หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.FORGIVENESS (2004, IAN GABRIEL) A
2.IN MY FATHER’S DEN (2004, BRAD MCGANN) A/A-
3.UNCONSCIOUS (2004, JOAQUIN ORISTRELL) A-
4.MY FATHER IS AN ENGINEER (2004, ROBERT GUEDIGUIAN) B-
สรุปว่าตอนนี้อันดับ 1-4 ของดิฉันประจำเทศกาลนี้ยังคงเหมือนกับเมื่อวานนี้ค่ะ
MOST DESIRABLE ACTOR
MATTHEW MACFADYEN—IN MY FATHER’S DEN
http://www.matthew-macfadyen.co.uk/
จริงๆแล้วรู้สึกว่าลูกชายนางเอกใน TO TAKE A WIFE หล่อมาก แต่เสียดายที่ไม่รู้ชื่อคนเล่นน่ะ
--UNCONSCIOUS เป็นหนังที่ดูสนุกมาก แต่ไม่ค่อยชอบช่วงท้ายๆของหนัง ความรู้สึกชอบก็เลยร่วงจาก A+ ลงมาอยู่ A-
--LEONOR WATLING ใน UNCONSCIOUS ดูน่ารักดี (บางมุมดูแล้วนึกถึง HELENA BONHAM CARTER) และดูแปลกตาไปจากบทของเธอใน TALK TO HER กับใน MY LIFE WITHOUT ME ถึงแม้ว่าดิฉันยังไม่เคยดู LEONOR WATLING รับบทหนักๆ แต่การได้ดูเธอมาในสภาพที่แตกต่างกันในหนัง 3 เรื่องนี้ ก็ทำให้รู้สึกว่าเธอน่าจะมีฝีมือด้านการแสดงอยู่ไม่ใช่น้อย
--เวลาที่ดิฉันนึกถึงดาราหญิงในหนังสเปน ดิฉันมักจะนึกถึง
1.CARMEN MAURA ในช่วงทศวรรษ 1980
2.VICTORIA ABRIL ในยุคปลาย 80 ต่อต้น 90
3.PENELOPE CRUZ ในยุคปลายทศวรรษ 1990
ไม่รู้เหมือนกันว่าในทศวรรษ 2000 นี้ LEONOR WATLING จะก้าวขึ้นมาเป็นดาราชั้นนำได้หรือเปล่า หรือจะกลายเป็นแค่ “ลิงวัด”
--ดูหนังแอฟริกาใต้เรื่อง FORGIVENESS แล้วก็นึกไปถึงหนังเยอรมันเรื่อง FORGIVENESS (1994, ANDREAS HONTSCH, A++++++) ซึ่งนอกจากชื่อหนังจะเหมือนกันแล้ว หนังสองเรื่องนี้ก็เหมาะจะมาฉายควบกันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นหนังที่พาดพิงถึงปัญหาทางการเมืองในอดีตของแต่ละประเทศเหมือนกัน และตั้งคำถามที่ยอกแสยงใจคนในประเทศนั้นๆเหมือนกัน
ในหนังเยอรมันเรื่อง FORGIVENESS นั้น ถ้าจำไม่ผิด หนังใช้ฉากหลังเป็นช่วงที่เยอรมันตะวันตกกับตะวันออกเพิ่งรวมกันใหม่ๆ หน่วยตำรวจลับสตาซีของเยอรมันตะวันออกที่เคยคุกคามทำร้ายคนในประเทศนั้นได้ถูกยุบไปแล้ว แต่บาดแผลทางจิตใจที่คนในประเทศนั้นเคยได้รับจากตำรวจลับและ “สายของตำรวจลับ” ยังคงฝังรากลึกอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ “สายของตำรวจลับ” คือสมาชิกครอบครัวของตัวเอง และสมาชิกครอบครัวคนนั้นขายความลับของคนในครอบครัวด้วยกันเองให้หน่วยตำรวจลับ
แม้ประเทศเยอรมนีและแอฟริกาใต้จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมากในบางแง่มุมในทศวรรษ 1990 แต่บาดแผลที่เกิดจากระบอบการปกครองในอดีต มันช่างยากที่จะเยียวยา มันช่างยากที่จะลืมเลือน มันช่างยากที่จะให้อภัย มันกลัดหนองและกลายเป็นมะเร็งทางอารมณ์ที่พร้อมจะเผาผลาญคนรอบข้างให้มอดไหม้ และหนังเรื่อง FORGIVENESS ของทั้งเยอรมนีและแอฟริกาใต้ ก็ทำออกมาได้สะใจมิใช่น้อย แต่ของเยอรมนีดูแล้วสะเทือนใจดิฉันมากกว่า โดยเฉพาะฉากเปิดเรื่องที่ไม่มีวันลืมลง
หนังเรื่อง FORGIVENESS ของเยอรมนีเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 1 วัน ซึ่งเป็นวันที่สมาชิกครอบครัวหนึ่งที่เคยอยู่ในเยอรมันตะวันออกนัดกันมากินข้าวกลางแจ้งกลางธรรมชาติที่สวยงามร่มรื่นด้วยกัน แต่ฉากเปิดของหนังเรื่องนี้ เป็นฉากที่เด็กหญิงหน้าตาน่ารักคนหนึ่ง ประกาศต่อผู้ชมว่า “ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า ดิฉันจะถูกฆ่าตายค่ะ” มันเป็นฉากเปิดเรื่องที่ช็อคดิฉันพอสมควร และกำหนดโทนอารมณ์ของหนังตั้งแต่ฉากเปิดได้ดีมากๆ
ดูหนังเรื่อง FORGIVENESS ของแอฟริกาใต้กับเยอรมนีแล้ว ก็นึกขึ้นได้ว่ามีหนังอีกเรื่องนึงที่ตั้งคำถามเรื่องการให้อภัยที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือ TWIN SISTERS ของ BEN SOMBOGAART (2002, A-)
--IN MY FATHER’S DEN ได้คะแนนสูงจากดิฉันเพราะความหล่อของพระเอกค่ะ ตัวหนังก็รู้สึกว่าพอใช้ได้ มันเป็นหนังที่ดูแล้วรู้สึกว่า “มันเป็นหนังที่ดีจังเลย แต่ไม่ดีจนถึงขั้นน่าประหลาดใจ” ซึ่งดิฉันก็รู้สึกอย่างนี้กับ SCHIZO เหมือนกัน รู้สึกว่าหนังพวกนี้มันมีมาตรฐานของตัวเองดี ทุกอย่างดูดีไปหมด โดยเฉพาะการแสดงและการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ แต่มันไม่ทำให้รู้สึกเต็มตื้นสุดขีดจนถึงขั้นอยากร้องกรี๊ด
---ชอบตอนจบของ YASMIN มากเหมือนกัน ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเยอะเพราะตอนจบ
--ทั้งหนังเรื่อง YASEMIN (1988, HARK BOHM, B) และ YASMIN (2004, KENNY GLENAAN, A) ต่างก็มีทั้งส่วนที่คล้ายกันและต่างกัน เพราะ YASEMIN พูดถึงสาวตุรกีที่อยู่ในสังคมเยอรมนี และหนังก็พูดถึงการปะทะกันทางวัฒนธรรมด้วย แต่การที่หนังสองเรื่องนี้สร้างห่างกันราว 15 ปี และสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงภายในช่วงเวลาดังกล่าว ก็เลยมีผลทำให้บทสรุปของหนังสองเรื่องนี้ออกมาตรงกันข้าม
--ใช่แล้ว อยากให้เทศกาลหนังมีรอบ 23.00 น. หรือรอบที่ดึกกว่านั้น เพื่อไว้ฉายหนังเรทที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก โดยเฉพาะ
ถ้าหากดิฉันเป็นคนเลือกหนังที่มาฉายในรอบเที่ยงคืน ดิฉันจะเลือกหนังออสเตรียเรื่องนี้มาฉายค่ะ เพราะอยากดูอย่างสุดๆ
ANGST (1983, GERALD KARGL)
http://www.ce-review.org/01/22/kinoeye22_schneider.html
http://www.ikonenmagazin.de/interview/Kargl.htm
What makes this film tough to watch is the very realistic murder scenes, which include a graphic rape/murder and the long, drawn-out drowning death of an invalid.
--ถ้าจำไม่ผิด เหมือนเคยอ่านจากที่ไหนสักแห่งว่าหนังเรื่อง THE NIGHT (1985, HANS-JURGEN SYBERBERG) ได้ฉายที่คานส์รอบเที่ยงคืน แต่หนังยาวราว 4 ชั่วโมง พอหนังฉายเสร็จ คนดูหนังก็ไปกินครัวซองท์+อาหารเช้าต่อด้วยกันที่ชายหาด ไม่รู้ในอนาคตเทศกาลหนังในกรุงเทพจะมีจัดฉายหนังต่อด้วยเลี้ยงข้าวต้มปาท่องโก๋รอบเช้าแบบนี้บ้างหรือเปล่า (รู้สึกชื่อหนัง THE NIGHT มันจะเหมาะกับงานแบบนี้จริงๆ)
--ถ้าพูดถึงหนังที่มีโครงสร้างน่าสนใจในระดับใกล้เคียงกับ RECONSTRUCTION แล้ว หนังอีกเรื่องที่อาจจะเหมาะเอามาดูควบคู่กันได้ก็คือ TRANS-EUROP EXPRESS (1966, ALAIN ROBBE-GRILLET, A+) เพราะ TRANS-EUROP EXPRESS เป็นเรื่องของตัวละครกลุ่มนึงที่นั่งรถไฟไปด้วยกัน และช่วยกันแต่งบทหนังแนวทริลเลอร์เกี่ยวกับการผจญภัยของสายลับหนุ่ม โดยกลุ่มคนที่แต่งเรื่องกับกลุ่มคนที่อยู่ในเรื่องแต่งใช้นักแสดงชุดเดียวกัน และมีการเปลี่ยนใจแก้ไขบทหนังใหม่ไปเรื่อยๆ
แต่ถึงแม้โครงสร้างของ RECONSTRUCTION กับ TRANS-EUROP EXPRESS จะน่าสนใจเหมือนกัน แต่อารมณ์ของหนังสองเรื่องนี้ต่างกันมาก เพราะ RECONSTRUCTION ให้อารมณ์หวานซึ้งรันทดงดงาม แต่ TRANS-EUROP EXPRESS ให้อารมณ์ขี้เล่น และหนึ่งในฉากที่ดิฉันติดใจมากที่สุดใน TRANS-EUROP EXPRESS คือฉากเซ็กส์แบบซาดิสม์มาโซคิสม์ของ JEAN-LOUIS TRINTIGNANT
Tuesday, January 18, 2005
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment