Sunday, June 05, 2022

A CONVERSATION WITH THE SUN (2022, Apichatpong Weerasethakul, DuckUnit, Pat Pataranutaporn, video installation, A+30)

 

AFTER YANG (2021, Kogonada, A+30)

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.สิ่งหนึ่งที่สงสัยก็คือว่า หนังเรื่องนี้ตั้งใจสะท้อน “ความรู้สึกไม่ belong ในสังคมอเมริกันอย่างแท้จริงของชาว chinese-american บางคน” หรือเปล่า โดยเฉพาะคนจีนอพยพ “รุ่นก่อน” และยังมีสถานะเป็นชนชั้นแรงงานอยู่

 

คือหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้นะ แต่พอดูหนังแล้วเราก็เลยแอบคิดว่า การที่ Yang ไม่ได้มีสถานะเป็น “คน” อย่างสมบูรณ์ในหนังเรื่องนี้ มันสะท้อนความรู้สึกของการไม่ belong เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอเมริกันอย่างสมบูรณ์เหมือนคนขาว, คนดำ, คนเอเชียสถานะดี (อย่างเช่นสาวอินเดียเจ้าของพิพิธภัณฑ์)  และคนเอเชียรุ่นใหม่ (อย่าง Mika) หรือเปล่า

 

และในการที่ Yang จะเข้าใกล้ “ความเป็นคน” ได้มากยิ่งขึ้นนั้น หรือในการที่ Yang จะทำลายความเป็นหุ่นยนต์ของเขาลงได้บางส่วนนั้น การที่เขาได้รักกับ “คน” ก็จะช่วยให้เขาเข้าใกล้ “ความเป็นคน” มากยิ่งขึ้นด้วย และในหนังเรื่องนี้ เขาก็ไปรักกับสาวผิวขาว ซึ่งมันก็เลยทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ในการที่คนเอเชียจะกลืนเข้ากับสังคมอเมริกันได้มากยิ่งขึ้นนั้น การมีคู่ครองเป็นคนอเมริกัน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งเช่นกัน เราก็เลยแอบคิดว่า “ความเป็นหุ่นยนต์/ความเป็นคน” ในหนังเรื่องนี้ มันทำให้เรานึกถึง “ความเป็นคนจีนที่ยังไม่รู้สึก belong อย่างแท้จริงในสังคมอเมริกัน/ความรู้สึก belong อย่างแท้จริงในสังคม” ซึ่งเราอาจจะคิดไปเองก็ได้ หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจบอกอย่างนั้น 55555

 

คือพอเห็น Yang กับสาวคนรักผิวขาวในหนังเรื่องนี้ เราก็นึกถึง BLUE BAYOU (2021, Justin Chon) ขึ้นมาน่ะ

 

2.หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงความแตกต่างระหว่างสถานะของคนดำกับคนจีนในสังคมอเมริกันด้วยแหละ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าหนังตั้งใจหรือเปล่า

 

ประเด็นแรกที่ทำให้เรานึกถึงก็คือว่า ช่วง 3 ปีที่ผ่านมานี้ สถานะของคนจีนในสังคมอเมริกันคงแย่ลงมาก เพราะปัญหาโรคโควิดที่นำไปสู่การเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรง และเพราะว่าในช่วงก่อนเกิดสงครามยูเครน ประเทศจีนเคยมีสถานะเป็นศัตรูหลักที่น่ากลัวของอเมริกาด้วย ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะในยุคของทรัมป์ที่ตั้งกำแพงภาษีต่อสินค้าจีน และมีความหวาดระแวงอย่างรุนแรงว่าสินค้าเทคโนโลยีจากจีนจะมี spyware มีเครื่องดักฟังอะไรต่าง ๆ แอบซ่อนอยู่

 

เพราะฉะนั้นสถานะของคนจีนในอเมริกานี่น่าจะแย่ลงมากตั้งแต่ยุคทรัมป์ และแย่ลงไปอีกในยุคโควิด แต่พอเกิดสงครามยูเครน ศัตรูหลักของสหรัฐก็อาจจะกลับกลายไปเป็นรัสเซียแบบในยุคสงครามเย็นแทน

 

3.อีกประเด็นที่หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึง โดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ ก็คือว่า คนดำไม่ต้องแบกรับภาระทางวัฒนธรรม 4000 ปีก่อนแบบคนจีน และมันก็เลยอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งหรือเปล่า ที่ทำให้คนจีนมีความแปลกแยกบางอย่างจากสังคมอเมริกันในแบบของตัวเอง

 

คือเหมือนคนดำในอเมริกา ไม่จำเป็นต้องไปศึกษาวัฒนธรรมหลายพันปีก่อนในทวีปแอฟริกาน่ะ ไม่ต้องเรียนภาษา Wolof ภาษา Swahili หรืออะไร ก็เรียนภาษาอังกฤษ คิดเป็นภาษาอังกฤษ สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่เกิดไปเลย เติบโตมากับวัฒนธรรมคนดำในอเมริกาไปเลย ไม่ต้องไปแบกรับภาระหน้าที่ในการส่งต่อวัฒนธรรม 4000 ปีก่อนจากจีนยุคโบราณให้แก่คนจีนรุ่นหลัง ๆ แบบที่ Yang ต้องแบกรับภาระนั้น

 

4.น่าสนใจมากที่หนังใส่สาวอินเดียเข้ามาในหนังด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วเธอก็ปรากฏตัวในฉากเต้นรำแข่งขันตั้งแต่ในช่วงต้นเรื่อง ก่อนที่จะปรากฏตัวในฐานะเจ้าของพิพิธภัณฑ์ในเวลาต่อมา

 

แต่เธอก็เหมือนกลืนเข้ากับสังคมได้ดีนะ เพราะสถานะทางสังคมที่ดีของเธอ

 

อันนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ แต่เราคิดว่าจริง ๆ แล้วสังคมคนอินเดียในต่างประเทศ ก็อาจจะมีลักษณะบางอย่างคล้าย ๆ กับสังคมคนจีนในต่างประเทศเหมือน ๆ กัน ในแง่การยังใช้ภาษาดั้งเดิมของชาติตัวเอง, การมีชุมชนของตนเอง, ความพยายามที่จะรักษาวัฒนธรรมหลายพันปีก่อนของชาติตนเอง แต่คนอินเดียอาจจะมีความแตกต่างจากคนจีนในอเมริกาในแง่นึงมั้ง เพราะอินเดียไม่ได้มีสถานะเป็นศัตรูทางการเมืองของสหรัฐ

 

5.ดูแล้วนึกถึง AFTER LIFE (1998, Hirokazu Koreeda) ด้วย ในแง่การบันทึกความทรงจำหลังความตาย และคิดถึงหนังไซไฟเรื่อง THE FINAL CUT (2004, Omar Naim) ด้วย

 

6.แอบคิดว่า ถ้าหากหุ่นยนต์ในหนังเรื่องนี้ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเชื้อชาติและไม่ต้องแบกรับหน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรม 4000 ปีก่อนของชาวจีน หุ่นยนต์ในหนังเรื่องนี้ก็อาจจะบันทึกความทรงจำที่น่าประทับใจในทุกๆ วัน วันละ 10 วินาทีเก็บไว้ โดยที่ความทรงจำเหล่านั้นอาจจะเป็น moments เล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน โดยไม่ต้องมีเรื่อง drama ความรักเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

และพอเราเอาความทรงจำของหุ่นยนต์ตัวนั้นมา replay เอาซีนความประทับใจในแต่ละวัน วันละ 10 วินาทีของหุ่นยนต์ตัวนั้นมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน เราก็จะได้หนังเรื่อง AS I WAS MOVING AHEAD OCCASIONALLY I SAW BRIEF GLIMPSES OF BEAUTY (2000, Jonas Mekas, 4hours 48mins, A+30)

 

A CONVERSATION WITH THE SUN (2022, Apichatpong Weerasethakul, DuckUnit, Pat Pataranutaporn, video installation, A+30)

 

1.ประทับใจการเคลื่อนตัวไปมาของผ้าม่าน/จอฉายภาพยนตร์มาก ๆ ซึ่งตอนที่ดูวิดีโอนี้ ทำไมเราถึงรู้สึกว่าจอฉายภาพยนตร์นี้มันเหมือน “ผ้าห่อศพ” ยังไงไม่รู้ อาจจะเป็นเพราะมันมาพร้อมกับภาพเปลวไฟเผาผลาญ เพราะฉะนั้นพอเราเข้าไปในแกลเลอรี่ แล้วเจอผ้าขาว ๆ พร้อมกับเปลวไฟเผาผลาญมันอยู่ เราก็เลยรู้สึกว่าอีนังจอฉายภาพยนตร์นี่ มันเหมือน “ผ้าห่อศพ” สำหรับเรา เราก็เลยขอเรียกมันว่า อีผ้าห่อศพก็แล้วกันนะ 55555

 

คือตอนแรกกะว่าจะเข้าไปนั่งดู จะได้ไม่เมื่อย ปรากฏว่า ถ้าหากนั่งดู ก็จะโดนอีผ้าห่อศพบังไม่ให้เห็นจอเล็ก เราก็เลยตัดสินใจยืนดูประมาณ 1 ชั่วโมง

 

ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ในงานนี้จะมีสองจอ จอใหญ่กับจอเล็กฉายพร้อมกัน ภาพจากจอเล็กจะยิงตรงไปที่ฝาผนังของแกลเลอรี่ ส่วนภาพจากจอใหญ่จะยิงไปที่อีผ้าห่อศพ แต่ถ้าในบางจังหวะผ้าห่อศพไม่ได้ถูกดึงขึ้นมาด้านบน ภาพจากจอใหญ่ก็จะตกกระทบไปซ้อนกับภาพบนจอเล็กที่ฝาผนังด้วย ไม่รู้เราเข้าใจถูกหรือเปล่านะ เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องกลไกอะไรพวกนี้

 

2.แต่การยืนดู 1 ชั่วโมงนี่ไม่ทรมานอะไรเลยนะ แต่เป็นอะไรที่สนุกสุด ๆ สำหรับเรา เพราะเราต้องคอยเดินไปเดินมา เพราะเราไม่อยากให้ “อีผ้าห่อศพเคลื่อนที่ได้” นี่มันลอยมาแตะเนื้อต้องตัวเรา 55555

 

คืออีผ้าห่อศพนี่มันไม่หยุดนิ่ง มันขึ้น ๆ ลง ๆ เดี๋ยวขึ้น เดี๋ยวลง และลากตัวไปมาจากใกล้ ๆ ผนังห้องด้านนึงไปที่ใกล้ ๆ ผนังห้องอีกด้านนึง เราก็เลยยืนอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ เพราะผ้าห่อศพมันจะมาใกล้ ๆ ตัวเรา เรากลัว และการเคลื่อนที่ไปมาของผ้าห่อศพมันจะบดบังการมองเห็นภาพจากจอเล็กในบางขณะด้วยมั้ง ถ้าหากเรายืนอยู่ในจุดที่ไม่เหมาะในตอนนั้น เราก็เลยเปลี่ยนที่ยืนไปเรื่อย ๆ เพื่อหาจุดที่จะมองภาพจากทั้งจอเล็กและจอใหญ่ได้ถนัดในขณะที่ผ้าห่อศพเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ในห้อง

 

3.ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด จังหวะการเคลื่อนที่ของผ้าห่อศพนี่น่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงในการวนลูปมั้ง ส่วนตัวภาพในวิดีโอทั้งสองจอนี่ เห็นเขาบอกว่ามันเป็นภาพแบบ random ไม่มีจุดสิ้นสุด แต่เราเข้าใจว่าจังหวะการเคลื่อนที่ของผ้าห่อศพนี่อาจจะวนลูปทุก 1 ชั่วโมงหรือเปล่า เราไม่แน่ใจเหมือนกัน

 

คือเราเข้าแกลเลอรี่ไปตอนราว 13.30 น. ผ้าห่อศพอยู่ใกล้ ๆ ฝาผนังห้องด้านที่ทำหน้าที่เป็นจอฉายภาพยนตร์ มันค่อย ๆ ถูกดึงขึ้นมาจนใกล้เพดานทั้งด้านซ้ายและด้านขวา และมันก็ค่อย ๆ ลอยจากผนังห้องด้านนึงมาผนังห้องด้านที่เป็นประตูทางเข้า แล้วผ้าห่อศพก็ลอยกลับมาที่ผนังห้องด้านที่เป็นจอฉายภาพยนตร์อีกครั้ง โดยที่ผ้าด้านขวาถูกปล่อยให้ตกลงมาเรี่ยพื้นห้อง แต่ผ้าด้านซ้ายยังถูกดึงให้ใกล้เพดานอยู่ แล้วผ้าด้านขวาก็ค่อย ๆ ถูกดึงให้ลอยขึ้นมาใกล้เพดานอีกครั้ง จนกลับไปอยู่ในสภาพเดียวกับที่เราเห็นตอน 13.30 น. ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เราก็เลยเดาว่าจังหวะการเคลื่อนที่ของผ้าห่อศพอาจจะวนลูปทุก 1 ชั่วโมง

 

4.สิ่งหนึ่งที่วิดีโอนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่มันทำให้เรานึกถึง ก็คือภาพเปลวไฟที่เหมือนทั้งให้คุณและให้โทษ เพราะเปลวไฟในวิดีโอนี้มันเหมือนเป็นสิ่งที่มีพลังในการทำลายล้าง มันดูแผดเผารุนแรงทำลายทุกสิ่ง แต่ในบาง moments นั้น ภาพเปลวไฟก็ถูกลดลงไปอยู่ที่ด้านล่างของจอเล็ก และพอเปลวไฟมันลดลงไปอยู่ในระดับแค่นั้น มันก็เลยเหมือนมีสภาพเป็นแค่ “เชื้อเพลิง” ที่ให้พลังงานอันมีประโยชน์มากมาย

 

5.รู้สึกเหมือนมันเป็นภาคสามของ A MINOR HISTORY 55555 เพราะ

 

5.1 ชื่องานที่มีคำว่า “พระอาทิตย์” มันทำให้เรานึกถึงประโยคที่พูดซ้ำไปซ้ำมาใน A MINOR HISTORY ว่า “วันนี้อากาศร้อนจังเลยนะคะ” หรืออะไรทำนองนี้ ถ้าหากเราจำไม่ผิด

 

5.2 มีคำว่า “ท่อนจันทน์” และ “MASTURBATE” ในวิดีโอ

 

5.3 มีฉากป้าเจน (ถ้าหากเราดูไม่ผิด) ปักคำว่า THE MEKONG RIVER IS A SHROUD

 

6.ตลกดีที่งานนี้จัดฉายในช่วงที่หนังเรื่อง AFTER YANG เข้าฉายพอดี เพราะถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด หลาย ๆ ซีนใน A CONVERSATION WITH THE SUN เป็นซีนเล็ก ๆ จากช่วงชีวิตต่าง ๆ ที่ Apichatpong ถ่ายเก็บไว้ แล้วเขานำมันมาปฏิสัมพันธ์กับ AI จนกลายเป็นงานวิดีโอนี้ เพราะฉะนั้นงานวิดีโอนี้ก็เลยทำให้เรานึกถึง AFTER YANG ด้วย 55555

 

 

 

 

No comments: