DISORDER (1986, Olivier Assayas, France, A+30)
1. เห็นมันอยู่ใน MUBI LEAVING SOON ก็เลยรีบดู ถือเป็นหนังเรื่องที่ 7 ของ Assayas ที่เราได้ดู
ดูแล้วก็ชอบมาก ๆ
2.ตกใจกับความหล่อของดาราหนุ่มในหนังเรื่องนี้มาก
ๆ ทั้ง Wadeck Stanczak, Simon de la Brosse กับ Philippe
Demarle แต่เราไม่คุ้นชื่อของทั้งสามคนนี้เลย
พอไปค้นประวัติ เราก็ตกใจสุดขีดที่พบว่า Simon
de la Brosse (1965-1998) ฆ่าตัวตายขณะอายุ 33 ปี เพราะว่าเขาเคยถูกทำร้ายทางเพศตอนไปแคมป์ในวัยเด็ก
และก็มีผู้ชายอีกสองคนที่ฆ่าตัวตายเพราะสาเหตุเดียวกัน แคมป์เดียวกัน รุนแรงมาก ๆ
Simon de la Brosse เคยแสดงใน PAULINE AT
THE BEACH (1983, Eric Rohmer, A+30), WAITER! (1983, Claude Sautet, A+30),
FAMILY LIFE (1985, Jacques Doillon), LACE II (1985, William Hale, 188min,
A+30), AN IMPUDENT GIRL (1985, Claude Miller), THE INNOCENTS (1987, André
Téchiné), THE LITTLE THIEF (1988, Claude Miller), TO THE BITTER END (1991,
Joaquim Leitão, Portugal), etc. เขาถือเป็นดาราหนุ่มที่หล่อมาก
และก็เคยได้แสดงหนังดี ๆ หลาย ๆ เรื่อง ถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากที่ trauma
ที่เขาเคยได้รับในวัยเด็กจะยังคงตามทำร้ายเขาและส่งผลให้เขาฆ่าตัวตายในที่สุด
เสียดายที่เราอ่านภาษาฝรั่งเศสไม่ออก
เหมือนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีของเขาสามารถอ่านได้ใน blog นี้
http://lesenfantsdefontdurle.blogspot.com/2009/11/biographie-simon-de-la-brosse.html
3. ชอบดนตรีในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ด้วย
ฟังแล้วนึกถึงวงดนตรีในทศวรรษ 1980 จริง ๆ นึกถึงวงอย่าง Depeche Mode,
Deacon Blue, The Cure, Ian McCulloch, etc.
รูปของ Wadeck Stanczak
+++++++++
คำถาม FUN FACT:
จงบอกความเชื่อมโยงกันระหว่างตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง ALL WE IMAGINE AS
LIGHT (2024, Payal Kapadia, India, A+30) กับตัวละครใน “เพลิงพระนาง”
(1996, อดุลย์ บุญบุตร Adul Boonboot, A+30)
คำตอบ
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
ตัวละครนำตัวหนึ่งใน ALL WE IMAGINE AS
LIGHT ต้องย้ายออกจากนครมุมไบ และมาปักหลักตั้งรกรากที่เมือง “รัตนคีรี”
ในอินเดียในช่วงท้ายของหนัง ส่วนตัวละครนำบางตัวใน “เพลิงพระนาง” ซึ่งได้แก่เจ้าม่านฟ้า,
เจ้านางปิ่นมณี และเจ้านางเรณุมาศนั้น น่าจะดัดแปลงมาจากบุคคลจริงในประวัติศาสตร์
ซึ่งได้แก่ พระเจ้าสีป่อ, พระนางศุภยาลัต และเจ้าหญิงศุภยากเล และทั้งสามคนนี้ก็ถูกอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม
บังคับให้อพยพออกจากพม่า และบังคับให้มาอาศัยอยู่ที่เมืองรัตนคีรีของอินเดียในปี
1886 และต้องอาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลานานกว่า 30
ปีจนกระทั่งพระเจ้าสีป่อสิ้นพระชนม์
ก็เลยเป็นเรื่องบังเอิญที่ตลกดี
ที่ตัวละครนำบางตัวใน ALL WE IMAGINE AS LIGHT และตัวตนจริงของตัวละครใน
“เพลิงพระนาง” ต่างก็จำเป็นต้องย้ายมาอาศัยอยู่ที่เมืองรัตนคีรีของอินเดียเหมือนกัน
++++++++
TRIPLE BILL FILM WISH LIST
1.RIVULET OF UNIVERSE (2024, Possathorn
Watcharapanit, 89min, A+30)
2. TAKLEE GENESIS (2024, Chookiat
Sakveerakul, 146min, A+30)
3. HERE (2024, Robert Zemeckis, A+30)
1.รู้สึกว่าหนัง 3 เรื่องนี้เหมาะนำมาปะทะกันมาก
ๆ โดยอาจจะฉายควบกันหรือเขียนวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน เพราะหนังทั้ง 3
เรื่องนำเสนอ “อดีตหลายยุคหลายสมัยในพื้นที่เดียว” ในหนังทั้ง 3 เรื่อง โดย RIVULET
OF UNIVERSE นั้นนำเสนอจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอุบลราชธานี
และพาดพิงถึงช่วงเวลาหลายยุคหลายสมัย, เหตุการณ์ต่าง ๆ หรือเรื่องเล่าต่าง ๆ
ที่เคยเกิดขึ้นบนพื้นที่ “อีสานตอนล่าง” นี้
ส่วน TAKLEE GENESIS นั้น
ก็นำเสนออดีตหลายยุคหลายสมัย, ปัจจุบัน และอนาคตของจังหวัดอุดรธานี หรืออีสานตอนบนเป็นหลัก
ทางด้าน HERE ก็นำเสนออดีตหลายยุคหลายสมัย
ของพื้นที่เล็ก ๆ พื้นที่เดียวในรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐ
2. เราชอบหนังทั้ง 3 เรื่องนี้อย่างสุด ๆ
และชอบมาก ๆ ที่หนังทั้ง 3 เรื่องนี้อาจจะมีจุดที่ตรงกันข้างต้น แต่หนังทั้ง 3 เรื่องนี้ออกมาใน
genre ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดย RIVULET OF
UNIVERSE นั้นเป็นหนังอาร์ตที่ไม่ได้นำเสนอเหตุการณ์ในอดีตโดยตรง
แต่มีการพาดพิงถึงอดีตหลายยุคหลายสมัยผ่านทางภาพ, บทสนทนา, etc.
ส่วน TAKLEE GENESIS นั้นเป็นหนัง
SCI-FI ที่มีการนำเสนอเหตุการณ์ในอดีตและอนาคตโดยตรง
ผ่านทางการให้ตัวละครเดินทางข้ามเวลาได้
ทางด้าน HERE นั้นเป็นหนังดราม่า
ที่นำเสนอเหตุการณ์ในอดีตโดยตรง
3. ในส่วนของ RIVULET OF UNIVERSE นั้น หนังดูเหมือนจะมีการพาดพิงถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอีสานตอนล่างอย่างน้อย
7 ยุคสมัยด้วยกัน ซึ่งรวมถึง
3.1 ช่วงต้นของหนังมีการนำเสนอโครงกระดูกมนุษย์โบราณในนครราชสีมา
ซึ่งเราไม่แน่ใจว่ามันคือโครงกระดูกที่มาจากแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ซึ่งมีอายุ
4500 ปีหรือเปล่า
3.2 มีการนำเสนอภาพวาดในเพิงผนังผาของวัดเขาจันทน์งาม ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งน่าจะมีอายุราว
4000 ปี
3.3 ปราสาทหินพิมาย อายุราว 1000 ปี
3.4 มีการพาดพิงถึงท้าวสุรนารี
(ย่าโม) (ค.ศ.1771-1852)
3.5 มีการพาดพิงถึงยุคที่มีกองกำลังคอมมิวนิสต์ตามป่าในไทย
น่าจะราว ๆ ทศวรรษ 1960-1970
3.6 สามีของ “พิม”
หายตัวไปท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว ถ้าหากเราจำไม่ผิด
ซึ่งน่าจะตรงกับยุคของการสังหารหมู่ที่ราชประสงค์หรือเปล่า
3.7 ยุคปัจจุบัน
ที่คนรุ่นใหม่ไม่อยากอาศัยอยู่เมืองไทย อยากอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ต่างประเทศ
4. ส่วนใน TAKLEE GENESIS นั้น
ก็มีการนำเสนอยุคสมัยต่าง ๆ กัน อย่างน้อย 6 ยุค ซึ่งรวมถึง
4.1 ยุคของอารยธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
อายุกว่า 5000 ปี
4.2 ยุคของสงครามกลางเมืองลาว (1958-1975)
4.3 ยุค 6 ต.ค. 1976
4.4 ยุคพฤษภาทมิฬ 1992
หรือยุคที่พ่อนางเอกหายตัวไป
4.5 ยุคปัจจุบัน
4.6 ยุคอนาคต
5. ส่วนใน HERE นั้น
ก็มีการนำเสนอยุคสมัยที่แตกต่างกันอย่างน้อย 7 ยุค ซึ่งรวมถึง
5.1 ยุคไดโนเสาร์
5.2 ยุคชนพื้นเมืองอเมริกัน หรือยุคอินเดียนแดง
5.3 ยุค Benjamin Franklin (1706-1790)
5.4 ยุคเริ่มต้นของเครื่องบิน + ไข้หวัดใหญ่ระบาด
1918-1920
5.5 ยุคทศวรรษ 1940 ที่เจ้าของบ้านเป็นนักประดิษฐ์เก้าอี้
5.6 ยุคของตัวละครหลัก ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
5.7 ยุคโควิดระบาด ที่เจ้าของบ้านเป็นคนดำ
6. เราก็เลยชอบมากที่หนังทั้ง 3
เรื่องนี้ออกฉายในปีเดียวกัน และมีอะไรบางอย่างที่เหมาะจะนำมาเปรียบเทียบกันมาก ๆ
เนื่องจากเราเคยเขียนถึง TAKLEE GENESIS กับ HERE ไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยถือโอกาสนี้จดบันทีกความรู้สึกบางอย่างที่มีต่อ
RIVULET OF UNIVERSE ไปด้วยเลยแล้วกัน
7. เราไม่เคยรู้เรื่องของปาจิตตกุมารชาดกมาก่อน พอเราได้ดูหนังเรื่องนี้
เราก็เลยไปตามอ่านปาจิตตกุมารชาดก และเราก็ชอบมันอย่างสุดขีดมาก ๆ เพราะมันมีทั้ง
7.1 ความ homoerotic โดยไม่ได้ตั้งใจ
เพราะมันมีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่พูดถึง “พระหนุ่มรูปหล่อสององค์ใกล้ชิดกัน”
โดยที่ฝ่ายหนึ่งไม่รู้ว่าอีกฝ่ายเป็นภรรยาของตนปลอมตัวมา
โดยเนื้อหาในตอนนั้นมีอยู่ว่า
“ในกาลนั้น
บรรพชิตทั้งสอง คือ พระโพธิสัตว์และพระสังฆราชาก็มีรูปวรรณสัณฐานอันงามยิ่งนัก
เปรียบปานดุจรูปทองคำธรรมชาติ ที่นายช่างหล่อผู้ฉลาดหล่อแล้วและตั้งไว้
จำเดิมแต่นั้น
บรรพชิตทั้งสองก็มีความรื่นเริงบันเทิงใจอยู่ด้วยกัน
แต่พระโพธิสัตว์ภิกษุนั้นพิจารณาดูพระสังฆราชาเห็นรูปทรงสัณฐานคล้ายกับนางอรพิมพ์ภรรยาของตนก็มีความสงสัย
แต่มิรู้ที่ว่าจะคิดประการใด
เพราะเหตุว่าเมื่อพิจารณาดูไปก็เห็นเป็นชายประจักษ์ชัด”
7.2 มีการแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย
และมีการแปลงเพศจากชายเป็นหญิง
7.3 ตัวนางอรพิมพ์ในชาดก แรงมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ
ๆๆ ๆ ๆๆๆ และต่อมานางก็ได้กลับชาติมาเกิดเป็นพระนางยโสธราพิมพา
7.4 ชอบ “พระเจ้าพรหมทัต” ในชาดกตอนนี้มาก ๆ
เพราะพระราชโอรสของพระองค์ถูกปลงพระชนม์ แต่พระองค์กลับไม่เอาเรื่อง โดยเนื้อหาในส่วนนี้มีอยู่ว่า
“จึงมีพระราชดำรัสถามว่า
พระราชโอรสของเราถูกปลงพระชนม์ชีพด้วยเหตุไร
อำมาตย์ที่รู้เหตุผลจึงทูลว่าข้าแต่สมมติเทวราช
พระราชโอรสของพระองค์พาสตรีคนหนึ่งมาไว้ ชะรอยสตรีผู้นั้นจะปลงพระชนม์ให้ตักษัย
พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงฟังประพฤติเหตุดังนั้น ก็ทรงนิ่งอยู่มิได้ตรัสประการใด
ด้วยทรงทราบในพระทัยว่า พระราชโอรสของพระองค์มิได้ดำรงอยู่ในสุจริตธรรม
ประพฤติแต่ในทางที่ไม่ควรประพฤติ จึงต้องสิ้นชีพตักษัยเป็นธรรมดา”
เราก็เลยประทับใจเรื่องราวของ “ปาจิตตกุมารชาดก”
อย่างรุนแรงสุดขีดมาก
8. ชอบการนำเสนอ “ตัวละคร love triangle” ใน 3 ยุคสมัย ทั้ง
8.1 ตัวละครนางอรพิมพ์, เจ้าชายปาจิต, ท้าวพรหมทัต
ในตำนานเมืองพิมาย
8.2 จิต ที่เป็นคนเขมร, พิม ที่เป็นสาวผัวหาย และเคยย้ายจากอุบลมาอยู่โคราช
(ถ้าเราจำไม่ผิด) และทัด ที่เป็นหนุ่มโคราช
8.3 จี๊ด, พิม และทัด.
ที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งจี๊ดกับพิมนั้นเป็นเลสเบียนที่รักกัน
ส่วนทัดนั้นเราไม่แน่ใจว่าแอบชอบพิมอยู่หรือเปล่า
9. เรารู้สึกว่าเมืองพิมายนั้นเป็น location
ที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะว่า
9.1 มีทั้งความเป็น “อาณาจักรขอม” และ “ส่วนหนึ่งของประเทศไทย”
อยู่ในพื้นที่เดียวกัน
9.2 เคยเป็นสมรภูมิระหว่างลาวกับไทย (หรือเปล่า)
9.3 จังหวัดนครราชสีมา เหมือนตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง
กรุงเทพ กับอุบลราชธานี จังหวัดนี้ก็เลยเหมือนตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง “อำนาจส่วนกลางของไทย”
กับ “สุดขอบภาคอีสาน”
10. ชอบการนำเสนอความขัดแย้งระหว่างกรุงเทพ/อำนาจส่วนกลาง
กับชนบท ผ่านทางอะไรต่าง ๆ อย่างเช่น
10.1 วิธีการปรุงอาหารที่ไม่เหมือนกัน
พื้นที่หนึ่งนิยมใส่กะทิในแกง แต่อีกพื้นที่หนึ่งไม่ใส่
10.2 การที่ตัวละครอาจจะจำเป็นต้องไปศึกษาต่อในกรุงเทพ
10.3 ตัวละครพ่อ, แม่
และสามีของพิม (วัยผู้ใหญ่) ก็ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบทางการเมืองจากความขัดแย้งกับรัฐบาลไทยเหมือนกัน
11. ชอบที่มีคนพายเรือเข้ามาในเฟรมภาพในบางฉากของหนัง
55555
12. ฉากที่ชอบที่สุดในหนัง คือฉากที่ตัวละครจิต,
พิม, ทัดวัยผู้ใหญ่ ขี่มอเตอร์ไซค์มาด้วยกัน แล้วพอขี่เข้ามาในถนนหนึ่ง
เราก็เห็นตัวละครจี๊ด, พิม กับทัด ในวัยรุ่น ขี่มอเตอร์ไซค์ออกจากอีกถนนหนึ่ง
เข้ามาในถนนเส้นเดียวกันกับตัวละครวัยผู้ใหญ่
รู้สึกว่าฉากนี้มันงดงามและทรงพลังมาก ๆ โดยไม่มีสาเหตุ
และทำให้เรารู้สึกราวกับว่า “ถนน” เหล่านี้ มันเหมือนกับเป็นคลองเล็ก ๆ
ที่บางทีก็ไหลเข้ามารวมกันในแม่น้ำหรือคลองใหญ่ หรือรู้สึกราวกับว่า ถนนในยุคปัจจุบัน
มันก็อาจจะทำหน้าที่คล้ายกับเป็นคลองสำหรับใช้สัญจรทางเรือในอดีต
13. RIVULET OF UNIVERSE เป็นหนังเรื่องที่
4 ของคุณ Possathorn ที่เราได้ดู ส่วนอีก 3
เรื่องที่เหลือก็คือ
13.1 SENSORY MEMORY (2020, Possathorn Watcharapanit, 165min,
A+30)
เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10225180543124027&set=a.10224961569689828
13.2 SEAR NELUMBO โชติช่วงร่วงโรยรา
(2020, Possathorn Watcharapanit, 13min, A+30)
เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10225459501457811&set=a.10224961569689828
13.3 SELFIE OF MY RUN TO MY RETURN FROM
RUNAWAY (2021, Possathorn Watcharapanit, 6.30min, A+30)
ก็เลยสรุปว่าชอบหนังทั้ง 4 เรื่องของคุณ Possathorn
อย่างรุนแรงมาก ๆ และคิดว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้กำกับหนังไทยที่มาแรงที่สุดคนหนึ่งในทศวรรษ
2020 นี้สำหรับเรา
No comments:
Post a Comment