ถามคุณ FRANKENSTEIN
--ทำไมไม่ให้เกรด OPEN WATER, HELEN THE BABY FOX ล่ะคะ
หนังที่ดิฉันกับคุณแฟรงเกนสไตน์ให้เกรดตรงกันหรือใกล้เคียงกันมาก
20. Tranamerica (A+++)
21. The History of Violence (A++)
22. The Constant Gardener (A++)
23. Brokeback Mountain (A+++)
32. Home at the end of the world (A+)
36. Poseidon (B+)
37. American Splendid (A++)
39. Naked Weapon (A) 41. Down in the Valley (A)
42. Kinsey (A+)
43. My First Boyfriend (A++++++++++++++++++)
46. มหาลัยเหมืองแร่ (A+++) 49. Paradise Now (A+++)
53. เด็กหอ (A+++)
58. Sophia Scholl (A++++)
59. United93 (A++)
62. An Inconvenient Truth (A+++)
63. ด้วยเกล้า (A+++++++)
65. เฉิ่ม (A+)
66. วัยอลวน๔ (A+++)
67. The Host (A)
68. Dark Water (A++)
71. Capote (A++)
74. Prime (A++)
75. The Child (A++)
81. Heaven’s Meadow (A++++)
84. I don't want to sleep alone (A++)
85. Climates (A+)
86. Isabella (A++)
87. Silence will speak (A++)
94. The Departed (A+)
99. Me, You and Everyone We Know (A++) 102. แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า (A)
103. Mysterious Skin (A++)
108. The Masseur (A+)
111. Big Bang Love, A Juvenile (A+)
112. King and the Clown (A+)
113. Broken Flower (A+++)
--favorite blog
Unspoken cinema
http://unspokencinema.blogspot.com
BLOG นี้พูดถึง CONTEMPLATIVE CINEMA ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
PLOTLESSNESS : no obvious (forefront) drama, no beginning, no denouement, open-ending, no drive to go forward, no major narrative gimmicks (flashback, multilayered stories), simplicity, atmospherical depiction, distanciation of protagonist(s) with background action, no imminent threat, no external forces pressuring the protagonist(s).
WORDLESSNESS : laconical interactions (or silent protagonist), no plot-drive expository filling, no psychological arguments, no voiceover, direct-sound (no score), body language.
SLOWNESS : long takes, static shots/slow camerawork, patient pace, uneventfulness (down time), "unnecessary" mundanity, uncut movements, activities filmed in their entirety, extended wait/pauses, conscience of time.
ALIENATION : disconnectedness, wandering/idleness/listlessness, solitude, fatalism, ennui/melancholy/depression, non-comformity, no intellectualized existentialism, distanciation of protagonist(s) with the world, with other characters, emptyness, empty frames, distanciation of the camera from the subject.
ตัวอย่างหนังในกลุ่ม CONTEMPLATIVE CINEMA
Damnation;
The Seventh Continent;
A scene at the sea;
Satantango;
Vive l'Amour;
Few of Us;
The River;
Mother and Son;
L'Humanite;
UNDER THE SAND;
Werckmeister harmony;
Millennium Mambo;
What time is it over there?;
Blissfully Yours;
Dolls;
Hukkle;
Japon;
Uzak/Distant;
The Brown Bunny;
Elephant;
Goodbye, Dragon Inn;
Nobody Knows;
Spring, Summer, Fall, Winter ... and Spring;
La Blessure;
Los Muertos;
Tropical Malady;
The World;
BATTLE IN HEAVAN;
Last Days;
Seven Invisible Men;
The Sun;
Colossal Youth;
Fantasma;
Flandres.
ไม่แน่ใจว่าหนังเรื่อง AFTERNOON TIME (2005, TOSSAPOL BOONSINSUKH, A++++++++++++) จะเข้าข่าย CONTEMPLATIVE CINEMA ด้วยหรือเปล่า
http://filmsick.exteen.com/20070122/afternoon-time
Monday, February 05, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
9 comments:
Thank you for the mention. :)
I can't read Thai, but I'm assuming you recommend this film, Afternoon Time, for the Contemplative Cinema profile. (I couldn't find it on IMDb...)
เป็นบล็อกที่น่าอ่านมากเลยครับพี่
ไม่นึกว่าจะมีคนจัด genre นี้ขึ้นมาไว้จริงๆด้วย
ตอบน้อง VISUALLYYOURS
คิดว่าหนังเรื่อง SEE ของน้องก็เป็นญาติๆกับหนังกลุ่มนี้เหมือนกันนะ เพราะหนังเรื่อง SEE มีคุณสมบัติทั้ง PLOTLESSNESS, WORDLESSNESS, SLOWNESS และ ALIENATION เหมือนกัน
Answer for harrytuttle
Yes, I think AFTERNOON TIME might fit into the category of CONTEMPLATIVE CINEMA. If you are interested in seeing this film, you might contact TOSSAPOL BOONSINSUKH, the director of this film, at pok_office@yahoo.co.uk
(The information below is copied from an e-mail I sent to someone a few months ago)
As far as I know, I think AFTERNOON TIME hasn’t been screened outside Thailand. It was publicly screened at least two times in Bangkok. It was publicly premiered in the Thai Short Film Festival in 2005, and it was shown again at DK FILMHOUSE in Thammasat University early in 2006 in the mini-retrospective of Tossapol Boonsinsukh. DK FILMSHOUSE is an arthouse theatre here in Bangkok.
AFTERNOON TIME is a kind of film that will inspire a lot of audience to walk out. Hahaha. The film is very slow, and technically very poor. The sound recording
in some scenes is so bad that you can’t hear what the characters are talking. But it doesn’t matter because you still understand the main story. Tossapol’s films are so much different from the films of many Thai amateur filmmakers. Many Thai amateur filmmakers make technically-perfect films, but I don’t get much emotion out of viewing it. I prefer Tossapol’s films which are technically poor, but full of emotions. Tossapol’s films also stand out from other Thai indie films because he is an auteur. He really has his own
style. Tossapol’s favorite director is Pen-ek Ratanaruang, but I like Tossapol’s films ten times more than Pen-ek’s films. Hahaha
AFTERNOON TIME, like other films by Tossapol, will divide the audience into the really-love-it and the really-hate-it groups, because his films convey some emotions which some audience cannot understand. In my own opinion, his films remind me of JUN ICHIKAWA’s
films, because both Tossapol and Jun Ichikawa made films about extremely lonely people, but what is important is that some characters in their films seem to be VERY HAPPY TO BE ALONE. That made their films stand apart of WONG KAR-WAI and TSAI MING-LIANG films, because although Wong and Tsai made films about lonely people, their characters seem to be very unhappy to be alone.
--I haven’t read your wonderful blog (unspoken cinema) completely, so I’m not sure if I understand the category right. Anyway, if you are interested in Thai ultra-slow films (thought they might not fit into the CONTEMPLATIVE CINEMA category), I have just made a list of TEN MOST ENCHANTING ULTRA-SLOW THAI FILMS (apart from AFTERNOON TIME), and the list goes like this:
1.BIRTH OF THE SEANEMA (2004, SASITHORN ARIYAVICHA, A++++++++++)
http://www.criticine.com/interview_article.php?id=28
2.ROUGH NIGHT (2001, SAMART IMKHAM, A++++++++++)
short film
3.STORIES FROM THE NORTH (2005, URUPHONG RAKSASAD, A++++++++++)
http://www.criticine.com/feature_article.php?id=34
4.EVERYTHING WILL FLOW (2000, PUNLOP HORHARIN, A+++++)
http://www.liveindy.com/ph/lhong.htm
5.MAE NAK (1997, PIMPAKA TOWIRA, A+++++)
short film
6.PRIVATE LIFE (2000, THUNSKA PANSITTIVORAKUL, A+)
short film
http://thaiindie.com/wizContent.asp?wizConID=79&txtmMenu_ID=7
7.VIOLET BASIL (2005, SUPAMOK SILARAK, A+)
documentary feature
8. INVISIBLE WAVES (2006, PEN-EK RATANARUANG, A+)
9.HUA-LAM-PHONG (2004, CHULAYARNNON SIRIPHOL, A+)
short film
http://thaiindie.com/wizContent.asp?wizConID=110&txtmMenu_ID=7
10.SEE (2006, NAWAPOL THAMRONGRATTANARIT, A+)
http://thaiindie.com/wizContent.asp?wizConID=84&txtmMenu_ID=7
Thanks for the helpful explanation. So Afternoon Time is a short film?
I don't know where and when I will be able to find these films, but I'm glad to have your list to look forward to. Invisible Waves is the only one that was screened in Paris (to my knowledge). It was very good (although I prefered The Last Life in The Universe personally).
ผมคิดว่า Contemplative Cinema บางเรื่องมีความน่าสนใจ ถึงแม้จะดูน่าเบื่อและดูไม่สนุก
แต่บางเรื่อง น่าจะเรียกมันว่า Pretentious Cinema มากกว่า คือมันไม่น่าสนใจเลย เพราะเหมือนกับหนังจะจงใจเสแสร้งแสดงความอาร์ตออกมา ผ่านความน่าเบื่อความไม่สนุก ประเภทที่ให้ตัวละครเดินทื่อๆ ทำหน้านิ่งๆ มาเจอกัน คุยกันสองคำ แล้วเดินแยกกันไป แช่กล้องทิ้งไว้นานๆ ดูแล้วไม่เก็ตอย่างแรง
ฮ่าฮ่าฮ่า ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะว่า PRETENTIOUS CINEMA ที่คุณพูดถึงหมายถึงหนังเรื่องไหนบ้าง แต่โดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันมักจะแยกไม่ค่อยออกค่ะว่าหนังเรื่องไหน PRETENTIOUS หรือไม่ PRETENTIOUS ปกติแล้วดิฉันมักจะไม่ค่อยรู้สึกว่าหนังที่ตัวเองดู PRETENTIOUS แต่สามารถบอกได้แค่ว่าหนังเรื่องนี้มัน “โดน” หรือ “ไม่โดน” ใจดิฉันมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง
หนังที่ดิฉันดูแล้วรู้สึกสงสัยว่ามันอาจจะ PRETENTIOUS ก็คือหนังไต้หวันเรื่อง SOMEWHERE OVER THE DREAMLAND (2002, CHENG WEN-TANG, B-) ซึ่งเป็นหนังโรแมนติกเหงาๆช้าๆ แต่ดิฉันดูแล้วรู้สึกไม่อินกับมันสักเท่าไหร่ ดิฉันรู้สึกว่ามันแสร้งเหงามากกว่า อย่างไรก็ดี ถ้าให้พูดกันตามตรงแล้ว การที่ดิฉัน “ไม่อิน” กับหนังเรื่องนี้ ย่อมไม่ใช่เหตุผลที่จะใช้ในการตัดสินได้ว่าหนังเรื่องนี้ PRETENTIOUS หรือไม่
ต่อมาดิฉันได้ดูหนังเรื่อง BLUE CHA CHA (2005, A+) ที่กำกับโดย CHENG WEN-TANG เหมือนกัน ดิฉันกลับพบว่าคราวนี้ดิฉันรู้สึกอินกับหนังช้าๆเรื่องนี้ของเขาเป็นอย่างมาก ซึ่งดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะอะไรความรู้สึกที่มีต่อหนังสองเรื่องนี้ถึงได้แตกต่างกันมากขนาดนี้ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่า
1.หากมองในแง่ลบ ก็อาจจะมองได้ว่า CHENG WEN-TANG ยังคงเสแสร้ง แต่เสแสร้งเก่งขึ้นมาก เขามีทักษะความเชี่ยวชาญในการชักจูงอารมณ์ผู้ชมได้เก่งขึ้น ถึงแม้เขาอาจจะไม่ใช่ “ศิลปิน” จริงๆ
2. CHENG WEN-TANG ยังคงเหมือนเดิม แต่ความรู้สึกที่แตกต่างกันอย่างรุนแรงเกิดจากตัวดิฉันเอง เพราะดิฉันอาจจะอินกับเนื้อหาผู้หญิงบ้าใน BLUE CHA CHA มากกว่าเนื้อหาเหงาๆใน SOMEWHERE OVER THE DREAMLAND
--แต่ถ้าหากพูดตามรสนิยมส่วนตัวแล้ว หนังที่ดิฉันชอบสุดๆในชีวิต มักจะถูกผู้อ่านใน IMDB.COM เขียนประณามว่าเป็นหนังที่ PRETENTIOUS อยู่เสมอ ดังนั้นประโยคที่คนอื่นพูดว่า “หนังเรื่องนี้เสแสร้ง” จึงมีความหมายเท่ากับว่า “หนังเรื่องนี้น่าจะเหมาะกับดิฉันมากๆ หรือ มีโอกาสสูงมากที่หนังเรื่องนี้จะให้ความสุขอย่างสุดๆแก่ดิฉัน” ฮ่าฮ่าฮ่า
สรุปว่าดิฉันไม่สนใจหรอกค่ะว่าหนังเรื่องไหนจะเสแสร้งหรือไม่เสแสร้ง, ดีหรือเลว, เป็นศิลปะหรือเป็นขยะ ดิฉันสนใจแค่ว่าหนังเรื่องนั้นให้ความสุขแก่ดิฉันหรือไม่เท่านั้นเอง และดิฉันก็พบว่าหนังหลายเรื่องที่ถูกคนอื่นด่าว่าเสแสร้ง หรือหนังที่ถูกคนอื่นๆด่าว่าเลวหรือน่าเบื่อ มักจะเป็นหนังที่ให้ความสุขแก่ดิฉัน :-)
ชอบคำอธิบายของคุณ celinejulie ผมมีความรู้สึกว่าหนังเรื่องไหน PRETENTIOUS หรือไม่ บางทีก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน มันเป็นเรื่อง subjective ค่อนข้างมาก อย่างผมมีความรู้สึกว่าหนังเรื่อง "หมานคร" PRETENTIOUS เหลือเกิน แต่ปรากฏว่าอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือคนหนึ่งกลับไม่คิดเช่นนั้น ผมเลยคิดว่าบางทีหนังเรื่องนั้นอาจจะแค่ไม่ค่อยถูกโฉลกกับผม หรือไม่เข้าทางผม ว่างั้นเถอะ (แต่ผมกลับไม่รู้สึกอย่างนั้นกับ "ฟ้าทะลายโจร" ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก)
อย่างไรก็ตาม ผมชอบหนังในรายการที่ระบุมาอยู่หลายเรื่องเหมือนกัน โดยเฉพาะหนังของไฉ่หมิงเลี่ยง และหนังของพี่เจ้ย อ้อ ผมชอบ A Scene at the Sea ของคีทาโน่มากๆ ด้วยเหมือนกัน ไม่รู้ทำไม
ตอบคุณ OLIVER
ชอบ A SCENE AT THE SEA (1991, A) มากๆเหมือนกันค่ะ ตอนดูรอบแรกชอบในระดับประมาณ A- แต่พอได้ดูรอบสองก็ชอบขึ้นมาก
ได้ดู A SCENE AT THE SEA รอบแรกในงาน RETROSPECTIVE ของ KITANO ที่ JAPAN FOUNDATION ตอนดูรอบแรกรู้สึกว่าปรับตัวเองให้เข้ากับหนังเรื่องนี้ไม่ทัน ยังจูนตัวเองให้เข้ากับหนังเรื่องนี้ไม่ได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่รู้มาก่อนว่าหนังของคิตาโน่จะมีอารมณ์ง่ายๆสบายๆอย่างนี้ด้วย
พอมีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสอง ก็รู้ตัวแล้วว่านี่ไม่ใช่หนังที่จะมารอดูคิตาโน่ปล่อยมุกเด็ดๆ หรืออารมณ์ฮาๆ ห่ามๆ โหดๆ แบบหนังเรื่องอื่น ก็เลยปรับอารมณ์ให้เข้ากับหนังเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่ และรู้สึกว่านี่เป็นหนังที่ชอบมากๆอีกเรื่องนึง สาเหตุสำคัญเป็นเพราะชอบพระเอกด้วยแหละ
หนังอีกเรื่องนึงที่จำได้ว่าต้องใช้เวลาระยะนึงในการจูนตัวเองให้เข้ากับหนัง ก็คือ THE BIRTH OF LOVE (1993, A+++++) ของ PHILIPPE GARREL จำได้ว่าตอนที่ดูหนังเรื่องนี้รอบแรกในช่วง 1 ชั่วโมงแรก รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีบางอย่างแปลกๆ ทั้งๆที่หนังไม่มีอะไรแปลก หนังก็แค่เล่าเรื่องและถ่ายทอดสภาพชีวิตของตัวละครอย่างค่อนข้างตรงไปตรงมาและเรียบง่าย แต่หลังจากผ่านช่วง 1 ชั่วโมงแรกไป ก็ค่อยๆรู้สึกว่าคลื่นสมองของตัวเองหรือจังหวะการหายใจของตัวเอง (หรือบางทีอาจจะเป็นการเดินลมปราณของตัวเอง ฮ่าๆๆๆ) เหมือนเปลี่ยนไป เหมือนกับว่ามันถูกจูนให้เข้ากับจังหวะของหนังได้อย่างสนิทลงตัว และรู้สึกว่าทุกๆวินาที ทุกๆช็อต ทุกๆอย่างในหนังเรื่องนี้มันให้ความรู้สึกที่จรุงจิตพิสมัยมากๆ มันงดงามอย่างสุดๆ ทั้งๆที่หนังก็มีอะไรแตกต่างไปจากช่วง 1 ชั่วโมงแรกเลย แต่มันเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้มันมี “จังหวะ” หรือมันมี “ความถี่คลื่น” อะไรบางอย่างที่ดิฉันไม่คุ้นชิน แต่พอใช้เวลาระยะหนึ่ง พอเริ่มปรับสภาพจิตสภาพความคิดของตัวเองให้เข้ากับหนังได้แล้ว มันก็จะกลายเป็นอะไรที่วิเศษสุดมากๆ
ตอนหลังได้มีโอกาสดูหนังเรื่องนี้รอบสอง ก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันงามสุดๆจริงๆ มันไม่ใช่ความงดงามด้านภาพนะ แต่มันเป็นความงดงามทางความรู้สึก
Post a Comment