จองจำ (2016, Karan Wongprakarnsanti, A+15)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.เป็นหนังที่เราคิดว่าใช้ได้
แต่ไม่ได้มีอะไรในหนังที่โดนใจเราอย่างรุนแรงนะ เราก็เลยชอบแค่ในระดับ A+15
เท่านั้น
2.ชอบที่หนังมันคุมโทนอารมณ์จริงจังได้ตลอดเรื่องน่ะ
เพราะถ้ามันคุมโทนอารมณ์จริงจังไม่ได้นี่ มันจะกลายเป็นหนังที่ “ตลกโดยไม่ได้ตั้งใจ”
ได้ง่ายมากๆนะ เพราะตัวละครคุณป้าในหนังเรื่องนี้นี่ ดูเผินๆแล้วเป็นตัวละครที่ cliche หรือ stereotype
มากๆ คือเป็นป้าที่ทำกิริยาเนิบๆกว่าคนปกติ, ดูมีความผิดปกติบางอย่าง,
พูดจาส่อพิรุธ, ทำอาการเหมือนอยู่ในหนังผีตลอดเวลา 555 คืออากัปกิริยาของป้าคนนี้นี่
มันเป็น stereotype ของหนังผีมากๆน่ะ
เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณป้านี่เล่นได้ไม่ดี หรือหนังคุมโทนอารมณ์ได้ไม่ดี เราต้องหัวเราะท้องคัดท้องแข็งกับคุณป้าคนนี้แน่ๆ
คือตัวละครคุณป้าคนนี้นี่มันมีส่วนผสมของ “สูตรสำเร็จของหนังผี”
อยู่ในตัวน่ะ แต่โชคดีที่หนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบอื่นๆที่พอใช้ได้
โดยเฉพาะโทนอารมณ์จริงจัง
องค์ประกอบอื่นๆของหนังเรื่องนี้ก็เลยช่วยให้เราไม่ขำไปกับ “สูตรสำเร็จของหนังผี”
ที่อยู่ในตัวละครคุณป้าคนนี้หรือที่อยู่ในองค์ประกอบอื่นๆในหนัง
3.สิ่งที่เราชอบก็คือความจริงจังทางอารมณ์น่ะ
เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเห็นในหนังผีทั่วๆไป ทั้งของไทยและของต่างประเทศ
เราเข้าใจว่าโจทย์ของหนังคือ horror drama และเราว่าหนังเรื่องนี้ทำในส่วนของ
drama ได้ดี มันก็เลยช่วยให้หนังเรื่องนี้แตกต่างอย่างมากจากหนัง
horror ทั่วๆไป หนังให้ความสำคัญกับสภาพจิตใจตัวละคร,
ความจริงจังทางอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร,
ประเด็นเรื่องการอาลัยอาวรณ์กับการสูญเสียคนที่รัก,
ทางเลือกในการรับมือกับการสูญเสียคนที่รัก, การ “ตัดใจไม่ลง”
ทั้งการตัดใจจากคนที่รัก และการตัดใจจากสถานที่
และการตัดใจไม่ลงนี้ก็กลายเป็นบ่วงหรือโซ่ตรวนที่คุมขังเราไว้โดยที่เราไม่รู้ตัว
4.ในส่วนของ horror นั้น เราว่าหนังเรื่องนี้แทบไม่น่ากลัวเลยนะ 555
แต่ก็มีความน่ากลัวอยู่บ้างในบางฉาก อย่างเช่น
4.1 ฉากที่พระเอกมองไปในสวน แล้วคนดูก็พยายามเพ่งตามว่ามันมีอะไรในสวน
4.2 ฉากแรกที่คนดูเห็นกฤษฎ์
เราว่าการตัดต่อเพื่อสร้างความตกใจในฉากนี้ทำได้ดี
4.3 ฉากเห็นผีที่ประตูบ้านในตอนท้าย
5.ถ้าจะถามว่าควรปรับปรุงตรงไหนอะไรยังไง เราก็ไม่ค่อยแน่ใจนะว่าควรแนะนำอะไรดี
555 แต่เราว่าพระเอกยังเล่นติดๆขัดๆอยู่บ้างนะ
และเราว่าหนังมันไม่ค่อยมีอะไรมากนักสำหรับเราน่ะ
เหมือนประเด็นในหนังมันก็ไม่ได้โดนใจเรามากเป็นพิเศษ,
การนำเสนอประเด็นก็ไม่ได้มีอะไรที่พิสดาร แต่ค่อนข้างตรงไปตรงมา และอารมณ์ horror ในหนังก็ไม่ค่อยมี
แต่ข้อดีของหนังก็คือความ drama จริงจังของมันนั่นแหละ
ถ้าหากถามว่า ควรจะพัฒนาอารมณ์ horror ในหนังยังไง
เราว่าหนังอย่าง 10 AUDIENCES (2016, Jakkrapan Sriwichai) ก็เป็นตัวอย่างที่ดีนะ
เพราะมันไปได้เกือบสุดในด้านอารมณ์ horror หรือถ้าหากถามว่าจะพัฒนาอารมณ์ thriller เข้มข้นตึงเครียดได้ยังไง เราว่าหนังอย่าง AIM (2016, Aroonakorn
Pick) ก็เป็นตัวอย่างที่ดีเช่นกัน 555
ส่วนตัวอย่างหนัง horror drama ที่ไปได้สุดตีนจริงๆนั้น
หนังอย่าง UNDER THE SHADOW (2016, Babak Anvari), THE BABADOOK (2014,
Jennifer Kent) และ DARK WATER (2005, Walter Salles) ก็คงจะเป็นตัวอย่างที่ดี
คือเราว่าที่ “จองจำ” ขาดอารมณ์ horror ไป
เป็นเพราะหนังมันไม่ได้สร้างสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่า “พระเอกตกอยู่ในอันตราย”
ด้วยแหละ คือพระเอกไม่ได้ตกอยู่ในอันตรายอะไรเลยในหนังเรื่องนี้ หนังก็เลยแทบไม่มีอารมณ์
horror เลย
ส่วนอารมณ์ drama ในหนังที่เราว่าไปไม่สุดนั้น
เป็นเพราะเราไม่ได้สัมผัสถึงความผูกพันของคุณป้ากับสามี และพระเอกกับแม่
(ที่ตายไปแล้ว) ในระดับที่รุนแรงมากนักน่ะ คือหนังบอกให้เรารู้ว่าตัวละครเหล่านี้มีความผูกพันอย่างรุนแรง
แต่มันแค่บอกให้เรา “รู้” แต่หนังยังไม่สามารถทำให้เรา “สัมผัส” ได้จริงๆถึงความผูกพันเหล่านั้นอย่างรุนแรงตามไปด้วย
เราก็เลยว่าอารมณ์ drama ในหนังมันยังไปไม่สุดซะทีเดียว
แต่เราพอใจกับการที่หนังสื่อความสัมพันธ์ระหว่างสามีป้ากับบ้านมากที่สุดนะ
คือการถ่ายให้เห็นสามีป้านั่งลูบธรณีประตู และตัดสินใจไม่จากบ้านไปในตอนท้ายของหนัง
มันทำให้เรา “สัมผัส” ได้ถึงความผูกพันตามไปด้วยน่ะ จริงๆแล้วก็เราก็อธิบายไม่ค่อยถูกเหมือนกัน
คือการเห็นคุณป้าดองศพผัว มันทำให้เรา “รู้” ถึงความผูกพัน
แต่การเห็นผัวคุณป้าลูบธรณีประตู มันทำให้เรา “สัมผัส” ได้ถึงความผูกพันน่ะ
สรุปว่าที่หนังทำออกมาได้แบบนี้ เราก็ชอบมากแล้วนะ คือถ้าพยายามจะ horror มากกว่านี้
แต่คนทำไม่ชำนาญจริง มันก็อาจจะกลายเป็นเพียงหนัง horror สูตรสำเร็จเรื่องนึงก็ได้
หรือถ้าพยายามจะ drama มากกว่านี้ แต่ใช้วิธีการที่ผิดพลาด
อย่างเช่น การ flashback นู่นนั่นนี่ มันก็อาจจะทำให้หนังออกมาเละตุ้มเป๊ะก็ได้
สรุปว่าที่เป็นอยู่นี้ เราก็ชอบมากในระดับนึงแล้วจ้ะ
No comments:
Post a Comment