THIS IS MY COMMENT IN BIOSCOPE WEBBOARD
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=71.990
ตอบน้อง nanoguy
น้องช่วยเล่าให้ฟังหน่อยสิว่า DELETED SCENE ฉากที่สองเป็นฉากเกี่ยวกับอะไร
ตอบคุณ GRAPPA
--พูดถึงแนวความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคอาณานิคม กับยุคหลังอาณานิคม ก็เลยนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง THE MOMENTARY ENEMY (2008, Angel Shaw, A+) ที่เพิ่งได้ดูในงาน BEFF 5 เพราะหนังสารคดีเรื่องนี้ได้ตัดภาพจากหนังฮอลลีวู้ดหลายๆเรื่องมารวมกัน โดยหนังเหล่านี้สร้างขึ้นในยุคที่ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา และหนังเหล่านี้ก็สะท้อนท่าทีเหมือนกับว่าอเมริกาเข้ามาสร้างความเจริญให้กับบ้านป่าเมืองเถื่อน ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วอเมริกาก็ทารุณชาวฟิลิปปินส์ด้วย
หนังฮอลลีวู้ดเหล่านี้ ถ้าหากดูเผินๆแล้ว ดิฉันก็แทบไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจอะไรเลย มันดูเหมือนหนังดีๆงามๆแบบหนังยุคเก่าที่เราเคยดูมาแต่อ้อนแต่ออก แต่พอนำมาเปรียบเทียบกับความจริงที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ในยุคนั้นแล้ว ก็ทำให้รู้สึกว่าหนังเหล่านี้มีด้านลบที่น่ากลัวมากๆ
อย่างไรก็ดี การที่ THE MOMENTARY ENEMY ตัดต่อหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่าหลายเรื่องมาให้เราดู ไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อให้เราตระหนักถึงประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของฟิลิปปินส์ แต่มีจุดประสงค์หลักเพื่อแสดงให้เห็นว่า แนวคิดที่ผิดพลาดที่สหรัฐมีต่อฟิลิปปินส์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีความคล้ายคลึงเป็นอย่างมากกับแนวคิดที่ผิดพลาดที่สหรัฐมีต่ออิรักในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21
จำไม่ได้ว่า หนังฮอลลีวู้ดยุคเก่าที่ถูกนำมารวมไว้ใน THE MOMENTARY ENEMY มีอะไรบ้าง แต่อย่างน้อยก็มีเรื่อง COME ON MARINES (1934, Henry Hathaway)
Synopsis of COME ON MARINES from
http://www.imdb.com/title/tt0024995/plotsummary
“"Lucky" Davis, a ladies-man and a devil-may-care U. S. Marine Sergeant, is leading a Marine-squadron on an expedition through a Phillipine jungle where an outlaw bandit is leading a guerilla-war rebellion. Their assignment is to rescue a group of children from an island mission that has been cut off from all communication. It comes as a bit of a surprise when Davis discovers that the "children" are a group of 18-25 year-old girls blissfully bathing in a pool while awaiting rescue.”
--ฉากป้ายปักสุสานดั้งเดิมใน THE HALFMOON FILES ทำให้นึกถึงฉากใกล้จบของหนังสารคดีเรื่อง THE LAST BOLSHEVIK (1992, Chris Marker, A+) หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของ Alexander Medvedkin ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวโซเวียตที่เชื่อมั่นในลัทธิคอมมิวนิสต์ เขามีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1900-1989 และในฉากใกล้จบของหนังเรื่องนี้ หนังก็แสดงให้เห็นภาพของรัสเซียในยุคคอมมิวนิสต์ล่มสลาย และผู้ชมก็จะได้เห็นภาพรูปปั้นของเลนินกลิ้งโค่โล่อยู่ตามพื้น และมีเด็กๆพากันไปรุมเหยียบหัวรูปปั้นของเลนิน (ถ้าจำไม่ผิด)
ตัวดิฉันเองนั้นไม่ได้มีความรู้สึกอะไรกับเลนิน เพราะดิฉันไม่เคยรู้เรื่องราวอะไรเกี่ยวกับเขา แต่ฉากนี้ใน THE LAST BOLSHEVIK ทำให้รู้สึกเศร้ามากๆ เป็นเพราะว่าฉากนี้คงถ่ายทอดอารมณ์เศร้าของ Chris Marker ออกมาได้ดีมาก Chris Marker คงรู้สึกเศร้ามากที่ได้เห็นฝันของ Medvedkin ล่มสลาย ไม่ว่าฝันนั้นจะเป็นฝันที่ถูกต้องหรือผิดพลาดก็ตาม
ผู้สนใจดีวีดีหนังของ Chris Marker สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://filmbo.blogspot.com/2008/03/more-chris-marker-on-dvd.html
ตอบคุณ “คนมองหนัง”
โดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันชอบหนังเรื่อง “รักสยามเท่าฟ้า” ในระดับ A-/B+ ค่ะ รู้สึกว่าเป็นหนังที่ดูได้เพลินๆ แต่ก็รู้สึกตลกดีที่หนังแทบไม่ได้ให้เราเห็นการฝึกบินอย่างจริงจังเลย (น่าจะมีฉากการฝึกฝนประมาณแค่ 5 นาทีเท่านั้นมั้ง) โดยสิ่งที่ดิฉันสนใจในหนังเรื่องนี้ก็รวมถึง
1.วิธีการเวนคืนที่ดินเพื่อมาสร้างสนามบินในหนังเรื่องนี้ ซึ่งดำเนินไปอย่างสันติพอสมควร และตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการเวนคืนที่ดินเพื่อมาสร้างสนามบินนาริตะของญี่ปุ่น จากที่เคยดูมาในหนังสารคดีเรื่อง SUMMER IN NARITA (1968, Shinsuke Ogawa, A-)
http://movies.nytimes.com/movie/180367/Summer-in-Narita/overview
“Without gaining the consent of the area's farmers, the New Tokyo International Airport Corporation, with the cooperation of the Japanese government, began construction in rural Narita under the protection of riot police. The villagers, along with students from Tokyo, rose up in defiance. Documentary director Ogawa Shinsuke and his film crew participated in these heated confrontations and faithfully recorded the unfolding conflict. This film was the first of the "Sanrizuka" (or Narita) series, which would change the face of Japanese cinema. ~ Jonathan Crow, All Movie Guide”
2.ฉากให้นางเอกปักตะไคร้ไล่ฝน ซึ่งเท่ากับเป็นการทดสอบกลายๆว่านางเอกเป็นสาวบริสุทธิ์หรือไม่ ฉากนี้ทำให้ดิฉันสงสัยในเจตนาของผู้สร้างหนังว่า ต้องการสะท้อนความเชื่อเก่าๆเพียงอย่างเดียว หรือต้องการแสดงความคิดเห็นต่อความเชื่อเก่าๆด้วย เพราะในฉากนี้ ถ้าจำไม่ผิด ดิฉันเห็นพระเอกทำสีหน้าโล่งใจที่ฝนหยุดตก และราวกับเป็นการดีใจกลายๆที่ได้รู้ว่านางเอกอาจจะเป็นสาวบริสุทธิ์
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าผู้สร้างหนังเรื่องนี้ต้องการวิพากษ์สังคมยุคเก่าหรือเปล่า เพราะดิฉันดูฉากนี้แล้ว ดิฉันก็รู้สึกเกลียดชังสังคมยุคนั้นอย่างมากๆที่ดูเหมือนจะเชิดชูสาวบริสุทธิ์ และทำให้จินตนาการต่อไปว่า บางทีดิฉันอาจจะชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มขึ้นอีกเยอะ ถ้าหากนางเอกในเรื่องนี้ไม่ใช่สาวบริสุทธิ์ และพระเอกก็ดีใจที่ผู้หญิงที่เขารักไม่ใช่สาวบริสุทธิ์
ดู “รักสยามเท่าฟ้า” และดู …UNPRONOUNCABLE IN THE LINGUISTIC IMPERIALISM OF YOURS (2008, Ratchapoom Boonbunchachoke) แล้ว ก็ทำให้นึกสงสัยขึ้นมาเหมือนกันว่า มีภาพยนตร์ไทยเรื่องไหนบ้างที่นางเอกมีความสุขกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายหลายคน คิดว่าอาจมีหนังไทยในอดีตบางเรื่องที่มีเนื้อหาทำนองนี้ แต่รู้สึกว่าปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีการผลิตหนังทำนองนี้ออกมาแล้ว
ส่วนหนังไทยที่ดิฉันยอมรับว่าเกลียดชังอย่างมากๆ ก็คือเรื่อง THE LETTER (2004, Pa-oon Chantornsiri, C+) โดยปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดิฉันเกลียดหนังเรื่องนี้ ก็คือการที่หนังให้ตัวละครเพื่อนนางเอกที่มีพฤติกรรมทางเพศแตกต่างจากนางเอก “ถูกลงโทษ”
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment