MOST FAVORITE GHOST IN FILMS: หลิวชิงหวิน ใน
"ตาซ้ายเห็นผี" MY LEFT EYE SEES GHOSTS (2002, Johnnie To + Wai
Ka-Fai, Hong Kong) และขอยกให้หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังโรแมนติกที่เราชอบที่สุดในชีวิต
ตอนจบนี่คือเราตายห่าไปเลย
Malachite art works by Donruedi Bunkaeo
จัดแสดงที่ชั้น 7 BACC
NATURE’S DIGITAL DIALOGUE by Nakarin Punyawong
WATER DELICACIES WITH “NAMSAI” RECIPES – THE CONVERSATION
EXPERIENCE (2024, Benjarat Aiemrat, video documentation, 108min, A+30)
เป็นวิดีโอที่บันทึกการสนทนาของตัวศิลปิน คุณ Benjarat
Aiemrat กับคุณ Kanharat Leamthong, Yodchat Bupasiri,
Supawich Weesapen , Varissara Karavanich จัดแสดงที่ชั้น 7 BACC
1.ดูด้วยความเพลิดเพลินมาก อาจจะเป็นเพราะเราชอบดูคนคุยกันอยู่แล้ว
55555
2.ชอบเรื่องมะเขือเทศใน Tasmania
มาก ๆ ที่คนนึงเล่าว่าได้กินมะเขือเทศที่ Tasmania แล้วมันอร่อยมาก แล้วพอกลับมากินมะเขือเทศที่เมืองไทยแล้วรู้สึกเหมือนกิน “กระดาษชุบน้ำ”
เพราะมันไร้รสชาติมาก ๆ
3.ชอบเรื่องทฤษฎีที่ว่า อะไรต่าง ๆ
เหล่านี้เป็นเพราะน้ำฝนที่ตกใน Tasmania มันพัดมาจากขั้วโลกใต้
มันบรรจุเอาอากาศบริสุทธิ์ก่อนยุคน้ำแข็งเอาไว้ เหมือนลมที่พัดมาจากขั้วโลกใต้มันบรรจุเอาอากาศบริสุทธิ์เมื่อหนึ่งหมื่นปีก่อนมาด้วย
แล้วมันก็มากระทบกับป่าสนใน Tasmania มันเลยทำให้น้ำฝนหรือน้ำต่าง
ๆ ใน Tasmania มีความแตกต่างจากที่อื่น
ๆ
4.ชอบที่วิดีโอนี้มันเน้นประเด็นที่ว่า “น้ำใส”
หรือ “น้ำบริสุทธิ์” หรือ “น้ำเปล่า” ในแต่ละสถานที่บนโลกนี้มันไม่เหมือนกันเลย
เพราะอากาศ, แร่ธาตุ, วิถีชีวิต, องค์ประกอบต่าง ๆ
ของแต่ละสถานที่บนโลกนี้มันไม่เหมือนกัน มันเลยส่งผลให้ “น้ำตามธรรมชาติ” ของแต่ละสถานที่มันแตกต่างกันตามไปด้วย
และเนื่องจาก “น้ำเปล่า” เป็นส่วนผสมของอาหารมากมาย
เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้อาหารของแต่ละสถานที่มันไม่เหมือนกันตามไปด้วย
ซึ่งรวมถึงพวกเหล้า สาเก, etc. เหมือนถ้าเราจะทำ “ขนมห้วยเหี๊ยะ”
อะไรสักอย่าง แล้วจานนึงใช้น้ำจากเมือง A แต่อีกจานนึงใช้น้ำจากเมือง
B ตัวขนมห้วยเหี๊ยะสองจานนี้ก็จะให้รสชาติไม่เหมือนกัน
(อันนี้เราสรุปจากความเข้าใจเราเองนะ ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า 55555)
5.พอพูดถึงเรื่อง “การดื่มน้ำฝน”
เราก็เลยนึกถึงอดีตของตัวเองเลย เพราะเราเหมือนไม่ได้ดื่มน้ำฝนมานาน 40 ปีแล้วมั้ง
เพราะบ้านเราอยู่กรุงเทพ ตอนเด็ก ๆ บ้านเราก็รองน้ำฝนใส่โอ่งนะ แต่ไม่เคยเอามากิน
เพราะเขาบอกว่ากรุงเทพมี pollution เยอะ แล้วฝนที่ตกลงมามันก็ชะเอา
pollution ในอากาศลงมาด้วย เพราะฉะนั้นน้ำฝนในกรุงเทพเลยใช้ดื่มไม่ได้
แต่เอาไปใช้ล้างตีนอะไรแบบนี้ได้
แต่พอเราไปเยี่ยมคุณตาคุณยายที่อุบลในทศวรรษ 1980
เราได้ดื่มน้ำฝนที่รองใส่โอ่งนะ เพราะเหมือนในทศวรรษนั้น อากาศที่อุบลยังดูบริสุทธิ์สดใสอยู่
น้ำฝนก็เลยใช้ดื่มได้เลย แต่เราก็จำรสชาติอะไรไม่ได้แล้ว ไม่ได้รู้สึกว่ามันพิเศษอะไร
แต่ก็รู้สึกดีที่วิดีโอนี้ทำให้นึกถึงสิ่งที่เราเคยทำเมื่อราว 40 ปีก่อน แต่เราได้ลืมมันไปแล้ว
6.จริง ๆ
แล้วตัววิดีโอนี้เน้นไปที่การคุยกันเรื่อง “การทำอาหาร”
ซึ่งเราก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากนัก และก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่เราก็นั่งดูไปได้เรื่อย
ๆ
7.แต่สิ่งที่อยากบันทึกความทรงจำเก็บไว้ ก็คือว่า
พอตัววิดีโอนี้มันเน้นคุยกันเรื่อง “น้ำใส” ที่จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันไปในสถานที่ต่าง
ๆ มันก็เลยกระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในวิดีโอนี้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นด้าน
supernatural เพราะเรามีความสนใจด้านนี้เป็นหลัก
5555 คือจริง ๆ แล้วตัววิดีโอนี้เน้นคุยกันไปทาง “วิทยาศาสตร์” หรืออะไรที่จับต้องพิสูจน์ทดลองเห็นผลได้นะ
โดยเฉพาะการทดลองในการทำอาหาร
แต่จิตใจเราเอนเอียงไปทางไสยาศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ตัววิดีโอนี้เลยกระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นไสยาศาสตร์โดยไม่ได้ตั้งใจ
55555
ประเด็นแรกที่เราคิดถึง ก็คือเรื่อง “แหล่งน้ำ” ใน
EVIL DOES NOT EXIST (2023, Ryusuke Hamaguchi) ซึ่งถ้าหากเราจำไม่ผิด
ชาวบ้านในหนังเรื่องนี้เชื่อว่าแหล่งน้ำในดินแดนของพวกเขามีความพิเศษ
ซึ่งมันก็สอดคล้องกับตัววิดีโอนี้ ที่ย้ำว่า “น้ำเปล่า”
ในแต่ละท้องที่นั้นมีความพิเศษแตกต่างกันไป โดยใน EVIL DOES NOT EXIST นั้น ความพิเศษของแหล่งน้ำถูกโยงกับสิ่งเหนือธรรมชาติด้วย
8.ประเด็นที่สอง คือหนังสารคดีเรื่อง ALEXEI
AND THE SPRING (2002, Seiichi Motohashi) ที่พูดถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเบลารุสที่ตั้งอยู่ใกล้กับเชอร์โนบิล
ซึ่งพอตอนเกิดเหตุนิวเคลียร์เชอร์โนบิล คนในหมู่บ้านอื่น ๆ
ก็ต้องอพยพย้ายหนีกันไปหมด เพราะแหล่งน้ำในหมู่บ้านอื่น ๆ มันปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี
แต่คนในหมู่บ้านนี้ไม่ต้องย้ายหนี เพราะหมู่บ้านนี้ใช้น้ำจาก “บ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่มารี”
หรืออะไรทำนองนี้ แล้วปรากฏว่าน้ำจากบ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์นี้ไม่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี
ทั้ง ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้เชอร์โนบิล คนในหมู่บ้านนี้ก็เลยใช้ชีวิตอย่างสงบสุขต่อไปได้เรื่อย
ๆ โดยไม่เป็นอะไรเลย
9.เราคิดไปถึงเรื่อง “โมเลกุลของน้ำมนตร์”
โดยที่ตัววิดีโอไม่ได้ตั้งใจด้วย 55555 คือพอวิดีโอนี้มันเน้นพูดถึง “ความแตกต่างกันของน้ำเปล่า”
เราก็เลยนึกไปถึงข่าวหรือบทความที่บอกว่า “น้ำมนตร์”
มันมีโมเลกุลที่ไม่เหมือนน้ำธรรมดา มันเหมือนกับว่า น้ำเปล่าที่ผ่านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อะไรมาแล้ว
มันทำให้ตัวโมเลกุลของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม และมีการทำวิจัยแล้วพบว่า พอมีการใช้น้ำมนตร์มาแทนน้ำเปล่า
สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล “ผลการวิจัยพบว่า จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยลดลงจาก 8.6 วัน เหลือ 4.8 วัน”
https://mgronline.com/dhamma/detail/9550000031102
ก็เลยสรุปว่า ชอบตัววิดีโอนี้มาก ๆ
ทั้งตัวเนื้อเรื่องที่มันพูดถึง
และการที่ตัววิดีโอนี้กระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับ “น้ำเปล่า”
โดยที่ตัววิดีโอไม่ได้ตั้งใจด้วย 55555
No comments:
Post a Comment