Saturday, November 28, 2020

E RIAM SING

 AI AMOK (2020,  Yu Irie, Japan, A+30) 


สนุกสุดขีด อยากส่ง AI NOZOMI ไปตบกับ Umbrella Corporation จาก RESIDENCE EVIL 


MIO ON THE SHORE (2019, Ryutaro Nakagawa, Japan, A+30) 


รู้สึกติดใจกับฉากนางเอกไม่ยอมกินอาหาร ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเธอไม่พอใจที่ต้องร่วมโต๊ะกับหนุ่มสาวที่คบชู้กัน หรือเพราะอะไรกันแน่ แต่พอนางเอกไม่พูดออกมา แล้วหนังไม่ได้บอกตรงๆ มันก็เลยคาใจเรา หรือจริงๆแล้วเธอแค่ไม่อยากกินตะพาบน้ำ 555 


E RIAM SING (2020, Prueksa Amaruji, A+25)

อีเรียมซิ่ง 


1.ชอบมากกว่าที่คาดไว้มาก ชอบการสร้างบุคลิกของนางเอก และชอบความเป็นหนังผจญภัยที่คล้ายคลึงกับหนังนิทานพื้นบ้านแอฟริกา คือพอมันเป็นหนังแนว “สาวใจกล้าออกผจญภัย” เราก็จะอินกับหนังเรื่องนี้ได้ง่ายกว่าหนังไทยโรงใหญ่หลายๆเรื่อง 


2.แต่รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีปัญหาสำหรับเราในแบบที่คล้ายๆกับหนังเรื่อง “หลวงพี่กะอีปอบ” (2020, Chalerm Wongpim) นั่นก็คือความชอบของเราที่มีต่อหนัง 2 เรื่องนี้คือความชอบของเราที่มีต่อ “หนังอีก genre หนึ่งที่แอบซ่อนอยู่ในหนังตลก 2 เรื่องนี้” คือโดยรสนิยมส่วนตัวแล้ว เราไม่ค่อยอินกับหนังตลกของไทยน่ะ และเราก็ไม่ค่อยอินกับ “ความตลก” ที่มีอยู่มากมายใน อีเรียมซิ่ง และหลวงพี่กะอีปอบด้วย 


แต่ตอนดู หลวงพี่กะอีปอบ นั้น เรารู้สึกเลยว่า หนังเรื่องนี้มันสามารถดัดแปลงเป็นหนังสยองขวัญที่เข้าทางเราอย่างสุดๆได้ หรือดัดแปลงเป็นหนัง “แอคชั่นอิทธิปาฏิหาริย์” (หรือเราขอเรียกเล่นๆว่า หนังแนว magical action)  ที่เข้าทางเราอย่างสุดๆได้ ถ้าหากเพียงแต่ผู้สร้างไม่เลือกที่จะทำมันออกมาเป็นหนังตลก 


และเราก็รู้สึกแบบนี้กับอีเรียมซิ่งเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้สามารถดัดแปลงเป็นหนังบู๊แนว SUKEBAN DEKA หรือสิงห์สาวนักสืบได้สบายเลย หรือดัดแปลงเป็นหนังแนว magical action ได้สบายเลย ถ้าหากเพียงแต่ผู้สร้างไม่เลือกที่จะทำมันออกมาเป็นหนังตลก 


3.แต่เราก็ไม่ตำหนิผู้สร้างแต่อย่างใดทั้งสิ้นที่ทำหนังทั้งสองเรื่องนี้ออกมาเป็นหนังตลกนะ เพราะเราเข้าใจว่ามันเป็นความจำเป็นเพื่อความอยู่รอดของชีวิตน่ะ 555 เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการหาเงินเพื่อยังชีพ และถ้าหากหนังตลกมันทำเงินได้ดีกว่าหนังประเภทอื่นๆในไทย ผู้สร้างก็คงต้องเลือกสร้างหนังตลกไว้ก่อน จะได้ไม่ต้องขาดทุน 


และเราคิดว่าการใช้ genre ตลกมาครอบ genre แอคชั่นในหนังทั้งสองเรื่องนี้ มันมีข้อดีอย่างนึงสำหรับผู้สร้างหนังไทยด้วย เพราะ “หนังตลก” มันไม่ require ความสมจริงมากเท่าหนังแอคชั่นน่ะ คือในหนังตลกนั้น ผู้ร้ายสามารถนอนหลับในเวลาที่ไม่ควรนอนหลับก็ได้ เพราะมันเป็นหนังตลก หรือการผายลมสามารถใช้เป็นอาวุธในการจัดการกับผู้ร้ายก็ได้ เพราะมันเป็นหนังตลก ในขณะที่หนังแอคชั่นจะไม่อนุญาตให้เกิดเหตุการณ์เหี้ยๆห่าๆอะไรแบบนี้ได้มากนัก 


และเราคิดว่า “ความสมจริง” เป็นจุดอ่อนของผู้สร้างหนังไทยกระแสหลักโดยส่วนใหญ่น่ะ และบางทีมันอาจจะเป็นสาเหตุนึงก็ได้ที่ทำให้หนังไทยไม่ค่อยมีหนังดีๆแนวไซไฟ, แนวสืบสวนฆาตกรรม หรือแนวขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะหนังทั้ง 3 แนวนี้มันพึ่งพาความสมเหตุสมผลและความสมจริงมากๆน่ะ มากกว่าหนังแอคชั่นเสียอีก ในขณะที่ “หนังผี”, “หนังตลก” และ “หนังคัลท์” ถือเป็นหนังที่พึ่งพาความสมจริงน้อยมากๆ และบางทีนี่อาจจะเป็นสาเหตุนึงก็ได้ที่ทำให้คนไทยถนัดทำหนังผีกับหนังตลก เพราะมันไม่ต้องอาศัยความสมจริงหรือความเป็นเหตุเป็นผลมากนัก 


เราก็เลยรู้สึกว่า ถึงแม้ใจจริงแล้วเราจะอยากให้ “อีเรียมซิ่ง” ออกมาในแนว “สิงห์สาวนักสืบ” ที่นางเอกเชี่ยวชาญในการบู๊ และออกต่อสู้กับเหล่าร้ายและอุปสรรคต่างๆอย่างกล้าหาญชาญชัย เราก็เข้าใจดีว่าเพราะเหตุใดหนังเรื่องนี้ถึงไม่ได้ออกมาในแบบที่เราต้องการ เพราะการทำหนังเรื่องนี้ให้เป็นหนังตลก น่าจะช่วยให้หนังเรื่องนี้ไม่ขาดทุน และมันน่าจะช่วยให้หนังเรื่องนี้หลีกเลี่ยงจากจุดอ่อนของหนังไทยได้ด้วย ซึ่งจุดอ่อนที่ว่าก็คือความไม่สมจริงในด้านต่างๆ เพราะหนังตลกมันอนุญาตให้เกิดความไม่สมจริงเหล่านี้ได้อยู่แล้ว 


4.ชอบการสร้างบุคลิกของนางเอกกับพี่สาวมากๆ เรารู้สึกว่านางเอกแร่ดแบบออกนอกหน้า ส่วนพี่สาวจริงๆแล้วเป็นคน “แร่ดเงียบ” 5555 


5.จริงๆแล้วช่วงครึ่งชั่วโมงแรกของหนังเราชอบไม่มากนัก แต่พอมีการกางแผนที่ออกผจญภัย กราฟความชอบของเราก็พุ่งสูงทันที เพราะมันทำให้เรานึกถึงหนังแนวนิทานพื้นบ้านแอฟริกาที่เราชอบสุดๆ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ 


5.1 KIRIKOU AND THE SORCERESS (1998, Michel Ocelot, Raymond Burlet, France)

https://www.imdb.com/title/tt0181627/?ref_=nv_sr_srsg_0 


5.2 MINGA AND THE BROKEN SPOON (2017, Claye Edou, Cameroon) 


เราชอบพล็อตการผจญภัยแบบเจออุปสรรคอิทธิปาฏิหาริย์เป็นด่านๆ อะไรแบบนี้มากๆ ดีใจที่มีผู้สร้างหนังไทยเอาพล็อตแบบนี้มาใช้ ถึงแม้ว่าเราจะอยากให้โทนของหนังออกมาจริงจังมากกว่านี้ก็ตาม 


6.ถ้าถามว่าเราอยากให้ หลวงพี่กะอีปอบ และอีเรียมซิ่ง ออกมาเป็นหนังแบบใด เราก็ขอตอบว่า เราอยากให้ออกมาเป็นแบบ SMING (2014, Pan Visitsak) น่ะ เราว่าอันนี้เป็นหนังแนว magical action ของไทยที่เข้าทางเราอย่างสุดๆ 


ส่วนหนังแนว magical action ที่เราชอบมากพอสมควร ก็คือพวกหนังอย่าง DYNAMITE WARRIOR คนไฟบิน (2006, Chalerm Wongpim), ขุนพันธ์ (2016, Kongkiat Khomsiri), จอมขมังเวทย์ NECROMANCER (2005, Piyapan Choopetch) อะไรพวกนี้น่ะ แต่เราว่าหนังกลุ่มนี้ดูมาโชๆ ดูผู้ชายไปหน่อยสำหรับเรา 555 


แต่หนังกลุ่ม magical action ของไทยที่โสๆก็มีเยอะนะ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2000 พวกหนังอย่าง “5 แถว” (2008, Nati Phunmanee) อะไรทำนองนี้ คือถึงแม้ว่าเราจะชอบหนังแนว magical action มากกว่าหนังตลก แต่มันก็มีหนังไทยใน genre นี้ที่เราไม่ชอบหลายเรื่องเหมือนกัน 


7.ถ้าหากเราเป็นคนเขียนบทหนังเรื่องนี้ เราจะแต่งเรื่องให้นางเอกมีฝาแฝดที่เกิดวันเดียวกัน แต่ฝาแฝดคนนี้เป็นคนร่าน เคยมีเซ็กส์กับผู้ชายมาแล้วหลายคน ฝาแฝดคนนี้ก็เลย “ไม่ซวย” เพราะความร่านของเธอทำให้เธอไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มโจร ส่วนนางเอกตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มโจรเพราะเธอ “ไม่ร่าน” แบบฝาแฝดของเธอ 5555 


อันนี้เป็นรูปของศุภรัตน์ มีปรีชา ที่รับบทเป็นหัวหน้ากลุ่มโจรในหนังเรื่องนี้ 


E RIAM SING (ต่อจากที่เขียนคราวก่อน) 


