Tuesday, August 12, 2014

THREE FILMS FROM FACULTY OF COMMUNICATION ARTS, CHULALONGKORN UNIVERSITY


SAHAAB (2014, Vasan Mahakiattikun, A+30)

 

สิ่งที่ทำให้ชอบ SAHAAB อย่างสุดๆคือผมดูแล้วรู้สึก “เจ็บปวด” น่ะครับ แต่ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน แต่มันรู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดอะไรบางอย่าง ผมก็เลยชอบมากๆน่ะครับ

 

ชอบการที่ตัวละครไม่สามารถ reconcile กันได้เลยในตอนจบด้วย คือตามที่ผมเข้าใจนั้น ตัวละครแม่ก็ไม่สามารถคืนดีกับยายหรือครอบครัวเก่าได้อยู่ดี ผมก็เลยชอบสุดๆตรงจุดนี้ ในขณะที่หนังที่สร้างตามสูตรสำเร็จ มักจะจบลงด้วยการที่สมาชิกครอบครัวคืนดีกันได้

 

อีกสิ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ คือมันเป็น conflict ระหว่างแม่กับยายหรือแม่กับญาติๆด้วย ในขณะที่หนังส่วนใหญ่มันจะเป็น conflict ระหว่างแม่กับลูก หนังเรื่อง SAHAAB ก็เลยมีความโดดเด่นจากหนังทั่วๆไปเป็นอย่างมาก

 

THE TEARS OF A SHARK (2014, Utarn Sukkonnakorn, A+)

 

จริงๆแล้วเรื่อง “น้ำตาปลาฉลาม” ก็ดูเหมือนจะมีอะไรตลกๆหรือไม่เข้าที่เข้าทางอยู่บ้าง แต่ชอบที่หนังจบด้วยการที่ตัวละครนางเอกก็ยังลืมคนเก่าไม่ได้อย่างสนิทใจอยู่ดี คือเรารู้สึกว่าหนังมันเป็น slice of life ที่จับเอาโมเมนท์ช่วงที่นางเอกกำลังจะเริ่มเปิดใจให้ผู้ชายคนเก่าเข้ามาในชีวิต แต่ก็ยังลืมคนเก่าได้ไม่หมด เราก็เลยชอบที่หนังนำเสนอโมเมนท์ที่มันก้ำๆกึ่งๆแบบนี้ คือถ้าหากหนังจบลงด้วยการที่นางเอกตัดใจจากคนเก่าได้อย่างสิ้นเชิง เราจะไม่ชอบหนังเรื่องนี้ในทันที

 

ชอบฉากที่นางเอกกับพระเอกเดินคุยกันเป็นเวลายาวนานริมแม่น้ำด้วย แต่เสียดายที่มันไม่เป็น long take คือถ้าหากฉากนั้นเป็นนางเอกกับพระเอกเดินคุยกัน long take สัก 10 นาที มันจะกลายเป็นหนังที่เข้าทางเรามากๆ

 

MENSTRUAL SYNCHRONY (2014, Jirassaya Wongsutin, A+30)

 

จุดหนึ่งที่ชอบมากๆเลยใน “วันนั้นของเดือน” ก็คือว่า เรารู้สึกว่าอารมณ์ความรู้สึกในหนังเรื่องนี้มันละเอียดอ่อนกว่าหนังสั้นเรื่องอื่นๆน่ะ คือเรารู้สึกว่าอารมณ์ความรู้สึกในหนังเรื่องนี้มันมีความเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆในทุกๆ 5 วินาทีหรือในทุกๆประโยคที่ตัวละครพูดออกมาน่ะ

 

 คือในหนังสั้นๆทั่วๆไป เราอาจจะพบว่า อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครมันอาจจะเปลี่ยนจากจุด A ไปจุด B ในทุกๆหนึ่งนาที หรืออะไรทำนองนี้

 
แต่ในหนังเรื่องนี้ เรารู้สึกว่ามันละเอียดอ่อนมาก คือเรารู้สึกว่ามันมีความเคลื่อนไหวทางอารมณ์ความรู้สึกในทุกๆ 5 วินาที ซึ่งเรารู้สึกว่ามันต้องเป็นผู้กำกับที่เก๋าจริงๆ หรือเข้าใจมนุษย์มากๆจริงๆ มันถึงจะทำแบบนี้

No comments: