Sunday, April 09, 2006

GOLET IN THE VALLEY (B+)

--U-CARMEN EKHAYELITSHA (2005, MARK DORNFORD-MAY, A/A-)

ดิฉันไม่ค่อยถูกโฉลกกับ CARMEN เท่าไหร่นัก เพราะรู้สึกเฉยๆกับเนื้อหาของเรื่องนี้ เคยดู CARMEN (1984, FRANCESCO ROSI, B) แล้วหลับ แต่ก็ชอบ FIRST NAME: CARMEN (1983, JEAN-LUC GODARD, A) มาก เพราะมันเพี้ยนดี และมันก็แทบไม่เหลือเค้าเดิมของ CARMEN เลยด้วย

สิ่งที่ชอบที่สุดใน U-CARMEN EKHAYELITSHA คงจะเป็นรสชาติที่แปลกๆ ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันรู้สึกว่ามันเหมือนกับการได้กินอาหารที่มีรสชาติไม่คุ้นเคยมาก่อน ไม่ได้รู้สึกชอบรสชาติแบบนี้มากนัก แต่รู้สึกว่ามันแตกต่างไปจากที่เคยกินเป็นประจำ หนังเรื่องนี้เหมือนกับมีบรรยากาศหรือจังหวะบางอย่างที่ดิฉันไม่คุ้นเคย และทำให้ต้องพยายามปรับตัวเองใหม่ในขณะดูหนัง

หนังเรื่องนี้ดูไม่เร้าอารมณ์เท่าที่คาด ตอนแรกนึกว่าหนังเรื่องนี้คงร้องเพลงแบบแหกปากเต็มที่หรือเต้นรำกันแบบบ้าคลั่งสุดเหวี่ยงเหมือนคนดำใน RIZE (2005, DAVID LACHAPELLE, A+) แต่ปรากฏว่าการร้องเพลงเต้นรำในหนังเรื่องนี้ดูนุ่มนวลมากกว่าที่คิด และหนังเรื่องนี้มีฉากฆ่าสัตว์และฆ่าคนด้วย แต่กล้องกลับไม่ได้ให้เราเห็นภาพการฆ่าสัตว์และฆ่าคนต่อหน้าต่อตาเรา และนั่นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดิฉันชอบมาก

ก่อนหน้านี้เคยดูหนังแอฟริกาใต้และหนังโอเปร่ามาบ้างเหมือนกัน แต่หนังแอฟริกาใต้เหล่านั้นก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่ามันเป็นหนังที่มี “รสชาติแตกต่าง” จากหนังชาติอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด เพิ่งจะมี U-CARMEN EKHAYELITSHA นี่แหละที่รู้สึกว่ารสชาติมันแปลกมาก และรสชาติของมันก็แตกต่างจากหนังโอเปร่าอย่าง PARSIFAL (1982, HANS-JURGEN SYBERBERG, A+) ด้วย
http://images.amazon.com/images/P/6305131112.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

นอกจาก U-CARMEN EKHAYELITSHA แล้ว หนังเรื่องอื่นๆที่เคยทำให้รู้สึกว่ามีรสชาติที่ไม่คุ้นลิ้นเป็นอย่างมากก็รวมถึง

1.MAGDALENA THE UNHOLY SAINT (2004, LAURICE GUILLEN, A-/B+)
จากฟิลิปปินส์

2.SILENCE…WE’RE ROLLING (2001, YOUSSEF CHAHINE, B+)
จากอียิปต์

3.GOLET IN THE VALLEY (1995, ZENO DOSTAL, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0113191/
หนังเชค

ส่วนหนังแอฟริกาใต้ที่เคยดู และรู้สึกว่ามันไม่ได้มี “รสชาติ” ที่แปลกแตกต่างจากหนังชาติอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ก็มีเช่น

1.FORGIVENESS (2004, IAN GABRIEL, A)

2.TSOTSI (2005, GAVIN HOOD, A)

3.SARAFINA! (1992, DARRELL ROODT, A-)

จุดที่น่าสนใจจุดนึงของ U-CARMEN EKHAYELITSHA ก็คือการที่หนังเรื่องนี้ใช้ภาษา XHOSA ในการถ่ายทำ ในขณะที่หนังแอฟริกาใต้เรื่อง YESTERDAY (2004, DARRELL ROODT) ใช้ภาษา ZULU ในการถ่ายทำ โดยหนังที่ใช้ภาษา XHOSA ในการถ่ายทำมีเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้นในโลก

แอฟริกาใต้มีภาษาราชการถึง 11 ภาษา ซึ่งได้แก่ Afrikaans, English, IsiNdebele,IsiXhosa, IsiZulu , Northern Sotho , Sesotho, Setswana, SiSwati,Tshivenda และ Xitsonga

รู้สึกประหลาดดีเหมือนกัน เพราะภาพยนตร์มีมานานถึง 100 กว่าปีแล้ว แต่ภาพยนตร์ที่ใช้ภาษา XHOSA ยังมีเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น เดาว่าในอนาคตอาจจะมีภาษาแปลกๆบางภาษาปรากฏออกมาในภาพยนตร์อีกก็ได้ และบางทีภาพยนตร์อาจได้ทำหน้าที่เป็นผู้อนุรักษ์ภาษาบางภาษาเอาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ใช้ศึกษา หรือทำหน้าที่เป็นผู้นำภาษาบางภาษาไปให้คนทั่วโลกได้รู้จัก

บางคนบอกว่าทวีปแอฟริกามีภาษาถึง 6,000 ภาษา แต่ 80 % ของภาษาเหล่านี้ไม่มีตัวอักษรเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ UNESCO ยังระบุว่ามีภาษาบนโลกนี้หายสาบสูญไป 1 ภาษาในทุกๆ 2 สัปดาห์อีกด้วย โดยเฉพาะภาษาของชนเผ่าบางเผ่าในแอฟริกา เพราะหนุ่มสาวของชนเผ่าเหล่านี้หันไปพูดภาษาที่สามารถสื่อสารกับคนอื่นๆได้เป็นหลัก

ภาษาบางภาษาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จะมีฐานะเป็น KILLER LANGUAGES เพราะภาษาเหล่านี้จะฆ่าภาษาอื่นๆให้หายสาบสูญไป โดย KILLER LANGUAGES ที่สำคัญมี 3 ภาษา ซึ่งก็คือ

1.HAUSA ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง

2.SWAHILI ที่ได้รับความนิยมในแอฟริกาตะวันออก

3.WOLOF ที่ได้รับความนิยมในประเทศเซเนกัล และคาดกันว่าภาษา WOLOF นี้กำลังจะทำให้ภาษาอีก 30 ภาษาในเซเนกัลหายสาบสูญไปในอนาคต โดย WOLOF เป็นภาษาแม่ของประชากร 40% ในเซเนกัล และเป็นภาษาที่สองของคนอีก 40 % ในประเทศนั้น

ภาษาในเซเนกัลที่คาดว่ากำลังจะสูญหาย รวมถึง

1.ภาษา BAINOUK ที่พูดกันทางตอนใต้ของเซเนกัล ในภูมิภาค CASAMANCE โดยขณะนี้มีคนพูดภาษา BAINOUK ได้เหลืออยู่เพียงราว 1,000 คนเท่านั้น

2.ภาษา BANDIAL ที่คาดว่าจะหายสาบสูญไปภายในคนอีกสองชั่วรุ่นข้างหน้า โดยขณะนี้มีคนพูดภาษา BANDIAL เหลืออยู่เพียง 10,000 คน แต่มีเพียง 100 คนเท่านั้นที่ “อ่าน” ภาษา BANDIAL ออก

คาดกันว่าการหายสาบสูญของภาษาอาจทำให้วัฒนธรรมหายสาบสูญไปด้วย โดยในภาษา BANDIAL นั้นมีคำศัพท์ที่แตกต่างกันถึง 10 คำที่ใช้เรียก “ข้าว”

พูดถึงภาษาแปลกๆในภาพยนตร์ ก็นึกขึ้นมาได้ว่ามี “ภาษาสมมุติ” ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์บางเรื่องด้วยเช่นกัน อย่างเช่นใน

1.BIRTH OF THE SEANEMA (2004, SASITHORN ARIYAVICHA, A+)

2.ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก (1995, อดิเรก วัฏลีลา, B/B-)

3.SCHIZOPOLIS (1996, STEVEN SODERBERGH)

ส่วนหนังที่ใช้ภาษาแปลกๆที่อยากดูมาก ก็คือเรื่อง INCUBUS (1965, LESLIE STEVENS) ที่ใช้ภาษา ESPERANTO ในการถ่ายทำตลอดทั้งเรื่อง โดยภาษา ESPERANTO เป็นภาษาที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นภาษาสากลที่คนทั่วโลกสามารถใช้สื่อสารกัน แต่ไปๆมาๆภาษานี้กลับไม่ได้รับความนิยม แต่กลายเป็นภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมแทน
http://imagesjournal.com/issue10/reviews/incubus/
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000059OLR.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://imagesjournal.com/issue10/reviews/incubus/pic1.jpg
http://imagesjournal.com/issue10/reviews/incubus/pic7.jpg
http://imagesjournal.com/issue10/reviews/incubus/pic4.jpg
http://imagesjournal.com/issue10/reviews/incubus/pic5.jpg
http://imagesjournal.com/issue10/reviews/incubus/pic8.jpg

INCUBUS ใช้เวลาถ่ายทำเพียง 2 สัปดาห์บนชายหาดแคลิฟอร์เนีย และหนังเรื่องนี้ใช้ภาษา ESPERANTO เพื่อทำให้เหตุการณ์ในเรื่องดูไม่มีเวลาและสถานที่ที่แน่นอน

INCUBUS มีเนื้อหาเกี่ยวกับปีศาจสาวสาวกซาตานที่มีหน้าที่ล่อลวงผู้ชายเลวๆไปลงนรก (จุดนี้ทำให้นึกถึงหนังฮ่องกงอย่างโปเยโปโลเย และ “โอม สู้แล้วอย่าห้าม” หรือ GOLDEN SWALLOW (A+)) อย่างไรก็ดี ปีศาจสาวชื่อ KIA (ALLYSON AYMES) เกิดรู้สึกเบื่อหน่ายกับภารกิจนี้ และต้องการจะหันมาล่อลวงชายหนุ่มนิสัยดีดูบ้าง ถึงแม้เธอจะได้รับคำเตือนว่าการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งทีอันตรายมาก เพราะชายหนุ่มนิสัยดีอาจจะมีอำนาจสยบเธอได้

KIA ตั้งเป้าหมายไปที่มาร์ค (WILLIAM SHATNER จาก STAR TREK) ซึ่งเป็นทหารผู้กล้าหาญ ทั้งสองเริ่มรักกัน และมาร์คก็พา KIA เข้าไปในโบสถ์ แต่เนื่องจาก Kia เป็นปีศาจ การเข้าโบสถ์จึงส่งผลกระทบในทางลบต่อตัวเธออย่างรุนแรง เธอวิ่งหนีออกจากโบสถ์ และปีศาจสาวที่เป็นพี่ของเธอก็ร่วมมือกับเธอในการแก้แค้นมาร์ค โดยสองสาวปีศาจได้ร่วมกันปลุก INCUBUS (MILOS MILOS) ขึ้นมา เพื่อให้ปีศาจหนุ่มตนนี้ไปข่มขืนน้องสาวของมาร์ค (ANN ATMAR)

INCUBUS กำกับภาพโดย CONRAD HALL (BUTCH CASSIDY AND THE SUNDANCE KID, AMERICAN BEAUTY) และ WILLIAM FRAKER (ROSEMARY’S BABY)

หนังเรื่อง INCUBUS กลายเป็นตำนานในเวลาต่อมา โดยมีเรื่องเล่ากันว่าระหว่างการถ่ายทำหนังเรื่องนี้ กองถ่ายได้ไปรังควาญฮิปปี้สองคน และฮิปปี้สองคนนี้ก็เลยสาปแช่งหนังเรื่องนี้ และส่งผลให้หนังเรื่องนี้พบกับอาถรรพ์ ซึ่งรวมถึง

1.ANN ATMAR ฆ่าตัวตายในปี 1966

2.MILOS MILOS ฆ่าภรรยาคนที่ 5 ของ MICKEY ROONEY ก่อนจะฆ่าตัวตายในปี 1966

3.ฟิล์มทั้งหมดทุกพรินท์ของหนังเรื่องนี้ถูกทำลายจนหมดในอุบัติเหตุ แต่ในที่สุดก็พบว่ายังเหลือฟิล์มหนังเรื่องนี้ชุดสุดท้ายในโลกเก็บไว้ที่ CINEMATHEQUE FRANCAISE ในกรุงปารีส

--เหตุการณ์เรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง “เมืองในหมอก” (1978, เพิ่มพล เชยอรุณ, A++++++) ด้วยเหมือนกัน เพราะได้ยินมาว่าหาฟิล์มหนังเรื่อง “เมืองในหมอก” ดูไม่ได้อีกแล้ว แต่ในที่สุดก็พบฟิล์มหนังเรื่องนี้ชุดหนึ่งอยู่ที่ประเทศเวียดนาม รู้สึกว่าเป็นบุญจริงๆที่ยังคงมีฟิล์มหนังเรื่องนี้หลงเหลืออยู่

รู้สึกว่าในโลกนี้มีหนังหายสาบสูญไปจากโลกแล้วมากมายหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงหนังเรื่อง

1.นางสาวสุวรรณ (1923, HENRY MACRAE) ที่ถูกพูดถึงในหนังเรื่อง “โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง” (B+)

2.สันติ วีณา (1954, มารุต)

3.หนังหลายเรื่องในญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าน่าจะรวมถึงหนังยุคแรกของ YASUJIRO OZU, KENJI MIZOGUCHI และ TEINOSUKE KINUGASA

4.หนังของ GERARDO DE LEON ผู้กำกับหนังแถวหน้าของฟิลิปปินส์ตั้งแต่ทศวรรษ 1940
http://www.imdb.com/name/nm0502479/

5.แม้แต่หนังที่ถ่ายทำในยุคปัจจุบันก็หายสาบสูญได้เช่นกัน เพราะได้ยินมาว่าคุณทศพล บุญสินสุข ผู้กำกับหนังเรื่อง AFTERNOON TIME (2005, A+++++) เคยถ่ายหนังสั้นไว้หลายเรื่องและเก็บหนังเหล่านั้นไว้ในตัวกล้อง แต่ต่อมากล้องตัวนั้นถูกขโมยไป หนังสั้นหลายเรื่องที่อยู่ในกล้องนั้นก็เลยหายสาบสูญจากโลกไปตลอดกาล (ฮือ ฮือ ฮือ อยากจะร้องไห้)


--นอกจาก LESLIE STEVENS จะกำกับ INCUBUS (1965) แล้ว ผลงานที่น่าดูที่สุดของเขายังรวมถึงรายการทีวีชุด THE OUTER LIMITS (1963-1965) ซึ่งเป็นรายการทีวีที่ประกอบด้วยเรื่องราวไซไฟพิสดารและสัตว์ประหลาดพิลึกในแต่ละตอน โดยมีส่วนคล้ายคลึงรายการทีวี THE TWILIGHT ZONE ที่แพร่ภาพในยุคเดียวกัน อย่างไรก็ดี THE OUTER LIMITS มีสไตล์บางอย่างที่แตกต่างไปจาก THE TWILIGHT ZONE เพราะ THE OUTER LIMITS ก้าวไปไกลกว่าในเรื่องของเหตุผลและศีลธรรม และนักวิจารณ์บอกว่า THE OUTER LIMITS มีบางส่วนที่ทำให้นึกถึงภาพยนตร์ของ DAVID LYNCH และ KIYOSHI KUROSAWA ด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0056777/

คำโปรยของ THE OUTER LIMITS คือ
There is nothing wrong with your television. Do not attempt to adjust the picture

THE OUTER LIMITS มีขายแล้วในรูปแบบดีวีดี

THE OUTER LIMITS SEASON 1 ประกอบด้วย 32 ตอน และมีความยาว 1642 นาที (27 ชม. 22 นาที)
http://www.amazon.com/gp/product/B000068V9R/ref=imdbpov_dvd_0/002-8767002-3585648?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B000068V9R.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

THE OUTER LIMITS SEASON 2 ประกอบด้วย 17 ตอน และมีความยาว 870 นาที (14 ชม. 30 นาที)
http://www.amazon.com/gp/product/B00009Y3RE/qid=1144587218/sr=1-3/ref=pd_bbs_3/002-8767002-3585648?%5Fencoding=UTF8&s=dvd&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B00009Y3RE.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


--หนังที่ชอบที่สุด 2 เรื่องที่ลงโรงฉายในกรุงเทพสัปดาห์นี้ คือ BE WITH ME กับ TAPAS และหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็เป็นหนังที่เล่าเรื่องราวย่อยๆหลายเรื่องไปพร้อมๆกัน เหมือนกับ MAGNOLIA รู้สึกว่าหนังกลุ่มนี้อาจจะเรียกว่าหนังแบบ TANDEM NARRATIVE ส่วนหนัง 2 เรื่องที่ชอบที่สุดในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ก็เป็นหนังที่มีโครงสร้างไม่ธรรมดาทั้งสองเรื่อง ซึ่งก็คือ WHERE THE TRUTH LIES กับ HOODWINKED ที่มีลักษณะเป็นหนังแนวสืบสวนสอบสวน และเล่าเรื่องผ่านทางมุมมองของพยานทีละคน

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังกลุ่ม TANDAM NARRATIVE และ SEQUENTIAL NARRATIVE (อย่างเช่น PULP FICTION, GO) ได้ในนิตยสาร BIOSCOPE เล่ม 30-35 ค่ะ

ส่วนที่ชอบที่สุดใน TAPAS คือเรื่องราวความรักระหว่างหญิงวัยกลางคนที่รู้สึกเปล่าเปลี่ยว (ELVIRA MINGUEZ) กับเด็กหนุ่มนักซ่อมวิดีโอ (RUBEN OCHANDIANO ซึ่งเกิดปี 1980) เนื้อหาตรงส่วนนี้ทำให้นึกถึง PRIME (2005, BEN YOUNGER, A+)

ส่วนที่ชอบที่สุดใน BE WITH ME คือเรื่องราวของผู้หญิงที่ตาบอดและหูหนวก ซึ่งรับบทโดย THERESA POH LIN CHAN ซึ่งตาบอดและหูหนวกตั้งแต่อายุ 14 ปี โดยเนื้อหาในส่วนนี้มีส่วนคล้ายสารคดี และได้รับแรงบันดาลใจมาจากชีวิตจริงของ THERESA เอง

เนื้อหาตรงส่วนนี้ทำให้นึกถึง

1.หนังสารคดีเรื่อง LAND OF SILENCE AND DARKNESS (WERNER HERZOG, A+) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มคนที่ตาบอดและหูหนวก

2.THE MIRACLE WORKER (1962, ARTHUR PENN)

3.DANCE ME TO MY SONG (1997, ROLF DE HEER, A+++++)
http://www.vertigoproductions.com.au/information.php?film_id=10&display=tech
หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย HEATHER ROSE ซึ่งมีอาการ cerebral palsy อย่างร้ายแรงตั้งแต่กำเนิด จนส่งผลให้เธอพูดหรือดูแลตัวเองไม่ได้ (รู้สึกอาการของเธอจะคล้ายๆกับนางเอกหนังเกาหลีใต้เรื่อง OASIS (A-))

4.THE GROUND I STAND (2002, SHERMAN ONG, A+/A)
http://www.shermanong.com/public/noticias.php?tipo=6&nIDRecurso=107

THE GROUND I STAND เป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับหญิงชราสู้ชีวิต หนังเรื่องนี้เคยมาฉายในเทศกาลหนังสั้นที่จัดโดยมูลนิธิหนังไทย โดยเป็นการสัมภาษณ์ NYATERANG SALLEH หญิงชาวมาเลย์วัย 75 ปีที่อาศัยอยู่ในแฟลตในสิงคโปร์ เธอเป็นคนที่ทำงานหนัก, มัธยัสถ์, พึ่งพาตัวเอง และภูมิใจในศักดิ์ศรีของตัวเอง เธอเคยทำงานเป็นทั้งสาวใช้, หมอนวด, ขายมะม่วงดอง และรับเย็บผ้า นอกจากนี้ เธอยังไม่เคยออกจากบ้านเลยด้วยตลอดช่วงเวลา 6 ปีที่ผ่านมาเพราะเธอกลัวว่าตัวเองจะเป็นลมล้มลง

หนังสารคดีคนกินหมาเรื่อง IS IT EASY TO KILL/PRAY (2005, A+) ของ SHERMAN ONG เพิ่งมาเปิดฉายในกรุงเทพในเดือนธ.ค.ปี 2005

No comments: