Monday, June 13, 2022

A๊N URBAN LEGEND IN BANGKOK

 

MY COMMENT IN SASAWAT’S POST

 

นึกถึงที่เราเพิ่งเขียนไปเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ว่าทำไม GANGUBAI KATHIAWADI ถึงประสบความสำเร็จมากตอนฉายทาง NETFLIX ในไทย แต่ไม่ได้เปรี้ยงปร้างอะไรตอนฉายโรงในไทย

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid0bzXJS5ab4kL8xKa17aVxxsAeDzcT8heFV4b7x7CvV3mLccqCF38RnBVxvMMJjjxol

 

เนื่องจากเราไม่ใช่ผู้หญิง เราก็เลยไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ แต่ถ้าหากให้เราเดา

 

1.ปัจจัยหนึ่งมันก็อาจเป็นเรื่องของความปลอดภัยด้วยแหละมั้ง เพราะเวลาเราดูหนังในเทศกาล หนังเลิกตีสอง เราก็ไม่แคร์ นั่งดูหนังคนเดียวได้, เข้าห้องน้ำคนเดียวได้, นั่ง taxi ตอนตีสองคนเดียว เดินเข้าซอยคนเดียวตอนตีสามได้ คือไม่รู้ว่าเราควรต้องกลัวผู้ชายแปลกหน้า หรือผู้ชายแปลกหน้าควรจะเป็นฝ่ายต้องกลัวเรา 55555

 

นึกถึงตอนที่เราไปดูหนังจีนเรื่องนึงที่พารากอน หนังฉายประมาณทุ่มนึง เราก็ยืนเล่นมือถืออยู่หน้าโรง กะว่าจะรอให้โฆษณามันจบก่อน แล้วค่อยเข้าไปนั่งดู ปรากฏว่าอยู่ดี ๆ ก็มีหญิงสาวคนนึงเดินออกมาจากโรง หน้าตาตื่น ๆ แล้วเธอก็มาถามเราว่า มารอดูหนังเรื่องนี้ใช่ไหมคะ เธอจะได้รอเข้าไปดูด้วย เพราะในโรงหนังไม่มีคนเลย คือเธอไม่กล้านั่งดูโฆษณาในโรงพารากอนคนเดียวตอนทุ่มนึง เราก็ตกใจว่ามีคนที่กลัวอะไรแบบนี้ด้วยเหรอ แต่หลังจากนั้นก็เหมือนมีคนดูอีก 2-3 คนทยอยเข้าโรงหนังไป เธอก็เลยกล้ากลับเข้าโรงหนังไปนั่งดูโฆษณาต่อ

 

2.ต่อจากประเด็นที่เราเขียนถึง GANGUBAI ไปข้างต้น คือเราเดาว่านอกจากละครโทรทัศน์จำนวนมากถูกสร้างขึ้นเพื่อหวังตอบสนองความต้องการของผู้ชมเพศหญิงแล้ว เราก็นึกถึงช่วง 10 ปีก่อนที่เราเคยตามดู “หนังที่สร้างขึ้นเพื่อฉายทางโทรทัศน์” ในช่อง TV5MONDE ของฝรั่งเศสด้วย แล้วเราก็ตกใจมากว่า ทำไมหนังที่สร้างขึ้นเพื่อฉายทางโทรทัศน์ของฝรั่งเศส มันถึงดีมาก ๆ ถูกจริตเรามาก ๆ แบบนี้ ทั้ง ๆ ที่มันเป็นกลุ่มหนังที่ไม่เคยมีนักวิจารณ์เขียนถึงเลย

 

เราสังเกตด้วยว่า หนังที่สร้างขึ้นเพื่อฉายทางโทรทัศน์หลาย ๆ เรื่องของฝรั่งเศส มันเป็นหนังสเกลเล็ก, ทุนสร้างต่ำ และเป็น “หนังชีวิตผู้หญิง” น่ะ แบบความสัมพันธ์พี่สะใภ้-น้องสะใภ้, ชีวิตแม่บ้านในหมู่บ้าน, นางเอกที่ติดการพนัน, ชีวิตผู้หญิงวัยกลางคนในรูปแบบต่าง ๆ คือดูแล้วรู้สึกได้เลยว่า หนังที่สร้างขึ้นเพื่อฉายทางทีวีกลุ่มนี้น่าจะเป็นหนังกลุ่มที่ “ผู้หญิงวัยกลางคน” น่าจะ identify ตัวเองกับหนังได้อย่างรุนแรงมาก เพราะเราก็ identify ตัวเองกับหนังกลุ่มนี้อย่างรุนแรงเหมือนกัน 55555

 

เราก็เลยคิดว่า พอมีโทรทัศน์ขึ้นมา พวกหนังของ Douglas Sirk, ชนะ คราประยูร, เริงศิริ ลิมอักษร อะไรพวกนี้ มันย้ายเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์แทนน่ะ ทั้ง ๆ ที่มันเป็นหนังที่ผู้ชมเพศหญิงน่าจะอินด้วยได้ง่าย ๆ โรงภาพยนตร์มันก็เลยเหมือนเต็มไปด้วยหนังที่ผู้ชายดูแล้วอิน แต่ผู้หญิงอาจจะดูแล้วไม่อิน ลองนึกถึงหนังไทยที่เข้าโรงในยุคปัจจุบันดูสิ มีหนังชีวิตผู้หญิงแบบหนังของชนะ คราประยูรสักกี่เปอร์เซ็นต์กันที่เข้าโรงในยุคปัจจุบัน

