจะแยกทางกันไป
และความสุขแบบนั้นคงไม่มีวันหวนกลับคืนมาได้อีก
ผมชอบประเด็นการเมืองในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ด้วย
แต่ประเด็นการเมืองไม่ใช่จุดสำคัญที่ทำให้ผมร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงในหนังเรื่องนี้
ผมก็เลยขี้เกียจเขียนถึงมัน 55555
3. ตอนดู HAPPYEND เราจะนึกถึง
“เนติวิทย์” และ “เพนกวิน” และกลุ่มเพื่อนๆ ของพวกเขา ในช่วงที่พวกเขาเรียนอยู่มัธยมปลายด้วย
55555 และก็นึกถึง “กลุ่มนักเรียนเลว” และหนังเรื่อง ARNOLD IS A MODEL
STUDENT (2022, Sorayos Prapapan) ด้วย เพราะ HAPPYEND มีการพูดถึง “การเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักเรียนมัธยม” เหมือนกัน
4. ชอบ “ความเปลี่ยนแปลงทาง political consciousness”
ของตัวละครแต่ละตัวมาก ๆ และชอบ “ทางเลือก”
ของตัวละครแต่ละตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ มาก ๆ
5.ชอบที่ตัวละครมันมีหลายเฉดทางการเมืองมาก ๆ
ทั้งในระดับ นักเรียนและครู คือในบรรดาครู เราก็ได้เห็นทั้งครูที่หัวก้าวหน้า,
ครูที่เป็นเผด็จการ และครูที่คอยรับใช้เผด็จการ
และในบรรดานักเรียนนั้น เราก็ได้เห็นทั้ง
5.1 นักเรียนที่สนับสนุน safety มากกว่าสิทธิมนุษยชน
5.2 นักเรียนที่ radical ทางการเมืองอย่างรุนแรงในการลุกขึ้นเรียกร้องสิ่งที่ถูกต้อง
ถึงแม้สิ่งนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเองโดยตรง
5.3 นักเรียนที่ลุกขึ้นเรียกร้องทางการเมือง
เพราะสิ่งนั้นลิดรอนสิทธิเสรีภาพของตัวเองโดยตรง
5.4 นักเรียนที่ลุกขึ้นเรียกร้องทางการเมือง โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะชอบสาว
activist
5.5 นักเรียนที่ลุกขึ้นเรียกร้องทางการเมือง
แต่ไม่พร้อมที่จะ “แลกด้วยชีวิต” เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
5.6 นักเรียนที่ทำตัวขบถต่อกฎระเบียบต่าง ๆ
แต่ไม่ได้มี political consciousness
5.7 นักเรียนที่เห็นถึงความเลวร้ายของปัญหาทางการเมือง
แต่ยังไม่กล้าลุกขึ้นทำอะไร
5.8 นักเรียนที่ลุกขึ้นกล้าทำอะไร
แต่อาจจะทำเพราะ “ความรัก” เป็นปัจจัยหลัก
6.เราชอบการที่ตัวละครนักเรียนหลายกลุ่มข้างต้น ปะทะกัน
ขัดแย้งกันไปมามาก ๆ โดยเฉพาะฉาก
6.1 ฉากที่ Ata-chan พยายามทำความสะอาดห้อง
แต่ Kou พยายามขัดขวางการทำความสะอาด
6.2 ฉากที่นักเรียนคนหนึ่งยอมล้มเลิกการประท้วง
เพราะกลัวว่าตัวเองจะถูกไล่ออก
6.3 ฉากนักเรียนด่าทอกันเองอย่างรุนแรงในช่วงท้าย
7. เรารู้สึกว่า
หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จในการสร้างตัวละครที่ดูเป็นมนุษย์จริง ๆ ด้วย
และสะท้อนปัญหาทางการเมืองได้ด้วยในเวลาเดียวกัน ตัวละครในหนังไม่ได้เป็นเพียงแค่ “สัญลักษณ์ทางการเมือง”
เท่านั้น แต่มีเลือดเนื้อจิตวิญญาณจริง ๆ ด้วยในความเห็นของเรา
8. เราไม่รู้ว่า Yuta แอบหลงรัก
Kou อยู่หรือเปล่า แต่เราจิ้นไปแล้วว่า Yuta แอบหลงรัก Kou อยู่ 555555
เราชอบพัฒนาการของตัวละคร Yuta มาก ๆ จากเริ่มต้นที่เขาเป็น “เด็กเกเร” แต่ยังไม่มี political
consciousness ใด ๆ
ต่อมาเขาก็เริ่มเห็นว่า Kou มี “การตื่นรู้ทางการเมือง”
แล้วตัวละคร Yuta ก็เริ่มกล้าท้าทายผู้มีอำนาจมากขึ้น
ถึงแม้เขายังไม่ได้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ต่อมาเขาก็เห็นว่าตำรวจญี่ปุ่น discriminate
คนเชื้อสายเกาหลี อย่างใดบ้าง
และเขาก็ทำในสิ่งที่กล้าหาญมาก ๆ
ในช่วงท้ายของหนัง โดยที่เราไม่แน่ใจว่า เขาทำไปเพราะ “จิตสำนึกทางการเมือง”
หรือเพราะ “เขาแอบหลงรัก Kou” หรือเพราะทั้งสองอย่าง 55555
การที่เขาทำในสิ่งที่กล้าหาญมาก ๆ นั้น
ทำให้ชีวิตของเขาลำบากมากอย่างรุนแรง และเขาก็ไม่ได้รับรักจาก Kou เป็นการตอบแทนด้วย ทั้งสองแยกทางกันไปในตอนจบ แต่อย่างน้อยเราก็หวังว่า Yuta
คงได้มีความสุขเล็กน้อยกับการทำงานในร้านดนตรีแห่งนั้น
9. พัฒนาการของตัวละคร Yuta ใน HAPPYEND ก็เลยทำให้เรานึกถึงตัวละครกะเทย (William
Hurt) ใน KISS OF THE SPIDER WOMAN (1985, Hector Babenco,
Brazil/USA) มาก ๆ ด้วย เพราะตัวละครกะเทยใน KISS OF THE
SPIDER WOMAN ก็มี “พัฒนาการของจิตสำนึกทางการเมือง” เหมือนกัน
คือพอเราจิ้นว่า Yuta แอบหลงรัก
Kou อยู่ เราก็เลยรู้สึกว่าความสัมพันธ์ระหว่าง Yuta กับ Kou ทำให้เรานึกถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Molina
(William Hurt) กับ Valentin (Raul Julia) น่ะ
คือเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง “ชายหนุ่มผุ้มีความมุ่งมั่นทางการเมือง
มีจิตสำนึกอันแรงกล้าในทางการเมือง” และชายหนุ่มคนนั้นก็เลยพลอยทำให้เกย์/กะเทย
ที่หลงรักเขา กลายเป็นคนที่มีจิตสำนึกทางการเมืองตามไปด้วย 55555
10. อีกจุดที่ชอบมาก ๆ ใน HAPPYEND คือเราชอบหนังหลาย ๆ เรื่องที่แสดงให้เห็นว่า “อะไรที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก
ๆ น้อย ๆ มันสามารถทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่คาดคิด จนกลายเป็นอะไรที่ชิบหายอย่างสุดขีด”
ได้
ซึ่งหนังที่เราชอบที่สุดในกลุ่มนี้ ก็คือ L’ARGENT
(1983, Robert Bresson) ที่เริ่มต้นเรื่องด้วย “วัยรุ่น”
ไม่กี่คนที่มองว่า การใช้แบงค์ปลอมไปจับจ่ายซื้อของ คงไม่ใช่ “อะไรที่เลวร้ายมากนัก”
แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่า “การทำผิด ทำชั่วเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ” นี่แหละ มันส่งผลกระทบต่อเนื่อง
จนส่งผลให้เกิด “ฆาตกรโรคจิต” ที่ฆ่าคนบริสุทธิ์จำนวนมากในเวลาต่อมา
หรือหนังที่สร้างจากเรื่องจริงอย่างเช่น ROSEWOOD
(1997, John Singleton) ที่ “คำโกหกของผู้หญิงผิวขาวเพียงคนเดียว”
ส่งผลให้เกิดการสังหารหมู่คนผิวดำผู้บริสุทธิ์จำนวนมากในเวลาต่อมา
ซึ่ง HAPPYEND ก็ทำให้เรานึกถึงอะไรแบบนี้เหมือนกัน
เพราะมันเริ่มต้นเรื่องด้วย การทำอะไรห่าม ๆ ของนักเรียนไม่กี่คน ซึ่งดูเหมือนจะไม่ใช่ความผิดร้ายแรงอะไร
แต่สังคมที่บิดเบี้ยวและปัจจัยอะไรต่าง ๆ ก็อาจจะส่งผลให้อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ขยายผลต่อเนื่องไปเรื่อย
ๆ จนส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก และก่อให้เกิดความชิบหายทับทวีขึ้นไปเรื่อย ๆ
ได้อย่างไม่คาดคิด
No comments:
Post a Comment