ลูกหมีบอกแม่หมีว่า “All I want for
Christmas is CHA CHA HEELS!” แม่หมีรู้สึกกลัวมากค่ะ 55555
+++
ชอบ CRAZY LOTUS (2024, Naween Noppakun,
A+30) อย่างรุนแรงสุดขีดคลั่งมาก ๆ หนังมีคุณสมบัติเข้าทางเรามาก ๆ
นั่นก็คือความ limitless cinema, ความ “ไม่ทราบชีวิต”, ความ hyperbolic
paraboloid 555555
พอได้ฟังช่วง Q&A ของคุณ
Naween ที่พูดถึง concept เกี่ยวกับดนตรีและ
dissonance เราก็เลยจินตนาการว่า
ถ้าหากเราจะฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็คงจะฉายควบกับ EDEN
AND AFTER (1970, Alain Robbe-Grillet, France, A+30) ซึ่งถือเป็น one
of my most favorite films of all time เพราะถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด EDEN
AND AFTER ก็เป็นหนังที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีดนตรีเหมือนกัน
เหมือนจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีดนตรีของ Arnold Schoenberg ซึ่งเป็นเจ้าของ concept ชื่อ EMANCIPATION
OF THE DISSONANCE แต่เราก็ไม่แน่ใจในเรื่องนี้นะ
คือเราคิดว่า EDEN AND AFTER ก็มีความเป็น limitless cinema, ความไม่ทราบชีวิต,
ความ hyperbolic paraboloid เหมือนกัน และเราก็ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดคลั่งมาก
ๆ ตอนที่ได้ดู แต่ถ้าหากเทียบกับ CRAZY LOTUS แล้ว EDEN
AND AFTER ก็ “ดูง่าย” กว่าเยอะเลยนะ เพราะ EDEN AND AFTER มันมี “เนื้อเรื่อง” ให้พอติดตามได้บ้าง เพียงแต่ว่า “การตัดต่อ”
ของมันพิสดารพิลึกพิลั่นมาก ๆ มีการใส่ฉากเฮี้ยน ๆ หรือการตัดต่อเฮื้ยน ๆ
เข้ามาอย่างรุนแรงตลอดเวลา แต่มีเส้นเรื่องให้เราตามติดได้
หลังจากที่เราได้ดู EDEN AND AFTER ไปแล้วราว 3 รอบ คุณสนธยา ทรัพย์เย็น ก็เคยให้บทความภาษาอังกฤษเรามาอ่าน
แต่เราจำรายละเอียดในบทความนั้นไม่ได้แล้ว จำได้คร่าว ๆ แค่ว่า
ผู้เขียนบทความเขาวิเคราะห์ว่า การตัดต่อฉากเฮื้ยน ๆ อะไรต่าง ๆ ใน EDEN
AND AFTER มันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสะเปะสะปะหรือตามอำเภอใจ แต่มันมี “โครงสร้าง”
บางอย่างที่ได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฎีดนตรีกำกับควบคุมอยู่ เราเคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ใน
blog ของเราดังนี้
https://celinejulie.blogspot.com/2007/05/royal-s-brown-interviews-alain-robbe.html
The first article is SERIALISM IN ROBBE-GRILLET'S EDEN AND
AFTER: THE NARRATIVE AND ITS DOUBLES. In this article, Royal S. Brown analyzes
EDEN AND AFTER (1970, Alain Robbe-Grillet) thoroughly and makes a fascinating
table to show that EDEN AND AFTER has 12 motifs, and these 12 motifs occur
repeatedly as series for at least six times in the film. The twelve motifs are
IMAGINATION, PRISON, MALE SEXUAL ORGAN, SPERM, BLOOD, DOORS, LABYRINTH, DOUBLE,
WATER, DEATH, DANCE, and PAINTING. For example, the motif MALE SEXUAL ORGAN
occurs first in the title sequence as a text "sexual violence", the
second time it was represented as a gang rape scene, the third time it was
shown as the key in a bizarre game which leads the heroine towards a revolver,
the fourth time it was shown as chains & whips which tied Marie-Eve, the
fifth time it was shown as tableu of tortures in which women are chained to
wheels or to spiked grilles, and the sixth time it was shown as the torture of
the heroine by using scorpions.
......
“Alain Robbe-Grillet has noted that the basic idea for
l’Eden was to use as a narrative generator a form as hostile as possible to the
very idea of a narrative. Now, the form that is the most hostile to the
continuity, to the causality of the narrative is obviously the series. What
characterizes the succession of events in a chronological narrative is the
causal linking of events to each other through a kind of hierarchy. On the
other hand, as in music, where the Schoenbergian series represents the suppression
of the very idea of tonality, so that there is no longer any dominant, no
longer any tonic, serialism in a narrative would be a completely equal
treatment of a certain number of themes.”
เพราะฉะนั้นพอเราได้ฟังว่า CRAZY LOTUS มันอาจจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีดนตรี เราก็เลยจินตนาการว่า เราอยากฉายหนังเรื่องนี้ควบกับ
EDEN AND AFTER มาก ๆ เพราะ EDEN AND AFTER ได้รับแรงบันดาลใจมาจากทฤษฎีดนตรีเช่นกัน ซึ่งก็น่าจะเป็นทฤษฎีดนตรีของ Arnold
Schoenberg ซึ่งเป็นเจ้าของ concept ชื่อ EMANCIPATION
OF THE DISSONANCE
No comments:
Post a Comment