Sunday, June 19, 2022

MOVING IMAGES SCREENING NIGHT

 รายงานผลประกอบการประจำวันที่ 18  June 2022


1.FIRST GRADE (2022, Sopawan Boonnimitra, Peerachai Kerdsint, documentary, A+30)
รอบ 10.00 hrs @House

2.REMAKE, REMIX, RIP-OFF: ABOUT COPY CULTURE & TURKISH POP CINEMA (2014, Cem Kaya, Turkey,  documentary, A+30)
รอบ 14.00  hrs @Doc Club

3. MINDVOLUTION 2046 (2022, Alwa Ritsila, A+30)
รอบ 16.30 hrs @ Doc Club

4. SATAN & ADAM (2018, V. Scott Balcerek, documentary, A+30)
รอบ 19.00 hrs @ Doc Club

5.ANCHOR (2022, Jung Ji-yeon, South Korea, A+30)
รอบ 21.10 hrs @ Em Quartier

สาเหตุที่ต้องดูต่อกันแบบนี้ เพราะช่วงนี้มีบางสัปดาห์ที่เราติดภารกิจ ไม่สามารถดูหนังโรงได้ในวันจันทร์-ศุกร์น่ะ เพราะฉะนั้นเราก็เลยต้องรีบอัดดูหนังโรงที่เราอยากดูให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในวันเสาร์-อาทิตย์ เพราะในวันจันทร์-ศุกร์เราไม่สามารถออกมาดูหนังโรงได้ในบางสัปดาห์จ้ะ แต่บางสัปดาห์ก็ออกมาได้ แล้วแต่สถานการณ์

เจอเพื่อน cinephiles สองคนที่ดูหนัง 4 เรื่องในวันนี้ด้วย โดยมีคนนึงที่ดูหนังเรียง 1-4 เหมือนเรา ส่วนอีกคนดู 1-3 เหมือนเรา แล้วเขาไปดู 36 ของ Nawapol เป็นเรื่องที่ 4

เหมือนเห็นเพื่อน cinephiles บางคนดูหนังลำดับ 2-3-4 เหมือนเราในวันนี้ด้วย :-)

กราบขอบพระคุณโชคชะตาที่เหมือนวันนี้เราวูบไปแค่ประมาณ 5 วินาทีมั้งตอนดู SATAN & ADAM แต่ไม่หลับในเรื่องอื่น ๆ

หนังลำดับ 2-3 นี่คือเหมาะฉายควบกันอย่างสุดขีด เพราะหนังสารคดีตุรกีมันพูดถึงหนัง CULT หนังที่มีคุณค่าทางความเฮี้ยน ๆ หนังทุนต่ำที่มีคุณค่าในแบบเพี้ยนพิลึกของมันเอง ซึ่งพอดูหนังสารคดีตุรกีเรื่องนี้เสร็จแล้วก็ทำให้อยากดูหนัง cult มาก ๆ ปรากฏว่าความต้องการนี้ได้รับการตอบสนองในทันทีด้วยหนังของ Alwa 55555

ตอนนี้ชอบ REMAKE, REMIX, RIP-OFF มากที่สุดในวันนี้ เพราะมันเป็นหนังที่มีความ cinephile สูงมาก ๆ ก็เลยเข้ากับเรามากเป็นการส่วนตัว
---

นึกถึงเรื่องที่นักอนุรักษ์ช้างคนนึงตายในแอฟริกา แล้วในงานศพของเขา ปรากฏว่ามีช้างเจ้าแม่ตัวนึงนำฝูงช้างจำนวนมากยกโขยงเดินทางมาหลายกิโลเมตรมาร่วมงานศพด้วย ไม่รู้ว่าช้างเจ้าแม่ตัวนี้รู้เรื่องงานศพนี้ได้อย่างไร
---

FOX IN BEER GARDEN (Natthaphon Chaiworawat, video installation,  A+30)

หลังจากเรางงว่าหนังเรื่องนี้มันยาว1 hours 53 mins หรือหนังมันยาว 1.53 mins วันนี้เราก็ได้ดูหนังจริง ๆ เสียที และก็ได้รู้ว่ามันยาวอย่างน้อย 30 นาที เพราะเราเข้าไปดูหนังตอนราว 17.00 น. หลังจากหนังเริ่มฉายไปแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหนังมันเริ่มไปนานแล้วยัง แล้วหนังจบเวลาราว 17.30 น.

แต่ที่แน่ ๆ คือไม่ใช่หนังปี 2003 อย่างที่สูจิบัตรบอกไว้ เพราะเพลงประกอบสำคัญของหนังคือเพลงคืนความสุขให้ประเทศไทย

เราไม่แน่ใจว่าหนังเป็นสารคดี หรือ reenactment จากเหตุการณ์จริง หนังเป็นการตั้งกล้องถ่ายในรถ taxi ที่มีพลาสติกหุ้มห่อภายนอกรถทั้งคัน และบันทึกบทสนทนาระหว่างคนขับกับผู้โดยสารที่ผลัดเปลี่ยนกันไปเรื่อย ๆ โดยส่วนใหญ่คนขับจะพยายามชวนผู้โดยสารคุยในเรื่องปัญหาการเรียก taxi ยาก

เห็นป้ายห้าง " TOKYU" ในหนังเรื่องนี้แล้วก็เศร้าใจ
---
ฉันมีเทป KATE BUSH ด้วยนะ อัลบั้มนี้ซื้อมาตั้งแต่ปี 1990 หรือ 32 ปีมาแล้ว เพลง DEEPER UNDERSTANDING ในอัลบั้มนี้ถือเป็น one of my most favorite songs of all time
---
THE TIME IS NOW (2019, Heidrun Holzfeind, video installation, A+30)

DO THEY SPEAK COLOR (2022, Billy Roisz & Dieter Kovacic, Austria, video installation, 22min, A+30)

ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป

GOLD (2022, Anthony Hayes, Australia, A+30)

Spoilers alert
--
--
-'
--
--

1.สงสัยว่ามันเป็นหนังที่เกิดจากข้อจำกัดในการถ่ายทำช่วงโควิดหรือเปล่า เพราะนักแสดงในหนังมันน้อยมาก ๆ  แต่หนังก็ทรงพลังมาก ๆ

2.คิดว่าทะเลทรายในหนังเรื่องนี้ทรงพลังพอ ๆ กับหนังเรื่อง PASSION IN  THE DESERT (1997, Lavinia Currier) และ   GERRY (2002, Gus Van Sant)

3.Susie Porter  โดดเด่นสุด ๆ ในหนังที่มีตัวละครน้อยเรื่องนี้

4.ชอบพัฒนาการของพระเอกมาก ๆ จากคนที่ "มีเมตตาต่อสัตว์โลก ไม่คิดแม้แต่จะฆ่าแมงป่อง" ในช่วงต้นเรื่อง กลายมาเป็นคนที่โหดร้ายขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาต่อมา

5. ดีใจที่ Zac Efron ยังมีชีวิตอยู่
---
JERSEY (2022, Gowtam Tinnanuri, India, A+30)


Serious Spoilers alert

--
--
--
--
-'
--
--
-'
--
'-
1.พอดูจนจบแล้วก็แอบสงสัยว่า หนังมันใช้วิธีการเล่าเรื่องผิดหรือเปล่า เพราะระหว่างที่ดูหนัง เราจะรู้สึกว่าหนังดูสนุกเพลิดเพลินดี แต่เรารำคาญพระเอก เพราะเราไม่เข้าใจการตัดสินใจของเขา

แล้วหนังก็มา twist ตอนท้ายเรื่อง เพื่อให้เราเข้าใจพระเอกในตอนจบ ซึ่งเราก็รู้สึกสองจิตสองใจว่ามันเป็นการ twist ที่ดีหรือเปล่า บางทีหนังน่าจะบอกผู้ชมอย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่ต้นเรื่องหรือเปล่า ปล่อยให้เราเข้าใจพระเอกผิด ๆ มาตั้งนาน

หรือบางทีอาจจะเป็นพระเอกที่ตัดสินใจผิด ที่ไม่บอกความจริงกับคนอื่น ๆ ตั้งแต่แรก

คือจริง ๆ แล้วเราก็เข้าใจพระเอกที่ไม่บอกความจริงกับคนอื่น ๆ นะ แต่เหมือนพอหนังพยายามจะทำซึ้งตรงจุดนี้ เราก็เลยกังขากับมันนิดหน่อย

2.ขำเพื่อนสนิทของพระเอกมาก ๆ คือเหมือนนักแสดงคนนี้ได้รับมอบหมายหน้าที่ว่า "บทเพื่อนพระเอกต้องแสดงความร่าเริงเบิกบานอย่างเต็มที่ คอย support พระเอกตลอดเวลา" ตัวละครตัวนี้มันเลยเปล่งประกายของความร่าเริงเบิกบานอย่างรุนแรงมากในทุก ๆ ฉาก จนเราฮากับมันมาก ๆ คือเหมือนตัวละครตัวนี้กลายเป็นการ parody "บทบาทหน้าที่ของตัวละครเพื่อนพระเอก" โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ
---
K.G.F: CHAPTER 2 (2022, Prashanth Neal, India, A-)

1.เราว่า aesthetics ของหนังประหลาดดีสำหรับเรา เพราะมันเป็นหนังบู๊แอคชั่น แต่การตัดต่อการถ่ายภาพและอะไรต่าง ๆ มันทำให้เรานึกถึง music video น่ะ

และพระเอกเหมือน "เดินเท่ ๆ" ประมาณ 50% ของเรื่อง มันก็เลยเหมือนเป็น music video มาก ๆ แต่พอพระเอกไม่ใช่สเปคเรา เราก็เลยเบื่อหนังเรื่องนี้ 555

2.พอเราไม่รู้บริบทสังคมการเมืองในอินเดีย เราก็เลยสงสัยว่า หนังเรื่องนี้มันตั้งใจด่าอินทิรา คานธีหรือเปล่า หรือว่าไม่ใช่ เพราะหนึ่งในตัวร้ายของหนังเป็นตัวละครสมมุติ แต่มีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงในทศวรรษ  1980

3.ปรากฏว่าเรามีปัญหากับทั้งหนังอินเดียที่  glorify ตำรวจ และหนังอินเดียที่  glorify "นักเลง/เจ้าพ่อ/มาเฟีย" เหมือนกันเลย คือก่อนหน้านี้อินเดียชอบทำหนังตำรวจมาโช ซึ่งเราดูแล้วก็ไม่อิน โดยเฉพาะพวกหนังคลั่งชาติ แต่หนังเรื่องนี้กับหนังอย่าง BACHCHHAN PAANDEY (2022, Farhad Samji) ที่ glorify ตัวละครเจ้าพ่อนอกกฎหมาย มันก็ไม่เข้าทางเราเหมือนกัน เพราะเรารู้สึกเหมือนกับว่า หนังกลุ่มนี้มันไม่ได้ต่อต้าน "ความอยุติธรรมของอำนาจรัฐ" แบบหนังฝ่ายซ้าย แต่มันเหมือนสนับสนุนกลุ่มศาลเตี้ย สนับสนุนการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาตามใจตัวเอง อะไรแบบนั้นมากกว่า

ไม่รู้เหมือนกันว่าอินเดียผลิตหนังที่  glorify เจ้าพ่อแบบนี้เรื่องอื่น ๆ ออกมาอีกบ้างหรือเปล่า
---
LAMENT (2022, นฬก, 4min, A+25)

MISERABLE EYES (2004, Viktor13, 17min, A+30)

ชอบสุดขีด หนังเหมือนเป็น home video ถ่ายเด็กผู้ชายคนนึงกับพฤติกรรมของตัวเหี้ยในสวนลุม ดูแล้วเพลิดเพลินสุด ๆ ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะเป็นแค่ home video

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไม home video นี้ถึงทรงพลังสำหรับเรามากกว่า home videos โดยทั่วไป บางทีอาจจะเป็นเพราะหนังมี  gaze ที่ตรงกับ wavelength ของเรา โดยเฉพาะการจับจ้องไปที่ตัวเหี้ยไปเรื่อย ๆ

อีกปัจจัยนึงอาจจะเป็นเพราะว่า หนังมันมาฉายในงาน MOVING IMAGES SCREENING NIGHT ที่  DOC CLUB ด้วยแหละมั้ง ซึ่งในงานเดียวกัน มันมี "หนังบรรยากาศ" กับ "หนังการเมือง" หลายเรื่อง หนังกลุ่มนี้มันเลยเบลอเข้าหากันจนเหมือนมันตัดพลังกันเองโดยไม่ได้ตั้งใจ 55555 แต่หนังเรื่องนี้พอมันไม่ได้มีความเป็นสัญญะทางการเมืองมาครอบงำ และมันไม่ได้มีความพยายามจะสร้างความงามแบบ  video art มันก็เลยเหมือนหนังมันมีลมหายใจ หรือมีชีวิต มีความโดดเด่นขึ้นมาจากหนังเรื่องอื่น ๆ ในงานเดียวกันน่ะ

MAN OF SKY (2021, Patipat Oakkharhaphunrat, 6min, A+25)

พิศวงดี ไม่รู้ว่าเงาดำหรือมนุษย์ประหลาดในหนังเรื่องนี้คืออะไร

PLUME (2021, Sirawich Pukuka, 8min, A+25)

สำหรับใครที่เสียใจอยู่ (2022, Kittirak Khong-arwut, documentary, 21min, A+30)

1.ชอบอย่างสุดขีด เหมือนหนังทั้งเรื่องเป็นการตั้งกล้องนิ่ง ให้เราเห็นแต่ภาพห้องในรูปนี้ แล้วได้ยินเสียงเพื่อนสองคนคุยกัน แต่แค่นี้ก็มากพอแล้วสำหรับเรา คือถึงแม้ว่าในแง่ศิลปะภาพยนตร์หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มีอะไรน่าสนใจมากนัก เพราะมันแทบไม่ได้ลงทุนในการสร้างสรรค์งานด้านภาพออกมา แต่สำหรับเราแล้ว หนังเรื่องนี้เต็มเปี่ยมไปด้วย "พลังชีวิต" สูงมาก ๆ เหมือนหนังมันอัดแน่นเต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกจริง ๆ และอัดแน่นไปด้วยแง่มุมที่เราสนใจในความเป็นมนุษย์ และเรามีความสุขกับการดูหนังแบบนี้ มากกว่าหนังที่มีงานด้านภาพที่ดูสวย, เก๋ ,แพง แต่เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกสำเร็จรูปที่เหมือนสินค้าอัดกระป๋องออกมาจากโรงงาน

2.แน่นอนว่าพอเป็นหนังที่บันทึกการคุยกันส่วนตัว มันก็ย่อมมีบางช่วงของหนังที่เราไม่อินบ้าง แต่ช่วงที่ชอบสุด ๆ คือช่วงที่ทิวคุยถึงความประทับใจในการได้รู้จักกับเพื่อนเก่ง ๆ จากมหาลัยอื่น ๆ และการได้กินเหล้า พูดคุยกันจนดึกดื่น และเดินจากพระรามเก้าไปประสานมิตร ตอนเที่ยงคืน หรืออะไรทำนองนี้ ถ้าจำไม่ผิด

คือเรื่องนี้ทำเราน้ำตาไหลน่ะ เพราะเราก็มีประสบการณ์ทำนองนี้เหมือนกัน เพราะ 2 of the best moments in my life ก็เป็นอะไรคล้าย ๆ กัน นั่นก็คือการเดินคุยกับเพื่อนไปเรื่อย ๆ โดยครั้งนึงน่าจะเกิดขึ้นในปี 1993  เรากับกลุ่มเพื่อนเดินคุยกันจากประสานมิตรมามาบุญครองตอนราว 1600 น. เพราะรถติด และอีกครั้งเกิดขึ้นในราวปี 1998 เรากับเพื่อน ๆดูหนังในเทศกาลอะไรสักอย่างที่ศาลาเฉลิมกรุง เสร็จตอนราว 4 ทุ่มกว่า แล้วก็เดินวนไปวนมา คุยกันไปเรื่อย ๆ เดินเตร็ดเตร่อยู่แถวนั้น จนตีสาม แล้วค่อยแยกย้ายกันกลับบ้าน

เหมือนทั้งสองเหตุการณ์นี้ผ่านมานาน 25-30 ปีแล้ว แต่เรายังคงจดจำความสุขจาก 2 เหตุการณ์นี้ได้จนถึงปัจจุบัน

3.คิดว่าหนังเรื่องนี้เหมาะฉายควบกับ HAPPY END DOY (2021, Kritsada Boonrit) และ
ANEANGLY FAIRYTALE (2010, Nattaphan Boonlert) มาก ๆ เพราะหนังทั้ง 3 เรื่องนี้บันทึก "ความในใจของเด็กเรียนฟิล์ม" เหมือนกัน และเราชอบหนังทั้งสามเรื่องอย่างสุด ๆ เหมือนกัน

RATCHADAMNOEN ROUTE VIEW 2482+ (2022, Suwaporn Worrasit, documentary, A+30)

เห้ย มึงทำไร (Pavit Karoonvichien, 9min, A+30)

ติดอันดับประจำปีแน่นอน หนังฮาสุด ๆ เข้าใจว่าเป็นเรื่องของหนุ่มเมายาที่ไม่พอใจที่เพื่อนพยายามสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง

นึกว่าต้องฉายปะทะกับ LOOK AT ME!!! (2018, Ratchapol Supboonmee)

กิจวัตรของคนแปลกหน้า (2022, Unnamedminor, 4min, A+25)

No comments: