Sunday, April 16, 2006

BE WITH ME from critcine.com

หนังสิงคโปร์เรื่อง BE WITH ME (A+) ได้ลงโรงฉายที่ HOUSE RCA แล้ว ดูรอบการฉายได้ที่ http://www.houserama.com/

ขอถือโอกาสนี้นำบทวิจารณ์ BE WITH ME (2005, ERIC KHOO) ของ GAIK CHENG KHOO ใน CRITICINE.COM มาแปลให้อ่านกันค่ะ


ข้อความข้างล่างนี้แปลและดัดแปลงมาจากบทวิจารณ์ภาษาอังกฤษใน
http://www.criticine.com/
http://www.criticine.com/review_article.php?id=10

***มี spoilers ค่ะ สมควรดูหนังก่อนมาอ่านบทความข้างล่างนี้***


BE WITH ME เป็นผลงานการกำกับของ ERIC KHOO นักสร้างหนังชาวสิงคโปร์ที่ไม่ได้ทำงานกำกับมานานหลายปี เพราะเขาหันไปทำงานอำนวยการสร้างภาพยนตร์แทนในระหว่างนั้น โดยผลงานการกำกับเรื่องล่าสุดก่อนหน้านี้ของเขาคือ 12 STOREYS (1997) และหลังจากเรื่องนั้น เขาก็หันมาอำนวยการสร้างภาพยนตร์อินดี้อย่างเช่นเรื่อง “15: THE MOVIE” (2002, ROYSTON TAN) และ ZOMBIE DOG (2004, TOH HAI LEONG) โดย BE WITH ME ได้เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ที่คานส์ในปี 2005 ในฐานะภาพยนตร์เปิดเทศกาลของสาย DIRECTORS’ FORTNIGHT และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับคำชมมากพอสมควร แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชิงรางวัลออสการ์ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ เพราะว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้บทสนทนาภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาจีนกลางและภาษาจีนฮกเกี้ยน

BE WITH ME ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตและอัตชีวประวัติของ Theresa Chan ซึ่งเป็นตัวละครตัวหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ประกอบด้วยเรื่องราวย่อยๆ 3 เรื่อง โดยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทเรซ่าคือหัวใจและจิตวิญญาณของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะเรื่องราวของเธอมอบความรู้สึกอบอุ่นและความรู้สึกอัศจรรย์ใจอย่างแท้จริงให้กับภาพยนตร์ของเอริค คูที่มักให้อารมณ์ที่เคร่งขรึม

จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือความเงียบ เพราะบทสนทนาส่วนใหญ่ในหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดผ่านทางซับไตเติล, sms, การพิมพ์ดีด, จดหมายรักที่เขียนด้วยมือในภาษาจีนกลาง, อีเมล, การแชทกันทางเน็ต และการสื่อสารกันด้วยมือสำหรับคนที่ตาบอดและหูหนวก นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังใช้ดนตรีประกอบน้อยมาก โดยมีการใช้เสียงเปียโนแบบโรแมนติกมาประกอบช่วงครึ่งแรกของเรื่อง ซึ่งเป็นช่วงที่เน้นเล่าเรื่องราวย่อย 2 เรื่องที่มีชื่อเรื่องว่า FINDING LOVE กับ SO IN LOVE แต่เสียงเปียโนนี้ลดลงไปในส่วนที่มีชื่อว่า MEANT TO BE ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคู่รักวัยชราคู่หนึ่ง

ในขณะที่หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องท่ามกลางความเงียบเป็นส่วนใหญ่ หนังเรื่องนี้ก็แสดงออกมากขึ้นในจุดที่เป็นการวิจารณ์สังคม ซึ่งได้แก่การวิจารณ์รัฐบาลสิงคโปร์ที่กำหนดโทษประหารชีวิตให้กับผู้ค้ายาเสพติด โดยการฉายรอบปฐมทัศน์ของหนังเรื่องนี้ที่คานส์ตรงกับช่วงที่สื่อมวลชนให้ความสนใจกับการลงโทษประหารชีวิตในสิงคโปร์พอดี โดยในตอนนั้นมีชาวสิงคโปร์ชื่อ Shanmugam Murugesu กับชาวออสเตรเลียชื่อ Nguyen Tuong Van ถูกแขวนคอในข้อหาค้ายาเสพติดในปี 2005 และหนังเรื่องนี้ก็พูดถึงประเด็นนี้ในช่วงต้นเรื่อง ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแนะนำตัวละครที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์ใน MEANT TO BE โดยในฉากนั้น เขากำลังเขียนรายงานเกี่ยวกับครอบครัวที่พยายามหาเงินมายังชีพหลังจากพ่อถูกแขวนคอในข้อหาค้ากัญชา

FINDING LOVE มีเนื้อหาเกี่ยวกับ FATTY ยามรักษาความปลอดภัยที่ขี้อายและมีรูปร่างอ้วน เขาหลงรักมิส แอนน์สาวออฟฟิศคนหนึ่งที่มีเสน่ห์และทำงานในตึกเดียวกับเขา เขาพยายามสะกดรอยตามเธอ แต่หนังแสดงให้เราเห็น 2 ครั้งว่า ถึงแม้เขามีรูปร่างอ้วน เขาก็เป็นคนใจดีมีเมตตา โดยชีวิตแบบคนชายขอบของสังคมของยามคนนี้ทำให้นึกถึงธีมที่มักพบในหนังของคู ซึ่งได้แก่ตัวละครชนชั้นแรงงานที่รู้สึกแปลกแยกจากสังคม นับตั้งแต่คนขายบะหมี่ใน MEE POK MAN ไปจนถึงหญิงสาวผู้ยากจนที่ตกเป็นเป้าการทารุณจากแม่ของเธอเองในอาคารการเคหะในหนังเรื่อง 12 STOREYS ทั้งนี้ อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือว่า LIM POH HUAT มารับบทเป็นพี่ชายของยามที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตคนนี้ด้วย โดย LIM นั้นมีอาชีพเป็นยามรักษาความปลอดภัยในชีวิตจริง และเขาทำงานเป็นนักแสดงด้วยในบางครั้ง (LIM เคยแสดงใน ZOMBIE DOG ที่อำนวยการสร้างโดยคู และเขายังเป็นตัวเอกในภาพยนตร์สารคดีสั้นที่ตั้งชื่อตามเขาในปี 2004 ซึ่งเป็นผลงานการกำกับของ LEE WONG)

ส่วน SO IN LOVE มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักวัยรุ่นของหญิงสาวสองคน โดยหนังนำเสนอเนื้อหาในส่วนนี้ผ่านทางช็อตสั้นๆหลายช็อตมาเรียงต่อๆกัน โดยใช้เพลงป็อปใสๆของญี่ปุ่นมาประกอบ โดยเริ่มต้นเรื่องด้วยการที่แซมกับแจ็คกี้ หญิงสาวสองคนนี้แชทกันทางเน็ต, ทั้งสองได้พบกัน และตกหลุมรักกันขณะไปเที่ยวคลับและไปช็อปปิ้ง แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองก็จบลงรวดเร็วพอๆกับการส่ง SMS เมื่อแซมหันไปหาคนอื่นแทน ทั้งนี้ โครงสร้างการเล่าเรื่องของ SO IN LOVE สะท้อนให้เห็นธรรมชาติความรักของวัยรุ่นที่ไม่มั่นคงและผ่านไปอย่างรวดเร็ว และถึงแม้ว่าสื่อมวลชนจะมุ่งความสนใจไปที่ภาพโปสเตอร์หญิงสาวสองคนจูบกัน ซึ่งเป็นภาพที่ถูกแบนในบางประเทศ หนังเรื่องนี้ก็แทบไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเซ็กส์เลย และแทบไม่ได้แสดงจุดยืนที่มีต่อประเด็นเรื่องเพศด้วย

ถึงแม้หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดเนื้อหาได้อย่างสมจริงโดยแทบไม่ใช้บทสนทนา เนื้อหาในสองส่วนนี้ก็ไม่น่าประทับใจเท่าใดนัก โดยส่วนที่น่าสนใจกลับเป็นเรื่องราวความหวัง, ความแข็งแกร่ง และการต่อสู้กับชีวิตของเทเรซ่า ชาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนกรอบให้กับเรื่องราวย่อยๆ 3 เรื่องในหนัง และเนื้อหาของชานก็เป็นจุดที่เอริค คูใช้ในการสร้างตัวละครที่สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกใส่ใจได้จริงๆ ทั้งนี้ สิ่งที่สร้างความประทับใจอย่างมากให้กับผู้เขียนก็คือ Chiew Sung Ching นักแสดงที่รับบทเป็นเจ้าของร้านขายของวัยชราที่สูญเสียภรรยาและมีอาการซึมเศร้าหดหู่ และหนังเรื่องนี้ก็ถ่ายภาพใบหน้าอันเศร้าสร้อยของ Chiew ได้อย่างงดงามท่ามกลางโทนสีเขียว-เหลืองที่ให้อารมณ์เศร้าๆ

ตัวละครของ Chiew วุ่นวายอยู่กับการจ่ายตลาด, เตรียมอาหาร และทำอาหารให้กับคนที่เขารัก โดยในช่วงต้นของหนัง เราจะเห็นเขาเลือกส่วนผสมที่ดีที่สุดในตลาดสดเพื่อนำมาใช้ทำซุปให้กับภรรยาของเขาที่ป่วยอยู่ในโรงพยาบาล และเขาก็จะป้อนอาหารให้เธอและนั่งอยู่ข้างเตียงนอนของเธอจนมืดก่อนจะกลับบ้าน ต่อมาลูกชายของเขาที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์ก็แวะมาเยี่ยมเขา และนำหนังสืออัตชีวประวัติของเทเรซ่าฉบับแปลติดมือมาด้วย และหลังจาก Chiew ได้อ่านหนังสือเล่มนั้น เขาก็รู้สึกอยากจะทำอาหารให้เทเรซ่าทาน

ไคลแมกซ์ของหนังเรื่องนี้รวมถึงฉากแฟลชแบ็คของ Chiew กลับไปยังช่วงเวลาที่ภรรยาของเขากำลังจะตาย และฉากที่เขาสะกดกลั้นอารมณ์เอาไว้ไม่อยู่และหลั่งน้ำตาออกมาที่โต๊ะกินข้าวของเทเรซ่าก่อนที่เทเรซาจะโอบกอดเขาเอาไว้ อย่างไรก็ดี ฉากนี้ไม่ได้พูดถึงความรักระหว่างเทเรซ่ากับผู้ชายที่ทำอาการให้เธอกิน 3 มื้อต่อสัปดาห์ แต่พูดถึงว่าคนเราสามารถทำสิ่งต่างๆได้มากเพียงใดเพื่อคนที่เรารัก ถึงแม้ว่าเราจะต้องสูญเสียคนรักไปก็ตาม โดยเทเรซ่าเองได้กล่าวไว้ว่า “ความรักไม่ได้ตายจากไปถึงแม้ว่าร่างกายอาจจะสูญสลายไปเพราะความเจ็บปวดจากสาเหตุต่างๆ”

การผสมผสานอัตชีวประวัติที่แท้จริงของเทเรซ่าเข้ากับเรื่องแต่งในภาพยนตร์ส่งผลให้เกิดเรื่องราวอันเรียบง่ายแบบคริสเตียนเกี่ยวกับความหวัง, ความรัก และการไถ่บาป เพราะในขณะที่เทเรซ่าบอกเราว่าเธอสูญเสียรักแท้ไปในคริสต์มาสปี 1968 เธอก็อาจจะได้คนรักใหม่ในช่วงคริสต์มาสยุคปัจจุบันเมื่อ Chiew มาปรากฏตัวที่หน้าประตูบ้านของเธอพร้อมกับอาหารเย็น ภาพยนตร์เรื่องนี้จบลงด้วยการที่เทเรซ่าพิมพ์คำว่า “จงอยู่กับฉันเถิด ที่รัก เพื่อที่รอยยิ้มของฉันจะได้ไม่เลือนหายไป” อย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็ลังเลที่จะเชื่อมโยงฉากของคนทั้งสองขณะสวมกอดกัน เข้ากับคำที่เทเรซ่าพิมพ์ เพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าทั้งสองรักกัน เพราะผู้เขียนคิดว่าถึงแม้วิญญาณของคนในอดีตอาจเดินออกไปจากตัวเนื้อเรื่องแล้ว (อย่างเช่น ภรรยาของ Chiew) แต่ความทรงจำและความรู้สึกที่มีต่อคนเหล่านั้นยังคงดำรงอยู่ และยังคงล่องลอยอยู่ในบรรยากาศ และกระเพื่อมไหวคล้ายกับจดหมายรักที่เขียนด้วยลายมือที่ปลิวระเรี่ยไปบนพื้นทางเดิน หรือเหมือนกับความรู้สึกผิดที่เกิดขึ้นเมื่อสายไปเสียแล้วเมื่อเราจดจำคนบางคนที่อยู่ในชายขอบของสังคมได้หลังจากได้เห็นเขาตกเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์

ในขณะที่บันทึกความทรงจำที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ในหนังเรื่องนี้ เป็นบันทึกอันเปี่ยมล้นด้วยพลังของหญิงผู้หนึ่งที่เอาชนะความพิการสองอย่างในตัวได้สำเร็จ (เราได้เห็นเธอทำอาหาร, กินอาหารอย่างเอร็ดอร่อย, ล้างจาน, ว่ายน้ำ และสอนหนังสือ) ความพยายามของหนังเรื่องนี้ในการรักษาเนื้อหาในชีวิตจริงเอาไว้โดยไม่ดัดแปลงกลับส่งผลให้บทภาพยนตร์อ่อนพลังลง ตัวอย่างเช่น บทกวีที่พิมพ์ไว้ในช่วงต้น, ในระหว่างกลาง และในช่วงท้ายเรื่องให้ความรู้สึกจืดชืดเมื่อปรากฏซ้ำกันหลายๆครั้ง (true love truly…, beloved love) และสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนด้อยทางภาษาอังกฤษของชาวสิงคโปร์รุ่นก่อนๆ นอกจากนี้ การผสมผสานเรื่องจริงกับเรื่องแต่งเข้าด้วยกันก็ให้ผลที่ก้ำกึ่ง เพราะมันทำให้เป็นการยากสำหรับผู้ชมที่จะวิจารณ์ข้อความนั้นอย่างโดดๆ เนื่องจากผู้ชมก็ตระหนักว่าเทเรซ่า ชานตัวจริงก็กำลังแสดงในหนังเรื่องนั้นด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดี นี่คือภาพยนตร์แห่งอารมณ์สัมผัสถึงแม้ไม่มีฉากเซ็กส์ (หนังเรื่องนี้มีเพียงฉากจูบกันไม่กี่ฉาก) และถึงแม้ว่าแทบไม่มีการใช้เสียงและบทสนทนาในหนังเรื่องนี้ และอารมณ์สัมผัสนี้ก็ได้รับการถ่ายทอดผ่านทางสัมผัสทางผิวหนังและทางกลิ่น ซึ่งเหมือนกับสิ่งที่เทเรซ่าต้องพึ่งพาในการดำรงชีวิต แทนที่จะพึ่งพาสัมผัสทางเสียงและทางภาพ ฉากที่แสดงให้เห็นถึงจุดนี้คือฉากที่นักสังคมสงเคราะห์สื่อสารกับเทเรซ่าผ่านทางการใช้นิ้วของเขาเขียนลงบนฝ่ามือของเธอ และฉากที่เทเรซ่าร้อยรัดนิ้วของเธอเข้ากับนิ้วของเด็กนักเรียนเพื่อสอนเขาเรื่องการสานกระดาษ

นอกจากการถ่ายภาพแบบโคลสอัพในฉากการสื่อสารกันด้วยมือแล้ว หนังเรื่องนี้ยังให้สัมผัสอันน่ารื่นรมย์สำหรับผู้ชมชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยผ่านทางการนำเสนออาหารและความสำคัญของอาหารในการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่นๆโดยไม่ต้องใช้คำพูดด้วย ทั้งนี้ Chiew ปรุงอาหารที่น่าดูหลายจานซึ่งได้รับการนำเสนอขณะที่กำลังต้มอยู่ในหม้อหรือวางอยู่บนโต๊ะ และฉากการจ่ายตลาดของเขาก็ให้ภาพที่น่าชมมาก อย่างไรก็ดี กลิ่นและรสของอาหารคือสิ่งที่สร้างความรื่นรมย์ให้กับตัวละครในหนังมากที่สุด อาหารจากพ่อค้าเร่ช่วยทดแทนความสุขทางอารมณ์และทางเพศที่ Fatty ต้องการจากมิส แอนน์แต่ไม่สามารถไขว่คว้าหามาได้ ซึ่งรวมถึงอาหารอย่างหอยทอด, สเต็กและมันฝรั่งทอด และอาหารที่เขาหาเพิ่มเติมได้จากในบ้าน อย่างเช่นขนมปังจิ้มหมูตุ๋นกระป๋อง ส่วนแซมเองนั้นก็นอกใจแจ็คกีเมื่อเธอเลือกที่จะไปกินไอติมกับชายหนุ่มคนหนึ่งแทน ทางด้าน Chiew เองนั้นก็รู้สึกมีความสุขที่สุดขณะที่เขาทำอาหารให้คนอื่น ส่วนเทเรซ่าซึ่งเคยมีพ่ออยู่ในธุรกิจร้านอาหารก็เชื่อมโยงกับชายชราคนนี้ผ่านทางอาหารที่เขาทำมาให้กิน หลังจากที่ในตอนแรกนั้นเทเรซ่าเคยสานสัมพันธ์กับนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งเป็นบุตรชายของ Chiew มาแล้วเมื่อทั้งสองเดินทางไปจับจ่ายซื้อของชำด้วยกัน

Be With Me ได้รับคำชมเป็นส่วนใหญ่นับตั้งแต่เปิดฉายที่คานส์ อย่างไรก็ดี ถึงแม้หนังเรื่องนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากสื่อมวลชนในสิงคโปร์ หนังเรื่องนี้ก็ทำรายได้ในสิงคโปร์ต่ำกว่าที่คาด หนังเรื่องนี้ได้รับการซื้อไปฉายในต่างประเทศแล้ว ส่วนดีวีดีของหนังเรื่องนี้จะได้รับการจัดจำหน่ายโดยบริษัท Film Movement ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในสหรัฐที่ “นำภาพยนตร์ต่างชาติและภาพยนตร์อินดี้ที่ได้รับรางวัลมาสู่แฟนๆทั่วประเทศโดยผ่านทาง DVD-of-the-Month Club, the Film Movement Series และผ่านทางช่องทางปกติ” ดังนั้นผู้ชมที่อยู่ในเมืองที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้เข้าฉายก็สามารถหาดูได้จากทางดีวีดีเช่นกัน

จบบทความของ Gaik Cheng Khoo

(ขอขอบคุณคุณ ALEXIS TIOSECO บรรณาธิการ CRITICINE เป็นอย่างมากสำหรับบทความนี้)

--ส่วนความเห็นบ้าๆบอๆของดิฉันที่มีต่อหนังเรื่องนี้ สามารถอ่านได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=27131

--อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BE WITH ME ได้ที่
http://www.houserama.com/shownews.php?no=000229
http://www.houserama.com/shownews.php?no=000226

--เว็บไซท์ของหนังเรื่องนี้
http://www.zhaowei.com/bewithme.html

--DVD หนังเรื่อง MEE POK MAN (1995) ของ ERIC KHOO
http://www.amazon.com/gp/product/B00008974M/qid=1145165812/sr=1-1/ref=sr_1_1/002-0172376-3992012?s=dvd&v=glance&n=130
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00008974M.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

--DVD หนังเรื่อง 15 (2003) ของ ROYSTAN TAN
http://www.amazon.com/gp/product/B000B5IOM0/ref=pd_sim_d_3/002-0172376-3992012?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B000B5IOM0.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


--ในขณะที่ THERESA CHAN แสดงเป็นตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยมมากๆใน BE WITH ME หนังที่นำเสนอการแสดงของหญิงชราเรื่องอื่นๆที่น่าดูมาก ก็มีเช่น

1.INNOCENCE (2000, PAUL COX, A+)
นำแสดงโดย JULIA BLAKE ในบทของหญิงชราที่ได้พบกับคนรักเก่าที่พลัดพรากจากกันเมื่อ 50 ปีก่อน
มีขายแล้วในรูปแบบดีวีดี
http://www.amazon.com/gp/product/B00006SFJT/qid=1145166274/sr=1-7/ref=sr_1_7/002-0172376-3992012?s=dvd&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B00006SFJT.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


2.A WOMAN’S TALE (1991, PAUL COX)
นำแสดงโดย SHEILA FLORANCE ในบทของหญิงชราที่ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี
http://www.amazon.com/gp/product/6302645905/ref=imdbap_t_4/002-0172376-3992012?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=404272


3.THE TRIP TO BOUNTIFUL (1986, PETER MASTERSON)
นำแสดงโดย GERALDINE PAGE ในบทที่ทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์สาขาดารานำหญิง
มีขายแล้วในรูปแบบดีวีดี
http://www.amazon.com/gp/product/B00079ZA2W/qid=1145166567/sr=1-1/ref=sr_1_1/002-0172376-3992012?s=dvd&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B00079ZA2W.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


4.I SENT A LETTER TO MY LOVE (1980, MOSHE MIZRAHI, A+)
นำแสดงโดย SIMONE SIGNORET ในบทของน้องสาววัย 50 กว่าปีที่หลงรักพี่ชายตัวเอง
http://www.imdb.com/title/tt0082182/

อันนี้เป็นภาพของ SIMONE SIGNORET จากหนังเรื่อง MADAME ROSA (1977, MOSHE MIZRAHI) ซึ่งในหนังเรื่องนี้เธอรับบทเป็นโสเภณีที่ปลดระวางแล้วและเป็นชาวยิวที่รอดชีวิตมาจากค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ในสงครามโลกครั้งที่สอง เธอทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกๆให้กับโสเภณีคนอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กที่ชื่อโมโม (SAMY BEN-YOUB) โดยมาดามโรซ่าบังคับให้โมโมสัญญาว่าเขาจะต้องไม่ยึดอาชีพขายตัวหรือแมงดาเป็นอันขาด
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/33/14/18473821.jpg

MADAME ROSA สร้างจากนิยายของ ROMAIN GARY ซึ่งเคยแต่งงานกับ JEAN SEBERG ระหว่างปี 1962-1970 และมีลูกด้วยกัน 2 คน เขาเกิดปี 1914 และยิงตัวเองตายในปี 1980
http://www.imdb.com/name/nm0308900/


5.THE GOLDEN GIRLS (1985-1992)
ละครทีวียอดฮิตที่มีขายแล้วในรูปแบบดีวีดี นำแสดงโดย BEA ARTHUR, BETTY WHITE, RUE MCCLANAHAN และ ESTELLE GETTY ในบทของหญิงชรา 4 คนที่เคยแต่งงานและหย่ากันมาแล้วหลายครั้งจนกระทั่งได้มาอาศัยอยู่ในที่เดียวกันในวัยชราในเมืองไมอามี่
http://www.amazon.com/gp/product/B0002W4SX6/qid=1145167800/sr=1-1/ref=sr_1_1/002-0172376-3992012?s=dvd&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B0002W4SX6.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B0007KTBJO.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B000AJJNJK.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B000C1VBAA.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B000EBGFQI.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

รู้สึกว่าคนแก่หลายคนในสหรัฐมักไปอาศัยอยู่ที่ฟลอริด้าในวัยชรา เพราะเคยมีตัวละครทำนองนี้ใน IN HER SHOES (2005, CURTIS HANSON, A+) และใน TORCH SONG TRILOGY (1988, PAUL BOGART, A+)


6.MARTHA JELLNECK (1988, KAI WESSEL)
http://www.imdb.com/title/tt0095594/

MARTHA JELLNECK (HAIDEMARIE HATHEYER) ซึ่งมีอายุ 72 ปี อาศัยอยู่ตามลำพังในอพาร์ทเมนท์ขนาดเล็กในเมืองฮัมบวร์ก เธอเดินไม่ค่อยได้ ดังนั้นเธอก็เลยไม่ได้ออกจากบ้านเลย หนทางเดียวที่เธอจะติดต่อกับโลกภายนอกได้ก็คือผ่านทางโธมัส (DOMINIQUE HORWITZ) ซึ่งเป็นนักสังคมสงเคราะห์ และผ่านทางเด็กชายข้างบ้านที่พาหมาของเธอไปเดินเล่น

วันหนึ่งโธมัสบอกเธอว่าฟรานซ์ เลาบ์ (ULRICH MATSCHOSS) หนึ่งในคนที่เขาดูแลกำลังจะครบรอบวันเกิด เธอก็เลยนึกสงสัยขึ้นมา เพราะเธอเคยมีน้องชายที่เกิดวันนั้นและมีชื่อว่า FRANZ LAUB เหมือนกัน แต่น้องชายคนนั้นเสียชีวิตไปแล้วในสงครามโลกครั้งที่สอง

อันนี้เป็นปกดีวีดีหนังเรื่อง FIRST KISS ของ KAI WESSEL ซึ่งเป็นหนังโรแมนติกคอมเมดี้ + coming of age โดยหนังเรื่องนี้เริ่มต้นเรื่องด้วยการที่ TRISTAN สูญเสียภรรยาที่แต่งงานกันมานาน 16 ปีไปในอุบัติเหตุทางรถยนต์ และเขาก็หวนระลึกไปถึงจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด เขาหวนนึกไปถึงตอนที่เขาเป็นเด็กหนุ่มขี้อายวัย 15 ปีที่ไม่รู้ว่าจะแสดงความรักอย่างไรดีกับหญิงสาวที่เขาชอบ และเขาจะต้องรีบแสดงออกให้เร็วที่สุดก่อนที่พ่อกับแม่ของเขาจะหย่ากันและเขาจะต้องติดตามแม่ไปอยู่เมืองอื่น
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0001YIE1M.01.LZZZZZZZ.jpg
http://www.german-cinema.de/archive/film_view.php?film_id=1151


7.ANITA: DANCES OF VICE (1987, ROSA VON PRAUNHEIM)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00009PM89.03.LZZZZZZZ.jpg
นำแสดงโดย LOTTI HUBER ในบทของหญิงชราในโรงพยาบาลบ้าที่พยายามทำให้คนอื่นๆเชื่อว่าเธอเคยเป็น ANITA นักเต้นรำชื่อดังในอดีตในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ANITA เป็นนักเต้นที่กล้าหาญมาก เธอเคยเปิดเผยร่างเปลือยของตัวเองต่อหน้าผู้ชม เพราะเธอต้องการดูปฏิกิริยาของผู้ชม เธอเป็นฝ่ายที่ทำให้ผู้ชมตกเป็น object ของเธอ

หนังเรื่องนี้นำเสนอเหตุการณ์ในอดีตยุคทศวรรษ 1920 ด้วยภาพสี และนำเสนอเหตุการณ์ในโรงพยาบาลบ้าในทศวรรษ 1980 ด้วยภาพขาวดำ และหนังเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นว่าถึงแม้หญิงชราคนนี้จะเป็นคนเสียสติในสายตาของคนอื่น แต่เธอก็มีทัศนคติต่อชีวิตที่เข้าท่ากว่าคนที่มีสติดีๆหลายคน

นักแสดงหลายคนแสดงสองบทบาทในเรื่องนี้ ทั้งบทบาทในอดีตและปัจจุบัน อย่างเช่น INA BLUM ที่รับบทเป็นนางพยาบาลในยุคปัจจุบัน และรับบทเป็น ANITA BARBER ในอดีต, MIKAEL HONESSEAU ที่รับบทเป็นหมอในปัจจุบัน และรับบทเป็นนักเต้นเกย์ในอดีต โดยฉากการเต้นระบำเปลือยกายของเขาในเรื่องนี้สร้างความประทับใจให้ผู้ชมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมี EVA-MARIA KURZ ที่รับบทเป็นคนไข้ในยุคปัจจุบัน และรับบทเป็น ROSA LUXEMBURG นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดังที่มีตัวตนจริงในอดีต (เทคนิคการให้นักแสดง 1 คนรับบทเป็นตัวละครหลายคนเพิ่งถูกนำมาใช้ในละครเวทีเรื่อง “ปลิว” (2006, จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ, A+) ได้อย่างน่าสนใจมากๆ)

เคยมีการสร้างหนังเรื่อง ROSA LUXEMBURG (1986, MARGARETHE VON TROTTA) มาแล้วเช่นกัน โดยมี BARBARA SUKOWA รับบทเป็นโรซ่า ลักเซมเบิร์กในหนังเรื่องนี้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ROSA VON PRAUNHEIM ได้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส 3”


8.VOYAGES (1999, EMMANUEL FINKIEL, A+)
นำแสดงโดย ESTHER GORINTIN (SINCE OTAR LEFT) ในบทของหญิงชราชาวยิวจากรัสเซียที่มาระหกระเหินร่อนเร่ในอิสราเอล


9.SEPTEMBER (1987, WOODY ALLEN, A+)
ELAINE STRITCH (เกิดปี 1925) แสดงได้อย่างน่าประทับใจมากในหนังเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวเรื่องนี้ ก่อนที่เธอจะกลับมาประกาศศักดาอีกครั้งในบทแม่ผัวของเจน ฟอนด้าใน MONSTER-IN-LAW (2005, ROBERT LUKETIC, B+)


10.THE CLIENT (TV SERIES) (1995-1996, A-)
ละครทีวีที่ดัดแปลงจากนิยายของ JOHN GRISHAM เรื่องนี้ให้ความสำคัญกับบทแม่นางเอกมากพอสมควร และ POLLY HOLLIDAY ซึ่งเกิดปี 1937 ก็รับบทแม่นางเอกได้อย่างอบอุ่นน่าประทับใจและน่าเอาใจช่วยอย่างมากๆ โดยมี JOBETH WILLIAMS รับบทเป็นลูกสาวของเธอ
http://www.imdb.com/name/nm0391072/

ชอบ DAVID BARRY GRAY ที่รับบทเป็นลูกสมุนนางเอกใน THE CLIENT ด้วยเหมือนกัน แต่เขาหายจากวงการไปไหนแล้วก็ไม่รู้ รู้สึกว่าเขาน่ารักมาก แต่ทำไมเขาได้งานทำน้อยจังเลย
http://www.imdb.com/name/nm0336558/

No comments: