ฉันรักเขา
วศิน ภาณุมาภรณ์ Wasin
Panumaporn from THE NATURE OF DOGS (หมา-ป่า) (2024, Pom Bunsermvicha,
27min, A+30)
++++
อ่านเรื่องของ
“คริสติน่า แซ่แต้” แล้วนึกถึงกิจกรรมที่เพื่อน ๆ
ของเราชอบทำสมัยมัธยมในช่วงปลายทศวรรษ 1980 มาก ๆ
ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ คือยุคนั้นเพื่อน ๆ
ของเราชอบสมมุติว่าเพื่อน ๆ บางคนเป็น “นักร้องชื่อดัง”
แล้วก็มีการจัดทำโปสเตอร์โปรโมทคอนเสิร์ตปลอม ๆ ขึ้นมา แล้วไปแอบติดโปสเตอร์ปลอม ๆ
เหล่านี้ตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างเช่นในห้องน้ำชายของสถาบันสอนภาษาบางแห่ง
อะไรทำนองนี้
ซึ่งถึงแม้เรื่องราวเหล่านี้จะผ่านมานานราว
35 ปีแล้ว เราก็ยังจำได้ดี คือถ้าหากจำไม่ผิด มันจะมีโปสเตอร์อันนึง
เป็นโปสเตอร์โปรโมทคอนเสิร์ต “MISS
JIT LIVE IN BOMBAY” (จริง ๆ
แล้วในโปสเตอร์นั้นจะใช้ชื่อเพื่อนอีกคนนึง ไม่ใช่ชื่อเรา
แต่เราไม่อยากระบุชื่อคนอื่นๆ ในโพสท์นี้ 55555)
แล้วในโปสเตอร์นี้จะเป็นรูปวาด MISS JIT ถือไมโครโฟนร้องบนเวทีคอนเสิร์ต
โดยมีงูเหลือมพาดคออยู่ แล้วก็มีการเขียนโปรโมทคอนเสิร์ตในทำนองที่ว่า
“เธอร้องไปร้องมา แล้วงูเหลือมเลื้อยเข้าปิ๊ แล้วงูก็หายสาบสูญไปเลย” เป็น
concert ที่มอบ unforgettable experience ให้แก่
audience หรืออะไรทำนองนี้
เพราะฉะนั้นพอเราเห็น
“ตำนานที่สร้างขึ้นใหม่” ของคริสติน่า แซ่แต้ เราก็เลยนึกถึงกิจกรรม
“การแต่งตำนาน” ของเพื่อน ๆ เราในสมัยมัธยมในช่วงปลายทศวรรษ 1980 มาก ๆ
เหมือนการแต่งตำนานขึ้นมาใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขสุด ๆ
ในตอนนั้น 55555
++++
ชอบบทความนี้ใน HOLLYWOOD REPORTER บทความนี้มีชื่อว่า
“Remembering Sarajevo’s War-Time Movie Club Where Tickets Cost a
Cigarette (But You Had to Watch Out for Snipers)” หรือ “รำลึกถึงสโมสรภาพยนตร์ในกรุงซาราเจโวช่วงสงคราม
ที่ซึ่งตั๋วภาพยนตร์ซื้อได้ด้วยบุหรี่หนึ่งมวน แต่คุณต้องคอยหลบนักซุ่มยิงเมื่อเดินทางมาดูหนังที่นี่”
บทความนี้พูดถึงเรื่องราวของต้นกำเนิดของ
SARAJEVO FILM
FESTIVAL ซึ่งจัดขึ้นปีแรกในปี 1995 แต่ต้นกำเนิดของมันเกิดขึ้นจากงานฉายภาพยนตร์ในชั้นใต้ดินของอาคารแห่งหนึ่งในเดือนก.พ.
1993 ในช่วงสงครามกลางเมืองบอสเนีย ซึ่งเป็นสงครามที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนเม.ย.
1992 และมีคนถูกฆ่าตายในสงครามกลางเมืองครั้งนี้ราว 100,000 คน
ในเดือนก.พ.
1993 นั้น กรุงซาราเจโว ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบอสเนีย เฮอร์เซโกวินา ถูกกองกำลังชาวเซิร์บปิดล้อมไว้
มีการทิ้งระเบิดใส่เมืองนี้มานาน 10 เดือนแล้ว และก็มีนักแม่นปืนคอยลอบยิงประชาชนในเมืองที่เดินไปเดินมาตามท้องถนน
ประชาชนต้องอาศัยน้ำฝนในการทำอาหาร
และต้องใช้จักรยานในการปั่นไฟฟ้าเพื่อใช้งานในบ้านเรือนของตนเอง
อย่างไรก็ดี
ท่ามกลางสงครามกลางเมืองที่รุนแรงสุดขีดในตอนนั้น โรงหนังอะพอลโล
ซึ่งตั้งอยู่ในชั้นใต้ดินของสถาบันศิลปะการแสดงซาราเจโว ก็เริ่มเปิดทำการอีกครั้งและเริ่มฉายหนัง
โดยคิดค่าตั๋วเป็นบุหรี่หนึ่งมวน งานฉายหนังที่ชั้นใต้ดินนี้มีผู้ชมอย่างแน่นขนัด
ถึงแม้ว่าผู้ชมต้องฝ่าดงกระสุนและนักซุ่มยิงขณะเดินทางมายังโรงภาพยนตร์ที่นี่ก็ตาม
โดยโรงภาพยนตร์แห่งนี้ใช้เครื่องปั่นไฟในการทำงาน เพราะเมืองนี้ไม่มีไฟฟ้าใช้
และหนังที่ฉายก็มาจากม้วนวิดีโอเทปที่ได้รับบริจาคมาจากคนต่าง ๆ
เอลมา
ทาทาราจิค ซึ่งมีอายุ 16 ปีในตอนนั้นเล่าว่า “ฉันยังเป็นเด็ก
และก็ต้องการจะใช้ชีวิตอย่างปกติ ต้องการจะหาเรื่องสนุก ๆ ทำ และพอฉันได้ยินเรื่องของ
Apollo War
Cinema ฉันก็รู้ว่าฉันต้องไปที่นี่ให้ได้ พ่อแม่ของฉันอ้อนวอนไม่ให้ฉันไป
พ่อของฉันถึงกับคุกเข่าก้มลงอ้อนวอนฉัน แต่ฉันก็ไม่ฟัง
ฉันขี่จักรยานไปที่โรงหนังอะพอลโล ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
ฉันต้องขี่จักรยานผ่านดงของนักซุ่มยิง แต่ฉันก็หาได้แคร์ไม่ ฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก
ฉันเลือกใส่เสื้อผ้าชุดที่ดีที่สุด
และฉันยังคงจำได้ดีว่าฉันใส่รองเท้าผ้าใบสีขาวคู่ใหม่ด้วย”
“หนังเรื่องแรกที่ฉันได้ดูคือ Bodyguard ที่นำแสดงโดยวิทนีย์ ฮุสตัน แล้วหลังจากนั้นก็เป็นสัปดาห์ภาพยนตร์ของ French New Wave
ฉันไม่แคร์ว่าจะฉายเรื่องอะไร ฉันแค่ต้องการจะดูหนัง มันคือช่วงเวลาสองชั่วโมงที่ได้หลบลี้หนีหายเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง
ได้หนีออกจากสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราในแต่ละวัน”
แฟนภาพยนตร์พากันหลั่งไหลมาดูหนังที่นี่
และพอเรื่องราวนี้แพร่ออกไป เทศกาลภาพยนตร์เอดินเบอระและเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โนก็ช่วยส่งหนังมาฉายที่นี่ด้วย
โรงหนังใต้ดินแห่งนี้เปิดทำการตั้งแต่เดือนก.พ. 1993 จนถึงเดือนธ.ค. 1995
และก็ได้กลายเป็นเทศกาลภาพยนตร์ซาราเจโวในปี 1995 ในขณะที่สงครามกลางเมืองบอสเนียสิ้นสุดลงในเดือนธ.ค.
1995
เอลมา
ทาทาราจิค ได้กลายเป็น head
of the festival’s
competition selection ในเวลาต่อมา
เราอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกรุนแรงกับมันมาก
ๆ กราบคนจัดฉายหนังใน MOVIE
CLUB ท่ามกลางสงครามกลางเมืองในปี 1993-1995 พอเราอ่านบทความนี้แล้วก็นึกถึงประโยคสำคัญในหนังเรื่อง
FIELD OF DREAMS (1989, Phil Alden Robinson) ประโยคที่ว่า “IF
YOU BUILD IT, HE WILL COME.”
ตัวบทความเต็ม
ๆ อ่านได้ที่นี่นะ
No comments:
Post a Comment