Tuesday, February 25, 2025

LEGENDS OF THE CONDOR HEROES: THE GALLANTS (2025, Tsui Hark, China, 146min, A+25)

 

76. SAVAGE WITCHES (2012, Daniel Fawcett and Clara Pais, UK, A+25)

 

เพิ่มรายชื่อหนังเรื่องนี้เข้าไปในกลุ่ม “หนังเกี่ยวกับเด็กสาวสองคน”

 

เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10204114527966814&set=a.10201975069921700

++++++++++

พอ “มังกรหยก” THE LEGENDS OF THE CONDOR HEROES: THE GALLANTS (2025, Tsui Hark, China, A+25) เข้าฉาย เราก็เลยขอรีโพสท์สิ่งนี้อีกครั้ง

 

ถ้าหากเทียบกับเหตุการณ์ในละครทีวีฮ่องกงเรื่องอื่น ๆ แล้ว เหตุการณ์ใน “มังกรหยก” ก็เกิดหลัง “เปาบุ้นจิ้น”, เกิดช่วงหลังจาก “GENGHIS KHAN” (1987) เล็กน้อย (เพราะ GENGHIS KHAN พูดถึงวัยหนุ่มของเจงกิสข่าน) และเกิดก่อนเหตุการณ์ใน “ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม” (1980) ที่พูดถึง “วัยหนุ่มของจางซันฟง” (เหตุการณ์ใน “ดาบมังกรหยก” ก็เกิดหลังจาก ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม เล็กน้อย)

 

ตลกดีที่ “ว่านจื่อเหลียง” เคยแสดงเป็นทั้ง “เจงกิสข่าน” ใน GENGHIS KHAN และ “จางซันฟง” ใน “ฤทธิ์หมัดสะท้านบู๊ลิ้ม”

 

 

LEGENDS OF THE CONDOR HEROES: THE GALLANTS (2025, Tsui Hark, China, 146min, A+25)

 

1. ปรากฏว่า สิ่งที่เราชอบมากที่สุดคือการที่ตัวละครใช้ภาษามองโกลคุยกันเกือบครึ่งเรื่อง ฟังแล้วรู้สึกแปลกหูมาก ๆ ชอบมาก ๆ เหมือนเราไม่เคยดูหนังจีนที่ตัวละครใช้ภาษามองโกลคุยกันเกือบครึ่งเรื่องมาก่อน

 

2. ชอบมาก ๆ ที่หนังเรื่องนี้เน้นนำเสนอความขัดแย้งระหว่างลูกชาย 4 คนของ “เจงกิสข่าน” ซึ่งเหมือนเป็นสิ่งที่เราแทบจำไม่ได้ว่ามันเคยมีอยู่ในละครทีวี “มังกรหยก” ที่เราเคยดูตอนเด็ก ๆ หรือเปล่า

 

คือเราเคยดูละครทีวีมังกรหยกเวอร์ชั่น 1976 ที่นำแสดงโดยไป่เปียว แบบผ่านๆ และเคยดูเวอร์ชั่นปี 1983 ที่นำแสดงโดย หวงเย่อหัว แต่เหมือนตอนที่เราตามดูเวอร์ชั่นของหวงเย่อหัวนั้น เราไม่ได้มุ่งความสนใจไปยังเรื่องราชสำนักมองโกลเลย คือละครทีวีปี 1983 อาจจะนำเสนอประเด็นนี้ แต่เรามองข้ามประเด็นนี้ไปเลยตอนที่ดูละครทีวีเรื่องนั้น

 

พอหนังเวอร์ชั่นปี  2025 ยกประเด็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างองค์ชายมองโกล 4 คนขึ้นมาเป็นจุดเด่น เราก็เลยสงสัยว่า ประเด็นนี้มันถูกนำเสนอมากน้อยแค่ไหนในนิยายของ “กิมย้ง” และเราก็ชอบในระดับนึงที่ “ฉีเคอะ” หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในหนังเรื่องนี้ เหมือนการเลือกชูประเด็นนี้มันทำให้ “มังกรหยก” เวอร์ชั่นนี้มีจุดเด่นเป็นของตัวเอง ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วเราไม่ได้อินกับประเด็นนี้มากนักก็ตาม

 

พอดู “มังกรหยก” เวอร์ชั่นปี 2025 แล้ว เราก็เลยต้องไปอ่านบทความนี้ในเว็บไซท์ ศิลปวัฒนธรรม ด้วย เพราะมันพูดถึงการตบตีกันขององค์ชายมองโกลทั้ง 4 คน

https://www.silpa-mag.com/history/article_95759

 

แล้วเราก็ตามไปอ่านประวัติของ “กุบไลข่าน” (1215-1294) ด้วย เพิ่งรู้ว่าอาณาจักรมองโกลเคยขยายไปจนติดกรุงเวียนนาของออสเตรียในปี 1241 รุนแรงมาก

https://en.wikipedia.org/wiki/Mongol_invasion_of_Europe

 

3. แต่เราก็ไม่ได้ชอบ “มังกรหยก” เวอร์ชั่น 2025 ในระดับ A+30 นะ เพราะเราไม่ค่อยชอบหนังจีนกำลังภายในที่ผูกโยงกับ “เรื่องราวในราชสำนัก” น่ะ เราชอบหนัง/ละครจีนกำลังภายในที่เน้นเรื่องของยุทธภพเป็นหลักมากกว่า แบบพวก “เดชคัมภีร์เทวดา”, REIGN OF ASSASSINS (2010, Su Chao-Bin), SWORD MASTER (2016, Derek Yee)

 

เพราะฉะนั้นพอ “มังกรหยก” เวอร์ชั่นนี้มันไปเน้นที่เรื่องราชสำนักมองโกล แทนที่จะเน้นการต่อสู้กันด้วยกำลังภายใน เพลงกระบี่ อะไรพวกนี้ หนังเรื่องนี้ก็เลยไม่ค่อยเข้าทางเราซะทีเดียว

 

4. Xiao Zhan เซียวจ้านหล่อสุดขีด แต่บทของเขาในเรื่องนี้มันดูไม่ค่อยเป็นมนุษย์ในแบบที่เข้าทางเรา คือเราว่าบทของเขาในเรื่องนี้มันดูเป็นผู้ชายที่ perfect เกินไป เป็น hero มากเกินไป ดูเหมือนเป็น “เครื่องจักร hero” ยังไงไม่รู้ 55555

 

5. แต่ก็ชอบ dilemma ในหนังนะ ที่ก๊วยเจ๋งต้องเลือกว่าจะช่วย “ชาติ” ไหน หรือฝ่ายไหน

 

ซึ่งถ้าหากเราเป็น ก๊วยเจ๋ง ในหนังเรื่องนี้ เราคงไม่ตัดสินใจแบบเดียวกับก๊วยเจ๋งในหลาย ๆ สถานการณ์อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงท้าย ๆ ที่เราคงปล่อยให้ผู้ร้ายตบกันเอง 55555

 

เหมือนสิ่งที่เราเคยประทับใจมากที่สุดในตัวละคร “ก๊วยเจ๋ง” ไม่ใช่เรื่องความรักชาติ รักแผ่นดิน ความเป็นวีรบุรุษของเขาน่ะ แต่เป็นซีนที่เขาต้องประลองกับ “อาวเอี้ยงเค็ก” ในฉากนึงในละครทีวีปี 1983

 

ถ้าเราจำไม่ผิด มันมีฉากนึงที่ มารบูรพา อึ้งเอี๊ยะซือ เป่าขลุ่ย หรืออะไรทำนองนี้ แล้ว เสียงขลุ่ยของมารบูรพา สามารถทำร้ายอาวเอี้ยงเค็ก ได้ แต่ไม่สามารถทำร้าย ก๊วยเจ๋ง ได้เลย เพราะก๊วยเจ๋ง “ไม่มีความรู้เรื่องทฤษฎีดนตรี” เหมือนเสียงขลุ่ยอันพิสดารล้ำลึกของมารบูรพา สามารถทำร้ายได้เฉพาะคนที่มีความรู้เรื่องทฤษฎีดนตรีเท่านั้น แต่ถ้าหากใครไม่มีความรู้เรื่องทฤษฎีดนตรี อย่างเช่น ก๊วยเจ๋ง เสียงขลุ่ยของมารบูรพาก็ไม่สามารถทำอะไรได้

 

เราก็เลยชอบซีนนี้หรือฉากนี้ของ “ก๊วยเจ๋ง” มากที่สุด 55555

 

6. อีกสิ่งที่เราชอบในหนังเรื่องนี้ ก็คือการที่หนังเรื่องนี้เน้นเรื่อง “วิธีการสื่อสารในยุคที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ” 55555

 

7.ปรากฏว่าตัวละครที่เราชอบในละครทีวี “มังกรหยก” ไม่ปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้เลย แต่เราก็ไม่ว่าอะไร เข้าใจได้ เพราะการจะดัดแปลงนิยายขนาดยาวให้กลายเป็นหนังแค่ 2-3 ชั่วโมง มันก็ต้องดัดแปลงให้แตกต่างไปจากนิยายต้นฉบับอย่างรุนแรงอยู่แล้ว

 

ตัวละครที่เราชอบในละครทีวีมังกรหยกปี 1983 ก็คือ

 

7.1 เหมยเชาฟง นางศพเหล็ก (แสดงโดย หวงเหวินฮุ่ย)

 

7.2 ยัยเซ่อ (เฉินอันอิ๋ง)

 

7.3 เฒ่าทารก จิวแป๊ะทง (ฉินหวง)

 

7.4 เอ็งโกว เทพคำนวณจอมอำมหิต (เจิ้งชิ่งอวี๋)

 

8.เราชอบหนังของ “ฉีเคอะ” มากกว่าหนังย้อนยุคหลาย ๆ เรื่องของ “จางอี้โหมว” แต่แน่นอนว่าเราชอบ ASHES OF TIME (1994, Wong Kar-wai) มากกว่า มังกรหยก เวอร์ชั่นนี้

 

อยากให้มีคนทำหนังแบบ ASHES OF TIME อีกมากๆ หรือทำหนังแบบที่ดัดแปลงนิยายต้นฉบับให้ออกมาแตกต่างไปจากเดิมอย่างรุนแรง อย่างเช่น นำเอาตัวละครในมังกรหยกที่เราชอบ อย่างเช่น เหมยเชาฟง, เอ็งโกว มา spin off เป็นหนังของตัวเอง หรือนำมาดัดแปลงเป็นตัวละครหญิงสาวจิตใจอำมหิตในโลกยุคปัจจุบัน

 

หรืออยากให้มีคนนำเอาตัวละครที่เราชื่นชอบใน “ดาบมังกรหยก” มา spin off เป็นเรื่องราวของตัวเองด้วย อย่างเช่น “แม่นางเสื้อเหลือง” ผู้สำเร็จวิชา กรงเล็บกระดูกขาว จากคัมภีร์เก้าอิม

 

ชอบมาก ๆ ที่มีคนสรุปเรื่องราวของ คัมภีร์เก้าอิม ไว้ที่นี่

https://web.facebook.com/photo.php?fbid=2894920737474083&id=2007331706232995&set=a.2007341916231974&locale=th_TH&_rdc=1&_rdr#

 

9.ดู TIMELINE ประวัติศาสตร์จีนในละครทีวี/หนังฮ่องกงได้ที่นี่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10227244116752078&set=a.10223045281543822

++++

 

อะไรคือการที่เรากลับเข้ามาในอพาร์ทเมนท์ แล้วเจอลูกหมีกำลังทำพิธีฝังรูปฝังรอยให้ผู้ชายรักผู้ชายหลง

 

(จริง ๆ คือเราเห็นพวงกุญแจสองอันนี้มันน่ารักดี ก็เลยเอามันมาประกบกัน 55555)

++++

การ์ดจากภาพยนตร์เรื่อง HAPPY MONDAY(S) (2025, Chakorn Chaipreecha, A+30) กับ THE LOST PRINCESS (2024, Kornpat Pawakranond, A+30)

++++

 

DAWSON CITY: FROZEN TIME (2016, Bill Morrison, 120min) จะมาฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ดีใจที่สุด อยากดูหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก ๆ

 

ก่อนหน้านี้หนังเรื่อง INCIDENT (2023, Bill Morrison, A+30) ก็เพิ่งมาฉายในเทศกาลภาพยนตร์ SIGNES DE NUIT FILM FESTIVAL IN BANGKOK ในปี 2024 และเป็นหนังที่เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาสารคดีสั้นอยู่ในตอนนี้ด้วย

No comments: