Sunday, October 18, 2015

THE WILDCAT (1921, Ernst Lubitsch, Germany, A+25)

THE WILDCAT (1921, Ernst Lubitsch, Germany, A+25)

--จริงๆแล้วมีหลายส่วนที่ทำให้นึกถึงหนังตลกของไทยกลุ่ม “ทหารเกณฑ์” หรือ “ทหารเรือ” บ๊องๆที่ผลิตกันออกมาเยอะตั้งแต่ทศวรรษ 1980 นะ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอชีวิตในค่ายทหารแบบตลกโปกฮา ไร้สาระ เสียสติแบบนั้นเลยน่ะ ตัวนายพลหัวหน้าค่ายก็บ้องตื้นมากๆ และพระเอกก็เป็นทหารหนุ่มหล่อหน้าใหม่ที่เข้ามาในค่ายทหารแห่งนั้น แล้วตัวลูกสาวนายพลก็ตกหลุมรักพระเอก และอยากได้พระเอกเป็นผัวอย่างรุนแรงมาก

--แต่สิ่งสำคัญที่อาจจะทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังตลกของไทยกลุ่ม “ทหารเกณฑ์” ก็คือว่า หนังเรื่องนี้มันไม่มีความรู้สึก “ชาตินิยม” เลยแม้แต่นิดเดียว และไม่มีการเชิดชูทหารเลยแม้แต่นิดเดียวน่ะ คือมันใช้ setting เป็นค่ายทหาร และเอาทหารในค่ายมาทำตลกหุยฮาไปเรื่อยๆก็จริง แต่มันไม่มีความรู้สึกเชิดชูทหารเลย ไม่มีความรักชาติเลย เราก็เลยรู้สึกว่า นี่มันเป็นหนังตลกเกี่ยวกับทหารที่ “ปลอดจากสารพิษเจือปน” จริงๆ มันไม่มีสารเคมีตกค้างเหลืออยู่ในหนังจริงๆ เราก็เลยฮากับมันไปได้ตลอดทั้งเรื่อง

--ขอยกให้หนังเรื่องนี้ติดอันดับ one of my most favorite “set decorations” of all time เพราะหนังมันจัดฉากต่างๆในเรื่องได้แบบ Expressionist อย่างรุนแรงสุดทางมากๆ โดยนักวิจารณ์บอกว่า บางทีการที่มัน Expressionist แบบสุดทางแบบนี้ เป็นเพราะมันต้องการล้อเลียนหนัง Expressionists  ด้วยกันเอง

--การออกแบบกรอบภาพในหนังเรื่องนี้ก็ไปสุดทางมากๆด้วย คือมีกรอบภาพประมาณ 10 แบบได้มั้งในหนังเรื่องนี้ ซึ่งแตกต่างจากหนังธรรมดาในยุคปัจจุบันที่ใช้กรอบภาพเพียงแบบเดียว นั่นก็คือกรอบภาพแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าตลอดทั้งเรื่อง

--อีกปัจจัยนึงที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มากๆก็คือว่า ถึงมันจะเป็นหนังตลก และนำเสนอทุกอย่างแบบ “เว่อร์เกินความเป็นจริง” อย่างเช่นมีตัวละครโจรหนุ่มคนนึงร้องไห้จนน้ำตาไหลออกมาเป็น “คลอง” แต่มันก็นำเสนอ “ความรัก” และ “ความเจ็บปวดจากความรัก” ได้จี๊ดใจจริงๆด้วยนะ คือมันเป็นหนังตลกน่ะ แต่พอมันจะนำเสนอความเจ็บปวดจากความรัก มันกลับทำได้ซึ้งกว่าหนังรักโรแมนติกหลายๆเรื่องซะอีก คือต้องกราบตีน Ernst Lubitsch จริงๆที่ทำได้แบบนี้

คือตลอดทั้งเรื่องเรารู้สึกเหมือนกับว่าเราดูหนังดีๆสักเรื่องนึงของ Jim Carrey อะไรทำนองนี้ แต่พอถึงตอนจบนี่มันเจ็บปวดแบบคลาสสิค ร้าวรานใจเกือบเทียบได้กับหนังอย่าง ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955, Douglas Sirk) เลย

แต่จริงๆแล้วมันอาจจะเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับหนังตลกยุคนั้นก็ได้นะ เพราะหนังตลกของ Charlie Chaplin หรือ Buster Keaton บางเรื่องในยุคนั้น มันอาจจะไม่ได้ “หัวเราะร่า” อย่างเดียว บางเรื่องมันอาจจะแฝงความเจ็บปวดจริงๆของมนุษย์เอาไว้จนทำให้เรา “น้ำตาริน” ตามไปด้วย

No comments: