THE HUNT (2020, Craig Zobel, A+30)
1.สุดฤทธิ์ ยกให้ตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้เป็น one
of my most favorite heroines of all time เลย
เพราะถ้าหากเราจะต้องเป็นตัวละครในหนัง เราก็อยากเป็นตัวละครแบบนี้น่ะ
หรือถ้าหากเราแต่งนิยาย
ตัวละครหญิงในนิยายของเราก็คงออกมาคล้ายๆนางเอกหนังเรื่องนี้
ตัวละครหญิงแบบที่เราอยากเป็น
ก็คือตัวละครที่มีความสามารถทางการต่อสู้ป้องกันตัว แบบ ซากิ อาซามิยา ใน SUKEBAN DEKA (สิงห์สาวนักสืบ) หรือนางเอก
SERENITY (2005, Joss Whedon) และมีไหวพริบในการเอาตัวรอดแบบ
MacGyver น่ะ เพราะฉะนั้นตัวละครนางเอกแบบใน THE HUNT
และใน YOU'RE NEXT (2011, Adam Wingard) ก็เลยเข้าทางเรามากที่สุด
2. ชอบที่หนังเรื่องนี้เป็นเหมือนหนังที่ฝ่าย liberals
ทำขึ้นมาเพื่อเสียดสีฝ่าย liberals ด้วยกันเอง
คล้ายๆหนังแบบ NASTY BABY (2015, Sebastian Silva) และ WHATEVER
HAPPENED TO MY REVOLUTION (2018, Judith Davis) ซึ่งเราว่ามันทำยากกว่าหนังที่ฝ่าย
liberals ทำขึ้นมาเพื่อเสียดสีฝ่ายขวาจัด/อนุรักษ์นิยมน่ะ
UNHINGED (2020, Derrick Borte, A+30)
1. ดูแล้วอินมาก
รู้สึกว่าตัวผู้ร้ายมันน่ากลัวจริง
มันเป็นคนที่สติขาดผึงแล้วพร้อมจะทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า
2.ชอบการคุยกันถึงคำศัพท์ precarious ตอนต้นเรื่อง
3.ดูแล้วนึกถึง DUEL (1971, Steven
Spielberg) กับ THE HITCHER (2007, Dave Meyers) ที่พูดถึงคนบ้าบนท้องถนนเหมือนกัน
ห้วงยามแห่งความพ่ายแพ้ (2020, Pawat Kantawirud, 19min, A+30)
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ชอบตัวเนื้อเรื่องที่เลือกมาเล่ามากๆ
ที่พูดถึงปัญหาในกลุ่มนักศึกษาที่เข้าป่าหลังเหตุการณ์ปี 1973
รู้สึกว่าประเด็นนี้เป็นประเด็นที่แทบไม่เคยมีหนังสั้นไทยหยิบยกมาเล่า
เหมือนหนังที่พูดถึงประเด็นนี้ได้ดีก็คือ THE MOONHUNTER (2001, Bhandit
Rittakol) ในขณะที่หนังไทยโดยทั่วไปแทบไม่เคยพูดถึงกลุ่มคนกลุ่มนี้เลย
หรือไม่ก็นำเสนอกลุ่มคนกลุ่มนี้ในแง่บวกเป็นส่วนใหญ่ (อย่างเช่น พิราบ (2017,
Pasit Promnumpol), THE SPIRIT OF THE AGE (2015, Wichanon Somumjarn,
documentary) และหนังสารคดีเรื่อง “รุ่งอรุณวันใหม่ในป่า” (1980,
สหายรัศมี)) ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดที่หนังเรื่องใดจะนำเสนอภาพคนกลุ่มนี้ในแง่บวกเป็นส่วนใหญ่
เพราะคนกลุ่มนี้ก็เป็นมนุษย์ที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ในตัว
เพียงแต่ว่าพอหนังเรื่องนี้นำเสนอปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นในคนกลุ่มนี้
มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้ดูน่าสนใจมากขึ้น
และช่วยให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังไทยเรื่องอื่นๆ
2.การแสดงของคุณดวงใจ หิรัญศรีในฉากที่สองที่เธอปรากฏตัวก็ดีมากๆ ดูแล้วแทบร้องไห้
3.ตัวละคร Pat ก็ดีมากๆ เราชอบคนแบบนี้
4.รู้สึกว่าหนังมันทำได้ดีพอสมควรในแง่การเป็นหนังสั้น
คือเรื่องราวในหนังมันน่าจะกินเวลาหลายปี ตั้งแต่ก่อนเข้าป่าจนถึงออกจากป่า
แต่หนังเลือกเล่าเรื่องทั้งหมดภายในไม่กี่ซีน
และในช่องว่างระหว่างซีนมันมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเยอะมาก (เราไม่ได้เห็นการหนีเข้าป่า,
ความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่นำไปสู่ข้อกล่าวหา, การฆ่าตัวตาย,
การออกจากป่า) คือหนังมันกระโดดข้ามเหตุการณ์สำคัญไปเยอะ
แต่เราก็ดูรู้เรื่องหมดเลย เพราะเหมือนหนังมันจับจุดได้ดีว่าควรเล่าตรงไหนบ้าง
อย่างไรก็ดี ความเป็นหนังสั้นเพียง 19 นาที ก็ทำให้หนังดู “ไม่สมบูรณ์เล็กน้อย”
อยู่เหมือนกัน เพราะเรารู้สึกว่ามันดูเร็วเกินไป หรือดูยัดเยียดเกินไป
ที่ตัวอิฐมีอาการคล้ายๆสติแตกในออฟฟิศตอนท้ายเรื่องน่ะ คือถ้าหากเราได้เห็น “ชีวิตการทำงาน”,
“แรงกดดันในการทำงาน” หรือ “แรงกดดันในการหลอกลวงลูกค้า” มากกว่านี้ เราก็จะเข้าใจอาการสติแตก
หรือ “ความไม่อยากจะโกหกลูกค้า” หรือ “ความไม่อยากจะอยู่เป็นอีกต่อไป”
หรืออะไรทำนองนี้ของอิฐได้มากขึ้นในช่วงท้าย แต่พอหนังไม่ได้ปูความกดดันในการทำงานของอิฐมาก่อนหน้านี้มากนัก
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอิฐในช่วงท้ายของหนังก็เลยดูเร็วเกินไปนิดนึง
5.รู้สึกว่าด้าน mood and tone ของหนังก็ยังไม่ได้ทรงพลังมากนะ
แต่ก็เข้าใจดีแหละว่าพอเป็นหนัง ICT ที่ทุกคนต้องทำหนังจบแบบเดี่ยวๆ
มันก็ยากที่หนังจะสมบูรณ์แบบไปซะทุกด้านได้ 555 เพราะคนแต่ละคนมันจะให้เก่งไปทุกด้านมันก็ไม่มีทางเป็นไปได้
แต่หนังเรื่องนี้เราก็ชอบมากอยู่ดี
เพราะมันเลือกเนื้อเรื่องที่นำมาเล่าได้น่าสนใจดี ถึงแม้องค์ประกอบด้านอื่นๆอาจจะไม่ได้ถึงขั้นยอดเยี่ยมก็ตาม
6.อีกจุดที่ชอบมากก็คือว่า ถึงแม้หนังมันจะพูดถึงเหตุการณ์ในอดีต
แต่ปัญหาที่คล้ายๆกับในหนังก็ยังคงเป็นปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะเราว่าฝ่ายซ้ายและฝ่าย
liberal หลายคนในปัจจุบัน
ก็พบว่าคนอื่นๆที่ดูเหมือนอยู่ฝ่ายเดียวกับตน ก็อาจจะไม่ได้มี “อุดมการณ์ที่ตรงกับตน”
ซะทีเดียว เหมือนแต่ละคนก็จะมีอุดมการณ์ที่เหมือนกันบ้างและแตกต่างกันบ้างในแต่ละประเด็น
เราว่าประเด็น “ความผิดหวังที่มีต่อคนฝ่ายเดียวกัน” มันยังคงเป็นประเด็นที่ relevant
มากในปัจจุบัน
7. อีกประเด็นที่ยังคง relevant มากในปัจจุบัน
ก็คือประเด็นที่ว่า “เราจะเลือกพูดความจริงหรือไม่” ในแต่ละสถานการณ์ด้วย เราจะพูดโกหกเพื่อให้ตัวเองรอดชีวิตหรือไม่,
เราจะพูดโกหกเพื่อปลอบใจคนอื่นหรือไม่ และสิ่งที่เราพูดเพื่อจูงใจลูกค้า
ถือเป็นการโกหกหรือไม่ อะไรทำนองนี้
อย่างเราเอง ถ้าหากเราเป็น Pat เราก็คงทำแบบ Pat นะ เราเข้าใจว่า Pat ไม่ได้ลวนลามใคร
(ถึงแม้หนังจะไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเขาผิดจริงหรือเปล่า)
และถ้าหากเขาไม่ได้ลวนลามใคร เขาก็ทำถูกต้องแล้วที่ไม่ยอมโกหก
แต่ถ้าหากเราเป็นอิฐ เราก็อาจจะทำตรงกันข้ามกับอิฐ 555
เราอาจจะบอกแม่ของ Pat ไปตามตรงว่าเกิดอะไรขึ้น แต่เราอาจจะเลือกทำงานในออฟฟิศต่อไป
เพราะเรารู้สึกว่าการพูดจูงใจลูกค้าไม่ใช่การโกหกที่เลวร้ายมากเกินไป อย่างไรก็ดี เราก็ไม่ได้รู้สึกว่าอิฐทำอะไรผิดที่เลือกทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเราในสถานการณ์ต่างๆ
8.อีกประเด็นที่ยังคง relevant มาจนถึงปัจจุบันนี้ก็คือ
“การเลือกที่จะอยู่เป็น” ในสถานการณ์ต่างๆด้วย เราว่ามันน่าสนใจดี
พอดูหนังเรื่องนี้แล้ว เราลองมาคิดทบทวนตัวเองดู เราว่าเราก็เลือกที่จะ
“อยู่เป็น” ในหลายๆสถานการณ์เหมือนกันนะ 555
แต่ยังดีที่เราไม่จำเป็นต้องโกหกใครเพื่อจะได้ “อยู่เป็น” แต่ส่วนใหญ่เราเพียงแค่อยู่เฉยๆและไม่แสดงความเห็นอะไรเวลาเกิดดราม่ารุนแรงต่างๆนานาเวลาฝ่ายซ้ายหรือฝ่าย
liberals ตบตีกันเองน่ะ
555
คือจริงๆแล้วในสถานการณ์ดราม่าต่างๆหลายๆสถานการณ์ เราก็มี “ความเห็นของตัวเอง”
อยู่ในใจน่ะแหละ แต่เราไม่แสดงความเห็นของตัวเองออกมา
ชีวิตเราจะได้ไม่ดราม่ามากมายไปกว่านี้ “no more drama in my life” Mary
J. Blige เคยกล่าวไว้ค่ะ 555
พอหนังเรื่องนี้พูดถึง “การอยู่เป็น” ท่ามกลางความขัดแย้ง
เราก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากๆ เพราะมันเป็นประเด็นที่หลายๆคนในยุคปัจจุบันก็ต้องเผชิญด้วย
No comments:
Post a Comment