วิธีการแต่งหน้าสำหรับคนหน้ากลม
จากรายการโทรทัศน์ FASH SHOW ที่เคยออกอากาศทางช่อง 3 ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ดำเนินรายการโดยคุณตุ้ม
และคุณริสา หงษ์หิรัญ
https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/917187030571231
+++++++
อันนี้เป็นคลิปเสียงช่วง Q&A ในงาน BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL 2025 นะคะ
เป็นช่วงที่ผู้ชมท่านหนึ่งที่เป็นนักทำหนังทดลองรุ่นใหม่ ถาม curators เกี่ยวกับการรับมือกับความเห็นในทางลบที่มีต่อหนังทดลองที่ตนเองทำ
คลิปเสียงนี้มีการตัดทอนเนื้อหาบางส่วนออกไปนะคะเพื่อความกระชับ
ส่วนรูปประกอบมาจากบทความ MYSTERIOUS
OBJECTS FROM THAILAND ที่เรากับเพื่อน ๆ ช่วยกันเขียนในปี
2012-2013 เกี่ยวกับผู้กำกับหนังทดลอง 44 คนของไทยในยุคนั้น
https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/1163117975241188
++++++
ดีใจมาก ๆ ที่งาน BANGKOK EXPERIMENTAL
FILM FESTIVAL 2025 มีการฉายหนังเรื่อง MR. HAYASHI (1961,
Bruce Baillie, A+30) หลังจากที่งาน BEFF ในปี
1999 เคยจัดงาน BRUCE BAILLIE RETROSPECTIVE มาแล้ว
โดยในตอนนั้นมีการฉายหนัง 9 เรื่องที่กำกับโดย Bruce Baillie
เราเพิ่งค้นเจอว่า P. Adams Sitney เคยเขียนถึงหนังเรื่อง MR. HAYASHI ในบทความ STRUCTURAL
FILM ด้วย โดย Sitney มองว่า Baillie อาจจะพยายามนำ “โครงสร้างของกลอน Haiku” มาใช้ในการสร้างหนังเรื่อง
MR. HAYASHI, STILL LIFE (1966), TUNG (1966, A+30) และ ALL MY LIFE (1966, A+30)
Sitney เขียนว่า “The importance of
STILL LIFE and the similar structural films is that the fixed camara electrifies
a space, revealing in itself (not as a metaphor, as in Brakhage or Joffen, or
as coy side-glancing, as in Warhol). Within the context of Baillie’s
production, the structural films can be seen as an outgrowth of the Japanese HAIKU
form, a sensibility he had previously attempted with MR. HAYASHI (1961), the portrait
of a Japanese gardener, and with TUNG (1966), the negative “shadow” portrait of
a girl walking. If the essence of HAIKU is the welding of two images into a
synthetic mode, then, in STILL LIFE and ALL MY LIFE, Baillie has attained the
form, with the union of picture and sound into an elemental structure.”
++++++++++
ขอจดบันทึกความทรงจำส่วนตัวว่า ช่วง
BANGKOK EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL 2025 นี่
ถือเป็นหนึ่งในช่วงที่เรานอนดึกติดต่อกันมากที่สุดในรอบ 25 ปีได้มั้ง
คือนับตั้งแต่เราเลิกเที่ยว DJ STATION ในเดือนพ.ย.ปี 2000 เป็นต้นมา เราก็ไม่ค่อยได้นอนดึกติดต่อกันหลายคืนอีก
เพราะว่าในช่วงที่เราทำงาน เราก็นอนดึกไม่ได้ เพราะเราต้องรีบตื่นตั้งแต่ ตี 5 ถึง
6 โมงเช้าเพื่อไปทำงาน ส่วนในช่วงที่เป็นเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ นั้น เราก็นอนดึกได้เพียงแค่บางคืน
เพราะว่าเทศกาลภาพยนตร์โดยทั่วไปมักจะเริ่มฉายรอบแรกตอน 11.00 น.
เพราะฉะนั้นเราก็เลยนอนดึกไม่ได้ ไม่งั้นจะไปดูหนังรอบ 11.00 น.ไม่ได้
แต่ว่าในช่วง BEFF ปีนี้นั้น
หนังมีฉายเพียงแค่ 3 รอบต่อวันเป็นส่วนใหญ่ และเริ่มฉายรอบแรกตอน 13.30 น.
เพราะฉะนั้นมันก็เลยเปิดโอกาสให้เรานอนดึกได้เต็มที่ โดยเฉพาะในคืนที่เรากับเพื่อน
ๆ cinephiles ไปกินเลี้ยงกันต่อ
เราได้จดบันทึกเวลาเข้านอนในช่วงนั้นไว้ด้วย
5555
คืนวันศุกร์ที่ 24 ม.ค.ต่อเช้าวันเสาร์ที่ 25
ม.ค.
เวลาเข้านอน 03.04 น.
คือตอนแรกเราจะเข้านอนตอนเที่ยงคืน แต่ BEFF
ดันประกาศตารางฉายหนังตอน 23.46 น.ของคืนวันศุกร์
เราก็เลยต้องนั่งทำตารางดูหนังของตัวเอง กว่าจะได้เข้านอนก็ตีสามของเช้าวันเสาร์
คืนวันเสาร์ที่ 25 ม.ค.
เข้านอน 00.48 น.
คืนวันอาทิตย์ที่ 26 ม.ค.
มีการไปแดกข้าวที่โรงแรมมาเลเซีย
เข้านอนตอน 03.53 น.
คืนวันจันทร์ที่ 27 ม.ค.
เข้านอน 01.04 น.
คืนวันอังคารที่ 28 ม.ค.
เข้านอนตอน 01.45 น.
คืนวันพุธที่ 29 ม.ค.
เข้านอนตอน 02.00 น.
คืนวันพฤหัสที่ 30 ม.ค.
เข้านอนตอน 01.50 น.
คืนวันศุกร์ที่ 31 ม.ค.
มีการไปแดกข้าวที่ร้านบุญโภชนา เข้านอนตอน 03.18
น.
คืนวันเสาร์ที่ 1 ก.พ.
เข้านอนตอน 02.45 น.
คืนวันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ.
มีการไปแดกข้าวที่ร้านเกี๊ยว เหลียว หนิง
สาขาสีลม เข้านอนตอน 05.00 น.
คืนวันจันทร์ที่ 3 ก.พ.
เทศกาลจบไปแล้ว แต่ตารางเวลาของชีวิตยังรวน ๆ
อยู่ เข้านอนตอน 01.12 น.
ตอนนี้ก็จะพยายามปรับเวลาชีวิตให้กลับมาเข้านอนเร็วขึ้นค่ะ
การเข้านอนดึกในช่วงที่ผ่านมา
ก็ส่งผลเสียเหมือนกัน เพราะมันทำให้เราหลับตอนดูหนังเรื่อง NO ZONE (1993, Greta Snider, 18min) ในรอบวันที่ 28 ม.ค. ซึ่งถือเป็นหนังเพียงเรื่องเดียวในเทศกาลปีนี้ที่ร่างกายเราเพลียมากจนฝืนดูไม่ไหว
และหลับไปนานจนพลาดเนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังเรื่องนี้ไป
แต่ก็ดีใจที่เราไม่ได้หลับในหนังเรื่องอื่นๆ
ของปีนี้เลย อาจจะมีวูบ ๆ บ้างนิดหน่อย และก็มีหนังบางเรื่องที่เรา “จงใจปล่อยให้ตัวเองหลับ”
ในเทศกาลปีนี้ เพราะมันเป็นหนังที่เราเคยดูมาก่อนหน้านี้แล้ว 55555
สรุปว่าก็พอใจกับประสิทธิภาพของร่างกายตัวเองเหมือนกัน ที่หลับอย่างไม่ได้ตั้งใจในระหว่างดูหนังเพียงเรื่องเดียวในเทศกาลปีนี้
ส่วนประสบการณ์การหลับที่ฝังใจเรามากที่สุดในเทศกาลหนัง
เกิดขึ้นในวันที่ 14 ต.ค. 2006 ในช่วงเทศกาล WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK
คือถ้าหากเราจำไม่ผิด คืนวันที่ 13 ต.ค. 2006 เราคงนอนดึกมาก
แล้ววันที่ 14 ต.ค. 2006 เราก็ดูหนังเรื่อง FIRST LOVE (1974, Krzysztof
Kieslowski, Poland, A+25) กับ UNDERGROUND PASSAGE (1973, Krzysztof
Kieslowski, Poland, A+30) ซึ่งเราไม่ได้ผล็อยหลับแต่อย่างใด
แต่หลังจากนั้นเราก็ดูหนังเรื่อง MY NAME IS EUGEN (หรือ RASCALS
ON THE ROAD) (2005, Michael Steiner, Switzerland, 100min) ซึ่งเราหลับตลอดทั้งเรื่อง
เหมือนหลับไปประมาณ 80 นาทีจาก 100 นาทีของหนัง
ประสบการณ์การดูหนังสวิตเซอร์แลนด์ครั้งนั้นก็เลยสอนเราว่า
เราจะต้องหลีกเลี่ยงการนอนดึกเกินไปในช่วงเทศกาลภาพยนตร์ ไม่งั้นก็จะต้องเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก
เพราะฉะนั้นหลังจากประสบการณ์ครั้งนั้น เราก็เลยพยายามไม่นอนดึกเกินไปในช่วงเทศกาลภาพยนตร์ค่ะ
จนกระทั่งมาถึง BEFF 2025 นี่แหละ ที่เราเข้านอนดึกติดต่อกันหลายคืนอีกครั้ง
และก็เลยทำให้หลับตอนดูหนังเรื่อง NO ZONE ในที่สุด
No comments:
Post a Comment