Paul Arthur เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ essay
films ไว้ในนิตยสาร Film Comment ฉบับ Jan/Feb
2003 ซึ่งเป็นบทความที่มีประโยชน์มากๆ และอ่านแล้วก็ทำให้นึกถึงหนังของ
Harun Farocki ที่จะฉายที่รีดดิ้งรูมในวันเสาร์-อาทิตย์นี้ด้วย
Arthur เขียนถึงลักษณะของหนัง essay films ว่า หนัง essay films หลายเรื่องไม่ได้เล่าเรื่องราวของคนดังและไม่ได้เล่าเจาะไปที่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง
และหนัง essay films หลายเรื่องก็ไม่ได้เล่าเรื่องราวของเหตุการณ์ในอดีตแบบเรียงตามลำดับเวลา
และไม่ได้เล่าเรื่องราวในอดีตผ่านทางมุมมองที่เป็นกลาง และสิ่งนี้ทำให้หนัง
essay films แตกต่างจากหนังสารคดีแบบธรรมดาโดยเฉพาะหนังสารคดีของ Ken
Burns ทั้งนี้ หนัง essay films หลายเรื่องมักจะนำเสนอกรอบเวลาที่แตกต่างกัน
2-3 กรอบและผสมกรอบเวลาที่แตกต่างกันนี้เข้าด้วยกัน เหมือนกับว่ามีหลาย tense
ซ้อนทับกันอยู่ภายในจุดเดียวกัน
นอกจากนี้ หนัง essay films ยังมักจะหยิบยืมภาษาหนังจากตระกูลอื่นๆมาผสมเข้าด้วยกันด้วย
ซึ่งรวมถึงหนังตระกูล cinema verite, หนังแนวกวี
และหนังสารคดีที่นำเสนอปัญหาสังคม
หนัง essay films ยังสามารถนำเสนอสไตล์, โทน หรือวิธีการพูดกับผู้ชมที่แตกต่างกันภายในหนังเรื่องเดียวกันได้ด้วย
และในการทำเช่นนี้ หนัง essay films จึงมักจะทำลาย unity
of time and place ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะพบในหนังสารคดีแบบธรรมดา
สิ่งที่ Paul Arthur เขียนข้างบนนี้ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง IMAGES
OF THE WORLD AND THE INSCRIPTION OF WAR (1988, Harun Farocki, A+30) ที่จะฉายที่รีดดิ้งรูมในวันอาทิตย์ที่ 17 ส.ค.นี้
เพราะหนังเรื่องนี้มีการนำเสนอกรอบเวลาที่แตกต่างกันหลายกรอบภายในหนังเรื่องเดียวกัน
โดยมีการผสมกรอบเวลาเหล่านี้เข้าด้วยกัน และมีการทำลาย unity of time and
place อย่างเห็นได้ชัดด้วย
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราชอบ IMAGES OF THE WORLD AND THE INSCRIPTIONS OF WAR
อย่างมากๆ
คือหนังเรื่องนี้มีจุดหนึ่งที่ทำให้เราอยากร้องไห้โดยที่ผู้สร้างหนังไม่ได้ตั้งใจ
คือ Harun Farocki นี่เป็นผู้กำกับที่ไม่ต้องการเรียกน้ำตาคนดูและไม่ต้องการเร้าอารมณ์คนดูอย่างตื้นเขินแน่ๆ
แต่มันมีจุดหนึ่งในหนังเรื่องนี้ที่มันทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดมาก ซึ่งเป็นจุดที่ผู้สร้างหนังไม่ได้ตั้งใจ
และจุดนี้เกิดจากการทำลาย unity of time and place ในหนังด้วย
จุดที่ทำให้เราอยากร้องไห้ในหนังเรื่องนี้คือช่วงที่หนังเล่าเรื่องราวของความโหดร้ายในค่ายกักกันเอาช์วิตซ์ในสงครามโลกครั้งที่สอง
และตัดสลับกับการเล่าเรื่องราวพฤติกรรมที่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสทำกับชาวแอลจีเรียในช่วงทศวรรษ
1960 และตัดสลับกับภาพเครื่องจักรทำงานในโรงงานประกอบรถยนต์ในยุคปัจจุบัน
และตัดสลับกับภาพกราฟฟิกอะไรสักอย่าง และตัดสลับกับภาพโมเดลหมู่บ้านหรืออะไรทำนองนี้
หนังมีการตัดสลับภาพเหล่านี้ไปมา มันเป็นการผสมกรอบเวลาทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง,
ทศวรรษ 1960 และยุคปัจจุบันเข้าด้วยกัน และนำเสนอทั้งเหตุการณ์ในยุโรปและแอลจีเรียสลับกันไปมาด้วย
แล้วอยู่ดีๆหนังก็ตัดฉึบไปเป็นการบรรยายถึงรากศัพท์ของคำว่า Enlightenment ในภาษาเยอรมัน
จุดนี้ทำให้เราอยากร้องไห้โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ
เพราะในขณะที่เรารู้สึกเศร้าไปกับเหตุการณ์ในเอาช์วิตซ์และแอลจีเรียตามที่หนังบรรยายอยู่นั้น
พออยู่ดีๆหนังก็พูดถึงรากศัพท์ของคำว่า Enlightenment ขึ้นมาในทันที
เราก็เลยไพล่ไปนึกถึงยุค Enlightenment ของยุโรปในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่
17 หรืออะไรทำนองนี้ และมันก็ทำให้เรารู้สึกเศร้ามาก
เพราะมันทำให้เราไพล่ไปคิดถึงเรื่องที่ว่า มนุษยชาติได้ผ่านพ้นยุคที่เรียกว่า ENLIGHTENMENT
มาแล้ว แล้วดูสิว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากยุคนั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันจนคนตายไปเป็นจำนวนหลายล้านคนยังไงล่ะ
มันเหมือนกับว่ามนุษยชาติไม่ได้ฉลาดขึ้นเลยหรือไม่ได้ประเสริฐขึ้นเลย แม้จะผ่านยุค
Enlightenment มาแล้วก็ตาม
มันเหมือนกับว่ามนุษยชาตินี่มันเหี้ยจริงๆ
สรุปว่าการตัดสลับเวลาและการทำลาย unity of time and place ในหนังเรื่องนี้มันมีจุดหนึ่งที่ส่งผลกระทบทางอารมณ์กับเราอย่างรุนแรงมาก
เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ก่อนที่หนังจะพูดถึงคำว่า Enlightenment
มันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับคำว่า Enlightenment อย่างสิ้นเชิง
ความ contrast กันอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในวินาทีนั้นในหนังเรื่องนี้มันทำให้เรารู้สึกอยากร้องไห้
เพราะมันทำให้เรารู้สึกสิ้นหวังกับมนุษยชาติจ้ะ
No comments:
Post a Comment