Sunday, January 30, 2005

HEAD IN THE CLOUDS (JOHN DUIGAN, A)

ชอบ TRASH (1970) กับ HEAT มากๆในระดับ A+++++ และชอบ WOMEN IN REVOLT ที่กำกับโดย PAUL MORRISSEY ในระดับเดียวกัน

TRASH, HEAT และ WOMEN IN REVOLT เป็นหนังที่ฮาสุดๆสำหรับดิฉัน TRASH มีเนื้อหาเกี่ยวกับหนุ่มหล่อ (โจ ดัลเลสซานโดร) ที่ติดยาเสพติดมากไปหน่อยจนอวัยวะเพศไม่ยอมแข็งตัว ร้อนถึงสาวน้อยสาวใหญ่ต้องมาคอยปลุกเร้าอารมณ์เขาด้วยวิธีการต่างๆนานา

สิ่งที่ชอบมากๆใน TRASH คือ

1.นักแสดงที่รับบทเป็นสาวรวย ไม่แน่ใจว่าคนที่รับบทนี้คือ ANDREA FELDMAN หรือเปล่า ฉากที่ชอบคือฉากที่พระเอกพยายามหาเงินด้วยการย่องเบา เขาพยายามเข้าไปขโมยเงินในบ้านหลังหนึ่ง แต่พอดีเจอกับหญิงสาวเจ้าของบ้าน แต่แทนที่หญิงสาวเจ้าของบ้านจะตกใจที่มีโจรผู้ร้ายบุกเข้าบ้าน, แทนที่เธอจะรีบหนีออกไป, แทนที่เธอจะโทรหาตำรวจ, แทนที่เธอจะต่อสู้กับโจรผู้ร้าย สิ่งแรกที่เธอทำคือการถามโจรว่า “Will You Rape Me?”

ชอบสำเนียงการพูดของนักแสดงคนนี้มาก รู้สึกว่าเธอมีการขึ้นลงของท่วงทำนองเสียงในการพูดจาที่ไม่ซ้ำแบบใครเลยจริงๆ

2.การแสดงของ HOLLY WOODLAWN สาวประเภทสองที่มารับบทเป็นเพื่อนของพระเอก กิริยาอาการของเธอฮามากๆ ชอบฉากที่เธอลวงเด็กหนุ่มมาที่ห้อง และฉากที่เธอรับมือกับเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์

ส่วน HEAT ก็เป็นหนังที่ล้อเลียน SUNSET BOULEVARD ได้อย่างฮามาก ถ้าใครดู SUNSET BOULEVARD แล้วมาดู HEAT คงจะรู้สึกฮากับตอนจบของ HEAT อย่างสุดๆ ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง
http://www.imdb.com/title/tt0068688/

ส่วน BIRTH นั้น ดิฉันชอบตอนจบของเรื่องมากค่ะ ที่ตัวละครบางตัวไม่สามารถฝืนยิ้มต่อหน้ากล้องถ่ายรูปได้อีกต่อไป ในขณะที่ตัวละครบางตัวทำหน้าบึ้งๆอยู่ดีๆตามปกติธรรมดาในชีวิต แต่พอมีกล้องมาถ่ายรูปปุ๊บ ตัวละครตัวนั้นก็ทำยิ้มใส่กล้องทันที ก่อนจะทำหน้าบึ้งเวลาอยู่นอกกล้องต่อไป

เนื่องจากเพิ่งดู BEING JULIA กับ THE PHANTOM OF THE OPERA ติดๆกัน ก็เลยสังเกตเห็นว่า BEING JULIA ใช้ฉากหลังเป็นลอนดอนปี 1938 ส่วน THE PHANTOM OF THE OPERA ใช้ฉากหลังเป็นปารีสปี 1870

ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมหนังสองเรื่องนี้ถึงเลือกใช้สถานที่และเวลาดังกล่าว แต่สิ่งที่ติดใจดิฉันก็คือสถานที่และเวลาในหนังสองเรื่องนี้ล้วนเป็นสถานที่และเวลาก่อนที่จะเกิดเหตุรุนแรงในปีถัดมา แต่หนังทั้งสองเรื่องนี้แทบไม่ได้แสดงให้เห็นเลยว่าเกิดเหตุการณ์สำคัญอะไรกับอังกฤษในปี 1939 และเกิดเหตุการณ์อะไรในปารีสในปี 1871 ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังสองเรื่องนี้ต้องการจะสื่อถึงอะไรหรือเปล่า (รู้แต่ว่า ISTVAN SZABO ท่าทางจะผูกพันกับสงครามโลกครั้งที่สองอย่างมากๆ)

ปี 1939 เป็นปีที่อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี ส่วนกรุงปารีสในปี 1871 ก็เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยม, นองเลือด และร้ายแรง

The Parisians set up their own interim government in opposition to the National Assembly at Versailles xxx; who eventually crushed it with massive bloodshed. It is one of the most dramatic. and traumatic, episodes of the nineteenth century.

ถ้าใครสนใจเรื่องนี้ ขอแนะนำให้ดูหนังเรื่อง LA COMMUNE (PARIS, 1871) ที่กำกับโดย PETER WATKINS ค่ะ หนังมีความยาว 345 นาที หรือ 5 ชั่วโมง 45 นาที
http://www.frif.com/new2002/la.html
http://www.nfb.ca/lacommune/e/film.html

สรุปหนังที่ได้ดูหลังเทศกาลในช่วง 6 วันที่ผ่านมา

1.MOVING (1993, SHINJI SOOMAI) A+

2.THE AVIATOR (2004, MARTIN SCORSESE) A+

3.THE LADY FROM SHANGHAI (1947, ORSON WELLES) A ดูที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์

4.CLOSER (2004, MIKE NICHOLS) A

5.HEAD IN THE CLOUDS (2004, JOHN DUIGAN) A
หนังมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับเลสเบียน ดูที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า หนังไม่ได้ฉายด้วยฟิล์ม และดูอยู่ดีๆสีของหนังก็ซีดหายไปก่อนจะกลับคืนมาในช่วงท้ายเรื่อง (ไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไรกันแน่)

หนังมีความเป็นเมโลดรามาสูงมาก แต่เนื้อหาช่วงตอนจบทำได้ดี จัดเป็นหนังที่ชอบเนื้อเรื่อง มากกว่าชอบการกำกับ (เหมือนกับหนังเรื่อง THE HUNGARIAN SERVANT ที่เนื้อเรื่องจบได้ดีมาก แต่ไม่ค่อยชอบการกำกับเท่าไหร่)

6.ELEKTRA (2005, ROB BOWMAN) A
ชอบไอเดียเว่อๆในหนังเรื่องนี้ แต่ฉากบู๊ไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ เหมือนกับเห็นตัวละครมาเดินแบบแข่งกัน มากกว่าจะมาต่อสู้กัน

7.INVESTIGATING SEX (2001, ALAN RUDOLPH) A-
ดูที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า หนังไม่ได้ฉายด้วยฟิล์ม และสัดส่วนของภาพไม่ค่อยลงตัวกับจอภาพยนตร์ ทำให้ศีรษะของตัวละครโดนตัดหายไปจากหน้าจอภาพยนตร์หลายครั้ง

หนังดูสนุกดีในช่วงแรก ชอบของประกอบฉากในหนังมากๆ แต่ช่วงท้ายของเรื่องดูแล้วไม่ค่อยทำให้อารมณ์พุ่งสูงเท่าไหร่

หนังเรื่องนี้เป็นตอนสุดท้ายในหนังไตรภาคชุดปัญญาชนทศวรรษ 1920 ของ ALAN RUDOLPH ต่อจาก THE MODERNS (1988, A+) และ MRS. PARKER AND THE VICIOUS CIRCLE (1994, A)

8.MY BROTHER (2004, AHN KWON-TAE) A-

9.SEED OF CHUCKY (2004, DON MANCINI) A-

10.WISHING STAIRS (2003, YUN JAE-YEON) A-
หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเลสเบียน ดูที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า พากย์ไทย
http://www.koreanfilm.org/kfilm03.html#wishing

11.ATOMIK CIRCUS: LE RETOUR DE JAMES BATAILLE (2004, DIDIER POIRAUD + THIERRY POIRAUD) B+
ดูที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า หนังพากย์ไทย นำแสดงโดย VANESSA PARADIS จัดเป็นหนังที่เสียสติและเละเทะที่สุดเรื่องหนึ่งที่ได้ดูในเดือนนี้ แต่ชอบความเละเทะของหนังเป็นอย่างมาก

หนังมีตัวละครบ้าๆบอๆเยอะดี ตั้งแต่นักโทษหนุ่มที่แหกคุก, ผู้ชายที่เก็บศพแม่ไว้ในบ้าน, ผู้ชายที่ชอบทรมานหมา, เจ้าของสังกัดดนตรีบ้ากาม, ชายแก่ที่ชอบถ้ำมองชาวบ้าน และกลุ่มมนุษย์ต่างดาวที่ออกอาละวาดฆ่าคน

ดาราที่ร่วมแสดงในเรื่องนี้ รวมถึง BENOIT POELVOORDE (ผู้กำกับ MAN BITES DOG) http://www.imdb.com/name/nm0688143/

และ JEAN-PIERRE MARIELLE ซึ่งเคยเล่นหนังเรื่อง LA PETITE LILI (2003, CLAUDE MILLER, A-)
http://www.imdb.com/name/nm0547339/

12.THE PHANTOM OF THE OPERA (2004, JOEL SCHUMACHER) B+


DESIRABLE ACTOR

1.TIL SCHWEIGER—INVESTIGATING SEX

2.STUART TOWNSEND—HEAD IN THE CLOUDS

3.JASON FLEMYNG—ATOMIK CIRCUS: LE RETOUR DE JAMES BATAILLE

4.PATRICK WILSON—THE PHANTOM OF THE OPERA
http://patrickwilsonfc.blogspot.com/
http://www.lajollaplayhouse.com/shows/sweet/gallery.htm

5.STEVE LAWTON—SEED OF CHUCKY

6.GORAN VISNJIC—ELEKTRA

7.JUDE LAW—THE AVIATOR

8.WILL YUN LEE—ELEKTRA
http://willyunlee.com/
http://www.imdb.com/name/nm0498449/

9.JEREMY DAVIES—INVESTIGATING SEX

10.GABRIEL HOGAN (เกิดปี 1973)—HEAD IN THE CLOUDS
เขาเคยเล่นหนังเกย์เรื่อง LOVE AND DEATH ON LONG ISLAND (A+)
http://chao_xing.tripod.com/ghog/
http://www.imdb.com/name/nm0389527/

11.JOHN LIGHT—INVESTIGATING SEX

12.DERMOT MULRONEY—INVESTIGATING SEX


FAVORITE ACTOR
ORSON WELLES—THE LADY FROM SHANGHAI

FAVORITE ACTRESS
1.TOMOKO TABATA--MOVING
2.JENNIFER TILLY—SEED OF CHUCKY
3.RITA HAYWORTH—THE LADY FROM SHANGHAI
4.SONG JI-HYO—WISHING STAIRS

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
1.COLIN CUNNINGHAM—ELEKTRA
http://www.colincunningham.com/
http://www.imdb.com/name/nm0192271/

2.IAN TRACEY—ELEKTRA
http://www.imdb.com/name/nm0870439/


FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
1.JO AN—WISHING STAIRS
2.EMILY BRUNI—INVESTIGATING SEX
3.KIRSTEN PROUT—ELEKTRA
4.TUESDAY WELD—INVESTIGATING SEX
5.NATASSIA MALTHE—ELEKTRA
http://www.imdb.com/name/nm0853573/
6.PENELOPE CRUZ—HEAD IN THE CLOUDS
7.MIRANDA RICHARDSON—THE PHANTOM OF THE OPERA
8.JULIE DELPY—INVESTIGATING SEX
9.FRANCES CONROY—THE AVIATOR

FAVORITE ENSEMBLE ACTING
INVESTIGATING SEX (อลัน รูดอล์ฟ ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นศิษย์เอกของ ROBERT ALTMAN)

FAVORITE CINEMATOGRAPHY
TOYOMICHI KURITA—MOVING

Saturday, January 29, 2005

being julia

The syrian bride

ตอนที่ดูหนังเรื่องนี้จบใหม่ๆ รู้สึกชอบหนังเรื่องนี้ในระดับประมาณ A เท่านั้น รู้สึกว่าหนังสนุกดี มีอะไรขำๆ บันเทิงตลอดทั้งเรื่อง

แต่พอเวลาผ่านไปเรื่อยๆ กลับรู้สึกฝังใจกับตอนจบหนังเรื่องนี้มาก และความฝังใจนี้ก็มากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ระดับความชอบก็เลยขึ้นมาเป็น A+ แล้วค่ะ ดิฉันคิดว่าใบหน้าของนางเอกในตอนจบหนังเรื่องนี้ คงจะหลอกหลอนดิฉันไปอีกนาน

ที่เขียนมาไม่ได้จะบอกว่าหนังเรื่องนี้มีดีแค่ตอนจบเท่านั้นนะคะ เพราะการที่ดิฉันรู้สึกว่าตอนจบหนังเรื่องนี้มันทรงพลังมากๆเนี่ย เป็นเพราะว่าตลอดทั้งเรื่องมันค่อยๆปูพื้นอารมณ์,ความขัดแย้ง,ความคับแค้นใจมาดีมาก จึงสามารถทำให้เรารู้สึกอารมณ์ล้นปรี่อย่างมากๆกับตอนจบของหนังเรื่องนี้

ชอบฉากไตเติลของ TWILIGHT ZONE เวอร์ชันละครโทรทัศน์มากๆเลยค่ะ ที่เหมือนกับมีลูกแก้วยิปซีวางอยู่ (ถ้าหากจำไม่ผิด) และมีอะไรมากมายอยู่ในลูกแก้วนั้น จำได้ว่ามีแมงมุมกับตุ๊กตาเด็กอยู่ในลูกแก้วด้วย

ส่วน TWILIGHT ZONE เวอร์ชันภาพยนตร์ ดิฉันรู้สึกว่าพอใช้ได้ แต่เวอร์ชันละครโทรทัศน์มีหลายตอนที่ไอเดียเริ่ดกว่าเวอร์ชันภาพยนตร์ซะอีก

ในเวอร์ชันภาพยนตร์นั้น สิ่งที่พอจำได้ก็คือ

1.มีเด็กพลังจิตที่สามารถสาปพี่สาวปากมากให้ปากหายไป

2.มีคนที่นั่งบนเครื่องบิน แต่พอมองออกไปนอกหน้าต่าง ก็เห็นตัวอะไรไม่รู้เกาะอยู่ที่ปีกเครื่องบิน

อีกปัจจัยนึงที่ทำให้ตอนเด็กๆรู้สึกชอบละครโทรทัศน์ชุด TWILIGHT ZONE มากๆ ก็คือความรู้สึกที่ว่าอยู่ดีๆมันอาจเกิดขึ้นกับชีวิตเราก็ได้ เคยอ่านคำพูดของคนดังคนนึงเมื่อนานมาแล้ว (จำไม่ได้แล้วว่าคำพูดของใคร) เขาก็พูดในทำนองนี้เหมือนกันว่านี่คือเหตุผลที่ทำให้เขาชอบละครชุดนี้มากตอนเด็กๆ เขาพูดในทำนองนี้ว่า “ใครจะไปรู้ว่า พอผมเดินออกนอกห้องนี้ไป ผมอาจจะเปิดประตูเข้าสู่แดนสนธยาไปโดยไม่รู้ตัว พอผมกดตัว N ที่เครื่องพิมพ์ดีด บางทีมันอาจจะเป็นการเปิดประตูเข้าสู่แดนสนธยาโดยไม่รู้ตัว” ละครชุดนี้ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า อยู่ดีๆเราก็อาจเปิดประตูเข้าสู่แดนสนธยาโดยไม่รู้ตัวได้ทุกเมื่อ ตัวอะไรต่างๆนานาจากแดนสนธยา ก็อาจจะหลุดมาหาเราได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ถ้าหากชอบหนังที่ให้ความรู้สึกคล้ายคลึงกับ TWILIGHT ZONE ตอนนี้ดิฉันพอนึกออกสองเรื่องค่ะ (แต่รู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้จะยังหาซื้อเป็นวีซีดีไม่ได้มั้ง แต่ไม่แน่ ในอนาคตอาจจะหาซื้อได้ก็ได้)

1.SCIENCE FICTION (2003, FRANZ MULLER, A++++)
เรื่องของสองหนุ่มที่หลุดเข้าไปในแดนสนธยาโดยไม่รู้ตัว เพียงแค่พวกเขาออกมานอกห้องเรียน พวกเขาก็หลุดเข้าไปในแดนสนธยาเสียแล้ว โดยดินแดนนี้เหมือนกับโลกจริงๆ เพียงแต่ว่าในดินแดนนี้เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาเดินออกนอกห้องใด และปิดประตู คนในห้องนั้นก็จะลืมพวกเขาไปในทันที (อย่างเช่นพอคุณกินอาหารไปประมาณ 1000 บาทในร้านอาหาร คุณขอตัวไปเข้าห้องน้ำ ปิดประตูห้องน้ำ พอคุณเดินออกจากห้องน้ำกลับเข้ามาในร้านอาหารอีกที พนักงานในร้านก็จะจำคุณไม่ได้แล้วว่าคุณต้องจ่ายเงินอะไรบ้างหรือเปล่า)

หนังเรื่องนี้ดูในเทศกาลหนังที่เอ็มโพเรียมเมื่อเดือนพ.ค.ปี 2004


2.FEAR OF THE DARK (2002, K.C. BASCOMBE, A)

อันนี้ไม่ค่อยเป็นแดนสนธยา แต่เป็นหนังกึ่งสยองขวัญมากกว่า หนังเรื่องนี้ดูทางเคเบิลทีวีช่อง star movies และมีเนื้อหาเกี่ยวกับพี่ชายหนุ่มหล่อมากๆที่อยู่ในบ้านกับน้องชายตามลำพัง และน้องชายก็รู้สึกกลัวความมืดอย่างรุนแรง เพราะเขาสามารถมองเห็นปีศาจร้ายได้ แต่พี่ชายก็ไม่ค่อยจะเชื่อเขา

ส่วนโรซานนา อาร์เควทท์กับแพทริเซีย อาร์เควทท์ ดิฉันคิดว่าตัวเองอาจจะพอแยกออกค่ะ แต่ที่ดิฉันแยกไม่ออก คือแมรี-เคท โอลเสน กับแอชลีย์ โอลเสน ถ้าหากทั้งสองทำผมทรงเดียวกัน ไม่รู้มีใครพอจะบอกได้บ้างไหมว่ามีวิธีอะไรบ้างที่ทำให้แยกออกว่าใครคือแมรี-เคท โอลเสน และใครคือแอชลีย์ โอลเสน (เพราะทั้งสองดูเห่ยและบ้าผู้ชายพอๆกัน)

--ใช่แล้วค่ะ ดิฉันไม่ค่อยชอบนิสัยของพระเอก LATE MARRIAGE เขาไม่รู้จักยืนหยัดเพื่อความรัก คนอย่างนี้คงมีในโลกนี้หลายคน แต่ดิฉันไม่ขอ “รัก” คนอย่างนี้เป็นอันขาด (ขอแค่ “ร่วมรัก” พอแล้ว เพราะเขาหล่อดี)

--ชอบ BEING JULIA มากเหมือนกันค่ะ ดิฉันได้ดูหนังของ ISTVAN SZABO มา 4 เรื่อง และทั้ง 4 เรื่องก็ชอบในระดับประมาณ A หมดเลย (อาจจะมี A+/A หรือ A/A- รวมอยู่ด้วย)

รู้สึกว่าแอนเนทท์ เบนิงเล่นได้ดีมากในหนังเรื่องนี้ แต่ดิฉันรู้สึกว่าแอนเนทท์ เบนิงเล่นหนังเก่งมากอยู่แล้ว ก็เลยไม่ค่อยประหลาดใจกับการแสดงอันยอดเยี่ยมของเธอในหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ (แต่ดีใจที่เธอได้บทดีๆเล่น) สิ่งที่ประทับใจมากๆในหนังเรื่องนี้ก็เลยเป็นดาราประกอบต่างๆแทน

ดาราที่ประทับใจมากๆจาก BEING JULIA

1.MIRIAM MARGOLYES คุณป้าร่างอ้วน เธอเหมาะจะตบกับนางเอกหนังเรื่อง ALI: FEAR EATS THE SOUL (RAINER WERNER FASSBINDER, A) มากๆ เพราะทั้งสองคนนี้ดูคล้ายๆกัน

2.LUCY PUNCH นางอิจฉาของเรื่อง บทของเธอทำให้นึกถึง TORI SPELLING ใน TRICK (1999, JIM FALL, A) เพราะเป็นบทของนักแสดงสาวโง่ๆที่มาเพื่อเรียกเสียงฮาเหมือนกัน

3.SHUAN EVANS หนุ่มน้อยน่ารัก ไม่แปลกใจทำไมจูเลียถึงตกหลุมรักหนุ่มน้อยคนนี้

4.TOM STURRIDGE เขาคนนี้เคยทำให้ดิฉันลมจับกับความหล่อมาแล้วในตอนท้ายเรื่อง VANITY FAIR และในครั้งนี้เขาก็มารับบทเป็นลูกชายนางเอก

ดาราที่เคยชอบมาก่อนหน้านี้แล้ว และมาร่วมปรากฏตัวใน BEING JULIA ด้วย

1.JULIET STEVENSON รู้สึกว่าบทของเธอน้อยไปหน่อย อยากให้เธอได้บทเยอะๆแบบในหนังเกย์เรื่อง FOOD OF LOVE (A) เห็นหน้าเธอทีไร อยากให้เธอมีฉากตบกับฟรานเซส แมคดอร์มานด์อย่างมากๆ

2.BRUCE GREENWOOD คนนี้แสดงเป็นเกย์ที่ดูสุภาพดี เสียดายเหมือนกันที่บทเขาน้อยไป

3.ROSEMARY HARRIS ในบทแม่ของจูเลีย บทของเธอน้อยมากๆ

4.MICHAEL GAMBON คนนี้ขโมยซีนมากๆเลย คนนี้ได้บทที่ดีมากๆในเรื่องนี้

แต่ที่บอกว่าดาราบางคนได้บทน้อยไปไม่ใช่ว่าหนังไม่ดีนะคะ ในกรณีของเรื่องนี้อาจจะเป็นเพราะว่าหนังมันดีค่ะ หนังมันสามารถทำให้เรารู้สึกรักตัวประกอบในหนังได้ ทั้งๆที่พวกเธอโผล่มาแค่นิดเดียว พวกเธอโผล่มาไม่กี่ฉาก เราก็รู้สึกหลงรักตัวประกอบตัวนั้นซะแล้ว, อยากจะรู้จักตัวประกอบตัวนั้นมากยิ่งขึ้น, อยากจะรู้จักแง่มุมต่างๆในชีวิตของตัวประกอบตัวนั้น ในกรณีนี้ต้องถือว่า ISTVAN SZABO เก่งมากค่ะที่ทำให้ตัวประกอบเล็กๆน้อยๆในเรื่องนี้ดูมีเสน่ห์น่าทำความรู้จักหลายตัวด้วยกัน

Thursday, January 27, 2005

twilight zone remembered

อันนี้ไม่เกี่ยวกับสถานที่ขายดีวีดี แต่แค่จะบอกว่า MA MERE เป็นหนึ่งในหนัง 13 เรื่องที่น่าดูประจำปี 2005 ของนิตยสาร FILM COMMENT ด้วยค่ะ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับหนัง 13 เรื่องนี้ได้ที่
http://filmlinc.com/fcm/1-2-2005/terra.htm

ในหนัง 13 เรื่องนี้ มีหนังของ RUDOLF THOME ติดอันดับอยู่ด้วย ดีใจมากๆๆๆเลยค่ะ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ RUDOLF THOME ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=1697

ชอบเด็กผู้หญิงหลอนๆมากเหมือนกันค่ะ รู้สึกว่าจะอยู่ใน A NIGHTMARE ON ELM STREET 3 และน่าจะมีปรากฏในภาคอื่นๆบ้างเหมือนกัน

ในหนังญี่ปุ่นเรื่อง KOKKURI (TAKAHISA ZEZE, A+++++++) มีเด็กผู้หญิงหลอนๆกับลูกบอลมาปรากฏอยู่ด้วยเหมือนกัน หนังเรื่องนี้มีวีซีดีลิขสิทธิ์ขายในไทย แต่ไม่ใช่หนังผีที่ขายความน่ากลัว แต่เป็นหนังผีที่ช้ามากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ และสร้างความรู้สึกงุนงงอยู่ตลอดเวลาว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ในหนังเรื่องนี้

เด็กผีนั้นมีต้นกำเนิดมาจาก KILL BABY KILL ของมาริโอ บาวาค่ะ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับมาริโอ บาวาได้ที่นี่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=4622

เห็นเด็กผู้หญิงกระโดดเชือกใน A NIGHTMARE ON ELM STREET แล้วก็นึกไปถึงสาวกระโดดเชือกใน DROWING BY NUMBERS (PETER GREENAWAY, A) ด้วยเหมือนกัน

TALES FROM THE CRYPT ก็ชอบบางตอนเหมือนกัน แต่ละครชุด TWILIGHT ZONE นี่จัดเป็นหนึ่งในละครโทรทัศน์ที่ชอบที่สุดในชีวิต โดยเฉพาะเวอร์ชันที่มาฉายทางช่อง 3 ประมาณปี 1985-1986 จำได้ว่าช่อง 3 จะฉายต่อจาก “โคมวิเศษเจ้าแม่หัวซาน” มีหลายตอนที่คลาสสิคสุดๆและยอดเยี่ยมกว่าหนังโรงเสียอีก

ตอนที่ชอบมากๆใน TWILIGHT ZONE ก็รวมถึง

1.ตอนที่เด็กๆพาพ่อแม่นิสัยไม่ดีไปเที่ยวสวนสัตว์ ซึ่งสถานที่ตั้งของสวนสัตว์แห่งนี้อยู่ที่ถนนที่โดยปกติแล้วจะไม่มีอยู่จริง เมื่อไปถึงสวนสัตว์ พ่อแม่ก็จะถูกเชิญไปพักผ่อนที่ห้องๆนึง แล้วเด็กๆก็พบว่าในกรงของสวนสัตว์แห่งนี้ขังพ่อแม่เอาไว้ห้องละ 1 คู่ พ่อแม่บางคู่ก็ยังทุ่มเถียงกันอยู่ บางคู่ก็พยายามเสแสร้งทำตัวดีต่อหน้าเด็กๆ แต่บางคู่ก็ยอมรับความผิดที่ตัวเองได้ทำไว้และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้แล้ว แล้วเด็กๆก็เลือกพ่อแม่คู่ที่ถูกใจตัวเองมากที่สุดไปเป็นพ่อแม่ของตัวเอง ส่วนพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กๆก็ถูกขังไว้ในสวนสัตว์ เพื่อที่พวกเขาจะได้ค่อยๆเรียนรู้ความผิดพลาดของตัวเองจนกว่าจะถึงเวลาที่มีเด็กคนไหนถูกใจพวกเขาและเลือกพวกเขาออกจากสวนสัตว์ไป

2.ตอนที่มีทหารผ่านศึกจากสงครามมาโผล่ที่ผับแห่งหนึ่งกลางดึก ถ้าหากทหารผ่านศึกคนนี้หลับเมื่อใด ทหารเวียดนามก็จะโผล่ออกมาจากความฝันของเขาและฆ่าทุกคนในบริเวณนั้นในทันที ทหารผ่านศึกคนนี้นำพาความตายไปยังทุกๆที่ที่เขาเดินทางผ่าน แต่ผู้คนในผับแห่งนี้ก็พยายามหาทางแก้ไขสถานการณ์อันตรายอย่างสุดชีวิต

3.ตอนที่ผัวเมียคู่หนึ่งหลุดเข้าไปในรถไฟแห่งกาลเวลา โดยหนึ่งตู้โดยสารรถไฟจะเท่ากับเวลาหนึ่งนาที หนังมีรายละเอียดน่าสนใจเยอะดี แต่บรรยายได้ยากมาก

4.ตอนที่มีคนๆหนึ่งได้เรียนรู้สัจธรรมแห่งชีวิต ถ้าจำไม่ผิดเขาได้เรียนรู้เรื่องนี้มาจากอินเดีย เขาเดินทางกลับมาที่เมืองเล็กๆแห่งนึงในสหรัฐ แต่เมื่อใดก็ตามที่เขาบอกความหมายที่แท้จริงของชีวิตให้กับชาวบ้านคนใด ชาวบ้านคนนั้นก็จะกลายเป็นบ้าไปในทันที ตัวละครบางตัวจึงต้องพยายามอย่างสุดชีวิตที่จะป้องกันไม่ให้บุคคลที่ได้รู้ความหมายที่แท้จริงของชีวิตเหล่านี้ไปบอกเรื่องนี้กับคนอื่นๆ ไม่งั้นคนจะเป็นบ้ากันไปหมด แต่จะทำอย่างไรดีล่ะถ้าหากดีเจที่จัดรายการวิทยุเกิดพูดความหมายที่แท้จริงของชีวิตให้กับผู้ฟังวิทยุออกไป เพราะถ้าหากคำพูดดังกล่าวได้รับการแพร่กระจายทางวิทยุ คนฟังทุกคนก็จะกลายเป็นบ้ากันเกือบทั้งเมือง

5.ตอน SHADOW PLAY ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่กำลังจะถูกศาลตัดสินประหารชีวิต แต่เขาบอกกับทุกๆคนในศาลว่าทำอย่างนั้นไม่ได้เป็นอันขาด เพราะถ้าเขาถูกประหารชีวิต เขาก็จะตื่นนอน และทุกๆคนที่อยู่รอบๆตัวเขาก็จะจบชีวิตด้วยการหายไปหมด เพราะทุกๆคนในศาลเป็นเพียงตัวละครในความฝันของเขาเท่านั้น ผู้คนในศาลหัวเราะกับคำพูดของเขา แต่บางคนในศาลเริ่มสงสัยว่าทำไมตัวเองถึงจำอดีตของตัวเองไม่ได้ จำได้แต่เพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อนเท่านั้น ราวกับว่าพวกเขาไม่เคยมีชีวิตมาก่อนหน้านี้เลย แต่เป็นเพียงตัวละครในความฝันของผู้ชายคนนี้จริงๆ คนกลุ่มนี้หวาดกลัวมาก และพยายามอย่างสุดชีวิตที่จะพลิกคำตัดสินของศาลให้ได้ เพื่อที่ชายคนนี้จะได้ไม่ตื่นนอน และพวกเขาจะได้มีชีวิตอยู่ต่อไป

6.ตอนที่มีนักเขียนคนหนึ่ง (สมมุติว่าชื่ออาร์เธอร์ รูเลอร์) เขาถูกแวดล้อมด้วยตัวประหลาดกลุ่มหนึ่งที่ตามรังควานเขาอยู่ตลอดเวลา ตัวประหลาดกลุ่มนี้บอกกับเขาว่าพวกเขาจะหายไปก็ต่อเมื่ออาร์เธอร์เขียนบทละคร/บทภาพยนตร์เกี่ยวกับพวกเขาเท่านั้น ในที่สุดอาร์เธอร์ก็ทนความรำคาญไม่ไหว และเริ่มนั่งเคาะแป้นพิมพ์ดีดเพื่อเขียนเรื่องของตัวประหลาดกลุ่มนี้ และตัวประหลาดกลุ่มนี้ก็ค่อยๆหายไป และละครตอนนี้ก็จบลงพร้อมกับตัวอักษรขึ้นมาบอกว่าผู้เขียนบทละครตอนนี้ชื่ออาร์เธอร์ รูเลอร์จริงๆ

7.ตอนที่มีชายแปลกหน้าคนหนึ่งนำกล่องที่มีปุ่มๆหนึ่งมาให้หญิงสาว พร้อมกับบอกหญิงสาวว่าถ้าหากเธอกดปุ่มนี้ “คนที่คุณไม่รู้จักจะตาย 1 คน” หญิงสาวคนนี้ลังเลว่าจะกดปุ่มดีหรือไม่ เธออยากรู้อยากเห็น แต่เธอก็กลัวว่าตัวเองจะรู้สึกผิดถ้าหากทำให้คนที่ไม่รู้จักตายไป เธอแกะกล่องนี้ออกดู ก็ไม่พบว่ากล่องนี้มีอุปกรณ์พิเศษอะไรซ่อนอยู่ข้างใน เธอทะเลาะกับแฟนว่าจะกดดีไม่กดดี เธอรู้สึกว่าจิตใจตัวเองถูกรบกวนด้วยความลังเลสงสัยอยู่ตลอดเวลา ทำอะไรก็ไม่เป็นสุข ความลังเลสงสัยติดตามอยู่ในใจเธอตลอด เธอเอากล่องนี้ไปทิ้งขยะ แต่อีกไม่นานเธอก็ไปคุ้ยถังขยะเพื่อเอากล่องนี้กลับมา ในที่สุดเธอก็ทนความรำคาญใจไม่ไหว และกดปุ่มนี้ไป เธอคิดว่าอย่างมากเธอก็คงแค่ทำให้ชาวนาในจีนตายไปสักหนึ่งคน แต่หลังจากเธอกดปุ่มนี้ไปแล้ว ชายแปลกหน้าก็ปรากฏตัวขึ้นพร้อมกับบอกว่าเขาจะเอากล่องนี้ไปให้คนอื่นๆทดลองกดต่อไป “ซึ่งเป็นคนที่คุณไม่รู้จัก”

8.ตอนที่มีแม่บ้านที่ทำงานอะไรก็ไม่ทันเวลา เธอก็เลยภาวนาขอให้เวลาหยุดอยู่กับที่ และเวลาก็หยุดอยู่กับที่จริงๆ ทุกคนอยู่นิ่งหมด และเธอก็มีเวลาทำอะไรต่างๆตามใจชอบมากมาย

9.ตอนที่มีคนไปพบกล้องถ่ายรูปเก่าที่เคยถ่ายรูปคนป่าเอาไว้ แต่คนป่าเผ่านี้เชื่อว่าการถ่ายรูปจะเป็นการเอาดวงวิญญาณของพวกเขาไป และมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะต่อมาคนป่าเหล่านี้ก็ออกมาจากรูปเพื่อมาฆ่าคน

ยังมีอีกหลายตอนที่ชอบมาก เฮ้อ เสียดายที่ไม่ได้อัดวิดีโอเก็บเอาไว้เลย

อยากดูเวอร์ชันในทศวรรษ 1960 ด้วยเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิด มีหลายตอนที่คลาสสิคมากๆ อย่างเช่นตอนหนึ่งที่มียายชราไปพบหนุ่มหล่ออยู่หน้าบ้าน (ถ้าจำไม่ผิด หนุ่มหล่อคนนั้นแสดงโดยโรเบิร์ต เรดฟอร์ด และตอนนั้นคือตอน NOTHING IN THE DARK ที่ฉายในปี 1962) เขาหล่อมากๆ และเขาก็ทำให้ยายชราคนนี้รู้สึกดีมากๆ แต่ที่จริงแล้วเขาคือยมทูตที่จะมารับดวงวิญญาณของยายชราคนนี้ไป และความหล่อของเขาก็ทำให้ยายชรายินดีที่จะจากโลกนี้ไปด้วยความเต็มใจโดยไม่ขัดขืน เพราะเธอรู้แล้วว่าความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แต่ความตายคือหนุ่มหล่อ

ชอบแพทริเซีย อาร์เควทท์ใน LOST HIGHWAY มากๆๆๆ

ตอนดูเฟร็ดดี้ภาคสองรู้สึกไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ บางทีอาจจะเป็นเพราะตัวละครนำเป็นผู้ชายนั่นเอง สิ่งที่จำติดตาได้จากภาคสองมีอยู่แค่สองสามอย่าง หนึ่งก็คือหนังมีฉากรถบัส และสองก็คือมีฉากที่พระเอกตื่นนอนแล้วใส่กางเกงในตัวเดียว (ไม่ได้อยากจะจำหรอกนะ แต่มันเป็นสิ่งเดียวที่จำได้จริงๆหลังจากดูมานานประมาณ 15 ปี)

กรี๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ดีวีดีหนังเกย์เรื่อง A THOUSAND CLOUDS OF PEACE มีขายที่จตุจักรแล้วค่ะ อยากดูหนังเรื่องนี้มากๆๆๆๆๆๆ
http://homepage.mac.com/Vanvdo/1000clouds.htm

ข้อมูลข้างล่างนี้ก็อปปี้มาจาก
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=4118

หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเจราร์โด ชายหนุ่มวัย 17 ปีที่เพิ่งตัดสัมพันธ์รักกับบรูโน (Juan Carlos Torres) เขาเริ่มต้นเดินเตร็ดเตร่ไปตามท้องถนนด้วยอารมณ์สิ้นหวัง เจราร์โด (Juan Carlos Ortuno) รู้สึกทรมานกับภาพที่อยู่ในห้วงคะนึงของเขา เพราะผู้ชายรูปร่างดีทุกคนที่เขาเห็นทำให้เขานึกถึงคนรักเก่า เจราร์โดตั้งใจว่าเขาจะเก็บความทรงจำนี้ไว้ และสิ่งเดียวที่ช่วยปลอบใจเขาได้ก็คือจดหมายที่เขาพบในถังขยะ ถึงแม้ว่าจดหมายนี้ไม่ได้จ่าหน้าถึงเขาก็ตาม ผู้ชมหนังเรื่องนี้ให้ความเห็นว่าหนังเรื่องนี้เหมือนกับหนังฟิล์มนัวร์ + อิงมาร์ เบิร์กแมน + เดวิด ลินช์ โดยหนังเรื่องนี้ถ่ายออกมาเป็นขาวดำและดำเนินเรื่องอย่างเชื่องช้า แต่มีงานด้านภาพที่งดงามและให้อารมณ์หลอกหลอน หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลเท็ดดี้ในเทศกาลหนังเบอร์ลินปี 2003

ยังไม่ได้ดู FIRST DO NO HARM แต่จำได้ว่าชอบ LORENZO’S OIL (1992, GEORGE MILLER, A) มาก

ส่วนใน ADAPTATION นั้น ชอบฉากที่เมอรีลโทรศัพท์มากๆค่ะ กับฉากที่เธอนอนอยู่กลางทุ่งหญ้าท่ามกลางแสงที่เจิดจรัสงดงามแบบเว่อสุดขีด ชอบความเว่อสุดขีดของการจัดแสงในฉากนั้น

ADAPTATION มี TILDA SWINTON เจ้าแม่หนังเกย์แห่งเกาะอังกฤษร่วมแสดงด้วย แต่บทเธอน้อยเกินไป เหมือนกับใน VANILLA SKY ที่บทของเธอก็น้อยเกินไป

(ถ้าเข้าใจไม่ผิด ทิลดา สวินตันมีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ “สัตว์ประหลาด” ได้รับรางวัลในเมืองคานส์ เพราะเธอเป็นหนึ่งในกรรมการ และเธอแสดงอาการปลื้ม “สัตว์ประหลาด” อย่างออกหน้าออกตามาก)

ตอนนี้หนังของทิลดา สวินตันที่อยากดูอย่างสุดๆคือหนังไซไฟเรื่อง FRIENDSHIP’S DEATH (1987, PETER WOLLEN) ค่ะ โดยในหนังเรื่องนี้เธอรับบทเป็นมนุษย์ต่างดาวชื่อ FRIENDSHIP ที่เข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งในปาเลสไตน์ แต่ได้ข่าวว่าตอนนี้หนังเรื่องนี้กลายเป็นหนังที่หาดูได้ยากมากๆๆๆไปแล้ว
http://www.geocities.com/tildapage/friendship.html
http://www.eufs.org.uk/films/friendships_death.html

จำเพลง SOMETIMES LOVE JUST AIN’T ENOUGH ได้ดีค่ะ เคยเป็นเพลงที่ชอบมากๆเพลงนึง

ตอนนี้ยังเก็บตั๋วหนังเรื่อง ARARAT (2002, ATOM EGOYAN, A+) ที่ให้ DAVID ALPAY พระเอกเซ็นเอาไว้อยู่เลยค่ะ กรี๊ดสุดๆที่เขามาร่วมเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพในช่วงต้นปี 2003 ก็เลยให้เพื่อนไปขอลายเซ็นของเขามาเก็บไว้ เห็นด้วยค่ะว่าเขากับ OSHRI COHEN มีส่วนคล้ายคลึงกัน

LATE MARRIAGE (A-) ติดอันดับพระเอกที่ดิฉันเกลียดที่สุดในชีวิตค่ะ เขาเป็นคนที่หน้าตาดีมาก แต่นิสัยของพระเอกหนังเรื่องนี้ ดิฉันเกลียดมากๆๆๆค่ะ แต่ก็ชอบตัวหนังนะคะ การที่หนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกมีอารมณ์ร่วมจนถึงขั้นเกลียดพระเอกได้ขนาดนี้ ก็แสดงว่าหนังมีพลังมากพอดูเลยทีเดียว

อีกจุดที่ชอบก็คือเหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในอพาร์ทเมนท์เกือบตลอดทั้งเรื่องเลย (มีฉากในลานจอดรถบ้างนิดหน่อย) คิดว่าหนังเรื่องนี้เหมาะจะดัดแปลงเป็นละครเวทีมากๆพอกับ TO TAKE A WIFE ที่นำแสดงโดยนางเอกคนเดียวกัน

เห็นด้วยว่าแม่ของพระเอก EVIL น่าตบมากๆ

Wednesday, January 26, 2005

THE MAN WITH THE SADDEST EYE--MY FRANKENSTEIN

ตอนแรกไม่ค่อยตื่นเต้นกับออสการ์ปีนี้เท่าไหร่ แต่วันนี้เพิ่งได้ดู THE AVIATOR (A+) แล้วรู้สึกชอบมาก ก็เลยรู้สึกดีกับออสการ์ปีนี้ขึ้นมาเยอะเลย จริงๆแล้วดิฉันก็ไม่ได้ชอบ THE AVIATOR มากเท่ากับหนัง 10 อันดับแรกในเทศกาล BKKIFF แต่ถ้าหากเทียบหนังเรื่องนี้กับบรรดา GLADIATOR, A DIRTY MIND, THE RETURN OF THE GAY KING ที่ได้ออสการ์หนังยอดเยี่ยมในปีที่ผ่านๆมาแล้ว ดิฉันก็ชอบ THE AVIATOR มากกว่าเยอะค่ะ นอกจากนี้ V ERA DRAKE กับ CLOSER ก็จัดเป็นหนังที่ชอบมากเหมือนกัน ตอนนี้ก็เลยรู้สึกดีกับออสการ์ขึ้นมาหน่อยค่ะ

จุดที่ชอบมากใน THE AVIATOR ก็คือช่วงที่ตบตีกันเรื่อง MONOPOLY ค่ะ ตอนดูตัวอย่างหนัง THE AVIATOR ก็ไม่นึกว่าหนังจะมีประเด็นอย่างนี้อยู่ด้วย ก็เลยไม่ได้ตั้งความหวังกับหนังเรื่องนี้มากนัก แต่พอมีประเด็นนี้เข้ามาในหนัง ก็เลยรู้สึกว่าหนังสนุกกว่าที่คาดไว้อย่างมากๆ

Freddy Kruger ภาคที่ดิฉันชอบมาก นอกจากภาค New Nightmare แล้ว ก็คือภาค 3 กับภาค 4 ค่ะ ชอบสุดๆเลย เพราะในสองภาคนี้ มนุษย์ที่ตกเป็นเหยื่อเฟร็ดดี้ จะพยายามต่อสู้กับเฟร็ดดี้ด้วยวิธีการต่างๆนานาก่อนที่จะถูกฆ่าตาย ก็เลยทำให้รู้สึกสนุกและลุ้นระทึกมาก ในขณะที่ในบางภาคนั้น ตัวละครมนุษย์จะเหมือนมาเพื่อเป็นเหยื่อโง่ๆอย่างเดียวเท่านั้น แทบไม่คิดจะหาทางต่อสู้เลย ก็เลยดูแล้วไม่ลุ้นหรือมีอารมณ์ร่วมเท่าไหร่ ชอบแบบที่ตัวละครพอมีทางต่อสู้มากกว่าค่ะ ถ้าตัวละครไม่มีทางต่อสู้แล้ว เราก็รู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าเธอโผล่มาเพื่อรอให้ถูกฆ่าตายอย่างเดียว ก็เลยไม่ลุ้นอะไร

A NIGHTMARE ON ELM STREET 3: DREAM WARRIORS (1987, CHUCK RUSSELL, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0093629/

ฉากที่ชอบมากในเรื่องนี้คือฉากที่ตัวละครพยายามไม่หลับ แต่พอเธอนั่งลงบนโซฟาปุ๊บ เธอก็หลับและร่วงลงไปในโซฟาหล่นเข้าไปในโลกของเฟร็ดดี้ทันที

ชอบตัวละครหญิงตัวนึงในภาคนี้มากที่เธอมีวิชาตัวเบา (ไม่รู้คนเขียนบทคิดมุกนี้ขึ้นมาได้ยังไง)

A NIGHTMARE ON ELM STREET 4: THE DREAM MASTER (1988, RENNY HARLIN, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0095742/

ช่อง 3 เคยเอาละครโทรทัศน์ชุด FREDDY’S NIGHTMARES (1988) มาฉายด้วย มีอยู่บางตอนที่ชอบมากเหมือนกัน แต่มันค่อนข้างโหดร้าย ก็เลยไม่ขอเขียนถึงรายละเอียดแล้วกัน
http://www.imdb.com/title/tt0094466/

ตอนนึงที่จำได้ติดตาคือตอนของนักวิ่งกรีฑาสาว เธอพยายามอย่างแสนเหนื่อยยากที่จะวิ่งเข้าที่หนึ่งให้ได้ ปรากฏว่าพอเธอวิ่งเข้าที่หนึ่ง เส้นเชือกตรงเส้นชัยกลับบาดคอเธอขาดกระเด็น ขณะที่ตัวเธอยังเดินเตาะแตะๆไปต่อ และฉากต่อมาก็แสดงให้เห็นว่าเธอนอนหัวใจวายตายอยู่ข้างสนาม ส่วนฉากเส้นชัยบาดคอเธอขาดกระเด็นเป็นเพียงฝันร้ายที่มาคร่าชีวิตเธอไป


“NO REDEMPTION”

ชอบการแสดงของพระเอกนางเอกใน HARI OM มากเหมือนกัน นางเอกน่ารักมากและในหลายๆฉากกิริยาอาการของเธอก็ดูเหมือนนักท่องเที่ยวจริงๆเวลามาเที่ยวประเทศแถวบ้านเรา ส่วนพระเอกนั้นต้องขอชมการแสดงอย่างมาก เพราะหน้าตาของเขาในเรื่องนี้มันให้กับบทของผู้ร้ายมากๆ แต่การแสดงของเขากลับทำให้มองข้ามหน้าตาที่ดูเหมือนผู้ร้ายไปได้ในที่สุด

ฉากที่ประทับใจมากใน HARI OM ก็คือฉากที่ชายชราเล่านิทานให้นางเอกฟัง ไม่รู้เป็นเพราะน้ำเสียงของชายชราหรือเพราะปัจจัยอะไรอื่นๆอีกบ้าง แต่ฟังนิทานในฉากนั้นแล้วรู้สึกซึ้งผิดปกติมาก โดยที่หนังไม่ได้แสดงให้เห็นภาพจากนิทานนั้นเลย (ถ้าเป็นหนังเรื่องอื่น คนดูอาจได้เห็นนักแสดงมาแสดงเรื่องราวตามนิทานที่เล่าไปแล้ว) ฉากนั้นผู้กำกับปล่อยให้คนดูจินตนาการภาพ จินตนาการใบหน้าของตัวละคร จินตนาการภาพเหตุการณ์ไปตามนิทานนั้นเอง และนั่นคงจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว เพราะเรื่องที่เล่ามันซึ้งจริงๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเห็นภาพมาปรากฏต่อหน้าตามเรื่องที่เล่าเลยแม้แต่น้อย

วิธีการเดียวกันนี้ก็นำมาใช้อย่างได้ผลเหมือนกัน (ในความรู้สึกส่วนตัวของดิฉัน) กับหนังเรื่อง MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN เพราะในหนังเรื่องนี้ คนดูไม่ได้ “เห็น” เลยว่าพระเอกประสบกับอะไรมาบ้างก่อนที่จะมาปรากฏตัวในเรื่อง คนดูได้แต่อาศัยคำพูด คำบอกเล่าที่หลุดออกมาจากปากตัวละครเป็นระยะๆเท่านั้น ในการ “จินตนาการภาพเหตุการณ์” ที่พระเอกเคยประสบมาในสงคราม และบางทีการที่คนดูไม่ได้เห็นภาพเหล่านั้นกับตาตัวเอง แต่ต้องจินตนาการภาพนั้นขึ้นมาในหัวของตัวเองตามคำบอกเล่าของตัวละคร ก็อาจจะส่งผลให้คนดูอย่างดิฉันรู้สึกสะเทือนใจกับเรื่องนี้มาก

นอกจากพระเอกของ MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN จะสารภาพกลายๆว่าเขาเคยฆ่าเด็กตายไปมากมายในช่วงสงครามแล้ว อีกช่วงหนึ่งของเรื่องที่สะเทือนใจดิฉันมากก็คือฉากที่เขาเล่าให้คนอื่นๆฟังเรื่องที่เขาเคยฆ่าชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ตายไปเป็นจำนวนมาก และถ้าหากดิฉันอ่านซับไตเติลไม่ผิด ดูเหมือนเขาจะพูดว่าเขาขับรถถังไล่บดขยี้ชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ด้วย (ไม่แน่ใจตรงจุดนี้เหมือนกันเพราะไม่มีโอกาสได้ดูซ้ำ) หนังเรื่องนี้ไม่ได้แสดงให้ “เห็น” ฉากอันโหดร้ายเหล่านั้นเลยแม้แต่น้อย (ซึ่งก็คงจะประหยัดทุนสร้างหนังไปได้เยอะ) แต่เพียงแค่ได้ฟังคำพูดเหล่านี้จากปากของพระเอก ได้จ้องเข้าไปในดวงตาข้างเดียวของพระเอก ได้จ้องเข้าไปในดวงตาของเขานานๆ จ้องจนรู้สึกเหมือนจะทะลุเข้าไปในหัวใจอันดำมืดของเขา ภาพเหตุการณ์เหล่านั้นก็ผุดขึ้นมาในหัวของดิฉันเอง และดูเหมือนมันจะไม่ยอมจากไปไหนง่ายๆ (สงสัยดิฉันคงเป็นบ้าไปแล้ว)

อีกฉากที่คิดถึงทีไรก็อยากร้องไห้ทั้งๆที่มันเป็นฉากที่ดูซ้ำซากดาดดื่นมากๆ ก็คือฉากที่พระเอกกับพ่อไปโรงพยาบาล แล้วเจอทหารหนุ่มตัวโตคนนึงนั่งด้วยอาการผิดปกติ โดยมีคนในครอบครัวพยายามปลอบโยนอย่างสุดความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถทำให้ทหารหนุ่มคนนี้กลับมาเป็นปกติได้ แต่พระเอกกลับดูเหมือนจะเข้าใจในทหารหนุ่มคนนี้ เขาพูดกับทหารหนุ่มคนนี้ในทำนองว่า “อย่ากลัวไปเลย กำแพงไม่ได้กำลังจะถล่มลงมาหรอก... etc.” และก็ทำให้ทหารหนุ่มคนนี้สงบลงได้ในที่สุด

สิ่งที่ฝังใจมากๆจากฉากนี้ก็คือเราไม่รู้เลยว่าทหารหนุ่มคนนั้นเคยเผชิญกับสถานการณ์ที่สุดแสนจะโหดร้ายอะไรมาบ้างในช่วงสงคราม และเราก็ไม่ได้ “เห็น” กับตาตัวเองอีกด้วยว่า “หัวของเขากำลังมองเห็นภาพหลอนอะไรอยู่” เขาถึงได้มีอาการหวาดกลัวกำแพงถล่มอย่างนั้น แต่การที่เราได้จินตนาการเอาเองว่าเขาเคยเห็นอะไรในสงคราม และเขายังคงเห็นภาพหลอนอะไรอยู่ในตอนนี้ ก็ทำให้รู้สึกกับหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมากๆ นอกจากนี้ ฉากนี้ยังทำให้รู้สึกซาบซึ้งมากๆกับความเข้าอกเข้าใจกันของ “ตัวละครผู้มีบาดแผลทางจิตใจ” มันเป็นความรู้สึกของ “คนที่มีหัวอกเดียวกัน” ซึ่งตัวละครที่ไม่เคยมีบาดแผลฉกรรจ์ทางจิตใจคงยากที่จะเข้าใจได้

ถ้าหากหนังเรื่องนี้ไม่ได้ใช้ชื่อเรื่องว่า MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN ก็อาจจะยืมชื่อหนัง 2 เรื่องมาใช้เป็นชื่อหนังเรื่องนี้ได้ นั่นก็คือ ALMOST PEACEFUL (2002, MICHEL DEVILLE, A+) และ UNINVITED (2003, LEE SU-YEON, A+) เพราะทั้ง MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN และ ALMOST PEACEFUL ต่างก็พูดถึงตัวละครที่เพิ่งรอดชีวิตจากสงครามมาเหมือนกัน และตัวละครเหล่านี้ก็ต้องใช้ความพยายามที่จะปรับตัวให้เข้ากับชีวิตอันสงบสุขอีกครั้ง พระเอกของ MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN ดูเหมือนจะยอมรับสภาพ PEACEFUL ได้ในตอนแรก แต่บาดแผลทางใจจากสงคราม ก็ไม่มีวันที่จะปล่อยให้เขาได้อยู่ในสภาพ ”COMPLETELY PEACEFUL” อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ตัวละครพระเอกหนังเรื่องนี้ ยังอยู่ในสภาพที่เหมือนกับเป็น “แขกไม่ได้รับเชิญ” ในหลายๆสถานการณ์ด้วย ฉากที่เขาถูกพ่อทอดทิ้งไว้ในสถานีรถไฟอย่างไม่ดูดำดูดีในช่วงต้นเรื่อง ให้ความรู้สึกเจ็บปวดเท่ากับฉาก...ในช่วงกลางเรื่อง RIGHT NOW เลยทีเดียว

หากจะจับคู่หนังที่ทั้งเหมือนและต่างกันในเทศกาลนี้แล้ว MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN อาจจะเป็นขั้วตรงข้ามของ CLEAN เพราะถึงแม้ทั้งสองเรื่องนี้จะพูดถึงตัวละครที่ผ่านพ้นจากสภาพที่เหมือนกับนรก และ “พยายามตั้งต้นชีวิตใหม่” อย่างยากลำบากเหมือนๆกัน CLEAN กลับตัดลดความเป็นเมโลดรามาและความฟูมฟายทิ้งไปได้อย่างงดงาม ในขณะที่ MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN ดูเป็นเมโลดรามาเร้าอารมณ์มากกว่าเยอะ

นอกจากนี้ สิ่งที่ตรงข้ามกันอีกอย่างหนึ่งก็คือจุดลงเอยของหนังสองเรื่องนี้ เพราะในขณะที่เรื่องหนึ่งดูเหมือนจะเชื่อใน REDEMPTION อีกเรื่องหนี่ง (และอาจจะรวมไปถึง THE HUNGARIAN SERVANT ซึ่งมีความเป็นเมโลดรามาสูงมากเหมือนกัน) กลับลงเอยในทิศทางตรงกันข้าม http://www.moviehabit.com/reviews/hun_jt04.shtml

Tuesday, January 25, 2005

BKKIFF WRAP UP (1)

ขอจัดลำดับความชอบของตัวเองต่อหนังที่ได้เข้าชิงราซซีดังนี้

1.CATWOMAN (A)
2.ALEXANDER (A-)
3.FAHRENHEIT 9/11 (A-)
4.SHOWGIRLS (A-)
5.ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID (A-)
6.DODGEBALL (A-)
7.ALIEN VS. PREDATOR (A-)
8.TAKING LIVES (B+)
9.JERSEY GIRL (B+)
10.WHITE CHICKS (B)
11.THE CHRONICLES OF RIDDICK (B)
12.BATTLEFIELD EARTH (B-)
13.A CINDERELLA STORY (B-)
14.AROUND THE WORLD IN 80 DAYS (B-)
15.EXORCIST 4: THE BEGINNING (C+)
16.ALONG CAME POLLY (C)

--YESTERDAY TODAY AND TOMORROW น่าดูจัง ปีที่แล้วได้ดูหนังสารคดีเรื่อง THE ORPHANS OF NKANDLA (2004, BRIAN WOODS, A+++++++++++++) ที่ลิโด ยังประทับใจจนถึงบัดนี้ หนังเรื่องนี้ติดตามเฝ้าสังเกตชีวิตคนกลุ่มหนึ่งในแอฟริกาใต้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์และครอบครัวกับลูกๆของพวกเขา ดูช่วงแรกแล้วงงมาก เพราะเขาแนะนำให้เรารู้จักกับคนเยอะมาก ดูแล้วแยกไม่ถูกว่าใครเป็นใครอะไรยังไง แต่ดูไปเรื่อยๆแล้วก็ไม่งง เพราะคนในภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้จะทยอยตายกันไปทีละคนๆ จนในที่สุดก็เหลือแค่ไม่กี่คนในช่วงหลังๆของเรื่อง ดูแล้วก็เลยไม่รู้สึกสับสนว่าใครเป็นใครอีก แต่รู้สึกว่ามันเศร้ามาก หนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกเหมือนเป็นคนๆหนึ่งในหมู่บ้านแห่งนี้ที่ทยอยเห็นคนที่รู้จักล้มตายกันไปเรื่อยๆ

--ไม่รู้ตัวเองฟังถูกหรือเปล่า แต่ฉากนึงที่ชอบมากใน BEING JULIA คือฉากที่แอนเนทท์ เบนิงพูดใส่ผู้หญิงช่างเสือกคนหนึ่งในทำนองว่า “พ่อของฉันไม่ได้เป็นหมอ แต่เป็นสัตวแพทย์ เขาเคยไปบ้านของเธอเพื่อช่วยทำคลอด BITCHES” (ถ้าฟังผิดต้องขออภัยด้วยนะคะ)

--ไม่ย้อม ไม่ยอม จะเอาพระเอก BONJOUR MONSIEUR SHLOMI ง่ะ ทำไมตอนเรามาดูรอบแรกไม่ยอมมาปรากฏตัวล่ะ

--ถ้าใครชอบหนัง coming of age แบบไม่สดใส แต่เน้นความสะเทือนใจในระดับไม่แพ้ Class Trip วันศุกร์นี้อย่าลืมไปดูหนังญี่ปุ่นเรื่อง MOVING (A++++++) ที่มูลนิธิญี่ปุ่น เวลา 18.30 น.นะคะ แต่หนังสองเรื่องนี้ต่างกันตรงที่ในขณะที่ CLASS TRIP เน้นความรู้สึกหนาวเหน็บเยียบเย็น MOVING กลับเน้นเปลวไฟและอารมณ์โกรธๆร้อนๆของเด็กผู้หญิง

ดูรายละเอียดของมูลนิธิญี่ปุ่นได้ที่
http://www.jfbkk.or.th/event/Theater_200501_eg.html

--ชอบนักแสดงชายหลายคนใน BAD EDUCATION มาก แต่ชอบในด้าน “ฝีมือการแสดง” ค่ะ โดยเฉพาะ
JAVIER CAMARA ที่ชอบมาดของคุณเธอมากๆ

อันดับหนังอย่างคร่าวๆของเทศกาลนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงไปๆมาๆ

1.RIGHT NOW (2004, BENOIT JACQUOT) A+
2.DUCK SEASON (2004, FERNANDO EIMBCKE) A+
3.RECONSTRUCTION (2003, CHRISTOFFER BOE) A+
4.GILLES’ WIFE (2004, FREDERIC FONTEYNE) A+
5.THIRST (2004, TAWFIK ABU WAEL) A+
6.CACHIMBA (2004, SILVIO CAIOZZI) A+
7.PRIVATE (2004, SAVERIO COSTANZO) A+
8TOUCH THE SOUND (2004, THOMAS RIEDELSHEIMER) A+
9.THE SYRIAN BRIDE (2004, ERAN RIKLIS) A+/A
10.MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN (2004, VALERY TODOROVSKY) A+
11.MYSTERIOUS SKIN (2004, GREGG ARAKI) A+
12.AFTER MIDNIGHT (2004, DAVIDE FERRARIO) A+
13.ENCHANTED (2003, PUPI AVATI) A+
14.ANATOMY OF HELL (2004, CATHERINE BREILLAT) A+/A
15.BEAUTIFUL CITY (2004, ASGHAR FARHADI) A+/A
16.TO TAKE A WIFE (2004, RONIT ELKABETZ + SHLOMI ELKABETZ) A+/A
17.BAD EDUCATION (2004, PEDRO ALMODOVAR) A+/A
18.VERA DRAKE (2004, MIKE LEIGH) A+/A
19.MONDOVINO (2004, JONATHAN NOSSITER) A
20.YASMIN (2004,KENNY GLENAAN) A
21.FORGIVENESS (2004, IAN GABRIEL) A
22.IMELDA (2003, RAMONA DIAZ) A
23.SCHIZO (2004, GUKA OMAROVA) A
24.HOLY LOLA (2004, BERTRAND TAVERNIER) A
25.ANTARES (2004, GOTZ SPIELMANN) A
26.CLEAN (2004, OLIVIER ASSAYAS) A
27.IN MY FATHER’S DEN (2004, BRAD MCGANN) A
28.BEING JULIA (2004, ISTVAN SZABO) A
29.UNCONSCIOUS (2004, JOAQUIN ORISTRELL) A-
30.TIGERWOMEN GROW WINGS (2005, MONIKA TREUT) A-
31.BONJOUR MONSIEUR SHLOMI (2003, SHEMI ZARHIN) A-
32.CHILDSTAR (2004, DON MCKELLAR) A-
33.HARI OM (2004, BHARATBALA) A-
34.THE MAGICIAN (2004, JAIME APARICIO) A-
35.THE HUNGARIAN SERVANT (2004, MASSIMO PIESCO, GIORGIO MOLTENI) B+
36.ABSOLUT (2004, ROMED WYDER) B+
37.THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (2004, JAMES LEE) B+
38.DOGORA (2004, PATRICE LECONTE) B+
39.MODIGLIANI (2004, MICK DAVIS) B
40.MY FATHER IS AN ENGINEER (2004, ROBERT GUEDIGUIAN) B-
41.FOREVER (2003, ALESSANDRO DE ROBILANT) B-

หนึ่งในประโยคที่สะเทือนใจที่สุดจากหนังในเทศกาล
(ประโยคไม่ได้พูดออกมาตรงๆอย่างนี้ แต่ความหมายออกมาคล้ายๆอย่างนี้)

“พวกมันไม่ไว้ชีวิตเด็กตัวเล็กๆหรอก เพราะตอนที่ผมไปรบที่นั่น ผมก็ไม่เคยไว้ชีวิตเด็กตัวเล็กๆเช่นกัน”—พระเอกของ MY STEP BROTHER FRANKENSTEIN

หนังที่ได้ดูหลังจบเทศกาล
CLOSER (A) ที่ไม่ชอบหนังเรื่องนี้ถึง A+ เพราะไม่มีฉากเซ็กส์ระหว่างจูด ลอว์กับไคลฟ์ โอเวน (ฮ่าๆๆๆ)
MY BROTHER (AHN KWON-TAE, A-) หนังเน่าสนิท แต่ชอบวอน บิน ตอนใส่เสื้อกล้าม
SEED OF CHUCKY (A-) หนังเรื่องนี้มีตัวละครหลักเป็นเกย์ (หรือเปล่า)

ชอบตุ๊กตาทิฟฟานี่มากๆ

ประโยคนึงที่ชอบมากคือประโยคที่ทิลลี่คุยกับเรดแมนแล้วพูดว่า “Mr. Man. Can I call you Red?”

ชอบพล็อตหนังเรื่องนี้มาก รู้สึกว่าพล็อตหนังเรื่องนี้สนุกกว่าหนังสยองขวัญหลายเรื่องด้วยกัน และความฮาก็อยู่ในระดับที่พอเหมาะดี

ตอนนี้คิดว่า SEED OF CHUCKY น่าพอใจในระดับน้องๆ WES CRAVEN’S NEW NIGHTMARE (1994, A+/A) เลยแหละhttp://www.imdb.com/title/tt0111686/

Monday, January 24, 2005

GILLES' WIFE (A+)

ตามความเข้าใจของดิฉัน ซึ่งไม่รู้ว่าถูกต้องหรือเปล่า หนังเรื่อง CLASS TRIP ไม่ได้บอกถึงเรื่อง sexually abuse ไว้อย่างชัดเจนค่ะ แต่ดิฉันก็เดาๆเอาตามความเข้าใจของดิฉันได้ดังนี้

1.ในหนังจะพูดถึงฆาตกรที่ฆ่าเด็กชาย ซึ่งดิฉันเข้าใจว่าฆาตกรคนนี้ฆ่าข่มขืนเด็กชาย คงไม่ได้แค่ฆ่าเฉยๆ

2.ดิฉันเข้าใจว่าการที่พระเอกฝันเฟื่องเห็นจินตนาการสยดสยองต่างๆนานา อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่พระเอกอาจเคยถูกพ่อ... ซึ่งดิฉันก็ไม่แน่ใจในจุดนี้เหมือนกัน แต่จะเห็นได้ว่าพระเอกปรารถนาอยู่ตลอดเวลาที่จะให้พ่อของตัวเองตาย และพระเอกจะรังเกียจการถูกพ่อสัมผัสตัวเป็นอย่างมาก มีอยู่บางฉากที่พ่อพระเอกจะแตะตัวพระเอก แต่พระเอกจะแสดงอาการแหยงอย่างรุนแรง

3.ดิฉันเข้าใจว่าพ่อพระเอกอาจจะรังเกียจความเป็น pedophile ของตัวเองเหมือนกัน เพราะที่ข้อมือพ่อพระเอกมีรอยกรีดอยู่ เหมือนกับว่าพ่อพระเอกเคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว

อ่านบทสัมภาษณ์ CLAUDE MILLER เกี่ยวกับ CLASS TRIP ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.filmscouts.com/scripts/interview.cfm?File=cla-nei

EMMANUELLE BERCOT ที่รับบทเป็นคุณครูหญิงใน CLASS TRIP รับบทเป็นตัวประกอบใน RIGHT NOW ด้วยค่ะ บทของเธอใน RIGHT NOW ไม่หนักและเครียดเหมือนอย่างใน CLASS TRIP (ชอบฉากตอนหลังๆของ CLASS TRIP มาก ที่เธอรู้ว่ามีฆาตกรฆ่าเด็กออกอาละวาดอยู่ และเธอเกิดอาการเครียดจัด) แต่บทของเธอใน RIGHT NOW ก็ดูสง่าดี เธออาจจะไม่ได้โชว์ความสามารถทางการแสดงมากเท่าไหร่ใน RIGHT NOW แต่ดิฉันรู้สึกถูกโฉลกกับ EMMANUELLE BERCOT มากค่ะ

ใน RIGHT NOW Emmauelle Bercot รับบทเป็นผู้หญิงที่อยู่ในอาคารเดียวกับพระเอกค่ะ เธอเป็นคนซ่อมเก้าอี้ และนางเอกเดินมาเจอเธอโดยบังเอิญในกลางดึกคืนหนึ่งที่นางเอกนอนไม่หลับ

EMMANUELLE BERCOT เคยกำกับหนังหลายเรื่องด้วยค่ะ ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่น่าดูอย่างสุดๆก็คือเรื่อง CLEMENT (2001) ที่เธอนำแสดงเองด้วย โดยในเรื่องนี้เธอรับบทเป็นหญิงวัยสามสิบปีที่มีเซ็กส์และตกหลุมรักเด็กหนุ่มอายุ 13 ปี

CLEMENT (2001, EMMANUELLE BERCOT)
http://www.imdb.com/title/tt0284970/

ส่วน CLAUDE MILLER เองนั้น ท่าทางจะผูกพันกับประเด็น child abuse เหมือนกัน เพราะเขาเคยกำกับหนังเรื่อง GARDE A VUE (1981, A-) ที่พูดถึงการสอบสวนหาฆาตกรที่ฆ่าข่มขืนเด็กผู้หญิง ดิฉันเคยดูหนังเรื่องนี้ที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้เมื่อราว 8-9 ปีก่อน น่าเสียดายที่ทางสมาคมไม่ยอมนำมาฉายใหม่อีกเลย อยากดู ROMY SCHNEIDER ในหนังเรื่องนี้อีก

--เนื่องจากคำว่า FEMINIST อาจจะมีการตีความได้แตกต่างกันไปมากมาย ดิฉันก็เลยไม่ขอระบุแล้วกันว่าหนังเรื่องไหนบ้างเป็นหนัง FEMINIST แต่รายชื่อหนังที่ได้ดูเหล่านี้อาจจะพูดถึงผู้หญิงและสถานภาพของผู้หญิงได้น่าสนใจดี

1.THIRST (A+) หนังพูดถึงครอบครัวหนึ่งที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง โดยมีสาเหตุหนึ่งมาจากการที่ลูกสาวคนหนึ่งของครอบครัวนี้เคยโดน MOLESTED แต่การที่เธอตกเป็นเหยื่อของผู้ชาย กลับทำให้คนอื่นๆในสังคมมองว่าเธอเป็นผู้หญิงไม่ดี แทนที่จะมองว่าเธอคือเหยื่อผู้น่าสงสาร (อย่างไรก็ดี การที่ครอบครัวนี้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเกิดจากสาเหตุอื่นๆด้วยเหมือนกัน)

2.ANATOMY OF HELL (A+)

3.BEAUTIFUL CITY (A+) เนื้อหาบางช่วงของหนังเรื่องนี้พูดถึงความอยุติธรรมระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในแง่มุมทางกฎหมายด้วย หนึ่งในฉากที่เจ็บปวดมากคือฉากที่ผู้เป็นพ่อรู้ว่า “การตายของผู้ชาย” กับ “การตายของผู้หญิง” นั้น กฎหมายตีค่าเป็นตัวเงินไม่เท่ากัน

4.TO TAKE A WIFE (A+) หนังแสดงให้เห็นถึงภารกิจอันเหนื่อยยากแสนสาหัสของแม่และเมียคนหนึ่ง นางเอกของหนังเรื่องนี้มีจุดหนึ่งที่ตรงข้ามกับ VERA DRAKE นั่นก็คือในขณะที่ VERA DRAKE ดูเหมือนจะเป็น “นาย” ของเวลา และสามารถควบคุมปฏิบัติภารกิจทั้งในบ้านและนอกบ้านได้เป็นอย่างดีโดยไม่ขาดตกบกพร่อง (เธอทำได้อย่างไรกันเนี่ย) นางเอกของ TO TAKE A WIFE ดูเหมือนจะถูก “เวลา” รัดตัวจนแทบจะเป็นบ้า ฉากหนึ่งที่ดูแล้วประทับใจมากคือฉากที่เธอด่ากับสามี ในขณะที่ลูกค้าของเธอก็กำลังถูกสารเคมีกัดหนังศีรษะอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ดี หนังไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเธอเป็นเหยื่อของสังคม, สามี หรือคนอื่นๆเพียงอย่างเดียว แต่เธอตกเป็นเหยื่อของตัวเองด้วยเหมือนกัน ถ้าเธอรักสามีน้อยลง หรือเธอต้องการสามีน้อยลง เธอก็คงไม่เป็นทุกข์เท่านี้

5.VERA DRAKE (A+) เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่หนังเฟมินิสต์แบบตรงๆ แต่ประเด็นเรื่องสิทธิในการทำแท้งก็อาจจะพอเกี่ยวข้องในทางอ้อมๆอยู่บ้าง หนึ่งในฉากที่ประทับใจดิฉันมากๆในหนังเรื่องนี้คือฉากที่ตำรวจหญิงแสดงความเห็นอกเห็นใจวีรา เดรคเป็นอย่างมาก บทบาทของตำรวจหญิงในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกไปถึงบทบาทของตำรวจหญิงในหนังโปรตุเกสเรื่อง THE POLICEWOMAN (2003, JOAQUIM SAPINHO, A+++++++) ด้วยเหมือนกัน เพราะในเรื่อง THE POLICEWOMAN นั้น หนึ่งในฉากที่ซาบซึ้งที่สุดคือฉากที่นางเอกของเรื่องได้รับความเห็นอกเห็นใจจากตำรวจหญิง และ “ได้รับมอบอำนาจในการตัดสินผู้ชาย” จากตำรวจหญิง (ประโยคหลังลอกมาจากสำนวนของคุณอ้วนแห่งเว็บบอร์ด SCREENOUT)

6.YASMIN (A) อันนี้ก็อาจจะไม่ใช่หนังเฟมินิสต์แบบตรงๆ แต่ก็เป็นหนังที่น่าสนใจมากๆๆๆๆในส่วนที่เกี่ยวกับนางเอกของเรื่อง เธอต้องต่อสู้กับทั้งสังคมหัวเก่าและสังคมสมัยใหม่ในขณะเดียวกัน ซึ่งนั่นทำให้เธอแตกต่างจากนางเอกในหนังยุคก่อน 11/09/2001 เป็นอย่างมาก

7.CLEAN (A)

8.UNCONSCIOUS (A-) ภาพพจน์ของผู้หญิงในหนังเรื่องนี้น่าสนใจมากทีเดียว หนังเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นยุคที่ผู้หญิงยังไม่ได้ยอมรับนับถือในแวดวงวิชาการมากเท่าไหร่ แต่ตัวละครผู้หญิงในหนังเรื่องนี้กลับรวมถึง

1.หญิงสาวผู้เฉลียดฉลาดเป็นอย่างยิ่ง เธอตั้งครรภ์แก่ใกล้คลอด แต่เธอกลับบุกลุยเดี่ยวออกตามล่าหาสามีอย่างไม่ครั่นคร้าม

2.ผู้หญิงที่ถูกสามีกลั่นแกล้งด้วยการจับไปขังในโรงพยาบาลบ้า

3.ผู้หญิงที่มีอาการ PENIS ENVY

อย่างไรก็ดี ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจในทัศนคติของหนังเรื่องนี้มีต่อเกย์ และการที่หนังเรื่องนี้เน้นย้ำอย่างเหลือเกินว่าพระเอกของเรื่องนี้มีขนาดของอวัยวะเพศที่ใหญ่มากๆ ก็ทำให้ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจในความเป็นเฟมินิสต์ของหนังเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

9.THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (B+)

10.ENCHANTED หรือ A HEART ELSEWHERE (A+) หนังย้อนยุคเรื่องนี้ไม่ใช่หนังเฟมินิสต์อย่างแน่นอน แต่มีการสอดแทรกประเด็นนี้เข้ามาเล็กน้อย นั่นก็คือฉากที่ตัวละครผู้ชายหลายคนพูดคุยกันว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายใหม่ที่จะให้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งแก่ผู้หญิง ผู้ชายหลายคนในเรื่องหยิบยกเหตุผลต่างๆนานาขึ้นมาว่าผู้หญิงไม่ควรมีสิทธิเลือกตั้งเพราะอย่างนู้นอย่างนี้ จนผู้หญิงคนนึงในโต๊ะทนไม่ไหว เธอไม่กล้าคัดค้านออกมาตรงๆ แต่เธอใช้วิธีถามความเห็นของพระเอกแทน แต่พระเอกกลับมัวแต่หมกมุ่นกับปัญหาของตัวเองจนไมได้ใส่ใจต่อความอยุติธรรมของผู้คนรอบข้าง

11.TIGERWOMEN GROW WINGS (A-)

12.THE SYRIAN BRIDE (A+) นางเอกของหนังเรื่องนี้มีชีวิตแต่งงานที่ไม่มีความสุข แต่เธอก็อดทนเลี้ยงลูกมาจนโต และใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งเธอจะได้รับอิสรภาพในชีวิตอีกครั้ง

ตัวละครหญิงอีกคนในหนังเรื่องนี้ก็พูดประโยคที่ซึ้งมากๆ เธอกำลังจะแต่งงานกับดาราชายชื่อดังคนหนึ่ง แต่เธอกลับพูดในทำนองว่า “บางทีฉันอาจจะเพียงแค่ออกจากกรงขังเก่า เข้าไปอยู่ในกรงขังใหม่” (จำประโยคที่เธอพูดแน่นอนไม่ได้ค่ะ)

ฉากจบของหนังเรื่องนี้ ให้ความรู้สึกสุดยอดมากๆ การแสดงของ HIAM ABBASS ในฉากจบของหนังเรื่องนี้ ทำให้ดิฉันรู้สึกอยากก้มลงกราบแทบเท้าเธอ อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องสถานภาพของสตรีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้เท่านั้น เพราะหนังเรื่องนี้ยังพูดถึงประเด็นการเมือง และความคิดเชิงอคติในอีกหลายๆอย่างนอกเหนือไปจากอคติในเรื่องเพศ

13.GILLES’ WIFE (A+) หนังเรื่องนี้ก็มีจุดนึงที่ตรงกับ TO TAKE A WIFE นั่นก็คือผู้หญิงในหนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพียงเหยื่อของสังคมและเหยื่อของผู้ชายเท่านั้น แต่เธอเป็นเหยื่อของตัวเองด้วย

อีกจุดนึงที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ ก็คือ “กล้อง” ของหนังเรื่องนี้ เน้นถ่ายเรือนร่างบึกบึนล่ำสันของพระเอกได้อย่างถูกใจดิฉันมากๆค่ะ จุดนี้อาจจะมองว่าหนังเรื่องนี้ชื่นชมความงดงามของเรือนร่างของผู้ชายก็ได้ หรือจะมองว่ากล้องของหนังเรื่องนี้ทำให้พระเอกมีสถานะเป็น “วัตถุทางเพศ” ในสายตาของผู้ชมก็ได้เหมือนกัน ขณะที่ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันรู้สึกอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะว่าหนังเรื่องนี้ปฏิบัติต่อเรือนร่างของผู้ชายกับเรือนร่างของผู้หญิงอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะรู้สึกพระเอกของหนังเรื่องนี้จะถอดเสื้อบ่อยมากๆ

ตากล้องของ GILLES’ WIFE เป็นผู้หญิงชื่อ VIRGINIE SAINT-MARTIN ค่ะ
http://www.imdb.com/name/nm0756738/

ถึงแม้ผู้กำกับของ GILLES’ WIFE จะเป็นผู้ชาย แต่หนังเรื่องนี้สร้างมาจากนิยายของ MADELEINE BOURDOUXHE ซึ่งเป็น feminist และหนึ่งในคนร่วมเขียนบทของหนังเรื่องนี้คือ MARION HANSEL ซึ่งเป็นผู้กำกับหญิงที่น่าสนใจมากๆๆ

MARION HANSEL เคยกำกับหนังเรื่อง DUST (1985) และ LES NOCES BARBARES (1987, A) ซึ่งเคยมีผู้นำหนังทั้งสองเรื่องนี้ไปตีความในแง่ของเฟมินิสต์ได้อย่างน่าสนใจมากๆเลย โดย DUST มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงผิวขาวในแอฟริกาใต้ยุคเก่า พ่อของเธอเคยมีเซ็กส์กับผู้หญิงผิวดำที่เป็นคนใช้ในบ้าน สามีของผู้หญิงผิวดำคนนั้นก็เลยมาข่มขืนเธอเพื่อเป็นการแก้แค้นพ่อเธอ หนังเรื่องนี้นอกจากจะนำเสนอปัญหาเรื่องสถานภาพของผู้หญิงในสังคมแล้ว ยังนำเสนอปัญหาเรื่องสีผิวควบคู่กันไปด้วย

ส่วน LES NOCES BARBARES (หรือ THE CRUEL NIGHTS) มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยถูกทหารอเมริกันรุมข่มขืนจนตั้งครรภ์ เมื่อเธอคลอดลูกที่ไม่ต้องการออกมา เธอก็เลยปฏิบัติต่อลูกชายคนนี้อย่างไม่ดีนัก และส่งผลให้ลูกชายคนนี้มีปัญหาทางจิต นักวิจารณ์แนวเฟมินิสต์บางคนบอกว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดฉากข่มขืนออกมาได้ดีมาก เพราะในฉากนั้น เราจะเห็นเพียงโคมไฟแกว่งไปแกว่งมา เหมือนกับสภาพจิตของคนที่โดนข่มขืน ที่พยายามจะบล็อกหรือปิดกั้นความทรงจำอันเลวร้ายนั้นทิ้งไป และจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียงบางส่วน หรือจดจำได้เพียงเป็นห้วงๆเท่านั้น

(อย่าจำ MARION HANSEL สลับกับ MARION VERNOUX เพราะทั้งสองคนนี้เป็นผู้กำกับหญิงเหมือนกัน แต่แนวทางการกำกับแตกต่างกัน)
http://www.imdb.com/name/nm0405578/

หนังอีกเรื่องที่ฉายนอกเทศกาลนี้ แต่เพิ่งได้ดูเมื่อต้นเดือนม.ค. และฝังใจอย่างสุดๆก็คือ THE CASTLE (MICHAEL HANEKE, A++++++++++++++) ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ไม่ใช่หนังเฟมินิสต์ แต่มีตัวละครประกอบบางตัวในเรื่องนี้ที่ฝังใจดิฉันมากๆ ซึ่งก็คือตัวละครหญิงสาวคนนึงในหนังเรื่องนี้ เธอเคยเป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ชายคนนึงที่มาจาก “the castle” แต่ผู้ชายคนนี้เขียนจดหมายมาหาเธอโดยใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ เธอก็เลยโกรธ และฉีกจดหมายนั้นทิ้ง แต่การที่เธอปฏิเสธผู้ชายที่มาจาก THE CASTLE ส่งผลให้คนทั้งหมู่บ้านไม่กล้ามาคบหากับครอบครัวของเธออีกต่อไป ครอบครัวของเธอกลายเป็นหมาหัวเน่าประจำหมู่บ้าน ไม่มีคนมาซื้อสินค้าจากครอบครัวของเธออีก และในที่สุด น้องสาวของเธอก็เลยต้องหาเลี้ยงครอบครัวด้วยการขายตัวให้กับบรรดาคนรับใช้ชายใน THE CASTLE ดิฉันรู้สึกว่าเนื้อหาตรงจุดนี้มันทำร้ายจิตใจดิฉันอย่างรุนแรงมากๆเลยค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าตัวละครผู้หญิงคนนั้นทำถูกแล้วที่ฉีกจดหมายทิ้ง แต่ผลปรากฏว่าชีวิตของเธอกับครอบครัวของเธอกลับถูกทำร้ายอย่างรุนแรงเพียงเพราะเธอปฏิเสธผู้ชายที่เธอไม่ต้องการ

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.GILLES’WIFE (2004, FREDERIC FONTEYNE) A+
http://www.lafemmedegilles.com/EN/index_flash.htm
2.BAD EDUCATION (2004, PEDRO ALMODOVAR) A+/A
3.HOLY LOLA (2004, BERTRAND TAVERNIER) A
4.DOGORA (2004, PATRICE LECONTE) B

MOST DESIRABLE ACTOR
CLOVIS CORNILLAC—GILLES’ WIFE
http://www.chez.com/filmocornillac/portraits.htm
BRUNO PUTZULU—HOLY LOLA
http://www.chez.com/filmoputzulu/

FAVORITE ACTRESS
EMMANUELLE DEVOS—GILLES’ WIFE

FAVORITE ACTOR
JACQUES GAMBLIN—HOLY LOLA

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
LAURA SMET—GILLES’ WIFE
LARA GUIRAO—HOLY LOLA

FAVORITE ENDING
GILLES’ WIFE

Sunday, January 23, 2005

MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN (A+)

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.MYSTERIOUS SKIN (2004, GREGG ARAKI) A+
2.MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN (2004, VALERY TODOROVSKY) A+
http://www.kinokultura.com/reviews/R104frankenstein.html
3.BEING JULIA (2004, ISTVAN SZABO) A
4.MODIGLIANI (2004, MICK DAVIS) B

DESIRABLE ACTOR
1.BILL SAGE—MYSTERIOUS SKIN
http://www.imdb.com/name/nm0756083/
2.TOM STURRIDGE—BEING JULIA (+ VANITY FAIR)
3.SHAUN EVANS (เกิดปี 1980)—BEING JULIA

FAVORITE ACTOR
1.DANIIL SPIVAKOVSKII—MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN
2.JOSEPH GORDON-LEVITT—MYSTERIOUS SKIN
3.BRADY CORBET (BRIAN LACKEY)—MYSTERIOUS SKIN

FAVORITE ACTRESS
1.YELENA YAKOVLEVA—MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
1.ELISABETH SHUE—MYSTERIOUS SKIN
2.MARY LYNN RAJSKUB—MYSTERIOUS SKIN
http://www.imdb.com/name/nm0707476/
3.LUCY PUNCH—BEING JULIA
4.MIRIAM MARGOLYES—BEING JULIA + MODIGLIANI

FAVORITE MUSIC
MYSTERIOUS SKIN—HAROLD BUDD + ROBIN GUTHRIE (อดีตสมาชิกวง cocteau twins)

MYSTERIOUS SKIN เป็นหนังที่ดูแล้วรู้สึกโรแมนติกมากๆ ทั้งที่เนื้อหาในหนังไม่ได้โรแมนติกเลย ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมตัวเองถึงรู้สึกโรแมนติกกับหนังเรื่องนี้ บางทีอาจจะเป็นเพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงหนุ่มเหงา บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้มีดนตรีประกอบที่โดนใจและให้บรรยากาศเหงาหวานอย่างมากๆ เพลงประกอบส่วนใหญ่ในหนังเรื่องนี้เป็นของวง SLOWDIVE แถมมีเพลง CRUSHED ของวง COCTEAU TWINS อยู่ในเรื่องนี้ด้วย

ดู MYSTERIOUS SKIN แล้ว รู้สึกว่า GREGG ARAKI น่าจะขึ้นมาเป็นคู่แข่งของ GUS VAN SANT กับ TODD HAYNES สองเจ้าแม่ผู้กำกับเกย์แห่งสหรัฐได้สบาย เพียงแต่ว่า ARAKI คงไม่เลือกที่จะสร้างหนังกระแสหลักเอง MYSTERIOUS SKIN เป็นหนังที่ใช้ฉากหลังเป็นทศวรรษ 1980 กับต้น 90 ดูแล้วก็เลยนึกถึงหนังบางเรื่องของ GUS VAN SANT อย่างไรก็ดี สไตล์ภาพและการใช้สีบางช่วงที่ปรากฏในหนัง กลับไม่ทำให้นึกถึงหนังฮอลลีวู้ดในยุค 80 แต่ทำให้นึกถึงหนังในยุค 50-60 มากกว่า ก็เลยทำให้นึกถึง TODD HAYNES ด้วยเหมือนกัน

ตัวละครหลักของ MYSTERIOUS SKIN คือชายหนุ่มสองคนที่มีความผูกพันกัน แต่ทั้งสองแทบจะไม่ได้พบกันเลย และทั้งสองก็ไม่ใช่คนรักกันด้วย จุดนี้ก็เลยทำให้ดิฉันรู้สึกโรแมนติกมากๆ ทั้งๆที่เนื้อหาจริงๆของมันไม่ได้โรแมนติก

MYSTERIOUS SKIN มีเนื้อหาบางช่วงพูดถึงการ SEXUALLY ABUSE เด็ก ซึ่งดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่ซ้ำซากมาก แต่การนำเสนอประเด็นนี้ในหนังเรื่องนี้ กลับไม่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่ามันน่าเบื่อหรือซ้ำซากเลย มันดูแตกต่างไปจาก THE BUTTERFLY EFFECT (2004, ERIC BRESS, J. MACKYE GRUBER, A-), CLASS TRIP (CLAUDE MILLER, A+) และ THE CELEBRATION (THOMAS VINTERBERG, A+) ดิฉันรู้สึกว่าหนังทั้งสี่เรื่องนี้นำเสนอเนื้อหาตรงจุดนี้ได้อย่างน่าสนใจมากในแนวทางที่แตกต่างกันไป

เนื้อหาบางช่วงของ MYSTERIOUS SKIN พูดถึงชีวิตเกย์ในนิวยอร์คในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ด้วย ก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็นภาค 2 ของหนังไตรภาคที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ นั่นก็คือหนังไตรภาคที่พูดถึงเกย์นิวยอร์คในยุคต่างๆ โดยภาคแรกคือ A HOME AT THE END OF THE WORLD (2004, MICHAEL MAYER, A+) ที่พูดถึงเกย์นิวยอร์คยุค 1980, ต่อด้วย MYSTERIOUS SKIN ซึ่งเป็นภาคสอง ส่วนภาคสามคือ PARTY MONSTER (2003, FENTON BAILEY, RANDY BARBATO, A) ที่พูดถึงเกย์นิวยอร์คในยุค 80-90

ฉากหนึ่งที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากจานบินตอนต้นเรื่อง แต่ MRS. LACKEY (LISA LONG) กลับบอกว่ามันเป็นบอลลูนตรวจอากาศ

ชอบฉากที่ MRS.LACKEY ใส่ชุดลูกหมีด้วยเหมือนกัน

ฉากรูปภาพ VERMEER ก็ซึ้งมาก ไม่แน่ใจว่าดาราที่เล่นในฉากนี้ชื่อ billy drago หรือเปล่า

ชอบการแสดงของทุกคนในหนังเรื่องนี้มาก มันไม่ได้ดูเป็นธรรมชาติเหมือนอย่าง A HOME AT THE END OF THE WORLD แต่มันเป็นการแสดงในสไตล์ที่ดิฉันชอบ

ไม่รู้มีใครได้ดูดีวีดี TOTALLY F***ED UP ของ GREGG ARAKI แล้วยัง เห็นมีขายในกรุงเทพมานานราว 1-2 เดือนแล้ว

พูดถึง TODD HAYNES ตอนนี้ดีวีดีที่น่าดูมากๆคือ DOTTIE GETS SPANKED ของ TODD HAYNES ที่พูดถึงเกย์วัย 7 ขวบ ดูรายละเอียดการสั่งซื้อดีวีดีหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.zeitgeistfilms.com/videocatalog/product_info.php?products_id=89


--ชอบการถ่ายภาพของ MODIGLIANI ในระดับ A+ ชอบการกำกับหนังเรื่องนี้ในระดับ C- สรุปว่าก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ในระดับประมาณ B

--เห็น ELSA ZYLBERSTEIN ใน MODIGLIANI แล้วรู้สึกสงสารเธอมากๆ ดิฉันชอบเธอในหนังของ RAOUL RUIZ แต่รู้สึกว่าเธอควรจะเลิกเล่นหนังเกี่ยวกับจิตรกรเมื่อราว 100 ปีก่อนได้แล้ว เธอเคยรับบทเป็นโสเภณีขาประจำของวินเซนต์ แวน โก๊ะใน VAN GOGH (1991, MAURICE PIALAT, A++++) ซึ่งเธอก็ดูดี หลังจากนั้นเธอก็มารับบทเป็นนางเอกในหนังเรื่อง LAUTREC (1998, ROGER PLANCHON, B+) แล้วนี่เธอยังจะมาเล่นเป็นคนรักของ MODIGLIANI อีก เธอไม่เบื่อกับบทแบบนี้บ้างหรืออย่างไรนะ

--พูดถึง TOUCH THE SOUND แล้วนึกขึ้นมาได้ว่า สมัยก่อนนู้น เมื่อครั้งยังไปเที่ยวเธค บางทีก็เจอกลุ่มคนหูหนวกเข้าไปเที่ยวเธคด้วยเหมือนกัน แถมคนกลุ่มนี้ยังเต้นตามจังหวะได้อีกด้วย คงเป็นเพราะเสียงเพลงในเธคมันสั่นสะเทือนมากๆ คนกลุ่มนี้ก็เลยสัมผัสจังหวะตึ๊งๆๆๆที่พื้นได้สบาย และเต้นตามจังหวะเพลงแดนซ์ได้ตรงสเต็ปทั้งๆที่หูไม่ได้ยินเสียง

--วันนี้ตอนดู BEING JULIA ที่แกรนด์อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี ทางโรงหนังก็ไม่ยอมเปิดเพลงตอนจบให้ทั้งๆที่ไม่มี Q&A ซึ่งเป็นเรื่องที่แย่มาก เดาว่าเพลงตอนจบหนังเรื่องนี้อาจเป็นเพลง SMOKE GETS IN YOUR EYES ที่เพราะมากๆด้วย

--ตอนดู MODIGLIANI ที่โรงเดียวกันในรอบต่อมา ทางโรงหนังก็ไม่ยอมเปิดเพลง ending credit ให้ในช่วงแรก แต่เดาว่าคงมีคนไปด่า เพราะพอเวลาผ่านไปราว 3-4 นาที เพลงตอนจบหนังถึงดังขึ้นมาอีกครั้งนึง

--ยังดีที่ตอนจบ MYSTERIOUS SKIN ไม่มีปัญหาอะไร ทางโรงแกรนด์อีจีวีเปิดเพลงให้ตามปกติ

Saturday, January 22, 2005

TOUCH THE SOUND (A+)

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.TOUCH THE SOUND (2004, THOMAS RIEDELSHEIMER) A+
2.THE SYRIAN BRIDE (2004, ERAN RIKLIS) A+/A
http://www.syrianbride.com/english.html
3.THE MAGICIAN (2004, JAIME APARICIO) A-
4.THE HUNGARIAN SERVANT (2004, MASSIMO PIESCO, GIORGIO MOLTENI) B+

MOST DESIRABLE ACTOR
EDOARDO SALA—THE HUNGARIAN SERVANT

FAVORITE ACTOR
NERI MARCORE—ENCHANTED

FAVORITE ACTRESS
HIAM ABBAS—THE SYRIAN BRIDE

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
ASHRAF BARHOUM—THE SYRIAN BRIDE

FAVORITE MUSIC
TOUCH THE SOUND

FAVORITE OPENING
TOUCH THE SOUND

FAVORITE ENDING
ENCHANTED
THE SYRIAN BRIDE

--ถึงแม้ดิฉันจะรู้สึกไม่ค่อยดีกับปัญหาขลุกขลักบางอย่างในเทศกาลนี้ในช่วงต้นๆของเทศกาล แต่พอล่วงมาถึงช่วงปลายเทศกาล ดิฉันก็พบว่าตัวเองรู้สึกประทับใจกับเทศกาลนี้ในหลายๆอย่าง ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ประทับใจก็รวมถึงการที่เทศกาลนี้เชิญผู้กำกับมา Q&A เยอะกว่าที่คาดไว้มาก ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ดิฉันประทับใจมากกว่าการเชิญดาราดังๆมาร่วมงานอีก

SHLOMI ELKABETZ, MONIKA TREUT, OLIVIER ASSAYAS, JAIME APARICIO (รู้สึกเขาจะมีปัญหาเรื่องภาษาอังกฤษ ยังดีที่ทางเทศกาลเตรียมล่ามภาษาสเปนไว้ให้เขา) และ SILVIO CAIOZZI คือผู้กำกับที่มาร่วม Q&A ในรอบที่ดิฉันได้ไปดูค่ะ ส่วนดาราที่มาร่วม Q&A ที่ได้เจอก็คือ VINCENT BONILLO ที่เป็นพระเอกของเรื่อง ABSOLUT บุคคลเหล่านี้ทำให้รู้สึกดีกับเทศกาลนี้ขึ้นมามาก
http://www.absolut-film.com/presse/index.html

--อ่านที่ทุกๆคนเขียนแล้วทำให้อยากดูหนังอีกมากมายหลายเรื่อง ทั้ง LAND OF PLENTY, WOMAN OF BREAKWATER, OUT OF THE FOREST, WHAT REMAINS OF US, BOAT OUT OF WATERMELON RINDS, PEEP TV SHOW, ELECTRIC SHADOWS, ETC. ความรู้สึกที่ดิฉันได้รับจากการอ่านสิ่งที่คนอื่นๆเขียน ตรงกับความรู้สึกที่ MARK OLSEN เขียนไว้ในบทความเรื่องเทศกาลหนังโตรอนโตในนิตยสาร FILM COMMENT โดยเขาเขียนไว้ว่า

“WHATEVER SCREENING YOU ATTEND, YOU HAVE THE NEAR-CONSTANT FEELING THAT YOU SHOULD BE SEEING SOMETHING ELSE.” (ไม่ว่าคุณกำลังดูหนังเรื่องอะไรอยู่ คุณจะรู้สึกในขณะเดียวกันว่าบางทีฉันน่าจะเลือกดูหนังอีกเรื่องนึงดีกว่านะ)

--คุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์เขียนถึง “THEY CAME BACK” ไว้ในนิตยสาร FLICKS เล่มใหม่

--ประทับใจกับความน่ารักน่าหยิกของ NIKOLAJ LIE KAAS ใน RECONSTRUCTION มากๆ ตอนนี้เขามีผลงานหนังอีกเรื่องนึงที่น่าดูมากๆ นั่นก็คือ BROTHERS ของ SUSANNE BIER ผู้กำกับหญิงชาวเดนมาร์ค

คำวิจารณ์หนังเรื่อง BROTHERS ที่นำแสดงโดย NIKOLAJ LIE KAAS
http://www.shadowsonthewall.co.uk/04/art-q.htm#brot

--ในหนังเรื่อง TOUCH THE SOUND มีโปสเตอร์หนังเรื่อง Hysterical BLINDNESS โผล่เข้ามาแวบนึง แต่คงเป็นเรื่องบังเอิญ คงไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของผู้กำกับ แต่ก็ดูตลกดี

--อยากดู TOUCH THE SOUND สองรอบ โดยรอบสองจะลองหลับตาดู เพราะเสียงดนตรีในหนังเรื่องนี้มันไพเราะและกระตุ้นจินตนาการมากๆ รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายภาพได้สวยมาก และเลือกภาพมาเข้ากับดนตรีได้ดีมากก็จริง แต่พอลองหลับตาดู ฟังแต่เสียงเพลง และจินตนาการภาพขึ้นมาเองตามเสียงเพลง ก็รู้สึกสนุกมากๆเช่นกัน

--TOUCH THE SOUND เหมือนเป็นหนังที่ขยายโสตประสาท เพราะพอเดินออกมาจากโรงหนัง จะรู้สึกว่าหูของตัวเองคอยสังเกตเสียงต่างๆที่ไม่เคยสังเกตมาก่อน ทั้งเสียงเครื่องเป่าลมในห้องน้ำ, เสียงประตูห้องน้ำลั่นเอี๊ยดอ๊าด, etc. เพิ่งรู้สึกเป็นครั้งแรกว่าเสียงเล็กๆน้อยๆเหล่านี้มันน่าสนใจดี (แต่ไม่รวมถึงเสียงผายลมของคนในห้องน้ำห้องข้างๆ)

---รู้สึกว่า TOUCH THE SOUND เหมาะจะควบกับหนังสารคดีเรื่อง DUTCH LIGHT (2003, PIETER-RIM DE KROON, A+) อย่างมาก เพราะเรื่องนึงทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับความงดงามอย่างสุดยอดของเสียง แต่อีกเรื่องนึงทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับความงดงามอย่างสุดยอดของแสง

--THE SYRIAN BRIDE เป็นหนังที่ดูตลาดๆ แต่ก็ดูสนุกดี หนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็นส่วนผสมระหว่าง THE KITE (2003, RANDA CHAHAL SABAG, A-) กับ MONSOON WEDDING (MIRA NAIR, A) ดิฉันรู้สึกว่า THE KITE กับ MONSOON WEDDING อาจจะมีความเป็นศิลปะ, มีความซับซ้อน หรือมีความลุ่มลึกมากกว่า THE SYRIAN BRIDE แต่ดิฉันกลับรู้สึกอินกับ THE SYRIAN BRIDE มากกว่า

--THE MAGICIAN กับ THE HUNGARIAN SERVANT ก็ดูเป็นหนังสูตรๆที่ไม่ค่อยมีอะไรแปลกใหม่เช่นกัน แต่ดิฉันรู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้ดูเพลินๆสนุกๆดี

--อีกฉากที่ชอบมากใน RIGHT NOW คือฉากตอนต้นเรื่องที่นางเอกมีเซ็กส์กับพระเอก แล้วก็มีเสียงนางเอกพูดขึ้นมาในทำนองว่า “นี่ช่างเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุข นี่เป็นชีวิตในความฝันหรือเปล่านะ” (จำประโยคแน่นอนในฉากนี้ไม่ได้ค่ะ ใครจำได้ช่วยบอกที) แล้วภาพก็มืดไป แล้วหลังจากฉากนี้เป็นต้นไป นางเอกก็ได้เรียนรู้ว่าชีวิตของเธอไม่ได้มีแต่ความสุข เพราะความสุขที่มาในรูปของแฟนหนุ่มนั้น มันมาพร้อมกับความทุกข์ด้วย

--ดู RECONSTRUCTION แล้วก็นึกถึงหนังอีกเรื่องนึงด้วยเหมือนกัน นั่นก็คือ THE BREAD OF THOSE EARLY YEARS (1962, HERBERT VESELY, A+) เพราะ THE BREAD OF THOSE EARLY YEARS มีเนื้อหาเกี่ยวกับหนุ่มหล่อคนนึงที่มีแฟนสาวสวยอยู่แล้ว แต่พอเขาไปเจอหญิงสาวคนหนึ่ง (ที่หน้าตาคล้ายๆแฟนของเขา) ในสถานีรถไฟ เขาก็ตกหลุมรักหญิงสาวคนใหม่นี้ และหนังก็เล่าถึงเหตุการณ์หนึ่งวันในชีวิตของตัวละครกลุ่มนี้ โดยมีฉากที่สถานีรถไฟใส่เข้ามาหลายครั้ง และหนังก็เล่าเรื่องไม่เรียงตามลำดับเวลา อย่างไรก็ดี หนังสองเรื่องนี้ก็แตกต่างกันเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้ THE BREAD OF THOSE EARLY YEARS จะพูดถึงชายหนุ่มที่จิตใจโลเลระหว่างหญิงสาวสองคนที่หน้าตาคล้ายกัน แต่หนังเรื่องนี้ก็เน้นประเด็นเรื่องสภาพสังคมและชนชั้นเป็นหลัก ในขณะที่ RECONSTRUCTION จะไม่มีประเด็นนี้เลย

--เห็น BEATRICE DALLE ใน CLEAN แล้วจำเธอแทบไม่ได้เลย เธอดูแตกต่างจากใน TROUBLE EVERY DAY เป็นอย่างมาก ตอนนี้ก็เลยอยากดูหนังเรื่อง THE INTRUDER ของ CLAIRE DENIS เป็นอย่างมาก เพราะ BEATRICE DALLE เล่นหนังเรื่องนี้ด้วย โดยรับบทเป็น “QUEEN OF THE NORTHERN HEMISPHERE”

--OLAF MOLLER เขียนไว้ใน FILM COMMENT ว่าหนังที่เข้าขั้นมาสเตอร์พีซในเทศกาลเวนิซปีที่แล้ว กลับเป็นหนังสองเรื่องที่ไม่ได้เข้าประกวดสิงโตทองคำ นั่นก็คือ THE INTRUDER ของ CLAIRE DENIS กับ KINGS AND QUEENS ของ ARNAUD DESPLECHIN


หนังหลายเรื่องในเบอร์ลินปีนี้น่าสนใจมากๆเลย

ที่เชียร์เป็นพิเศษก็คือ

1.PARADISE NOW เพราะเคยดูหนังเรื่อง FORD TRANSIT (2002, HANY ABU-ASSAD, A++++++) ในเดือนม.ค.ปีที่แล้ว รู้สึกประทับใจอย่างสุดๆ FORD TRANSIT เป็นหนังสารคดีที่เล่าเรื่องของหนุ่มชาวปาเลสไตน์คนนึงที่หล่อมาก (ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน) แต่ชีวิตของเขามันช่างเต็มไปด้วยอุปสรรค และตอนจบของหนังเรื่องนี้มันฝังใจมากๆเลย

2.GHOSTS เพราะเคยดู THE STATE I AM IN (2000, CHRISTIAN PETZOLD, A++++++++) ในเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพ แล้วประทับใจมากๆเช่นกัน

ส่วน ANDRE TECHINE, ALAIN CORNEAU, JACQUES AUDIARD กับ SOKUROV นั้นก็ชอบเหมือนกัน แต่พวกเขาดังพอแล้วล่ะ ไม่ต้องได้รางวัลเพิ่มมากไปกว่านี้หรอก ขอรางวัลให้กับผู้กำกับที่ยังไม่ดังมากนักอย่าง ABU-ASSAD กับ PETZOLD จะดีกว่า

RACHIDA BRAKNI ร่วมแสดงใน ONE DAY IN EUROPE ด้วย ดาราหญิงคนนี้เคยฝากฝีมือการแสดงอันน่าตกตะลึงเอาไว้ในหนังฝรั่งเศสเรื่อง CHAOS (2001, COLINE SERREAU) ที่เคยมาฉายทางช่อง HBO

อย่างไรก็ดี ดิฉันไม่แน่ใจว่า ONE DAY IN EUROPE จะเป็นหนังที่น่าดูจริงหรือเปล่า เพราะเพิ่งได้ดูหนังเรื่อง BERLIN IS IN GERMANY (2001, HANNES STOHR, B+) ที่สถาบันเกอเธ่เมื่อไม่กี่เดือนก่อน แล้วรู้สึกว่าหนังมันยังไม่ถึงขั้นที่น่าพอใจ หวังว่า HANNES STOHR คงพัฒนาฝีมือขึ้นมาจากเดิมบ้างแล้วนะ

Friday, January 21, 2005

PRIVATE (A+)

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.PRIVATE (2004, SAVERIO COSTANZO) A+
2.ENCHANTED (2003, PUPI AVATI) A+
3.ANTARES (2004, GOTZ SPIELMANN) A
http://www.antares-themovie.com/
4.TIGERWOMEN GROW WINGS (2005, MONIKA TREUT) A-

DESIRABLE ACTOR
DENNIS CUBIC—ANTARES

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
ANDREAS KIENDL—ANTARES


--TIGERWOMEN GROW WINGS มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับผู้กำกับ FORMULA 17 และมีเบื้องหลังการถ่ายทำ FORMULA 17 (B+) แทรกเข้ามาเล็กน้อย

--MONIKA TREUT ผู้กำกับ TIGERWOMEN GROW WINGS มาปรากฏตัวพูดคุยกับผู้ชมที่โรงหนังด้วย น่าเสียดายที่ผู้ชมมีจำนวนน้อย ทั้งๆที่หนังเรื่องนี้เพิ่งตัดต่อเสร็จ และ “เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ของโลก” ที่กรุงเทพนี่เอง

---คาดว่า TIGERWOMEN GROW WINGS จะได้เปิดฉายในเทศกาลหนังเบอร์ลินปีนี้เป็นลำดับถัดไป

--อ่านข้อมูลของ MONIKA TREUT ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ได้ที่ http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=1644
http://www.hyenafilms.com/

--โครงการลำดับถัดไปของ MONIKA TREUT คือการกำกับหนังสารคดีเกี่ยวกับหญิงสาวอายุ 17 ปีคนหนึ่งในไต้หวัน

--ทั้ง MONIKA TREUT, ULRIKE OTTINGER และ ROSA VON PRAUNHEIM ต่างก็เป็นผู้กำกับหนังเยอรมันที่เคยถนัดในการทำหนังแสบๆเกี่ยวกับเกย์,เลสเบียนมาก่อน แต่ไม่รู้เพราะอะไร ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้ง TREUT, OTTINGER และ PRAUNHEIM ถึงหันมาสร้างหนังสารคดีกันเป็นการใหญ่

--เนื้อหาของ TIGERWOMEN GROW WINGS แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ นั่นก็คือ

1.ส่วนที่เกี่ยวกับอดีตดารางิ้ว เธอเป็นหญิงชรา ในวัยเด็กเธอถูกขายให้กับคณะละครงิ้ว และเธอก็มักแสดงเป็นผู้ชายอยู่เสมอ เธอแสดงเป็นผู้ชายมานาน 40 ปีจนกระทั่งได้รับรางวัล BEST ACTRESS จากบทของผู้ชาย

2.ส่วนที่เกี่ยวกับนักเขียนหญิงวัยกลางคน ซึ่งถนัดในการเขียนนิยายที่มีเนื้อหาอื้อฉาว แต่แม่ของเธอไม่เคยอ่านสิ่งที่เธอเขียนเลย

3.ส่วนที่เกี่ยวกับผู้กำกับ FORMULA 17

--TREUT ตั้งใจเลือกนำเสนอชีวิตของผู้หญิงสามวัย เพื่อสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมไต้หวัน เพราะในขณะที่ดารางิ้วหญิงเคยรู้สึกมีปมด้อยที่ตัวเองได้เล่นแต่บทของผู้ชาย ผู้กำกับ FORMULA 17 กลับไม่พบอุปสรรคแต่อย่างใดในการสร้างหนังเกย์

--ดู TIGERWOMEN GROW WINGS แล้วถึงเพิ่งรู้ว่ากลุ่มของเจียงไคเช็คเคยฆ่าคนในไต้หวันตายไปมากมายมหาศาลในยุค white terror

--เคยดูหนังไต้หวันมาหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึง A CITY OF SADNESS (1989, HOU HSIAO-HSIEN, A-) แต่นึกไม่ออกว่ามีหนังเรื่องไหนที่นำเสนอประวัติศาสตร์อันโหดร้ายตรงจุดนั้นอย่างตรงไปตรงมาบ้าง รู้สึกประหลาดดีที่ได้มารู้จักประวัติศาสตร์ของไต้หวันจากหนังเยอรมัน แทนที่จะได้เรียนรู้จากหนังไต้หวันเอง จริงๆแล้ว A CITY OF SADNESS ก็เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ตรงจุดนั้นเหมือนกัน แต่เนื่องจาก A CITY OF SADNESS คงไม่ได้ตั้งใจจะสอนประวัติศาสตร์ ดิฉันดูหนังเรื่องนั้นแล้วก็เลยงุนงงเป็นอย่างมาก

--คิดๆไปแล้วก็คงจะมีหนังหลายเรื่องที่เข้าข่ายทำนองนี้เหมือนกัน เพราะในขณะที่ดิฉันได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไต้หวันจากหนังเยอรมัน แทนที่จะได้เรียนรู้จากหนังไต้หวัน หนังหลายเรื่องที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เยอรมันในยุคนาซี ก็ไม่ใช่หนังของประเทศเยอรมนีเองเช่นกัน

--ANTARES เป็นหนังที่ชอบมากกว่าที่คาด เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งดู DER NACHBAR (1993, GOTZ SPIELMANN, B) แล้วรู้สึกไม่ค่อยประทับใจมากเท่าไหร่ พอดู DER NACHBAR เสร็จ ก็รู้สึกลังเลใจว่าจะเอาตั๋ว ANTARES ที่ซื้อไว้แล้วไปให้คนอื่นๆฟรีดีไหมเนี่ย

ANTARES เป็นหนังที่เล่าถึงชีวิตเส็งเคร็งของตัวละครกลุ่มหนึ่ง ดูแล้วก็ทำให้นึกถึงหนังออสเตรียในแนวทางเดียวกันอย่าง DOG DAYS (2001, ULRICH SEIDL, A+/A) และ FREE RADICALS (2003, BARBARA ALBERT, A+)

ถึงแม้ดิฉันจะชอบ ANTARES น้อยกว่า DOG DAYS และ FREE RADICALS และรู้สึกไม่ค่อยชอบตัวละครบางตัวใน ANTARES โดยเฉพาะตัวละครผู้ชายที่พยายามตามง้อแฟนเก่า กับตัวละครแคชเชียร์สาวขี้ระแวง แต่อารมณ์โดยรวมๆของ ANTARES ก็เข้าทางดิฉันมากๆ รู้สึกว่าตัวเองสามารถปล่อยอารมณ์ให้ไปกับหนังได้เรื่อยๆ โดยอาจจะรู้สึกรำคาญตัวละครขึ้นมาบ้างเป็นครั้งคราว

--ดู ANTARES กับ DER NACHBAR แล้วแทบไม่รู้เลยว่าเป็นผู้กำกับคนเดียวกัน ANTARES ดูใจเย็น เยือกเย็น และสุขุมดี ตัวละครใน ANTARES ก็ดูน่าสนใจในระดับปานกลาง แต่ใน DER NACHBAR นั้น ตัวละครไม่น่าสนใจเลย อย่างไรก็ดี จุดที่เหมือนกันระหว่างหนังสองเรื่องนี้ ก็คือประเด็นเรื่องผู้หญิงที่ถูก abuse

--หนังอีกเรื่องที่อาจจะพอนำมาดูควบกับ ANTARES ได้ก็คือ LA VIE MODERNE (2000, LAURENCE FERREIRA BARBOSA, A+) ที่เล่าถึงชีวิตของตัวละคร 3 คนที่ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกันสักเท่าไหร่ หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย ISABELLE HUPPERT กับ LOLITA CHAMMAH ซึ่งเป็นลูกสาวของ HUPPERT เอง

--ดู PRIVATE แล้วรู้สึกอินและลุ้นระทึกไปกับสถานการณ์ของตัวละครในหนังมากๆ ดูแล้วรู้สึกลุ้นพอๆกับตอนที่ดู THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE (1974, TOBE HOOPER, A+) หนังทั้งสองเรื่องนี้เป็นหนังที่มีแนวทางตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่บางฉากดิฉันกลับรู้สึกลุ้นและกลัวจนแทบปัสสาวะราดเหมือนๆกัน เพราะในขณะที่ดู THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE นั้น ดิฉันจะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองกำลังหนีฆาตกรโรคจิตอยู่ ไม่รู้ว่าตัวเองกับเพื่อนๆจะหนีรอดหรือเปล่า ส่วนในขณะที่ดู PRIVATE นั้น ดิฉันก็รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองกำลังซ่อนตัวจากทหารอิสราเอลอยู่ รู้สึกเครียดมาก (แต่เครียดแบบสนุก) เพราะไม่รู้ว่าตัวเองกับครอบครัวจะถูกทหารอิสราเอลฆ่าล้างบางเมื่อไหร่

--ดู ENCHANTED แล้วร้องไห้ค่ะ รู้สึกว่าเทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่ทำให้ดิฉันรู้สึกโรแมนติกไปกับหนังอย่างมากๆจริงๆ เพราะถึงแม้หนังบางเรื่องในเทศกาลนี้จะไม่ใช่หนังโรแมนติก แต่ก็รู้สึกอินไปกับความรักของตัวละครอย่างมากๆ

--หนังที่ทำให้ดิฉันรู้สึกอินกับความรักของตัวละครอย่างมากๆในเทศกาลนี้ก็รวมถึง RIGHT NOW, DUCK SEASON, ENCHANTED, RECONSTRUCTION และ AFTER MIDNIGHT

--ดู DUCK SEASON แล้วก็ร้องไห้เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็นหนังที่ออกมาในทางตลก สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะรู้สึกอินกับตัวละคร MOKO อย่างมากๆ ถ้าหากดิฉันไม่อินกับตัวละครตัวนี้ ดิฉันก็คงจะรู้สึกว่า DUCK SEASON เป็นเพียงหนังน่ารักๆเรื่องนึง แต่พอดิฉันรู้สึกอินกับตัวละคร MOKO หนังเรื่องนี้ก็เลยทำให้ดิฉันรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดอย่างรุนแรง

--เป็นเรื่องยากที่จะเปรียบเทียบความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อหนัง 3 อันดับแรกในเทศกาลนี้ เพราะความรู้สึกชอบที่มีต่อหนังแต่ละเรื่องแตกต่างกันไป ดิฉันชอบ RIGHT NOW มากเพราะรู้สึกอินกับนางเอกอย่างมากๆตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้รู้สึกอารมณ์พุ่งปรี๊ดถึงขีดสุดในระหว่างที่ดู แต่รู้สึกมีความสุขอย่างมากๆในแบบคงเส้นคงวาตั้งแต่ฉากเปิดจนถึงฉากปิด โดยที่ไม่มีฉากไหนในเรื่องนี้ที่รู้สึกไม่ชอบหรือไม่อินเลย

--ส่วน DUCK SEASON นั้น รู้สึกเฉยๆในช่วงต้นเรื่อง เพราะยังไม่อินกับตัวละครตัวไหนทั้งสิ้น มารู้สึกอินกับ MOKO ในช่วงกลางเรื่อง และพอรู้สึกอินกับตัวละครตัวนี้ปุ๊บ ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้ก็พุ่งสูงขึ้นมาอย่างกะทันหัน และมาพุ่งปรี๊ดถึงขีดสุดในช่วงใกล้จบ แต่นั่นคงไม่ได้เป็นเพราะหนังเรื่องนี้เป็นหนังดี แต่เป็นเพราะหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงชีวิตบางช่วงของตัวเอง

--ส่วน RECONSTRUCTION นั้น ดูแล้วไม่รู้สึก IDENTIFY กับตัวละครในหนังเหมือนอย่าง RIGHT NOW หรือ DUCK SEASON แต่รู้สึกทึ่งกับความสามารถของผู้กำกับ+คนเขียนบท, ทึ่งกับการถ่ายทำ และรู้สึกอินกับบรรยากาศและอารมณ์บางอย่างในหนัง อย่างไรก็ดี มีบางฉากใน RECONSTRUCTION ที่ดิฉันรู้สึกอารมณ์สะดุดๆ หรืออารมณ์พุ่งขึ้นพุ่งลง ในขณะที่อารมณ์ของดิฉันขณะที่ดู RIGHT NOW ไม่สะดุดเลย สรุปว่า RECONSTRUCTION ทำให้ทึ่งกับตัวหนังและผู้กำกับ แต่ RIGHT NOW ดูแล้วรู้สึกมีอารมณ์ร่วมมากกว่า แต่นั่นคงไม่ใช่เป็นเพราะว่า RIGHT NOW ดีกว่า RECONSTRUCTION แต่เป็นเพราะว่า RIGHT NOW เล่าเรื่องผ่านทางตัวละครหญิงที่ดิฉันสามารถ IDENTIFY ด้วยได้ ในขณะที่ RECONSTRUCTION เล่าเรื่องผ่านทางตัวละครชายที่ดิฉันไม่ชอบนิสัยของเขาสักเท่าไหร่

--นักวิจารณ์บางคนบอกว่าสิ่งที่ควรสังเกตใน VERA DRAKE คือท่าเดินของนางเอกในช่วงต้นเรื่อง กับท่าเดินของนางเอกในฉากรองสุดท้าย


ส่วนที่ชอบมากๆในหนังแต่ละเรื่อง

MONDOVINO—ชอบเรื่องราวของพ่อ, ลูกสาว, ลูกชายของครอบครัวนึงมาก ที่พ่อดูเหมือนจะชอบลูกสาวมากกว่าลูกชาย แต่ลูกสาวกลับไปทำงานให้บริษัทอื่น ในขณะที่ลูกชายกลับอยู่ทำงานให้พ่อ ดิฉันชอบตัวลูกสาวในหนังเรื่องนี้มากๆเลยค่ะ

CLEAN—ชอบฉากจางม่านอี้เสพยาในรถช่วงต้นเรื่อง แล้วก็ฉายให้เห็นรถคันนั้นอยู่ท่ามกลางภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยโรงงาน

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยค่ะว่า JEANNE BALIBAR ร้องเพลง เพิ่งจะรู้จากที่คุณ BATEAU IVRE เขียนเอาไว้ ขอบคุณมากๆค่ะ
http://www.amazon.fr/exec/obidos/ASIN/B0000CC62K/qid%3D1106244327/171-3316164-8162649

RIGHT NOW—ชอบฉากที่นางเอกวิ่งลงจากรถยนต์ แล้วเตลิดหายไปในท้องถนนยามค่ำคืน

--ชอบฉากที่นางเอกยิ้มให้หนุ่มหล่อในร้านอาหารช่วงต้นเรื่อง แต่พอหนุ่มหล่อคนนั้นนั่งลงข้างนางเอก นางเอกกลับโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ และผลุนผลันออกไปในทันที


ส่วนที่ชอบมากๆใน BIRTH ก็คือบรรยากาศและมาดของนักแสดงหญิงแต่ละคนในเรื่องค่ะ บรรยากาศของหนังเรื่องนี้มันดูเยียบเย็นดี และนักแสดงหญิงแต่ละคนก็ดูดีมาก นอกจากนี้ ช่วงท้ายๆของหนังก็ทำออกมาได้ถูกใจดิฉันมากๆด้วย ส่วนฉากที่นิโคล คิดแมนเข้าไปดูโอเปรานั้น ก็เป็นฉากที่ “คลาสสิค” มากๆค่ะ

ดาราหญิงที่ดิฉันชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือ ANNE HECHE, LAUREN BACALL, ALISON ELLIOTT (ในบทพี่สาวนางเอก), CARA SEYMOUR ในบทแม่ของเด็กชาย และ ZOE CALDWELL ในบทของหญิงชราคนนึงที่ชอบอยู่กับลอเรน เบคอลล์ ซึ่งดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเธอมีฐานะอะไรในครอบครัวของนางเอก

CARA SEYMOUR เคยเล่นหนังเรื่อง GANGS OF NEW YORK (MARTIN SCORSESE, A+), ADAPTATION (A), AMERICAN PSYCHO (A-) และ DANCER IN THE DARK (A+)
http://www.imdb.com/name/nm0786806/

Thursday, January 20, 2005

RIGHT NOW

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.RIGHT NOW (2004, BENOIT JACQUOT) A+
2.DUCK SEASON (2004, FERNANDO EIMBCKE) A+ หนังเรื่องนี้มีฉากต่อท้าย ending credit
3.MONDOVINO (2004, JONATHAN NOSSITER) A
4.ABSOLUT (2004, ROMED WYDER) B+

สรุปอันดับเล่นๆในตอนนี้ (ความหล่อของผู้กำกับชายและนักแสดงชายมีอิทธิพลสูงมากต่อการจัดอันดับของดิฉันค่ะ โฮะ โฮะ โฮะ)
1.RIGHT NOW (2004, BENOIT JACQUOT) A+
2.DUCK SEASON (2004, FERNANDO EIMBCKE) A+
3.RECONSTRUCTION (2003, CHRISTOFFER BOE) A+
4.THIRST (2004, TAWFIK ABU WAEL) A+ 5.CACHIMBA (2004, SILVIO CAIOZZI) A+
6.AFTER MIDNIGHT (2004, DAVIDE FERRARIO) A+
http://www.medusa.it/dopomezzanotte/
7.ANATOMY OF HELL (2004, CATHERINE BREILLAT) A+/A
8.BEAUTIFUL CITY (2004, ASGHAR FARHADI) A+/A
9.TO TAKE A WIFE (2004, RONIT ELKABETZ + SHLOMI ELKABETZ) A+/A
10.VERA DRAKE (2004, MIKE LEIGH) A+/A
11.MONDOVINO (2004, JONATHAN NOSSITER) A
12.YASMIN (2004,KENNY GLENAAN) A
13.FORGIVENESS (2004, IAN GABRIEL) A
14.IMELDA (2003, RAMONA DIAZ) A
15.SCHIZO (2004, GUKA OMAROVA) A
16.CLEAN (2004, OLIVIER ASSAYAS) A
17.IN MY FATHER’S DEN (2004, BRAD MCGANN) A/A-
18.UNCONSCIOUS (2004, JOAQUIN ORISTRELL) A-
19.BONJOUR MONSIEUR SHLOMI (2003, SHEMI ZARHIN) A-
20.CHILDSTAR (2004, DON MCKELLAR) A-
21.ABSOLUT (2004, ROMED WYDER) B+
22.THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (2004, JAMES LEE) B+/B
23.MY FATHER IS AN ENGINEER (2004, ROBERT GUEDIGUIAN) B-
24.FOREVER (2003, ALESSANDRO DE ROBILANT) B-

MOST DESIRABLE DIRECTOR
1.SHLOMI ELKABETZ—TO TAKE A WIFE
2.JONATHAN NOSSITER—MONDOVINO
3.OLIVIER ASSAYAS—CLEAN
4.DON MCKELLAR—CHILDSTAR

DESIRABLE ACTOR
1.NICOLAS DUVAUCHELLE—RIGHT NOW
http://www.imdb.com/name/nm0245164/bio
http://www.cinemotions.com/modules/Artistes/fiche/22606/Nicolas-Duvauchelle.html
2.MATTHEW MACFADYEN—IN MY FATHER’S DEN
3.BRENDAN FEHR—CHILDSTAR
4.OSHRI COHEN—BONJOUR MONSIEUR SHLOMI
5.NIKOLAJ LIE KAAS—RECONSTRUCTION

FAVORITE ACTRESS
1.ISILD LE BESCO—RIGHT NOW
http://www.imdb.com/name/nm0494066/
2.MARIA BONNEVIE—RECONSTRUCTION
3.TARANEH ALIDOOSTI—BEAUTIFUL CITY
4.IMELDA STAUNTON—VERA DRAKE
5.RONIT ELKABETZ—TO TAKE A WIFE

FAVORITE ACTOR
1.ARNOLD VOSLOO-FORGIVENESS
2.BABAK ANSARI—BEAUTIFUL CITY
3.SIMON ABKARIAN—TO TAKE A WIFE
4.PABLO SCHWARZ—CACHIMBA
5.LUIS TOSAR—UNCONSCIOUS

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
1.HELEN COKER—VERA DRAKE
2.LAETITIA SPIGARELLI--CLEAN
3.JEANNE BALIBAR—CLEAN
4.EMMANUELLE BERCOT—RIGHT NOW
5.ALEX KELLY—VERA DRAKE

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
1.PHIL DAVIS—VERA DRAKE
2.PETER WIGHT—VERA DRAKE
3.EDUARD TABISHEV—SCHIZO

FAVORITE CINEMATOGRAPHY
1.MANUEL ALBERTO CLARO—RECONSTRUCTION
2.AFTER MIDNIGHT
3.MIGUEL ABAL—CACHIMBA
4.ANATOMY OF HELL
5.ASAF SUDRI—THIRST

FAVORITE MUSIC
THOMAS KNAK—RECONSTRUCTION

FAVORITE EDITING
LUC BARNIER--RIGHT NOW

FAVORITE OPENING
1.TO TAKE A WIFE
2.CACHIMBA

FAVORITE ENDING
1.THIRST
2.BEAUTIFUL CITY
3.YASMIN
4.TO TAKE A WIFE
5.VERA DRAKE

Wednesday, January 19, 2005

VERA DRAKE

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.VERA DRAKE (2004, MIKE LEIGH) A+/A
2.CLEAN (2004, OLIVIER ASSAYAS) A
3.CHILDSTAR (2004, DON MCKELLAR) A-
4.THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (2004, JAMES LEE) B+/B


MOST DESIRABLE ACTOR FOR TODAY
BRENDAN FEHR--CHILDSTAR
http://www.brendanfehr.com

ก่อนหน้านี้ BRENDAN FEHR เคยเล่นหนังเรื่อง
1.EDGE OF MADNESS (2002, C)
2.FINAL DESTINATION (2000, B+)
3.DISTURBING BEHAVIOR (1998, DAVID NUTTER, B-)

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
HELEN COKER (ตำรวจหญิง)—VERA DRAKE
ก่อนหน้านี้ HELEN COKER เคยรับบทเป็นสาวใช้ของมิส มาทิลดา ครอว์ลีย์ และเป็นคนที่คอยชิงดีชิงเด่นกับ BECKY SHARP มาแล้วใน VANITY FAIR

FAVORITE GUEST APPEARANCE
FENELLA WOOLGAR—VERA DRAKE
ชอบดาราหญิงคนนี้มากๆจาก BRIGHT YOUNG THINGS และก็รู้สึกดีใจมากที่ได้เห็นเธออีกครั้งใน VERA DRAKE แต่น่าเสียดายที่เธอโผล่มาแค่แป๊บเดียว

FAVORITE ENSEMBLE ACTING
VERA DRAKE (รู้สึกว่าการแสดงในหนังส่วนใหญ่ของไมค์ ลี ถูกโฉลกกับดิฉันอย่างมากๆ)


--ตอนนี้อันดับ 1-4 ของดิฉันประจำเทศกาลนี้ยังคงเป็น RECONSTRUCTION, THIRST, CACHIMBA และ AFTER MIDNIGHT

--เห็นด้วยกับคุณเจ้าชายน้อยค่ะเรื่องตอนจบของ IN MY FATHER’S DEN รู้สึกว่าเขาตัดสลับเนื้อเรื่องอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการเอาฉากนั้นมาใส่ไว้ตอนจบของหนังทำให้รู้สึกงดงามมากๆ

--ปกติดิฉันชอบหนังที่ตัดสลับเรื่องราวไปมา แต่มีอยู่สองเรื่องในงานนี้ที่เล่าเรื่องแบบสลับไปมา แต่ตัวเองกลับไม่รู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับมันเลย นั่นก็คือ FOREVER กับ MY FATHER IS AN ENGINEER

--อย่างไรก็ดี ถึงแม้ดิฉันจะไม่ค่อยชอบหนังสองเรื่องนี้ แต่หนังสองเรื่องนี้ก็มีส่วนที่ประทับใจตรงกัน นั่นก็คือการเอาเพลงป็อปตลาดๆมาใส่ไว้ในหนัง และฟังแล้วทำให้หวนรำลึกถึงอดีตดี โดยเพลงที่ใช้ใน FOREVER คือเพลง BECAUSE THE NIGHT ของ PATTI SMITH ส่วนเพลงที่ใช้ใน MY FATHER IS AN ENGINEER คือเพลง WONDERFUL LIFE ซึ่งดิฉันชอบเวอร์ชันเก่าที่ BLACK ร้องไว้ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เป็นอย่างมาก

--นอกจาก FOREVER แล้ว หนังอีกเรื่องในเทศกาลนี้ที่ให้ความสำคัญกับ PATTI SMITH ก็คือ IN MY FATHER’S DEN

--ถ้าจำไม่ผิด ในหนังเรื่อง MALINA (WERNER SCHROETER, A+++++++) ที่เพิ่งฉายไปเมื่อเดือนธ.ค. มีการพูดถึง JEAN EUSTACHE ในช่วงท้ายของหนังด้วย และวันนี้ก็ได้ดูหนังเรื่อง CHILDSTAR ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็มีเนื้อหาพาดพิงไปถึง JEAN EUSTACHE เช่นเดียวกัน

---วิดีโอหนังเรื่อง THE MOTHER AND THE WHORE ของ JEAN EUSTACHE เคยมีให้เช่าในกรุงเทพ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ JEAN EUSTACHE ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/00/11/eustache.html

--ในหนังเรื่อง CLEAN มีฉากที่แม่ห้ามลูกดูดีวีดีหนังเรื่อง MANIAC
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่ (ดิฉันกลัวหน้าปกดีวีดีหนังเรื่องนี้มาก)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00005KHJS/qid=1106070745/sr=1-1/ref=sr_1_1/103-6470739-3362209?v=glance&s=dvd

--ชอบช่วงครึ่งแรกของ CLEAN มาก แต่หลังจากฉากจางม่านอี้วิ่งกลับไปกลับมาในช่วงกลางเรื่องแล้ว ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้ก็ลดลงเรื่อยๆ

--CLEAN ไม่ใช่หนังไม่ดี แต่เป็นหนังที่ไม่เข้าทางของดิฉันสักเท่าไหร่ ซึ่งชื่อหนังก็อาจจะบอกอยู่แล้วว่ามันไม่ใช่ทางของดิฉัน

--ถ้าหากบทของจางม่านอี้น้อยลง แต่บทของ JEANNE BALIBAR, BEATRICE DALLE กับ LAETITIA SPIGARELLI เพิ่มมากขึ้น หนังเรื่อง CLEAN ก็คงจะเข้าทางดิฉันมากขึ้น

--ชอบฉากจบของ VERA DRAKE มาก



ฉากที่ชอบมากๆใน MY FIRST BOYFRIEND คือฉากที่ผู้กำกับเล่นละครมือตอนที่หนุ่มหล่อหลับอยู่ค่ะ

จริงๆแล้วอยากให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดทำหนังสารคดีชุด MY … BOYFRIEND ออกมาค่ะ โดยโครงสร้างหนังชุดนี้เป็นอย่างนี้

1.MY SECOND BOYFRIEND
ผู้กำกับพาหนุ่มหล่อคนเก่ากับคนใหม่ไปเที่ยวที่ภาคเหนือในเดือนม.ค. หนังจะเน้นแสดงให้เห็นถึงความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวภาคเหนือในฤดูหนาว แถมด้วยเรื่องราวความสัมพันธ์อันลุ่มๆดอนๆระหว่างผู้กำกับกับหนุ่มหล่อสองคนในระหว่างการเดินทาง

2.MY THIRD BOYFRIEND

ผู้กำกับพาหนุ่มหล่อเก่าสองคน บวกกับหนุ่มหล่อใหม่อีกหนึ่งคนไปเที่ยวที่จังหวัดอะไรก็ได้ในไทยในเดือนก.พ. หนังจะแสดงให้เห็นถึงจุดที่น่าเที่ยวในจังหวัดนั้นๆ, ความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นระหว่างผู้กำกับกับหนุ่มเก่าๆ, ความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มหล่อด้วยกันเอง และหนุ่มหล่อคนใหม่ที่อาจทำให้ความสัมพันธ์ของคนในกลุ่มเปลี่ยนแปลงไป

และหนังชุดนี้ก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนถึง MY THIRTEENTH BOYFRIEND ที่เนื้อหาเกิดขึ้นในเดือนธ.ค. และเป็นการเดินทางของผู้กำกับพร้อมกับหนุ่มหล่อสิบสามคน หนังชุดนี้สามารถขายเป็นดีวีดีแพคเกจไปทั่วโลก เพื่อชักนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย


BIRTH OF THE SEANEMA กับ INDIA SONG เป็นหนังสองเรื่องที่ทำให้ดิฉันไม่สามารถขยับตัวได้ขณะที่ดูในรอบแรกค่ะ เพราะหนังมันโดนมากๆ มันตรึงตาตรึงใจมากๆจนลืมหายใจ ไม่สามารถขยับเขยื้อนตัวได้เลยขณะที่ดู

ชอบพระเอกหนังเรื่อง BEAUTIFUL CITY มากเลยค่ะ เขาไม่ใช่คนหล่อ แต่นิสัยของเขาในเรื่องนี้มันทำให้เขาดูดีมากๆ ดูแล้วไม่แปลกใจเลยว่าทำไมหญิงวัยกลางคนในหนังเรื่องนี้ ถึงได้รู้สึกอยากได้เขามาเป็นลูกเขยนัก

การแสดงของ ADELE HAENEL ในบทเด็กสาวที่มีปัญหาทางสมองใน LES DIABLES เป็นการแสดงที่รุนแรงมากๆ ถ้าดิฉันแสดงหนังเรื่องนี้ ดิฉันคงเครียดไปนาน

OSAMA ก็เป็นหนังอีกเรื่องที่ชอบในระดับ A+ เหมือนกันค่ะ

ตอนแรกที่เห็น PAUL BETTANY จาก A KNIGHT’S TALE (B+) กับ A BEAUTIFUL MIND (A-) รู้สึกว่าดาราชายคนนี้หน้าตาดูไม่ได้เรื่องเลย เหมาะจะเล่นแต่บทตลกโปกฮาบ้าๆบอๆเท่านั้น แต่พอเห็นเขาใน THE HEART OF ME (A++++++++) หัวใจของดิฉันก็กลายเป็นของเขาในทันที ส่วนใน MASTER AND COMMANDER กับ WIMBLEDON นั้น เขาก็ดูดีจริงๆค่ะ

Tuesday, January 18, 2005

FORGIVENESS

หนังที่ได้ดูในวันนี้

1.FORGIVENESS (2004, IAN GABRIEL) A
2.IN MY FATHER’S DEN (2004, BRAD MCGANN) A/A-
3.UNCONSCIOUS (2004, JOAQUIN ORISTRELL) A-
4.MY FATHER IS AN ENGINEER (2004, ROBERT GUEDIGUIAN) B-

สรุปว่าตอนนี้อันดับ 1-4 ของดิฉันประจำเทศกาลนี้ยังคงเหมือนกับเมื่อวานนี้ค่ะ

MOST DESIRABLE ACTOR
MATTHEW MACFADYEN—IN MY FATHER’S DEN
http://www.matthew-macfadyen.co.uk/

จริงๆแล้วรู้สึกว่าลูกชายนางเอกใน TO TAKE A WIFE หล่อมาก แต่เสียดายที่ไม่รู้ชื่อคนเล่นน่ะ

--UNCONSCIOUS เป็นหนังที่ดูสนุกมาก แต่ไม่ค่อยชอบช่วงท้ายๆของหนัง ความรู้สึกชอบก็เลยร่วงจาก A+ ลงมาอยู่ A-

--LEONOR WATLING ใน UNCONSCIOUS ดูน่ารักดี (บางมุมดูแล้วนึกถึง HELENA BONHAM CARTER) และดูแปลกตาไปจากบทของเธอใน TALK TO HER กับใน MY LIFE WITHOUT ME ถึงแม้ว่าดิฉันยังไม่เคยดู LEONOR WATLING รับบทหนักๆ แต่การได้ดูเธอมาในสภาพที่แตกต่างกันในหนัง 3 เรื่องนี้ ก็ทำให้รู้สึกว่าเธอน่าจะมีฝีมือด้านการแสดงอยู่ไม่ใช่น้อย

--เวลาที่ดิฉันนึกถึงดาราหญิงในหนังสเปน ดิฉันมักจะนึกถึง
1.CARMEN MAURA ในช่วงทศวรรษ 1980
2.VICTORIA ABRIL ในยุคปลาย 80 ต่อต้น 90
3.PENELOPE CRUZ ในยุคปลายทศวรรษ 1990
ไม่รู้เหมือนกันว่าในทศวรรษ 2000 นี้ LEONOR WATLING จะก้าวขึ้นมาเป็นดาราชั้นนำได้หรือเปล่า หรือจะกลายเป็นแค่ “ลิงวัด”

--ดูหนังแอฟริกาใต้เรื่อง FORGIVENESS แล้วก็นึกไปถึงหนังเยอรมันเรื่อง FORGIVENESS (1994, ANDREAS HONTSCH, A++++++) ซึ่งนอกจากชื่อหนังจะเหมือนกันแล้ว หนังสองเรื่องนี้ก็เหมาะจะมาฉายควบกันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นหนังที่พาดพิงถึงปัญหาทางการเมืองในอดีตของแต่ละประเทศเหมือนกัน และตั้งคำถามที่ยอกแสยงใจคนในประเทศนั้นๆเหมือนกัน

ในหนังเยอรมันเรื่อง FORGIVENESS นั้น ถ้าจำไม่ผิด หนังใช้ฉากหลังเป็นช่วงที่เยอรมันตะวันตกกับตะวันออกเพิ่งรวมกันใหม่ๆ หน่วยตำรวจลับสตาซีของเยอรมันตะวันออกที่เคยคุกคามทำร้ายคนในประเทศนั้นได้ถูกยุบไปแล้ว แต่บาดแผลทางจิตใจที่คนในประเทศนั้นเคยได้รับจากตำรวจลับและ “สายของตำรวจลับ” ยังคงฝังรากลึกอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ “สายของตำรวจลับ” คือสมาชิกครอบครัวของตัวเอง และสมาชิกครอบครัวคนนั้นขายความลับของคนในครอบครัวด้วยกันเองให้หน่วยตำรวจลับ

แม้ประเทศเยอรมนีและแอฟริกาใต้จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมากในบางแง่มุมในทศวรรษ 1990 แต่บาดแผลที่เกิดจากระบอบการปกครองในอดีต มันช่างยากที่จะเยียวยา มันช่างยากที่จะลืมเลือน มันช่างยากที่จะให้อภัย มันกลัดหนองและกลายเป็นมะเร็งทางอารมณ์ที่พร้อมจะเผาผลาญคนรอบข้างให้มอดไหม้ และหนังเรื่อง FORGIVENESS ของทั้งเยอรมนีและแอฟริกาใต้ ก็ทำออกมาได้สะใจมิใช่น้อย แต่ของเยอรมนีดูแล้วสะเทือนใจดิฉันมากกว่า โดยเฉพาะฉากเปิดเรื่องที่ไม่มีวันลืมลง

หนังเรื่อง FORGIVENESS ของเยอรมนีเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 1 วัน ซึ่งเป็นวันที่สมาชิกครอบครัวหนึ่งที่เคยอยู่ในเยอรมันตะวันออกนัดกันมากินข้าวกลางแจ้งกลางธรรมชาติที่สวยงามร่มรื่นด้วยกัน แต่ฉากเปิดของหนังเรื่องนี้ เป็นฉากที่เด็กหญิงหน้าตาน่ารักคนหนึ่ง ประกาศต่อผู้ชมว่า “ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า ดิฉันจะถูกฆ่าตายค่ะ” มันเป็นฉากเปิดเรื่องที่ช็อคดิฉันพอสมควร และกำหนดโทนอารมณ์ของหนังตั้งแต่ฉากเปิดได้ดีมากๆ

ดูหนังเรื่อง FORGIVENESS ของแอฟริกาใต้กับเยอรมนีแล้ว ก็นึกขึ้นได้ว่ามีหนังอีกเรื่องนึงที่ตั้งคำถามเรื่องการให้อภัยที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือ TWIN SISTERS ของ BEN SOMBOGAART (2002, A-)

--IN MY FATHER’S DEN ได้คะแนนสูงจากดิฉันเพราะความหล่อของพระเอกค่ะ ตัวหนังก็รู้สึกว่าพอใช้ได้ มันเป็นหนังที่ดูแล้วรู้สึกว่า “มันเป็นหนังที่ดีจังเลย แต่ไม่ดีจนถึงขั้นน่าประหลาดใจ” ซึ่งดิฉันก็รู้สึกอย่างนี้กับ SCHIZO เหมือนกัน รู้สึกว่าหนังพวกนี้มันมีมาตรฐานของตัวเองดี ทุกอย่างดูดีไปหมด โดยเฉพาะการแสดงและการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ แต่มันไม่ทำให้รู้สึกเต็มตื้นสุดขีดจนถึงขั้นอยากร้องกรี๊ด

---ชอบตอนจบของ YASMIN มากเหมือนกัน ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเยอะเพราะตอนจบ

--ทั้งหนังเรื่อง YASEMIN (1988, HARK BOHM, B) และ YASMIN (2004, KENNY GLENAAN, A) ต่างก็มีทั้งส่วนที่คล้ายกันและต่างกัน เพราะ YASEMIN พูดถึงสาวตุรกีที่อยู่ในสังคมเยอรมนี และหนังก็พูดถึงการปะทะกันทางวัฒนธรรมด้วย แต่การที่หนังสองเรื่องนี้สร้างห่างกันราว 15 ปี และสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงภายในช่วงเวลาดังกล่าว ก็เลยมีผลทำให้บทสรุปของหนังสองเรื่องนี้ออกมาตรงกันข้าม

--ใช่แล้ว อยากให้เทศกาลหนังมีรอบ 23.00 น. หรือรอบที่ดึกกว่านั้น เพื่อไว้ฉายหนังเรทที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก โดยเฉพาะ

ถ้าหากดิฉันเป็นคนเลือกหนังที่มาฉายในรอบเที่ยงคืน ดิฉันจะเลือกหนังออสเตรียเรื่องนี้มาฉายค่ะ เพราะอยากดูอย่างสุดๆ

ANGST (1983, GERALD KARGL)
http://www.ce-review.org/01/22/kinoeye22_schneider.html
http://www.ikonenmagazin.de/interview/Kargl.htm

What makes this film tough to watch is the very realistic murder scenes, which include a graphic rape/murder and the long, drawn-out drowning death of an invalid.

--ถ้าจำไม่ผิด เหมือนเคยอ่านจากที่ไหนสักแห่งว่าหนังเรื่อง THE NIGHT (1985, HANS-JURGEN SYBERBERG) ได้ฉายที่คานส์รอบเที่ยงคืน แต่หนังยาวราว 4 ชั่วโมง พอหนังฉายเสร็จ คนดูหนังก็ไปกินครัวซองท์+อาหารเช้าต่อด้วยกันที่ชายหาด ไม่รู้ในอนาคตเทศกาลหนังในกรุงเทพจะมีจัดฉายหนังต่อด้วยเลี้ยงข้าวต้มปาท่องโก๋รอบเช้าแบบนี้บ้างหรือเปล่า (รู้สึกชื่อหนัง THE NIGHT มันจะเหมาะกับงานแบบนี้จริงๆ)

--ถ้าพูดถึงหนังที่มีโครงสร้างน่าสนใจในระดับใกล้เคียงกับ RECONSTRUCTION แล้ว หนังอีกเรื่องที่อาจจะเหมาะเอามาดูควบคู่กันได้ก็คือ TRANS-EUROP EXPRESS (1966, ALAIN ROBBE-GRILLET, A+) เพราะ TRANS-EUROP EXPRESS เป็นเรื่องของตัวละครกลุ่มนึงที่นั่งรถไฟไปด้วยกัน และช่วยกันแต่งบทหนังแนวทริลเลอร์เกี่ยวกับการผจญภัยของสายลับหนุ่ม โดยกลุ่มคนที่แต่งเรื่องกับกลุ่มคนที่อยู่ในเรื่องแต่งใช้นักแสดงชุดเดียวกัน และมีการเปลี่ยนใจแก้ไขบทหนังใหม่ไปเรื่อยๆ

แต่ถึงแม้โครงสร้างของ RECONSTRUCTION กับ TRANS-EUROP EXPRESS จะน่าสนใจเหมือนกัน แต่อารมณ์ของหนังสองเรื่องนี้ต่างกันมาก เพราะ RECONSTRUCTION ให้อารมณ์หวานซึ้งรันทดงดงาม แต่ TRANS-EUROP EXPRESS ให้อารมณ์ขี้เล่น และหนึ่งในฉากที่ดิฉันติดใจมากที่สุดใน TRANS-EUROP EXPRESS คือฉากเซ็กส์แบบซาดิสม์มาโซคิสม์ของ JEAN-LOUIS TRINTIGNANT

Monday, January 17, 2005

THIRST (A+)

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.RECONSTRUCTION (2003, CHRISTOFFER BOE) A+
2.THIRST (2004, TAWFIK ABU WAEL) A+
3.CACHIMBA (2004, SILVIO CAIOZZI) A+
4.FOREVER (2003, ALESSANDRO DE ROBILANT) B-


TO TAKE A WIFE

--เห็นด้วยค่ะว่าฉากเปิดหนังเรื่องนี้เยี่ยมมาก แต่น่าเสียดายที่หนังไม่ทรงพลังอย่างนั้นตลอดทั้งเรื่อง

--ชอบที่ในหนังเรื่องนี้นางเอกไม่ได้เป็นผู้ถูกกดดันเพียงฝ่ายเดียว เธอไม่ได้เป็นเพียงเหยื่อของคนอื่นหรือของสังคมเท่านั้น แต่เธอเป็นเหยื่อของตัวเองด้วย ยิ่งดูไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งรู้สึกว่านางเอกมีส่วนอย่างมากในการทำให้ตัวเองเป็นทุกข์

--RONIT ELKABETZ แสดงได้อย่างเสียจริตมากๆในหนังเรื่องนี้ เห็นการแสดงของเธอในหนังเรื่องนี้แล้วอยากให้เธอมาปะทะกับ LENA ENDRE ในหนังเรื่อง FAITHLESS (2000, LIV ULLMANN, A) เพราะรู้สึกว่าบทของสองคนนี้บีบคั้นอารมณ์ในระดับใกล้เคียงกัน

-- สามารถดูฝีมือการแสดงของ RONIT ELKABETZ ได้ในดีวีดีหนังอิสราเอลเรื่อง LATE MARRIAGE (A-) ที่มีขายที่จตุจักรค่ะ เพราะเธอเล่นเป็นนางเอกหนังเรื่องนั้นด้วยเหมือนกัน

--ลูกชายของนางเอกหล่อมากๆค่ะ ฉากที่เธอลูบไล้ลูกชายตัวเองเป็นฉากที่ดีมากๆ

--สาเหตุที่ดิฉันชอบหนังเรื่อง TO TAKE A WIFE มากเป็นเพราะรู้สึกว่ามันใกล้เคียงกับชีวิตจริงคนบางคนที่รู้จัก ดิฉันไม่รู้เหมือนกันว่า TO TAKE A WIFE เป็นหนังที่มีความเป็นศิลปะมากน้อยแค่ไหน หรือเป็นหนังที่แสดงให้เห็นว่าผู้กำกับมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน แต่รู้สึกว่าชีวิตในหนังเรื่องนี้มันใกล้กับชีวิตจริงของคนใกล้ตัวมากๆ

ทั้ง TO TAKE A WIFE และ ANATOMY OF HELL ต่างก็มีการปะทะกันระหว่างเพศหญิงกับเพศชายเหมือนกัน แต่ ANATOMY OF HELL อาจจะดูเป็นศิลปะมากกว่า แต่ในขณะเดียวกันดิฉันก็รู้สึกเหินห่างจากตัวหนังมากกว่า รู้สึกว่าเรื่อง (หรืออารมณ์) ใน ANATOMY OF HELL ค่อนข้างไกลจากตัวเอง ถ้าหากเทียบกับ TO TAKE A WIFE แต่นั่นก็เป็นความตั้งใจของ BREILLAT อยู่แล้ว ในการสร้างระยะห่างทางอารมณ์ในหนังเรื่องนี้

ความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้นกับ THE CASTLE และ BENNY’S VIDEO ของ MICHAEL HANEKE เหมือนกัน เพราะดิฉันรู้สึกว่า BENNY’S VIDEO อาจจะเป็นหนังที่ดีกว่า หรืออาจจะมีความเป็นศิลปะมากกว่า THE CASTLE แต่เรื่องราวใน BENNY’S VIDEO ไกลตัวดิฉันมากกว่า THE CASTLE เพราะดู THE CASTLE แล้วนึกถึงชีวิตการทำงานของคนใกล้ตัวบางคนอย่างมากๆ

---รู้สึกว่า TO TAKE A WIFE เหมาะจะดัดแปลงเป็นละครเวทีอย่างมากๆ

--ชอบที่หนังทำให้รู้สึกว่าเวลา 1 วันในชีวิตของนางเอกนี่มันช่างยาวนานเสียเหลือเกิน

--หนังที่ควรดูควบคู่กับ TO TAKE A WIFE

1.THE LEFT-HANDED WOMAN (1977, PETER HANDKE) A++++++
มีวิดีโอให้ยืมที่ห้องสมุดสถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1

ในขณะที่นางเอกของ TO TAKE A WIFE ชอบขู่ว่าจะหย่าขาดจากสามี นางเอกของ THE LEFT-HANDED WOMAN กลับหย่าขาดจากสามีในทันทีอย่างปุบปับฉับพลัน โดยไม่มีการให้เหตุผลอะไรทั้งสิ้นตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง และเธอก็ค่อยๆเรียนรู้ที่จะปรับชีวิตตัวเอง และปรับตัวเองให้เข้ากับโลกและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเธอได้อย่างงดงาม แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือนางเอกของ THE LEFT-HANDED WOMAN มีลูกเพียงคนเดียว ในขณะที่นางเอกของ TO TAKE A WIFE มีลูกหลายคน

ตัวละครนางเอกของ THE LEFT-HANDED WOMAN คือสุดยอดนางเอกที่ดิฉันชอบมากที่สุดคนนึงในชีวิตค่ะ เธอไม่ใช่คนที่ “ดีแต่ปาก” แต่เธอ “ทำ” ในทันที เธอไม่ “ขู่” ว่าจะหย่า แต่เธอ “หย่า” ไปเลย นางเอกของหนังสองเรื่องนี้เหมือนกับเป็นขั้วตรงข้ามกันในบางแง่มุม นางเอกของ TO TAKE A WIFE เน้นพูดพล่ามไม่หยุด แต่นางเอกของ THE LEFT-HANDED WOMAN เน้น “ทำ” นางเอกของ TO TAKE A WIFE เน้นแสดงออกทางอารมณ์อย่างรุนแรง แต่นางเอกของ THE LEFT-HANDED WOMAN เน้นทำหน้านิ่งๆราวหินผา

http://www.babelguides.com/view/work/8453


2.LE BLEU DES VILLES (1999, STEPHANE BRIZE, A++++) เรื่องของผู้หญิงที่ต้องการหย่าขาดจากสามีเหมือนกัน

3.SHIRLEY VALENTINE (1989, LEWIS GILBERT, A++++++++) เรื่องของหญิงวัยกลางคนที่ใช้ชีวิตเป็นภรรยาที่ดีมานาน จนกระทั่ง....


---ตอนนี้ชอบ RECONSTRUCTION มากเป็นอันดับ 1 ของงานนี้ค่ะ, อันดับ 2 คือ THIRST, อันดับ 3 คือ CACHIMBA ส่วนอันดับ 4 คือ AFTER MIDNIGHT

--เทศกาลนี้ในปีที่แล้วรู้สึกประทับใจกับหนังกลุ่ม “SUPER FEEL-BAD” มากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น IN MY SKIN, FREE RADICALS, SPARE PARTS, OSAMA, A NATION WITHOUT WOMEN แต่ปีนี้ประทับใจกับหนังโรแมนติกในเทศกาลนี้มากๆ ทั้ง RECONSTRUCTION และ AFTER MIDNIGHT ส่วน BEAUTIFUL CITY ก็เป็นหนังที่ทำให้ดิฉันรู้สึกโรแมนติกอย่างมากๆเช่นกัน ถึงแม้ผู้กำกับอาจไม่ได้ตั้งใจให้รู้สึกเช่นนั้น เพราะพระเอกในหนังเรื่องนี้ดูดี ส่วนนางเอกของ BEAUTIFUL CITY ก็ดูกร้านโลกมาก ก็เลยทำให้รู้สึกอินกับความรู้สึกของนางเอกหนังอิหร่านเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ

--สาเหตุที่ทำให้ประทับใจการแสดงของ TARANEH ALIDOOSTI ใน BEAUTIFUL CITY มากเป็นพิเศษ ไม่ได้เกิดจากการแสดงของตัวเธอในหนังเรื่องนี้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะรู้สึกว่าตัวเธอในเรื่องนี้ กับตัวเธอใน I, TARANEH, AM FIFTEEN (2002, A-) ดูแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะใน I, TARANEH, AM FIFTEEN เธอดูใสมากๆ แต่ใน BEAUTIFUL CITY เธอดูกร้านโลกอย่างมากๆ ก็เลยตกใจกับความแตกต่างกันของตัวเธอในหนังสองเรื่องนี้

--เห็นด้วยกับคุณ merveillesxx เป็นอย่างยิ่งค่ะที่ว่าหนุ่มคาซัคสถานนี่ก็หล่อในบางมุมเหมือนกัน แต่ไม่ใช่พระเอก SCHIZO นะ แต่หมายถึงพ่อเลี้ยงพระเอกกับนักมวยคนนึงใน SCHIZO

--ดูจากหนังคาซัคสถานแล้วรู้สึกว่าประเทศนี้คงมีทั้งคนเชื้อสายคอเคเชียนกับมองโกลอยด์อยู่ปะปนกัน และก็คงมีลูกครึ่งระหว่างคนสองเชื้อชาตินี้อยู่เยอะ หน้าตาคนหลายคนในหนังคาซัคสถาน ดูเหมือนคนไทยมากๆ ในขณะที่หน้าตาอีกหลายๆคนในหนังคาซัคสถาน ก็เหมือนคนรัสเซียมากๆ

--พระรองในหนังคาซัคสถานเรื่อง LITTLE MEN (2003, NARIMAN TUREBAYEV, A+++++) หน้าตาตรงสเปคดิฉันมากๆเลยค่ะ ในขณะที่พระเอกของหนังเรื่อง Little Men หน้าตาเหมือนคนไทยจัง (หนังเรื่องนี้มาฉายในเทศกาลหนังเมื่อเดือนต.ค.)

--เคยดูวิดีโอหนังคาซัคสถานเรื่อง KILLER (1998, DAREZHAN OMIRBAEV, A+++) ซึ่งพระเอกหนังเรื่องนี้หน้าตาก็พอใช้ได้ค่ะ แต่หน้าเหมือนคนจีน วิดีโอหนังเรื่องนี้เคยมีขายที่จตุจักร

--สุดยอดผู้กำกับคาซัคสถาน คงจะเป็น DAREZHAN OMIRBAEV อ่านข้อมูลของตัวเขาได้ที่
http://www.filmref.com/directors/dirpages/omirbaev.html


--ชอบตอนจบของ NOI ALBINOI (A+++++) มากๆ แต่ไม่ค่อยชอบช่วง 30 วินาทีสุดท้ายของ SCHIZO คิดว่าถ้าหากตัด 30 วินาทีสุดท้ายของ SCHIZO ทิ้งไป ก็อาจจะดีเหมือนกัน

--ชอบตอนจบของ BEAUTIFUL CITY กับ THIRST มากๆ

--FRANCESCA INAUDI นางเอกของ AFTER MIDNIGHT เหมาะจะมาปะทะกับ JEANNE BALIBAR นางเอกหนังฝรั่งเศส ดิฉันรู้สึกว่าหน้าตาของสองคนนี้เก๋ไก๋พอๆกัน

---ชอบรองเท้าบู๊ตของนางเอก RECONSTRUCTION

Sunday, January 16, 2005

SHLOMI ELKABETZ

MOST DESIRABLE DIRECTOR
SHLOMI ELKABETZ—TO TAKE A WIFE

หนังที่ได้ดูในวันนี้
1.AFTER MIDNIGHT (2004, DAVIDE FERRARIO) A+
2.TO TAKE A WIFE (2004, RONIT ELKABETZ + SHLOMI ELKABETZ) A+/A
3.YASMIN (2004,KENNY GLENAAN) A
4.IMELDA (2003, RAMONA DIAZ) A
5.MEET THE FOCKERS (2004, JAY ROACH) B+

LOVELY ACTOR IN THE FESTIVAL
GIORGIO PASOTTI—AFTER MIDNIGHT
http://www.giorgiopasotti.it/

--หนังเรื่อง CRONICAS เป็นหนังภาษาสเปน แต่ไม่มีซับไตเติล ก็เลยต้อง refund ตั๋ว และดิฉันก็เลยตัดสินใจเข้าไปดู IMELDA แทน ซึ่งเป็นหนังที่ฮามากๆ

--ในเครดิตท้ายหนังเรื่อง TO TAKE A WIFE มีขึ้นคำขอบคุณ YASMINA REZA ด้วย

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ YASMINA REZA ได้ที่
http://www.businessweek.com/magazine/content/01_24/b3736621.htm

--ตอนนี้ชอบ AFTER MIDNIGHT มากที่สุดในบรรดา 8 เรื่องของเทศกาลนี้ที่ได้ดูมา
แหงะ ร้านเน็ตจะปิดแล้ว เดี๋ยวคืนนี้ต้องพอแค่นี้ก่อน

DECEMBER 2004

ดิฉันเอาข้อมูลเกี่ยวกับหนังบางเรื่องในเทศกาลไปแปะไว้ที่นี่ค่ะ http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=13866

มีหนังเกย์เรื่องนึงมาฉายในเทศกาลนี้ด้วยค่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง THE NOMI SONG
http://www.thenomisong.com/

หนังในเทศกาลที่ได้ดู
1.ANATOMY OF HELL (2004, CATHERINE BREILLAT) A+/A
2.BEAUTIFUL CITY (2004, ASGHAR FARHADI) A+/A
3.SCHIZO (2004, GUKA OMAROVA) A/A-
4.BONJOUR MONSIEUR SHLOMI (2003, SHEMI ZARHIN) A-/B+

FAVORITE ACTRESS
TARANEH ALIDOOSTI—BEAUTIFUL CITY

หนังนอกเทศกาลที่ได้ดูในเดือนม.ค.
1.THE CASTLE (1995, MICHAEL HANEKE) A+
2.BENNY’S VIDEO (1992, MICHAEL HANEKE) A+
3.BIRTH (2004, JONATHAN GLAZER) A+
4.THE FORGOTTEN (2004, JOSEPH RUBEN) A
5.HANA-BI (1997, TAKESHI KITANO) A
6.TWILIGHT SAMURAI (2002, YOJI YAMADA) B+
7.I LOVE VIENNA (1991, HOUCHANG ALLAHYARI) B
8.THE NEIGHBOUR (1993, GOTZ SPIELMANN) B
9.BAD SANTA (2003, TERRY ZWIGOFF) B
10.FACE (2004, YOO SANG-GON) B-
11.EXTREME DATING (2004, LORENA DAVID) C+
12.เอ๋อ เหรอ C

FAVORITE ACTOR
ULRICH MUHE—THE CASTLE + BENNY’S VIDEO

อันดับหนังโรงประจำเดือนธ.ค. 2004
1.THE DEATH OF MARIA MALIBRAN (1973, WERNER SCHROETER) A+
2.MALINA (1991, WERNER SCHROETER) A+
3.THE FEMALE PATRIOT (1979, ALEXANDER KLUGE) A+
4.ARTISTS UNDER THE BIG TOP: DISORIENTATED (1968, ALEXANDER KLUGE) A+
5.YESTERDAY GIRL (1966, ALEXANDER KLUGE, A+)
6.SOMEONE TO LOVE (1987, HENRY JAGLOM, A+)
7.THE DOOR IN THE FLOOR (2004, TOD WILLIAMS, A+)
8.A HOME AT THE END OF THE WORLD (2004, MICHAEL MAYER) A+
9.STRONGMAN FERDINAND (1976, ALEXANDER KLUGE) A
10.THE CHRONICLE OF ANNA MAGDALENA BACH (1968, JEAN-MARIE STRAUB, A)
11.PARTY MONSTER (2003, FENTON BAILEY + RANDY BARBATO) A
12.8 WOMEN (FRANCOIS OZON) A
13.VANITY FAIR (2004, MIRA NAIR) A
14.THE INCREDIBLES (2004, BRAD BIRD) A
15.OCEAN’S TWELVE (2004, STEVEN SODERBERGH) A
16.ขุนกระบี่ ผีระบาด A-
17.AMEN (2002, COSTA-GAVRAS) A-
18.THE PRESIDENT’S BARBER (2004, LIM CHAN-SANG, A-)
19.UNTOLD SCANDAL (2003, LEE JE-YONG, A-)
20.หมานคร (2004) A-
21.THE RAINBOW SEEKER (1995, YOJI YAMADA) A-
22.AB-NORMAL BEAUTY หรือ “คนอยากเห็นคนตาย” (2004, OXIDE PANG, B+)
23.HERR LEHMANN (2003, LEANDER HAUSSMANN) B+
24.BROTHER (2001, TAKESHI KITANO) B+
25.BRIDGET JONES: THE EDGE OF REASON (2004, BEEBAN KIDRON, B+)
26.THE POLAR EXPRESS (2004, ROBERT ZEMECKIS, B+)
27.CHRISTMAS WITH THE KRANKS (2004, JOE ROTH, B+)
28.TAEGUKGI (2004, KANG JE-GYU, B)
29.แจ๋ว B
30.กั๊กกะกาวน์ (B)
31.CUBE ZERO (2004, ERNIE BARBARASH, B)
32.NATIONAL TREASURE (2004, JON TURTELTAUB) B
33.BLADE TRINITY (2004, DAVID S. GOYER) C+/C

MOST DESIRABLE ACTOR
JAMES PUREFOY—VANITY FAIR

FAVORITE ACTRESS
HANNELORE HOGER—THE FEMALE PATRIOT + ARTISTS UNDER THE BIG TOP: PERPLEXED

FAVORITE ACTOR
HEINZ SCHUBERT—STRONGMAN FERDINAND

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
SALLY KELLERMAN—SOMEONE TO LOVE

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
MASAYA KATO--BROTHER

FAVORITE EDITING
BEATE MAINKA-JELLINGHAUS—THE FEMALE PATRIOT + ARTISTS UNDER THE BIG TOP: PERPLEXED + YESTERDAY GIRL

FAVORITE MUSIC
THE DEATH OF MARIA MALIBRAN

FAVORITE CINEMATOGRAPHY
WERNER SCHROETER—THE DEATH OF MARIA MALIBRAN

FAVORITE OPENING
MALINA

FAVORITE ENDING
THE DOOR IN THE FLOOR

THE FORGOTTEN

หนังที่เคยดูแล้ว
1.BIRTH OF THE SEANEMA (A+)
2.MY FIRST BOYFRIEND (A+) หนังเกย์
3.DESTINEES SENTIMENTALES (A+)
4.MALADY DIARY (A+)
5.BORN INTO BROTHELS (A)

หนังที่อยากดูมากๆถ้าหากแยกร่างได้

1.BUTTERFLY น่าดูมาก เพราะเคยดู BROTHER (GE GE) ของผู้กำกับคนนี้แล้วชอบมาก BROTHER (GE GE) เป็นหนังที่เน้นทัศนียภาพโล่งว่างของแถบตะวันตกของประเทศจีน และเข้ากันได้ดีมากๆกับหนังของเจียฉางเคอะ
2.CAFE LUMIERE
3.DEEP BLUE 4
.MACHUCA
5.OPEN MY HEART หนังเลสเบียน http://www.villagevoice.com/film/0450,anderson,59223,20.html 6.RIGHT NOW
7.SEDUCING DOCTOR LEWIS
8.STOLEN CHILDHOOD

รางวัลบริทอวอร์ดปีนี้มีสาขาเพลงยอดเยี่ยมในรอบ 25 ปีด้วยค่ะ ซึ่งเพลง WUTHERING HEIGHTS ของ KATE BUSH ก็ได้เข้าชิงกับเขาด้วย ดีใจจริงๆเจียว
http://brits.co.uk/artists/

ชอบบุคลิกนางเอกชั่วฟ้าดินสลายมากเหมือนกันค่ะ ชอบเสียงเธอด้วย และหนังเรื่องนี้ก็ใช้ประโยชน์จากเรือนร่างของคุณชนะ ศรีอุบลได้ดีมากๆเลย มันช่างน่าเลียอะไรเช่นนี้ เมื่อหลายปีก่อนเคยเห็นวิดีโอ “ชั่วฟ้าดินสลาย” วางขายตามเทศกาลหนัง ก็เคยรู้สึกอยากซื้อเก็บเอาไว้เหมือนกัน แต่ราคาม้วนละ 300 บาทมั้ง ก็เลยไม่ได้ซื้อเก็บไว้ ถ้าจำไม่ผิด หนังเรื่อง “เมืองมายา กรุงธิดา” (A+) ของคุณ ลี ชาตะเมธีกุล ก็มีการอ้างอิงถึงเรื่อง “ชั่วฟ้าดินสลาย” ด้วยเหมือนกัน

เรื่องเทคนิคการเคลื่อนกล้องหรือถ่ายภาพของหนังยุคเก่า ดูแล้วก็ทึ่งเหมือนกัน ตอนนี้ที่นึกออกมีอยู่ 3 เรื่อง
1. I AM CUBA (1964, MIKHAIL KALATOZOV, A+) ที่มีฉากนึงที่สระว่ายน้ำ ถ้าจำไม่ผิด ฉากนั้นจะถ่ายจากมุมสูงแล้วลงมาจนถึงใต้น้ำในสระว่ายน้ำได้อย่างลื่นไหล,ต่อเนื่อง และพิศวงมาก
2. ORPHEUS (1949, JEAN COCTEAU, A+) ฉากตัวละครเดินทะลุมิติโดยผ่านทางกระจก เป็นฉากที่คงไม่ได้ใช้เทคนิคพิเศษอะไรมากมาย แต่เด่นที่การใช้ความคิด
3.ฉากตอนจบของ THE PASSENGER (1975, MICHELANGELO ANTONIONI, A-) ที่กล้องถ่ายจากในห้อง แล้วทะลุลูกกรงตรงหน้าต่างออกไปนอกห้อง แล้ววกกลับเข้ามาในโรงแรมอีกครั้ง

อ่านเรื่อง HOMOPHOBIC แล้ว ทำให้นึกถึงบทวิจัยอันนึงที่เคยอ่านในนิตยสาร GAY TIMES เมื่อราว 10 ปีก่อน มันเป็นการวิจัยที่แร่ดมากในความเห็นของดิฉัน นั่นก็คือเขาเอาผู้ชาย straight สองกลุ่มมาทำวิจัย โดยกลุ่มนึงเป็น HOMOPHOBIC และอีกกลุ่มไม่เป็น และให้ทั้งสองกลุ่มนี้ดูวิดีโอหนังโป๊ของเกย์ แล้วผู้วิจัยก็ “วัดขนาดเส้นรอบวงของอวัยวะเพศ” ของผู้ชายสองกลุ่มนี้ขณะดูวิดีโอดังกล่าว ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มที่เป็น HOMOPHOBIC มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อวิดีโอหนังโป๊เกย์อย่างรุนแรงมากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็น ผลการวิจัยนี้ก็เลยเหมือนกับจะทำให้เชื่อได้ว่า พวกที่เป็น homophobic หลายคนจริงๆแล้วอาจจะเป็นเกย์เสียเอง

ถ้ามีการให้รางวัล ดิฉันก็อยากจะมอบรางวัล “ประกาศเกียรติคุณพิเศษ” สักหนึ่งรางวัลให้ ALEXANDER (A-) เหมือนกันค่ะ เพราะถึงแม้ดิฉันจะไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรง แต่ก็รู้สึกว่ามันมีคุณค่าน่าจดจำตรงความกล้าเป็นเกย์ของมันนั่นเอง

พูดถึงประเด็น “คนที่เรารักและผูกพัน...ผู้ไม่เคยเลือนหายไปจากความทรงจำ” ก็เลยนึกถึงหนังที่โง่ที่สุดเรื่องนึงในชีวิตที่พูดถึงประเด็นนี้ค่ะ นั่นก็คือ THE FORGOTTEN หรือ “ความทรงจำที่สาบสูญ” (2004, JOSEPH RUBEN, A) แต่หนังโง่ได้สะใจมาก ดูแล้วมีความสุขมากค่ะ

ชอบจูลีแอนน์ มัวร์ใน THE FORGOTTEN มากๆ เห็นเธอในหนังเรื่องนี้แล้วสงสัยว่าเธอใช้แชมพูยี่ห้ออะไร ผมเธอถึงได้ปลิวไสวขณะวิ่งได้แบบนั้น ดูหนังเรื่องนี้แล้วอยากวิ่งแบบเธอบ้างจัง

ดาราชายใน THE FORGOTTEN ก็ตรงสเปคดิฉันมากๆ ไม่ว่าจะเป็น DOMINIC WEST, ANTHONY EDWARDS, LINUS ROACHE รู้สึกว่า THE FORGOTTEN จะมีคุณสมบัติเหมือนกับหนังเคเบิลทีวีแบบที่ดิฉันชอบ นั่นก็คือเป็นหนังทริลเลอร์ของผู้หญิงวัยกลางคนที่ได้พบเจอกับหนุ่มๆหล่อๆในระหว่างการผจญภัยแบบโง่ๆ

DOMINIC WEST เคยเล่นหนังมาแล้วหลายเรื่อง แต่เรื่องที่โชว์ความหล่อของเขาได้อย่างเร้าอารมณ์มากที่สุดเรื่องนึง คงจะเป็นเรื่อง TRUE BLUE (1996, FERDINAND FAIRFAX, A/A-) ฉากห้องอาบน้ำของนักศึกษาชายในหนังเรื่องนี้ เป็นฉากที่บรรเจิดมากๆ
http://dominic-west.net/
http://www.imdb.com/name/nm0922035/
http://www.imdb.com/title/tt0117973/

ชอบบรรยากาศใน THE FORGOTTEN ด้วยเหมือนกัน อีกจุดนึงที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ นั่นก็คือผู้ร้ายส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้คือ “หน่วยงานรักษาความมั่นคงของชาติ” แต่หน่วยงานนี้กลับดูเหมือนจะทำตัวเป็นศัตรูของประชาชน และมีส่วนร่วมใน “การทำให้ประชาชนหายสาบสูญ” (จะมีหนังไทยที่พูดถึงประเด็นนี้บ้างมั้ยนะ)

(โจเซฟ รูเบน ผู้กำกับ THE FORGOTTEN เคยทำหนังเรื่อง THE STEPFATHER (1987, B) ที่ดูเผินๆเหมือนเป็นหนังฆาตกรโรคจิต แต่นักวิจารณ์บอกว่าจริงๆแล้วหนังมีเนื้อหาต่อต้านประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน)

หนังบางเรื่องอาจจะพูดถึงแม่ที่รู้สึกเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสกับการสูญเสียลูกไปก่อนวัยอันควร แต่แม่คนนั้นก็จะค่อยๆทำใจยอมรับกับการสูญเสียได้ และค่อยๆเรียนรู้ที่จะก้าวพ้นจากความทุกข์ในอดีตและเปิดจิตใจออกรับความสุขอื่นๆในชีวิตในเวลาต่อมา แต่ THE FORGOTTEN ดูเหมือนจะเริ่มต้นด้วยแม่ประเภทเดียวกัน แต่หนังกลับมุ่งไปในทิศทางตรงกันข้ามกับหนังกลุ่มในย่อหน้าข้างต้น ก็เลยเป็นอีกสาเหตุนึงที่ทำให้รู้สึกสะใจกับ THE FORGOTTEN มากๆเลยค่ะ หนังกลุ่มแรกพูดถึงแม่ที่ค่อยๆลืมความเจ็บปวด แต่คุณแม่ใน THE FORGOTTEN กลับทำในสิ่งตรงกันข้าม

ถ้าใครชอบหนัง COMING OF AGE จากญี่ปุ่น อย่าลืมไปชมหนังเรื่อง MOVING (1991, SHINJI SOOMAI, A+++++++++++++) ที่จะมาฉายที่มูลนิธิญี่ปุ่นในวันศุกร์ที่ 28 ม.ค. เวลา 18.30 น. (ดีจังที่ไม่ตรงกับเทศกาลหนัง BKKIFF) หนังมีซับไตเติลภาษาไทย ดูฟรี ดิฉันเคยดูหนังเรื่องนี้แล้ว ชอบอย่างสุดๆเลยค่ะ หนังเล่าเรื่องของเด็กหญิงที่พ่อแม่หย่าร้างกัน

ดูโปรแกรมหนังได้ที่ http://www.jfbkk.or.th/event/Theater_200501_eg.html
อ่านความเห็นของดิฉันที่มีต่อ MOVING ได้ที่ http://www.imdb.com/title/tt0107736/