เราดู STRIKING RESCUE (2024, Cheng
Siyu, China, A+25) แล้วหลับไปช่วงกลางเรื่อง
เราก็เลยจะถามคนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วว่า
SERIOUS SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
นางตัวร้ายในรูปนี้มันตายยังไงน่ะ
คือเราดูถึงฉากที่พระเอกกับเด็กไปพักในโรงแรม แล้วก็มีกลุ่มผู้ร้ายจะมาฆ่าพระเอก
ซึ่งรวมถึงนางตัวร้ายตัวนี้ด้วย แล้วเราก็หลับไป พอเราตื่นขึ้นมาอีกที ก็เป็นฉากที่พระเอกฟื้นขึ้นมาใน
safe house ของอู๋เจิ้ง (Eason Hung)
+++
“บุษบา ภาคสอง” หรือ PUSHPA: THE RULE –
PART 2 (2024, Sukumar, India, 201min, A+30)
1. เราสงสัยว่า เวอร์ชั่นที่เข้าฉายในไทยเป็นภาษา
Telugu หรือเปล่า เพราะเราฟังเองก็แยกไม่ออกว่าอันไหนภาษาฮินดี
อันไหนภาษาเตลูกู แต่เราแอบเดาว่าเวอร์ชันในไทยอาจจะพูดเตลูกู เพราะซับไตเติลภาษาอังกฤษมันจะขึ้นวงเล็บมาเป็นครั้งคราวว่า
ประโยคต่อไปนี้ตัวละครพูดเป็นภาษา Hindi และประโยคต่อไปนี้ตัวละครพูดเป็นภาษา
Tamil แต่มันขึ้นวงเล็บแบบนี้มาเพียงแค่ราว 3% ของหนังเท่านั้น เราก็เลยเดาว่า บทสนทนาส่วนใหญ่ในหนังก็อาจจะไม่ใช่ทั้งสองภาษานี้มั้ง
แต่เราก็ไม่แน่ใจ
2. ตัวละครพูดย้ำหลายครั้งว่า ชื่อ Pushpa
ของพระเอก ไม่ได้หมายถึง “ดอกไม้” แต่หมายถึง “ไฟ” เราก็เลยเดาว่า
จริง ๆ แล้ว ชื่อ Pushpa ของพระเอก มันก็คือคำเดียวกับ “บุษบา”
หรือเปล่า เพียงแต่ว่าคำว่าบุษบาในอินเดียอาจจะหมายถึงได้ทั้งดอกไม้และไฟ
3. นางเอกเรียกพระเอกว่า “สามี” บ่อยครั้งมาก ๆ
โดยที่ซับไตเติลภาษาอังกฤษจะขึ้นว่า dear และ
subtitle ภาษาไทยจะขึ้นว่า “ที่รัก” เราก็เลยสงสัยว่า คำว่า “สามี”
ในภาษาไทยกับในบางภาษาของอินเดีย อาจจะมีความหมายใกล้เคียงกัน 555555
4. เหมือนหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกเลยมั้งที่เราได้ดู
ที่บนจอมันมีคำว่า C.G.I. ขึ้นมาชัด ๆ เลย
เหมือนบอกเลยว่าฉากที่เรากำลังดูอยู่นี้ใช้ CGI นะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฉากเกี่ยวกับ
“สัตว์” เราก็เลยเดาว่า ผู้สร้างหนังคงขี้เกียจตอบว่า ฉากไหนมีการทรมานสัตว์หรือเปล่า
ผู้สร้างหนังเลยขึ้น text CGI ขึ้นมาตัวเป้ง ๆ บนจอเลย 55555
5. นางเอก “หื่นกาม” มาก ๆ 555555 เราชอบจุดนี้มาก
ๆ
6. เอาจริง ๆ แล้ว เราประทับใจฉากร้องเพลงเต้นรำในหนังเรื่องนี้มากกว่าฉากร้องเพลงใน
WICKED (2024, Jon M. Chu, A+30) เสียอีก
มากกว่าฉาก DEFYING GRAVITY ด้วย เพราะเราว่าฉากร้องเพลงเต้นรำใน
“บุษบา ภาคสอง” มันทรงพลังและมันมีความ exotic ดีสำหรับเราน่ะ
ส่วนฉากร้องเพลงเต้นรำใน WICKED มันดีงามมาก ๆ ก็จริง
แต่มันก็เหมือนไม่ได้แตกต่างไปจาก “หนัง musical broadway” เรื่องอื่นๆ
หรือหนังดิสนีย์ที่เราเคยดูมาแล้วมากนัก ในขณะที่ฉากร้องเพลงเต้นรำใน “บุษบา
ภาคสอง” นี่มันตื่นตาตื่นใจสำหรับเรามาก ๆ ในแง่ความ exotic
คือสรุปว่าเราว่าฉากร้องเพลงเต้นรำใน
WICKED มัน “ดีกว่า” แต่เรารู้สึก “ตื่นตาตื่นใจ” กับฉากร้องเพลงเต้นรำใน
“บุษบาภาคสอง” มากกว่า
7. ฉาก “เจ้าแม่กาลี” ช่วงท้ายเรื่องนี่ ถือเป็น
“ฉากบู๊แอคชั่นคลาสสิค” สำหรับเราฉากนึงเลย
8. ดูแล้วชอบน้อยกว่า RRR (2022, S.S.
Rajamouli, 187min) นะ แต่ชอบมากกว่า K.G.F: CHAPTER 2
(2022, Prashanth Neel, 156min) นะ เพราะเราว่า K.G.F มันเหมือนเป็น “music video” ขนาดยาวที่ให้พระเอกทำเดินเท่ไปเท่มาตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องน่ะ
ในขณะที่ “เนื้อเรื่อง” มันไม่มีความน่าสนใจเลยสำหรับเรา แต่ในกรณีของ “บุษบา ภาคสอง”
นั้น เราว่า “เนื้อเรื่อง” มันยังมีอะไรให้เรารู้สึกติดตามได้ตลอด และมันมีความ exotic
ทางวัฒนธรรมและสภาพบ้านเมืองที่เราชอบมาก ๆ ด้วย
9. เหมือนเราแทบไม่เคยดูหนังอินเดียใต้มาก่อน
ทั้งหนัง Telugu, หนัง Tamil เราก็เลย culture
shock มาก ๆ กับการที่หนังนำเสนอตัวละคร “เจ้าพ่อค้าไม้เถื่อน”
ในฐานะ “พระเอก” แบบนี้ เราก็เลยสงสัยว่า culture ของหนังอินเดีย,
ของหนัง Telugu, ของการเมืองอินเดีย, ของกฎหมายอินเดีย,
ของปัญหาสิ่งแวดล้อมในอินเดีย, etc. มันเป็นอย่างไร
ถึงสามารถหล่อหลอมให้เกิดหนังที่มีพระเอกเป็น “เจ้าพ่อค้าไม้เถื่อน” ขึ้นมาได้ หรือการค้าไม้เถื่อนของพระเอก
มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า หรือป่าอินเดียมันอุดมสมบูรณ์เกินไป
หรืออะไรยังไง มีใครพอมีความรู้บ้างไหมคะ เราก็ไม่ได้ดู PUSHPA ภาคแรกด้วย
คือพอนึกถึงหนังไทย ทั้ง “หนังซ้าย” (อย่าง “ครูบ้านนอก”
นี่ถือเป็นหนังซ้ายได้ไหม) และ “หนังขวาจัด” ประเภทหนังบู๊ไทยระเบิดภูเขาเผากระท่อมในทศวรรษ
1970-1980 ตัวละคร “คนค้าไม้เถื่อน” นี่ถือเป็นผู้ร้ายประเภทให้อภัยไม่ได้นะ
คือขนาดหนังขวาจัดของไทย พระเอกก็ยังเป็น “ตำรวจปลอมตัวมา” หรืออะไรทำนองนี้
และผู้ร้ายก็เป็น “เจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น” และ “ผู้ค้าไม้เถื่อน” น่ะ
แล้วอะไรคือการที่หนังเรื่อง “บุษบา” หรือ PUSHPA
ถึงมีพระเอกเป็นทั้งเจ้าพ่อผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น + ผู้ค้าไม้เถื่อน
คือมัน beyond กว่าหนังขวาจัดของไทยอย่างรุนแรงมาก ๆ ๆๆๆๆๆ
คือดูแล้วนึกถึงที่เราเคยได้ยินว่า ชาวบ้านหลายคนมองว่า
Pablo Escobar ถือเป็น “ผู้มีพระคุณ” ของพวกเขาอะไรทำนองนี้ ซึ่ง
Pablo Escobar เราก็พอได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับเขามาบ้างแล้ว เราก็เลยอยากรู้ว่า
สังคมวัฒนธรรมประวัติศาสตร์การเมืองของหนังอินเดียและหนัง Telugu มันเป็นอย่างไร ตัวละครพระเอกมันถึงได้ beyond กว่าหนังขวาจัดของไทยไปถึงขั้นนี้
55555
10. ชอบปฏิกิริยาของคนดูชาวอินเดียทั้งโรงมาก
ๆ ที่พอตอนจบมันขึ้นคำว่า PUSHPA: THE RAMPAGE – PART 3 ขึ้นมา
แล้วคนทั้งโรงกรีดร้องด้วยความเสียใจเพราะอยากดูภาค 3 ต่อในทันที 55555
No comments:
Post a Comment