8.ชอบความเห็นของเพื่อนคนนึงมากๆ ที่เพื่อนเขียนว่า 


"อีเรียมซิ่งนี่ถ้าผนวกความสิงสาวนักสืบไปด้วยคือได้ดูอีกรอบแน่ 


เรียม/พี่/ แม่/ป้าอีกบ้าน และชาวบ้านอื่นๆ คือทุกคนปกติ พอองก์​หลัง โจรมา เฉลยว่าชาวบ้านอื่นๆคืออดีตสิงสาวนักสืบยุคแรก สิงสาวเคียว สิงสาวสุ่ม สิงสาวงอบ สิงสาวไซ สิงสาวข้อง ฯลฯ  แตกแตนแน่ๆ" 


9. อีกปัจจัยที่ทำให้ชอบ อีเรียมซิ่ง อย่างรุนแรง คือความสำเร็จของนางเอกในการต่อสู้พิชิตเหล่ามารนั้น ไม่ได้พึ่งพา "พระเอก" เลยแม้แต่นิดเดียวน่ะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดความคาดหมายของเรามากๆ เพราะเรานึกว่า นางเอกจะได้รับความช่วยเหลือ จากตำรวจหนุ่มหล่อจากเมืองกรุง อะไรทำนองนี้ 


การต่อสู้ของนางเอกได้รับความช่วยเหลือจากกะเทย, ตัวตลก 3 คน และพระวัยชรา โดยไม่มี "พระเอก" ให้พึ่งพาในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยชอบมากๆ 


ส่วนหนุ่มหล่อในหนังเรื่องนี้ มีสถานะเป็น คนที่พึ่งพาไม่ได้, โจร และ "รางวัลแห่งความเงี่ยนของนางเอก" หลังจากนางเอกกรำศึกมานาน และเราก็ชอบสุดๆที่หนุ่มหล่อในหนังถูก treat แบบนี้ เขาไม่ใช่คนที่นางเอกต้องพึ่งพา แต่เป็นรางวัลแห่งความเงี่ยนของนางเอก 55555 


10. อย่างที่เขียนไปแล้วว่า เราไม่ชอบตัว genre หนังตลก แต่ตัวโครงสร้างพล็อตของอีเรียมซิ่งนั้นเข้าทางเรามากๆ (ถ้าเพียงแต่มันทำออกมาเป็นโทนจริงจัง) ดูแล้วนึกถึงสิงห์สาวนักสืบตอนนึงที่เราชอบมากๆ ที่สิงห์สาวลูกดิ่ง, สิงห์สาวว่าว กับสิงห์สาวลูกแก้ว ต้องร่วมมือกันไปช่วยตัวประกันที่เป็นเด็กทารกที่ถูกเหล่าร้ายจับไป โดยที่ผู้ร้ายใช้บูมเมอแรงเป็นอาวุธ แล้วเหล่าสิงห์สาวต้องฝ่า "ด่านอันตราย" ต่างๆ ก่อนจะช่วยตัวประกันออกมาได้ โดยที่ด่านนึงเป็น "หุ่นยนต์ช็อตไฟฟ้า" แล้วด่านสุดท้ายเป็นดงกับระเบิดที่หนักมากๆ 


E LAR AEY (2020, Ekachai Sriwichai, Artit Sripoom, A+30)

อีหล่าเอ๋ย (เอกชัย ศรีวิชัย, อาทิตย์ ศรีภูมิ) 


กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด  


ชอบมากกกกกกกกกกกกกกกก 


ตายแล้ววววววววววววววววววววววว 


หนังอาจจะมีข้อบกพร่องเยอะตามสไตล์หนังไทยเมนสตรีมนะ แต่ชอบบาง moments ในหนังอย่างรุนแรงมาก ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง อินกับ "ความจน"  ของตัวละครในบางฉากมากๆ 


CASSIA FISTULA ราชพฤกษ์ (2012, Nontawat Numbenchapol, video installation) 


ถ้าไม่บอกว่าเป็น video ในปี 2012 เราต้องนึกว่าเป็น video ที่เพิ่งทำหลังจากเกิดความเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นมา 


พอเห็นจุดที่ตั้งของวิดีโอ เราก็นึกถึงคำว่า "ทะลุฝ้า" "ทะลุเพดาน" โดยไม่ได้ตั้งใจ 55555 


RUN (2020, Aneesh Chaganty, A+30) 


Spoilers alert

--

--

--

--

--

--

--

ทำไมดูแล้วนึกถึงการเมืองไทยตลอดเวลา  55555 เยาวชนปลดแอกมากๆ รู้สึกเลยว่า "ยาที่เขาหลอกเราว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่จริงๆแล้วทำให้เราลุกขึ้นยืน เดิน วิ่ง ด้วยตัวเองไม่ได้สักที" ในหนังเรื่องนี้ ก็ไม่ต่างอะไรจากการรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่าในไทยนี่แหละ 


ดูแล้วนึกถึง MUNDANE HISTORY (2009, Anocha Suwichakornpong) และ BUBBLE BOY (2001, Blair Hayes) มากๆ ถึงแม้ว่าตัวผู้สร้าง RUN คงไม่ได้ตั้งใจให้หนังมีความเป็นการเมืองก็ตาม


Tuesday, November 24, 2020

SENSORY MEMORY (2020, Possathorn Watcharapanit, 165min, A+30)

 

SENSORY MEMORY (2020, Possathorn Watcharapanit, 165min, A+30)

 

1.เหมือนเป็นการเอา James Benning กับ Chantal Akerman มาผสมกัน 555 เพราะหนังเรื่องนี้เกือบทั้งเรื่องเป็นการตั้งกล้องนิ่งๆ ถ่ายสถานที่ 9 สถานที่ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งส่งผลให้หนังทั้งเรื่องเหมือนมีแค่ 9 ซีน ซีนละ 15-20 นาที โดยกล้องมีการซูมออกซูมเข้าบ้างในแต่ละฉาก และมีการแพนกล้องเล็กน้อยในบางฉาก แต่แทบไม่มีการตัดภาพเลย และมีดนตรีประกอบใส่เข้ามาเพียงเล็กน้อยในช่วงท้ายของแต่ละฉาก โดยในแต่ละฉากนั้น เราจะเห็นตัวผู้กำกับ drip กาแฟไปด้วยในระยะ long shot และตอนหลังเขาก็นำกากกาแฟมาวาดภาพ (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)

 

การตั้งกล้องนิ่งๆถ่ายสถานที่โล่งๆหรือมีผู้คนน้อยมากแบบนี้ ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง RUHR ของ James Benning ส่วนการจับจ้อง "กิจกรรมการทำอาหาร" แบบนี้ ก็ทำให้นึกถึง JEANNE DIELMAN, 23, QUAI DU COMMERCE, 1080 BRUXELLES (1975, Chantal Akerman, Belgium, 202min)

 

2. แต่ข้อด้อยของหนังเรื่องนี้ในสายตาของเรา ก็คือภาพของหนังยังขาด "มนตร์สะกดตราตรึง" น่ะ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังของ James Benning, Chantal Akerman, Marguerite Duras, Chaloemkiat Saeyong, Teeranit Siangsanoh, Wachara Kanha, Weerapong Wimuktalop, etc. คือเราว่าหนังของผู้กำกับหนังทดลองบางคน ก็เน้นถ่ายภาพสถานที่นิ่งๆเป็นเวลายาวนานเหมือนกัน แต่เราจับจ้องภาพสถานที่เหล่านี้ได้เป็นเวลานานมากๆโดยไม่รู้สึกเบื่อเลยน่ะ เพราะผู้กำกับเหล่านี้สามารถถ่ายฉากสถานที่นิ่งๆเหล่านี้ให้ออกมามีมนตร์เสน่ห์ตราตรึงอย่างยากจะอธิบายได้ โดยเฉพาะในหนังอย่าง RUHR, HOTEL MONTEREY (1973, Chantal Akerman), AGATHA AND THE LIMITLESS READINGS (1981, Marguerite Duras), ZOETROPE (2011, Rouzbeh Rashidi, Ireland), SLEEP HAS HER HOUSE (2017, Scott Barley, UK)

 

แต่ไม่ใช่ว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายไม่สวยนะ มันก็สวยแหละ แต่ไม่สามารถ "สะกดจิต" เราได้นานเหมือนหนังกลุ่มข้างต้นน่ะ

 

3.แต่พอได้คุยกับผู้กำกับนิดนึงหลังหนังฉายจบ ก็ทำให้เข้าใจมากขึ้นนะ คือผู้กำกับได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจากงานศิลปะ ผัดไทย ของคุณ Rirkrit Tiravanija น่ะ

เราก็เลยแอบนึกถึงหนังเรื่อง LUNG NEW VISITS HIS NEIGHBOURS (2011, Rirkrit Tiravanija, 154min) ที่เราก็รู้สึกว่า ภาพในหนังมันไม่ได้มีมนตร์เสน่ห์ตราตรึงมากเท่าที่คาดเหมือนกัน 555

 

ไม่รู้ว่าอันนี้เป็นความแตกต่างระหว่างผู้กำกับหนังทดลองกับ artists หรือเปล่านะ เราเดาว่าบางทีผู้กำกับหนังทดลองส่วนใหญ่อาจจะให้ความสำคัญกับความ cinematic ของภาพ ภาพในหนังของพวกเขาเลย " สะกดจิต" เราได้อย่างรุนแรง แต่ artists ที่ทำงานด้าน moving image บางครั้งอาจจะเน้นที่ตัว concept ของงาน มากกว่าพลังความ cinematic ของภาพ ผลงานภาพเคลื่อนไหวของ artists บางคนก็เลยมี "ข้อดี" ในด้านอื่นๆ แทนที่จะเป็นพลังทางการสะกดจิต

 

เราก็รู้สึกว่า SENSORY MEMORY อาจจะเข้าข่ายนี้เหมือนกัน คือเน้นที่ตัว concept ของงาน มากกว่าพลังด้านภาพ

 

4.เป็นหนังที่เราต้องปรับตัวในการดูเหมือนกัน ตอนแรกเรานึกว่า เราจะจ้องสถานที่ไปเรื่อยๆได้โดยไม่เบื่อ (แบบหนังของ Marguerire Duras) แต่พอภาพในหนังมันไม่ได้ทรงพลังมากนัก เราก็เลยคิดว่า เราควรโฟกัสไปที่กระบวนการ drip กาแฟดีไหม เพราะเราก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเขาทำกันยังไง แต่ปรากฏว่า การที่หนังเรื่องนี้ถ่ายแบบ long shot ก็ส่งผลให้เราดูกระบวนการ drip กาแฟได้ไม่ชัดอยู่ดี

 

เราก็เลยต้องปรับตัวในการดู ด้วยการแบ่งโสตประสาทเพียงแค่ 20% ไปกับการดูจอภาพยนตร์ 55555 ส่วนสมองที่เหลืออีก 80% เราก็คิดอะไรเรื่อยเปื่อยๆไปเรื่อยๆ เพราะเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้มันไม่ได้ดึงดูดเราให้ดื่มด่ำไปกับภาพบนจอมากนัก ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนัง “สถานที่” เรื่องอื่นๆ ที่เราอาจจะใช้โสตประสาททั้ง 100% ไปกับภาพและเสียงบนจอ หรือใช้ภาพและเสียงบนจอในการกระตุ้นจินตนาการในหัวของเราอย่างรุนแรง

 

5.ถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ให้ความสุขกับเราในแง่ “พลังทางภาพ” แต่เราก็ชอบประสบการณ์ในการได้ดูหนังเรื่องนี้ทางจอภาพยนตร์ที่ศาลายานะ เพราะมันเป็นประสบการณ์แบบที่นานๆจะเจอทีน่ะ ประสบการณ์การนั่งดูหนังที่ “เพลิดเพลิน” เพราะเราคิดอะไรเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆได้ขณะที่ดู 5555 และเราก็ชอบที่ได้ดูหนังที่แปลกแบบนี้ หรือหนังที่ไปสุดขั้วในแนวทางของมันเอง ไม่มีการประนีประนอมใดๆกับผู้ชม

 

รู้สึกว่าการได้ดูหนังที่ไปสุดทางของมันเองแบบนี้ เป็นประสบการณ์ที่เราอาจจะได้เจอเพียงแค่ปีละครั้งสองครั้งเท่านั้นในเทศกาลหนังมาราธอน และเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยากขึ้นเรื่อยๆสำหรับเรา เพราะมันไม่มีการจัดเทศกาลหนังทดลองในไทยมาตั้งแต่ปี 2012 แล้ว

 

6.ถ้าถามว่าคิดอะไรเรื่อยเปื่อยระหว่างที่นั่งดูหนังเรื่องนี้บ้าง ช่วงแรกๆเราก็คิดถึงปัญหาชีวิตมากมายของเราเอง 55555 เหมือนคิดว่าตอนนี้เรามีปัญหาชีวิตอะไรบ้าง และเราจะวางแผนรับมือกับมันอย่างไรบ้าง พอเราวางแผนรับมือกับปัญหาในหัวของเราเสร็จเรียบร้อยแล้ว หัวเราก็เริ่มเคลียร์ และเราก็หันมาจดจ่อกับหนังได้มากขึ้น แล้วเราก็เริ่มคิดถึงหนังเรื่องอื่นๆที่เคยดูในเทศกาลมาราธอนที่มันไปสุดทางแบบนี้

 

แล้วหลังจากนั้นเราก็เริ่มคิดถึง สถานที่สำคัญต่างๆในชีวิตของเรา เพราะหนังเรื่องนี้มันเป็นการถ่ายสถานที่ 9 สถานที่ที่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้กำกับน่ะ เราก็เลยนั่งคิดถึงสถานที่ที่เคยมีความสำคัญต่อชีวิตของเราเองบ้าง เหมือนเป็นการนั่งรำลึกถึงอดีตของตัวเองไปเรื่อยๆ และเราก็มีความสุขมากๆกับการนั่งคิดถึงสถานที่สำคัญในอดีตของเราไปเรื่อยๆ

 

7.หนังในเทศกาลหนังสั้นไทยที่เราว่าไปสุดทางในแบบของมันเอง ก็มีอย่างเช่น

 

7.1 SIAM SQUARE (1998, Chanarai Suttibutr, 22min)

หนังที่ถ่ายสถานที่ต่างๆในสยามสแควร์ไปเรื่อยๆ

 

7.2 WINDOW (1999, Apichatpong Weerasethakul, 12min)

 

7.3 PERU TIME (2008, Chaloemkiat Saeyong, 18min)

หนังถ่ายทุ่งนานิ่งๆเป็นเวลา 18 นาที

 

7.4 อส.รพ. ตลุยเมืองกาญจน์ (2010, Tivapon Vongpan, 120min)

หนังสารคดีที่ถ่ายผู้ใหญ่กลุ่มนึงไปเที่ยวเมืองกาญจน์ คือดูแล้วมันแทบไม่มีสาระอะไร แต่เราชอบมากที่มันมีหนังแบบนี้ออกมาให้เราได้ดูด้วย

 

7.5 ข่มขืนกรุงเทพ (2011, Wachara Kanha+ Teeranit Siangsanoh, 90min)

หนังที่ถ่ายวิวจากหน้าต่างรถไฟฟ้าไปเรื่อยๆ

 

7.6 [..........] (2012, Teeranit Siangsanoh, 35min)

หนังถ่ายพระจันทร์เป็นเวลา 35 นาที

 

7.7 10 YEARS (2013, Chawagarn Amsomkid, 70min)

หนังที่ถ่ายเพื่อนผู้ชายสองคนไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยกัน หนังดูเหมือนไม่มีสาระอะไรเลย จนกระทั่งช่วง 10-20 นาทีสุดท้ายของหนังที่มีฉาก monologue หน้ากล้องที่รุนแรงที่สุด

 

7.8 BUS (2014, Pongsakorn Ruedeekunrungsi, 30min)

หนังที่เหมือนเป็นการลอบบันทึกภาพชาวต่างชาติในรถเมล์ในกรุงเทพเป็นเวลา 30 นาที

 

7.9 THE MAZES TRILOGY นิราศเขาวงกต (2014, Prap Boonpan, 268min)

หนังที่ผู้กำกับถ่ายเขาวงกต แล้วเหมือนจะหาทางออกไม่เจอเสียที

 

7.10 WAY OF DUST หากเข้านัยน์ตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา (2018, Teeraphan Ngowjeenanan, 132min)

หนังที่ถ่ายวิวตรงสยามสแควร์ไปเรื่อยๆ แต่เสียงประกอบเป็นเสียงสัมภาษณ์คน 5 คนเกี่ยวกับความไม่เป็นประชาธิปไตยในชีวิตของแต่ละคน

 

8.สรุปว่า SENSORY MEMORY อาจจะไม่ใช่หนังที่ตรงใจเราซะทีเดียว เพราะเราชอบหนังที่มี “พลังสะกดจิตทางภาพ"”มากกว่านี้ แต่เราก็ชอบประสบการณ์ของการได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลมาราธอน เพราะเราว่าการได้ดูหนังแบบนี้นี่แหละ คือการยืนยันว่าเราได้เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์มาราธอนแล้วจริงๆ 555 เพราะหนังที่ไปสุดขั้วสุดทางในแบบของมันเองอย่างนี้ เราอาจจะได้ดูแค่ในเทศกาลมาราธอนของมูลนิธิหนังไทยเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากลิสท์หนังข้างต้นที่เราทำไว้ หนังกลุ่มนี้นี่แหละ คือรสชาติเฉพาะตัวที่เราอาจจะหาที่ไหนแทบไม่ได้อีกแล้ว นอกจากในเทศกาลหนังมาราธอนของมูลนิธิหนังไทย

Monday, November 23, 2020

BASED ON MY MIND STORY (2020, Koraphat Cheeradit, 64min, A+30)

 

BASED ON MY MIND STORY (2020, Koraphat Cheeradit, 64min, A+30)

เมื่อเข็มนาฬิกาชี้เลขสิบสาม

 

1.กรี๊ดดดดดด งดงามมาก รู้สึกว่าผู้กำกับคนนี้ (ซึ่งเป็นเด็กมัธยม) มีพัฒนาการที่รวดเร็วมากๆ เมื่อปีที่แล้วเราได้ดูหนังของเขาเรื่อง DECISION (2019, 23min) ซึ่งเป็นหนังแอคชั่น คัลท์ๆ ที่เราชอบมากพอสมควร แต่ DECISION ก็มีส่วนคล้ายคลึงหนังของ เด็กมัธยมชายไทยหลายๆเรื่องที่เราเคยดูในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ที่เด็กเหล่านี้มักจะเริ่มต้นด้วยการทำหนังแอคชั่น คัลท์ๆแบบนี้นี่แหละ (เหมือนหนังแนวนี้เรื่องแรกที่เราเคยดู น่าจะเป็น เป่าซิงฉือ โรงเตี๊ยมหายนะ (ตอนการแก้แค้นของ Jenova) (2003, ศิวพงษ์ บริบูรณ์นาคม, 15min) จากโรงเรียนนวมินทราชูทิศ บดินทรเดชา)

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยนึกว่า ถ้าหากผู้กำกับคนนี้จะพัฒนาต่อไปในแนวทางนี้ เขาก็อาจจะทำหนังแอคชั่น คัลท์ๆแนว Guy Ritchie, Quentin Tarantino หรือ Seijun Suzuki อะไรออกมา แต่ปรากฏว่าไม่ใช่เลย เพราะ BASED ON MY MIND STORY เหมือนเป็นหนังโรแมนติกแนว friend zone ที่แทบไม่เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา แต่เน้นจับบรรยากาศ ความเหงา และมีการเหลื่อมซ้อนกันระหว่างสิ่งที่ตัวละครพบเจอ กับบทภาพยนตร์ที่ตัวละครเขียน จนเราเองก็แยกไม่ออกว่าส่วนไหนเป็นส่วนไหน

 

2.รู้สึกว่าผู้กำกับเล่นท่ายาก แต่ทำออกมาได้สำเร็จ ราวกับเขาเป็นนักศึกษามหาลัยปี 4 แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากๆ โดยการเล่นท่ายากในที่นี้ก็คือ

 

2.1 การทำภาพยนตร์ที่ไม่เน้นการเล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมา คือหลายฉากในหนังเรื่องนี้เป็นฉากที่เหมือนเน้นบรรยากาศหรืออารมณ์ของตัวละครน่ะ คือเหมือนหนังทั่วๆไปมันจะเน้นบอกว่า ตัวละครทำอะไร+พูดอะไร และสิ่งนั้นนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงอะไร เหมือนหนังทั่วไปมันนำเสนอสิ่งที่เป็น รูปธรรมหรือ ของแข็ง(ยกตัวอย่างเช่น FRIEND ZONE ของ GDH) แต่หนังเรื่องนี้เน้นนำเสนอฉากตัวละครซึมกระทืออยู่คนเดียวไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากๆที่จะทำออกมาให้ไม่น่าเบื่อ หรือยากมากๆที่จะทำฉากเหล่านี้ให้ออกมาดูมีมนตร์เสน่ห์ คือเหมือนถ้าหากผู้กำกับไม่มี sense ที่ดีจริงๆ หรือไม่มีความสามารถด้านนี้จริงๆ เขาจะคิดบท+ถ่ายภาพฉากเหล่านี้ออกมาได้ไม่ดีน่ะ แต่เราว่าหนังเรื่องนี้ทำส่วนนี้ได้ดีมากๆ มันเหมือนหนังเรื่องนี้เน้นนำเสนออารมณ์ความรู้สึกบรรยากาศและห้วงภวังค์บางอย่างที่ยากจะถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดได้ หรือเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้เน้นนำเสนอ นามธรรมและ อากาศธาตุซึ่งเป็นสิ่งที่ยากกว่าการนำเสนอ รูปธรรมและ ของแข็งแบบหนังทั่วไป

 

2.2 การเล่าเรื่องแบบทับซ้อนกันไปมา ระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของตัวละคร กับบทภาพยนตร์ของตัวละคร ก็ถือเป็นการเล่นท่ายากด้วย แล้วช่วงท้ายของหนัง ก็เหมือนจะพลิกไปเป็นจินตนาการของตัวละคร และความเป็นไปได้ต่างๆในชีวิตของตัวละคร ซึ่งก็ถือเป็นการเล่นท่ายากด้วยเหมือนกัน

 

เราว่าช่วงที่เป็นการทับซ้อนกันระหว่าง ชีวิตจริงกับบทภาพยนตร์ ทำออกมาได้ดีมากนะ โดยเฉพาะช่วงที่เป็นการตัดต่อฉากรอบกองไฟที่เป็นภาพสี กับฉากในโรงอาหารที่เป็นภาพขาวดำ

 

2.3 ชอบ "จังหวะความคล้องจอง" ในหนังด้วย ที่เป็นฉากพระเอกเงยหน้าขึ้นมา (น่าจะเป็นหลังจากพระเอกฟุบหน้าลงไปบนโต๊ะ) เหมือนเราจะเห็นฉากแบบนี้ 3 ครั้งด้วยกัน เราว่าการซ้ำฉากแบบนี้ในจังหวะที่พอเหมาะ มันช่วยสร้างจังหวะคล้องจองในหนังได้ดี

 

2.4 เหมือนมีการใช้ symbol ในหนังด้วย ซึ่งก็คือ ถั่วงอก ที่เราก็ไม่แน่ใจว่ามันหมายถึงความรักหรืออะไร 555 แต่ก็รู้สึกว่า การใส่ฉากถั่วงอกเข้ามาในหนังเป็นระยะๆ มันเก๋ดี ดูแล้วนึกถึงหนังของ Alain Resnais อย่าง MY AMERICAN UNCLE (1980) ที่มีการใส่ฉากหนูทดลองเข้ามาเป็นระยะๆ และ LOVE UNTO DEATH (1984) ที่มีการใส่ฉาก plankton หรือตัวอะไรสักอย่างเข้ามาเป็นระยะๆ (ส่วนหนังอาร์ตในยุคปัจจุบันมักจะใส่แมงกะพรุนเข้ามาเป็นระยะๆ 555)

 

แต่ฉากตัวละครชายใส่แว่นพูดงงๆเกี่ยวกับถั่วงอกในห้องเรียน เราว่ามันดูจงใจไปหน่อยนะ เหมือนมันหลุดๆ ออกจากฉากอื่นๆของหนังนิดนึง

 

3.ถ้าไม่นับการแสดงและช่วงท้ายของหนัง เราว่าหนังเรื่องนี้เทียบชั้นกับหนัง thesis ของนักศึกษามหาลัยปี 4 ได้สบายเลย เราว่าช่วง 40 นาทีแรกของหนังนี่ทำให้นึกถึง

 

3.1 ความเหวอๆเฮี้ยนๆในหนังของม.บูรพา

 

3.2 หนัง romantic friend zone ของ ICT SILPAKORN

 

3.3 หนัง narrative ที่เน้นบรรยากาศของม.ธรรมศาสตร์เมื่อ 10 กว่าปีก่อน อย่างเช่น STILL (2008, Wisarut Deelorm, 52min) และ THERE (2008, Rajjakorn Potito, 65min)

 

4. เราชอบการแสดงของนักแสดงนะ ถ้าหากเทียบกับหนังเด็กมัธยมด้วยกัน คือเราว่าการแสดงในหนังเรื่องนี้โอเคมากๆแล้วแหละ เพียงแต่ว่า ถ้าหากเทียบกับหนัง thesis ของนักศึกษาปี 4 ที่มักใช้ "นักแสดงมืออาชีพ" การแสดงในหนัง thesis ก็อาจจะดูทรงพลังกว่าหนังเรื่องนี้นิดนึง

 

5. เราว่าช่วงท้ายของหนังลักลั่นมากๆ ที่เป็นตัวละครยิงกัน เราว่าจุดนี้เป็นจุดที่ฟ้องให้เห็นอย่างเด่นชัดว่านี่คือหนังของเด็กมัธยม ไม่ใช่เด็กมหาลัย 555 เพราะเด็กมหาลัยที่เรียนฟิล์มส่วนใหญ่คงไม่คิดพล็อตอะไรแบบนี้ออกมา แต่อันนี้เราหมายถึงตัวเนื้อหาภายในแต่ละซีนนะ ส่วน "ความซับซ้อนทางการเล่าเรื่อง" ในส่วนนี้เป็นส่วนที่ทะเยอทะยานดีมากแล้ว

 

ดูแล้วแอบสงสัยว่า จริงๆแล้วตัวผู้กำกับอาจจะยังคงมีแรงขับดันภายในใจที่อยากสร้างหนังแอคชั่นแบบ DECISION อยู่หรือเปล่า เขาก็เลยพยายามยัดฉากยิงกันเข้ามาในหนังเรื่องนี้ด้วย มันก็เลยออกมาเป็นแบบนี้ 555

 

แต่เราว่าส่วนนี้มันทำให้หนังดูลักลั่นนะ มันดูไม่ค่อยเข้ากับช่วง 40 นาทีก่อนหน้านั้น

 

แต่เรารู้สึกว่าความลักลั่นนี้อาจจะเป็นได้ทั้งข้อดีและข้อเสียของหนังเรื่องนี้นะ เราว่าถ้าหากตัดช่วง 10-20 นาทีสุดท้ายทิ้งไป หนังเรื่องนี้ก็จะกลายเป็น “หนังดี” เหมือนหนัง thesis ของเด็กมหาลัยหลายๆเรื่อง แต่การมีความลักลั่นส่วนนี้อยู่ในหนัง มันทำให้หนังเรื่องนี้มีความแปลกและ unique ขึ้นมา

 

คือเรารู้สึกว่า ถ้าหากตัดความลักลั่นของการยิงกันในช่วงท้ายทิ้งไป หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเหมือน “ผลิตภัณฑ์เซรามิก” ที่งดงามและไม่มีรอยตำหนิใดๆ แต่มันก็อาจจะมีผลิตภัณฑ์เซรามิกที่งดงามทัดเทียมกับชิ้นนี้อยู่อีกราว 10 ชิ้นในท้องตลาด แต่การมีความลักลั่นส่วนนี้อยู่ในหนัง มันเหมือนทำให้หนังเรื่องนี้กลายเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกที่มีรอยตำหนิ แล้วมันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้กลายเป็นสิ่งที่ unique ไม่เหมือนกับของอื่นๆในท้องตลาด 555 มันอาจจะเป็นของที่มีตำหนิก็จริง แต่มันก็มีชิ้นเดียวในโลก แล้วเรารู้สึกเหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้มันอาจจะบันทึกความสับสนความไม่แน่ใจของตัวผู้กำกับเอาไว้ ว่าอยากจะทำหนังแนวไหนดี หรือยังไม่รู้ว่าตัวเองถนัดทำหนังแนวไหนกันแน่ ก็เลยลองผสมทั้งหนังโรแมนติก+หนังบรรยากาศ+หนังเล่าเรื่องซับซ้อน+หนังแอคชั่นเข้าด้วยกันไปก่อน แล้วค่อยๆเรียนรู้จากประสบการณ์ไปเรื่อยๆเอง ว่าผสมกันแบบไหนแล้วถึงจะลงตัว

 

สรุปว่าเรารู้สึกสองจิตสองใจกับจุดนี้นั่นแหละ คือใจหนึ่งเราก็รู้สึกว่าช่วงท้ายของหนังมันไม่ลงตัว แต่อีกใจหนึ่งเราก็รู้สึกว่าความลักลั่นตรงส่วนนี้มันทำให้หนังเรื่องนี้ “มีจุดเด่นที่จำง่าย” และ “ไม่ซ้ำแบบใคร” 5555

 

6. ตกใจมากที่ใน ending credit มีชื่อนางเอกขึ้นมา 3 ชื่อ เพราะเราไม่ได้สังเกตเลยว่า นางเอกถูกเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันไปในบางฉากของหนัง

 

7.สรุปว่าทึ่งมากๆกับผลงานของเด็กมัธยมเรื่องนี้ ไม่รู้ต่อไปเขาจะพัฒนาไปในแนวไหน หรือพัฒนาไปถึงขั้นไหน คาดเดาไม่ได้จริงๆ คือในแง่ skill และ form+style ของภาพยนตร์เราว่าน่าทึ่งมากแล้วล่ะ หลังจากนี้ก็คงต้องอาศัยการเพิ่มพูน “ประสบการณ์ชีวิต” มาช่วยในการพัฒนาหนังเรื่องต่อๆไปด้วย เพราะในการทำหนังโรแมนติก หรือหนังที่เน้นถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครนั้น บางทีมันคงต้องอาศัยประสบการณ์เจ็บปวดจากชีวิตจริง และการจับสังเกต moments ละเอียดอ่อนของมนุษย์ในชีวิตประจำวันและคนรอบข้าง มาเป็นวัตถุดิบที่ดีในการสร้างหนังด้วย แล้วหนังมันจะออกมาสะเทือนอารมณ์มากขึ้น (ซึ่งอันนี้จะแตกต่างจากหนังแอคชั่นและหนังคัลท์ ที่ผู้สร้างหนังแนวนี้อาจจะไม่ต้องจับสังเกตมนุษย์อย่างละเอียดอ่อนมากเท่าหนังโรแมนติก)

 

Saturday, November 21, 2020

STEP

 STEP (2020, Ken Iizuka, Japan, A+30) 


งดงามมากๆ หนังถ่ายทอดความยากลำบากของคุณพ่อที่ต้องเลี้ยงลูกสาวตัวเล็กๆตามลำพังได้อย่างละเอียดอ่อนและงดงาม 


เหมือนเป็นหนังที่ไม่มีตัวละครคนไหนเป็น "คนเลว" เลย ทุกตัวละครพร้อมจะช่วยเหลือพระเอกตลอดเวลา ทั้งครู, เพื่อนร่วมงาน, ญาติพี่น้อง, สาวเสิร์ฟ แต่ชีวิตมนุษย์มันก็ยากลำบากอยู่ดี 


หนังมีฉากท้ายเครดิตด้วยนะ 


LITTLE NIGHTS, LITTLE LOVE (2019, Rikiya Imaizumi, Japan, A+25) 


หนังสูตรสำเร็จมากๆๆๆๆ มากจนเราแอบขำหลายจุดตรงความสูตรสำเร็จของมัน 


แต่ข้อดีอย่างนึงของหนังสูตรสำเร็จ หรือ "หนังที่พยายามเอาใจความอยากมีผัวของผู้ชม" ก็คือการประเคนความหล่อน่ารักของดาราให้แก่ผู้ชม และหนังเรื่องนี้ก็ตอบสนองความอยากมีผัวของผู้ชมได้ดีมากตรงจุดนี้ หนังมีทั้งเด็กมัธยมหนุ่มหล่อ, พนักงานออฟฟิศหนุ่มหล่อ และนักมวยหนุ่มหล่อ ดูแล้วก็ฉ่ำมากๆ 


ขำกลุ่มผู้ชมที่นั่งแถวหลังเรา เราเดาว่าน่าจะเป็นแก๊งผู้หญิงญี่ปุ่น เพราะพวกเธอคุยกันเป็นภาษาที่เราฟังไม่ออก คือช่วงที่เป็นโฆษณาก่อนหนังเริ่มฉาย พวกเธอคุยกันเสียงดังพอสมควร เราก็แอบนึกในใจว่า "กูซวยแล้วที่ได้ที่นั่งใกล้พวกเธอ" แต่พอหนังเริ่มฉาย พวกเธอก็ไม่คุยกันเลย ยกเว้นแต่ฉากที่นักมวยหนุ่มหล่อล่ำปรากฏกายบนจอ ที่เราจะได้ยินเสียงพวกเธอครวญครางหงิงๆ ดังออกมา ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นเสียงที่เราอยากทำเมื่อเห็นนักมวยคนนี้เหมือนกัน 555 


EARTH ANGELS เทวดาเดินดิน (1976, Prince Chatrichaloem Yukol, A+25) 


1.เหมือนหนังมีปัญหาเรื่องทัศนคติบางอย่าง เพราะช่วงท้ายของหนัง มีฉากที่เหมือนกลุ่มนักศึกษามาประท้วงเข้าข้าง "กลุ่มอาชญากร" ที่เป็นตัวเอกของเรื่อง เราก็เลยไม่แน่ใจว่า ฉากนั้นมันสะท้อนอะไรกันแน่ 


2. หนังทำให้เราคิดถึงความแตกต่างกันของคนบางกลุ่มในยุคนั้น โดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งก็คือ  "กลุ่ม charles manson ที่ฆ่าคนบริสุทธิ์" กับ "กลุ่มฮิปปี้ที่รักอิสระเสรี" และเราคิดว่าหนังมันน่าสนใจดีที่กลุ่มตัวละครเอกในหนังเรื่องนี้มันค่อนไปทางกลุ่ม Charles Manson เพราะกลุ่มตัวละครเอกในหนังเรื่องนี้ฆ่าคนบริสุทธิ์โดยไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดทั้งสิ้น เหมือนพวกเขาทำเลวเพียงเพื่อความสนุกเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ตัวละครเอกในหนังเรื่องนี้ก็ทำทีเป็นรักอิสระเสรี ต่อต้านกฎเกณฑ์ของสังคมเหมือนกับกลุ่มฮิปปี้ด้วย 


คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้วเราก็เลยแอบสงสัยว่า หนังเรื่องนี้ต้องการต่อต้าน “วัยรุ่นที่รักอิสระเสรี” ในยุคนั้นหรือเปล่า และวิธีการต่อต้านก็คือการนำเสนอตัวละครกลุ่มฆาตกรใจโหดแบบกลุ่ม Charles Manson ที่มีลักษณะคล้ายฮิปปี้ด้วย ผู้ชมที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ก็จะรู้สึกหวาดกลัวและรู้สึกเลวร้ายกับวัยรุ่นที่รักอิสระเสรี ทั้งที่จริงๆแล้ว กลุ่มฮิปปี้กับกลุ่ม Charles Manson ไม่เหมือนกัน วัยรุ่นที่ต่อต้านกฎเกณฑ์ของสังคม แต่ไม่ได้ลุกขึ้นมาจี้ปล้นฆ่าคนบริสุทธิ์ ก็มีเยอะแยะมากมาย 


แต่นั่นก็เป็นเพียงข้อสงสัยของเราเท่านั้น เราก็ไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้วเจตนาของหนังเรื่องนี้เป็นอย่างไร คิดว่าผู้ชมแต่ละคนควรจะตัดสินใจเอาเองว่าเจตนาของหนังเรื่องนี้เป็นอย่างไร 


3.เราไม่แน่ใจในเจตนาของหนัง เพราะเราไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในยุคนั้นด้วยแหละ เราเพิ่งมีอายุแค่ 3 ขวบเองในปี 1976 และเราก็ไม่รู้ว่าสภาพสังคมไทยในยุคนั้น เต็มไปด้วยปัญหาสังคม วัยรุ่นไล่ฆ่าคนบริสุทธิ์อะไรแบบนี้จริงหรือไม่ เราก็เลยไม่อยากมองหนังเรื่องนี้ในแง่ลบมากเกินไป แต่เพียงแค่แอบสงสัยเท่านั้น 


แต่จริงๆแล้วหนังไทยยุคนั้นที่เป็นแนว feel bad ก็มีออกมาหลายเรื่องนะ และทำได้ดีสุดๆด้วย อย่างเช่น 


3.1 ชีวิตบัดซบ (1977, เพิ่มพล เชยอรุณ)

3.2 เตือนใจ (1979, ดุลย์พิจิตร)

3.3 เหยื่อ (1987, ชนะ คราประยูร) 


เราก็เลยเผื่อใจไว้ว่า บางที “เทวดาเดินดิน” อาจจะแค่ต้องการสะท้อนปัญหาสังคมในยุคนั้น แต่ไม่ได้ต้องการทำให้ผู้ชมรู้สึกเลวร้ายกับ “วัยรุ่นที่รักอิสระเสรี” 


4.แต่ถ้าหากตัด “เจตนาที่น่าสงสัย” ของหนังออกไป เราก็ชอบหนังมากนะ เพราะตอนดูหนังเรื่องนี้เราจะรู้สึกหวาดกลัวกลุ่มตัวละครเอกของหนังอย่างรุนแรง เหมือนกับตอนที่เราดูหนังอย่าง A CLOCKWORK ORANGE (1971, Stanley Kubrick), MAN BITES DOG (1992, Rémy Belvaux, André Bonzel, Benoît Poelvoorde, Belgium) และ BAISE-MOI ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามักไม่ค่อยรู้สึกกับหนังไทย 


5.เสียดายที่หนังเรื่องนี้มีหนึ่งในตัวละครหลักเป็นเกย์ แต่เธอเป็นอาชญากร ดูแล้วก็นึกถึง DOG DAY AFTERNOON (1975, Sidney Lumet) ที่นำเสนอเกย์อาชญากรเหมือนกัน แต่เรารู้สึกว่า DOG DAY AFTERNOON ไม่ใช่หนังที่เกลียดเกย์น่ะ ในขณะที่ EARTH ANGELS นี่เราไม่ค่อยแน่ใจ 


ONE NIGHT (2019, Kazuya Shiraishi, Japan, A+25) 


SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1.ดูแล้วนึกถึงหนังสือรวมเรื่องสั้น “เต้นรำในวอดวาย” (2019, บริษฎ์ พงศ์วัชร์) มากๆ เพราะเรื่องสั้นหลายเรื่องใน “เต้นรำในวอดวาย” พูดถึงครอบครัวที่พ่อทำร้ายร่างกายภรรยาและลูกๆ ส่วนหนังเรื่องนี้ก็พูดถึงครอบครัวที่มีพ่อชอบทำร้ายทุบตีร่างกายภรรยาทื่ชื่อ Koharu กับลูกๆเหมือนกัน 


หนังเรื่องนี้เริ่มเรื่องด้วยการที่ภรรยาทนให้สามีทุบตีทำร้ายลูกๆไม่ไหวอีกต่อไป เธอก็เลยตัดสินใจฆ่าสามีตาย และเธอก็บอกกับลูกๆว่า เธอจะไปมอบตัวกับตำรวจและเข้าคุก และจะกลับมาเจอกับลูกๆในอีก 15 ปีข้างหน้า 


2.หนังแสดงให้เห็นว่า บาดแผลจากอดีตอันเลวร้ายส่งผลกระทบต่อตัวละครแต่ละตัวอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะตัวลูกๆที่ถึงแม้เวลาจะผ่านมานาน 15 ปีแล้ว พวกเขาก็ดูเหมือนจะยังคงบาดเจ็บกับแผลใจในอดีตอยู่ และลูกชาย 2 คนก็ดูเหมือนจะเกลียดชังแม่ของตนเองด้วย ถึงแม้ว่าแม่จะยอมเสียสละตนเองเพื่อปกป้องพวกเขาก็ตาม 


3. Mariko Tsutsui จาก  A GIRL MISSING (2019) ร่วมแสดงในหนังเรื่องนี้ด้วย และบทของเธอหนักมากๆ เพราะในหนังเรื่องนี้เธอรับบทเป็นพนักงานสาวในอู่รถแท็กซี่ของครอบครัว Koharu เธอบอกว่าเธอประทับใจในความกล้าหาญของ Koharu มากๆที่กล้าลุกขึ้นมาฆ่าสามีของตัวเอง เธอก็เลยเอาแรงบันดาลใจจาก Koharu มาใช้ในชีวิตของตัวเองด้วย เพราะเธอเบื่อหน่ายกับการดูแลแม่ผัวที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มานานแล้ว การได้พบกับ Koharu ทำให้เธอเลยตัดสินใจใช้เวลาไปกับการมีเซ็กส์กับหนุ่มๆ แทนที่จะเอาเวลาไปดูแลแม่ผัว และปล่อยให้แม่ผัวจมน้ำตายในที่สุด 


รู้สึกว่าปีนี้เป็นปีทองของ Mariko Tsutsui จริงๆ บทของเธอทั้งใน A GIRL MISSING และ ONE NIGHT นี่ไม่ทราบชีวิตจริงๆ 


4.รู้สึกว่า Koharu หน้าคุ้นๆ แต่จำไม่ได้ว่าเธอคือใคร พอหนังจบแล้วมาเสิร์ชดูถึงพบว่า ดาราที่เล่นเป็น Koharu คือ Yuko Tanaka จาก “สงครามชีวิตโอชิน” (1983) นี่เอง ชอบการแสดงของเธอใน ONE NIGHT มากๆ คือเห็นแววตาของเธอในหนังเรื่องนี้แล้วไม่ประหลาดใจถ้ามีใครบอกว่า ผู้หญิงคนนี้เคยฆ่าคนมาก่อน 


TORA-SAN, WISH YOU WERE HERE (2019, Yoji Yamada, Japan, A+30) 


1.เคยดูโทร่า ซังราว 4-5 ภาคที่  Japan Foundation ซึ่งเราไม่อินเลย 555 แต่คิดว่าถ้าหากหนังชุดนี้มันสลับเพศ เปลี่ยนเป็นเล่าเรื่องของสาวอ้วนที่หลงรักชายหนุ่มหล่อตามจังหวัดต่างๆในญี่ปุ่นเป็นจำนวน 49 ภาค 49 ผัว เราก็คงจะชอบหนังชุดนี้อย่างสุดๆไปแล้ว 


2.แน่นอนว่าชอบภาคนี้มากสุด เพราะชอบความเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา ชอบที่ได้เห็นสังขารของนักแสดงเปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา



ONE SUMMER STORY (2020, Shuichi Okita, Japan, A+30) 


Spoilers alert

--

--

--

--

-- 


1. เหมือนเป็นหนังญี่ปุ่นที่ล้อเลียนหนัง/ละครญี่ปุ่นแบบสูตรสำเร็จ ตั้งแต่ฉากแรกที่เป็นการล้อเลียน "ความซาบซึ้งของการ์ตูนญี่ปุ่น" ไปจนถึงฉาก"พระเอกวิ่ง" ในช่วงท้ายๆ 


2.ชอบที่มันเหมือน set  สถานการณ์ที่เอื้อต่อการเป็นหนัง thriller/horror แต่ปรากฏว่า "ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย" 555 


คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกเหมือนตัวเองเป็น สิงห์สาวนักสืบ ที่ได้รับมอบหมายภารกิจให้ไปจับตาดูสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง หลังจากมีคนแจ้งเบาะแสมาว่า ฆาตกรโรคจิตลึกลับกำลังวางแผนจะฆ่าคนในสวนนี้ เราก็เลยไปนั่งจ้องดูคนในสวน โดยนึกว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงอะไรเกิดขึ้นปรากฏว่า สิ่งที่ได้เจอ ก็คือหนุ่มสาวมาทำขวยเขินใส่กัน และครอบครัวมานั่งเล่นตบแผะกันไปเรื่อยๆ ไม่เจอฆาตกรโรคจิตแต่อย่างใด 


ชอบหนังมากๆตรงจุดนี้นี่แหละ ตรงที่มันเอาสถานการณ์ที่เอื้อต่อการเป็น thriller/horror มาพลิกเป็นอะไรแบบนี้ได้ 


3. ดีใจสุดขีดที่ได้เห็น Yuki Saito จาก สิงห์สาวนักสืบ มาร่วมแสดงในหนังด้วยในบทแม่นางเอก 


4.อยากได้พระเอกเป็นผัวอย่างรุนแรง เห็นพระเอกแล้วนึกถึงผู้ชายที่เราแอบชอบตอนเราอยู่ชั้นประถม 5 


เทศกาลหนังญี่ปุ่นที่ HOUSE SAMYAN นี่นึกว่าเป็นเทศกาลรำลึกความหลังเมื่อครั้งที่เรายังเป็นสาววัยขบเผาะจริงๆ ดีใจสุดๆที่ได้เห็น 


1. Tomokazu Miura ในบทตำรวจใกล้เกษียณใน  AI AMOK (2020, Yu Irie, A+30) และบทตัวประกอบตัวนึงใน  VOICES IN THE WIND (2020,  Nobuhiro Suwa, A+30) 


2. Yuki Saito สิงห์สาวนักสืบในหนังเรื่อง ONE SUMMER STORY 


3. Yuko Tanaka นางเอกโอชิน ในหนังเรื่อง  ONE NIGHT (2019, Kazuya Shiraishi, A+25) 


4.เพลง YUME NO NAKA E (1989) ของ Yuki Saito ถูกใช้ประกอบหนังเรื่อง AI AMOK 


รูปของ Tomokazu Miura ที่โด่งดังสุดๆสมัยเรายังเป็นเด็ก


Tuesday, November 17, 2020

THE PAINTED BIRD

 DO YOU LOVE ME? (2020, Phuwanate Seechompoo,A+30)

รักหนูมั้ย (ภูวเนตร สีชมพู) 


1.งดงามที่สุด ชอบมากๆที่หนังเลือกนำเสนอภาพครอบครัวทางเลือกที่แตกต่างจากหนังไทยทั่วไปอย่างรุนแรง ชอบมากๆที่นางเอกเป็นกะหรี่ที่มีผัวสามคน 


2. รู้สึกเหมือนหนังเป็นแฟนตาซีของผู้ชาย มากกว่าที่จะเป็นแฟนตาซีของผู้หญิงหรือเกย์ โดยดูได้จากการสร้างตัวละครนางเอกที่ดู passive มากๆ และเป็น fantasy object มากๆ (สวย อ่อนหวาน น่ารัก เรียบร้อย เป็นกะหรี่เพราะความจำเป็น ไม่เงี่ยนผู้ชาย) ในขณะที่ตัวละครฝ่ายชายดูติดดินกว่าเยอะ 


แต่ก็ไม่รู้สึกว่าจุดนี้เป็นข้อเสียของหนัง เพราะเรารู้สึกว่าการสร้างหนังที่ตอบสนองแฟนตาซีทางเพศไปด้วย และท้าทายค่านิยมของสังคมไปด้วย เป็นเรื่องธรรมดา เพียงแต่ว่าความรู้สึกอินของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้ ก็ย่อมต้องน้อยกว่าหนังที่สร้างขึ้นโดยเน้นตอบสนองรสนิยมทางเพศของเกย์เป็นหลัก ซึ่งรวมถึงหนังที่ "ท้าทายค่านิยมของสังคม"  อย่าง "ช่างมันฉันไม่แคร์" (1986, M.L. Bhandevanop Devakul) ที่พระเอกมีอาชีพขายตัว และ FATHERS (2016, Palatpol Mingpornpichit) ที่พยายามโน้มน้าวสังคมให้เปิดใจกว้างรับ "ครอบครัวทางเลือก" คล้ายๆกับ "รักหนูมั้ย" 


จริงๆแล้วรู้สึกว่า "ช่างมันฉันไม่แคร์" เป็นชื่อหนังที่อาจจะนำมาใช้กับหนังเรื่อง "รักหนูมั้ย" ได้ด้วย เพราะตัวละครในหนังทั้งสองเรื่องก็เลือกเส้นทางรักที่ไม่แคร์สังคมเช่นกัน แต่การใช้ชื่อเรื่องแบบ "ช่างมันฉันไม่แคร์" อาจจะเป็นการตอกย้ำ "ความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวของนางเอก" และ "ความเกลียดชังค่านิยมโบราณของสังคม" ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่หนังเรื่อง "รักหนูมั้ย" ต้องการขับเน้น การใช้ชื่อเรื่องที่แตกต่างกันของหนังสองเรื่องนี้ ก็เลยสะท้อนความแตกต่างกันอย่างรุนแรงของนางเอกหนังสองเรื่องนี้ด้วย ถึงแม้ตัวละครนางเอกทั้งสองยืนหยัดต่อต้านค่านิยมของสังคมเหมือนๆกัน 


3. อยากให้มีคนฉาย รักหนูมั้ย ควบกับ หนังต่อไปนี้ หรือวิเคราะห์ "รักหนูมั้ย" โดยเปรียบเทียบกับหนังต่อไปนี้ 


3.1 HOTEL ANGEL เทพธิดาโรงแรม (1974, Prince Chatrichaloem Yukol) เพราะตัวละครนางเอกเป็นกะหรี่เหมือนกัน 


3.2 DECEMBER BRIDE (1991, Thaddeus O'Sullivan) ที่นางเอกอยู่กินกับผัวหนุ่มสองคนในเวลาเดียวกัน 


3.3 VANZ (2018, Krisada Pengboon) ที่นางเอกชอบมีเซ็กส์กับหนุ่มๆหลายคน 


4.นึกว่า "รักหนูมั้ย" สร้างขึ้นมาเพื่อตบหน้า "จำเนียร วิเวียน โตมร"  I LOVE YOU TWO (2016, Rergchai Puongpetch) ที่ไม่ยอมให้นางเอกมีผัวสองคน 


THE PAINTED BIRD (2019, Vaclav Marhoul, Czech, A+30) 


1.ถ้าเทียบกับหนัง holocaust เรื่องอื่นๆแล้ว หนังเรื่องนี้ก็แหวกแนวมาก เพราะหนัง holocaust โดยทั่วไปมักจะนำเสนอความโหดร้ายเลวทรามของนาซีเป็นหลัก เหมือนนาซีในหนังเหล่านี้มักจะถูกนำเสนอในแบบดำจัด ส่วนเหยื่อก็จะเป็นสีขาวหรือสีเทาๆบ้าง 


หนังที่นำเสนอความเลวร้ายของทั้งสองฝ่ายในสงคราม มีแค่ไม่กี่เรื่อง เท่าที่เราเคยดูก็อาจจะมีแค่ LIBERATORS TAKE LIBERTIES (1992, Helke Sander, Germany, documentary, 192min) ที่พูดถึงการที่ทหารสัมพันธมิตรข่มขืนผู้หญิงเยอรมัน หลังจากทหารนาซีเคยข่มขืนผู้หญิงโซเวียตมาแล้ว,  GASTON'S WAR (1997, Robbe de Hert, Belgium) ที่พูดถึงการที่ฝ่ายสัมพันธมิตรฆ่าคนบริสุทธิ์บางคนเพื่อแลกกับการชนะสงคราม และ KATYN (2007, Andrzej Wajda, Poland) ที่พูดถึงการที่ทหาร soviet สังหารหมู่ชาวโปแลนด์จำนวนมาก 


ตอนดู THE PAINTED BIRD ก็เลยรู้สึกว่ามันแตกต่างจากหนัง WWII อื่นๆในแง่นี้ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครที่ชั่วร้ายในทุกๆฝ่าย ทั้งฝ่ายนาซี, ฝ่ายโซเวียต และชาวบ้านธรรมดา คือชาวบ้านธรรมดาในหนังเรื่องนี้นี่ไม่ได้ดีไปกว่าพวกนาซีเลย แถมหนังเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ "ธรรมชาติ" เองก็โหดร้ายมากๆด้วย 


2.ทำไมดูแล้วนึกถึงความโหดร้ายใน "นิทานพื้นบ้าน" ของไทย 555  อย่างเช่น 


2.1 นึกถึงปลาบู่ทอง ที่ตัวละครเอกเจอแต่ความโหดร้ายไม่ได้หยุดได้หย่อน 


2.2 การควักลูกตา ก็นึกถึง นางสิบสอง 


2.3 การที่กลุ่มหญิงชาวบ้านรุมทำร้ายหญิงบ้า ก็นึกถึงเรื่องของ นางอมิตตดา ที่ถูกกลุ่มเมียพราหมณ์รุมทำร้าย 


พอดูหนังเรื่องนี้ แล้วเลยทำให้จินตนาการว่า อยากให้มีคนสร้างหนังไทยแนว "จักรๆวงศ์ๆ" ที่แต่งเรื่องขึ้นมาใหม่หมด แต่ให้ sense ของหนังออกมาคล้ายๆ THE PAINTED BIRD 


3.ฉากที่สะเทือนใจเรามากสุด คือฉากที่ทหารโซเวียตยิงเด็กในหมู่บ้านตาย เหมือนหนังเปิดโอกาสให้เราลุ้นว่าเด็กคนนั้นจะหาวิธีหลบกระสุนได้ตลอดรอดฝั่งหรือเปล่า แต่เด็กก็ไม่รอด 


4.แต่หนังเรืองนี้ก็ไม่ "ทำร้ายจิตใจ" เรามากเท่า "หนังเด็กในสงคราม" แบบ COME AND SEE (1985, Elem Klimov) และ BEASTS OF NO NATION (2015, Cary Joji Fukunaga) นะ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่า THE PAINTED BIRD มันมี sense แบบนิทานพื้นบ้านนี่แหละ มันก็เลยไม่ทำร้ายจิตใจเรามากเท่า "หนังสมจริง" 


THE GOOD DAUGHTER (2019, Yu Ying Wu, Taiwan, documentary, A+30) 


THE MOVING TENT (2018, Singing Chen, Taiwan, documentary, A+25) 


THE PRICE OF DEMOCRACY (2019, Liao Jian-hua, Taiwan, documentary, A+30) 


1. ทำไมดูแล้วนึกถึง THE TRUTH BE TOLD (Pimpaka Towira) 


2.สะเทือนใจมากๆกับการที่ activist หญิงในหนังเรื่องนี้โดนแม่ผัวกลั่นแกล้ง โดยแม่ผัวหอบหลานไปอยู่ด้วยที่อเมริกา แล้วห้าม activist หญิงจากการพบเจอลูกของตัวเอง ตัว activist หญิงก็เลยแทบไม่เคยได้เจอลูกอีกเลยตลอดชีวิตของเธอ 


จุดนี้ทำให้นึกถึงมินิซีรีส์เรื่อง BERYL MARKHAM: IN THE SHADOW OF THE SUN (1988, Tony Richardson) มากๆ เพราะ IN THE SHADOW OF THE SUN สร้างจากเรื่องจริงของ Beryl ซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกที่ขับเครื่องบินแบบ solo , non-stop ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้สำเร็จ แต่ครอบครัวของสามีเกลียด Beryl มาก เหมือนครอบครัวนี้เป็นตระกูลผู้ดี แล้วกีดกันไม่ให้ BERYL ได้เจอหน้าลูกชายอีกเลยหลังจากเธอหย่ากับสามีแล้ว 


เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่า หรือว่านี่คือชะตากรรมของหญิงแกร่ง เพราะ Beryl ก็กล้าหาญชาญชัยมากๆ กล้าขับเครื่องบินข้ามมหาสมุทร ส่วน subject ของ THE PRICE OF DEMOCRACY  ก็เป็นหญิงแกร่งเช่นกัน แต่ทั้งสองต่างก็ถูกกลั่นแกล้งอย่างรุนแรงจากครอบครัวสามีเหมือนกัน ราวกับว่าสถาบันครอบครัวต้องการเพียงแค่ "แม่พันธุ์โง่ๆที่ว่านอนสอนง่าย" เข้ามาเป็นสมาชิก 


หรือว่านี่คือ THE PRICE OF BEING A STRONG WOMAN 


VOICES IN THE WIND (2020, Nobuhiro Suwa, Japan, A+30) 


ตายคาโรง ร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง 


WANING MOON คน ทรง ผี (2020, Arthit Arriyawongsa, Theerakahatep Arriyawongsa, A+) 


1.ที่ให้  A+ เพราะความหล่อน่ารักของพระเอก 555 


2. แต่เนื้อเรื่อง เราว่า ไม่สนุก และไม่เข้มข้นเท่าที่ควร คือไม่ต้องเทียบกับ "แสงกระสือ" คือแค่เทียบกับ "หลวงพี่กะอีปอบ" หนังเรื่องนี้ก็พ่ายแพ้หลุดลุ่ยแล้ว 


3.บรรยากาศในหนัง ก็ "ไม่ขลัง" มากๆ เพราะทุกฉากมันดูสว่างเรืองรองมลังเมลืองตลอดเวลา คือบรรยากาศในหนังมันไม่ใช่หนัง horror แบบ IMPETIGORE ที่มันดูขลังจริงๆน่ะ 


MISS LONELY (1985, Nobuhiko Obayashi, Japan, A+30) 


SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--



1. ยกให้ Nobuhiko Obayashi เป็น one of my most favorite directors of all time ไปเลย ชอบ "เรื่องมหัศจรรย์" ในหนังของเขามากๆ ทั้งเปียโนกินคน (HOUSE), การย้อนเวลา (THE LITTE GIRL WHO CONQUERED TIME), การสลับร่าง (I ARE YOU, YOU AM ME), การที่กลุ่มคนตายกลับมาร่ำลาคนเป็น (GOODBYE FOR TOMORROW) และ "การที่จิตวิญญาณของตัวเราในรูปถ่ายขณะอายุ 16 ปี" หลุดออกมาจากรูป แล้วมาปะทะกับตัวเราตอนอายุ 42 ปีในหนังเรื่องนี้ 


2.ถึงแม้หนังจะเล่าเรื่องผ่านทางตัวลูกชาย แต่พอดูจบแล้วรู้สึกว่าเรื่องของแม่มันซึ้งสุดๆคือเราเข้าใจว่า ตัวคุณแม่ (Tatsuko) ตอนอายุ 16 ปี คงหลงรักชายหนุ่มคนนึงอย่างหัวปักหัวปำ เขาเล่นเปียโนเก่ง แต่เขาไม่รักเธอ เธอก็เลยหาแฟนหนุ่มคนใหม่ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนรักแรกของเธอ แล้วเธอก็เลยได้ลูกชายที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนรักแรก, ตั้งชื่อลูกชายให้เหมือนรักแรก แล้วพยายามให้ลูกชายเล่นเปียโนให้เก่งเหมือนรักแรกของเธอ 


แล้วนั่นก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้ "จิตวิญญาณของเธอในวัย 16 ปี" ที่หลุดออกมาจากรูปถ่าย ตกหลุมรักลูกชายของตัวเองอย่างรุนแรง 


3.ชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า I ARE YOU, YOU AM ME อีก แต่เหมือนหนังเรื่องนี้ไม่เคยถูก REMAKE เลยมั้ง ในขณะที่ I ARE YOU, YOU AM ME ถูกรีเมคเป็น "หวานมันส์ฉันคือเธอ" มาแล้วหลายรอบมากๆ 


บางทีอาจจะเป็นเพราะ MISS LONELY มันมีความ  incest ก็ได้มั้ง คนก็เลยไม่กล้าเอาหนังเรื่องนี้มารีเมค 555 


LEAP (2020, Peter Chan, China, A+30) 


1.ชอบที่หนังดูไม่ได้มีความคลั่งชาติมากนัก 555 คือก่อนเข้าไปดู เราจะกลัวว่าหนังมันจะออกมาอวยจีนแบบต่ำๆอย่าง VANGUARD (2020, Stanley Tong) และ WOLF WARRIOR 2 (2017, Jing Wu) แต่พอดูแล้ว ก็พบว่าหนังมันไม่ได้เป็นแบบที่เรากลัวแต่อย่างใด คือหนังทำให้เรารู้สึกว่า ทีมจีนก็ชนะและแพ้ได้มากพอๆกับทีมของชาติอื่นๆ และคนจีนก็เป็นเหมือนกับมนุษย์ทุกชาติ นั่นก็คือ ถ้าหากอยากจะประสบความสำเร็จ ก็ต้องตั้งใจจริง, ฝีกหนักมาก, ทุ่มสุดตัว, ใช้หัวสมองและความฉลาดในการวางกลยุทธ์ และเปิดใจกว้างยอมรับการปฏิรูปเพื่อตอบรับต่อความเปลี่ยนแปลง 


รู้สึกว่าหนัง treat ความสำเร็จของ Lang Ping และนักกีฬาหลายๆคน ว่าเกิดจากความมุมานะตั้งใจจริงของ "แต่ละคน" น่ะ และไม่ได้ treat ว่า พวกเขาประสบความสำเร็จเพียงเพราะพวกเขาเป็นคนจีน เราก็เลยโอเคกับหนังมากๆ 


2. นึกถึง MONEYBALL (2011, Bennett Miller) มากๆ เพราะหนังทั้งสองเรื่องสร้างจากเรื่องจริงในวงการกีฬาเหมือนกัน และเน้นการวางกลยุทธ์ในการฟอร์มทีมและการแข่งขันเหมือนกัน 


3.ประหลาดดีที่ฉาก climax ของหนังไม่ใช่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ เราเดาว่าบางทีอาจจะเป็นเพราะว่าหนังสร้างจาก "เรื่องจริง" และการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศอาจไม่ลุ้นมากเท่ากับรอบอื่นๆ หนังก็เลยต้องเลือกฉาก climax ที่ไม่ใช่รอบชิงชนะเลิศ 


4.เหมือนเราแทบไม่เคยดูหนังกีฬาแนวนี้จากจีนมาก่อน เหมือนญี่ปุ่นคือแชมป์ในการสร้างหนัง/ละครทีวีแนวนี้ในช่วงทศวรรษ 1970-1980  แล้วเราก็ได้ดูหนังแนวนี้จากอินเดียเยอะมากในทศวรรษ 2010 


GONE WEDNESDAY (2020, Kohei Yoshino, Japan, A+30) 


ชอบที่พระเอกมี 7 บุคลิก แล้วบุคลิกของวันจันทร์เป็น  bisexual ที่มี sex กับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย 555


Tuesday, November 10, 2020

SHE DIES TOMORROW

 HUMMING MEMORY (2020, Yu Han-ting, Taiwan, 28min, A+30) 


NO FLOWERS OR SEASONS (2020, Yu Chia-hsuan, Taiwan, 29min, A+25) 


BLUE KIDS (2017, AndreaTagliaferri, Italy, A+30) 


1.มีสิทธิติดอันดับประจำปีสูงมากๆ ชอบตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้มากๆ เลวระยำสัตว์นรกมากๆ รู้สึกเหมือนดูหนังฆาตกรโรคจิตที่ไม่มีความพยายามแม้แต่นิดเดียวที่จะทำตัวเป็นหนัง horror หรือ thriller และนั่นก็เลยทำให้เรารู้สึกหวาดกลัวตัวละครในหนังเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น หนังมันทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า เราสามารถเจอสัตว์นรกแบบพระเอกนางเอกหนังเรื่องนี้ได้ในชีวิตจริง เพราะตัวละครในหนังเรื่องนี้ไม่ได้ดำรงอยู่เพียงเพื่อเร้าอารมณ์ผู้ชมแบบในหนังฆาตกรโรคจิตแนว horror โดยทั่วไป 


2. ตัวละครนางเอก BLUE KIDS นี่รอท้าชิงกับตัวละครนางเอก EMA (2019, Pablo Larrain, Chile), นางเอก  THE HUNT  (2020, Craig Zobel) และ  Elizabeth (Jena Malone) จาก ANTEBELLUM (2020, Gerard Bush, Christopher Renz) ในฐานะ my most favorite characters of the year 2020 


3. รู้สึกว่านางเอก BLUE KIDS  นี่เหมาะตบกับ 


3.1เวฬุรีย์ จาก เพลิงพ่าย 


3.2 Manu จาก BAISE-MOI 


3.3 Mallory Knox (Juliette Lewis) จาก NATURAL BORN KILLERS (1994, Oliver Stone) 


3.4 Joan ( Emma Roberts) จาก FEBRUARY (2015, Oz Perkins) 


4.เหมือนยิ่งเวลาผ่านไป ก็ยิ่งชอบ BLUE KIDS มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อเจอหนังอย่าง NO FLOWERS OR SEASONS (A+25)  ที่นางเอก "ไม่แรงดั่งใจ" คือพอดูหนังเรื่องใดก็ตามที่นางเอก "ไม่แรง" เราก็จะจินตนาการในทันทีว่า ถ้าหากส่งนางเอก BLUE KIDS หรือ Manu จาก BAISE-MOI  เข้าไปในหนังเรื่องนั้น แล้วจะเกิดอะไรขึ้น 


SEE YOU, SIR (2019, Lin Ya-yu, Taiwan, 25min, A+25) 


UNNAMED (2019, Chang Chun-yu, Hong Gao, Taiwan, 30min, A+25) 


SHE DIES TOMORROW (2020, Amy Seimetz, A+30) 


ติดอันดับประจำปีแน่นอน น่าจะเป็นหนึ่งในหนังที่สำคัญกับชีวิตเรามากที่สุดไปเลย เพราะเราเป็นโรควิตกกังวลกับนู่นนั่นนี่ตลอดเวลา โดยเฉพาะวิตกกังวลกับความจนของตัวเอง 


แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้ แล้วได้คิดว่า "ยังไงในอนาคตเราก็ต้องตายอยู่ดี" แล้วเหมือนความกังวลอะไรต่างๆในใจเรามันได้รับการปลดเปลื้องไปเยอะมาก เหมือนบางทีใจเราก็ดิ้นรนกับอะไรต่างๆมากเกินไป ทั้งที่ยังไงๆเราก็ต้องตายอยู่ดี 


YI YI (2000, Edward Yang, Taiwan, 173min, A+30) 


เพิ่งได้ดูครั้งแรก ดีกว่าที่คาดไว้เยอะ เพราะตอนแรกเราเข้าใจผิดมาโดยตลอดว่า หนังเรื่องนี้มันเป็น "หนังครอบครัวเอเชีย ที่เน้นความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว" ซึ่งเราไม่อินกับหนังกลุ่มนี้ แต่พอได้ดูจริงๆก็พบว่า หนังมันไม่ใช่อย่างที่คาดไว้ ก็เลยชอบหนังมากๆ 


สงสารถิงถิงมากๆๆ การไม่โดนหนุ่มหล่อเย็ด นี่เป็นอะไรที่เจ็บปวดที่สุดแล้ว


Saturday, November 07, 2020

FALLEN ANGELS

 วันนี้เห็นหนังตัวอย่าง "นักฆ่าตาชั้นเดียว" แล้วนึกถึงอดีตมากๆ หนังเรื่องนี้เราได้ดูในโรงใหญ่ 4 รอบตอนหนังมาฉายในไทยในปี 1995 เราจำได้ว่า รอบแรกดูที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, รอบสองกับสามดูที่ World Trade Center (Central World) ส่วนรอบ 4 ดูที่โรงหนังชั้นสองแถวสะพานควาย สิ่งที่ยังจำได้ไม่ลืมก็คือว่า ตอนดูที่ World Trade Center พอเราเดินออกจากโรง เราก็ได้ยินคนดูคุยกันว่า "นี่คือหนังที่ห่วยที่สุดเท่าที่เคยดูมา" เราก็เลยได้ข้อสรุปตั้งแต่ตอนนั้นว่า หนังที่ห่วยที่สุดในสายตาของคนอื่นๆ อาจจะเป็นหนังที่เรารักและดูแล้วมีความสุขมากที่สุดในชีวิตก็ได้ เพราะฉะนั้นความเกลียดชังอย่างรุนแรงที่คนอื่นๆมีต่อหนังที่เรารัก จึงถือเป็น "เรื่องธรรมดาที่ไม่ควรค่าแก่การใส่ใจแต่อย่างใด" 


แล้วพอในปี 1996 เราก็ได้ดู CHUNGKING EXPRESS (1994, A+30) ที่ตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี พอเราเดินออกจากโรง เราก็ได้ยินคนดูคุยกันอีกว่า "นี่คือหนังที่ห่วยที่สุด" อีกเหมือนกัน ซึ่งก็ถือเป็นการตอกย้ำความเชื่อของเราได้เป็นอย่างดีที่ว่า "It's not the critic who judges the art.It's the art which judges the critic." 55555 


COSMOBALL (2020, Dzhanik Fayziev, Russia, A+) 


Spoilers alert

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

เหมือนหนังรัสเซียเรื่องนี้มีอะไรบางอย่างที่กลับหัวกลับหางจากหนัง Hollywood แนวไซไฟโดยทั่วไป เพราะหนังฮอลลีวู้ดไซไฟมักนำเสนอโลกอนาคตที่ "ผู้ปกครอง/ฝ่ายรัฐบาล/กฎหมาย" เลวร้าย และ "ฝ่ายกบฏ" เป็นคนดี แต่หนังรัสเซียเรื่องนี้นำเสนอในทางตรงกันข้าม 


SIMPLE WOMEN (2019, Chiara Malta, Italy, A+30) 


1.นึกว่าหนังได้รับแรงบันดาลใจจากทั้ง 8 1/2 และ PERSONA เพราะหนังพูดถึงผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีอาการจิตแตกเป็นเสี่ยงๆ และเหมือนอดีตกับปัจจุบันของชีวิตผู้กำกับคนนี้ไหลทบกันจนแยกไม่ออก นอกจากนี้ ผู้กำกับหญิงคนนี้ก็มีการปะทะทางอารมณ์, ทางจิต และทางบุคลิกภาพกับนักแสดงหญิงด้วย 


2.ชอบมากๆที่ให้  Elina Lowensohn มารับบทเป็นตัวเองในหนังเรื่องนี้ เราชอบเธออย่างสุดๆจาก SOMBRE (1998, Philippe Grandrieux) เราว่าเธอเหมาะจะปะทะกับ Tilda Swinton และ Jeanne Balibar ในหนังสักเรื่อง 


THE GUEST (2018, Duccio Chiarini, Italy, A+30) 


1.ชอบที่พระเอกประสบปัญหาหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งเรื่องทะเลาะกับเมีย, พ่อป่วยหนัก, มีปัญหากับเจ้านาย, เพื่อนมีชู้ ดูแล้วนึกว่า THINGS TO COME (2016, Mia Hansen-Love, France) เวอร์ชั่นเพศชาย 


2.หนังเริ่มเรื่องด้วยการที่พระเอกอยากมีลูก แต่นางเอกไม่อยากมีลูก ซึ่งถ้าหากเป็นในหนัง hollywood สูตรสำเร็จ มันมักจะจบลงด้วยการที่ตัวละครมีลูกและมีความสุขในตอนจบ แต่โชคดีที่ THE GUEST มีความจริงใจต่อตัวละครมากพอ และไม่เลือกที่จะจบแบบนั้น 


WILD GRASS (2020, Xu Zhanxiong, China, A+15) 


WISDOM TOOTH (2019, Liang Ming, China, A+30) 


ชอบ dilemma ที่นางเอกต้องเผชิญมากๆ 

------

ตอนเราไปดูหนังที่ china cultural center เมื่อวันเสาร์ เราสังเกตว่าพื้นของอาคารเป็นลวดลายสวัสดิกะ รู้สึกว่าในวัฒนธรรมจีน เครื่องหมายสวัสดิกะเป็นสัญลักษณ์ในแง่ดีอะไรสักอย่าง จำได้ว่าตอนเด็กๆเราเคยดูละครทีวีเรื่อง เจ้าแม่กวนอิมที่เจ้าหย่าจือนำแสดง ในละครมีฉากที่เจ้าแม่กวนอิมใช้เกราะที่มีลวดลายสวัสดิกะในการต่อสู้กับพญามาร เราก็เลยได้รู้จากละครทีวีเรื่องนั้นว่าสวัสดิกะไม่ได้หมายถึงนาซีเสมอไป แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ดีงามในวัฒนธรรมเก่าแก่บางวัฒนธรรมด้วย