 

แต่จริง ๆ แล้วเรื่องพวกนี้ก็ต้องให้ผู้หญิงเป็นคนตอบแหละ สิ่งที่เราเขียนมาเป็นเพียงแค่ข้อสงสัยเท่านั้น ไม่ใช่คำตอบ

-------------

เพิ่งนึกขึ้นได้ถึง URBAN LEGEND อันนึงที่ฝังใจเรามานาน 25-30 ปีแล้ว เราก็เลยอยากถามเพื่อน ๆ ว่าเคยได้ยินเรื่องนี้ไหม แล้วมันเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า

 

คือช่วงประมาณกลางทศวรรษ 1990 มีข่าวลือว่า มีสองสาวไปดูหนังที่โรงหนังในห้างสรรพสินค้าดังใจกลางกรุงเทพแห่งนึง ตอนกลางคืน แล้วสาวคนนึงแยกตัวไปเข้าห้องน้ำ แล้วก็หายไปเลย เพื่อนของเธอไปตามที่ห้องน้ำ ก็ไม่เจอใครในห้องน้ำ ก็เลยไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น กลับบ้านไปแล้วหรือเปล่า (ยุคนั้นยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ) แต่ปรากฏว่าหญิงสาวคนนั้นก็ไม่ได้กลับบ้าน หายสาบสูญไป

 

อีกไม่กี่วันต่อมา ก็พบศพหญิงสาวคนนี้ในที่ทิ้งขยะของห้างสรรพสินค้าแห่งนั้น โดยศพของเธอ “ไต” (หรืออวัยวะภายในอะไรสักอย่างนี่แหละ) หายไป

 

คือไม่รู่ว่าข่าวลือนี้เป็นจริงแค่ไหน แต่มันก็ทำให้เรากลัวมาก ๆ เหมือนกัน เพราะเราก็ชอบดูหนังรอบดึก ๆ แล้วอาชญากรรมฆ่าเพื่อเอาอวัยวะแบบนี้มันไม่ได้เลือกเพศชายเพศหญิงด้วยแหละ เราเข้าใจว่าอย่างนั้น

 

จำได้ว่ายุคนั้นมีหนังเรื่อง COPYCAT (1995, Jon Amiel, A+30) ที่เกี่ยวกับฆาตกรโรคจิตที่ไล่ฆ่าคนตามห้องน้ำออกฉายด้วยนะ เราก็เลยยิ่งหวาดกลัวมากยิ่งขึ้นไปอีก คือยุคนั้นเราก็ยังคงไปดูหนังรอบดึกเหมือนเดิมน่ะแหละ แต่เวลาเราเข้าห้องน้ำตามห้าง เราก็จะมีอาการ alert อย่างรุนแรงอยู่พักนึง 55555

 

แก้ไขความทรงจำที่ผิดพลาดของตัวเอง

 

เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ในโพสท์เกี่ยวกับ TOP GUN เราเขียนไปว่า ก่อนที่เราจะเริ่มดูหนังโรงคนเดียวในปี 1987 นั้น เราเคยไปดูหนังในโรงภาพยนตร์กับคนอื่นๆ ประมาณ 6 เรื่อง

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10228840727826357&set=a.10206445257193588

 

แต่ตอนนี้ความทรงจำของเราฟื้นกลับคืนมาแล้ว เราก็เลยคิดว่า มันน่าจะเป็น 8 เรื่องมากกว่า โดยหนังที่ตกไปสองเรื่องในลิสท์ที่แล้วคือหนังเรื่อง ถามหาความรัก (1984, อภิชาต โพธิไพโรจน์) ที่เราน่าจะได้ดูที่โรงภาพยนตร์ เพรสซิเดนท์ ในปี 1984 ตอนที่เรามีอายุ 11 ขวบ โดยเราไปดูกับพี่สาว และอีกเรื่องคือ “ด้วยรักคือรัก” (1985, หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย) โดยเราน่าจะไปดูกับเพื่อน ๆ แต่จำไม่ได้แล้วว่าดูที่โรงอะไร โดยหนังทั้งสองเรื่องนี้นำแสดงโดยอัญชลี จงคดีกิจเหมือนกัน

 

คือเราเพิ่งดูหนังสารคดีเรื่อง CINEMA, MON AMOUR (2015, Alexandru Belc, Romania, A+30) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาน่ะ แล้วเหมือนการได้เห็นโรงหนัง stand alone เก่า ๆ ในหนังสารคดีเรื่องนี้ มันไปปลุกความทรงจำของเราที่มีต่อการไปดู “ถามหาความรัก” ที่โรงเพรสซิเดนท์ขึ้นมา 555

 

ดู “ถามหาความรัก” ได้ที่นี่นะ

https://www.youtube.com/watch?v=vEdbVqB2H0c

 

No comments: