เผื่อคนอยากมาดูนิทรรศการ ARCHIVAL TIME
ON OUR RETINA ที่หอภาพยนตร์ แล้วอยากรู้ว่าต้องใช้เวลาดูนานกี่นาที
คำตอบก็คือ นิทรรศการนี้ใช้เวลาดูเพียงแค่ 1274 นาที หรือ 21 ชั่วโมง 14
นาทีก็พอค่ะ แต่มีงานหลายชิ้นในนิทรรศการนี้ที่เคยฉายมาก่อนหน้านี้แล้ว
นิทรรศการนี้ประกอบด้วย
1. TRIP AFTER (2023, Ukrit Sa-nguanhai,
10min, A+30)
เราเคยดูมาก่อนแล้ว
2. ALL THE POETRY AND THE PITY OF THE
SCENE (2023, Nakrob Moonmanus, video installation, 4.40min, A+30)
เราเพิ่งดูเมื่อวานนี้ กราบตีนมาก ๆ
3. RED EAGLE SANGMORAKOT: LESSONS FROM
THE ARCHIVE (2025, Chulayarnnon Siriphol, video installation, 4min, A+30)
เราเพิ่งดูเมื่อวานนี้
4. THE AGE OF ANXIETY (2013, Taiki
Sakpisit, 14min, A+30)
เราเคยดูมาก่อนหน้านี้แล้วในรูปแบบภาพยนตร์
แต่ไม่แน่ใจว่าพอมันมาเป็น video installation แล้วมันมีการจัดวางอะไรขึ้นมาใหม่หรือเปล่า
5. SOON TO BE FORGOTTEN (2023, Thai
Film Archive + Rolling Wild, video installation, 40min, A+30)
เราเคยดูมาก่อนหน้านี้แล้ว
เราเคยเขียนถึงหนังชุดนี้ไว้ที่นี่
6. FROM THE ROYAL STATE RAILWAYS
COLLECTION (151 min, A+30)
เราเคยดูมาก่อนหน้านี้แล้วในเทศกาลหนังเงียบ
แต่เราเข้าใจว่าเวอร์ชั่นที่ฉายในเทศกาลหนังเงียบมันสั้นกว่าเวอร์ชั่นที่ฉายในนิทรรศการนี้
แต่เราไม่แน่ใจว่ามันสั้นกว่ากันกี่นาที
และเราไม่รู้ว่ามีส่วนไหนบ้างที่เพิ่มเข้ามาตอนที่ฉายในนิทรรศการ ARCHIVAL
TIME นี้
https://web.facebook.com/photo?fbid=10159831852221650&set=a.10159373403516650
7. INTERVIEWS WITH FORMER THAI
COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY (1985, produced by Kraisak
Choonhavan, documentary, 705min)
หนังยาว 11ชั่วโมง 45
นาที แต่เราเพิ่งดูไปแค่ 90 นาที ยังเหลืออีก 10
ชั่วโมง 15 นาที
เห็นเพื่อนบอกว่ามีให้ดูที่ห้องสมุดของหอภาพยนตร์ด้วย
8. ARCHIVE คลังภาพยนตร์
(345 min)
หนังสารคดีสั้นยุคโบราณของไทยจำนวน 57 เรื่อง
ซึ่งดูเหมือนว่าเราเคยดูไปแค่เรื่องเดียว ซึ่งก็คือ NEW DAWNS IN THE
FOREST (1980, Comrade Rassamee, documentary, A+30) หรือ “รุ่งอรุณวันใหม่ในป่า”
(1980, สหายรัศมี)
โดยเราเคยเขียนถึง NEW DAWNS IN THE FOREST ไว้ที่นี่
สรุปว่า ในส่วนของตัวดิฉันเอง
ที่ตั้งใจว่าจะดูก็คือ INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY
MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY ที่เหลืออีก 615 นาที
และหนังสารคดีสั้นยุคโบราณของไทยอีก 56 เรื่อง ที่น่าจะยาวรวมกันราว 300 นาที
ก็เลยเหลือที่ต้องดูอีกเพียงแค่ 915 นาที หรือ
15 ชั่วโมง 15 นาทีเท่านั้นค่ะ
+++
เราเคยดูหนังของ Hellmuth Costard แค่สองเรื่อง คือ SOCCER AS NEVER BEFORE (1971) กับ
ECHTZEIT (1983) และยกให้หนังทั้งสองเรื่องนี้ติดอันดับหนังที่เราชอบที่สุดตลอดกาลไปเลย
+++
ALL DAY AND ALL OF THE NIGHT (2022, Priya Naresh, India,
documentary, 9min, A+30)
https://www.youtube.com/watch?v=KOSj7SzPE5g
+++
INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO
RETURNED TO THE CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary,
705min)
ขอบันทึกความทรงจำไว้ก่อนนิดนึงสำหรับช่วง 90
นาทีที่เราได้ดูไป
1.หนังยาว 11ชั่วโมง 45
นาที แต่เราเพิ่งดูไปแค่ 90 นาที ยังเหลืออีก 10
ชั่วโมง 15 นาที
ทางนิทรรศการเขาห้ามถ่ายรูปหนัง THAI
COMMUNISTS เสียดายมาก ๆ เพราะ COMMUNIST หนุ่มบางคนหล่อน่ากินที่สุด
ฉันรักเขาอย่างรุนแรงมาก
2. ONE OF MY MOST FAVORITE SCENES I SAW
THIS YEAR อยู่ในหนังเรื่องนี้ ซึ่งก็คือฉากที่จิระนันท์ พิตรปรีชา
ให้สัมภาษณ์ แล้วมีเสียงจากรถเร่ขายของดังเข้ามาในฉากว่า "หอยแมลงภู่ 3
กิโล 10 บาท"
แล้วจิระนันท์ก็ถามคนสัมภาษณ์ในทำนองที่ว่า ต้องรอให้รถแล่นผ่านไปก่อนไหม
แล้วเธอค่อยเมาท์มอยต่อ
ชอบมาก ๆ ที่ MOMENT นั้นมันเป็น
MOMENT ที่ผู้สร้างภาพยนตร์ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน
แล้วพอมาดูในยุคปัจจุบัน มันก็สะท้อน "ภาวะเงินเฟ้อในข่วง 40 ปีที่ผ่านมา" ได้ดีด้วย
3.เราได้ดูหนังเรื่องนี้ไปแค่ 90 นาทีจาก 705
นาที แต่ก็เจอ “ตัวละครหญิง” ที่เราชอบสุดขีดตลอดกาลคนหนึ่งไปแล้ว นั่นก็คือ
เด็กสาวชาวม้งชื่อ “หนี่เอ๋อ”
จริง ๆ จะเรียกว่า “ตัวละครหญิง” ก็ไม่ถูกต้องนัก
เพราะ “หนี่เอ๋อ” เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง แต่เธอถือว่าเป็น “ผู้หญิงในภาพยนตร์”
ที่สร้างความประทับใจให้เราได้อย่างรุนแรงก็แล้วกัน ประทับใจเรื่องราวของเธอมาก ๆ
ในหนังสารคดีเรื่องนี้ คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา
เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตตอนเข้าป่าไปร่วมกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในช่วงทศวรรษ 1970
(ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) และเธอเล่าว่า ตอนที่เธอถูกส่งไปอยู่ที่พะเยานั้น เธอต้องอยู่ร่วมค่ายกับคนกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งมีเด็กสาวชาวม้งชื่อ “หนี่เอ๋อ” อยู่ในค่ายเดียวกันด้วย
หนี่เอ๋อเป็น “บ้า” เพราะสิ่งที่ครอบครัวทำกับเธอ
เหมือนครอบครัวของเธอไม่อยากได้ลูกผู้หญิง เพราะฉะนั้นพอเธอถือกำเนิดขึ้นมา บางคนในครอบครัวของเธอก็เลยพยายามฆ่าเธอ
จับเธอไปถ่วงน้ำ แต่เธอไม่ตาย คนในครอบครัวของเธอเฆี่ยนตีเธออย่างรุนแรงด้วย
(ถ้าเราจำไม่ผิด)
ตอนที่คุณจิระนันท์พบกับหนี่เอ๋อในค่ายคอมมิวนิสต์ที่จังหวัดพะเยานั้น
หนี่เอ๋อมีสภาพ “เหมือนสัตว์” พูดไม่เป็นภาษามนุษย์ และชอบนั่งหลับ หลับแล้วก็ “กลิ้งตกเหว”
คุณจีระนันท์กับพรรคพวกก็ต้องคอยไปอุ้มขึ้นมาจากเหวเพื่อให้มานั่งหลับตามเดิม
แล้วหนี่เอ๋อก็ “ถ่ายอุจจาระในห้องครัว” ด้วย คุณจิระนันท์ก็ต้องคอยมาตามเช็ด
อะไรทำนองนี้
เราก็เลยประทับใจเรื่องราวของ “หนี่เอ๋อ” มาก ๆ
ไม่รู้เหมือนกันว่าตอนนี้หนี่เอ๋อยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า และชีวิตของเธอเป็นอย่างไรแล้วบ้าง
แต่พอเราฟังเรื่องราวของเธอในหนังสารคดีเรื่องนี้ เราก็ประทับใจมาก ๆ นึกถึง HELEN
KELLER, หนังเรื่อง NELL (1994, Michael Apted) , หนังเรื่อง THE ENIGMA OF KASPAR HAUSER (1974, Werner Herzog,
West Germany) และหนังสารคดีเรื่อง LAND OF SILENCE AND DARKNESS
(1971, Werner Herzog, West Germany) ที่พูดถึงเด็กพิการบางคนที่พ่อแม่ไม่ได้สั่งสอนอบรม
แล้วเด็กคนนั้นก็เลยกลายเป็นเหมือนสัตว์ ไม่สามารถสื่อสารภาษามนุษย์กับใคร ๆ ได้
จริง ๆ แล้วเรื่องของหนี่เอ๋อมันเศร้ามาก ๆ
เลยนะ เราก็ได้แต่หวังว่าเธอน่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นหลังจากนั้น บางทีเธออาจจะเป็นหนึ่งในชาวม้งที่ได้อพยพไปอยู่อเมริกา
และเธออาจจะมีชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ที่อเมริกาแล้วก็ได้ เราได้แต่หวังอย่างนั้น
4. ประทับใจเรื่องของกลุ่ม “ดรุณีเหล็ก”
ในค่ายคอมมิวนิสต์มาก ๆ เลยด้วย เป็นกลุ่มเด็กสาวในวัยมัธยมกับมหาลัยที่มาเข้าค่ายคอมมิวนิสต์
และอยู่รวมกันเป็นกลุ่มดรุณีเหล็ก นำโดยอาจารย์ชลธิรา (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด)
เด็กสาวกลุ่มนี้ต้องตื่นตั้งแต่ตีสาม เพื่อไปหาบน้ำจากลำห้วยมาทำอาหาร และต้องทำงานหนักมาก
ๆ ทั้งถางป่า, ทำไร่, ผ่าฟืน, etc.
ต่อมาสมาชิกบางคนในกลุ่มดรุณีเหล็กเริ่มไม่พอใจชนชั้นนำในพรรคคอมมิวนิสต์
บางคนก็เลยเริ่มกินเหล้า สูบบุหรี่
5. เรื่องของ “หญิงชาวบ้าน” ในค่ายคอมมิวนิสต์ก็น่าสนใจมาก
ๆ เพราะในค่ายคอมมิวนิสต์มีทั้งนักศึกษา และ “หญิงชาวบ้าน”
และหญิงชาวบ้านเหล่านี้บางทีก็ตบตีกันเอง เพราะทุกคนมีหน้าที่ต้องไปทำไร่
แต่บางคนก็ไม่ไปทำไร่ เพราะป่วย เพราะฉะนั้นก็เลยมีการระแวงกันว่า อีนี่ป่วยจริง
หรืออีนี่ขี้เกียจ อีนังนี่พยายามกินแรงคนอื่น ๆ คือพอเป็น “ไร่รวม” เป็น “สมบัติส่วนรวม”
ก็เลยเกิดการระแวงกันว่า อีนี่ขี้เกียจ กินแรงคนส่วนรวมหรือเปล่า
หญิงชาวบ้านเหล่านี้ก็เลยตบตีกัน
ตอนหลังพอแยกให้ทำกันคนละแปลง แปลงของใครของมัน
ปรากฏว่าคราวนี้ “ข้าวโพดงอกงามดี” เลย คือพอเป็น “ของส่วนรวม” แล้วก็เลยขี้เกียจกัน
เกี่ยงกัน ตบตีกัน แต่พอเป็น “แปลงส่วนตัว” ปุ๊บ คนพวกนี้ก็ตั้งใจทำแปลงของตัวเองให้ดีที่สุด
6. ผู้นำหญิงบางคนในพรรคคอมมิวนิสต์ก็น่าสนใจมาก
ถ้าหากเราจำไม่ผิด คุณจิระนันท์เล่าว่า ผู้นำบางคนในค่ายมี “ของดี ๆ เอาไว้กินเอง”
อยู่ในบ้าน อย่างเช่นมี “ปลาหมึกที่ส่งมาจากประเทศจีน” เอาไว้กินเองอยู่ในบ้าน
ส่วนลูกกระจ๊อกในค่ายก็แทบไม่ได้กินเนื้อสัตว์ดีๆ เลยมั้ง
แล้วมีอยู่ครั้งนึง คนในค่ายทนไม่ไหว เลยตะโกนว่า
“ฟักทองจงพินาศ” หรืออะไรทำนองนี้ตอนช่วงกินอาหารเย็น ผู้นำหญิงคนนึงก็เลยผลุนผลันออกมาจากบ้าน
แล้วก็ออกมาด่ากันแหลก
No comments:
Post a Comment