Tuesday, December 10, 2024

HERE (2024, Robert Zemeckis, A+30)

 

One of my most favorite Christmas songs of all time: TOI MACHI NO DOKO KA DE…(SOMEWHERE IN A DISTANT CITY) (1991) – Miho Nakayama เพลงนี้เป็นเพลงคริสต์มาสที่ติดอยู่ในหัวของเรามาตลอด 33 ปีที่ผ่านมา ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม เพลงนี้เป็นเพลงประกอบละครโทรทัศน์เรื่อง WHEN I WANT TO SEE YOU, YOU ARE NOT THERE (1991) ด้วย โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้นำแสดงโดย Miho Nakayama กับ Gitan Otsuru และเล่าเรื่องของ long-distance relationship ระหว่างชายหนุ่มที่ทำงานในซัปโปโรกับหญิงสาวที่ทำงานในโตเกียวในยุคก่อนอินเทอร์เน็ต แต่เราไม่ได้ดูละครเรื่องนี้นะ ละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับ 4 ในญี่ปุ่นในปี 1991 โดยละครยอดฮิตอันดับหนึ่งในปีนั้นคือ  “101 ตื๊อรักนายกระจอก” ที่เคยมาฉายช่อง 5,   อันดับสองคือ MITO KOMON ปีที่ 20 และอันดับ 3 คือ TOKYO LOVE STORY ที่เคยมาฉายช่อง 3 ซี่งเป็นละครทีวีที่เราชอบสุดขีด

https://www.youtube.com/watch?v=vX9iDi-4Kuk

+++++

ถึงแม้เราจะชอบตัวหนัง WICKED (2024, Jon M. Chu, A+30) มาก ๆ แต่ถ้าหากพูดถึง “ฉากร้องเพลง/เต้นรำ” ที่ชอบที่สุดในปีนี้ เราก็ยกให้ฉาก IF YOU GO AWAY ใน JOKER: FOLIE A DEUX (2024, Todd Phillips) ครองอันดับหนึ่งในใจเราประจำปีนี้ค่ะ ส่วนอันดับสองคือฉาก “กาลี มหากาลี” ใน PUSHPA: THE RULE – PART 2 (2024, Sukumar, India)
https://www.youtube.com/watch?v=3ESSfgCDvI4

+++++++++

 

หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เราชอบหนังเรื่อง HERE (2024, Robert Zemeckis, A+30) อย่างรุนแรงสุดขีด เป็นเพราะเราเป็นคนที่อินกับอะไรที่พูดถึง the passage of time มาก ๆ เหมือนเรามักจะสะเทือนใจกับหนัง/ละครเวที/นิยายที่สะท้อน “การเคลื่อนคล้อยของเวลา” ที่มีความ cruelty และ relentlessness อยู่ในนั้น เพราะไม่มีตัวละครใดที่จะหยุดเวลาไม่ให้เคลื่อนคล้อยไปได้ (ยกเว้น Sailor Pluto ใน SAILOR MOON) ซึ่งรวมถึงตัวเราเองในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย ที่อยากหยุดเวลาในชีวิตไว้แค่ปี 1989 แต่ก็ไม่สามารถทำได้ และเราก็ต้องยอมรับว่าเวลามันเดินหน้าไปเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง และนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

 

คือถึงแม้ “ใจของเรา” จะคิดถึงแต่ชีวิตตัวเองในปี 1989 ตลอดช่วง 35 ปีที่ผ่านมา แต่ร่างกายของเราและ objects ต่าง ๆ รอบตัวเรา ก็ถูกเวลาผลักดันให้เดินรุดหน้าไปเรื่อย ๆ เช่นกันตลอดช่วง 35 ปีที่ผ่านมา เราก็เลยรู้สึกว่า “the passage of time” มันเป็นสิ่งที่ cruel และ relentless และเราก็ชอบหนัง/ละครเวที/นิยาย ที่นำเสนออะไรแบบนี้

 

เพราะฉะนั้นพอดู HERE เราก็เลยนึกถึงอะไรต่อไปนี้อย่างรุนแรงด้วย

 

1.นิยายเรื่อง TO THE LIGHTHOUSE (1927, Virginia Woolf)

 

1.1 โดยเฉพาะช่วงกลางของนิยายที่เรียกว่า TIME PASSES ที่รุนแรงที่สุด

 

1.2 ตัวละคร Margaret (Robin Wright) ก็ทำให้นึกถึง Mrs. Ramsay ใน TO THE LIGHTHOUSE ในแง่นึง เพราะ Mrs. Ramsay มัวแต่ทำหน้าที่แม่และเมียหรืออะไรทำนองนี้ และเธออยากไปประภาคาร แต่ก็ไม่ได้ไปเสียที ส่วนตัวละครมาร์กาเร็ตใน HERE ก็อยากไปเที่ยวกรุงปารีสในฤดูใบไม้ผลิ แต่เธอก็ไม่ได้ทำสิ่งนี้ในช่วงที่ยังสาว ๆ กว่าจะได้ทำก็ตอนเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว

 

1.3 ตัวละคร Richard (Tom Hanks) ใน HERE อยากจะเป็นจิตรกร แต่ก็ไม่ได้เป็น เขาเหมือนเป็น “uncertain painter” ส่วนตัวละคร Lily Briscoe ใน TO THE LIGHTHOUSE ก็เป็น “uncertain painter” เหมือนกัน และทั้งตัวละคร Richard กับ Lily Briscoe ก็มี “พัฒนาการ” ในด้านนี้อย่างเห็นได้ชัดเมื่อเนื้อเรื่องใน HERE และ TO THE LIGHTHOUSE ดำเนินไป

 

2. ช่วงท้ายสุดของหนังเรื่อง GANGS OF NEW YORK (2002, Martin Scorsese, A+30) ที่คล้าย ๆ HERE คือเหมือนเป็นกล้อง CCTV ที่จับภาพนิวยอร์คจากมุมมองเดียวเป็นเวลาราว 150 ปี

 

3.หนังเรื่อง SUNDAY IN THE PARK WITH GEORGE (1986, Terry Hughes, 146min, A+30) ที่เป็นเหมือนบันทึกการแสดงละครเวที และเล่าเรื่องของพื้นที่หนึ่งที่คล้าย ๆ สวนสาธารณะริมน้ำ มีผู้คนต่าง ๆ มาเที่ยวพักผ่อน แต่หนังแบ่งออกเป็นสองช่วง ช่วงแรกคือนำเสนอสวนสาธารณะแห่งนี้ในปี 1884-1886 และช่วงที่สองนำเสนอสวนสาธารณะแห่งนี้ในอีก 100 ปีต่อมา และ the passage of time ในหนัง/ละครเวทีเรื่องนี้ก็สร้างความสะเทือนใจให้กับเราอย่างรุนแรงมาก

++++++

 

แต่ถึงแม้เราจะชอบหนังเรื่อง HERE อย่างรุนแรงมาก เราก็ยอมรับว่า หนังมัน “หวาน” เกินไปสำหรับเรานะ คือเหมือนเราชอบ concept ของหนังเรื่องนี้มากที่สุดน่ะ แต่เราว่าในแง่อารมณ์ของหนังแล้ว มันยัง “หวาน” เกินไปสำหรับเรา มันยังไม่ “เย็นชา” ในแบบที่เราต้องการให้มันเป็น

No comments: